จุมเรียบซัว(สวัสดี)กัมพูชา ตอน ๑๔


ผู้เขียนเกิดมาก็เพิ่งเห็นของขอบคุณมากมายมหาศาลอย่างนี้... ความจริงการที่คลังเลือดรับบริจาคเลือด เป็นนาบุญให้ผู้บริจาคก็นับเป็นพระคุณมากอยู่แล้ว

                      

เจ้าหน้าที่คลังเลือดนำของขอบคุณให้แม่ชี 2 ท่านที่บริจาคเลือด ของขอบคุณใส่ในถุงพลาสติกอย่างดี

  • ข้างในถุงมีหมวกแก๊ป เสื้อยืด กล้วยหอม (2 ผล) ขนมปังฝรั่งเศสไส้แฮมประมาณ 4 ชั้น ยาวประมาณ 2 คืบ หั่นแบ่งครึ่งอย่างดี นมข้นหวานตรามะลิ 1 กระป๋อง มาม่า 5 ซอง ทอฟฟี่ทำในเมืองไทย 5 กล่องเล็ก และพจนานุกรมอังกฤษ-เขมรอีก 1 เล่ม

ภาพที่ 1: ของขอบคุณสำหรับผู้บริจาคเลือดสำหรับคุณแม่ชี มีมาม่า ทอฟฟี่ชอคโกแล็ต นมข้นหวาน ดิคชินนารีอังกฤษ-เขมร น้ำดื่ม น้ำอัดลม ขนมปังฝรั่งเศสไส้แฮม (แฮมเรียงกันหลายชั้น) ที่ไม่เห็นในภาพคือ กล้วยหอม 2 ผล และไข่ต้ม...

  • บริจาคเลือดที่เขมรนี่อิ่มไปหลายมื้อทีเดียว วันรุ่งขึ้นเราเลยได้อาศัยไข่ต้ม ขนมปังฝรั่งเศสไส้แฮม กล้วยหอมเป็นอาหารบนรถขากลับ

หลังบริจาค... เจ้าหน้าที่ท่านเชิญแม่ชีไปห้องรับประทานอาหาร มีน้ำหวานมิรินด้า 1 กระป๋อง และน้ำดื่มให้อีก 500 มิลลิลิตร(1/2 ลิตร)

  • ท่านพระสา แอมที่เดิมดูจะกลัวเข็ม และกล่าวว่า "สุขภาพไม่สมบูรณ์" คงจะเห็นแม่ชีบริจาคไปยิ้มไป เลยขอบริจาคบ้าง

หลังบริจาคดูเหมือนท่านจะดีใจมากที่ได้บริจาค... บอกว่า ไม่เห็นเป็นอะไรเลย ของขอบคุณของพระภิกษุต่างจากฆราวาสนิดหน่อยคือ มีร่มเหลือง ย่ามเหลือง ชา 1 ห่อ น้ำตาลทรายขาว 1 ห่อ

  • ผู้เขียนเกิดมาก็เพิ่งเห็นของขอบคุณมากมายมหาศาลอย่างนี้... ความจริงการที่คลังเลือดรับบริจาคเลือด เป็นนาบุญให้ผู้บริจาคก็นับเป็นพระคุณมากอยู่แล้ว

ภาพที่ 2: สภากาชาดเขมรนำภาพผู้บริจาคเลือดสวมเสื้อบริจาคเลือดขึ้นหน้าปฏิทิน โปรดสังเกตเหรียญกาชาด... ถ้าไม่สังเกตจริงๆ จะดูคล้ายเหรียญทองโอลิมปิคทีเดียว... สาธุ สาธุ สาธุ

ภาพที่ 3: ของขอบคุณสำหรับพระภิกษุที่บริจาคเลือด มีน้ำ น้ำอัดลม ดิคชินนารีอังกฤษ-เขมร น้ำตาลทราย ชาจีน นมข้นหวาน ย่าม และร่ม

ภาพที่ 4: รถคลังเลือดเขมร โปรดสังเกตราวตากเสื้อผ้า... ท่านพระสา แอมบอกว่า คลังเลือดเขมรรับบริจาคเลือด 24 ชั่วโมง นับว่า บริการก้าวไปไกลมาก... สาธุ สาธุ สาธุ

นี่ยังไม่พอ เพราะเจ้าหน้าที่คลังเลือดฝากเสื้อยืดโฆษณาคลังเลือดไปให้คนขับรถวัดอีก 1 ตัว ผู้เขียนถามอาจารย์สาเรนว่า คนขับรถนี่เรียกว่าอะไร

  • ท่านว่า เรียก "โชเฟอร์" ก็ได้ หรือจะเรียก "เนียะ-บะเฮิ้ก-ลาน" ก็ได้ คำว่า "ลาน" หมายถึงรถ

หลังจากทำบุญที่คลังเลือดแล้ว... ท่านพระสา แอมนำไปชมพระราชวัง ด้านหน้าพระราชวังมีแม่น้ำ... มีธงชาติของชาติต่างๆ ติดไว้หลายชาติ ความจริงถ้ามีทุกชาติในโลกน่าจะดี เพราะทุกคนย่อมอยากจะเห็นธงชาติของชาติตัวเองกันทั้งนั้น

  • การชมพระราชวังทำให้ได้รู้ได้เห็นว่า กัมพูชากับไทยช่างคล้ายกันเหลือเกิน จะเรียกว่า บ้านพี่เมืองน้องก็ได้

ภาพที่ 5: ด้านหน้าพระราชวังเขมร

ภาพที่ 6: ภาพพระราชวังเขมรด้านใน

ภาพที่ 7: พระราชวังเขมร... โปรดสังเกตวังแบบยุโรป สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ชมแล้วราวกับได้กลิ่นนมเนยทีเดียว

ภาพที่ 8: พระราชวังเขมรอีกมุมหนึ่ง

ภาพที่ 9: พระราชวังเขมร... โปรดสังเกตสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส

ภาพที่ 10: ภาพนี้ผู้เขียนประมาทไป... ไม่ทันได้ถามท่านผู้รู้ว่า เป็นอะไร...

ภาพที่ 11: ภาพวาดในพระราชวังเป็นเรื่องรามเกียรติ์คล้ายในวัดพระแก้ว...

ภาพที่ 12: ภาพวาดรามเกียรติ์ต่อจากภาพที่ 11

ภาพที่ 13: ภาพวาดรามเกียรติ์... โปรดสังเกตรอยแตกของฝาผนัง

ภาพที่ 14: ภาพรามเกียรติ์ต่อเนื่องจากภาพที่ 13

ภาพที่ 15: เรือนไม้เขมรด้านข้างพระราชวังมีตัวอย่างเครื่องดนตรีในราชสำนัก โปรดสังเกตว่า คล้ายเครื่องดนตรีไทยภาคกลาง ไม่ว่าจะเป็นฆ้องวง จะเข้ ระนาด หรือกลอง... บางทีไทยอาจจะรับมาจากเขมรก็เป็นได้

ภาพที่ 16: เรือนเขมรมีพระพุทธรูป รูปนางฟ้า(อัปสร)เปลือย และเครื่องดนตรี (ซอสามสาย)...

  • คติของเขมรคงจะต่างจากของไทย ศาสนาหลักของเขมรคือ "พุทธ-พราหมณ์" (จริงๆ น่าจะเป็น "พุทธ-พราหมณ์-ไสย(ศาสตร์)-ทรัพย์(วัตถุนิยม)" คล้ายกับไทย) ธรรมเนียมไทยไม่นิยมนำภาพเปลือยไว้หน้าพระพุทธรูป

ภาพที่ 17: เรือนเขมรแสดงกระต่ายขูดมะพร้าว และถาดหลุมทำจากไม้... ตอนเด็กๆ ผู้เขียนเคยเห็นถาดแบบนี้ที่บ้านคุณย่า เล่นกันอย่างไรจำไม่ได้ เพราะนั่นเป็นเรื่อง "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (once apon a time)"

ภาพที่ 18: เรือขุดทำจากต้นตาล ปลูกบัวไว้ด้านใน... ดูดีจนน่าทำเลียนแบบทีเดียว

ภาพที่ 19: เรือนหลังเล็ก... ผู้เขียนขอเดาว่า น่าจะเป็นกุฏิพระ ลองเดินเข้าไปเปิดหน้าต่างดู ปรากฏว่า คล้ายกุฏิพระของไทย

ภาพที่ 20: เรือบกติดล้อเกวียน

ภาพที่ 21: ส่วนหัวของเรือบก

ภาพที่ 22: ภาพแกะสลักตามศาสนาฮินดู(พราหมณ์)เรื่องการกวนน้ำอมฤต (ว่ากันว่า ดื่มแล้วไม่ตาย) โปรดสังเกตว่า คล้ายสถาปัตยกรรมในสนามบินสุวรรณภูมิ

ภาพในพิพิธภัณฑ์ด้านข้างพระราชวังมีภาพคนเขมรเป่าแคนคล้ายๆ กับคนอีสาน

  • เมื่อก่อนมีการแสดงหนังใหญ่ หนังตะลุงอะไรทำนองนี้ด้วย ทำให้รู้สึกคล้ายกับอยู่บ้านเราเองทีเดียว

ถึงตรงนี้ขอฝากคำของท่านอาจารย์สัจภูมิ ละออ... ท่านยกคำของอาจารย์เซ็น (พุทธศาสนานิกายเซ็นในญี่ปุ่น) มา

  • ท่านว่า "รู้จักหยุด รู้จักยอม รู้จักเย็น ชีวิตย่อมเป็นสุข"...

    เชิญอ่าน:

    แหล่งที่มา:

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. จัดทำ > 31 มกราคม 2550.

    ขอขอบพระคุณ:

  • ท่านอาจารย์สัจภูมิ ละออ. ส่องเขมร ตระเวนกัมพูเจีย. เนชั่นบุ๊คส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2546.

    เชิญอ่าน:

  • บันทึกย้อนหลังบน Gotoknow ย้อนหลังได้... โดยเลือกจากปฏิทินกิจกรรมด้านขวามือของบล็อก
  • บ้านสุขภาพ > http://gotoknow.org/blog/health2you
  • ดาวน์โหลดบทความ > www.lampangcancer.com > ขอขอบคุณ webmaster โรงพยาบาล > คุณณรงค์ ม่วงตานี.
หมายเลขบันทึก: 75555เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กูอุส่าหลงรักประเทศไทยของไทย ดนตรีไทย ของไทยทั้งหมด แต่วันนี้กูหมดสัททาประเทศไทย ขนาดมวยไทยที่กูหลงภูมิใจ กูเสียใจมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท