KM เพื่อเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จ. พิจิตร (๕)
ต่อไปนี้เป็นการวิเคราะห์ผล ที่เกิดต่อเกษตรกร ยังไม่รวมผลที่เกิดต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนทั่วไปที่ได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ หรืออาหารปลอดภัย
8. ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
ในประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ของจังหวัดพิจิตร
(1) เกิดองค์ความรู้ จำนวน 5 เรื่อง คือ
• สารทดแทนสารเคมี ได้แก่ ปุ๋ยหมักชีวภาพ สารไล่แมลง
ฮอร์โมน การคุมหญ้า
• การปลูกผักปลอดสารพิษ ที่ บ้านหนองพยอม ต.ดงเสือเหลือง
บ้านหนองหลวง
ต.ไผ่รอบ บ้านบึงบัว วชิรบารมี กลุ่มราษฎร์ร่วมใจ ทุ่งใหญ่
อ.โพธิ์ประทับช้าง บ้านหนองโสน บ้านท่าหลวง อ.เมือง
การขยายพันธุ์ไม้ ประมาณ 5 คน คือ คุณวิกรม ทุ่งใหญ่ อ.จำรัสและ
สมาชิก ลุงจวน ลุงพงษ์ ลุงหมาน คุณบำรุง
• การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว เครือข่ายเมล็ดพันธ์ 10
กลุ่ม
• การจัดการกลุ่ม และ การส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ
• การจัดการตลาดปลอดสารพิษ
(2) สมาชิกที่เข้าร่วมมีรายได้เพิ่มขึ้น และ
บางส่วนพัฒนาเป็นอาชีพ คือ
• การปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านเนิน พยอม ต.ดงเสือเหลือง
บ้านหนองหลวง ต.ไผ่
รอบ อ.โพธิ์ประทับช้าง ตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ
บ้านหนองโสน อ.สามง่าม บ้านท่าหลวง อ.เมือง
• การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจำหน่าย กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ บ้านวังตะกู
อ.บางมูล
นาก บ้านหาดมูลกระบือ ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง บ้านวังแดง
ต.เขาทราย อ.ทับคล้อ การขายพันธุ์ไม้ บ้านลุงจวน
บ้านราษฎร์ร่วมใจ ต. ทุ่งใหญ่ บ้านนายแหลม
ต.ห้วยร่วม
• กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่าย บ้านวังไคร้ ต.คลองคูณ
บ้านหนองพยอม ต. ทับ
หมัน ต. วังหว้า อำเภอตะพานหิน
(3) มีการเพิ่มขึ้นของแกนนำ ในปี 2542 มีจำนวน 12 คน ปี
2543จากการอบรมในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน มีแกนนำเกษตรกร 14 คน ปี 2544
ภายหลังจากได้มีการร่างหลักสูตร วปอ.ภาคประชาชน และเปิดอบรม
วปอ.ภาคประชาชน 1 รุ่น มีจำนวนแกนนำเกษตรกรเพิ่มขึ้น 52 คน ปี 2545
มีการอบรม วปอ.ภาคประชาชน อีก 3 รุ่น มีแกนนำเกษตรกรจำนวน 150
คน ปี 2546 มีแกนนำเกษตรกรจำนวน 234 คน
(4) มีการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรปลอดสารพิษ 3
รูปแบบ คือ
• กลุ่มเกษตรธรรมชาติอำเภอทับคล้อ ได้รับการสนับสนุนโรงสี จาก
ซิป รับซื้อ
ข้าวปลอดสารพิษ และข้าวทั่วไป โรงสี ต.สายคำโห้
อ.เมือง รับซื้อข้าวปลอดสารพิษ
• ศูนย์กระจายกากน้ำตาล ขายปัจจัยการผลิต คือ กากน้ำตาล
ให้กับสมาชิก และ
ผู้สนใจ มีการลงหุ้นร่วมกันทั้งจังหวัด
เกิดรายได้เข้ากองทุนส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ
• ตลาดนัด วิถีธรรมชาติ
จัดจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของกลุ่ม เป็น
เวทีแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
(5) มีการ ขยายการเกษตรปลอดสารพิษสู่โรงเรียน ประมาณ 30
โรงเรียน
(6) ผลการพัฒนาผู้นำ จากพูดคุยกับแกนนำเกษตรกร เมื่อ วันที่ 9
พฤศจิกายน 2546 คือ
• กาย มีสุขภาพดี มีความพากเพียรมากขึ้น ทำให้เรา
อยากเรียนรู้ตลอด เวลา ในด้าน
ชุมชน เป็นที่ไว้วางใจของชุมชน โดยผ่านการให้เป็นที่ปรึกษา
มีคนนับหน้าถือตามากขึ้น เรียกได้ว่ามีบารมีมากขึ้น
มีเพื่อนมากขึ้น เป็นที่รู้จัก ชุมชนไว้วางใจ พึ่งตนเองได้
• ใจ และจิตวิญญาณ
มีใจรักมากขึ้นจากความรู้สึกอยากทำ ภูมิใจจากการที่ได้
ให้ ได้เป็นผู้นำ มีจิตวิญญาณ จากการรู้ถูก รู้ผิดมากขึ้น
ไม่หลงไปตามกระแส (วัตถุนิยม, เงินนิยม, อำนาจนิยม ลาภ ยศ
สรรเสริญ ) มั่นใจในชีวิตของตนเอง
มีโอกาสช่วยเหลือคนในสังคมให้พ้นทุกข์ ทั้งการให้ความรู้
ช่วยทำให้เขาลดค่าใช้จ่าย สุดท้ายคือช่วยให้เขาปลดหนี้ได้
• ครอบครัวเริ่มเห็นด้วย ทำตัวให้ดู
เป็นอยู่ให้เห็น เป็นแบบอย่าง ทำให้คนใน
ครอบครัวเข้าใจ เห็นใจ จนถึงการให้ความร่วมมือทำด้วยกัน
มีอยู่มีกิน มีที่ดิน ปลอดหนี้ มีเงินใช้
ไม่มีภาระเลี้ยงลูกหลาน ปลอดสารพิษ มีความสุข อบอุ่น
เอื้ออาทรต่อผู้อื่น ญาติภูมิใจ
(3) ผลจากการสื่อสารระดับต่าง ๆ แสดงออกมาเป็นตารางได้คือ
กลุ่ม |
รูปแบบการสื่อสาร |
ผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร |
คณะกรรมการและผู้ประสานงาน | ประชุม โทรศัพท์ จดหมาย การดูงาน เวทีสัญจร | ผู้นำได้รับการพัฒนาทั้งแนวคิดและเทคนิคการทำเกษตรปลอดสารพิษ
มีความมั่นใจในการขยายแนวคิดมากขึ้น คนรอบข้างให้การยอมรับ
และภูมิใจ |
สมาชิก | วปอ.ภาคประชาชน ศูนย์กระจายกากน้ำตาล เวทีสัญจร | ได้ผู้นำรุ่นใหม่ในการทำงานเกษตรปลอดสารพิษ ได้ลูกค้าในการซื้อกากน้ำตาล |
บุคคลทั่วไป | วิทยุ วปอ. ศูนย์กระจายกากน้ำตาล ผู้ประสานแต่ละอำเภอออกไปเป็นวิทยากร | ได้ผู้สมัครเรียน วปอ. ลูกค้ากากน้ำตาล
และมีคนรู้จักเครือข่ายชมรมฯและมูลนิธิมากขึ้น |
ตาราง แสดง
การสื่อสารของบุคคลที่มาเกี่ยวข้องในแต่ละระดับ
วิจารณ์ พานิช
๑๙ ตค. ๔๘