แนวปฏิบัติในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุด้านการรับประทานอาหาร


ตัวอย่างการทำรายงาน clinical problem analysis

เรื่อง     แนวปฏิบัติในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุด้านการรับประทานอาหาร 

ปัญหาทางคลินิก                พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ 

1.      Problem analysis ระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข สถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบันระดับโลก 

              ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เป็นความสำเร็จของการวางแผนครอบครัวที่ดีสามารถลดอัตราการเกิดได้ตามเป้าหมายในระยะเวลาอันสั้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร ทำให้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุหรือผู้สูงอายุที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในปี 2523 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2568 (สุรีย์ กาญจนวงศ์,2540)                    โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือโรคปวดเมื่อยโรคข้อและอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวานและโรคต้อกระจก(จันทร์เพ็ญ  ประภาวรรณ,2540)  โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดจึงเป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา จากรายงานองค์การอนามัยโรคในปี ค.ศ. 1999 ประชาชนทั่วโลกป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 50 ล้านคน(ชนิดา  กาญจนลาภ.2543) ส่วนในทวีปเอเชียมีผู้ป่วยร้อยละ 15 ของประชากร(WHO,1998) 

สถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงในระดับประเทศชาติ 

                        สำหรับประเทศไทยพบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา จากการสำรวจสถานะสุขภาพครั้งที่ 2 ในปี 2539-2540 พบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 9.7  คิดเป็นผู้ป่วย 4.3 ล้านคน และความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น(จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ.2543)  จากรายงานการตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมองในปี2543,2544,2545,2546 และ2547   อัตราตายเท่ากับ 13.3,10.3,15.6,18.9 และ 24.5 ตามลำดับ (สำนักนโยบายแผนและสาธารณสุข,2547)

สถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบันของโรงพยาบาลลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี   

                                        ในจังหวัดปทุมธานีถือเป็น 1  ใน  26  จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังในการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือด(กระทรวงสาธารณสุข,2547) จังหวัดปทุมธานีพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอัตราป่วยอยู่ในระดับต้นๆของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปี 2542, 2543,2544 มีอัตราป่วยเท่ากับ 340,415,510 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับและโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการตาย 10 อันดับแรก ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี  ปี 2543 มีอัตราการตายเท่ากับ 2.08 ต่อประชากรแสนคน 2544 มีอัตราการตายเท่ากับ3.68 ต่อประชากรแสนคน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี,2547)                     โรงพยาบาลลำลูกกา พบผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูงเป็นอันดับ 1 ใน 10  อันดับแรก   เพศชาย 2,089 ราย เพศหญิง  4,817 ราย รวมทั้งสิ้น6,906 ราย และจำนวนผู้ป่วยในทั้งหมด 3,332 ราย อันดับหนึ่ง ความดันโลหิตสูง จำนวน 105 รายอันดับสอง เบาหวาน จำนวน 100 รายอันดับสาม หอบหืด จำนวน 82 ราย (ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลลำลูกกา ) 

ปัจจัย / ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

          โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โรคความดันโลหิตสูงมีอยู่ 2  ประเภทด้วยกันคือ ความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุและความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุเมื่อรักษาแล้ว ระดับความดันโลหิตจะกลับเป็นปกติและอาจหายขาดได้ แต่ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ การรักษาไม่สามารถทำให้โรคหายขาดหรือกลับไปเป็นปกติได้ ดังนั้นจึงต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต ซึ่งผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงจะตองรักษายาวนาน เสียค่าใชจาย และเสียเวลามาก โดย เปาหมายของการ รักษาโรคนี้เปนเพียงการปรับหรือการควบคุมระดับความดันโลหิตใหอยูในเกณฑที่ใกลเคียงปกติ    ไมใหอวัยวะ เปาหมาย ไดแกสมอง หัวใจ ไต จอตา ถูกทําลาย ที่ผานมาพบปญหาผูปวยโรคความดันโลหิตสูงขาดความรวมมือ ในการรักษา เนื่องมาจากปัจจัยตางๆ เชน    ผูปวยคิดวาตนเองสบายดี ไมมีอาการผิดปกติ และไมมีเงินคาเดินทาง ไปใชบริการ (วรารัตน เหลานภากุล, 2546)  ความดันโลหิตสูงอาจทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของหัวใจ สมอง ไต และหลอดเลือดในรางกายจัดเปน target organs ของโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมจะถือว่ามี target organs damage (TOD) เกิดขึ้นแลว (พึงใจ งามอุโฆษ, 2541)  ผูปวยโรคความดันโลหิตสูงที่ไมไดรับการรักษา หรือรับการรักษาไมตอเนื่อง จะไมสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตใหอยูในระดับที่ปลอดภัยได เป็นผลใหมี การทําลายอวัยวะที่สําคัญๆของร่างกาย (พึงใจ งามอุโฆษ, 2541; สมชาย โลจายะ และ อรวรรณ สุวจิตตานนท, 2536) ดังนี้

ผลต่อหัวใจ        ความดันโลหิตสูงทําใหหัวใจหองลางซายตองทํางานหนัก เนื่องจาก แรงตานทานที่เพิ่มขึ้นในหลอดเลือด ซึ่งในระยะเริ่มแรกนั้นกลามเนื้อหัวใจจะปรับตัวใหเขากับแรงตานทาน ที่เพิ่มขึ้นโดยการขยายตัว ทําใหหัวใจหองลางซายโต และถาภาวะนี้ยังเกิดขึ้นตอไป เสนใยของกลามเนื้อ จะหยอนไมสามารถขยายตัวไดอีก หัวใจหองลางซายจะพองและไมทํางาน ทําใหไมสามารถรับเลือดออกจาก ปอดได    เลือดจะไหลกลับไปสูปอดตามเดิม    เกิดอาการเลือดคั่งในปอด หัวใจหองลางขวาตองทํางานหนัก จนในที่สุดเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด(ischemic heart disease) หรือ ภาวะหัวใจลมเหลว  

ผลตอหลอดเลือด         ความดันโลหิตสูงทําใหหลอดเลือดตองรับน้ำหนักมากขึ้น หลอด ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ทําใหการไหลเวียนของเลือดไมสะดวกเกิดการอุดตัน เกิดลิ่มเลือดทําใหเลือด ไมสามารถไปเลี้ยงอวัยวะนั้นๆได อวัยวะที่สําคัญคือ หัวใจ สมอง ไต และโรคที่พบไดมากคือ หัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือดและไตวาย เปนตน

ผลตอสมอง         เมื่อหลอดเลือดอยูในภาวะความดันสูงนานๆ หลอดเลือดเสียความ ยืดหยุน มีการโปงพอง(aneurysms) ของหลอดเลือดขึ้น หลอดเลือดในสมองก็เชนเดียวกัน เมื่อความดันโลหิตยัง คงอยูสูงตอไปอีก    อาจทําใหเสนเลือดที่มีการโปงพองแตกได สงผลใหเกิดโรคหลอดเลือดในสมองแตก ถาไมไดรับการรักษาอยางทันทวงทีอาจทําใหหมดสติ เปนอัมพาต หรือเสียชีวิตได

 ผลตอตา ความดันโลหิตสูงจะทําใหมีการเปลี่ยนแปลงของจอรับภาพ (retina) ซึ่งเปนสวนของประสาท และหลอดเลือดที่มาเลี้ยงตา หลอดเลือดฝอยเล็กๆตีบแคบโดยทั่วๆไปอยางรวดเร็ว และ มีการหดเกร็งเฉพาะที่มีเลือดออก และ exudates ในจอตาประสาทตาบวม (papilledema) เปนผลทําใหประสาทตา ถูกทําลายหรือเสื่อมสมรรถภาพ ซึ่งจะทําใหมีจุดบอดบางสวนในลานตา (scotorata) ตามัวและอาจถึงตาบอดได

                 พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยการลดอาหารที่มีรสเค็ม อาหารที่มีไขมันมาก งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  ดังนั้นการบริโภคอาหารถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมสุขภาพที่จะเป็นดัชนีบ่งบอกถึงการมี สุขภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ( นัยนา  เมธา,  2544 ) และจากการศึกษาพบว่า ผูวยมีการดูแลสุขภาพตนเองดานโภชนาการเฉพาะการลดความเค็มของอาหารเทานั้น แตผูวยไมทราบวาอาหารอื่นๆ ที่มีโซเดียมก็ตองจํากัดปริมาณการบริโภคดวยไดแกผงชูรส เครื่องปรุงรสตางๆ ผูวยลดความเค็มของอาหารโดยการลดการบริโภค หรือไมบริโภคอาหารรสเค็ม ปรุงอาหารแยกจากผูอื่น นอกจากนี้ผูวยลดความเค็มโดยมีวิธีที่อาจทําใหไดรับโซเดียมในปริมาณมาก ไดแกการปรุงรสชาติอื่นเพิ่มลงในอาหารรสเค็มและ การทําอาหารใหรสเค็มเจือจางลงแตบริโภคจนหมด แหลงโซเดียมที่ผูวยไดรับจากอาหาร มาจาก น้ำปลารา เครื่องปรุงชนิดต่างๆ ปลาแหง ปลาทูเค็ม อาหารหมักดอง และบริโภคผงชูรสเพราะเขาใจวาไมใชอาหารรสเค็มสามารถบริโภคได(สุวิมล  สังฆะมณี, 2549) ในปจจุบันมีการจัดการดูแลโรคความดันโลหิตสูงหลาย โปรแกรม ทําใหอุบัติการของโรคความดันโลหิตสูงลดลง โดยการเพิ่มบทบาทดูแลทางดาน การรักษาโดยไมใชยา บทบาทหนึ่งที่สําคัญนั้นคือการจัดการทางดานโภชนาการ ในการปองกัน และ รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นที่เกี่ยวของ  การบําบัดความดันโลหิตสูงดวยตัวยานั้น บุคลากรทางการแพทยที่มีชื่อเสียงเปนที่รูจักและยกยองหลายทาน มีความเห็นตรงกันวาเปนสิ่งที่ให้ ผลดีที่สุดก็แตในระยะสั้นเทานั้น แตถาหากบําบัดโดยวิธีการดูแลสุขภาพและดูแลพฤติกรรมในการบริโภคแลว จะใหผลในทางปองกันและลดอาการกําเริบของความดันโลหิตสูงที่ไดผลในระยะยาว ที่ดีกวา (เกษมศรี วงศเลิศวิทย, 2542)  

                        ดังนั้นผูศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผูปวยความดันโลหิตสูง เพื่อนําผลการศึกษาที่ไดมาเปนแนวทางในการ พัฒนาการให ความรูและดูแลผูปวยโรคความดันโลหิตสูง ใหมีการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองไ ด อยางถูกตอง โดยเฉพาะอยางยิ่งในดานการบริโภคอาหารเพื่อใหผูปวยมีภาวะสุขภาพที่ดีใน ระยะยาวไมเกิดภาวะ แทรกซ้อนตางๆ และสามารถดํารงชีวิตประจําวันไดอยางมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 73935เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตอนนี้กำลังศึกษาระดับป.โทสาขาเวชปฏิบัติชุมชน มอ.สงขลา และทำสารนิพนธ์เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการเกิน(อ้วน)เมื่อเห็นหัวข้อนี้แล้วจึงอยากจะอ่านต้นฉบับเต็ม หากท่านจะกรุณาดิฉันขอความอนุเคราะห์ท่านช่วยส่งฉบับเต็มตามที่อยู่อีเมลนี้..ด้วยความขอบคุณ

สวัสดีครับ คุณศิชารัชต์

ไม่ทราบว่าจะให้ส่งไปที่ไหนหรือครับ ไม่มีเมลล์ให้ติดต่อครับ

ไม่มีของเบาหวานบ้างหรอคะ สนใจทำในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ที่คุมน้ำตาลไม่ได้หนะคะ เรียนโท จุฬา สูงอายุคะ ถ้ามีขอความกรุณาด้วยนะคะ ทิ้ง Mail ไว้แล้วคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท