KM แบบบูรณาการ


ส่วนใหญ่เราก็ทำอยู่แล้วครับ “โดยธรรมชาติ” แต่ผมลองมาสะกิดดูให้เกิดแบบ “ตั้งใจ” นะครับ
 

เท่าที่ผมเฝ้าสังเกตการณ์มาตลอดช่วง ๔-๕ ปี ผมพบว่าแนวคิดในการทำงาน KM ในชีวิตจริงนั้นมีอยู่ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ

  

1.     การจัดการความรู้โดยการเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือจัดการความรู้เพื่อชีวิต (KMธรรมชาติ)

 

2.     การจัดการเรียนรู้แบบมีผู้สนับสนุน ที่ต้องมีคุณอำนวย คุณประสาน คุณเอื้อฯลฯ ที่อยู่ในระบบหน่วยงานต่างๆ

  

วันนี้ ผมคิดว่า ทำไมเราเราต้องแยกกันแบบนั้น ทำไมเราไม่ทำให้เกิดทั้งสองอย่างพร้อมๆกัน ผมจึงขอเสนอ แบบที่ ๓ คือ

  

3.     การจัดการความรู้แบบบูรณาการที่ใช้ KMธรรมชาติเป็นฐานคิด แล้วต่อยอดด้วย KM แบบสนับสนุนจากภายนอก

  

ถ้าเราทำงานแบบนี้ก็จะไปเข้ากรอบงานแบบเดียวกับ ครูสมพรสอนลิง ที่ปล่อยให้ลิงได้อยู่กับแม่ ให้แม่สอนแบบธรรมชาติ ปูฐานไว้ก่อน แล้วจึงมาต่อยอดด้วยการสนับสนุนการเรียนรู้แบบ คุณอำนวย

  

ที่จริงแล้ว เราอาจทำกันอยู่แล้วก็ได้โดยไม่ได้คิดอย่างมีแผน มีขั้นตอนที่ชัดเจน ทำให้การทำงานของ คุณกิจ ขาดฐานคิดที่เป็นธรรมชาติ เกิดการเรียนแบบหลุดฐานชีวิต มีแต่ "ยอด" ที่ "เด็ด" มาจากที่อื่น ขาดความเชื่อมโยงกันของความรู้ใหม่กับความรู้เดิม จนทำให้การเรียนรู้ เป็นไปเพื่อ การสอบผ่าน เท่านั้น ซึ่งน่าจะถือว่า ใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า เพราะใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือได้น้อย เพราะขาดการเชื่อมเข้ากับชีวิตจริง

และถ้าคุณอำนวยขาด "ความเข้าใจ" ฐานความรู้ธรรมชาติของ "คุณกิจ" แล้ว ผมยิ่งมองไม่ออกเลยว่า จะ "อำนวย" ได้อย่างไร มีแต่เตี้ยอุ้มค่อม ไปไหนไม่รอด นั่นแหละตรับ

และ ถ้า "คุณกิจ" ก็เป็นตัวปลอมเสียอีก เรียนแบบไม่รู้จะเอาความรู้ไปทำอะไร ก็ยิ่งหนักแบบ Double trouble เลยครับ

  

และ ผมขอมองต่างมุมกับคนที่เริ่มจากการสนับสนุนจากภายนอกเป็นการเริ่มต้น ก่อนการพัฒนาความรู้เพื่อชีวิต (KMธรรมชาติ) ที่จะยิ่งทำให้เกิดความสับสนมากกขึ้นไปอีก เพราะจะทำให้ผู้เรียนรู้ (คุณกิจ)ยิ่งขาดความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นไปอีก

  

ดังนั้น หลักการบูรณาการของการจัดการความรู้ก็น่าจะ

เริ่มที่การจัดการความรู้ที่ทำโดยระบบธรรมชาติเป็นฐานที่แน่นเสียก่อน แล้วจึงมาต่อยอดด้วยการจัดการความรู้แบบมีกองหนุนช่วย

ให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน

  

คุณอำนวยจะต้องพยายามเข้าใจฐานความรู้ที่มี และที่จำเป็นต้องมีก่อนที่จะ อำนวย ให้เกิดการเรียนรู้แบบ ต่อเติม หรือ ต่อยอด ก็จะทำให้มีการจัดการความรู้แบบบูรณาการทั้งสองแบบเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน (Seamless) ก็จะทำให้งานจัดการความรู้บรรลุเป้าหมายงานในทุกระดับได้เร็วยิ่งขึ้นครับ

  

ที่จริงส่วนใหญ่เราก็ทำอยู่แล้วครับ โดยธรรมชาติ แต่ผมลองมาสะกิดดูให้เกิดแบบ ตั้งใจ นะครับ

  ขอบคุณมากครับ
หมายเลขบันทึก: 81494เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การดำเนินชีวิตในการทำงานของคนในองค์กร หรือในกลุ่มสมาชิกเกษตรกรทั้งหลายนั้น จริงๆ แล้วผมคิดว่าทุกท่านได้ผ่านกระบวนการ KM ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราทำนั้นเขาเรียกว่าอะไร แต่เมื่อมีคนมาให้ความหมาย ก็มีความชัดเจนมากขึ้นครับ

สำหรับบริบทของการทำงานในสังคม หรือการทำงานในองค์กรจริงๆ นั้น ผมเชื่อว่าบทบาทของแต่ละคนคงไม่ได้ Fix ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเป็นช่วงเวลาใด สถานะใด บทบาทใด หรือที่เรียกรวมๆ ว่า "บริบท" ใดนั้น เพียงแต่ว่าหน่วยงานราชการ หรือบริษัทเอกชน อาจจะมีโครงสร้างที่ชัดเจนในการบริหาร การแบ่งภาระกิจค่อนข้างมีความชัดเจน ซึ่งตรงกันข้ามกับกลุ่มเกษตรกร หรือชุมชน ที่อาจจะมองว่าโครงสร้างไม่ค่อยชัดเจนนัก เพราะทุกคนสามารถเป็นได้ทั้งคุณเอื้อ คุณอำนวย และ คุณกิจ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะมีความกลมกลืนมองดูเป็นธรรมชาติมากว่าหน่วยงานทั้งสองดังกล่าว 

แต่ผมคิดว่าจะเรียกอะไรนั้นคงไม่ใช่สาระสำคัญมากนัก หากแต่ว่าเมื่อถูกเรียกในบทบาท หรือบริบทนั้นๆ แล้วท่านเหล่านั้นมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่เพียงใด และได้ทำหน้าที่ตามบริบทที่ได้รับสมบูรณ์แล้วหรือยัง

ด้วยความเคารพ

อุทัย  อันพิมพ์

 

เห็นด้วยครับอาจารย์
    วิญญาณ KM แท้ในบุคล จะช่วยให้ KM ใหญ่ นอกเหนือเรื่องตัวตน ขับเคลื่อนไปได้และไม่ต้องกลัว ตกเหว ลงคู  เพราะมันเป็นวิถีชีวิต  เป็นความคิดที่ไปทางเดียวกันอยู่แล้ว
ขอบคุณครับอาจารย์พินิจ ที่มาสนับสนุนแนวคิด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท