การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการสอน


การหาประสิทธิภาพการสอน
ถามตอบปัญหาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครู โดยนายยืนยง ราชวงษ์ 1.ถาม : นักเรียนชั้นที่สอน , กิจกรรม รวมทั้งเทคนิค วิธีการสอน, สื่อ อุปกรณ์, วิธีการวัดผลและเครื่องมือวัดผล ถ้าเปรียบเทียบในเชิงวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หมายถึงอะไร ตอบ: 1) นักเรียนชั้นที่สอน เช่น นักเรียนชั้น ป.1, ม.2 ,ม.6 เป็นต้น ในทางวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูเปรียบได้กับประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง 2) กิจกรรม รวมทั้งเทคนิค วิธีการสอน ในการจัดการเรียนการสอนที่ใช้อยู่เป็นประจำ เช่น กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา การสาธิต การทดลอง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง ใบงาน แบบฝึก บัตรคำ แถบประโยค บัตรภาพ ใบความรู้ เกม เพลง บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมบูรณาการ แผ่นใส VDO CAI เป็นต้น ในทางวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูเปรียบได้กับ นวัตกรรม หรือตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ 3) สื่อ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน ที่สอดคล้อง สัมพันธ์กับกิจกรรม เช่น ใบงาน แบบฝึก บัตรคำ แถบประโยค บัตรภาพ ใบความรู้ เกม เพลง บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมบูรณาการ แผ่นใส VDO CAI เป็นต้น ในทางวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูเปรียบได้กับ นวัตกรรมหรือตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ 4) วิธีการวัดผลและเครื่องมือวัดผล ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน เช่น วิธีการวัดผล ได้แก่ วิธีการสังเกต การทดสอบ การตรวจผลงาน/ชิ้นงาน การสอบถาม/ซักถาม การสัมภาษณ์ การฝึกปฏิบัติ การทดลอง การประเมิน เครื่องมือวัดผล ได้แก่ แบบสังเกต แบบทดสอบ แบบบันทึกผลการตรวจ ผลงาน/ชิ้นงาน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบวัด ในทางวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูเปรียบได้กับ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ถาม : ปัญหาที่นำมาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ควรมีลักษณะอย่างไร ตอบ: ลักษณะของปัญหาที่นำมาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นั้นต้องเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นหรือมีความบกพร่องที่ตัวนักเรียนเท่านั้น ควรมีลักษณะปัญหาที่ไม่กว้างจนเกินไป ควรเป็นปัญหาลักษณะเฉพาะเจาะจง เช่น การลบเลขสองหลัก การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีติดตา การอ่านออกเสียง ร การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา การเขียนจดหมาย การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การสรุปผลการทดลอง การพูดสื่อสาร เป็นต้น 3.ถาม: วัตถุประสงค์การวิจัย มีวิธีการเขียนอย่างไร ตอบ : การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย นั้น ส่วนใหญ่จะมีวิธีการเขียนใน 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 จะเขียนขึ้นต้นว่า เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้าน(การลบเลขสองหลัก การขยายพันธุ์พืช โดยวิธีติดตา การอ่านออกเสียง ร การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา การเขียนจดหมาย การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การสรุปผลการทดลอง) ก่อนและหลังการใช้ -2- (กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา การสาธิต การทดลอง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง ใบงาน แบบฝึก บัตรคำ แถบประโยค บัตรภาพ ใบความรู้ เกม เพลง นิทาน หนังสืออ่านประกอบ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ศูนย์การเรียน เอกสารแนะแนวทาง กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมบูรณาการ แผ่นใส VDO CAI) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ ก่อนและหลังการใช้ แบบฝึกประกอบการสอน เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้ แบบฝึกประกอบการสอน หรือเพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อ…ก่อนและหลังการใช้… หรือเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้าน…ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม.. ลักษณะที่ 2 จะเขียนขึ้นต้นด้วย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้าน(การลบเลข สองหลัก การขยายพันธุ์พืช โดยวิธีติดตา การอ่านออกเสียง ร การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา การเขียนจดหมาย การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การสรุปผลการทดลอง) หลังการใช้(กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา การสาธิต การทดลอง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง ใบงาน แบบฝึก บัตรคำ แถบประโยค บัตรภาพ ใบความรู้ เกม เพลง นิทาน หนังสืออ่านประกอบ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมบูรณาการ แผ่นใส VDO CAI) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ หลังการใช้ แบบฝึกประกอบการสอน หรือเพื่อศึกษาความคงทนในการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์หลังการใช้ แบบฝึกประกอบการสอน หรือเพื่อศึกษาพัฒนาการด้าน…หลังการใช้กิจกรรม… หรือเพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนเรื่อง..หลังการใช้… ลักษณะที่ 3 จะเขียนขึ้นต้นด้วย เพื่อสร้างหรือหาประสิทธิภาพของ (กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา การสาธิต การทดลอง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง ใบงาน แบบฝึก บัตรคำ แถบประโยค บัตรภาพ ใบความรู้ เกม เพลง นิทาน หนังสืออ่านประกอบ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมบูรณาการ แผ่นใส VDO CAI) 4.ถาม : ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกันอย่างไร ตอบ : ประชากร คือ นักเรียนทั้งหมดหรือทั้งชั้นเรียนที่ทำการสอน เช่น นักเรียนชั้น… โรงเรียน… ภาคเรียนที่ ... ปีการศึกษา... จำนวน …คน -3- สำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่เป็นส่วนหนึ่ง หรือเฉพาะนักเรียนที่ความบกพร่อง หรือนักเรียนที่เป็นตัวแทนของชั้นที่ได้มาจากนักเรียนที่เป็นกลุ่มประชากร เช่น นักเรียนชั้น…โรงเรียน…ภาคเรียนที่... ปีการศึกษา… จำนวน …คน 5. ถาม : ตัวแปรต้น หมายถึงอะไร ตอบ : ตัวแปรต้น บางครั้งอาจจะเรียกว่า ตัวแปรอิสระก็ได้ คือ วิธีการสอนที่ครูใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจหรือมีทักษะ เช่น กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา การสาธิต การทดลอง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง ใบงาน แบบฝึก บัตรคำ แถบประโยค บัตรภาพ ใบความรู้ เกม เพลง นิทาน หนังสืออ่านประกอบ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมบูรณาการ แผ่นใส VDO CAI เป็นต้น 6. ถาม : ตัวแปรตาม หมายถึงอะไร ตอบ : ตัวแปรตาม คือ ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน หรือ พฤติกรรมของนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการสอนของครู เป็นผลจากการใช้ตัวแปรต้น เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางด้าน(การลบเลขสองหลัก การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีติดตา การอ่านออกเสียง ร การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา การเขียนจดหมาย การเขียน เชิงสร้างสรรค์ การสรุปผลการทดลอง) เจตคติที่มีต่อวิชา … พัฒนาการด้าน… 7. ถาม : เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คืออะไร ตอบ : เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คือ นวัตกรรม (ตัวแปรต้น) ที่ใช้ในการวิจัย เช่น กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา การสาธิต การทดลอง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง ใบงาน แบบฝึก บัตรคำ แถบประโยค บัตรภาพ ใบความรู้ เกม เพลง นิทาน หนังสืออ่านประกอบ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมบูรณาการ แผ่นใส VDO CAI ส่วนที่ 2 คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (เก็บหรือบันทึกตัวแปรตาม) ได้แก่ แบบสังเกต แบบทดสอบ แบบบันทึกผลการตรวจผลงาน/ชิ้นงาน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบวัด 8. ถาม : ข้อมูล หมายถึงอะไร ตอบ : ข้อมูลหมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นด้านต่าง ๆ ของนักเรียน เช่น พฤติกรรมด้านความรู้ ความเข้าใจ ได้แก่ คะแนนหรือผลสัมฤทธิ์ด้านต่าง ๆ พฤติกรรมด้านทักษะ/กระบวนการ เช่น -4- ความสามารถในการทดลอง การพูดสื่อสาร เป็นต้น พฤติกรรมด้านคุณลักษณะ เช่น เจตคติที่มีต่อ…ค่านิยม ความถนัด ความสนใจ วินัย ความรับผิดชอบ เป็นต้น 9. ถาม : สถิติที่ใช้วิเคราะห์ มีความสำคัญอย่างไร ตอบ: สถิติจะเป็นการให้คำตอบของผลการวิจัยเพื่อให้รู้ว่านักเรียนประสบผลสำเร็จ หรือไม่ สถิติประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 สถิตเบื้องต้นหรือสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าการกระจาย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย เป็นต้น ใช้ในการสรุปผลในภาพรวม เหมาะสำหรับวิเคราะห์ผลการวิจัยในชั้นเรียน ความหมาย ของค่าเฉลี่ย(X) เป็นภาพรวมหรือตัวแทน ของกลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มว่าอยู่ ณ จุดใด เมื่อ เทียบกับ คะแนนเต็ม ถ้ามีค่าเดียว ไม่สามารถบอกได้ว่า เก่ง หรือ อ่อนหรือไม่ ต้องนำมาเปรียบเทียบกันอย่างน้อย 2 ค่า โดยจะต้องเปรียบเทียบในข้อสอบฉบับเดียวกัน และกลุ่มประสบการณ์หรือวิชาเดียวกันเท่านั้น ถ้าผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จัดได้ว่าพัฒนาหรือก้าวหน้า โดยทั่วไปจะก้าวหน้าต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ขึ้นไปจึงจะถือว่าก้าวหน้า ห้ามนำไปเปรียบเทียบข้ามกลุ่มประสบการณ์หรือวิชา ซึ่งเปรียบเทียบกันไม่ได้ ความหมาย ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เป็นการกระจายของคะแนนของแต่ละคน ที่กระจายไปจากค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ว่ากระจายมากหรือน้อยเท่าไร ของกลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่ม ถ้ามีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเดียว ไม่สามารถบอกได้ว่า เก่งหรือ อ่อน ต้องนำค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมาเปรียบเทียบกันหรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ในข้อสอบฉบับเดียวกัน และกลุ่มประสบการณ์หรือวิชาเดียวกัน เท่านั้น ถ้าผลการเปรียบเทียบค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลง จัดได้ว่าพัฒนาขึ้น แต่ถ้าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเพิ่มขึ้น ผลจะแย่ลง ห้ามนำไปเปรียบเทียบข้ามกลุ่มประสบการณ์หรือวิชา ทั้งนี้การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย จะนำเสนอควบคู่กับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเสมอ ความหมาย ของค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (CV) เป็นการกระจายของคะแนนของกลุ่ม โดยภาพรวม ว่ากระจายมากหรือน้อยเท่าไร สามารถเปรียบเทียบภายในกลุ่มได้และสามารถนำไปเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ข้ามกลุ่มประสบการณ์หรือวิชาได้ ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์การกระจายจะเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ถ้าค่าสัมประสิทธิ์การกระจายน้อยกว่า 10 จัดได้ว่า มีคุณภาพดีมาก ซึ่งถ้าค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ในช่วง 10-15 จัดได้ว่า มีคุณภาพพอใช้ แต่ถ้าค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมากกว่า 15 จะได้ว่า มีคุณภาพควรปรับปรุง ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย หาได้จาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คูณด้วย 100 แล้วหารด้วยค่าเฉลี่ย ได้ผลเท่าไร นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ หรือเขียนเป็นสูตร ดังนี้ -5- ลักษณะที่ 2 สถิตทดสอบ เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่าง ความสัมพันธ์ ได้แก่ ค่าที (t-test) ค่าซี(Z-test) ค่าเอฟ(F-test) ค่าไควสแคร์ ( ) เป็นต้น ส่วนใหญ่การวิจัยในชั้นเรียนไม่จำเป็นต้องใช้ การวิเคราะห์สถิติทดสอบ ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก คือ เมื่อวิเคราะห์เรียบร้อยแล้วต้องนำไปเปรียบเทียบกับตารางทดสอบอีกครั้ง จึงจะตอบได้ว่าแตกต่าง หรือก้าวหน้าหรือพัฒนาขึ้นหรือไม่ แต่ในปัจจุบันสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าสถิติทดสอบดังกล่าวได้รวดเร็ว การวิจัยในชั้นเรียนในบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้สถิติก็ได้ ใช้หลักการบรรยายหรือพรรณนาผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็ได้ 10. ถาม : ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน ใช้เวลานานเท่าไร ตอบ: ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน ไม่มีเวลาที่กำหนดได้ตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับปัญหา ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาหรือพัฒนานานเท่าไร เช่น เป็น คาบ กี่คาบ เป็นเดือน กี่เดือน เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ กี่แผน เป็นครั้ง กี่ครั้ง เป็นภาคเรียน ภาคเรียนที่ … เป็นชั่วโมง กี่ชั่วโมง เป็นต้น 11. ถาม : การตั้งชื่อเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนมีวิธีการตั้งชื่อเรื่องอย่างไร ตอบ: การตั้งชื่อเรื่อง การวิจัย มีหลักการคือ ในการเขียนชื่อเรื่องจะต้องประกอบด้วย 1) ตัวแปรต้นหรือนวัตกรรม 2) ตัวแปรตามหรือเนื้อหา 3) ประชากร 4) คำเชื่อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสละสลวยในการอ่านและสื่อความหมาย เช่น ที่ควรใช้ คือ ของ… หรือ สำหรับ… เขียนข้างหน้าประชากร และใช้คำว่า โดยใช้… หรือ การใช้…เขียนหน้าตัวแปรต้นหรือนวัตกรรม เป็นต้น 5) คำขึ้นต้นประโยค ที่ควรใช้ คือ ผลการใช้ … ผลการศึกษา… ผลการพัฒนา…รายงานผล… รายงานการศึกษา… รายงานวิจัย... รายงานการพัฒนา… การศึกษา… การพัฒนา… ตัวอย่าง ผลการใช้แบบฝึกประกอบการสอนการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รายงานผลการพัฒนาการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกประกอบการสอน -6- ผลการพัฒนาการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ โดยใช้แบบฝึกประกอบการสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกประกอบการสอน รายงานผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้แบบฝึกประกอบการสอน 12. ถาม : ขอบเขตของการวิจัย ประกอบด้วยอะไรบ้าง ตอบ : ขอบเขตของการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มประชากร เช่น นักเรียนชั้น… โรงเรียน… ปีการศึกษา …ภาคเรียนที่ …จำนวน …คน 2) กลุ่มตัวอย่าง เช่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน… ปีการศึกษา …ภาคเรียนที่… จำนวน …คน 3) เนื้อหา เช่น การเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ 4) ระยะเวลา เช่น ใช้เวลา 4 สัปดาห์ 5) ตัวแปรที่ศึกษา เช่น 1) ตัวแปรต้น คือ วิธีสอนโดยใช้แบบฝึก 2) ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ 13. ถาม : การเขียนวิธีดำเนินการ หรือขั้นตอนการวิจัย มีวิธีการเขียนอย่างไร ตอบ : การเขียนวิธีดำเนินการ หรือขั้นตอนการวิจัย มีวิธีการเขียนได้หลายลักษณะ เช่น เขียนหัวข้อใหญ่ แล้วเขียนรายละเอียด 1) เตรียมการ การวางแผนการสอน จัดทำแผน เตรียมสื่อ อุปกรณ์ แบบบันทึกผล 2) ดำเนินการสอน นักเรียนชั้นไหน กี่ครั้ง กี่คาบ เวลาเมื่อไร ทดสอบอย่างไร บันทึกผลอะไรบ้าง กี่ครั้ง วิเคราะห์ผลเป็นอย่างไร 3) สรุปผล นำผลมาใช้อย่างไรและเผยแพร่โดยวิธีไหนกับใคร -7- 14. ถาม : สรุปผลการวิจัย มีวิธีการเขียนอย่างไร ตอบ : การเขียนสรุปผลการวิจัยต้องสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย ว่ามีกี่ข้อ ต้องตอบให้ครบทุกข้อ วัตถุประสงค์การวิจัยเปรียบได้กับคำถามหรือโจทย์ปัญหาหรือ ข้อคำถามที่ผู้วิจัยจะต้องไปหาคำตอบ โดยนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ มาตอบเป็นข้อ ๆ เช่น ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ ก่อนและหลังการใช้ แบบฝึกประกอบการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการใช้แบบฝึกประกอบการสอนสูงขึ้น(หรือเพิ่มขึ้น) ผลการเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้ แบบฝึกประกอบการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยเจตคติหลังการใช้แบบฝึกประกอบการสอนสูงขึ้น (หรือเพิ่มขึ้น) หรือมีทิศทางที่ดี ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์ หลังการใช้ แบบฝึกประกอบการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการใช้แบบฝึกประกอบการสอนสูงขึ้น(หรือเพิ่มขึ้น) ผลการศึกษาความคงทนในการเขียนคำศัพท์ที่มีวรรณยุกต์หลังการใช้แบบฝึกประกอบการสอน ปรากฏว่า นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ ก่อนการใช้รูปแบบการสอนที่ผสม ผสานระหว่างกระบวนการ กลุ่ม ใบงานและแบบฝึก ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นั้น พบว่า ได้ค่าเฉลี่ยการเรียนของนักเรียน เท่ากับ 12.5 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.5 หลังจากใช้ รูปแบบการสอนที่ผสม ผสานระหว่างกระบวนการ กลุ่ม ใบงานและแบบฝึก ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ได้ค่าเฉลี่ยการเรียนของนักเรียน เท่ากับ 20.0 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.0 สรุปว่าหลังการใช้รูปแบบการสอนที่ผสม ผสานระหว่างกระบวนการกลุ่ม ใบงานและแบบฝึก ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ก้าวหน้าขึ้น
หมายเลขบันทึก: 76862เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
วันชัย เหลืองไพบูลย์
เรียน ท่าน ศน.ยืนยง ราชวงษ์ ด้วยผมกำลังศึกษาวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มีปัญหาคือ ค้นหาทฤษฎีหรือคำอธิบายในวิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกและการสอนโดยใช้สื่อประสม ว่าทฤษฎีว่าอย่างไรความหมายคืออะไรแน่ ขอความกรุณาท่านได้อนุเคราะห์ด้วย ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้

ท่านวันชัยครับ มีทางเลือกลองให้เพื่อนแสนดี google เป็นคนช่วยหาน่าจะช่วยได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท