กิจกรรมเวทีเล่าเรื่อง "ประสบการณ์ในการส่งผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์"


นอกจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะได้ทราบว่า ในการที่จะเป็นนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ได้นั้น จะต้องมีการวาง road map ให้ตนเองอย่างไร, และ How to ในการไปถึง Road map ที่วางไว้ สุดท้ายนี้ ยังได้รับทราบ เคล็ดไม่ลับ ของ Code of Conduct ในการที่จะเป็นนักวิจัยที่ดี

คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมเวทีเล่าเรื่อง "ประสบการณ์ในการส่งผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์"  เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2550 ณ ห้องสัมมนา คณะวิทยาศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่ และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในการส่งผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์  ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

 

             โดยในช่วงเช้าคณะฯ ได้รับเกียรติจากนักวิจัยในคณะฯ ที่มีประสบการณ์ มาถ่ายทอดให้เพื่อนนักวิจัยด้วยกันฟัง โดยผ่านกระบวนการเล่าเรื่อง (Story Telling) ซึ่งนักวิจัยที่ให้เกียรติมาร่วมถ่ายทอดเรื่องเล่าบนเวที มีดังนี้

 1.  รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์    พงษ์ไพจิตร   ภาควิชาจุลชีววิทยา
 2.  รองศาสตราจารย์ ดร..ศุภยางค์      วรวุฒิคุณชัย    ภาควิชาจุลชีววิทยา
 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาพร       อุทารพันธุ์       ภาควิชาชีวเคมี 
 4.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรสา         ภัทรไพบูลย์ชัย หลักสูตรวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
 5.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์    กุมารสิทธิ์        ภาควิชาสรีรวิทยา
 6. รองศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์       พงศ์ดารา         ภาควิชาชีวเคมี
 7. รองศาสตราจารย์  ดร.วัชรินทร์       รุกขไชยศิริกุล  ภาควิชาเคมี
 

              มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประมาณ 25 ท่าน โดยบรรยากาศการเล่าเรื่อง เป็นแบบสบาย ๆ เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้เล่า และผู้ฟัง โดยมี ดร.วิภาดา เวทย์ประสิทธิ์  ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ แก่หน่วยงานภายนอก ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรกระบวนการ  ทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนั้นเกิดประโยชน์มากมายทั้งต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม และต่อคณะฯ เอง 

 

       ระหว่างที่เล่าเรื่อง  ทาง ดร.วิภาดา เวทย์ประสิทธิ์ ได้แจกกระดาษให้ผู้เข้าฟังทุกท่านใช้สำหรับบันทึกแก่นที่ได้รับจากการเล่า และภายหลังจากการฟังเรื่องเล่าแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้นำประเด็นที่ได้ทั้งหมด มาสรุปเป็นแก่นความรู้เรื่องการส่งผลงานตีพิมพ์ 

        สรุปได้ว่า ในการที่จะทำให้ผลงานได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์นั้น มีประเด็นที่จะต้องให้ความสำคัญใน 5 หัวข้อใหญ่ ดังนี้

  1. การเลือกหัวข้อวิจัย (ค่าน้ำหนัก 10%) เอกสารแนบ

  2. ทีมวิจัย (ค่าน้ำหนัก 10%) เอกสารแนบ2

  3. นักวิจัย (ค่าน้ำหนัก 10%) เอกสารแนบ3

  4. ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ (40%) เอกสารแนบ4

  5. ต้นฉบับ (30%) เอกสารแนบ5

 สำหรับรายละเอียดของแต่ละหัวข้อ ดูได้จากเอกสารแนบในแต่ละหัวข้อค่ะ

       นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้ฝากประเด็นให้ทางผู้จัด  จัดเวทีเล่าเรื่องในลักษณะนี้อีก  โดยหัวข้อที่สนใจมีดังนี้
 1.   ด้านวิจัย   หัวข้อที่สนใจ

  • วิจัยเชิงทฤษฎี (เน้นทางด้านทฤษฎี เช่น ทางคณิตศาสตร์)
  •  แนวทางการพัฒนางานวิจัยเป็นทีม
  •  Natural  Products
  • การเขียน proposal  ขอทุนวิจัย
  • การใช้  Endnote ในการทำ Reference ของผลงานตีพิมพ์
  •  การคิดหัวข้อ / การเขียนผลงานวิจัย
  • การเขียนขอทุนวิจัย

 2.  ด้านการเรียนการสอน  หัวข้อที่สนใจ

  • การเรียนการสอนวิชาพื้นฐาน
  • เทคนิคการสอนให้นักศึกษากลุ่มใหญ่สนใจการเรียน
  • ทักษะการสอน  และการวางแผนการเรียนการสอน  ให้เด็กมีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน  (ถ้าจัดในช่วงเวลาปิดเทอมจะดีมากคะ)
  • ทำอย่างไรให้นักศึกษาเข้าเรียน

 3. ด้านบริการวิชาการ  หัวข้อที่สนใจ

  • ความร่วมมือในการสร้างงานบริการวิชาการระหว่างภาควิชา
     นวัตกรรม from beginner

 4.  ด้านการพัฒนานักศึกษา  หัวข้อที่สนใจ

  • นักศึกษาผลการเรียนต่ำ
  • การเตรียมการสอนสำหรับเด็กที่มีผลการเรียนต่ำ
  •  การใช้ Endnote กับวิทยานิพนธ์และผลงานตีพิมพ์
  • การแต่งกายของนักศึกษา ม.อ.

 5.  ด้านอื่นๆ  หัวข้อที่สนใจ

  • ด้านเทคโนโลยี   หัวข้อที่สนใจ คือ  ประสบการณ์ในการทำงานวิจัยทางด้านการพัฒนาระบบงาน เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
  •  น่าจะจัดเป็นทีมพี่เลี้ยงช่วยนักวิจัยรุ่นใหม่ในการเริ่มต้นของการเขียน แนะนำ  หรือช่วย  review ผลงานวิจัย ก่อนส่ง  เป็นต้น
  • ด้านคอมพิวเตอร์  หัวข้อที่สนใจ คือ ทำอย่างไรให้เครือข่ายของคณะฯ ไม่มีไวรัส

          การจัดกิจกรรมเวทีเล่าเรื่อง "ประสบการณ์ในการส่งผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์" ในวันนี้ นอกจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะได้ทราบว่า ในการที่จะเป็นนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ได้นั้น จะต้องมีการวาง road map ให้ตนเองอย่างไร, และ How to ในการไปถึง Road map ที่วางไว้ สุดท้ายนี้ ยังได้รับทราบ เคล็ดไม่ลับ ของ Code of Conduct ในการที่จะเป็นนักวิจัยที่ดี

        สำหรับแก่นความรู้ที่ได้ในการจัดกิจกรรมในวันนี้ ทางผู้จัด จะจัดส่งให้รองคณบดีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนอาจารย์ทุกท่านในคณะฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวางแผนที่จะส่งผลงานตีพิมพ์  ส่วนหัวข้อต่าง ๆ ที่ทางผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอแนะว่าสนใจที่จะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น ทางคณะฯ จะทยอยจัดเวทีในลักษณะนี้อีกในโอกาสต่อไป

 

       ท้ายสุด AAR ของการจัดกิจกรรมในวันนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่บอกว่าบรรลุผลเกินเป้า เพราะได้ความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยรุ่นพี่ เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญหลายอย่างนำไปปรับใช้ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้

 

       หลายคนสัญญาว่า จะกลับไปรื้อฟื้นผลงานวิจัยมาลงตีพิมพ์เพิ่มขึ้น 

     สำหรับดิฉัน ในฐานะผู้จัด  รู้สึกต่ำกว่าเป้าหมายนิดนึง เนื่องจากช่วงบ่ายหลายท่านติดภารกิจด้าน

การสอน ทำให้จำนวนผู้ร่วมในกิจกรรมสกัดแก่นความรู้  จึงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมในตอนเช้า

 

     สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ น้องธเนศ ปานรัตน์  และ น้องปาณิก  เสนาฤทธิไกร  นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทีมงานของ ดร.วิภาดา เวทย์ประสิทธิ์  ซึ่งน้องทั้ง 2 ท่านนี้ มาช่วยเป็นคุณลิขิต จับประเด็นที่ได้ในวันนั้นให้เรา
 
     ขอบคุณ ท่าน รองศาตราจารย์ ดร.นงเยาว์ สว่างเจริญ รองคณบดีฝ่ายบริหาร CKO คณะวิทยาศาสตร์ ที่จัดให้มีกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 74193เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เป็นกิจกรรมที่ดีมากเลยค่ะ  ชื่นชมคณะวิทย์ฯ โดยเฉพาะอาจารย์นงเยาว์ CKO ที่เริ่มใช้ KM ก็ลุยในกลุ่มอาจารย์เลย (ซึ่งคนทั่วไปคิดว่าเป็นเรื่องยาก)

ประเด็นต่อๆ ไปที่มีการเสนอให้จัดในเวที เป็นเรื่องน่าสนใจทั้งนั้นเลยค่ะ

เรียน  คุณหมอปารมี

         โดยธรรมชาติของอาจารย์นั้น พร้อมที่จะเป็นทั้งผู้ให้ และผู้รับ ในเวลาเดียวกันอยู่แล้วค่ะ  แต่เนื่องจากภารกิจด้านการเรียนการสอน จึงส่งผลให้การจัดหาเวลาที่เหมาะสมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นไปได้ยาก 

    ดังนั้น ดิฉันจึงมีแนวคิดที่จะเรียนปรึกษากับ ท่าน CKO ของคณะฯ ว่า เราควรจะปรับแผนให้มีเวทีในลักษณะนี้อีก ในช่วงเวลาปิดภาคการศึกษาค่ะ

  ด้านการพัฒนานักศึกษา  หัวข้อที่สนใจ
  • นักศึกษาผลการเรียนต่ำ
  • การเตรียมการสอนสำหรับเด็กที่มีผลการเรียนต่ำ
  •  การใช้ Endnote กับวิทยานิพนธ์และผลงานตีพิมพ์
  • การแต่งกายของนักศึกษา ม.อ.

.... เห็นด้วยกับการควรนำประเด็นเหล่านี้เข้าสู่เวทีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ  ยกตัวอย่างเช่นขณะนี้เราเจอภาวะวิกฤตเกี่ยวกับการแต่งกายของนิสิตมาก 

ผมจำบทกวีที่นักเขียนได้เขียนไว้เกี่ยวกับการแต่งกายของนิสิตไม่ได้  ซึ่งผ่านมานมนานมาก แต่ยังร่วมสมัยอยู่เลย  ไว้กลับถึงสารคามและนำมาแลกเปลี่ยนอีกครั้งนะครับ

ดีจังค่ะ ได้ฟังเรื่องเล่าดีดี จากคุณรัตติยา ... ขอบคุณค่ะ

เห็นด้วยกับคุณแผ่นดินในเรื่องการพัฒนานิสิตนักศึกษาทุกหัวข้อ และหัวข้อที่อยากให้มีการ ลปรร.เร่งด่วนเรื่องการแต่งกายของของนิสิตนักศึกษาในยุคปัจจุบันค่ะ

พี่อัมพรเสียดายไม่ได้เข้าร่วมฟังด้วย พี่งานวิจัย 2 ชิ้นที่กำลังส่งตีพิมพ์ (แก้หลายรอบแล้ว)

ได้รับประโยชน์มากจริง ๆ เพราะกำลังทำวิจัยอยู่ ขอบคุณค่ะ

เป็นกิจกรรมที่ดีมากเลยคะ รู้สึกชื่นชมอาจารย์และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ให้ความร่วมมือ สร้างบรรยากาศที่ดีๆ แบบนี้ให้เกิดขึ้น...และสามารถเก็บเกี่ยวนำเทคนิกวิธีไปปรับใช้ด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

  • สวัสดีครับ คุณ รัตติยา
  • ผมเพิ่งทำกิจกรรมแบบเดียวกันนี้ แต่เลือกเฉพาะงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน ยังไม่ทราบเหมือนกันว่าผลจะเป็นอย่างไร

มาตามสัญญานะครับ..

สวัสดีนิสิตนักศึกษาสาว

แต่งตัวราวนาง (สาว) อัปสร

รูปร่างก็อรชร

เอวอรก็บางดี

ทาคิ้วเสียโค้งดังศรศิลป์

นัยน์ตาสีนิลดูสดสี

สิปสติคเต็มปากเหมือน "มาลี"

สองแก้มก็มีสีชมพู

กระโปรงเปิดขาอ่อนอ่อนชัด

เข็มขัดเหมือนรองสะดืออยู่

เสื้อรัดอกตั้งสะพรั่งพรู

พุ่งชูเครื่องหมายสถาบัน

ใส่รองเท้าส้นสูงหกนิ้ว

สูงลิ่วเชียวสาวสวรรค์

แหวนกำไกประดับประดาสารพัน

ช่างสรรหามาประดับตัว

พุดจาพาทีระรี้ระริก

กระเซ้ากระซิกจุ๋มจิ๋มยิ้มหวัว

เยื้องย่างแต่ละคราน่ากลัว

กระโปรงยั่วแกว่งแทบเห็นกางเกงใน....

 

แด่นางแบบที่มหาวิทยาลัย

โดยประสิทธิ์  รุ่งเรืองรัตนกุล

 

บทกวีบทนี้มีขึ้นปี 2517 แต่เป็นสภาพการณ์ที่ปรากฏอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาจนถึงปัจจุบันครับ

 

เรียนคุณแผ่นดิน

P กลับถึงบ้านพักรึยังค่ะ  หายเหนื่อยรึยังคะเนี่ย
        อ่านบทกวีที่คุณแผ่นดินนำมาฝากแล้ว บอกไม่ถูกเลยค่ะ
       ทุกวันนี้ นักศึกษาที่แต่งกายถูกระเบียบ กลับถูกเพื่อน ๆ หาว่าเชย  ไม่ตามแฟชั่น
       เราคงต้องช่วยกันรณรงค์ และข้าราชการอย่างพวกเรา ก็คงต้องแต่งตัวเป็นแบบอย่างให้เด็ก ๆ ดูด้วยนะคะ
  • มาขอบคุณครับพี่
  • แล้วจะรีบส่งหนังสือไปให้ 2 เล่มส่งครั้งเดียว
  • ยิ้ม ยิ้ม

ขอเล่าจากประสบการณ์ขอตัวเองค่ะ เคยส่งงานวิจัยลงวารสารฉบับหนึ่ง เพื่อตีพิมพ์ เช่นกันค่ะ ต้องแก้หลายครั้งมากค่ะ (4 ครั้งแล้วค่ะ) และครั้งล่าสุดนี่ก็กำลังส่งไปค่ะ ไม่ทราบว่าผลจะเป็นอย่างไรบ้าง

ตอนนี้ก็กำลังลุ้นอยู่ค่ะ

ทำไมต้องมีการเขียนหรือตีพิมพ์ผลงานวิจัย

รูปแบบการเขียนผลงานวิจัย

ที่ไหนรับตีพิมพ์ผลงานและวิธีการส่ง

ขอความเมตตาช่วยตอบให้หน่อยค่ะ

ครูให้เป็นการบ้าน หนูหามา มันงงงง

อยากได้แบบช้ดเจนค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท