Research & Development


การวิจัย และ การพัฒนา หรือ ที่นิยมใช้อักษรย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า R&D มีความหมายมากกว่า ๑ อย่าง  คือ

(๑) วิจัยค้นหาความรู้ก่อน  เมื่อได้ความรู้มาแล้ว ก็นำความรู้นั้นมาใช้พัฒนาให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น 

ตัวอย่างเช่น  นักวิจัยคนหนึ่งคิดที่จะพัฒนาหมู่บ้านแห่งหนึ่งสมมุติว่า  ชื่อหม่บ้าน ก.  ให้ดีขึ้น  แต่เขาไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นด้านใด  เขาจึงวิจัยด้วยวิธีวิจัยที่เรียกว่า  "การวิจัยเชิงสำรวจ" (Survey Research)    และพบว่า  คนในหมู่บ้านนั้นไม่ร่วมมือกัน  เขาจึงออกแบบการวิจัยเพื่อพัฒนาความร่วมมือของคนกลุ่มนั้น และทำการวิจัย ด้วย"วิธีวิจัยเชิงทดลอง" (Experimental Research)  สมมุติว่าได้ผลดีขึ้น ๑๐ %  เขาจึงปรับปรุง  และทำการวิจัยซ้ำอีก  พบว่าคราวนี้ได้ผลดีขึ้นเป็น ๕๐ % เขาจึงปรับปรุงอีก  และทำวิจัยต่อไปอีก เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ

(๒) เราคิดประดิษฐ์อะไรขึ้นมาอย่างหนึ่ง  แล้วนำไปพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไปด้วยการใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองเป็นเครื่องมือในการพัฒนานั้น  นำผลมาปรับปรุง  แล้ววิจัย  ปรับปรุงแล้ววิจัย  ต่อๆไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ จึงหยุด

(๓) เป็นการวิจัยเพื่อนำไปใช้  หรือ  Applied Research  ที่เคยพูดกันก่อนมีการใช้คำ Research & Development

(๔) การวิจัยบริสุทธิ์(Pure Research)  เพื่อหาความรู้บริสุทธิ์  และ  นำความรู้บริสุทธิ์นั้นไปใช้ประยุกต์ด้วยการวิจัยประยุกต์ (Applied Research)

ในปัจจุบันนี้  เราได้ยินชื่อหลักสูตรที่ชื่อ "พัฒนา ๆ " ในระบบมหาวิทยาลัยบ่อยมากยิ่งขึ้น ทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอกครับ

 

หมายเลขบันทึก: 74198เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เจริญพร อาจารย์

เข้ามาอ่านนะครับ....

ถ้าเราจะเอาปรัชญาหรือแนวคิดไปตีความหนังตะลุง จะเป็นการวิจัยด้านใดครับ อาจารย์ ...

อาตมาคิดทำเรื่องนี้อยู่ แต่ยังตั้งชื่อเรื่องและกำหนดขอบเขตไม่ได้

เจริญพร

 

นมัสการพระคุณเจ้า

"ปรัชญาในหนังตะลุง"   "หนังตะลุงในทรรศนะของนักปรัชญา"   ฯลฯ  ควรใช้"วิธีวิจัยเชิงวิเคราะห์ " ที่เรียกว่า  Analytical Research  หรือ  Rational Research  ครับ   การวิจัยแบบนี้ใช้ข้อมูลจากการสำรวจจากคำบอกเล่า   จากเอกสารต่างๆที่บันทึกไว้  จากเนื้อเรื่องของหนัง  ความคิดของนายหนัง  จากเสียงของเครื่องทำเพลงหนัง  จังหวะจะโคนของเพลง  ฯลฯ  แล้ว "วิเคราะห์" ด้วย "ความคิดเชิงเหตุผลของผู้วิจัย"  "หาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยของสิ่งที่วิเคราะห์พบ"  "ตีความเชิงปรัชญา"  "ได้ผลสรุป"  "ผลสรุปที่ได้นั้นเป็นความรู้ที่พบจากการวิจัย"  แล้วตีพิมพ์เผยแผ่

การวิจัยแบบนี้ "ไม่ใช่" การวิจัยเชิงประจักษ์  (Empirical Reserach)   "ไม่ใช่"การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Research)  ครับ  แต่เป็นการวิจัยเหมือนกัน  เรียกว่า "การวิจัยเชิงวิเคราะห์"  (Analytical Research) 

ความ "จริง" (True)  หรือ "เท็จ"(False) ของการวิจัยแบบนี้ใช้วิธี "พิสูจน์" ด้วยกฎทาง"ตรรกะ" ครับ   ซึ่งแตกต่างจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์  ซึ่ง "ความถูก"  หรือ "ผิด" ของผลการวิจัย จะต้อง "ทดสอบ" (Test)  "ไม่ใช่"พิสูจน์ (Proof) ครับ

น่าสนใจมากครับ  ขอให้ค้นหางานวิจัยทางสาขาปรัชญา  ศาสนา  หรือ ทางวรรณกรรม  มาอ่านดู นะครับ  เพราะเป็นงานวิจัยประเภทเดียวกัน

ขอให้พบความสำเร็จนะครับ

ดร.ไสว  เลี่ยมแก้ว

- แล้วการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นวิจัยล่ะค่ะอาจารย์  เคยไปฟังมาแล้วหาเอกสารมาอ่านเองบ้าง  แล้วจากตัวนโยบายที่มีคือให้ทำแล้วล่ะค่ะ    ต้องวางแผนสอนในเทอมหน้าค่ะ  โดยจะใช้ทั้งแบบให้นิสิตอ่านงานวิจัยและเป็นพี่เลี้ยงพานิสิตลงไปทำวิจัยจริงๆเลย  แล้วในความต้องการของผู้สอนคืออยากทำวิจัยอีกครั้งเกี่ยวกับความพร้อมของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนแบบเน้นวิจัยน่ะค่ะ  อาจารย์มีแนวคิดจะแนะนำอะไรบ้างไหมคะ  เป็นนิสิตปีที่4ค่ะ  ยังไม่เคยเรียนระเบียบวิธีวิจัยมาก่อนค่ะ

ผมยังเข้าใจไม่ชัดเจนสิ่งที่ถามผมนะครับ  คำถามเป็นอย่างนี้ถูกไหมครับ คือ

(๑) อาจารย์ Cathareeya เป็นอาจารย์ผู้สอน (เพราะใช้คำว่าต้องวางแผนการสอนในเทอมหน้า ?) แต่ผมไม่รู้ว่าวิชาที่จะสอนนั้นเป็นวิชาวิจัยหรือวิชาอะไร ?  (๒) ผู้เรียนเป็นนิสิตปีที่ ๔ จึงคงไม่ใช่วิชาวิจัยแน่นอน  เพราะปริญญาตรีไม่เรียนวิชาวิจัยกัน ใช่ไหมครับ ? (๓) ถ้าเช่นนั้น "สอนวิชาอื่น"ที่ไม่ใช่วิชาวิจัย  แต่ "ต้องสอนแบบให้ผู้เรียนเรียนรู้ "ด้วยพฤติกรรมวิจัย"  ตามแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๔  ใช่หรือไม่ครับ ?

ถ้าเป็นตามข้อ (๓) ผมขอแนะนำดังนี้ครับ

(๑) การศึกษาปัจจุบันมีแนวคิดว่า "ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง"  "ต้องเรียนด้วยการกระทำ"  "เป็นผู้เรียนเอง"  (๒) ความรู้ต้องได้มาจากการ "สัมผัส" คือ จาก "การเห็น" "การฟัง" "การจับต้อง" ฯลฯ เรียกรวมๆว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"   (๓) "ความรู้"ที่ได้จากการสัมผัสครั้งเดียวยังไม่แน่ว่าจะเป็นความรู้ที่แท้จริง  จะต้องทำซ้ำๆจึงจะแน่ใจว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง (๔) บันทึกความรู้ที่แท้จริงนั้นไวในระบบความรู้ (๕) และความรู้นั้นยังสามารถทดสอบซ้ำได้ต่อไปเรื่อยๆ

และกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว ก็คือ "พฤติกรรมวิทยาศาสตร์"  ผมขอใช้คำว่า Scientific Behavior ครับ  ซึ่งที่แท้ก็คือ "กระบวนการวิจัยเชิงประจักษ์" นั่นเองแหละครับ !!

ที่อาจารย์ Cathareeya เรียกว่า "การสอนแบบเน้นวิจัย"นั่นแหละครับ !!!

แต่ถ้าเป็นการเรียน"วิชาวิจัย" แล้วละก้อ  คนละเรื่องกับที่ผมแนะนำมานี้ ครับ

เจริญพร อาจารย์ ดร.ไสว

ขอบใจสำหรับคำแนะนำของอาจารย์ครับ ...เมื่อร่างโครงการเสร็จค่อยปรึกษาอาจารย์อีกครั้งครับ

เจริญพร

ครับ   ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ

เรียนอาจารย์ค่ะ

     อาจารย์เข้าใจถูกแล้วค่ะ เป็นตามข้อ (๓)  ขอบพระคุณค่ะ

ผมดีใจมากครับที่ajarncathสนับสนุนแนวคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษาใหม่  ผมขอแนะนำเพิ่มเติมแหล่งค้นคว้าดังนี้ครับ (๑) บทความเรื่อง "การปฏิรูปการเรียนรู้ : ทำได้หรือ ? " (Learning Reform : Can we ?)ผมเขียนเอง พิมพ์ชื่อเรื่องนี้แล้วคลิก google.com ครับ   (๒) อ่านเรื่อง Pragmatism จากบล็อกของ BM.chaiwut เขียนบันทึกโดยพระคุณเจ้าข้างบนนี้  ครับ ท่านแตกฉานครับ จึงเขียนเรื่องยากให้ง่ายได้ 

ผมเป็นวิศวกร ไปเรียน วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใน รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ผมมีข้อคำถามด่วนมาก ว่า งวิธีวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพหรือไม่ครับ ขอบพระคุณมากครับ

การวิจัยเชิงทดลอง หรือ Experimental Research ไม่จัดเข้าเป็นประเภทการวิจัยเชิงคุณภาพครับ  แต่จัดเข้าเป็นประเภทเชิงปริมาณครับ  ลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณจะมีลักษณะเด่นดังนี้ครับ (๑) เป็นการวิจัยที่มุ่งหากฎธรรมชาติเชิงสาเหตุ และผล (Cause - Effect หรือ Causal Laws)   หรือ กฎเชิงสหสัมพันธ์(Correlational Laws)  (๒) มักจะแปลงข้อมูลเป็นตัวเลขหรือปริมาณ (๓) ใช้หลักสถิติมาคำนวณข้อมูล (๔) ตีความผลไปสู่ประชากรที่ศึกษาโดยใช้หลักของความน่าจะเป็น หรือ Probability (๕) เป็นการค้นหาความรู้บนพื้นฐานของความเชื่อในกลุ่มเชิง "สสารนิยม" หรือ "Materialism"

ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะเด่นดังนี้คือ (๑) สนใจศึกษาด้านคุณภาพของปรากฏการณ์ธรรมชาติหรืออื่นๆ (๒) คุณภาพส่วนใหญ่จะเป็นประเภทข้อเท็จจริงหรือ Facts (๓) อาจจะแปลงข้อมูลเป็นตัวเลขก็ได้  แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ (๔) ไม่มุ่งค้นหากฎเชิงสาเหตุ และผล  หรือกฎเชิงสหสัมพันธ์  (๕) มุ่งหาความรู้เชิงคุณภาพเพื่อการพรรณาเหตุการณ์ที่ศึกษาที่ไม่ใช่กฎเชิงสาเหตุและผล  หรือกฎเชิงสหสัมพันธ์ และ (๖) เป็นการค้นหาความรู้บนพื้นฐานทางความเชื่อในกลุ่มของแนวคิด "จิตนิยม" หรือ Idealism

มโนทัศน์เหล่านี้คงไม่หนักเกินไปนะครับ

สุดท้าย  ผมต้องขอโทษเป็นอย่างมากที่ไม่ได้เข้ามาดูในวันที่คุณถามครับ  แม้ว่าจะผ่านความต้องการไปแล้ว  แต่ก็คงจะมีประโยชน์อยู่บ้างนะครับ  ต้องขอโทษจริงๆ

มาขอเก็บเกี่ยวค่ะ  อาจารย์ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว  และไหนๆก็มาได้ประโยชน์ตรงนี้แล้ว  หนิงขอทิ้งรอยไว้ก่อนนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

อุ๊ย  เกือบลืมค่ะ

หนิงว่าจะบอกว่า  วันอาทิตย์ที่ 9 กย.ที่ผ่านมานั้น  ได้เรียนวิชา ทฤษฏีการให้คำปรึกษา  กับลูกศิษย์อาจารย์ ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว  ด้วยค่ะ  แล้วอาจารย์ก็เอ่ยถึงอาจารย์ ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว  ด้วยนะคะ

สวัสดี คุณหนูหนิง

ถ้างั้นหนูก็เป็น "เหลน"ของผมซินะ ?  --  โอ !  ดีใจจริงๆ  คิดว่าคงเรียนระดับปริญญาโทอยู่? -- หรือว่า ปริญญาเอก?

อ่านบันทึกของผม  ดีแล้ว  รับรองว่า  คุณจะไม่อาจจะหาอ่านได้จากที่ไหนในโลกนี้  นอกจากตรงนี้ !!

ไม่ใช่โม้ !   (ขอยืมคำตลกของนักมวยเหรียญทองโอลิมปิคมานะ)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ไสว

อาจารย์ค่ะ คือหนูเรียนวิชาสถิติและการวิจัย แล้วหนูมีปัญหาอยากถามอาจารย์ว่างานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงปริมาณมีลักษณะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

สวัสดี คุณเก๋ไก๋

ลักษณะแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Quantiative & Qualitative มีดังนี้ครับ (๑) Quantitative Research เป็น "วิธีการวิจัย" เพื่อ"มุ่งหา กฎ ธรรมชาติ หรือ กฎบรรยาย" เป็นสำคัญ กฎเหล่านี้เป็นลักษณะแบบ "Statistical Laws" หรือ "Probabilististic Laws" ซึ่งต้อง"ทดสอบทางสถิติ" และจะต้อง "Infered" จาก "Sample" ไปสู่ "Population" ตามหลักการของ Probability ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวกับตัวเลขเชิงปริมาณทั้งสิ้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ Inferential Statistics และเกี่ยวข้องกับ Probaility โดยตรง การวิจัยพวกนี้ได้แก่ Experimental Research, Correlational Research

(๒) การวิจัยที่ตรงข้ามกับข้อ (๑)จัดเป็น Qualitative ทั้งสิ้น เช่น การวิจัยเชิงสำรวจที่ค้นหาข้อเท็จจริง, การวิเคราะห์เอกสาร, Case Study, Historical Research ซึ่งการวิจัยเหล่านี้จะไม่มุ่งหา Natural Laws ดังกล่าวแล้ว

อนึ่ง เรื่องของ Laws ที่กล่าวมา  ผมได้เขียนไว้ในบันทึกต่างๆแล้ว

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

สวัสดีค่ะ

ตอนนี้ดิฉันมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ คุณลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพ [quality research] ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปช่วยยกตัวอย่างพอเป้นแนวทางประมาณ 5 ข้อได้ไหมค่ะ

ด้วยความนับถือ

บัญฑิตศึกษา

เรื่องของการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้เรียนวิจัยเป็นจำนวนมาก หรืออาจจะรวมเอาผู้สอนบางคนเข้าไปด้วยก็ได้ ยังถกเถียงกันอยู่ ผมคิดว่า ถ้าจะไม่ให้สงสัยความหมายกัน ก็จะต้อง"เข้าใจ"ชัดเจนเกี่ยวกับคำว่า "คุณภาพ","ปริมาณ", และ "กฎธรรมชาติ",ซึ่งคุณสามารถไปเปิดดูได้จาก (๑)Dictionary of Science, ... of Social Science, ... of Mathematics,...of Philosophy of Science,... of Philosophy of Psychology,... (๒)ตำราการวิจัยที่ชื่อว่า Qualitative Research, Quantitative Research ตำราพวกนี้เขาจะเปรียบเทียบลักษณะของการวิจัยสองแบบนี้ที่ท่านสงสัยและให้ผมเขี่ยนมาให้ดูนี้นั่นแหละครับ (๓)อ่านจาก blog ของผมที่ชื่อ Empirical Research และ Empirical Theory ใน gotoknow.org

ผมคิดว่า หลังจากคุณได้อ่านเพื่อเข้าใจความหมายของคำสามคำนั้นจากหนังสือที่ผมแนะนำแล้ว คุณจะได้รับคำตอบครับ

Dear Dr. Sawai,

It's so impressive with you kind contri butions in such a constructive research information.

I would like you to kindly give some information on R&D principles dirrerntiating the technological reseaech.

Sorry I don't have Thai keybord in my office.

Thank you very much'

Jariya

สวัสดีครับ คุณJariya

ผมเห็นชื่อเป็นไทย และคุณอ่านข้อความของผมซึ่งเป็นภาษาไทย ก็รู้ว่าคุณอ่านไทยออก และเพื่อให้คนอื่นอ่านบ้าง ผมจึงตัดสินใจเขียนเป็นไทยครับ หากผมเข้าใจผิด ก็อภัยด้วยก็แล้วกัน และขอโทษด้วยที่ผ่านมาเกือบปีครับ คิดว่ายังคุยกันได้นะครับ

เกี่ยวกับ Principles of R&D ที่สำคัญก็คือ R&D เป็นการวิจัยซ้ำเพื่อดูผลที่ดีที่สุดของผลจากการวิจัยบริสุทธิ์

ผลจากการวิจัยบริสุทธิ์คือ กฎบรรยาย (Descriptive Laws) กฎพวกนี้มีไว้เพื่อใช้ บรรยาย พยากรณ์ และควบคุม ปากฏการณ์ธรรมชาติ ถ้าเรานำกฎเหล่านี้มาควบคุมเหตุการณ์ธรรมชาติ โดยการสร้างเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ เช่น เรานำกฎเป็นจำนวนมากมาสร้างเป็นรถยนต์ เครื่องบิน เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ เราเรียกว่า Applied Science หรือ Technology แต่ถ้าเมื่อไรที่เรานำประดิษฐกรรมเหล่านั้นไปทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ แล้ว เราก็เรียกว่า Research & Development

ถ้อยคำเหล่านี้เป็นคำอธิบายขยายความหมายของ R&D Principlesที่ผมให้ไว้ในบรรทัดก่อนครับ

R&D เคยเกิดและเจริญขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ต่อมาทางสังคมศาสตร์ได้ยืมมาใช้ในสาขาของตนบ้าง โดยอ้างว่าสาขาของตนก็เป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน แต่เนื่องจากยังเข้าใจความหมายของคำ Science, Facts, Concepts, Constructs, Laws, Theories ไม่ตรงกัน จึงเกิดปัญหาถกเถียงกันเสมอมา แต่ที่น่าแปลกมากก็คือ เมื่อรู้ว่าอะไรไม่เข้าใจตรงกัน ก็ไม่พยายามคิดให้เข้าใจตรงกัน หรือว่ามันไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ หรือว่าไม่พยายามเข้าใจกันแน่ !!

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.ไสว

ดิฉันมีคำถามเกี่ยวกับคำว่า "Research & Development" กับ "Developmental Research" และ "Developmental Studies" นั้น เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรคะ พยายามหาข้อมูลแต่ยังไม่เข้าใจค่ะ และลักษณะงานวิจัยที่ชื่อเรื่องขึ้นต้นด้วยคำว่า "การพัฒนารูปแบบ..." นั้นถือว่าเป็นงานวิจัยประเภทไหนคะ

ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดี คุณจิราวรรณ

ก่อนอื่นผมขอโทษที่ไม่ค่อยได้เข้ามาดู บางทีก็เข้มาดูแล้ว แต่ตอบไม่ทัน จึงเว้นไว้ตอบทีหลัง แต่เพราะมันกลายจากตัวหนามาเป็นตัวเล็ก จึงทำให้ดูพลาดไป และลืม แต่คิดว่าคุณคงยังต้องการทราบอยู่นะครับ

(๑) Developmental Reasearch, Developmental Studies หมายถึงการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เจริญเติบโตจากช่วงเวลาหนึ่งไปถึงอีกช่วงเวลาหนึ่ง เช่นศึกษาการเจริญเติบโตของเด็กจากอายุหนึ่งขวบไปจนถึงเด็กอายุห้าขวบ เป็นต้น อนึง การพัฒนา กับ การพัฒนาการ นั้นไม่เหมือนกัน ถ้าท่านทำให้ชุมชนดีขึ้น เรียกว่าการพัฒนาชุมชน แต่การเจริญของเด็กนั้นเกิดจากกลไกทางด้านภายในร่างกายของเด็กเอง ตัวการก็คือการแบ่งตัวของเซลล์ แต่การเจริญของชุมชนเกิดจากกระบวนการภายนอกไปกระทำกับมัน

(๒) Research & Development หมายถึง การวิจัย กับ การพัฒนา เช่น คุณผลิตอะไรออกมาอย่างหนึ่ง แล้วคุณนำไปวิจัยดูผลของมัน จากนั้นคุณก็ปรับปรุง แล้วนำไปวิจัยซ้ำอีก ปรับปรุง และวิจัย ทำเช่นนี้ซ้ำๆ จนกระทั่ง ได้ผลสูงสุดเป็นที่พอใจ จึงหยุด และนำไปใช้จริง หรือนำไปเป็นสินค้าสู่ตลาดจริง เป็นต้น ดังนี้จึงจะเป็น วิจัยและพัฒนา อนึ่ง การวิจัยซ้ำไม่กำหนดว่ากี่ครั้ง อาจจะเป็นแค่สองครังก็ได้ ถ้ามั่นใจว่า ผลเป็นที่พอใจแล้ว

(๓) การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบใดๆนั้น เป็น Research & Development ครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท