ความรับผิดชอบของสภามหาวิทยาลัย


          ผมไปเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการเพื่อกำหนดประเด็นเชิงนโยบายอุดมศึกษา  สำหรับการจัดทำแผนพัฒนา
อุดมศึกษาระยะยาว  ๑๕  ปี  ฉบับที่ ๒   (พ.ศ.๒๕๕๐ - ๒๕๖๔)   ที่กาญจนบุรี   เมื่อวันที่ ๑๐-๑๑ ก.พ. ๕๐   ได้เอกสาร  "ความรับผิดชอบของสภาสถาบัน ๑๒ ประการ"   ที่สรุปจากหนังสือ   Effective  Trusteeship   เขียนโดย  Richard  T.  Ingram,  ๑๙๙๕    จึงนำมาบันทึกไว้

          ๑. กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์  (setting mission and purpose)   สภาฯ ต้องเข้าใจเป้าประสงค์ของสถาบันอย่างชัดเจน  และช่วยกันกำหนดทิศทางเพื่อให้สถาบันเดินทางไปสู่เป้าประสงค์

          ๒. สรรหาอธิการบดี   เป็นความรับผิดชอบสำคัญที่สุด   ที่สภาฯ จะต้องสรรหาบุคคลที่มีทั้งคุณสมบัติและประสบการณ์ที่จำเป็น   เพื่อมารับหน้าที่สำคัญนี้ 

          ๓. สนับสนุนงานของอธิการบดี
                    -ใส่ใจและช่วยเหลืองานของสถาบัน
                    -ช่วยระดมทรัพยากรช่วยสถาบัน
                    -ให้กำลังใจและชมเชยในผลสำเร็จ
                    -มาประชุมสม่ำเสมอ

          ๔. ติดตาม-กำกับการปฏิบัติงานของอธิการบดี
                    -การประเมินผลการปฏิบัติงาน
                    -การตรวจสอบภายในการเงิน

                                          

 

                    เพื่อช่วยให้อธิการบดีปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น

          ๕. ประเมินการปฏิบัติงานของสภาฯ
                    -ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมติของสภา
                    -ประเมินผลประจำปีโดยองค์กรอิสระ
                    -จัดประชุมปฏิบัติการ (workshop)  หรือประชุมทบทวน  (retreat)  ทุก ๓-๔ ปี  โดยสมาชิกสภา

          ๖. ยืนหยัดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
                    -ให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติกำหนดแผนการบริหารและแผนปฏิบัติ
                    -ประเมินผลงาน - ผลกระทบ
                    -ปรับปรุงการบริหารและการปฏิบัติ
                              *หลักสูตร การเรียน การสอน
                              *การวิจัยและพันธกิจต่างๆ

          ๗. ทบทวนโปรแกรมการศึกษาและโครงการบริการสังคม  เพื่อนำไปสู่
                    -การควบคุมค่าใช้จ่าย
                    -การจัดสรรทรัพยากรใหม่
                    -การลดแรงกดดันที่ต้องขึ้นค่าเล่าเรียน     
                    -การปรับโครงสร้าง

          ๘. ประกันความพอเพียงของทรัพยากร
                    -"งบประมาณไม่เคยพอ" ก็จริง   แต่สภาก็ต้องร่วมรับผิดชอบเพื่อให้มีทรัพยากรที่เพียงพอกับ
การบริหาร และการปฏิบัติงาน
                    -กรรมการสภาต้องช่วยหาเงิน  หาทรัพยากรอื่น หาความร่วมมือ หาพันธมิตร ฯลฯ
  
          ๙. ประกันการบริหารจัดการที่ดี
               เครื่องชี้ :-
                    -มี "ธรรมาภิบาล"
                    -งบดุลไม่ติดลบ
                    -คณาจารย์และเจ้าหน้าที่มีคุณภาพ  เสียสละเพื่อสถาบัน
                    -ได้ "บัณฑิตที่พึงประสงค์" ฯลฯ

          ๑๐. ยึดมั่นในความมีอิสระของสถาบัน
                    -สภาฯ ปฏิบัติในกรอบจริยธรรม
                    -ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ผลดี
                    -สถาบันได้รับการรับรองคุณภาพ

                                         

                    หากเป็นเช่นนี้แล้ว   สภาฯ ต้องประกัน
                    "ความอิสระทางวิชาการ - academic freedom"  และ
                    "ความเป็นอิสระในการบริหารสถาบัน - Institutional autonomy"

          ๑๑. เชื่อมโยงสถาบันสู่ชุมชน  และเชื่อมโยงชุมชนสู่สถาบัน
                    -สภาเป็น  "กันชน - buffer"
                    -สภาเป็น  "สะพาน - bridge"
                    -สภาช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างชุมชนและสถาบัน  (one foot firmly planted in  "the real world"  and the other in "the academic world")

          ๑๒. บางครั้งทำหน้าที่เป็นศาลอุทธรณ์
                    -ความขัดแย้ง ความขัดข้องหมองใจทั้งหลายของนักศึกษา  เจ้าหน้าที่  คณาจารย์  ต้องยุติสิ้นสุดที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติ
                    -สภามีหน้าที่ดูแลว่า  "ระบบและกระบวนการยุติธรรมในสถาบันเป็นไปตามกฎระเบียบ และความเป็นธรรม"   


         

          หน้าที่ของกรรมการสภาแต่ละท่าน


               ๑. ออกความเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ  และตั้งใจฟังเหตุผลของบุคคลอื่น
               ๒. เมื่อมีมติแล้ว  ต้องสนับสนุนมตินั้นอย่างเต็มกำลัง  ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับมตินั้น
               ๓. ช่วยเผยแพร่ผลงานและเกียรติคุณของสถาบัน

 

วิจารณ์   พานิช
๑๐ ก.พ. ๕๐
โรงแรมเฟลิกซ์  ริเวอร์แคว  รีสอร์ท
 

หมายเลขบันทึก: 78428เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ Prof. Vicharn Panich  

เพิ่งอ่านพบบันทึกนี้ มีประโยชน์สำหรับดิฉันมากเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่ได้บันทึกไว้

สำหรับประสบการณ์ส่วนตัวที่ยังมีอยู่น้อยในเรื่องนี้ ดิฉันคิดว่ายังมีหลายเรื่องที่สภาฯ (ที่ตัวเองเป็นกรรมการอยู่) ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างชัดเจน เช่น ๔, ๕, ๗, ๘ และข้อ ๙ บางข้อค่ะ  แต่เป็นไปได้ว่าดิฉันยังมีประสบการณ์น้อย เลยไม่ทราบว่าสภาฯ ได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว

ดิฉันคิดว่าแต่ละข้อสำคัญๆ ทั้งนั้นเลย นับเป็นบันทึกที่เป็น guideline ที่ดีสำหรับดิฉันจริงๆ

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท