BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญาในหนังตะลุง : นำเรื่อง


ปรัชญาในหนังตะลุง

ผู้เขียนชอบดูหนังตะลุงมาตั้งแต่จำความได้ แต่ก็มิได้มีความรู้หรือเคยหัดหนังตะลุงเป็นกรณีพิเศษ ความรู้ด้านหนังตะลุงของผู้เขียนก็คงจะเหมือนกับคนปักษ์ใต้ทั่วๆ ไป ....

คนปักษ์ใต้ที่ไปอยู่กรุงเทพฯ บางส่วนจะรู้ว่ามีงานทำบุญเดือนสิบ หรืองานชิงเปรตที่วัดพิชัยญาติฯ และจะมีมโนราห์และหนังตะลุงมาแสดงในวัดเป็นประจำทุกปี ...เฉพาะพระ-เณรชาวใต้เกือบจะทุกรูป มักจะไปร่วมงานนี้ กล่าวได้ว่าครึ่งหนึ่งของงานนี้จะเป็นพระ-เณร และตอนผู้เขียนอยู่กรุงเทพฯ ก็ไปร่วมงานทุกปีเช่นเดียวกัน...

สิบกว่าปีก่อน ผู้เขียนเรียนจริยศาสตร์ศึกษาอยู่ที่มหิดล กำลังคิดถึงหัวข้อวิทยานิพนธ์อยู่ ...ได้ไปชมหนังตะลุงในงานนี้ด้วย ขณะที่ชมอยู่ถึงฉากออกฤาษี

พระเอกก็ออกมา บอกว่า นมัสการพระอาจารย์...แล้วก็ไปนั่ง

เท่งและหนูนุ้ยออกมา เข้าไปใกล้ฤาษี แล้วก็กลับมานั่งหลังพระเอก

ฤาษี เท่ง และหนูนุ้ย สนทนากันตามท้องเรื่อง..

โถ ออกมา แล้วไปยืนหลังฤาษี ...เนือย ออกมาแล้วมายืนหลังเท่งพักหนึ่งแล้วก็เดินไปยืนหลังโถ ...พูดกับโถเล็กน้อย แล้วก็เดินกลับมานั่งข้างหลังเท่ง...

ผู้เขียนชมไปก็เกิด ความโพลง ขึ้นมา ว่าเรื่องหนังตะลุงสามารถนำมาทำวิจัยได้ ...แต่ก็ไม่ได้ทำ เพราะอีกไม่กิ่เดือน ผู้เขียนก็สมัครใจออกจากมหิดล บอกลาเพื่อนๆ และอาจารย์ว่า จะไปสู่ที่ชอบๆ (5 5 5) คิดว่าชาตินี้จะเลิกเรียนหนังสือแล้ว พอกันทีกับเรื่องเรียนหนังสือ แต่จับพลัดจับพลู กำลังจะเป็นนักวิชาเกิน (5 5 5) ...แต่เรื่องแนวคิดจากหนังตะลุงก็ยังรกอยู่ในหัวตั้งแต่นั้นมา ...

ผู้เขียนจะทำวิจัยเรื่องแนวคิดจากหนังตะลุง ซึ่งผู้เขียนได้แปลความหมาย หรือเอาแนวคิดบางอย่างเข้าไปจับไว้แล้วหลายๆ เรื่อง แต่ก็ยังหากรอบการวิจัยที่ชัดเจนไม่ได้ ฉะนั้น จะอาศัยบันทึกนี้เล่าไปพราง แม้นผู้ใดสนใจ หรือเป็นผู้มีความรู้ด้านนี้ก็ช่วยให้ความคิดเห็น เสนอแนะด้วย

ขออนุโมทนาต่อไมตรีจิตของท่านทั้งหลายล่วงหน้า

 

คำสำคัญ (Tags): #หนังตะลุง
หมายเลขบันทึก: 74716เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 02:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

นมัสการ ท่านBM.chaiwut  

            อยากแนะนำนายหนังบุญธรรม เทอดเกียรติชาติ จากมหาวิชชาลัยชุมชนศิลปินพื้นบ้านศรีวิชัย อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวานก็ประชุมด้วยกันที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของหน่วยงานพัฒนาภาคประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อช่วยท่านคิดกรอบการวิจัย ผมได้ค้นดูที่GOOGLE พบข้อมูลในบล็อกของอาจารย์Umi เลยนำมาฝากครับhttp://gotoknow.org/blog/kohyor เพื่อเป็นข้อมูลให้ท่านได้บ้าง

เจริญพรโยมคุณคูร...

ด้วยความยินดีครับ กำลังหาแหล่งข้อมูลอยู่พอดี ...

เรียนเชิญคุณครูเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นที่นี้บ้างนะครับ ตามโอกาสที่คุณครูสะดวก...

จะเล่าตอนที่ผู้เขียนได้เกิดความคิดนี้ขึ้นมาในครั้งแรกตามฉากในหนังตะลุงข้างต้น นิดหน่อยนะครับ

พระเอกเป็นเจ้านายผู้ดี เมื่อขึ้นมาหาฤาษีซึ่งเปรียบเสมือนพระก็เข้ามากราบตามจารีต...

เท่งและหนูนุ้ย เข้ามาหาฤาษี แม้จะเป็นไพร่หรือลูกน้อง แต่ก็ทำตามจารีตคือเข้าไปกราบฤาษีเช่นเดียวกัน...

โถ แม้จะเป็นผู้ใหญ่แต่ก็ไม่ค่อยหนักในจารีต เข้ามาถึงก็มายืน (หรือนั่ง) ใกล้ฤาษี ...

เนือย จัดเป็นคนไม่มีสัมมาคารวะ (สำนวนใต้เรียก คนไม่รู้จักไหร่) มาถึงก็นั่งตรงโน้นที ตรงนี้ที เที่ยวเกะกะ ...

หนังตะลุงพยายามเลียนแบบฟฤติกรรมของคน ถ่ายทอดออกมาเป็นละคร...หนังที่มีความละเอียดสูงก็อาจเข้าถึงและถ่ายทอดออกมาได้อย่างมีศิลปะ ...เคยได้ยินมาว่า หนังบางโรง (คณะ) คนทั่วไปว่าเล่นดี แต่นายหนังไปชมกลับบอกว่าเล่นไม่เป็น ...เรื่องทำนองนี้ อาจขึ้นอยู่กับการเข้าถึงศิลป์ด้านนี้ระดับไหน...ประมาณนี้

บังเอิญช่วงนั้น ผู้เขียนมีวิชาเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน ก็เลยได้ข้อคิดทำนองนี้ และนี้คือฉากที่จุดประกายให้ผู้เขียนสนใจ และคิดต่อมาเรื่อยๆ...

คุณครูนงเมืองคอน ว่าอย่างไร ครับ

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

กราบขอบพระคุณค่ะ ที่สนใจงานเขียนของดิฉัน ได้อ่านงานของท่านก็ยินดีที่วัฒนธรรมหนังตะลุงได้รับการสืบสานอย่างเป็นรูปธรรม ดิฉันได้รับอีเมลจากคนที่สนใจเรื่องนี้รวมเป็นสามท่านแล้ว เห็นแล้วก็ชื่อใจกับวัฒนธรรมที่มีคนรัก แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีกว่าไม่มีเลยค่ะ

พินิตตา สุขโกศล

อาจารย์พินิตตา

รู้สึกปลื้ม เมื่ออาจารย์มาเยี่ยมทันทีทันใด...

ขอบ่นหน่อย..เมื่อคืนเขียน ประเด็นชนเผ่าและชนชั้นในหนังตะลุง แต่โพสต์ไม่ได้ค่อนข้างเศร้า วันนี้เหนื่อย สมองไม่ควรแก่จินตนาการ...

เรียนเชิญอาจารย์แสดงความเห็นได้ตามโอกาส...

เจริญพร

ผมดีใจมากครับ เพราะเรื่องเหล่านี้ทำให้ gotoknow มีรสชาดครบเครื่องมากยิ่งขึ้นครับ

อาจารย์ ดร.ไสว

ปลื้มครับ ที่อาจารย์มาเยี่ยม

จะเขียนเล่าไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆ คิดโครงร่าง ครับ

ถ้าคิดโครงร่างเสร็จก่อน คงไม่ได้เขียนแน่นอนครับ

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

เทคโนโลยีเร็วกว่าคนค่ะ ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้าอินเตอร์เน็ตเลยไม่ได้แวะเข้ามาแลกเปลี่ยน

นมัสการค่ะ

 

  • กราบนมัสการพระคุณเจ้า
  • ผมเข้าไปฟังดนตรีนี้มาสองสามวันแล้ว ได้ทำให้คิดถึงหนังตะลุงขึ้นมาจับใจครับ
  • http://gotoknow.org/blog/mrschuai/93405
  • ได้แนวคิดอะไรมากมายครับผ่านบทหนังตะลุง โดยเฉพาะการแสดงความเห็นหรือการถ่ายทอดผ่านตัวแสดงในหนังตะลุง (นั่งซิค่ะลุง) 
  • กราบขอบพระคุณมากครับ

นมัสการครับ

ผมก็เป็นอีกคนที่มีความรักในศิลปะวัฒนะธรรมของไทย  ไม่ว่าจะเป็นภาคไดก็ตามครับ ยังไงก็แสดงตัวตนที่แท้จริงของความเป็นไทยทั้งนั้น

 

ผมก็มีโอกาศได้ดูหนังตลุง เช่นกันครับ ก้ได้ดูจากที่กทม.จัดในงานสำคัญต่าง ๆ หล่ะครับผม 

 

อยากให้ลูกหลานไทยอนุรักษ์เอาไว้  เพรานี้หล่ะครับ สิ่งที่บกบอกความเป็นไทยของเรา

 

 

ไม่มีรูป
พินิตตา สุขโกศล

หวังว่าคุณโยมคงจะสุขสบายดี... 

ไม่ได้เขียนนานแล้ว เหมือนกัน...

วันสองวันนี้ จะลองปัดฝุ่นความคิดอีกครั้ง เผื่อจะได้อีก ๒-๓ ตอน..

เจริญพร

 

P

นั่ง - ตะ - ลุง = หนังตะลุง

คิดได้ได้พรื้อเนียะ ? ? ? ? ?

5 5 5 5 + + +

เจริญพร 

P

อนุโมทนา....

หนังตะลุง หรืออื่นๆ ซึ่งเป็นศิลปะ การละเล่นท้องถิ่น ก็ต้องดิ้นเพื่อที่จะอยู่ได้ เพราะมีศิลปะจากท้องถิ่นอื่นๆ ทั่วโลกเข้ามาเสนอให้เราเลือกบริโภค...

ดังนั้น ศิลปะประเภทใดก็ตาม ถ้าสามารถปรับตัวและอยู่ได้ ก็อาจนำเสนอไปยังท้องถิ่นอื่นๆ และอาจ ขายได้ เช่นเดียวกัน...

เฉพาะหนังตะลุง ถ้านายหนังมีความสามารถพากษ์เป็นภาษาอังกฤษ เล่นคำ สำนวน โวหาร ตามภาษาอังกฤษ แล้ว ก็อาจเสนอขายได้ทั่วโลก เช่นเดียวกัน...

เคยดูสารคดีว่ามี มีหนังคณะหนึ่งแสดงทำนองนี้... แต่เป็นเพียงออกมุขตลก หรืออวดพูมรู้ของนายหนังเพื่อหนุกๆ ขำๆ เท่านั้น...

เมืองไทยมี วัฒนธรรม มากมาย ถ้ามีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ก็สามารถ ขายได้ เช่น วัฒนธรรมเกาหลีที่กำลังเข้ามาทำตลาดในบ้านเราอยู่ขณะนี้...

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท