นวัตกรรมน้ำเกลือมหัศจรรย์


ภัทนภา ธรรมบุตร และคณะเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านทุ่ม
ตำบลไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ

ใน เขตสถานีอนามัยบ้านทุ่ม ในเขตรับผิดชอบ มีผู้ป่วยมาทำแผลทุกวัน เฉลี่ยการทำแผล 100 ครั้ง/ เดือน ต้องใช้น้ำยาล้างแผลเป็นจำนวนค่อนข้างสูง ในการล้างแผลแต่ละครั้งต้องใช้น้ำเกลือ (Normal saline) ในการทำความสะอาดแผลซึ่งจะทำให้แผลหายเร็ว ลดการทำลายเนื้อเยื่อ ไม่ขัดขวางกลไกการหายของแผล และในการทำแผลต้องใช้น้ำเกลือเทจากขวดน้ำยามาใส่ในภาชนะทำแผล หรือบางครั้งเทน้ำยาใส่ภาชนะมากเกินไป ทำให้ต้องเทน้ำยาที่เหลือทิ้งโดยสูญเปล่าและมีการใช้ไม้พันสำลีสำหรับการ ล้างแผลเป็นจำนวนมากเฉลี่ย 100 ห่อ / เดือน แต่บุคลากรของสถานีอนามัยบ้านทุ่ม มีจำนวนจำกัด คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ยต่อเดือน 1,000 ราย ซึ่งในการทำแผลผู้ป่วยแต่ละรายต้องใช้เวลาในการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำแผล ทำให้ผู้ป่วยอื่นที่มารอตรวจต้องเสียเวลารอนาน จากปัญหาดังกล่าว ทำให้คิดกลวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการประยุกต์นำน้ำยาล้างแผลน้ำเกลือ มาต่อกับชุดให้น้ำเกลือผู้ป่วย มาใช้ในการล้างแผล ทำความสะอาดแผลโดยตรง

จากผลการทดลองปฏิบัติของ นวัตกรรมดังกล่าว พบว่า ในช่วงแรกๆ ผู้ป่วยและญาติคิดว่าแผลน่าจะไม่สะอาด หลังจากการเก็บข้อมูลอุบัติการณ์การติดเชื้อจากการทำแผลแบบใหม่พบว่า ไม่มีการติดเชื้อ สามารถลดการใช้น้ำยาล้างแผลน้ำเกลือ จากเดิม ใช้เดือนละ 15 ขวด ลดลงเหลือเดือนละ 10 ขวด คิดเป็นร้อยละ 33.33 จากการทดลองใช้นวัตกรรมใหม่ ค่าใช้จ่ายลดลงเดือนละ 800 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 53.33 และเจ้าหน้าที่สามารถลดเวลาในการบรจุการห่อของส่งนึ่งได้และมีเวลาในการ ปฏิบัติงานอื่นๆมากขึ้น อัตราความพึงพอใจเท่ากับ 100% สถานีอนามัยบ้านทุ่มจึงได้ใช้นวัตกรรมนี้ในการทำแผลเรื่อยมา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการผู้ป่วย
2. เพื่อลดงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการเบิกน้ำยาและอุปกรณ์ล้างแผล
3. เพื่อลดภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการห่อของส่งนึ่ง

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. ชุดให้น้ำเกลือผู้ป่วย
2. น้ำยาล้างแผล คือ 0.9% Nss 1,000 cc

วิธีการดำเนินงาน
นำ น้ำยาล้างแผล (Normal saline) มาต่อกับชุดน้ำเกลือผู้ป่วย มาใช้ในการล้างแผล ทำความสะอาดแผล โดยตรงเมื่อผู้ป่วยมาทำแผลที่สถานีอนามัย ให้เปิดล้างแผลได้เลย โดยปรับความเร็วตามความเหมาะสมของแต่ละแผล โดยชุดน้ำเกลือและขวดน้ำยาล้างแผลที่ใช้ จะเปลี่ยนทุก 3 วัน หรือตามความเหมาะสม ตามหลักการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลและเขียนวันที่เริ่มเปลี่ยนไว้ ข้างขวดน้ำเกลือที่เปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 74417เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คือหนูสนใจนวัตกรรมนี้อ่ะค่ะ .. ยังไงติดต่อเมลนี้นะค่ะ ยังไงจะขอศึกษานวัตกรรมนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท