จิตวิทยาดูแลเด็ก


ตัวเองก็ยึดแนวทางนี้ในการเลี้ยงลูก โดยที่ไม่ได้ปรึกษากับคุณสามี เพราะรู้สึกว่าเราถูกเลี้ยงมาคนละสไตล์ ดังนั้นเราก็จะเป็นต้นแบบให้ลูกคนละทาง จริงๆต้องการจะพิสูจน์ด้วยว่า หากลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยพ่อและแม่ที่มีบุคลิกต่างกัน โดยเราคงความเป็นตัวเราเองไว้ค่อนข้างมากทั้งคู่ จะส่งผลให้เขาออกมาเป็นอย่างไร ที่คิดเช่นนี้เพราะเชื่อว่า เราทั้งคู่มีความคิดที่ดี แต่เรามีนิสัยที่ไม่เหมือนกัน เรามีข้อดี ข้อด้อยที่แตกต่างกัน และเราพยายามปรับเปลี่ยนสิ่งที่ไม่ดี โดยมักจะบอกลูกไปด้วย เพราะฉะนั้น เราจะได้ยินคำวิจารณ์จากลูกบ้างว่า พ่อกับแม่ยังทำไม่ได้เลย แต่เราจะบอกพวกเขาว่านิสัยนี้ไม่ดี เราก็กำลังพยายามปรับเปลี่ยนอยู่เหมือนกัน

บทความนี้เป็นของ คุณกฤษฎา ชลวิริยะกุล จากศูนย์สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ สถาบันสุขภาพจิต เนื้อหาหลักก็คือให้ใส่ข้อมูลทางบวกให้ลูกเสมอ ซึ่งจะมีผลให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น แม้พบพฤติกรรมที่ไม่ดี ก็ให้ใช้จิตวิทยาในการพูด เพื่อให้เขารู้สึกว่าเราเข้าใจเห็นใจ เขาจะได้มีกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตนเอง ส่วนที่อยากเอามาฝากเป็นแนวคิดต่อก็คือ

ถ้าท่านเลี้ยงดูเขาด้วย 

 เขาจะเป็นคน

 คำตำหนิ

 ล้มเหลว

ความก้าวร้าว 

แข็งกร้าว 

 คำเย้ยหยัน

ขลาดอาย 

 ความละอาย

ขี้ขลาดหวาดระแวง 

 ความมานะ

อดทน 

ให้กำลังใจ 

 เชื่อมั่นตนเอง

 ความชื่นชม

ซึ้งในคุณค่า 

ความรัก ความอบอุ่น 

พอใจในตนเองและมีศรัทธาในชีวิต 

 การยอมรับและความเป็นมิตร

มีความรักและเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ 

เราทั้งหลายก็คงต้องเอาไปพิสูจน์กันเอาเองนะคะ ว่าผลงานของเราจะออกมาเป็นเช่นไร ตัวเองมีความเชื่อเสมอว่า หากลูกดี เป็นเพราะตัวเขาดีและ/หรือพ่อแม่ดี แต่หากลูกไม่ดี คนที่ต้องพิจารณาตัวเองคือผู้ที่เลี้ยงดูแลเขามาค่ะ เพราะเด็กๆทั้งหลายคือผ้าขาวแน่นอน

จาก พี่โอ๋

คำสำคัญ (Tags): #เด็ก
หมายเลขบันทึก: 80899เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท