GotoKnow

มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ อุดมศึกษา (สมศ. รอบ 2) (มาตรฐานที่ 6)

ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร
เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2548 11:44 น. ()
แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2555 12:47 น. ()

< เมนูหลัก >

มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ การประเมินคุณภาพภายนอก

เพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา

6. มาตรฐานด้านการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน

         กระบวนการพัฒนาและบริหารหลักสูตรให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม มีการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความต้องการ/ความสนใจของผู้เรียน โดยใช้เทคนิคการสอนและอุปกรณ์การสอนที่หลากหลาย มีการประเมินผลการเรียนการสอนตามสภาพจริง และมีการใช้ประโยชน์ผลการประเมินในการพัฒนาผู้เรียน

         การระดมทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งความร่วมมือจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันอุดมศึกษา ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และกิจกรรมการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด

ตัวบ่งชี้

         6.1 ร้อยละของหลักสูตรที่ได้มาตรฐานต่อหลักสูตรทั้งหมด

         6.2 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

         6.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า

         6.4 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่ง

               6.4.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์

               6.4.2 รองศาสตราจารย์

               6.4.3 ศาสตราจารย์

         6.5 ร้อยละของการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู (Code of Ethics)

         6.6 ประสิทธิผลของการเรียนรู้

               6.6.1 กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเฉพาะการเรียนรู้จากการปฏิบัติและประสบการณ์จริง

พิจารณาจาก

         1) มีการวางแผนหรือนโยบายระดับสถาบันการศึกษาในการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมการสร้างประสบการณ์จริง

         2) มีกลไกสนับสนุนในด้านการจัดอบรม/ประชุมเรื่องหลักการสอน เทคนิคการสอน การวัดและประเมินผล และการสนับสนุนเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

         3) มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างทั่วถึงทุกคณะวิชา

         4) มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และกำหนดทิศทางในการพัฒนาอย่างชัดเจน

         5) มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและเผยแพร่การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในกับสถาบัน/สถานศึกษาอื่น

         6) มีระบบการประเมินที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน

               6.6.2 ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

         6.7 ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการพัฒนานักศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา

         6.8 ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในระบบห้องสมุด คอมพิวเตอร์และศูนย์สารสนเทศต่อนักศึกษา

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

คำสำคัญ (Tags): #kpis #eqa #มาตรฐาน 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย