เศรษฐกิจบนฐานความรู้ ทางสู้ในยุคเศรษฐกิจใหม่


วิเคราะห์จากคำกล่าวของ ศ.เอ็ดเวิร์ด ซี เพรสคอตต์ ในประเด็น “การจะก้าวให้ทันประเทศที่พัฒนาแล้วมีเพียงวิธีเดียว คือ การเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตให้สูงขึ้นมากจะนำมาซึ่งการขยายตัวของมาตรฐานความเป็นอยู่ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 12 ปี” หากเป็นเช่นนั้นจริง เราจะก้าวทันได้อย่างไร? ในเมื่อประเทศพัฒนาแล้วใช่ว่า 12 ปีที่เราพัฒนาแบบพยายามอยู่นั้น ประเทศเหล่านั้นจะอยู่นิ่งเฉยเลยหรือ? ไม่มีการพัฒนาใดๆที่จะทิ้งห่างเราไปอีกหรือ? หากอนุมานง่ายๆว่า พัฒนาไปด้วยอัตราเร็วเท่ากันภายในระยะเวลาที่เท่ากัน ระยะทางที่ได้ย่อมเท่ากัน แต่จุดเริ่มต้นมันไม่ใช่จุดเดียวกันตั้งแต่แรกแล้วจะทันกันได้อย่างไร เพราะฉนั้นแทนที่จะใช้วิธีคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ ฟิสิกส์มันควรคิดบนฐานความรู้ องค์ความรู้และภูมิปัญญา ดังนั้นเศรษฐกิจบนฐานความรู้ย่อมเป็นทางสู้ในยุคเศรษฐกิจใหม่อย่างแท้จริง

          หากเหลียวหลังก่อนจะแลไปข้างหน้าแล้วไล่ย้อนดูเศรษฐกิจโลก เริ่มตั้งแต่ ช่วง 1789-1815 ยุคนั้นเป็นยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผ่านยุคต่างๆมาจนกระทั่งถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และการสร้างเศรษฐกิจหลังสงคราม จนสิ้นสุดที่ปี 1993 เมื่อแลไปข้างหน้า เศรษฐกิจยุคที่ 5 จะอยู่ในช่วงปี 1993-2020 และด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสาร จะก่อให้เกิดภาพที่ โลกาภิวัตน์ มีผลต่อกระบวนท่าทางเศรษฐกิจ กระบวนทัศน์ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ (Paradigm shift) ซึ่งถูกขนานนามว่ายุคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)

 

          ยุคเศรษฐกิจใหม่ ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจจะมากขึ้น ฉะนั้น เมื่อสิ่งที่หนึ่งเกิดขึ้นในโลก สิ่งนั้นต้องมาถึงเราโดยไม่รู้ตัว โลกในยุคเศรษฐกิจใหม่ เป็นโลกที่เราจะต้องระวังเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และจำเป็นจะต้องใช้สมองมนุษย์ให้มากที่สุด ทรัพยากรบุคคลจึงเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร การรักษาไว้ซึ่งทักษะ (Talent) หรือสมองของคนในองค์กรนั้นเป็นหัวใจสำคัญมาก เช่น บริษัทโนเกีย จะให้วิศวกรเก่งๆ มาทำเรื่องเทคนิค ให้นักออกแบบดีๆ มาทำด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ และให้คนทำการตลาดเก่งๆ มารวมกัน ผลสุดท้ายเป็นบริษัทขนาดกลางในประเทศฟินแลนด์ และวันนี้กลายเป็นบริษัทระดับโลก ด้วยวิธีการ Economize o­n knowledge แปลว่านำความรู้ต่างๆ มารวมเพื่อสร้างพลังใหม่ขึ้นมา


          ยุคเศรษฐกิจใหม่ เป็นยุคแห่งโลกาภิวัตน์ (Globalization) หากเราบอกว่าโลกาภิวัตน์ ไม่ดี เราหันหลังให้โลกาภิวัตน์ นั่นคือเราตกยุคอย่างรุนแรง ถ้าเป็นโลกาภิวัตน์ เราจะต้องตอบคำถามได้ว่าเราจะแสวงหาประโยชน์จากยุคโลกาภิวัตน์ อย่างไรได้บ้าง? นั่นคือสิ่งที่เราต้องปรับตัว ในสมัยก่อน ตามทฤษฎีโบราณของ Fedric W Taylor ทฤษฎีว่าด้วยการ Division of labor คือการแบ่งงานกันทำในโรงงานอุตสาหกรรม คนนี้ขันน็อต คนนี้ตอกตะปู นั่นคือ Division of labor ในสมัยยุคโบราณ แต่ Division of labor การแบ่งงานกันทำในยุคนี้จะเป็นลักษณะของ เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge based economy) เป็นยุคที่นำความรู้ของคนหลายๆ คนมารวมกันให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้น แล้วจึงเป็นธุรกิจใหม่หรือเป็นแนวคิดใหม่ที่จะต้องเกิดขึ้น


               ยุคเศรษฐกิจใหม่ อาจจะเกิดคำถามว่า คนตัวเล็กจะแข่งกับคนตัวใหญ่ได้อย่างไร? ลองหลับตานึกถึงภาพกีฬายูโด นักยูโดจะไม่ผลีผลาม ขั้นแรกจะจับคู่แข่งเดินโยกดู วิเคราะห์ดูท่าท่วงทำนองของคู่แข่ง ขั้นตอนที่สองนักยูโดจะ ไม่ปะทะ ไม่ชนกัน ซึ่งต่างจากซูโม่ ซูโม่ตัวใหญ่ใช้แรงแบบไม่สัมพันธ์กับปัญญา และในที่สุดขั้นตอนที่สามของนักยูโดคือ ต้องมองว่าคู่แข่งมีอะไรแข็ง ต้องเอาความแข็งของคู่แข่งทิ่มแทงตัวของเขาเอง หลับตานึกภาพต่อไปจะเห็นว่า คนตัวใหญ่กับคนตัวเล็กเล่นยูโดด้วยกันได้ จะใช้การทรงตัวของคนตัวใหญ่ดึงให้เสียการทรงตัวแล้วสอดนั่นคือ“Judo Strategy”

 

               ยุคเศรษฐกิจใหม่ หัวใจที่สำคัญที่สุดของการแข่งขันคือ ยุทธศาสตร์ (Strategy) ต้องคิดอย่างมียุทธศาสตร์ คิดอย่างมีกลยุทธ์ ไม่เช่นนั้นเราจะแข่งขันกับเขาไม่ได้ จะไม่มีใครเก่งจริงที่สามารถบอกอนาคตยาวไกลได้ ได้แต่บอกเลาๆ เศรษฐกิจใหม่นี้ทำให้ทฤษฎีหลายทฤษฎีของบรรดา กูรู เก่าไปทันที เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก อนาคตเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วจนคาดคะเนล่วงหน้าไม่ได้ จึงต้องเน้นการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่การวางแผน เราจะประหลาดใจต่อ สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อว่า เราจะคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะพบความประหลาดใจ (Kerr, 1998) และคนที่ทำนายเศรษฐกิจโดยใช้การคาดคะเน (Forecast) เอาตัวเลข plot graph อดีต สู่ปัจจุบัน แล้วลากเส้นเพื่อทำนายอนาคต จะกลายเป็นสิ่งที่ผิด หากเป็นหมอดูก็มีโอกาสตกงานสูง เพราะเหตุการณ์เร็ว มีการเปลี่ยนแปลงหมด ส่วนผสมของแต่ละช่วงเปลี่ยนไปแบบพลวัต(Dynamic)สิ่งที่กำลังจะเกิดในอนาคตข้างหน้านั้น คือการแสวงหาโอกาส


               ยุคเศรษฐกิจใหม่จะเป็นยุคแห่ง เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge based economy) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนระบบการทำงานตามหน้าที่เป็นหลัก (Functioning based) เป็นภารกิจเป็นหลัก (Mission based หรือ Agenda based) เป็นเรื่องของการจัดองค์กรตามภารกิจ เพราะถ้าหากยังเป็นงานตามหน้าที่เป็นหลัก ทุกคนจะพยายาม จะสร้างอาณาจักรของตนเอง (Self contain)สุดท้ายก็จะมีหน่วยธุรกิจซ้ำซ้อน แต่ถ้าเป็น ตามภารกิจแล้ว จะเห็นชัดว่าหน่วยธุรกิจนี้มีภารกิจชัดเจน เศรษฐกิจบนฐานความรู้จะมีการเปลี่ยนแปลงมากไปจากในอดีต เช่น จาก Produce driven จะเปลี่ยนเป็น Market driven ดังนั้น คำว่าประสิทธิภาพ (Efficiency) จึงเกิดขึ้น ประสิทธิภาพ ต้องใช้ทักษะ (Talent) ใช้สมองคนมากที่สุดนอกจากนี้ ความเร็ว (Speed )ในการตัดสินใจ เป็นหัวใจสำคัญที่สุด ถ้าเร็วต้องไม่พลาด เร็วต้องรู้จริง

 

               ศ.เอ็ดเวิร์ด ซี. เพรสคอตต์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลประจำปี 2547 กล่าวว่าประเทศอังกฤษ สหรัฐ และประเทศในแถบตะวันตกมีการเติบโตของเศรษฐกิจยุคใหม่มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีการพัฒนาที่ช้ากว่า ทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ของประเทศต่างๆ ขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่บางประเทศก็สามารถก้าวทันประเทศเหล่านั้นได้ในที่สุด เช่น ญี่ปุ่น ขณะที่ประเทศไทย จีน และอินเดียยังก้าวตามประเทศเหล่านั้นอยู่กว่าที่ประเทศต่างๆ จะปรับตัวเข้าสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้ก็จะถูกทิ้งห่างจากประเทศที่พัฒนาไปก่อนหน้านี้ ซึ่งการจะก้าวให้ทันประเทศที่พัฒนาแล้วมีเพียงวิธีเดียว คือ การเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตให้สูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตให้ สูงขึ้นมากจะนำมาซึ่งการขยายตัวของมาตรฐานความเป็นอยู่ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 12 ปี


               วิเคราะห์จากคำกล่าวของ ศ.เอ็ดเวิร์ด ซี เพรสคอตต์ ในประเด็น “การจะก้าวให้ทันประเทศที่พัฒนาแล้วมีเพียงวิธีเดียว คือ การเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตให้สูงขึ้นมากจะนำมาซึ่งการขยายตัวของมาตรฐานความเป็นอยู่ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 12 ปี” หากเป็นเช่นนั้นจริง เราจะก้าวทันได้อย่างไร? ในเมื่อประเทศพัฒนาแล้วใช่ว่า 12 ปีที่เราพัฒนาแบบพยายามอยู่นั้น ประเทศเหล่านั้นจะอยู่นิ่งเฉยเลยหรือ? ไม่มีการพัฒนาใดๆที่จะทิ้งห่างเราไปอีกหรือ? หากอนุมานง่ายๆว่า พัฒนาไปด้วยอัตราเร็วเท่ากันภายในระยะเวลาที่เท่ากัน ระยะทางที่ได้ย่อมเท่ากัน แต่จุดเริ่มต้นมันไม่ใช่จุดเดียวกันตั้งแต่แรกแล้วจะทันกันได้อย่างไร เพราะฉนั้นแทนที่จะใช้วิธีคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ ฟิสิกส์มันควรคิดบนฐานความรู้ องค์ความรู้และภูมิปัญญา ดังนั้นเศรษฐกิจบนฐานความรู้ย่อมเป็นทางสู้ในยุคเศรษฐกิจใหม่อย่างแท้จริง

http://www.punyachon.com

คำสำคัญ (Tags): #knowledgebase
หมายเลขบันทึก: 74713เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 01:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท