ปัญหาน้ำดื่มในโรงเรียน


ขอย้ำเตือนไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนโดยเฉพาะคุณครูโปรดให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดหาน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย ให้กับเด็กๆในโรงเรียน

 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2550  ได้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์   คอลัมภ์  X-ray สุขภาพ  เรื่องปัญหาน้ำดื่ม  ปนเปื้อนสารเคมี โลหะหนัก จุลินทรีย์     ซึ่งเป็นข้อมูลจากการศึกษาเรื่องปัญหาน้ำดื่มในโรงเรียน       โดยนพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูล คุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน   จากการการศึกษาโดยการสุ่มตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มโรงเรียนในเขตเทศบาล และโรงเรียนในเขตชนบท  14 จังหวัดทั่วประเทศระหว่างเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา   พบว่า คุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนในภาพรวม  (724 แห่ง)  ที่มีคุณภาพถูกต้องตามมาตรฐานเพียง 36.88% เท่านั้น แต่ผิดมาตรฐานถึง 63.12% ( 457 แห่ง) โดยผิดมาตรฐานด้านเคมี 32.32% ผิดมาตรฐานจุลชีวิทยา 22.79% ผิดมาตรฐานทั้งด้านเคมีและจุลชีววิทยา 8.01%
         สำหรับแหล่งน้ำดื่มของโรงเรียนในเขตชนบทพบว่ามีความหลากหลายว่าโรงเรียนในเขตเมือง โดย 84.07% เป็นน้ำบาดาลที่นำมาทำประปาหมู่บ้าน ซึ่งมีการจัดสร้างโดยงบประมาณของหลายหน่วยงาน เช่น กรมอนามัย  กรมโยธาธิการ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) กรมทรัพยากรธรณี ส่วนที่เหลือมาจากน้ำผิวดิน 10.28% น้ำฝน 2.62% แม่น้ำ 1.01%  และอื่นๆ อีก 2.02%
     ในขณะที่โรงเรียนในเขตเมืองส่วนใหญ่จะมีแหล่งน้ำดื่มจากน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคจากน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค 92.70% และน้ำถัง 7.30% ทั้งนี้จาการสำรวจพบว่า น้ำบรรจุถังที่โรงเรียนจัดซื้อผิดมาตรฐานถึง 61.90% น้ำที่มาจากแหล่งน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค ผิดมาตาฐานถึง 34.55% โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการดูแลความสะอาดเครื่องทำน้ำเย็นของโรงเรียน และการทำความสะอาดระบบการกรองน้ำดื่มในโรงเรียน
         ผลการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มในโรงเรียนพบทั้งสารเคมี โลหะหนัก และเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคต่อระบบทางเดินอาหาร เกินมาตรฐานความปลอดภัย ประกอบด้วย สารตะกั่ว พบจำนวน 12 แห่ง  แคดเมียมพบ 12 แห่ง  แมงกานีส พบ 4 แห่ง  อะลูมิเนียมพบ 3 แห่ง ฟลูออไรด์พบ 3 แห่ง ไนเตรทพบ 104 แห่ง  เหล็กพบ 87 แห่ง  ความกระด้างพบ 64 แห่ง
        ส่วนเชื้อจุลินทรีย์พบเชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล (E.coli) 83 แห่ง สเตปโตคอกคัส ออเรียส (S.aureus) พบ 3 แห่ง ซาโมเนลลา (Samonella)  พบ 6 แห่ง และคลอสตริเดียม เพอฟริงเกน (C.perfringen) พบ 35 แห่ง
        เหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำดื่มมีการปนเปื้อนสูงทั้งสารเคมี โลหะหนัก และเชื้อจุลินทรีย์ เพราะการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ดี โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ทำให้แหล่งน้ำมีปริมาณสารไนเตรทสูง จนไม่ปลอดภัยในการบริโภค นอกจากนี้การสำรวจพบว่ามีโรงเรียน 2 แห่งใช้ตะกั่วบัดกรีเชื่อมภาชนะเก็บน้ำดื่มของโรงเรียนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์          ซึ่งสารเคมี  และโลหะหนักที่พบมีผลต่อร่างกายดังนี้ 
 สารตะกั่ว อาจทำให้เกิดภาวะไตวาย โลหิตจาง ถ้าเข้าสู่สมองอาจทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย บางคนวิงเวียนศีรษะ ทำให้ระบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง
แคดเมียม ทำให้กระดูกเปราะ กระดูกบาง ไตวาย ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นมีพังผืดในเนื้อปอด
แมงกานีส ทำให้มีไข้  ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่อ
ฟลูออไรด์ จะเข้าไปจับตามกระดูก  ถ้าจับมากเกินไปทำให้กระดูกพรุน กระดูกเปราะ
ไนเตรท ทำให้ทารกตัวเขียว ผลระยะยาว จะทำให้สตรีมีครรภ์ภาวะแท้งคุกคามได้
เหล็ก ส่งผลต่อร่างกาย คือ ในระยะเฉียบพลันทำให้คลื่นไส้อาเจียน ถ้าเป็นเรื้อรัง จะสะสมที่ตับและทำให้กระดูกผุ
ความกระด้าง ทำให้เกิดนิ่วในไต
เชื้อจุลินทรีย์  ทั้งแบคทีเรีย อี.โคไล   สเตปโตดอกคัสออเรียส    ซาโมเนลลา และ     คอสตริเดียม เพอฟริงเกน ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย
         ผลการวิจัยที่ออกมาถือว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะทุกคนต้องดื่มน้ำ สารเคมี โลหะหนัก และเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรวจพบ หากร่างกายสะสมไปเรื่อยๆจะ เกิดปัญหาแน่นอน ท่านอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ให้คำแนะนำ ว่าการบริโภคน้ำดื่มต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดการปนเปื้อน น้ำดื่มควรมีเครื่องกรองทำความสะอาด ขณะเดียวกันหากแหล่งน้ำไม่ดีก็ต้องเปลี่ยน หาแหล่งใหม่
        คนที่ทำงานกับโรงเรียน และชอบการบริโภคอย่างเรา จึงไม่อาจมองข้ามปัญหานี้ไปได้เลย จึงขอย้ำเตือนไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนโดยเฉพาะคุณครูโปรดให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดหาน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย ให้กับเด็กๆในโรงเรียนด้วย เนื่องจากเด็กในวันนี้ก็คืออนาคตของชาติ

น้ำที่ให้หนูดื่มสะอาดป่าว.....

หมายเลขบันทึก: 75965เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ค่ะสวัสดีค่ะ  เข้ามาทักทายและอ่านบทความของคุณ bee  น่าสนใจมากเลยค่ะ เป็นความรู้ที่จะนำไปปฏิบัติให้กับสุขภาพตัวเองได้ดีมากค่ะ

พบพอดีค่ะ ว่า วันนี้พี่บี๋ฟิ๊ตเปรี๊ยะ ... ดีใจมากเลย

... ก็อยากบอกแหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องของน้ำดื่มนะคะ ข้อมูลของกองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ที่สื่อเผยแพร่ + ภาพประกอบ ค่ะ

ถึงน้องนนเพื่อนร่วมทาง

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่ให้พี่ไปหาเพิ่มได้

ขอบคุณมากค่ะ

พี่บี๋

พี่บี๋จ๋า ... เพิ่งเห็นภาพ ... ขวดนมน่ารักจริงๆ จ้ะ ... แล้วหนูจากินได้มั๊ยน่ะ ... เหวอเลย
ค.ว.ย คิด วิเคราะห์ เเยกเยะ ได้ดีมาก

ถึงผู้คุณหวังดี

ตอนแรกอ่านคำว่าค.ว.ย. ตกใจแทบแย่พอรู้ความหมายค่อยยังชั่วหน่อย ขอบคุณค่ะ

อยากทราบอุกรณ์ การกรองน้ำ

วิธีการกรองน้ำแบบชาวบ้าน

ปัญหาน้ำดื่ม น้ำถังที่บรรจุภาชนะรูปแบบต่างๆ นั้นพบเห็นได้บ่อยจริงๆ ค่ะ เป็นภัยใกล้ตัวต้องระมัดระวังอย่างมากค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท