วันก่อนการติดตามโครงการของยูนิเซฟ


ยูนิเซฟ

ตามที่เราได้เริ่มบันทึกเรื่องราวของกลุ่มสานน้ำใจสองฝั่งโขงจริงๆเราจะพยายามเล่าเรื่องย้อนก่อนแล้วค่อยไล่ๆมาจนถึงปัจจุบันแล้วจึงจะเล่าเหตุการณ์ไปเรื่อย แต่วันนี้อดไม่ได้ที่จะเล่าเนื่องจากปัญหาการดำเนินงาน

กลุ่มนี้กำลังจะถูกติดตามโครงการโดยได้เขียนโครงการไปของบประมาณจากยูนิเซฟชื่อโครงการสานสัมพันธ์ครอบครัวผู้ติดเชื้อ ได้งบประมาณมาประมาณ 45,000 บาทครับแต่ตัวเลขจริงๆเดี่ยวมาเติมครับ ปัญหาตอนนี้เรากำลังเผชิญกับความเป็นจริงเมื่ออีก 3 วันเรากำลังจะได้รับการติดตาม

เวลา9.00 น.ข้าพเจ้าโทรตามประธานกลุ่ม(ขอเรียกว่าคุรจ.ครับ)ปรากฎว่าเกิดปัญหาแรกคือมือถือเดิมที่ใช้ไม่สามารถติดต่อได้ ข้าพเจ้าพยายามที่จะเปิดไปดูเอกสารเดิมที่เคยบันทึกเลยลองโทรไปหาพี่อีกหลายคน จนมาติดที่พี่ผู้หญิงอีกคน(ผมขอเรียกว่าคุณ พ.ครับ) เลยทราบว่าแกกลับมาจากการประชุมกลุ่มที่จ.อุดรธานี จะนำเอกสารมาให้ประธานกลุ่มอยู่แล้วเลยนัดเจอกัน เพราะฉะนั้นการเป็นผู้ประสานงานที่ดีต้องมีเบอร์ของสมาชิกในกลุ่มหลายๆคนมีความสำคัญมากๆ

พอ 11.00 น.ผมก็ได้รับโทรศัพท์ว่ามาถึงแล้วเมื่อไปที่ทำการกลุ่มพบพี่พ.และคุณจ. ซึ่งผมก็ได้แจ้งถึงการมาประเมินของยูนิเซฟ ลองคุยกันเมื่อครั้งกรมควบคุมโรคติดต่อที่ 7 อุบลราชธานี่ มาเยี่ยมในวันที่ 7 พ..2548นั้นประธานกลุ่มก็เล่าให้ฟัง พบว่าปัญหาที่มีอยู่ก็คือการขาดองค์ความรู้และวัตถุประสงค์ของการมารวมกลุ่มกันขึ้น การมารวมกลุ่มกันของกลุ่มเรานั้นถูกมองว่าเป็นการมารวมกันเพื่อที่จะหาเงินเข้าตัวเป็นหลักทำให้ถูกมองในแง่ที่ไม่ดีที่อยู่ในน้ำเสียงของเขา ประธานได้แต่เพียงตอบถึงการขาดสิ่งต่างๆ มากมายในการดำเนินการของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่ที่ยังไม่เรียบร้อยหรือยังไม่เป็นทางการ ประชุมกันทีก็แทบห้องแตก หรือการขาดตู้เก็บเอกสารต่างๆ พัดลม ที่ดื่มน้ำ ดูแล้วการดำเนินงานเราด้านสถานที่ยังมีปัญหาแต่ด้านกิจกรรมค่อนข้างชัดเจน รวมถึงองค์ความรู้ที่จะไปแนะนำให้รู้ทั้งด้านยาและการแนะนำตัวในการปฎิบัติ นอกจากนี้ประธานกลุ่มยังไปซื้อตู้เอกสารโดยเซ็นต์ไว้ก่อนมีเงินแล้วจึงจะไปใช้และกู้เงินบางส่วนมาทำงาน(แสดงให้เห็นถึงการยิ่งทำงานทำให้เกิดหนีสินซึ่งหากไม่ทำตรงจุดนี้อาจไม่เป็นมากขึ้น) ซึ่งตัวประธานและแกนนำนั้นยังไม่มีเงินเดือนประจำซึ่งจะทำให้สามารถทำงานด้านนี้ได้เต็มที่แต่เขาเหล่านั้นยังต้องทำงานและหาเงินไปวันๆ ข้อสรุปในวันนั้นแล้วทางเขต 7 จะมาอบรมกลุ่มเราในวันที่ 17-18 ธ.ค.2548 นี้ นั่นคือข้อสรุปจากการมาดูงานของสำนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ 7 อุบลราชธานี ซึ่งผมก็เลยตั้งคำถามขึ้นมาว่าจุดแข็งของกลุ่มเรามีอะไร เพื่อจะได้นำเสนอยูนิเซฟ ประธานกลุ่มอ้ำอึ้งเล็กน้อยไม่สามารถตอบได้ ผมจึงชี้จุดแข็งของกลุ่มเราให้ฟัง โดยให้ทบทวนกิจกรรมตามโครงการที่เขียนไปคือ

    1.การประชุมประจำเดือน ผลงานคือสามารถประชุมได้ตามที่กำหนดทุกครั้ง

    2. การประชุมแต่ละครั้งผู้ประชุมเสียค่าเดินทางมาเองเนื่องจากงบจากยูนิเซฟยังไม่ได้โอนมาให้

    3. การมาประชุมแต่ละครั้งสมาชิกมามากว่า 20-30 คนต่อครั้ง

    4. การไปเยี่ยมบ้านผู้ติดเชื้อเป็นไปตามแผนที่วางไว้

     5. เมื่อเงินโอนเข้ามาสามารถแจกจ่ายคืนให้แก่สมาชิกได้

     6. กิจกรรมอื่นนอกจากที่เขียนโครงการไว้สามารถดำเนินการได้ เช่นกิจกรรมการอบรมนวดแผนไทยที่ได้วิทยากรจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม และกิจกรรมการทำพิมเสนน้ำและการบูรขาย เป็นต้น

ซึ่งจากการสรุปจุดแข็งตรงนี้นี่เองจึงพอจะให้คลายความกังวลของหัวหน้ากลุ่มรวมทั้งตัวข้าพเจ้าเองด้วย ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้ประธานกลุ่มไปสรุปกิจกรรมและผลลัพท์ที่ได้ดำเนินการ ให้พี่พ.ไปนัดกลุ่มที่อบรมนวดมาตอบเวลาถามถึงการนวดโดยให้พี่พ.เป็นผู้ตอบด้านการทำการบูรและพิมพิมเสนน้ำ ซึ่งผลงานชิ้นโบแดงคือหลังจากอบรมนั้นก็มีสมาชิกของเราได้ไปทำงานที่กรุงเทพด้านการนวดแผนไทยด้วยซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในจุดเริ่มต้น  แต่ประธานได้รับกำลังใจว่าหากที่นี้สามารถเป็นศูนย์องค์รวมได้จะมีงานให้เยอะแยะ จึงยังเป็นคำถามคาใจข้าพเจ้าในตอนนี้ว่าศูนย์องค์รวมนี่มันหน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วผมจะมาเล่าให้ฟังใหม่นะครับ เพื่อให้กลุ่มของเราสามารถเป็นศูนย์องค์รวมได้อย่างแท้จริง ก้าวนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราผ่านวันที่ 21 นี้ไปได้ แล้วจะมาเล่าให้ฟังเรื่อง ก่อนหน้านี้นะครับ

ภก.ณัฐพล ผลโยน เภสัชกรดูแลผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 7505เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2005 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท