รักษาแผลด้วย vacuum dressing


portable vacuum bottle dressing

ผศ.ดร.นิโรบล กนกสุนทรรัตน์ได้ย่อขนาดรูปแผลที่ใช้ portable vacuumbottle dressing (PVBD) ส่งมาให้ใหม่ทั้งหมดแล้วดิฉันจึงขอแสดงให้สมาชิกเห็นกันชัดๆ พร้อมข้อมูลของผู้ป่วย ๒รายอีกครั้ง

ผู้ป่วยรายที่หนึ่ง เป็น venous ulcer ที่เรื้อรังทำท่าจะดีขึ้นแล้วกลับเลวลง กลับไปกลับมานาน ๕ ปี รักษาด้วย PVBDเปลี่ยนแผลทุก ๒ วัน ร่วมกับให้ Bed rest (รักษาแบบผู้ป่วยใน)แผลเปลี่ยนจากรูปที่ ๑ เป็นรูปที่ ๓ ใช้เวลา ๑๒ วันจึงให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ก่อนกลับบ้านปิดด้วย hydrocolloid dressingและพันด้วย short stretch bandage ผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดที่ OPD อีก๒ วันต่อมา พบว่าแผลปิดสนิท

   

 รูป ๑

 
   

 รูป ๒

 รูป ๓

ผู้ป่วยรายที่สอง เป็นแผล open abdomen ซึ่งทำแผลด้วย gauzedressing แผลแฉะมาก ต้องเปลี่ยนแผลและผ้าถุงวันละหลายครั้งผู้ป่วยไม่กล้าลุกจากเตียง เมื่อปิดด้วย PVBD แผลไม่เปียกแฉะผู้ป่วยกล้าลุกจากเตียง รู้สึกว่าช่วยกระชับแผลเวลาเดินจึงเดินได้อย่างสะดวก จนแพทย์ให้กลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้นและนัดมาเปลี่ยนแผลสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง แผลเปลี่ยนจากรูป ๔ เป็นรูป ๖ใช้เวลา ๑๐ วัน

     

 รูป ๔

 รูป ๕

 รูป ๖

ขอบคุณอาจารย์นิโรบลโอกาสหน้าคงมีเรื่องเล่าเรื่องการรักษาแผลจากอาจารย์อีกนะคะ

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

คำสำคัญ (Tags): #vacuum#dressing#แผล
หมายเลขบันทึก: 7376เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
น่าสนใจมากครับ อาจารย์นิโรบล อยากเรียนถามว่ามีปัญหาต้อง vac ขวด redivac drain บ่อยๆบ้างรึเปล่าครับ ปัจจุบันอาจารย์ใช้อะไร seal ไม่ให้มันเกิดรอยรั่วครับ
นิโรบล กนกสุนทรรัตน์

ถ้า seal ได้ดี ส่วนใหญ่ก็ไม่ต้อง vac คะ อย่างแผล venous ulcer อันนี้ก็ไม่ต้อง vac เพิ่มเลย ส่วนแผลที่ abdomen ต้องระบาย  exudate ออก และ vac เพิ่มก่อนให้กลับบ้าน เพราะมี exudate มากถึง300 ซีซี วันต่อ ๆ มาออกน้อยลงก็ไม่ต้อง vac อีกเลย แผลลดขนาดลงอย่างมากหลังทำแผลแล้ว 2 ครั้ง (เท่าที่ทำมาแล้ว 15 แผล ให้ผลลักษณะเดียวกัน) แต่เนื่องจากเป็นคนไข้นอก จึงต้องสอนผู้ป่วยให้ Vac เองได้ด้วย ต้องสอนจนมั่นใจนะคะว่าผู้ป่วยทำได้ โดยให้สาธิตกลับ การต้อง vac หรือไม่มักขึ้นกับปริมาณ exudate ของแผล และขนาดแผล แผลใหญ่อาจต้อง vac เพิ่มคะ ถ้าเป็นแผลสอาดเพราะเปลี่ยนแผล 3-4 วัน ระบายน้ำออกจากขวดแต่ไม่ต้องเปลี่ยนขวด ถ้าเป็นแผลที่ติดเชื้อก็จะเปลี่ยนแผลถี่ขึ้นอยู่แล้วเป็นทุก 2 วันเพื่อดูดเอาอากาศและกลิ่นออกไป และเปลี่ยนขวดทุกสัปดาห์คะ การรั่วมักเกิดจากเทคนิกการ seal เป็นสำคัญ เมื่อ seal  โดยใช้ transparent adhesive film แล้วตรวจสอบพบว่าไม่รั่ว ( ใช้ syringe 50 cc ดูดลมออกจนฟองน้ำยุบตัวหมด clamp สายไว้ไม่ให้ลมเข้า ไล่ลมออกจาก syringe แล้วนำมาต่อกับสายอีกครั้ง ถ้า seal ได้สนิทดี ให้สังเกตว่าลูกสูบของsyringe จะไม่เลื่อนถอยออกเลย อาจดูดเองด้วยเบา ๆ จะพบว่า ตึง ๆ ดึงไม่ได้ หลังจากแน่ใจว่าseal ดี ไม่รั่ว จึงใช้อุปกรณ์เสริมความคงทน เช่น micropore เพื่อ frame โดยรอบ film ที่ปิด และยึดท่อให้อยู่นิ่งไม่ขยับ แต่ถ้า seal ไม่สนิทตั้งแต่แรก  การ frame มากอย่างไร หนาเพียงใดก็ไม่ช่วยคะ รวมทั้งต้องสอนผู้ป่วยเรื่องดูแลอุปกรณ์ด้วย เช่น ระวังไม่ดึงรั้ง ไม่แกะเกา ไม่แช่น้ำ รีบเช็ดให้แห้งเมื่อโดนน้ำ เป็นต้น อยางไรก็ตามถ้าจะนำไปใช้จริงขอให้ส่งรูปมาให้ดูก่อนเพื่อจะแนะนำเพิ่มเติมเป็นราย ๆ ไปนะคะ เพราะจากตัวอย่าง 2 รายนี้ก็มีรายละเอียดของวิธีการใช้ที่แตกต่างกันคะ 

 

วันนี้ผมไปเปิดบล็อกนี้ที่ wrad ที่เคยทำ Vac dressing ถึงเรื่อง PVBD ที่อ.นิโรบล แนะนำ พยาบาลหลายๆคนเข้าใจที่อาจารย์เล่าได้อย่างรวดเร็วครับ  แถมบอกว่าเราน่าจะลองทำได้นะ แต่ยังไงคงต้องรอ คุณหมอประกาศิตกลับมาจากต่างประเทศก่อนอีก 2 อาทิตย์ คงมีการ discussion กันอีกครั้งหนึ่งครับ ถ้ามีการทดลองทำคงเรียนปรึกษากับอาจารย์ครับ

ขอบคุณครับ

 

วันนี้คุณเอนกขยันจัง ดีนะคะที่ไปเปิดบล็อกให้พยาบาลที่ ward ได้อ่าน มีอะไรจะได้เขียนมาสอบถามและแลกเปลี่ยนกันได้ค่ะ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไปอีกก็คือไปแนะนำให้ทุก ward และ OPD รู้จักบล็อกด้วยนะคะ

ดิฉันสนใจวิธีการใช้ขวดradivac drain ในผู้ป่วยที่มีแผลและสามารถให้ผู้ป่วยนำติดตัวกลับบ้านไปได้ แต่ดิฉันไม่ทราบขั้นตอนและวิธีทำค่ะ จึงอยากจะรบกวนท่านอาจารย์ช่วยอธิบายให้ถึงวิธีการ

ทำและดิฉันอยากทราบว่าแรงดันลบที่125มม.ปรอททำไมถึงเหมาะที่ใช้แรงดันเท่านี้จะใช้มากกว่าหรือน้อยกว่าไม่ได้หรือคะมีโทษอย่างไร

เรียนคุณอนรรฆอร

ติดต่อสอบถามที่ ผศ.ดร.นิโรบล ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นะคะ ดิฉันเคยใส่ e-mail address ของอาจารย์นิโรบลไว้ในบันทึกเกี่ยวกับ vacuum dressing แต่จำไม่ได้ว่าอยู่ในบันทึกไหน ลองค้นดูนะคะ

วัลลา

อยากทราบความแตกต่างของ redivac drain กับ Jackson drain ต่างกันอย่างไร

หน้าที่ การทำงานของทั้งสองท่อค่ะ

ขอบคุณค่ะ ช่วยตอบด่วนๆๆๆ

ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ ว่าredivac drain กับ Jackson drain ต่างกันอย่างไร

ช่วยหน่อยนะค่ะๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ด่วนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ขอบคุณค่ะ

redivac drain เป็นขวดแก้ว ใช้ระบบสูญญากาศในการดูดเอาเลือดหรือน้ำเหลืองที่ค้างหลังการผ่าตัด ทำให้เป็นสูญญากาศโดยการใช้เครื่อง suction ดูดอากาศออกค่ะ

Jackson drain ลักษณะเป็นพลาสติกคล้ายระเบิดน้อยหน่า ใช้ระบบสูญญากาศเหมือนกันแต่ตัวนี้เราสามารถเปิดจุกเทเลือดหรือนำเหลืองที่ค้างจากการผ่าตัด แล้วบีบอากาศออกได้เลยไม่ต้องระมัดระวังเรื่องการตกแตกเหมือน redivac drain แต่ข้อเสียคือรองรับได้น้อยกว่า

โดยหลักการแล้ว drain 2 ตัวนี้ใช้ระบบสูญญากาศเหมือนกัน ระบบายเลือดและน้ำเหลืองที่ค้างจากการผ่าตัดเหมือนกัน แต่ redivac drain เป็นขวดแก้วดูว่ายังทำงานอยู่โดยสังเกตุจากหูกางออกจากกันทั้ง 2 ข้าง ดูแลยากกว่า jackson drain และredivac drain รองรับเลือดและน้ำเหลืองได้มากกว่าค่ะ

อยากทราบขั้นตอนของการทำแผลแบบvacuumแบบละเอียดกรุนาตอบทีนะคะ ขอบคุณค่ะ

ผมอ่านบทความของอาจารย์ ผศ.ดร.นิโรบล กนกสุนทรรัตน์ ได้ความรู้มากครับ อาจารย์ครับ พอจะมีบริษัทที่ผลิต Jackson Drain และ Redivac Drain ที่ผลิตในประเทศไทย แนะนำไหมครับ รบกวนด้วยครับ

เรียนคุณไพบูลย์

จะนำคำถามส่งต่อให้อาจารย์นิโรบลนะคะ

เรียน อ.วัลลา ตันตโยทัย ผมรบกวนขอความรู้เกี่ยวกับการเลือกสำลีรองเฝือก ว่ามีหลักเลือกให้ได้คุณภาพดีได้อย่างไรครับ ขอบพระคุณครับ

ดีมากครับแต่ก็อยากได้ข้อมูลการให้การพยาบาล pt post-op ด้วยครับ

หนวดกุ้ง ที่อยู่บน radivac drain เรียกว่าอะไรหรือคะ

drainมีทั้งหมดกี่แบบค่ะและอะไรบ้างแต่ละแบบใช้ยังไงบ้างมีข้อดีข้อเสียอบ่างไรบ้าง


ข้อบ่งชี้ในการทำ vaccuum dressing มีอะไรบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท