วิถีพุทธ วิถีมุสลิม


ทำอย่างไรเราจะธำรงรักษาศีลธรรมของทุกศาสนาให้คงอยู่คู่โลกนี้ต่อไป

ผมเปลี่ยนเส้นทางชีวิตจากครูมัธยมศึกษา มาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นับถึงวันนี้เข้าสู่เดือนที่ 6 แล้ว  ได้มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ในชีวิตที่ไม่เคยพบและสัมผัสมาก่อนในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องราวของศาสนาอิสลาม

เมื่อพูดถึงศาสนาอิสลาม ผมในฐานะที่เป็นพุทธศานิกชน ก็อาจจะไม่สามารถลงรายละเอียดได้มากนัก แต่ที่เห็นและเป็นไปนั้นก็พอจะนำมาเล่าให้ฟังได้คร่าว ๆ

ศาสนาอิสลาม มีความโดดเด่นในเรื่องของหลักศรัทธาต่อพระเจ้า  และการยึดมั่นในหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทั้งในเรื่อง การกิน การอยู่ ดังนั้นการเป็นชาวมุสลิมจึงจำเป็นต้องมีสติกำกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา เผลอเรออาจกระทำผิดหลักศาสนาได้

ชาวมุสลิมจะต้องอุทิศเวลาให้ศาสนาวันละ 5 ครั้ง  นั่นคือการละหมาด และเมื่อถึงวันศุกร์ เป็นหน้าที่ที่ผู้ชายชาวมุสลิมทุกคนจะต้องเข้ามัสยิดเพื่อละหมาดร่วมกัน ตลอดทั้งรับฟังหลักธรรมจากพระคัมภีร์ (น่าจะเหมือนการฟังธรรมของศาสนาพุทธ)  ดังนั้นเมื่อชาวมุสลิมจะต้องระลึกถึงพระเจ้าอยู่ทุกวัน และวันละหลาย ๆ ครั้งจึงทำให้เขาเหล่านั้นจำต้องยึดมั่นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ย้อนมาดูศาสนาพุทธ (ศาสนาที่ผมนับถือครับ) ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาที่สอนให้ใช้ปัญญาพิจารณา  จึงทำให้คนที่มีปัญญาสามารถเรียนรู้ เข้าถึง และนำไปปฏิบัติ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญญา โอกาสเข้าใจ เข้าถึงก็เลยมีน้อย และก็ทำไปแบบผิด ๆ

คงไม่ต้องให้ทำความระลึกถึงพระรัตนตรัย วันละ 5 ครั้งหรอก เอาแค่วันละครั้งนี่ มีชาวพุทธสักกี่คนที่ปฏิบัติ นี่ยังไม่นับหลักศีล-ธรรมอีกมากมายที่ชาวพุทธ ดูจะห่างเหินเอามาก ๆ

พระพุทธศาสนา ค่อนข้างจะให้โอกาสผู้ชายมาก เหมือนกับศาสนาอื่น ๆ เลยทีเดียวแหละ แต่ในทางตรงกันข้าม ความใกล้ชิดกับศาสนา ทะนุบำรุงศาสนา ส่วนใหญ่จะเป็นหญิง (แก่ ๆ ) มากกว่า ส่วนศาสนาอิสลามนั้นผู้ชายต้องกระทำหน้าที่ของตนตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด

วันหลังผมจะทยอยเอาวิถีชีวิตชาวมุสลิมมาเล่าให้ฟังเรื่อย ๆ เผื่อจะเป็นกรณีตัวอย่างไปยังศาสนาอื่น ๆ ว่าทำอย่างไรเราจะธำรงรักษาศีลธรรมของทุกศาสนาให้คงอยู่คู่โลกนี้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 76471เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทุกศาสนาถึงแม้ว่าวัตรปฏิบัติจะแตกต่างกัน  แต่จุดมุ่งหมายแท้จริงก็คือ  สันติสุข  ที่จะเกิดขึ้นกับตน  และคนรอบข้าง  และแน่นอนมิใช่แก่พุทธศาสนาเท่านั้นที่จะใช้  ปัญญา  ในการมองเห็นธรรม  ศาสนาอื่นก็เช่นกัน  เพียงแต่การปฏิบัติที่เคร่งครัด  มุ่งหวังให้คนเห็นคุณค่าของความเพียร  และศรัทธา  เป็นการรำลึกและเตือนสติตนเองทุกครั้งที่จะดำเนินวิถีของตนเอง  และเป็นการย้ำให้ตนเองได้ตระหนัก  การมีสติในการระลึกได้ในทุกการกระทำของตนจะทำให้เราก้าวพ้น  หรือไม่ไปกล้ำกราย  สิ่งไม่ดี  อำนาจฝ่ายต่ำ  ที่มันอยู่ในมุมหนึ่งของความนึกคิดของทุกบุคคล  ที่เรียกว่า  "กิเลส"  ขอให้ท่านเข้าถึงแก่นธรรม  และร่วมพลอยยินดี  หากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  จะช่วยเติมเต็มธรรมะในใจท่านให้  มีวัตรปฏิบัติที่งดงาม  เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคล  ที่เรียกว่าเป็น  "ศิษย์"  เพราะคงไม่มีคำพูดใดที่พร่ำสอนให้กับบุคคลอื่นได้เห็นชอบ  เห็นดี  เห็นคล้อยตาม  และเอาเป็นแบบอย่างจนเกิดเป็นความศรัทธา  และเกิดบารมีแก่ตน  ได้เท่า  "การประพฤติปฏิบัติตน"  ที่ดีได้หรอก....ขอสิ่งดีๆ  เกิดขึ้นกับผู้คิดดี  และปฏิบัติดี...ธรรมะสวัสดี

จริงดังว่าครับคุณนกเสรี  ขอธรรมะจงรักษาผู้ประพฤติธรรม

ขอแสดงความดีใจที่ท่านสนใจใฝ่รู้เกี่ยวกับสังคมรอบตัว และขอเป็นกำลังใจให้ท่านค้นหามันต่อไป เมื่อมีความเข้าใจเกียวกับอิสลามมากเพียงพอ ท่านจะรู้ว่ามุสลิมที่ดำเนินชิวิตอยู่ในกรอบของอิสลามอย่างถูกต้องสมบูรณ์นั้นไม่มีทางที่จะคิดร้ายกับคนอื่นอย่างเด็ดขาด(เหมือนจริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัด)

กระบี่อยู่ที่ใจ ใจอยู่ที่กระบี่

ใช้กระบี่โดยไร้ใจ เท่ากับสังหารตนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท