โครงสร้างองค์การคุณภาพ


คณะกรรมการคร่อมหน่วยงาน (Cross Functional Team) เพื่อให้มีการทำงานเป็นทีมและประสานกันในแนวราบ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างแผนกและระหว่างสาขาวิชาชีพ

              การจัดโครงสร้างองค์การตามสายบังคับบัญชาแนวดิ่งที่มีการแบ่งงานแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรองรับกับภารกิจที่ต้องทำงานแบบองค์รวมได้ดีพอ ทางโรงพยาบาลบ้านตากจึงได้กำหนดภารกิจสำคัญในภาพรวมในลักษณะของกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนของการจัดการกระบวนการขึ้นในลักษณะของคณะกรรมการคร่อมหน่วยงาน (Cross Functional Team) เพื่อให้มีการทำงานเป็นทีมและประสานกันในแนวราบ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างแผนกและระหว่างสาขาวิชาชีพ แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ


(1) ส่วนบริหารจัดการ มี 2 คณะคือ
1.   คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล แต่งตั้งโดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตาก
2.   คณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาล ตัวแทนภาคประชาชนเป็นกรรมการ 15 คน
(2) ส่วนพัฒนาองค์การ แบ่งเป็น 3 กลุ่มเรียกว่าทีม 3 ฝันคือนำฝัน,ทอฝัน,สานฝัน ดังนี้

1.   คณะกรรมการอำนวยการพัฒนาคุณภาพหรือทีมนำหรือนำฝัน (Steering Team) รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพองค์การ การบริหารงบประมาณ สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์การ

2.    คณะกรรมการสนับสนุนกิจกรรมคุณภาพหรือทีมสนับสนุนหรือทอฝัน (Facilitating team)
2.1     คณะกรรมการประสานงานคุณภาพ รับผิดชอบศูนย์คุณภาพ ทำหน้าที่ชี้แนะ แนะนำ เชื่อมประสานการพัฒนาคุณภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติ
2.2     คณะกรรมการเยี่ยมสำรวจภายใน เป็นผู้เข้าเยี่ยมสำรวจเพื่อช่วยประเมินติดตามการพัฒนาคุณภาพ การตรวจสอบภายใน รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการหาโอกาสในการพัฒนา
2.3     คณะกรรมการตรวจประเมิน 5 ส  รับผิดชอบขับเคลื่อนกิจกรรม 5 ส ในระดับโรงพยาบาล ประเมินติดตามพื้นที่ต่างๆ ฝึกอบรม สร้างความต่อเนื่องในการพัฒนาตามแนวทาง 5 ส


3.    คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพหรือทีมทำหรือสานฝัน (Improvement team)แบ่งเป็น
3.1     คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพในหน่วยงาน  เป็นการพัฒนาตามเป้าประสงค์ของหน่วยงานแต่ละแห่งโดยมีหัวหน้างานเป็นผู้นำทีมพัฒนางานที่ต้องปฏิบัติจริง
3.2     คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพคร่อมหน่วยงาน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ
3.2.1            คณะกรรมการตามกลุ่มผู้ป่วย แบ่งเป็น 2 คณะ คือ
-         คณะกรรมการพัฒนาคลินิกบริการ เป็นกรรมการที่มาจากสาขาวิชาชีพต่างๆเพื่อมารวมตัวกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ จะเน้นที่ตัวผู้ป่วยโดยตรง มองจากกลุ่มอาการหรือภาวะที่ผู้ป่วยเป็น เช่นทีมยาเสพติด ทีมเอดส์ ทีมตรวจสุขภาพ ทีม PTC ทีมออกกำลังกาย ทีมดูแลผู้สูงอายุ ทีมเบาหวาน เป็นต้น
-         คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการ เป็นกรรมการจากจุดบริการต่างๆที่ผู้รับบริการต้องเข้าไปสัมผัสเพื่อรับบริการ เพื่อจัดบริการให้สะดวก เข้าถึงง่าย ราบรื่นและรับฟังความเห็นของลูกค้า
3.2.2            คณะกรรมการตามกลุ่มกิจกรรม ประกอบด้วย
-         คณะกรรมการบริหารพัสดุ
-         คณะกรรมการบริหารโครงสร้างกายภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
-         คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
-         คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
-         คณะกรรมการสารสนเทศและเวชระเบียน
-         คณะกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์
-         องค์กรแพทย์
-         องค์กรพยาบาล
-         องค์กรลูกจ้างชั่วคราว
3.2.3            คณะกรรมการดำเนินกิจกรรม 5 ส ประกอบด้วย 6 กลุ่ม (เดิมมี 5 กลุ่ม ในปี 2549 ปรับเป็น 6 กลุ่ม) ประกอบด้วย
-         กลุ่มอาคารไชยกุล ไผทฉันท์
-         กลุ่มอาคารหลวงพ่อทันใจ
-         กลุ่มอาคารพระครูพิทักษ์บรมธาตุ
-         กลุ่มอาคารยุทธหัตถี
-         กลุ่มอาคารพระบรมธาตุ
-         กลุ่มอาคารสนับสนุน

          สำหรับในรายละเอียด หากมีเวลาผมจะได้ยกมาเล่าในเชิงปฏิบัติในบันทึกนี้เป็นระยะไปครับ

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 7380เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท