Home Visit Corner : คุณยาย จะกินยายังไงกันเนี่ย 2


ความเรียบง่าย ของการดูแลต่อเนื่อง การเข้าถึงได้ง่าย คือจุดเด่นของ PCU เรียบง่าย แต่ทรงพลัง

วันต่อมา คุณยายก็มา รพ.วาริน ด้วยว่ายังท้องเสียอีกครั้งหลังจากหยุดไปเมื่อวาน   ผม round ward หญิง ก็เลยเจอ ( ผมทำงาน ดูแลคนไข้ ทั้งที่ โรงพยาบาล และ PCU ) ว่าคุณยายมา admit เมื่อคืน  ก็เลยได้ดูแลกันต่อที่ รพ.  หลัง round เสร็จก็ไปทำงานที่ CMU ห้วยขะยุง  หนิงก็แจ้งว่า คุณยาย ไปโรงพยาบาลแล้ว  รถ EMS ของ CMU ไปส่งเมื่อคืน  กะว่าจะเอายาที่จัดเป็นชุดไปให้วันนี้พอดี 

     การที่เราได้เห็นปัญหาตั้งแต่ต้น เข้าใจปัญหา  ผมเริ่ม จัดยาให้เหมาะสม  พยายามจัดยาให้เวลาเดียว  เคยจำได้ว่า เภสัช บุ๋ม  เคยนำระบบการจัดยาเป็นชุดสำหรับ คนสูงอายุไปแสดงที่การประชุมเภสัชเมื่อหลายเดือนก่อน   ผมเลยบอกให้บุ๋ม ลองทำดูกับยายเฟื่อง  เตรียมตัวก่อน กลับบ้าน

บุ๋มกำลังแนะนำคุณยายเรื่องการกินยา

   

ผมถามบุ๋มว่าทำไมต้องติด สติกเกอร์ ชื่อยาภาษาอังกฤษ  ด้วย คิดในใจว่า ยายแกอ่านภาษาอังกฤษไม่ออกนี่นา  บุ๋มบอกว่า เจ้าหน้าที่ pcu จะได้รู้ว่ามียาอะไรบ้าง  ผมว่าเป็นความคิดที่ดีมาก ที่คิดเผื่อว่าจะให้เกิดการต่อเนื่องของการใช้แผงยานี้ได้อย่างไร  วันนี้ ผม ให้คุณยายกลับบ้านแล้ว ก็คงให้ หนิง ทันตาภิบาล ของเราไปดูต่อ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง 

เพราะหนิงอยู่หมู่บ้านติดกับคุณยาย  ถ้าได้ผลดี  จะจัดให้คุณยายกินยาต่อในรูปแบบนี้ เพราะคุณยายมารับยาที่ CMU ทุกเดือน

เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

1.      การที่เราได้มีโอกาสพูดคุย มองผู้ป่วยมากขึ้น รู้จัก เอะใจ เราก็จะได้เห็นปัญหาที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วย

2.  การเยี่ยมบ้าน เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่า มาก สำหรับการดูแลต่อเนื่อง   ( Continuty care )

3. Continuty Care มีความสำคัญมากต่อการดูแลสุขภาพของใครสักคน  ถ้าคุณยายเฟื่องมาพบผมที่ โรงพยาบาล  เมื่อสมัยก่อน  ผมคงอาจจะปรับยาความดัน จัดยาแก้ท้องเสีย บางทีอาจจะไม่รู้จักชื่อแกเลยก็ได้ คงไม่ได้คุยกับลูกชาย เพราะลูกชายรออยู่ข้างนอกห้องตรวจ  แล้วก็นัดให้มาตามนัด

4. ความเรียบง่ายต่อการเข้าถึงบริการ  ความเรียบง่ายต่อการดูแลต่อเนื่อง ของ PCU มีคุณค่า  และเป็นจุดเด่น มีความสำคัญต่อระบบการดูแลสุขภาพ  อย่างมีคุณภาพ    หมอคนเดียวกัน ถ้าอยู่ที่โรงพยาบาล ก็คงไม่สามารถ ทำอย่างที่เล่ามาได้  ด้วยบริบท ของโรงพยาบาลชุมชน ที่มีผู้ป่วยมากเกินไป และระบบบริการ ที่ไม่เอื้ออำนวย  ความง่ายในการออกไปดูที่บ้าน  ( ที่พูดได้เต็มปากเต็มคำก็เพราะ ผม คือ หนึ่งใน หมอคนนั้นนั่นเอง ) ขณะที่อยู่ที่ PCU เอื้อต่อการบริการ และการดูแลตามที่เล่ามา มากกว่า มาก ๆ  คุณยาย ได้รับการดูแลจากผม ทั้งขณะอยู่ที่ PCU  และ ขณะอยู่โรงพยาบาล

5. การทำงานเป็นทีม ให้เป็นมีประโยชน์  เรื่องนี้ต้องขอบคุณเภสัช บุ๋ม ที่ทำให้เห็นวิธีแก้ปัญหา เรื่องการกินยาของคุณยาย  เราต้องยอมรับว่า เภสัชกร พบปัญหาทำนองนี้บ่อยและมากกว่าหมอ เพราะหมอ ไม่ค่อยได้มีโอกาสต้องนั่งอธิบายการกินยา ไม่ค่อยได้พบปัญหาการกินยา หลาย ๆรูปแบบ  แต่เภสัชกร  แล้วคือสิ่งที่ต้องทำประจำ  ย่อมชำนาญในการแก้ปัญหามากกว่า  ถ้าเราให้โอกาส ยอมรับการทำงานร่วมกันที่ดี ผลที่ดีจะเกิดกับคนไข้   ทุกคน happy ขณะเดียวกัน เภสัชยังคิดต่อไป ถึง PCU  ( ทำสติกเกอร์บอกชื่อยา ) ไม่ได้จบที่ตัวเอง ไม่ได้จบที่  ward  

.................เมื่อวาน คุณหมอ นนทลีแสดงความคิดเห็น ว่าคุณแม่อายุมาก ก็ยังได้จัดยากินเอง ขณะที่ ลูกมีความรู้ทุกคน จนมาพบว่า คุณแม่ก็จัดยาผิดเหมือนกัน  แก้ไขโดยตอนหลังให้ลูกสาว จัดยาให้ทุกวัน    ทำให้ผมได้ข้อเตือนใจเพิ่มขึ้นว่า  ถ้าเราพบว่า มีลูกคอยดูแลอยู่ด้วย ก็อย่าเพิ่งคิดว่าผู้ป่วยจะกินยาได้ถูกนะครับ  

หมายเลขบันทึก: 74413เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ระบบการจัดยาเป็นชุดสำหรับ คนสูงอายุ  เป็นอย่างไรคะ อยากทราบค่ะ

หมอจิ้นคะ รูปไม่ขึ้นค่ะ  อยากเห็นรูปค่ะ

ดิฉันมาคิดดูหลายตลบ ...

ปัญหาของผู้สูงอายุที่มีอายุมากๆ ที่ไม่ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ แต่มีปัญหาเรื่องการควบคุมอุจจาระ ปัสสาวะ ก็คงมีไม่มากไม่น้อย ... ท่านจะควบคุมสภาพนี้ได้อย่างไร ถ้าท่านกลั้นไม่อยู่บ่อยๆ ... การใช้ผ้าแพมเพิรส์ผู้ใหญ่ (สะกดถูกมั๊ยเนี่ยะ) คงไม่ใช่ทางออกสำหรับชนบท ... แล้วอะไรจะเหมาะสมดีล่ะคะ

เห็นรูปแล้วค่ะ

จะขออนุญาตนำไปทดลองใช้บ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท