8 วิธีป้องกันหกล้ม


คนสูงอายุมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป จากการศึกษาพบว่า คนสูงอายุมากกว่า 30 % หกล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

คนสูงอายุมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป จากการศึกษาพบว่า คนสูงอายุมากกว่า 30 % หกล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

การหกล้มในคนสูงอายุเสี่ยงต่อกระดูกต้นขาหัก เลือดออกในกะโหลกศีรษะ และการเสียชีวิต

คนสูงอายุที่ป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล 20 คนจะมีสาเหตุจากการหกล้ม 1 คน

พวกเรามีส่วนในการป้องกันการหกล้มของคนสูงอายุ หรือญาติผู้ใหญ่ได้ สาเหตุของการหกล้มในคนสูงอายุมีดังต่อไปนี้...

ระวังยา                           

ยาหลายชนิดมีผลข้างเคียงที่อาจทำให้คนสูงอายุหกล้มได้ เช่น ยาลดความดันเลือดบางตัวทำให้คนสูงอายุหน้ามืดได้ง่ายเวลาลุกขึ้น ยานอนหลับอาจทำให้คนสูงอายุง่วง หรือมึนงงนานเกิน ฯลฯ ถ้าเพิ่ม ลด หรือปรับขนาดยาจะต้องระมัดระวังเรื่องหกล้มมากเป็นพิเศษในสัปดาห์แรก

เป็นลม หน้ามืด                 

คนสูงอายุมีโอกาสเป็นลมเพิ่มขึ้น และมีโอกาสหน้ามืดเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากท่านอนเป็นนั่ง จากท่านั่งเป็นยืน ฯลฯ จึงควรดูแลให้ขยับเท้าและขาไปมาก่อนลุก เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เวลาลุกให้ลุกขึ้นช้าๆ ถ้าหน้ามืดให้นั่งลงก่อน รอสักครู่แล้วค่อยลุกใหม่

เวียนหัว                           

คนสูงอายุมีโอกาสเวียนหัว (dizziness) หรือเกิดภาวะบ้านหมุน-ตัวหมุน (vertigo) ทำให้เสียการทรงตัวได้เพิ่มขึ้น

ระวังปวดขา                       

คนสูงอายุมีโอกาสปวดขาเพิ่มขึ้น ทำให้ท่ายืนหรือเดินเปลี่ยนแปลง เสี่ยงต่อการหกล้มมากขึ้น 

สายตา                            

คนสูงอายุมีปัญหาสายตามากขึ้น เช่น สายตายาว ต้อกระจก ต้อหิน ฯลฯ การไปตรวจตามีส่วนช่วยได้ 

แอลกอฮอล์                     

คนสูงอายุที่ดื่มแอลกอฮอล์(เหล้า เบียร์ ไวน์...)มีโอกาสหกล้มเพิ่มขึ้น จึงไม่ควรดื่มเหล้าเลย

วิธีป้องกันการหกล้ม:

  1. แสงสว่าง:                                                          
    ควรจัดให้มีแสงสว่างมากพอ โดยเฉพาะบันได ห้องโถง หรือบริเวณที่ผู้สูงอายุเดินผ่านบ่อย อย่าลืมว่า ค่าไฟพอมีวิธีประหยัด เช่น ใช้หลอดตะเกียบ ใช้หลอดนีออน(ฟลูออเรสเซนต์)ผอม ใช้บัลลาสต์อีเล็คทรอนิคส์ ฯลฯ แต่ถ้าหกล้มแล้วหัวฟาดพื้นอาจจะถึงกับเสียชีวิต หรือพิการได้
  2. ระวังอย่าให้พื้นลื่น:     
    ควรให้คนสูงอายุอยู่ในบริเวณที่พื้นไม่ลื่น เช่น พื้นไม้ ฯลฯ หลีกเลี่ยงพรมบางชนิดที่อาจทำให้พื้นลื่นได้ ควรใช้แผ่นปูกันลื่นในห้องน้ำ และระวังอย่าให้พื้นบ้านเปียกน้ำ ถ้ามีน้ำหกบนพื้นควรรีบซับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือผ้า แล้วเช็ดให้แห้ง เพราะพื้นที่เปียกน้ำจะลื่นกว่าพื้นแห้งมาก
  3. ราวจับ:                      
    ควรจัดให้มีราวจับบริเวณบันได และด้านในห้องน้ำ ราวบันไดควรมีทั้งสองด้าน(ซ้ายและขวา) หรือจัดให้คนสูงอายุอยู่ชั้นล่าง จะได้ไม่ต้องขึ้นๆ ลงๆ บันได
  4. จัดบ้านให้โล่ง:           
    ควรจัดบ้านให้โล่ง ไม่มีเฟอร์นิเจอร์หรือของเกะกะขวางทางเดิน
  5. รองเท้ากันลื่น:           
    ถ้าสวมรองเท้าควรเลือกชนิดไม่ลื่นง่าย เช่น มีปุ่มยางด้านล่าง ฯลฯ ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่ลื่นง่าย เช่น รองเท้าแตะฟองน้ำเก่าๆ ที่ดอกรองเท้า(ด้านล่าง)สึกไปหมด ฯลฯ
  6. ไม่สวมถุงเท้าเดิน:      
    การสวมถุงเท้าเดินอาจทำให้ลื่น และหกล้มได้ง่ายขึ้น
  7. ออกกำลัง:                 
    ควรออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง หลัง และขา เช่น ซิทอัพ (sit up) เดินออกกำลังกายทุกวัน อย่าใช้อิริยาบถนั่งกับนอนมากเกินไป ฯลฯ ท่านที่ร่างกายยังไม่แข็งแรงควรปรึกษาบุคลากรสุขภาพที่ดูแลท่านก่อนออกกำลัง
  8. ฝึกความสมดุล:         
    ควรฝึกความสมดุล (balance) เช่น ไทเก็ก-ชี่กง(ไทชิ) รำมวยจีน เต้นรำ ฯลฯ หรือฝึกยืนขาเดียว เมื่อแข็งแรงแล้วอาจจะฝึกยืนขาเดียว ยกขาอีกข้างหนึ่งขึ้นลง เพื่อฝึกความสมดุล การฝึกยืนขาเดียวควรใช้มือจับราว เพื่อกันหกล้ม

    แหล่งที่มา:                                      

  • Thank Intelihealth.com > [ Click - Click ] > November 14, 2005 (Health Lifestyle > Focus on Fitness > Strength, Balance Key to Preventing Falls in Elderly > Howard Lewine, M.D.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
หมายเลขบันทึก: 7377เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท