มหาชีวาลัย: หัวใจอยู่ที่ “บูรณาการ”


เมื่อผมได้มีโอกาสมาทำงานกับครูบาสุทธินันท์ อย่างใกล้ชิด แบบ “มองหัวแม่เท้า ก็รู้ใจ” ทำให้ผมยิ่งตระหนักว่าแนวคิดในการทำงานของครูบา และมหาชีวาลัยนี่เป็นสุดยอดแห่งการบูรณาการ
 

ตั้งแต่ผมเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ มหาชีวาลัยผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบ บูรณาการ มากมาย

 

เริ่มจากการทำงานร่วมกับกลุ่มและสมาชิกเกษตรกร ทั้งที่เข้มแข็งและยังต้องพัฒนาอีกพอสมควร

 

ทั้งการทำงานกับนักการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ องค์กรภาคประชาชนในระกลุ่มและระดับต่างๆ เช่น เครือข่ายปราชญ์ กลุ่มครู กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มที่ทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน บริษัทที่ปรึกษา (ทั้งในและต่างประเทศ) และองค์กรวิจัยและพัฒนานานาชาติ

  

ผมได้เห็นความเชื่อมโยง โดยธรรมชาติ ของระบบการทำงานที่โดยปกติ เรามักจะมองข้าม หรือละเลย ไม่สนใจ

 ถือว่ามาคนละสาย ทำงานคนละแบบ ทำงานคนละระดับ ไม่จำเป็นต้องมาข้องเกี่ยวกันก็ได้  

 

แต่พอมาทำงานในมหาชีวาลัย ก็พบว่า

การที่จะทำงานใดๆให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนานั้น จำเป็นที่จะต้องมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่มีบทบาทโดยตรง หรือมีความถนัดในด้านนั้นๆ มากกว่าขีดความสามารถที่เรามีอยู่

  

และหน่วยงานเหล่านั้นก็ยังทำให้เราทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

  ตั้งแต่นั้นมา ผมก็ยิ่งเห็นความสำคัญในการทำงานแบบบูรณาการในภาคปฏิบัติมากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว  

 

สาเหตุหลักของการเห็นความสำคัญนี้ ผมก็ขอยอมรับว่า ผมเริ่มต้นคิดมาก่อนแล้วว่า บูรณาการ เป็นเรื่องสำคัญอยู่แล้ว ในทางทฤษฎี แทบจะไม่มีใครเถียงเลยในมุมนี้

 

แต่หลายคนก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์ หรือมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักในการทำงานแบบบูรณาการ ที่ทำให้หลายคนเข็ดขยาด ไม่กล้าทำ ดีแต่พูด และก็กลัวแบบ ฝันร้าย ขึ้นสมอง

 

ผมก็มีประสบการณ์ที่ทั้ง รัก ชัง หวาน และขมขื่น กับเรื่องนี้ มาพอสมควร

 แต่ผมก็พยายามแยกแยะ ปัญหา อุปสรรค ข้อดี ข้อด้อย ทางเลือก ทางออก และสรุปบทเรียนของการทำงานที่ผ่านมาอยู่เสมอ ในการทำงานจรยุทธ แทบทุกสนาม ทุกสถานการณ์ จนมีแผลเป็นแทบจะทั่วตัว  

แม้จะมีบาดแผล และแผลเป็นเต็มตัว ผมก็ไม่ย่อท้อในการทำงานแบบ บูรณาการ ที่ผมศรัทธา และถือเป็นแนวทางหลักในการทำงาน

 

เมื่อผมได้มีโอกาสมาทำงานกับครูบาสุทธินันท์ อย่างใกล้ชิด แบบ มองหัวแม่เท้า ก็รู้ใจ (คำพูดของครูบา) ทำให้ผมยิ่งตระหนักว่าแนวคิดในการทำงานของครูบา และมหาชีวาลัยนี่เป็นสุดยอดแห่งการบูรณาการ และเป็นงานที่ผมหาที่ทำแบบนี้มานาน

 

ที่เริ่มตั้งแต่การบูรณาการ ของ

·        ระบบส่วนตัว

·        ระบบครอบครัว

·        ระบบทรัพยากรของตนเอง และครอบครัว

·        ระบบการทำงานกับเพื่อนฝูงและเพื่อนร่วมงาน

·        ระบบการการทำงานกับเกษตรกรผู้นำ กลุ่ม และชุมชนในทุกระดับ

·        ระบบการทำงานกับองค์กรในชุมชน

·        ระบบการทำงานกับระบบราชการ ทั้งในพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ

·        ระบบการทำงานกับนักการเมือง ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ภาค และประเทศ

·        ระบบการทำงานกับสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ

·        ระบบการทำงานกับองค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรชุมชน

·        ระบบการทำงานและประสานงานวิจัย และพัฒนา ทั้งของภาครัฐ และภาคอกชน และองค์กรต่างประเทศ

·        ระบบการประสานงานระหว่างการเรียน การสอน การบริการทางวิชาการ และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามภาระงานของอาจารย์มหาวิทยาลัย

·        ระบบการประสานงานข้อมูลและเครือข่ายในพื้นที่ ในองค์กร และในระบบอินเตอร์เนต

·        ระบบการทำงานเชื่อมโยงกันทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

·        ระบบการประสานงานแผนและนโยบาย ทั้งด้านบุคลากร แผนงาน และงบประมาณ

·        ระบบการทำงานประสานพลังชุมชนและมวลชน

·        ฯลฯ (มีอีกมากมาย จารนัยยังไง ก็ยังไม่หมด) 

ระบบต่างๆ ที่เป็นสายเลือดใหญ่ของการทำงานแบบบูรณาการในมหาชีวาลัย ทำให้ผมได้ตระหนักอย่างชัดเจนว่า

 

มหาชีวาลัย หัวใจอยู่ที่บูรณาการ ครับ

 ครูบา นักศึกษา และแกนนำทั้งหลายเห็นด้วยไหมครับ 


ความเห็น (18)

น้อมรับครับ ท่านเล่าฮู

หัวใจมหาชีวาลัย คือหัวใจบูรณาการ

ปัญหาที่พบเห็นทั่วไป คือการบูรณาการฝ่ายเดียว ไม่ได้ผล ต้องบูๆๆๆนาๆๆๆการๆๆๆทั่วถ้วนทุกคน วัฒนธรรมไทยมีจุดแข็งเรื่องนี้  แต่ก็ไม่นำมาใช้

"หนุ่มนาข้าว สาวนาเกลือ" บูราณาการหัวใจ

ใครไม่เคยมีรัก อย่ามาตอบนะว่าไม่รู้จักบูรณาการ

ไม่อย่างนั้นจะไปจับคู่กับใครได้

  ช่วงนี้ คำว่า บูรณาการยังเป็นเพียงคำพูด

ยังไม่นำเข้ามาสู่การปฏิบัติ

ถ้าประเทศนี้ปฏิรูปการทำงานบูรณาการทั้งระบบ

เราเจริญแซงหน้าสิงคโปไปแล้ว ไม่ปล่อยให้เขามาเหยียบจมูกอย่างนี้หร๊อก!

สวัสดีค่ะท่าน ดร.แสวง และครูบาที่เคารพ

  • ครูอ้อยสนใจเรื่องของบูรณาการ  แต่ยังไม่ถ่องแท้เพราะไม่ได้ปฏิบัติค่ะ
  • ท่าน ดร.แสวงคะ  เรียนเชิญอ่านบันทึกนี้หน่อยค่ะ  ครูอ้อยพิสูจน์ว่าโลกกลมกับดร.แสวง
  • ไม่ต้องตอบก็ได้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

อ่านแล้วค่ะ หนูเห็นด้วยกับท่านครูบาที่ว่า

ถ้าประเทศปฏิรูปการทำงานบูรณาการทั้งระบบ

เราเจริญแซงหน้าสิงคโปไปแล้ว ไม่ปล่อยให้เขามาเหยียบจมูกอย่างนี้

การทำงานที่เป็นระบบที่ทำหลายหน่วยงานหลายคนทำ เป้นงานที่ยากเพราะต่างคนต่างมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป   ไม่ลงรอยกันดังงนั้นการบุรณาการไม่เกิดขึ้น  จึงคิดว่าเป็นเรื่องยาก  เลยไม่ทำกันลย  ใช่ไหมคะ  ต่างคนต่างไม่รุ้ ไม่รุ้ทำให้เกิดความกลัว กลัวแล้วไม่กล้าทำไรเลย   ใช่ไหมคะ

 

คำนี้กำลังจะเก่าเก็บ อ่อนล้า และล้าสมัย ทั้งที่ยังไม่ได้ใช้ เช่นเดียวกับคำว่า เกษตรยั่งยืน เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ ฯลฯ แต่ ผมเชื่อว่าสาระของการบูรณาการไม่มีวันตายครับ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติครับ

ผมอยากจะขอร้องให้นักวิชาการทั้งหลาย

  • เลิกล้อเล่น และล้อเลียน
  • เลิกข่มขืน
  • และเลิกเหยียบย่ำ ทับถม

แล้วเราจะได้มีโอกาสนำมาใช้อย่างเป็นปกติ ไม่ตะขิดตะขวงใจ ไม่ว่า จะคิด พูด เขียน

ก็ทำได้อย่างมีอิสระ

ขอขอบพระคุณที่ไม่ทำลายคำที่มีคุณค่านี้ ด้วยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ยิ่งถ้าเราทำได้แล้วทำอย่างเป็นระบบ ประเทศไทยคงเจริญมากกว่านี้ เพราะไม่มีตัวฉุดรั้ง
การทำงานทุกอย่างในชีวิตก้อไม่พ้นคำว่าบูรณาการ
  • มาให้กำลังใจครับ
  • อย่าเพิ่งอ่อนล้านะครับ
  • ผมได้ความรู้จากที่นี่มากกว่าอ่านหนังสืออีกครับอาจารย์ เรียนภาษาอังกฤษ ยังบูรณาการได้เลยครับ
การบูรณาการหนูก็คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ยาก หนูคิดเหมือนกับหลายคนที่กลัวการบูรณาการเพราะการทำให้หลายคน หลายความคิดมารวมเป็นหนึ่งเดียวมันเป็นอะไรที่  ยาก  แต่ถ้า  ทำได้มันก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ ถ้าเรากลัว แล้วไม่ลองทำเลย เราก็ไม่รู้ว่า การบูรณาการเป็นเหมือนที่เรากลัวกันจิงหรือไม่ ลองผิด ลองถูก จะสำเร็จหรือไม่นั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การบูรณาการ เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ในความคิดของหนู

จากที่ได้อ่านมาการบรูณาการเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการที่เราจะทำสิ่งใดๆให้ประสบความสำเร็จจะต้องเริ่มที่ตัวเราเริ่มบรูณาการตัวเราเองเสียก่อนแล้วค่อยนำไปบอกคนอื่นๆได้ชีวิตจึงจะประสบแต่ความสำเร็จมีแต่ความสุข

บูรการไม่ใช่เรื่องยากเกินทำ หากไม่เกี่ยงที่จะเริ่มต้นปฏิบัติ

 

ขอบคุณครับ ยังไม่ล้าหรอกครับ

การทำงานกับคนหลายคนเป็นเรื่องยากต่างคนต่างความคิด เราจึงไม่ชอบที่จะทำงานเป็นกลุ่ม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท