การพัฒนาระบบราชการ


          เมื่อ  3 ตค.45  ประเทศไทยได้เริ่มให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระบบราชการอย่างขนานใหญ่  ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่การปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารงานเท่านั้น  แต่ยังรวมถึงการปรับเปลียนพฤติกรรม ทัศนคติ  และกระบวนทัศน์ของข้าราชการให้เข้ากับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์   ทั้งนี้  เนื่องมาจาก  กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะระบบเศรษบกิจเสรีที่มีการแข่งขันระหว่างประเทศ บริบทของสังคมก้าวไปสู่สังคมแห่งความรู้   ในสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนมาใช้ความก้าวหน้าของฐานความรู้  และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่  เป็นปัจจัยชี้นำให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้สามารถก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน  ในขณะที่โครงสร้างการผลิตทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรมยังเน้นการผลิตโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานเป็นหลัก  อีกทั้งความสามารถในการบริหารจัดการยังอยู่ในระดับต่ำ  ประกอบกับพื้นฐานการศึกษาของคนไทยและการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังอ่อนแอ  ทำให้ต้องพึงพาต่างประเทศสูง  เมื่อปี 2540  ประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก  จึงประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจมาแล้ว

       สำหรับระบบราชการ กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  ทำให้งานของภาครัฐมากขึ้นและยากขึ้น  ในขณะที่รัฐจะต้องเล็กลง ใช้คนให้น้อยลงเพื่อความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจและกระแสประชาธิปไตยเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน  ภาคประชาชนจัดบริการแทนภาครัฐมากขึ้น  สภาพของระบบราชการที่ผ่านมาเป็นการขยายอำนาจ  ขยายการบริโภคทรัพยากรแต่ขาดประสิทธิภาพ  มีความล่าช้า  เฉื่อยชา  ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและทำลายศักยภาพของคนที่อยู่ในระบบ  ทำให้ระบบราชการกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศให้ทันกับการแข่งขันของนานาอารยประเทศ  จึงได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534  ซึงได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535  บัญญัติว่า "ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน  การมีส่วนร่วมของประชาชน  การเปิดเผยข้อมูล  การติดตามตรวจสอบ  และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เป้าหมายสูงสุดก็เพื่อประโยชน์สูขของประชาชน  และได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ.2546-2550)  อันประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์  คือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1  การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานยุทธศาสตร์ที่ 2  การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินยุทธศาสตร์ที่ 3  การรื้อปรับระบบการเงินและงบประมาณ    ยุทธศาสตร์ที่ 4  การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ยุทธศาสตร์ที่ 5  การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ยุทธศาสตร์ที่ 6  การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย       ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

        การพัฒนาระบบราชการได้นำเอากระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เข้ามาใช้ในวงราชการของไทยอย่างจริงจังเพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเสริมสร้างขีดสมรรถนะระบบราชการของไทยให้เข้มแข็ง  แต่ในทางปฏิบัติยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับวิธีการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผล                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                

หมายเลขบันทึก: 78137เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากเห็นคนกรมป่าไม้ที่เข้าใจ รู้และนำเอาความรู้นี้ไปปฏิบัติในทุกระดับ น่าเป็นห่วงหากองค์กรที่มีอายุกว่าร้อยปีที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง วอนผู้บริหารและกลุ่มพัฒนาระบบพิจารณา

  -ตรวจทานด้วยว่าคนกรมเราเข้าใจ มีความรู้เรื่องการบริหารภาครัฐแนวใหม่หรือไม่ ระดับใด จะปรับเปลี่ยนอย่างไรดี การพัฒนาจำเป็นต้องเริ่มจากคนภายในองค์กรก่อน เราเริ่มหรือยัง

 -ที่ผ่านมากรมป่าไม้พัฒนาบุคคลากรปีละกว่า 100 ครั้ง มากกว่าปีละ 500 คน หลากหลายองค์ความรู้ได้รับการถ่ายทอดสู่บุคคลากรกรมจึงทำให้องค์กรขับเคลื่อนสู่ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ได้ แต่ที่ผ่านมาหยุุดการพัฒนาชนิดเหวี่ยงกลับอย่างรุนแรงใครช่างใจร้ายกับกรมป่าไม้เหลือเกิน จะหวังให้เรียนรู้เอง หรืออย่างไร แล้วเมื่อไหร่เราจึงจะเห็นฝั่ง

  • ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ คุณสมเด็จที่แวะเข้ามาอ่านและเสนอความคิดเห็น และขอแสดงความคิดเห็นตอบดังนี้
  • คนกรมป่าไม้มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่  ระดับปานกลาง ค่อนข้างมาก แต่ไม่ค่อยเชื่อมั่นบ้างระบบ อาทิเช่น ระบบคุณธรรม
  • จะปรับเปลี่ยนอย่างไร  ประการแรกต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด หรือกระบวนทัศน์ หรือทัศนคติเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อองค์กร เพื่อประเทศชาติ เพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อตนเองจะต้องได้ หรือเพื่อนพ้องของตนต้องได้ก่อน ตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และเจ้าหน้าที่ทุกคน
  • คนกรมป่าไม้ส่วนใหญ่มีความรู้ มีศักยภาพมาก  ในการปฏิบัติงานมาก แต่ไม่ค่อยได้รับโอกาสที่จะใช้ความสามารถของตน  เพราะคนเก่งงานมักควรได้รับเชิญหรือขอร้องให้มาทำงาน หรือมารับตำแหน่ง  ไม่ใช่วิ่งเข้าหาตำแหน่ง
  • เมื่อไหร่จะถึงฝั่ง เมื่อทุกฝ่ายหยุดเห็นแก่ตัว พวกพ้อง ชิงดีชิงเด่น  ความขัดแย้งเรื่องเล็ก ๆ ไม่ควรมี  มีความรักความสามัคคีกันเพื่อแก้  ปัญหาใหญ่ ๆ ของกรม  ต้องสร้างวัฒนธรรมคนกรมป่าไม้ใหม่ที่ดี ที่ทุกสังคมยอมรับ และอยู่ในองค์กรอย่างมีความสุข
  • หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณสมเด็จคงเป็นคนหนึ่งที่จะร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่กับกพร.นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท