อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีจากตะกั่วเหลือใช้


ดุษฎี สุทโธ
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

วัตถุประสงค์
-เพื่อประเมินประสิทธิผลของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีจากตะกั่วเหลือใช้

วิธีการศึกษา
- ออกแบบ Syringe shield , ทำแบบพิมพ์ตะกั่วและคำนวณความหนาของตะกั่วที่สามารถป้องกันอันตรายจากรังสี ได้โดยใช้ทฤษฎี Half Value Layer จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพของ syringes shield ที่ทำจากตะกั่วเปรียบเทียบกับ syringe shield ที่ทำจากทังสเตน โดยใช้ pocket dosimeter รุ่น PDM-117 SN-A4493 ของ ALOKA เป็นตัววัดค่าปริมาณรังสีที่ผ่าน syringe shield ออกมา

ผลการศึกษา
- จากการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานโดยการวัดปริมาณรังสีที่ผ่าน Syringe shield (% Transmission) ด้วยเครื่องวัดปริมาณรังสีชนิดอ่านค่าได้ทันที พบว่า ปริมาณรังสีที่ผ่านออกมาจาก Syringe shield ที่ทำจากตะกั่ว และที่ทำจากทังสเตนสามารถลดประมาณรังสีลงได้ร้อยละ 92.06 และ 88.97 เมื่อใช้ความแรงรังสีเริ่มต้น 5 มิลลิคูรี และร้อยละ 90.23 และ 82.86 เมื่อใช้ความแรงรังสีเริ่มต้นเป็น 20 มิลลิคูรี ตามลำดับ

สรุป
- Syringe shield ที่ทำจากตะกั่ว สามารถใช้งานได้ดีและสามารถลดทอนปริมาณรังสีได้เทียบเท่าหรือดีกว่า Syringe shield ที่ทำจากทังสเตน แต่ Syringe shield ทั้งสองชนิด มีข้อจำกัดคือ ไม่เหมาะสำหรับใช้ป้องกันอันตรายจากรังสีของเทคนีเซียม -99m ที่มีความแรงรังสีเกิน 20 mCi เพราะถ้าปริมาณรังสีที่ใช้เกิน จะต้องเพิ่มความหนาของตะกั่วและทังสเตนขึ้นอีก หรือใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีชนิดอื่นร่วมด้วย จึงจะสามารถลดทอนปริมาณรังสีให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย และผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจในความปลอดภัยและมีอุปกรณ์เพียงพอในการ ปฏิบัติงาน

* * รางวัลผลงานวิชาการดีเด่นสาขาเทคนิคการแพทย์ เขต 13 ครั้งที่ 3 ประจำปี 2549

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 74415เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท