พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่สุขภาพดี และผู้สูงอายุที่สุขภาพเบี่ยงเบน


สุวรรณา วุฒิรณฤทธิ์, มนทรา เกศแก้วกมล, จิตอมร วุฒิพงษ์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาวิถีชีวิตที่ผ่านมาในอดีตของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี และผู้สูงอายุสุขภาพเบี่ยงเบน เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ซึ่งส่งผลให้บุคคลเหล่านั้นเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีสุขภาพดี

ผลการศึกษา
- พบว่า ผู้สูงอายุที่สุขภาพดี แสวงหาความรู้ด้านสุขภาพและนำมาดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง ไม่ค่อยได้ไปพบแพทย์แม้จะเจ็บป่วย ยกเว้นป่วยหนัก ส่วนมากไม่มีเวลาออกกำลังกาย แต่เป็นคนที่ไม่อยู่นิ่ง ทำกิจกรรมตลอดเวลา เข้านอน 20.00-21.00 น. ตื่น 04.00-06.00 น. ก่อนนอนเป็นกิจกรรมพูดคุย ปรึกษาหารือกันในครอบครัว การดูรายการโทรทัศน์ หลังรับประทานอาหารเย็นแล้วจะไม่รับประทานอะไรอีก ยกเว้นดื่มน้ำ อาหารส่วนมากปรุงเองจากผลผลิตพื้นบ้าน รับประทานพออิ่ม ไม่ค่อยได้รับประทานขนมหวาน ทำขนมรับประทานเมื่อมีกิจกรรมในหมู่บ้าน ซึ่งถือเป็นโอกาสพบกันของสมาชิกในหมู่บ้าน ได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน มีการปรึกษาหารือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ส่วนผู้สูงอายุที่สุขภาพเบี่ยงเบนเป็นผู้ที่ทำงานลักษณะงานหนัก และปริมาณงานมาก พอเลิกงานจะอ่อนล้าจึงไปพักผ่อนในกิจกรรมบันเทิง เข้านอนประมาณ 21.00-24.00 น. ตื่นประมาณ 06.00-12.00 น. รับประทานอาหารที่หาได้ง่ายและรวดเร็ว บางครั้งไม่ได้รับประทานอาหาร เมื่อรู้สึกเจ็บป่วยส่วนใหญ่ไปพบแพทย์ ไม่ได้ออกกำลังกายเพราะไม่มีเวลาและร่างกายอ่อนล้า เวลามีปัญหาก็ต้องพยายามแก้ไขให้ได้หรือปล่อยเลยไป บางครั้งก็กลุ้มใจนานเป็นเดือน ไม่ค่อยร่วมกิจกรรมทางสังคม เพราะไม่มีเวลา

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 77921เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท