จิตตปัญญาเวชศึกษา 5: ประเมินแบบสร้างเสริมมณฑลแห่งพลัง


ลองคิดดู ถ้านศพ.ถูกประเมินแล้วเป็นพลังบวก ฉีกงหมุนวนเวียนไร้อุดตัน จะเป็นการเรียนที่ประเสริฐเพียงไร?

จิตตปัญญาเวชศึกษา 5: ประเมินแบบสร้างเสริมมณฑลแห่งพลัง

เป็นภาค 5 ต่อจาก

ตรงนี้ถ้าจะทำแบบ PBL process ก็ต้องเริ่มที่ step 1: clarify term กันก่อน จริงไหมครับ

มณฑลแห่งพลัง

คำนี้ขอยืมมาดื้อๆ จากหนังสือ อ.วิศิษฐ์ วังวิญญู ชื่อหนังสือเดียวกัน มีรายละเอียดที่จะ inspire ได้ลึกซึ้งมากมายกว่าที่ผมสามารถบรรยายได้ ณ ที่นี้ แนะนำ (อย่างแรง) ว่าให้ไปหามาอ่าน แต่จะขอสรุป (โดยมี disclaimer ว่า "ผมไม่สามารถจะสรุปย่อหนังสือเล่มนี้ได้ worthwhile อย่างสมศักดิ์ศรีที่แท้จริง แต่ขอเอาความรู้สึกวูบหนึ่งแปลงเป็นหนึ่งบทความ"

 เราจะทำกิจกรรมใดๆก็ตาม ต้องใช้ พลัง เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้เหมือนต้นไม้หรือแบคทีเรียบางชนิด ดังนั้นเรากินอาหาร ย่อย ดูดซึม เก็บกัก เปลี่ยนแปลง ใช้ และขับถ่าย ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งก็คือ วิธี ที่เรากิน ย่อย ดูดซึม เก็บกัก เปลี่ยนแปลง หรือแม้กระทั่งระบายออก ขับถ่ายนั้น มีผลอย่างไม่น่าเชื่อกับ ประสิทธิภาพในการที่พลังนั้นถูกใช้ รวมความให้ oversimplified ก็คือ มี วิธีแบบบวก วิธีแบบลบ ทางที่ดีเราควรจะ ใช้แบบบวก มี good flow (หรือจี้กงอาจจะบอกว่าให้มี flow โดยไม่อุดตันค้างคา ก็พอ)

นำกลับเข้ามาสู่การเรียนแพทย์ใหม่ แน่นอนที่สุด เมื่อมีการเรียน ก็มีการประเมิน ไม่งั้นเราก็ไม่รู้ผลการเรียน ในทางศึกษาศาสตร์แล้ว การประเมินเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งทีเดียว หลักสูตรจะดี / ไม่ดี ไม่เพียงแต่การจัด การมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี การทดสอบที่ดีแล้ว การประเมินจะต้องมีคุณสมบัติหลายประการที่จะสะท้อนถึงสัมฤทธิ์ผลได้อย่างถูกต้อง

ผมว่าจากประสบการณ์การเป็นครูอาจารย์ (และรวมทั้งการเป็นนักเรียน) ผมมี ความเกร็ง ในเรื่องการประเมินเพราะ ความสำคัญ ของมันนี่แหละไม่น้อยเลย ความเกร็งของครู บวกความสำคัญของการประเมิน แผ่สร้านไปถึงจิตไร้สำนึกของนักเรียนได้ บังเกิดเป็นความเครียดขึ้น จากหนังสือพี่วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ความเครียดนี้แหละหนอเป็นบ่อเกิดโรคร้ายนานาประการ มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ รวมกับข่าวการวิจัยของ อ.สมเกียรติ์ มศว. พบว่า นศพ. เป็นหนึ่งในบรรดา มนุษย์ช่างเครียดที่สุด ทำให้เราน่าจะเริ่มเห็นความสำคัญของ คุณ-โทษ ของการประเมินในการเรียนแพทย์มากขึ้น

ข่าวดีก็คือ จิตตปัญญาเวชศึกษานั้น จะเป็น การประเมินเพื่อสร้างเสริมมณฑลแห่งพลัง ได้ น่าสนใจไหมครับ?

ลองคิดดู ถ้านศพ.ถูกประเมินแล้วเป็นพลังบวก ฉีกงหมุนวนเวียนไร้อุดตัน จะเป็นการเรียนที่ประเสริฐเพียงไร?

ถ้านับจังหวะเวลาแห่งการประเมิน ก็จะมีสองช่วง หนึ่งคือ formative assessment หรือการประเมิน "ระหว่าง" เรียน และสองคือ summative assessment หรือการประเมิน "ตอนสิ้นสุด" การเรียน อย่างแรกก็เพื่อเป็นการ early detection ว่า เด็กของเราเป็นยังไง ไม่ล้าหลังจนเป้นดินพอกหางหมูสายเกินแก้ และเพื่อการปรับเปลี่ยนหลักสูตรถ้าจำเป้นระหว่างทาง ไม่งั้นจะเละตุ้มเป๊ะไปตลอดทั้งกลุ่มเปล่าๆปลี้ๆ ส่วนอย่างหลังเป็นการประเมินบอก "ได้ / ตก" และ ranking ว่า ที่ได้นั้นได้อย่างฉลุยสวยงาม หรือได้อย่างถลอกปอกเปิก หรือตกอย่างต้องถ่ายรูปดูจึงเห้นว่าตก หรือว่าตกตั้งแต่ในมุ้ง (จริงๆอาจจะมีตกแบบควรจะเชิญออกไปเรียนคณะอื่นๆที่เหมาะสม เพราะดูถ้าจะเกลียดวิชานี้เอามากๆ) การประเมินแบบ สร้างเสริมมณฑลแห่งพลัง สามารถเกิดได้ทั้งสองตอน แต่ผมจะเน้นที่ formative assessment

ครั้งหนึ่งในที่ประชุมแพทยศาสตรศึกษา เรือง professionalism หรือ อาชีวปฏิญาณ การเรียนจริยศาสตร์ก็เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ มีคนบอกว่าเราน่าจะมีการ ตัดเกรด วิชาจริยศาสตร์ ตรงนี้ผมฟังอยู่ถึงกับสะดุ้งตื่นลืมตาจากภวังค์ (กำลังสมาธิอยู่ครับ ชื่นชม delta wave ไม่ได้หลับหรอกน่า) เพื่อนผมที่เป็นผู้บรรยาย ก็สะดุ้งเหมือนกัน (หมอชัยชนะ นิ่มนวล) ด้วยความเป็นคนน่ารัก หมอชัยชนะเลยตอบไปว่า เขาสนใจจะใช้เป็น formative evaluation จะน่าตื่นเต้นดี

แต่ด้วยความเป็นคน (ไม่) น่ารักของผม ผมก็ลุกขึ้นวิจารณ์ว่า การประเมินจริยธรรมว่า "ตก" เราจะ "ซ่อมเด็ก" หรือจะทำอย่างไร (ความหมายโดยนัยก็คือ "เราแปลว่าอะไร จากผลการสอบนั้น".... คือตอนนั้นยังไม่ได้เรียนเรื่องการห้อยแขวน การหน่วงครับ คิดอะไรออกมาก็ทนไม่ไหวพูดออกมาเลย)

คนเรานี้มีพฤติกรรม ความคิด เปลี่ยนแปลง วิ่งไปมาไม่หยุดนิ่ง โดยมี บริบท เป็นผู้มีอิทธิพล อยู่หลังฉาก มี อารมณ์ความรู้สึก เป็นผู้กำกับอยู่บนเวที มี judgementing attitude ของอาจารย์เป็นคนดูตบมืออยู่ข้างล่าง จะเป็นการยุติธรรมแค่ไหนในการสอบ 1 ครั้งที่จะบอกว่าคนๆหนึ่ง ตกจริยศาสตร์? เคยมีการคิดจะ add Ethical examination ลงในชุดข้อสอบ comprehensive หรือ ข้อสอบ ผ่าน / ไม่ผ่าน ของราชวิทยาลัย ถามว่าจะใส่ไปกี่ข้อ บอกว่าใส่ไป 5 ข้อ ผมถามว่าถ้าตอบไม่ได้สักข้อ หรือได้แค่ 2 ข้อ จาก 5 ข้อนี้ แต่ข้อสอบส่วนอื่นๆทำได้ผ่าน เราจะให้เขาผ่านหรือไม่? จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบ

แต่ ถ้านำมาใช้เป็น formative evaluation อย่างที่เพื่อนผมแนะนำ อันนี้จะเป้นคนละเรื่องกัน ต่อให้คนๆนี้อาจจะสอบไม่ผ่าน ตอบไม่ได้ดีตอนนั้น เพราะ overdoase caffeine อยู่ หรือพึ่งเผลอกิน dormicum ไปจนสะลึมสะลือ แต่เรา ไม่ควรตัดสิน ethical status แบบ cross-sectional เป็น final  ซึ่งผมเกรงว่าจะมีผลเสีย มากกว่าผลดี

การประเมินเพื่อพัฒนาตนเองนั้น (หรือเพื่อพัฒนาเด็ก) เป็นการ สร้างเจตคติ --ต่อ-- การประเมิน นักศึกษาถ้าสามารถ ปรับ เจตคติ ไม่กลัว และทราบว่านำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ไม่ใช่เป็นการ condemn ได้ / ตก ก้อาจจะช่วยในการประเมิน หรือฟังการประเมินได้ดีขึ้น ให้มีตระหนักว่า คุณค่าของคนอยู่ที่ความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ คุณค่า ณ แค่เวลาใดเวลาหนึ่ง ก็จะช่วยเบี่ยงเบนการประเมินให้เกิด flow ให้เป็นการสร้างเสริมมณฑลแห่งพลัง

ให้มี input ที่ถูกต้อง ย่อยและดูดซึมผลการประเมินได้คล่องคอ นำไปเก็บกักใน theta ได้อย่างปลอดภัย พร้อมที่จะนำมาใช้ นำมาประกอบการคิด ทำ พูด และขับถ่ายออกเป็น delta ที่มีค่าต่อไปของโลกนี้ได้

หมายเลขบันทึก: 80801เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

PART II ทำอย่างไร? และจิตตปัญญาเกี่ยวอย่างไร?

การประเมินที่ สร้างเสริม พลัง หรือให้คลื่นการเปลี่ยนแปลงบวกนั้นเป็นเรื่องดีไม่ต้องสงสัย แต่จะทำอย่างไร และใน จิตปัญญาเวชศึกษา ที่ว่านี้ เกี่ยวข้องอย่างไร?

ย้อนกลับมาที่ motto เดิมของเรา

  • self study
  • experiencing
  • interconnectedness

ที่จริงแล้ว ลึกๆ การประเมินก็มีส่วนประกอบของทั้งสามประการที่เป็นแกนจิตตปัญญาศึกษา หรือการเรียนด้วยใจที่ใคร่ครวญพอสมควรที่เดียว การประเมินตนเอง หรือตนเองถูกประเมิน เป็นการ ทำความเข้าใจตนเอง เพียงแต่ว่า ที่ตนเองมองตนเอง กับที่ระบบมอง (หรือนักเรียนอาจจะเรียก "อาจารย์" มอง) อาจจะไม่เหมือนกัน ถ้าเอาหลักการห้อยแขวน หน่วงคิดตัดสิน (หรือเชิงพุทธอาจจะว่า "ธัมมวิจัย") ต่อมาเราก็จะได้ ภาพตัวเรา ในมิติมุมมองต่างๆ ตรงนี้จิตสำนึกเราจะรับแบบ รับได้ รับไม่ได้ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ก็ขึ้นกับการฝึกปรือการฟังอย่างมีสุนทรีย์ และการฝึกให้ได้ collective consciousness มามากน้อยแค่ไหน สำหรับเบื้องต้นแล้ว นักเรียนที่ไม่ค่อยได้ทำ self reflection ก็สามารถมองการประเมินเป็นกระจกสะท้อนตนเองได้ระดับหนึ่ง คนที่เคยทำ self reflection ก็จะมีข้อมูล เพิ่มเติม เข้าไปประสานรวมกับที่ตนเองทำกับตนเอง ออกมาเป็น integrated assessment ก็จะยิ่งเข้าใจมากขึ้น

เนื่องจากการประเมิน เป็นการดู "ผล" ที่เกิดจาก "ประสบการณ์" ดังนั้น การประเมินจะเป็น ความเชื่อมโยงผลลัพธ์เข้ากับประสบการณ์ จะมีประโยชน์ในการที่นักเรียนจะได้ทำความเข้าใจความเกี่ยวเนื่อง เกียวพัน ระหว่าง performance และ อารมณ์ความคิดการรับรู้ ถ้านักเรียนสามารถทำได้ถึงกับเชื่อมโยงความคิด ความรู้สึก ขณะเรียน เข้ากับ ผลการเรียน ไม่ว่าดี / ไม่ดี และเฝ้า observe สังเกต จนกระทั่งบางทีอาจจะเริ่มมองเห็น pattern ที่มา ของสิ่งต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวด อาทิ การเรียนที่จิตใจปลอดโปร่งเป็นอิสระ มีผล ดี / ร้าย อย่างไร การเรียนที่เคร่งเครียด มีผล ดี /ร้าย อย่างไร และยิ่งถ้าสามารถห้อยแขวนหรือหน่วงการสรุปได้ รอเฝ้าดูอย่างระมัดระวัง เปิดจิต ไม่ด่วนตัดสินเชื่อมโยงเอาดื้อๆ ก็จะเป็นการประสานเทคนิกสุนทรียสนทนาเข้าไปกับการประเมินได้อีกโสตหนึ่ง

แต่ทว่าหัวใจของการเรียนด้วยใจที่ใคร่ครวญนั้น ต้องปราศจากความกลัว ดังที่ได้เคยพูดถึงในบทความตอนแรก เพราะความกลัวจะเป็นอุปสรรคในการสร้างมณฑลแห่งพลังอย่างยิ่ง ความกลัวก่อให้เกิดอารมณ์ลบมากมายหลายประการ แทบจะไม่สามารถทำให้เกิดพลังบวกได้เลยหากไม่สามารถควบคุมความกลัวให้ดี ฉะนั้นประเมินอย่างไรไม่ให้เด็กกลัว เป็น key ที่สำคัญพอๆกับการเรียนอย่างไรที่ปราศจากความกลัว

สิ่งหนึ่งที่ผมเคยสังเกต ตอนที่ทำงานเป็น safety officer ที่ department of transplantation sciences ที่ประเทศสหราชอาณาจักร ก็คือ เขาช่างมีความ "คุ้นเคย" กับการประเมิน ใหญ่ เล็ก เสียนี่กระไร ก็เกิดความเข้าใจว่า ความคุ้นเคยนี่เองอาจจะช่วยบรรเทาความกลัว ดังคำ สุสฺสูสํ ปรมํ ญาติ ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง แม้คนน่าเกลียดน่ากลัวประการใด ลูกๆสามีภรรยาของคนๆนี้ก็ยังไม่รู้สึกน่าเกลียดน่ากลัว นอกเหนือจากความดีที่เป็นนามธรรมแล้ว ความคุ้นเคยก็ทำให้เราบรรเทาความ ไม่รู้จัก ลงได้เยอะ เหมือนที่เราเคยกลัวฟ้าร้องตอนเด็กๆ ร้องไปร้องมา ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้นซะทีก็เลยเลิกกลัวไป

ในสังคมเราการประเมินอาจจะกลายเป็นการ ตีตรา ไป และถ้าเป็นตีตรานี้ ไม่ค่อยดี เพราะของอะไรที่ตีตราตีราคาไปแล้ว คำๆนั้น ค่านั้นๆ มันติดอยู่ในความทรงจำได้นาน การประเมินเพื่อพัฒนา หรือเพือการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นอะไรที่น่าจะสอดใส่จนกลายเป็นวัฒนธรรมทางความคิดต่อการประเมิน ตั้งแต่การเรียนชั้นเริ่มต้น

นอกเหนือจาก ความคุ้นเคย ในการประเมินแล้ว ก็ต้องเป็น เจตคติทางบวก ต่อการประเมิน เช่น ประเมินแล้ว อย่างเลวสุดก็คือได้ train เพิ่ม ฝึกอบรมเพิ่ม แต่ถ้าเป็น package ที่มาพร้อมกับการ devalue เช่น การเลือนขั้นลง ลดตำแหน่ง ตัดผลประโยชน์ สอบซ่อม ตกซ้ำชั้น การประเมินก็จะมี เงาลบ วูบวาบอยู่ข้างหลัง ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อไรที่มีการประเมิน จะทำอะไรต่อที่เป็นผลด้านบวก จะต้องถูกเสนอไปให้คนถูกประเมินได้รับรู้โดยเร็วที่สุด มันแย่พออยู่แล้วทีทราบผลประเมินที่ไม่ดี แต่อยู่กับผลแบบนี้นานๆต่อไป โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือ จะยิ่งแย่ลงไปเรื่อยๆ self ถูกลบ หรือถูกลดลง

สองยุทธศาสตร์คือ

  • ความคุ้นเคย
  • เจตคติทางบวก

น่าจะเป็นอะไรที่น่าลอง เพื่อจะแก้ไข evaluation-fear syndrome ของ นศพ.ลงได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท