หลายอย่างเกิดเองเป็นธรรมชาติในชุมชนโดยไม่ต้องปั้น


"เหมือนดึงหางแมวเราดึงมันไปข้างหน้า เราผลักมันถอยหลัง"

         เห็นมาหลายที่หลายอย่าง  ที่คนอื่นฝันแทนชุมชนอยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ทุ่มใจจากภายนอกไม่ใช่ใจชุมชน  ทุ่มทุนจากภายนอกไม่ใช่ทุนชุมชน คนนอกดันเคลื่อนไปแต่ช้าและฝืดหยุดดันหยุดเคลื่อนหยุดเดิน  คนดันเริ่มเหนื่อยล้าและทิ้ง 

         เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นหลายที่  เกิดเพราะเป็นความฝันที่เป็นคนอื่นไม่ใช่ชุมชนความเร่งรีบจะให้เกิดจนไปกระทบกับวิถีชีวิตปกติของชุมชน  ถึงจุดหนึ่งชุมชนก็มองว่าคนนอกไม่จริงจัง  คนนอกที่เข้าไปก็มองว่าชุมชนขับเคลื่อนยากและละทิ้งไปในที่สุด

         ผมเริ่มต้นอ่านดูแล้วค่อนข้างสับสน  แต่มันเกิดจากความรู้สึกที่วันนี้  ขับรถผ่านมาในพื้นที่ที่เคยรับผิดชอบ  ทำงานกับชุมชน สิ่งที่จะนำมาเล่าก็คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยเป็นธรรมชาติของชุมชนโดยไม่มีใครไปขับเคลื่อน  สิ่งนั้นจะยั่งยืนและมีแต่จะเติบโต  ยากจะอธิบายให้เข้าใจว่า  ชุมชนมีหลายใจ  มีหลายอายุ  มีหลายความคิด  มีหลากหลายความต้องการ  นอกจากชุมชนเองแล้วไม่มีใครรู้ดีไปกว่าเขา 

         ตลาดนัด "ผู้ใหญ่เสม"  เกิดขึ้นแค่จุดเล็ก ๆ ใกล้ ๆ ที่ประชุมศาลาหมู่บ้านเมื่อ 3 -4 ปี ที่ผ่านมาตอนผมออกพื้นที่ในช่วงนั้น  เปลียนแปลงเอาแค่ 2- 3 เดือนเท่านั้น อยู่มา ๆ ก็เกิดร้านขึ้นมากมาย  ผมเองยังงง ๆ อยู่ในช่วงนั้นว่าเกิดขึ้นมาอย่างไร  ใครเป็นคนทำให้เกิด 

         จึงนั่งคุยกับผู้นำชุมชนถามไปเรื่อย ๆ ก็ได้ความว่า  มีป้าคนหนึ่งแกนึกสนุก ๆ ขึ้นมาเอากล้วยมาทอดขายเล่น ๆ วันแรกขายหมด  วันที่สองแกก็มาขายอีก  ขายหมดขายดีแกก็ขายมาเรื่อย ๆ คนอื่นเห็นก็ลองบ้าง  เอาไก่ทอด เอาถั่วต้ม เอาปลา  เอาเนื้อหมู  เอาผักมาขายก็ขายได้  ก็กลายเป็นธรรมชาติวิถีชีวิต  ผู้ซื้อเองที่ต้องการก็บอกว่าเออดีเหมือนกันไม่ต้องไปซื้อไกล  ได้วันเวลาก็ออกมาชื้อ  คนขายก็รู้ว่าคนจะมาซื้อก็รีบเอามาหามาขาย  กลายเป็นตลาดนัดชุมชนไปในตัวในที่สุด

          ที่ว่านี้เกิดขึ้นที่บ้านไสใหญ่  หมู่ที่ 12 ต.ช้างซ้าย อำเภอพระพรหม นครศรีธรรมราช (อดีตคือหมู่ที่ 4แยกออกมาครับ) ผู้ใหญ่เสมที่กล่าวถึงคือ นายเกษม ชูสินธ์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบันท่านลาออกแล้ว  แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกว่าผู้ใหญ่เสมติดปากเหมือนเดิม ตลาดนัดเกิดขึ้นที่หน้าบ้านของท่านครับ  โดยไม่มีใครผลักดัน  แต่ท่านในฐานะเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่ขัดขวาง ทั้งคอยหนุน โดยให้ใช้พื้นที่หน้าบ้าน  ให้สร้างโรง หลังคาได้  ปัจจุบันตลาดนัดแห่งนี้ติดลมบนแล้ว  

         ผมกับผู้ใหญ่เสมทำงานร่วมกันมาในหลายกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องชุมชน  และเป็นผู้นำคนหนึ่งที่เข้าใจในเรื่องกระบวนการชุมชน  เวลาคุยกับท่านหรือทีมงาน จะสนุกสนานมีรสชาด ได้สาระ 

        ผมถึงเกริ่นไว้แต่ต้นว่า  ถ้าเป็นคนนอกฝันแทนฝันเป็นจริงได้ยาก อยู่คลุกคลีกับชุมชนหลายปีก็เข้าใจชุมชนได้ไม่หมดครับ  ในหลายเรื่อง เรายิ่งดันจะมีแรงต้าน  ถ้าเราดึงให้ถอยจะไปข้างหน้า  เพื่อนผมเคยเปรียบว่า  "เหมือนดึงหางแมวเราดึงมันไปข้างหน้า เราผลักมันถอยหลัง"   

        กระบวนการเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วม  การพัฒนาต้องใช้ความใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนปลูกต้นไม้  มันต้องเป็นธรรมชาติของมันมันจึงจะโตได้อย่างมั่นคงแข็งแรง  สู่แดดสู่ลมได้โดยไม่หวั่น  แต่หากเราปลูกต้นไม้กิ่งตอนเพราะเราใจร้อนอยากกินลูก  ลมพัดมาแรง ๆ มันจะล้มครืนเพราะไม่มีรากแก้วที่มั่นคง

คำสำคัญ (Tags): #ชุมชนเข้มแข็ง
หมายเลขบันทึก: 76148เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ดีจังเลยครับ
  • ได้ตลาดชมชนแบบธรรมชาติ
  • มาทักทายพี่บ่าวครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ กับคุณชาญวิทย์-นครศรีฯ  เรื่องนี้เป็นสากลเลยนะคะ การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากภายใน โดยผู้นำองค์กรหรือชุมชน ที่ซื้อ"ใจ"สมาชิกได้ ใครๆหรืออะไรอื่นมาผลักดัน ก็จะไม่ยั่งยืนและจริงจังแท้จริง ผู้นำก็ต้องอาศัยทั้งจังหวะและโอกาสในการวางแนวนโยบาย
  • คนคิดไม่ได้ทำ - คนทำไม่ได้คิด  โครงการต่างๆ (โดยเพาะรัฐคอยคิดให้) ก็เลยไม่ค่อยจะสำเร็จสักที
  • นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาที่เริ่มมาจากข้างในดังที่ พี่โอ๋-อโณ บอกนั่นแหละครับ เยียมจริงๆ

เรียน อ.ขจิต

  • ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมให้กำลังใจเสมอ

เรียน โอ๋-อโณ

  • มีหลายอย่างที่คนภายนอกชุมชนคิดว่าใช่  แต่จริง ๆไม่ใช่ครับ 
  • ชุมชนนั้นละเอียดมากสรุปเร็วไม่ได้ ผู้เข้าไปพัฒนาต้องใจเย็นครับ ผลักดันไปข้างหน้าโดยไม่เหลียวหลังมองข้างเลย เสี่ยงความความล้วเหลวครับ
  • ขอบคุณมากครับที่มาร่วม ลปรร. 

เรียน คุณสิงห์ป่าสัก

  • คนคิด ต้องทั้งคิดทั้งฟัง คิดไป ทำไป และฟังไป  แต่บางครั้งการพูดให้คนคิดฟังเขาหาว่าเราต่อต้านอีก เป็นงั้นไปครับ
  • ตัวอย่างมีให้เห็นมากครับ แต่ว่าหนีธรรมชาติไม่พ้น อย่างไรธรรมชาติก็เอาคืนครับ
  • ขอบคุณมากครับที่มา ลปรร.

นี่แหละที่น่าจะเรียกว่า KM ธรรมชาติ ที่ควรควรเสริมช่วยเขาในการพัฒนา

แต่น่าเสียดายว่าหลายหน่วยงานไปเด็ดยอดมาขยี้เล่น ไม่เข้าไปเรียนรู้ หรือบางทีก็ยังเยีบย่ำ ทับถมความรู้พื้นบ้านเสียอีก

ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่เขาจะเริ่มเรียนรู้ว่า "ถ้าชาวบ้านไม่ดีจริง เก่งจริง เขาอยู่มาไม่ได้ขนาดนี้หรอก

ไม่ช่วย แล้วยังไปทำลาย เขายังไม่ตายเลยครับ

ถ้าเขาตายขึ้นมา มีใครสักคนไหมที่กล้ารับผิดชอบการกระทำของตนเอง

มีแต่จะปัดความรับผิดชอบอย่างเดียวนั่นแหละ

(ขอโทษยังไม่จบ)

ผมคิดว่าเราน่าจะช่วยกันกระพือเรื่องนี้ ให้นักวิชาการปากคาบคัมภีร์ทั้งหลายได้รู้ และตระหนักในเรื่องนี้ครับ

ขอบคุณมากครับ

เรียน ท่าน อ.ดร.แสวง

  • ขอบคุณท่าน อ. ครับที่มาเยี่ยมให้กำลังใจ และ ลปรร. จริงอย่างที่ท่าน อ.ว่านะครับ  ในชุมชนนั้นมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่ลึกล้ำ เราเองเห็นแค่รูปลักษณ์ภายนอกบางส่วนเท่านั้นเอง
  • สังคมชุมชนชนบท  มีเสน่ห์อยู่ที่ความมีน้ำใจและเอื้ออาทรครับ  ภายในนั้นจริง ๆ เขาอยู่กันได้มานาน  แต่ปัจจัยภายนอกหลาย ๆ อย่างเข้าไปกระทบทำให้ชุมชนนั้นสั่นสะเทือนไปด้วย จึงมีบิดเบี้ยวตามแรงกระทบนั้นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท