มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ อุดมศึกษา (สมศ. รอบ 2) (มาตรฐานที่ 5)


< เมนูหลัก >

มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ การประเมินคุณภาพภายนอก

เพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา

5. มาตรฐานด้านการพัฒนาองค์การ และบุคลากร

         การบริหารและการจัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของประชาคมในองค์การ หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี เน้นการกระจายอำนาจ กำกับด้วยนโยบายและการประกันคุณภาพ การวางแผน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การพัฒนาบุคลากร การนำระบบสารสนเทศมาใช้ มุ่งสร้างเสถียรภาพทางการเงิน รวมถึงการใช้เงินอย่างคุ้มค่า อิสระ คล่องตัว โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

ตัวบ่งชี้

         5.1 การพัฒนาสู่องค์การเรียนรู้ของสถาบัน

พิจารณาจาก

               5.1.1 สภามหาวิทยาลัย/สถาบัน และผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่ขับเคลื่อนพันธกิจ และสามารถสะท้อนถึงนโยบาย วัตถุประสงค์ และนำไปสู่เป้าหมายของการบริหารจัดการ

               5.1.2 มหาวิทยาลัย/สถาบันได้มีการพัฒนาให้เกิดองค์การเรียนรู้ (และมีผลการประเมินจากต้นสังกัดหรือหน่วยงานภายนอก)

               5.1.3 มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ

               5.1.4 มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม เน้นการกระจายอำนาจ โปร่งใส และตรวจสอบได้

               5.1.5 การใช้ทรัพยากรร่วมกัน

               5.1.6 ความสามารถในการผลักดันสถาบันให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

         5.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่เข้าร่วมประชุมวิชาการ และ/หรือนำเสนอผลงานวิชาการ

         5.3 งบประมาณสำหรับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในวิชาการวิชาชีพต่ออาจารย์ประจำ

               5.3.1 ในต่างประเทศ

               5.3.2 ในประเทศ

         5.4 ร้อยละของบุคลากรสายสนับสนุนประจำที่ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะในวิชาชีพ

         5.5 ศักยภาพด้านการเงินและงบประมาณ

พิจารณาจาก

               5.5.1 สินทรัพย์ถาวรต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า

               5.5.2 ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า

               5.5.3 ค่าเสื่อมราคาต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า

               5.5.4 ร้อยละของเงินเหลือจ่ายสุทธิต่อรายรับทั้งหมด

         5.6 ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารและการจัดการ

พิจารณาจาก

         1) มีข้อมูลพื้นฐานเพื่อการตัดสินใจ

         2) มีระบบการบริหารจัดการข้อมูลและผู้รับผิดชอบ

         3) มีการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการบริหารจัดการข้อมูล

         4) มีระบบฐานข้อมูลทั้งหมดทำงานประสานกันเป็นเครือข่ายของสถาบัน

         5) มีการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

คำสำคัญ (Tags): #kpis#eqa#มาตรฐาน
หมายเลขบันทึก: 7486เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2005 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันมีความสงสัยในข้อต่อไปนี้ค่ะ 

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การพัฒนาสู่องค์การเรียนรู้ของสถาบัน

คำที่ขีดเส้นใต้สีแดง หมายถึงอะไรค่ะ จะหมายถึงการพัฒนาสู่ Learning organization ใช่หรือปล่าว?

และข้อ 5.1.2 แทบไม่ได้ขยายความตัวบ่งชี้นี้เลย เพียงแต่เขียนสลับข้อความ ดังนี้

5.1.2 มหาวิทยาลัย/สถาบันได้มีการพัฒนาให้เกิดองค์การเรียนรู้ (และมีผลการประเมินจากต้นสังกัดหรือหน่วยงานภายนอก)

นอกจากนี้ ข้อความในวงเล็บสีแดงของข้อ 5.1.2 หมายถึงผลประเมินเรื่องอะไรค่ะ?

ข้อ 5.3  ที่เขียนว่าพิจารณาจาก

งบประมาณสำหรับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในวิชาการวิชาชีพต่ออาจารย์ประจำ

               5.3.1 ในต่างประเทศ

               5.3.2 ในประเทศ

ไม่ทราบว่า การพัฒนาความรู้ ความสามารถในวิชาการวิชาชีพ  หมายรวมถึง ทุนที่อุดหนุนอาจารย์เพื่อศึกษาต่อระดับ ป.โท  ป.เอก ด้วยหรือไม่ 

หากรวมอยู่ด้วย  ถ้ามีค่ามากจะหมายถึงดีหรือไม่ดี ?  ที่ว่าไม่ดีเพราะแสดงว่าคุณวุฒิอาจารย์ไม่เข้าขั้น ยังต้องใช้งบประมาณมากในการให้เรียนต่อกันอีกหลายคน  จึงสะท้อนถึงความไม่พร้อมในด้านทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน แต่ถ้าไม่รวมการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ มีงบตรงนี้ให้มากๆ ก็น่าจะดี

ข้อ 5.6 ในข้อย่อย 4) พิจารณาจาก

4) มีระบบฐานข้อมูลทั้งหมดทำงานประสานกันเป็นเครือข่ายของสถาบัน

ข้อนี้ยอมรับว่าถ้าทำได้จะดีมากๆทีเดียว เพียงแต่มองไม่ออกว่าหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สถาบัน จะช่วยได้อย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท