เรียนรู้ OM


outcome Mapping

วันที่ 20 21 กุมภาพันธ์ 2550 สถาบันฯ ได้จัดประชุมนำเสนอการนำ OM ไปใช้ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของรพ.ที่ร่วมโครงการฯ เป็นรพ.ที่ผ่านการรับรอง HAHPH ทั้งสิ้น จำนวน 14 แห่ง แต่มาร่วมประชุม 12 แห่ง ซึ่งครั้งนี้เป็นการนำเสนอครั้งที่ 3 แล้ว ส่วนผลที่ได้สถาบันฯ นำไปรายงานเป็นผลการศึกษาวิจัยเรื่อง HPH developing partnerships for healthier communities นำเสนอยังต่างประเทศ ได้เรียนรู้จากรพ.ผู้ลงมือทำ OM ด้วยตัวเองจริงๆมาเล่าให้ฟังว่าทำอะไรบ้าง โดยแตละรพ. ก็มีมุมมอง มีวิธีที่นำเครื่องมือไปใช้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของรพ. บางแห่งนำไปสวมทับงาน/โครงการฯเดิมที่รพ.ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อติดตาม monitor ให้ชัดเจนมากขึ้น บางรพ.ได้เริ่มนำ OM ไปใช้ในการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพใหม่ที่เพิ่งคิดขึ้นมา เพื่อมุ่งหวังว่าจะทำให้ครบขั้นตอน 12 ขั้นตอน มีการสรุปบทเรียนสิ่งที่ได้จากการทำงานและสิ่งที่เกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหมาย

มีคำถามจากรพ.ว่าจะทำเรื่องอะไรดี เรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ ต้องทำแค่ไหน คำตอบต้องกลับไปถามตัวเอง ตามแนวคิดของ OM ว่า ทำแล้วคนทำมีความสุข อยากจะทำหรือไม่ ต้องเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากความต้องการของรพ.เอง ส่วนจะทำเรื่องอะไรแค่ไหน ต้องถามตัวรพ.อีกว่าปัญหาของตัวเองอยู่ที่ไหน ทำแล้วแก้ปัญหาของรพ.ได้หรือไม่ ถ้าพัฒนาแต่เรื่องเล็กๆ แต่ปัญหาสำคัญของรพ. มีสูง เห็นควรจะต้องทบทวนเรื่องที่ทำใหม่ค่ะ จริงอยู่ที่ในระยะแรกเราทำเรื่องง่ายๆก่อนเพื่อนำบทเรียนที่ได้ไปใช้หรือขยายผลต่อไปในโอกาสหน้า และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด เป้าหมายชัด วัดผลได้ ให้คุณค่า อย่ายึดติด สาเหตุที่เรานำเสนอเครื่องมือนี้ให้รพ.ที่ผ่านการรับรองแล้วเพราะรพ.มีกระบวนการเรียนรู้ มีพฤติกรรมที่ยอมรับเครื่องมือ นวตกรรมใหม่ๆ และมีการจัดการโดยใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงมาจัดการ(management by fact)หากมีการวิเคราะห์บริบท ปัญหา ร่วมกับความต้องการของผู้รับบริการชุมชน ชัดเจน เรื่องที่เราจทำจะมีคุณค่าและมีโอกาสเกิดความสำเร็จสูง โดยวิเคราะห์ถึงทุนเดิมทางสังคมที่เรามีอยู่ในชุมชน เพื่อนำมาเป็น boundary partnership ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง 

แต่ที่สำคัญคือเราต้องไม่ลืมว่า OM เป็นเพียงเครื่องมือ ใช้เพื่อเป้าหมายคือพัฒนาคุณภาพHA &HPH โดยเฉพาะกรณีที่ต้องการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต้องเป็นคนต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและติดตามประเมินผลด้วยตนเอง รพ.จะทำอย่างไรให้ภาคีหุ้นส่วนนั้นเกิดความรู้สึกของการเป็นเจ้าของโครงการหรือแผนงานนั้นเอง จะทำให้รพ.ไม่เหนื่อยอีกต่อไป บางรพ.นำมาเชื่อมต่อกับ Clinical tracer เช่นโรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคสำคัญของ PCT ศัลยกรรมและเป็นปัญหาที่ผู้ป่วยมารพ.ในระยะที่ต้องตัดเต้านมแล้ว PCT ศัลยกรรมเห็นความสำคัญในการป้องกัน/ค้นหาในระยะเริ่มแรกจึงนำ OM มาจับโดยนำ สอ. PCU มาร่วม โดยสอ.และ PCU นั้นต้องมีความต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมในการค้นหาและส่งต่อได้เอง อย่างนี้เป็นต้น เราจะได้ทั้ง Intermediate & ultimate outcome

คำสำคัญ (Tags): #om
หมายเลขบันทึก: 79940เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท