เรามีสิทธิ์เป็นตัวเราเองได้อย่างสมบูรณ์


สุนทรียสนทนา ทำให้เรารู้สึกและมั่นใจว่าเรามีสิทธิ์เป็นตัวเราเองได้อย่างสมบูรณ์และมีความสุขจากการเป็นตัวเองในสังคม

             จากการได้เข้าร่วมการเสวนาเรื่อง “สุนทรียสนทนา สู่ความเป็นองค์กรยุคใหม่” วันที่ ๒๙ ม.ค.๕๐ ซึ่งล่าสุด ครูใหม่ ก็ได้เขียนเล่าในบันทึก  http://gotoknow.org/blog/krumaimai/75500 และจากประสบการณ์ตรงของ คุณอ้อม ที่ได้ถ่ายทอดไว้ในบันทึก http://gotoknow.org/blog/play/75505  ดิฉันจะขอเพิ่มเติมในมุมมองของตัวเองบ้าง
 

             แรกเริ่มเดิมทีได้ยินบ่อยครั้งใน สคส. กับคำว่า สุนทรียสนทนา หรือ Dialogue ในตอนนั้นเข้าใจเพียงว่า เป็นการสนทนาที่ผู้ฟัง ต้องฟังอย่างตั้งใจ ฟังให้จบประโยค ฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) และผู้พูดก็พูดแต่เรื่องดีๆ ในมุมบวก  แต่พอได้รับโอกาสให้เข้าร่วมการเสวนาเรื่อง “สุนทรียสนทนา สู่ความเป็นองค์กรยุคใหม่” ถึงแม้การเสวนาครั้งนี้จะไม่เห็นกระบวนการของ สุนทรียสนทนา มากนัก เพราะเป็นวงเสวนาสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การนำสุนทรียสนทนาไปใช้ในองค์กรซึ่งประสบความสำเร็จแล้ว.... แต่จากการเข้าร่วมทำให้ดิฉันได้เรียนรู้และเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกนิด (แต่ก็ไม่ทราบว่าจะเข้าใจถูกต้องหรือไม่ เพราะดิฉันก็ยังไม่เคยปฏิบัติจริงอย่างเต็มกระบวนการของ สุนทรียสนทนา)
 

            สุนทรียสนทนา ในมุมมองของดิฉัน คงไม่ใช่เพียงแค่การฟังอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่เพียงแค่การสนทนาในเชิงบวกเท่านั้นเสียแล้ว.....  และไม่ใช่เป็นเพียงการสนทนาในกลุ่มเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์หรือความสำเร็จขององค์กรเพียงอย่างเดียว  จุดเริ่มต้นไม่ได้เริ่มจากการจับกลุ่ม หรือ จัดประชุมในองค์กร  แต่จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของ สุนทรียสนทนา คือการนำไปใช้กับตัวเอง รู้สึกกับตัวเอง ฟังเสียงตัวเอง  ทบทวนและใคร่ครวญความเป็นตัวของตัวเอง ควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้อยู่ในด้านบวก และที่สำคัญคือกล้ามองข้อบกพร่องของตัวเอง แล้วปรับปรุงข้อบกพร่องนั้น  จนทำให้เรามีความรู้สึกที่ดี มั่นใจ และภูมิใจในตัวเอง   สุนทรียสนทนา ทำให้เรารู้สึกและมั่นใจว่าเรามีสิทธิ์เป็นตัวเราเองได้อย่างสมบูรณ์และมีความสุขจากการเป็นตัวเองในสังคม........

             เมื่อตัวเราเองเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตัวเองได้แล้วจึงจะเผยแพร่ต่อไปยังผู้อื่น ในระดับกลุ่ม ระดับองค์กร ซึ่งหน่วยงานที่พนักงานมี สุนทรียสนทนา อยู่ในตัวเองทั่วทั้งองค์กรแล้ว หน่วยงานนั้นย่อมประสบความสำเร็จเพราะพนักงานมีความสุขกับการทำงานจึงทำให้สมองปลอดโปร่ง มีความคิดที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา
 

           สุนทรียสนทนา เป็นการเน้นเรื่องของใจเป็นสำคัญ....... ปัญหาบางอย่างยิ่งพยายามคิดกลับยิ่งแก้ปัญหาไม่ได้..แต่พอเลิกคิดแต่ใช้ใจรู้สึกบางครั้งปัญหานั้นก็คลี่คลายได้อย่างง่ายดาย

หมายเลขบันทึก: 75605เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ชอบบทสรุป 2 บรรทัดสุดท้ายมากค่ะ เป็นความจริงแท้ที่เราหลายๆคนได้รับรู้กันมากขึ้นๆนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท