ฝันของหมออนามัย


ฝันของหมออนามัย

        คุณลักษณะพยาบาลวิชาชีพ

1. พยาบาลวิชาชีพ

หมายถึง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยพยาบาล ที่สภาการพยาบาลรับรอง ที่มีใบประกอบวิชาชีพฯ ที่ยังใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนหรือยังไม่หมดอายุ และปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพตามวุฒิการศึกษาดังกล่าว

2. พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาล
ในแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่ม 1

1.1 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลและสถานบริการทุกระดับ หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลในแผนกหรือหน่วยงานผู้ป่วยนอกของ โรงพยาบาล และสถานบริการทุกระดับ (เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชนหรือหน่วยบริการสุขภาพอื่น ๆ ที่มีลักษณะเทียบเคียงกับหน่วยบริการดังกล่าว) และหมายรวมถึงพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินในกรณีที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการไม่ได้แยกทีมให้บริการพยาบาลระหว่างแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยนอก
1.2 พยาบาลวิชาชีพในงานการพยาบาลครอบครัวและชุมชน หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลดูแลสุขภาพแบบองค์รวม แก่ครอบครัวที่บ้าน และในชุมชน
1.3 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานอนามัยชุมชน/อนามัยโรงเรียน/อาชีวอนามัย หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ในชุมชน/โรงเรียน/สถานประกอบการต่าง ๆ
1.4 อาจารย์พยาบาลที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานและร่วมให้บริการในกลุ่มนี้ หมายถึง อาจารย์พยาบาล ที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยบริการหรืองานบริการในกลุ่ม 1

กลุ่ม 2

2.1 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการใน ER หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ ที่ให้บริการพยาบาลประจำหน่วยหรือแผนกอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน รวมทั้งการให้การพยาบาลในห้องฉุกเฉิน การให้การพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ และการพยาบาลในห้องสังเกตอาการ
2.2 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการใน LR หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลการเฝ้าคลอด การคลอด และการดูแลมารดาและทารกหลังคลอด ในห้องคลอด
2.3 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการใน OR หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการผ่าตัดประจำห้องผ่าตัดทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัด
2.4 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการใน IPD หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลในหอผู้ป่วยในทุกหอผู้ป่วย รวมทั้งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน ICU, CCU หรือหอผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งยังไม่ผ่านการ อบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤต
2.5 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงาน IC หมายถึง พยาบาลวิชาชีพผู้ทำหน้าที่พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
2.6 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานตรวจและบำบัดพิเศษต่าง ๆ หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ ที่ผ่านการฝึกอบรมและปฏิบัติงานประจำในหน่วยงานตรวจ และบำบัดพิเศษ เช่น เคมีบำบัด รังสีรักษา ตรวจรักษาผ่านกล้อง หรือเครื่องมือพิเศษ กระตุ้นพัฒนาการเด็ก ตรวจสวนหัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจและปอด ไตเทียม ปอดและหัวใจเทียม ปลูกถ่ายอวัยวะ การบำบัดสารเสพติด การบำบัดทางจิต การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย/ผู้พิการ งานบริการปรึกษาด้านสุขภาพอนามัย (Counseling) งานตรวจรักษาขั้นต้นโดยพยาบาลที่ได้รับอนุมัติบัตรพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป ฯลฯ (สภาการพยาบาลเป็นผู้กำหนดงานตรวจและบำบัดพิเศษ)
2.7 อาจารย์พยาบาลที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานให้บริการในกลุ่มนี้ หมายถึง อาจารย์พยาบาล ที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยบริการหรืองานบริการในกลุ่ม 2

กลุ่ม 3

3.1 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานพยาบาลวิสัญญี หมายถึง วิสัญญีพยาบาลที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรวิสัญญีพยาบาล ที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย หรือจากต่างประเทศที่สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยให้การรับรอง และปฏิบัติงานบริการวิสัญญีทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังการระงับความรู้สึก
3.2 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานพยาบาลเวชปฏิบัติ (NP) หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ (NP) ซึ่งได้รับวุฒิบัตรจากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย หรือวุฒิบัตรจากต่างประเทศที่สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยให้การรับรอง และปฏิบัติงานการตรวจรักษาขั้นต้นในโรงพยาบาล/สถานบริการหรือในชุมชน
3.3 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ ที่ให้บริการในงานการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง หรือการผดุงครรภ์ขั้นสูง (APN) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรจากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย หรือวุฒิบัตรจากต่างประเทศที่สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยให้การรับรอง หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางการพยาบาลทางคลินิกหรือปริญญาเอก และปฏิบัติงานการพยาบาลขั้นสูงตรงตามสาขา
3.4 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานการพยาบาลใน ICU ,CCU หรือผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤต หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการพยาบาลใน ICU, CCU หรือผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งเป็นพยาบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยหนัก/ผู้ป่วยวิกฤตที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง
3.5 พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการในงานการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง/อันตราย หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ ที่ให้บริการพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง/อันตราย (โรคติดเชื้อรุนแรง/อันตราย เป็นไปตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข)
3.6 หัวหน้าทีมควบคุมคุณภาพการบริการทางการพยาบาล หมายถึง เฉพาะหัวหน้าพยาบาลในโรงพยาบาล หรือสถาบันเฉพาะทาง หรือหน่วยบริการชื่ออื่นที่เทียบเท่า
3.7 อาจารย์พยาบาลที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานให้บริการในกลุ่มนี้ หมายถึง อาจารย์พยาบาล ที่สอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยบริการหรืองานบริการในกลุ่ม 3

คำสำคัญ (Tags): #พยาบาลวิชาชีพ
หมายเลขบันทึก: 75551เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ผมก็เป็นพยาบาลวิชาชีพคนนึง ขอให้ทำหน้าที่ด้วยความตั้งใจและเต็มใจ อย่าให้สังคมและวิชาชีพอื่นมองข้ามเราไปได้ เป็นกำลังใจให้นะครับ เพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน แล้วค่อยคุยกันใหม่นะครับ

เรียนพยาบาล จนจบ 4 ปี แล้วจะทำงานที่สถานีอนามัยได้ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท