การบูรณาการ: ตบมือทั้งสองข้างดังที่สุด


ชาวบ้าน “ที่เข้มแข็ง” อาจสามารถนำสิ่งที่นักวิชาการสายเดี่ยวเสนอแนะเข้าไปใช้ในระบบชีวิตตัวเองได้อย่างเหมาะสม ก็จะไม่มีปัญหา
 การวิจัย พัฒนาและจัดการความรู้แบบบูรณาการ หรือการจัดการความรู้แบบธรรมชาติ (KM ธรรมชาติ) เป็นวิธีการที่ชาวบ้านปฏิบัติกันโดยทั่วไป ที่ยังเป็นจุดแข็งของชุมชนที่ทำให้งานพัฒนาทั้งหลาย ทั้งสายเดี่ยวและแบบผสมผสาน สามารถดำเนินงานได้อยู่ ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน   

ทั้งๆที่เนื้อหาและการทำงานของนักวิชาการ และนักพัฒนาส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงเดี่ยว แทบจะไม่มีการบูรณาการ ที่น่าจะล้มเหลว และเลิกล้มโครงการพัฒนาต่างๆ ยุบหน่วยงานพัฒนาต่างๆ มาเสียตั้งนานแล้ว

  

แต่มาในระยะหลังๆ ระบบเสื่อมโทรมลงมาก จำเป็นต้องใช้ความรู้ซับซ้อนมากขึ้น ก็อาจเกินขีดความสามารถของภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยทั่วไป ที่จะบูรณาการ และพัฒนางานสายเดี่ยวต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  

จึงมักพบบ่อยขึ้นว่า การทำงานในพื้นที่ระดับชุมชน บางครั้งประสบกับความล้มเหลว อันเนื่องมาจากการขาดการพิจารณา ภาพรวมหรือองค์รวม ทำให้เผชิญปัญหาที่เป็นอุปสรรค ที่แฝงอยู่ในระบบการทำงานอย่างเป็นปกติธรรมดา

  

ในทางกลับกัน ถ้านักวิชาการหรือนักพัฒนาได้มีการทำงานแบบบูรณาการ ทุกอย่างก็จะดีขึ้นเอง และมีโอกาสประสพผลสำเร็จ แม้ชาวบ้านจะขาดความสามารถในการบูรณาการก็ตาม

  แต่ถ้าทั้งชาวบ้านและนักวิชาการต่างก็ทำงานแบบบูรณาการแบบเคียงบ่าเคียงไหล่ด้วยกันทั้งคู่ โอกาสแห่งความล้มเหลวแทบจะเรียกว่าไม่มี   

เพราะเป็นการทำงานแบบผสมผสานทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิชาการเข้ากับระบบทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งเป็นการประกันความล้มเหลวอย่างแน่นอน

  

แต่ในปัจจุบัน ความรู้ที่ต้องใช้ในการพัฒนาทั้งหลายนั้น มักเกินขีดความสามารถของชาวบ้านและภูมิปัญญาที่มี แต่นักวิชาการก็ยังเคยชิน ไม่ทำงานแบบบูรณาการอีก จึงทำให้เกิดความผิดพลาดทั้งสองด้าน และนำไปสู่ความล้มเหลวของโครงการในที่สุด

  

ดังนั้น ถ้าเพียงมีการบูรณาการด้านใดด้านหนึ่ง โอกาสแห่งความสำเร็จก็มีมากอยู่แล้ว เช่น ชาวบ้าน ที่เข้มแข็ง สามารถนำสิ่งที่นักวิชาการสายเดี่ยวเสนอแนะเข้าไปใช้ในระบบชีวิตตัวเองได้อย่างเหมาะสม ก็จะไม่มีปัญหา

  

หรือในทางกลับกัน นักวิชาการที่สามารถนำความรู้ที่มีอยู่ อย่างบูรณาการ ไปให้ชาวบ้านที่ไม่สามารถคิดแผนทำงานแบบบูรณาการ (ยังไม่เข้มแข็ง) ก็จะมีปัญหาไม่มาก และมีโอกาสสำเร็จได้มากเช่นเดียวกัน

  

โดยสรุปแล้ว จะให้ดีที่สุดนั้น

  

การบูรณาการจึงควรทำทั้งสองทาง

  

จึงจะได้ผลดีที่สุด

  

แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ การทำเพียงด้านเดียวก็ยังมีโอกาสสำเร็จได้สูง และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความล้มเหลวก็คือการขาดการบูรณาการทั้งสองด้านดังกล่าวแล้ว

  

ฉะนั้น จึงขอให้นักวิชาการทั้งหลาย จงพิจารณาสนับสนุนการทำงานของชุมชนอย่างเป็นระบบ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะเป็นการบูรณาการจากนักวิชาการ หรือบูรณาการร่วมกับชุมชน ก็จะประกันความสำเร็จได้แน่นอน

  การเข้าไปทำวิจัยร่วมกับชุมชน โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้แบบปฏิบัติการ และพัฒนาเชิงปฏิบัติการ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดครับ


ความเห็น (7)

เราจะวิ่งชนกำแพงเมืองจีน

หรือขึ้นไปนั่งตีขิมบนกำแพง ครับ

ตอนนี้เราก็นั่งอยู่บนบนกำแพงครับ แต่ปัญหาคือเราไม่ค่อยมีเพื่อนมากนัก ถ้านานๆไปคนจะมองว่าเราบ้าไปนั่งบนกำแพงอยู่ได้ ตนอื่นเขาคลุกฝุ่นกันอยู่ข้างล่าง

แต่หวังว่าวันหนึ่งเขาเบื่อคลุกฝุ่น และอยากจะหาทางปีนขึ้นมา แล้วเราก็จะบอกทางเขาได้ง่ายขึ้น เพราะเรามองเห็นชัดกว่าครับ

เอกสารนี้ผมเน้นไว้ให้นักศึกษาที่ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักบูรณาการอ่านครับ

ครูบา over qualify ครับ

  • ขอบคุณมากครับอาจารย์ ที่ได้กรุณาสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษามาโดยตลอด
  • การวิจัยแบบบูรณาการเป็นเรื่องที่ดี มีประโยชน์มากครับ แต่ในทางปฏิบัติค่อนข้างจะทำได้ยาก หากนักวิจัยไม่มีใจ และทุ่มเทอย่างจริงจัง อีกทั้งต้องใช้ความมอดทนค่อนข้างมาก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นนักวิจัยต้องเป็นคนที่มีความรู้รอบด้าน จึงจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  • ทำอย่างไรนักศึกษาบูรณาการจึงจะปรับตัว และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และตามทันอาจารย์ที่ปรึกษาครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า  การบูรณาการควรทำทั้งสองทาง

      อย่างที่อาจารย์บอกว่าเราอยู่บนกำแพง  แต่คนส่วนใหญ่รู้ว่าถ้าทำ 2 ทางแล้วจะดี แต่ก็ไม่ทำ และก็ไม่ให้คนอื่นทำถ้าตนยังไม่ได้ทำ  ซึ่งเป็นเยอะในสังคมปัจจุบัน  เช่นถ้าขึ้นไปบนกำแพงจะเห็นชัดกว่า  แต่ก็พยายามกันไม่ให้คนอื่นขึ้นก่อนตนเอง   เพราะการคิดอย่างนี้ถือว่าเป็นการคิดทางเดียว พูดง่าย ๆ เห็นแก่ต้ว หรือบางคนคิดคนเดียว เออคนเดียว แล้วก็เหมาว่าความคิดของตนถูกต้องที่สุดโดยไม่สอบถามจากผู้อื่น หรือ ให้แสดงความคิดเห็นใด ๆ เราต้องหา ฟีดแบคให้ได้

"จึงขอให้นักวิชาการทั้งหลาย จงพิจารณาสนับสนุนการทำงานของชุมชนอย่างเป็นระบบ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะเป็นการบูรณาการจากนักวิชาการ"  เห็นด้วยค่ะ แต่จะมีนักวิชาการที่ไหนใจดีเช่นทีมที่มาช่วย KM ของมหาชีวาลัยอิสาน  คงหายากนะคะ

ไม่เป็นไร มหาชีวาลัยเราทำจากเล็กไปใหญ่อยู่แล้ว ล้มยากครับ

เรามีทายาททางความคิดและจิตวิญญาณมากมาย แม้ทางสายเลือดโดยตรงเราจะมีน้อยก็ตาม

นี่เป็นจุดแข็งของเราครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท