KM เพื่อเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จ. พิจิตร (๖)


KM เพื่อเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จ. พิจิตร (๖)
 
         ผมชื่นชมทีมงานในเครือข่ายของ จ. พิจิตรมาก    เพราะมีการคิดอย่างเป็นระบบ    และมีการประเมินปัญหาอุปสรรคด้วย    แม้ KM จะไม่เริ่มต้นด้วยปัญหา    แต่ในการทำงานจะต้องมี Systems Thinking และการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคเป็นส่วนหนึ่งของ Systems Thinking

9. ปัญหาอุปสรรคและจุดอ่อนในการทำงาน 
(1) ปัญหาภาระของผู้นำมากขึ้น ทำให้แกนนำเกษตรกรถูกดึง ออกสู่ภายนอก ไม่มีเวลาอยู่ใน
ชุมชน ซึ่งจะมีปัญหามากขึ้นถ้าผู้นำคนดังกล่าวไม่สามารถหาผู้นำขึ้นมาทดแทนได้ ซึ่งมีผลต่อเนื่องทำให้กิจกรรมในพื้นที่ของตนเองไม่ต่อเนื่อง  ผู้นำไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงในพื้นที่ ข่าวสารที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มเครือข่าย เกิดการกระจุกตัวอยู่ที่ผู้นำ  สมาชิกไม่รับรู้การทำงาน ผู้นำบางคนเกิดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ตามมา
(2) การสื่อสารเรื่องเกษตรปลอดสารพิษ จำกัดเฉพาะกลุ่มเครือข่ายชมรมฯเป็นส่วนใหญ่
(ประมาณอำเภอละ 5 – 10  คน) คนทั่วไปในจังหวัดพิจิตรยังรับรู้กระบวนการทำงานกลุ่มเครือข่ายน้อย  แม้ว่ามูลนิธิและชมรมฯจะมีช่องทางการสื่อสารหลากหลาย แต่เกือบทั้งหมด ให้ความสำคัญกับแกนนำเกษตรกรในเครือข่าย แต่กลุ่มเป้าหมายที่เป็น คนทั่วไป ทั้งผู้ผลิตที่ยังทำเกษตรเคมี และผู้บริโภค  มีเพียงสถานีวิทยุ ที่เป็นช่องทางเดียว ดังนั้นคนทั่วไปในจังหวัดพิจิตรจึงไม่รู้ว่ามูลนิธิทำกิจกรรมอะไร เนื้อหาที่มูลนิธิต้องการสื่อในเรื่องการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองจึงไม่เป็นที่รับรู้ของคนส่วนใหญ่ในจังหวัดพิจิตร
(3)  ขาดระบบการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้การรวบรวม จัดเก็บ นำมาใช้ และเผย
แพร่ ไม่คล่องตัว และซ้ำซ้อน

10. แผนงานในอนาคต
แผนงานในอนาคต ของกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต  โดยการระดมความคิดเห็นในวันที่ 9ธันวาคม  2546  ผู้เข้าร่วมได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดพิจิตรและแกนนำเกษตรกร จำนวน 25 คน โดยมีรานละเอียดคือ
10.1  กรอบแนวคิดการทำงานที่มุ่งไปสู่การปลดหนี้

                                         กรอบความคิด


10.2 ยุทธศาสตร์ต่อไป คือ สร้างครอบครัวให้มีเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีตัวชี้วัดหลักคือ
การปลอดหนี้ มีความพอเพียง พึ่งตนเองได้ มีความอบอุ่นในครอบครัว เน้น ความสุขมากกว่า เงิน
 แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ
• ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ ต้นไม้)
• สร้างกระแส เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
• เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง  วปอ.สร้างผู้นำเพิ่ม   ขยาย ครู และนักเรียนเพิ่ม  ภายใน
อำเภอ มีเวทีสัญจรสม่ำเสมอ
• จัดการความรู้ คู่ปัญญา พึ่งตนเอง มีภูมิปัญญา ผ่านการวิจัย มีการเพิ่มแหล่งเรียนรู้
ให้เฉพาะพื้นที่มากขึ้น คือ แหล่งเรียนรู้สำหรับที่ดอน ที่น้ำท่วม และเขตชลประทาน
• บริหารจัดการที่ดี มีแผนประเมิน ติดตาม สนับสนุน มีข้อมูล โครงสร้างการ
ประสานงาน  จัดการทรัพยากร ความรู้ ภูมิปัญญา และวัสดุ
• การทำธุรกิจชุมชน ที่เน้นการเกื้อกูลช่วยเหลือกัน มากกว่าการเน้นกำไร สร้าง
แนวทางการแลกเปลี่ยนสินค้า เน้นภายในสมาชิก โดยนำข้อมูลทำเนียบสมาชิกมาใช้เป็นประโยชน์  ทำข้อมูลว่าพวกเราแต่ละกลุ่มมีสินค้าอะไร ความต้องการสินค้าแต่ละกลุ่ม
• ปัจจุบันกองทุนดังกล่าวได้มาจากกากนำตาล ซึ่งอยู่ในรูปตัวเงิน แต่ต่อไปจะมีการ
ตั้งกองทุน ในรูปอื่นๆ บ้าง  กองทุนทางภูมิปัญญา กองทุนทรัพยากรธรรมชาติ 
 
10.3 ทางออกการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
(1) ปัญหาผู้นำ
• ปัญหาความไม่เข้าใจภายในครอบครัวผู้นำ ทางออกคือ จัดงานประชุมไป
ในพื้นที่ต่าง ๆ ให้นำ ภรรยาไปด้วย จะได้เข้าใจว่าเราไปทำอะไรไปเรียนรู้ด้วยกันจะได้เข้าใจตรงกัน ทางออกอีกส่วนหนึ่งคือ กำหนดวันประชุมให้เหลือประมาณเดือนละ 1 ครั้ง
• สร้างผู้นำเพิ่มขึ้นโดยแบ่งหน้าที่ตามความสามารถและความถนัด ใครเก่งแบบ
ไหน ก็ให้ทำหน้าที่แบบนั้น เช่น  ใครเหมาะที่ประสานเครือข่าย ชอบเดินทาง รับหน้าที่ไปประชุม 
• จัดระบบงาน เรื่องที่เป็นลักษณะงานประจำ จุกจิกในเรื่องเอกสารและการจัด
การ  ไม่ต้องมาให้ปราชญ์ชาวบ้านคิด เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในส่วนการจัดการสามารถทำไปได้เลย ลดภาระให้ผู้สูงอายุไม่ต้องมาคิดมาก  เน้นเฉพาะเรื่องแนวคิดการทำงานและกระบวนการทำงานงาน เรื่องใหญ่ ๆ
• การขยายแนวคิดไปสู่เด็ก ผ่านไปทางโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อสร้างแกนนำยุวชน
เกษตรกรในการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง เป็นการปลูกฝังเด็กตั้งแต่ยังอายุน้อย ๆ
• เน้นการประสานกับคนในท้องถิ่น ใช้ระบบอาสาสมัคร ที่ปรึกษา ไม่มีเงิน
เดือน มาเป็นคนทำงานในพื้นที่มากขึ้น

        (2) ปัญหาคนนอกไม่รับรู้การทำงานของเครือข่ายชมรมฯ
• การสื่อสารให้กับคนภายนอกรับรู้กระบวนการทำงานของเครือข่ายเกษตร
ธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ ใช้วิธีการให้แกนนำเครือข่ายสมัครเป็นผู้สื่อข่าวเพื่อเสนอแหล่งข่าวที่เครือข่ายรับรู้ฯ  จัดเก็บเป็นทำเนียบไว้และพร้อมเปิดตัวออกไปให้คนภายนอกเครือข่ายได้รับรู้
• การจัดเวทีสัญจร เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงานสิ่งดีๆของเจ้า
ของบ้าน การหมุนไปแต่ละรอบจะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น  ไปเรียนรู้หนึ่งปีหนึ่งไป 12 ครั้งเราก็เห็น 12 คนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนเดิม คนนอกเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่จะได้รับรู้การทำงานของเครือข่ายด้วย
• สร้างพลังการช่วยเหลือกันให้มากขึ้น เช่น การลงแขก การช่วยในสิ่งที่เรามีอยู่
สร้างพลังสามัคคีที่ทำให้เห็นภาพ  “ เครือข่ายผู้มีน้ำใจ ”  มากขึ้น
• มีการเชื่อมหลาย ๆ องค์กรทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด เช่น
อาสาสมัครสาธารณสุข อบต. ครู แกนนำชาวบ้าน
• การจัดหลักสูตรผู้นำ วปอ. ภาคประชาชนยังคงมีอยู่ แต่จะเน้นการสร้างผู้นำไป
ที่หมู่บ้าน ละ 5 คน เน้นจำนวนหมู่บ้าน 25 เปอร์เซ็นต์ของหมู่บ้านในจังหวัดพิจิตร  ทำในภาพรวมตำบล ให้ได้ 25 ตำบล ในจังหวัดพิจิตร
• ประสานพหุภาคี เพิ่มขึ้น คือ สภาผู้แทนราษฎร องค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน นักธุรกิจในจังหวัดพิจิตร นักวิชาการ โรงเรียน ครู และเยาวชน เพื่อไปสู่ความร่วมมือกับกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ เพิ่มขึ้น

     (3) ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบและข้อมูลซ้ำซ้อน
• เชิญนักนักวิชาการมาเป็นพันธมิตร เพื่อมาช่วยทำวิจัย  ให้เห็นกระบวนการ
ทำงานที่เป็นวิชาการ สะท้อนการทำงานออกมาให้ชัดเจน และมาช่วยวางแผนการจัดการข้อมูล
• มีการจัดทำทำเนีบยกลุ่มองค์กรและสมาชิกที่ชัดเจนเพื่อขยายการทำงานไปสู่เรื่อง
อื่นๆ  

         ผมจำไม่ได้แล้วว่าใครเป็นคนเขียนเอกสารนี้    คุณสุรเดชเข้ามาอ่านแล้วโปรดแจ้งในช่องแสดงข้อคิดเห็นด้วยว่าใครเขียน    จะได้เป็นที่รู้กันว่าใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ข้อเขียนชิ้นนี้

วิจารณ์ พานิช
๑๙ ตค. ๔๘


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 7991เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2005 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท