Brain Debug


ผมอ่านสิ่งที่เรย์ เคอร์ซเวล เขียนถึงอนาคตศาสตร์ (http://www.kurzweilai.net) เคยคิดว่ายังไกลตัวมาก แต่ช่วงไม่กี่เดือนนี้ อ่านข่าวผ่าน google news แล้วเริ่มเอะใจว่า เอ๊ะ มันมาถึงแล้ว

เรย์เขาฟันธงว่า ตอนนี้ เทคโนโลยีกำลังมาถึงจุดที่เริ่มลงตัวพอ ให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถ debug การทำงานของสมอง

คำว่า debug มาจากการที่สมัยก่อน คอมพิวเตอร์สร้างจากหลอดสุญญากาศ ต่อสายรุงรัง เครื่องใหญ่พอ ๆ กับตึก เวลาเครื่องทำงาน มดหรือแมลงเดินไปมาก็ทำให้สายไฟช็อร์ต ต้องกำจัดซากแมลง (de-bug) ก็เลยเป็นศัพท์เทคนิคว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เสีย ก็แกะรอยไล่ตรวจหาสาเหตุว่าทำไมเสีย หรือเขียนโปรแกรมแล้วโปรแกรมไม่ทำงาน ทำไมมันไม่ทำงาน เพราะพิมพ์คำสั่งผิด หรือมีปัญหาตรงไหนในโปรแกรม

หลัง ๆ ความหมายก็กลายไปเป็นว่า ใช้แกะรอยว่าโปรแกรมทำงานอย่างไร โดยใช้ชุดเครื่องมือ (debugger tools) ซึ่งอาจเป็นซอฟท์แวร์หรือเครื่องมือฮาร์ดแวร์ก็แล้วแต่

การ debug การทำงานของสมองก็คือ การ rev-enged หรือ reverse engineering ของการทำงานของสมอง โดยมองว่า สมอง ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงระบบปฎิบัติการที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน สิ่งที่เขาจะทำก็คือ ค่อย ๆ แกะรอยว่าสมองทำงานเป็นลำดับขั้นอย่างไร

ลองนึกภาพว่าสมองเหมือนคอมพิวเตอร์ของมนุษย์ในโลกอนาคตที่เรายังไม่รู้จักทั้งฮาร์ดแวร์และระบบปฎิบัติการ สิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ในอดีตที่ผ่านมาคือจำแนกคร่าว ๆ ว่าฮาร์ดแวร์ส่วนไหนเกี่ยวกับอะไร เช่น รู้ว่านี่คือหน่วยความจำ โน่นคือฮาร์ดดิสก์ ก็เพียงแค่นั้น

แต่สิ่งที่วงการนี้กำลังตื่นตัวคือ การแกะรอยทำความเข้าใจในระดับภาษาเครื่อง แกะรอยการทำงานของระบบปฎิบัติการทีละคำสั่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจพอที่จะสร้างเลียนแบบทั้งฮาร์ดแวร์พร้อมระบบปฎิบัติการ

หากทำความเข้าใจได้หมด อย่างน้อย ก็เพิ่มสมรรถนะให้กับอายตนะการรับรู้ของมนุษย์ ให้ทำได้มากขึ้น หรือเพื่อเยียวยารักษาคนพิการทางอายตะต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาโรคหูหนวก ตาบอด แก้ปวด เพิ่มผัสสะการรับรู้พิเศษ ฯลฯ  โดยการเข้าแทรกแซงที่สมองโดยตรง หรือติดตั้งอวัยวะเทียมที่สามารถต่อตรงกับสมองได้ 

จุดสิ้นสุดอยู่ที่ใด เป็นสิ่งที่ยังท้าทายจินตนาการ

ลองใช้คำว่า brain MRI ค้นใน google news จะเห็นข่าวมากมายที่คงทำให้เราต้องย้อนกลับมามองตัวเราเองใหม่ ในมุมมองที่เปลี่ยนไปจากเดิม

หมายเลขบันทึก: 73933เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บันทึกของคุณ wwibul  เข้าตามมโนทัศน์ของ Gotoknow.org จริงๆครับ  ดร.ธวัชชัย  และ ดร.จันทวรรณ คงจะชอบมาก  ก็คงจะช่วยกันคิด  ช่วยกันชม  ผมได้เกิดตระหนักขึ้นมาอย่างหนึ่ง  คือ ในอดีตคนกลุ่มหนึ่งนั่งพูดกันแต่เรื่องระดับทฤษฎีระดับปรัชญากันมาก จึงทำให้คนอย่าง Galileo, Newton, ฯลฯ แสดงตัวออกมา !!

ผมขอขอบคุณ คุณหมอครับที่ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็น  และชี้แนะ  ผมได้ตามเข้าไปดูแล้วครับ

อาจารย์ครับ..

  • ผมไม่ใช่หมอครับ แต่เป็น "น้องหมอ" เพราะมีพี่เป็นหมอ เรียกผมตามนามแฝงก็แล้วกันครับ
  • หนังสือเล่มนี้ โยนประเด็นอภิปรัชญาทิ้ง แล้วมองในประเด็นว่า จะใช้วิทยาศาสตร์ล้วน ๆ มาเชื่อมต่อกับชีวิตอย่างไร หลายอย่าง ผมไม่เห็นด้วย แต่ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เขาพูดถึง เป็นกรอบโครงระบบคิดที่ล้ำหน้ามาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท