รูปอ้างอิงพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ 2


จตุคามรามเทพ

รูปปั้นพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ที่มีการจารึกว่า เท้าขัตตุคาม และ เท้ารามเทพ อยู่บริเวณทางขึ้นบันใดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ (Tags): #จตุคามรามเทพ
หมายเลขบันทึก: 76503เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์คะ ตอนนี้ในเว็บนี้มีกิจกรรมกันค่ะ  ขออนุญาต Tag อาจารย์   รบกวนแวะมาที่นี่ด้วยค่ะ

http://gotoknow.org/blog/Kulkanit/77047

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์แสงเทียน

  • ผมสนใจมานานแล้วครับ ในส่วนของท่าน พญาศรีธรรมโศกราช นะครับ อยากติดต่ออาจารย์เพื่อพูดคุยนะครับ ผมบ้านอยู่นครศรีธรรมราช อ.จุฬาภรณ์ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

 

พระเจ้าศรีธรรมโศกราช เป็นกษัตริย์นครศรีธรรมราชสมัยโบราณที่ยังเรียกว่า ตามพรลิงค์ พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงปัทมวงศ์ พระราชประวัติของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแบ่งออกเป็น ๓ นัย ได้แก่๑.           จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองอื่นมาก่อน ภายหลังเกิดโรคห่าระบาดในเมืองนั้นจนทำให้ผู้คนล้มตายลงเป็นจำนวนมาก จนต้องอพยพผู้คนที่เหลือลงเรือหนีตายมาขึ้นที่หาดทรายแก้ว และใด้ตั้งบ้านเมือง ณ ที่นั้น และขนานนามว่า นครศรีธรรมราชมหานคร เมื่อสร้างเมืองเสร็จ ก็ได้สร้างสถูปเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นที่เมืองนั้น๒.          จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชอีกฉบับหนึ่งคือฉบับที่พบที่วัดเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับฉบับที่พบที่ทุ่งตึกอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา กล่าวความตรงกันว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราชนั้นเป็นพราหมณ์ชาวอินเดีย เดิมชื่อว่า พราหมณ์มาลี ได้อพยพพรรคพวกลงเรือสำเภาหลายร้อยลำ หนีการรุกรานของพวกอิสลามจากอินเดียมาขึ้นบกที่บ้านทุ่งตึก ใกล้เมืองตะกั่วป่า ฝั่งทะเลตะวันตก ในชั้นแรกได้ตั้งบ้านเมืองขึ้นที่นั่น อภิเษกพราหมณ์มาลีขึ้นเป็นกษัตริย์ถวายพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พราหมณ์มาลาผู้เป็นน้องเป็นพระมหาอุปราช การอพยพครั้งนั้นพวกอินเดียได้นำเอาพระทันตธาตุมาด้วย พวกอินเดียสร้างเมืองทุ่งตึกไม่ทันเสร็จก็ถูกพวกอิสลามตามตีแตกพ่ายอีก จนต้องอพยพทิ้งบ้านเมืองหนีขึ้นไปตามลลำน้ำตะกั่วป่า ข้ามเขาสก ล่องเลียบริมฝั่งแม่น้ำพุมดวงมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งมั่นอยู่ที่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีท่าทีว่าจะตั้งราชธานีที่นั่นอีก แต่เพราะเหตุภูมิประเทศไม่อำนวย ทำให้พวกอินเดียที่อพยพมานี้ผิดน้ำผิดอากาศ จนเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้ต้องอพยพผู้คนต่อไปทางทิศระวันตกเฉียงใต้ ไปตั้งถิ่นฐานที่เชิงเขาชวาปราบปลายคลองสินปุน อำเภทคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แต่ก็มีสาเหตุคล้าย ๆ กับที่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต่อไปเพื่อหาชัยภูมิใหม่ได้อพยพขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง และได้มาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเสียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ก็อยู่ใด้ไม่นานเพราะโรคห่งยังไม่ขาดสาย ต้องรื้อถอนต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนพบหาดทรายใหญ่อยู่ริมทะเลภูมิประเทศต้องลักษณะชัยภูมิที่ดี คือมีลำน้ำและที่ราบที่เหมาะสำหรับการเกษตร จึงได้สร้างราชธานี ณ ที่นั่นโดยสร้างกำแพงเมือง ปราสาทราชวัง เทวสถาน และพระมหาธาตุเจดีย์บรรจุพระทันตธาตุที่เอามาจากอินเดียด้วย๓.          ขจร สุขพานิช ได้เสนอเรื่อง ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช โดยอ้างหลักฐานจากจากรึกหลักหนึ่งที่พบจากจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบกับการศึกษาจารึกวัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และหลักฐานจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมาประกอบกัน ทำให้ได้ความเลา ๆ ว่า ราชวงศ์นี้อุบัติขึ้นในลุ่มน้ำเจ้าพระยามาก่อนแล้ว จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏราชวงศ์นี้มีเหตุให้ต้องทิ้งราชธานีเดิม ลงไปแสวงหาที่พักพิงใหม่ทางปักษ์ใต้ และขณะเดินทางลงใต้ได้พบและทำสัตย์ปฏิญาณกับราชวงศ์อู่ทอง ได้แบ่งอาณาเขตปกครองซึ่งกันและกัน และสัญญาจะเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันในยามคับขัน และลงความเห็นว่าราชธานีน่าจะตั้งอยู่ลพบุรีมาก่อน จากสาเหตุดังกล่าว พอจะอนุมานได้ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชนั้นเป็นผู้ที่อพยพมาจากถิ่นอื่นและเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมืองได้สร้างบ้านเมืองขึ้น จึงนำเอาพระพุทธศาสนา รวมทั้งลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์มาด้วย พระนามว่า ศรีธรรมาโศกราช นี้ ภายหลังได้ใช้เป็นพระนามหรือนามที่เป็นอิสริยศของพระมหากษัตริย์หรือเจ้าเมืองนี้ตลอดมา พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้สร้างเมืองขึ้นเมื่อราว ๆ พุทธศักราช ๑๐๙๘ ในชั้นแรกคนทั่วไปเรียกว่า ศิริธัมนคร ในศิลาจารึกเมืองไชยาเรียกว่า ตามพรลิงค์ หรือในจดหมายเหตุของจีนเรียกว่า ตั้งมาหลิ่ง เป็นต้น การที่เรียกเมืองตามพรลิงค์ ว่า นครศรีธรรมราช นี้ปรากฏในศิลาจากรึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ ๑ เป็นครั้งแรกชื่อนี้มีเค้ามูลที่จะเชื่อถือได้ว่า เป็นราชอิสริยยศที่ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครศรีธรรมราชว่า ศรีธรรมราช คงจะถือเป็นประเพณีสือต่อเนื่องกันมาหลายองค์ จึงเป็นเหตุให้ไทยขนรานนามราชธานีนี้ตามพระนามราชอิสริยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ว่า นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นต้นมา เมืองที่ทรงสร้างด้งกล่าวเป็นมหานครใหญ่มีอำนาจมาก มีกำแพงปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นในนอกจากนั้นยังมีเมืองขึ้น ๑๒ หัวเมือง เรียกว่า ๑๒ นักษัตร ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต ด้านศาสนจักร ได้ทรงสร้างสิ่งสำคัญคือสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น จึงนับได้ว่าพระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช และสร้างพระสถูปเจดีย์ที่เรียกว่า พระบรมธาตุ ปูชะนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยต่อมา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท