ร่วมประชุมเรื่องไอซีทีและชุมชนบ้านสามขา


ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ นำเสนอให้เห็นพัฒนาการของชุมชนนี้ โดยเริ่มจากน้าติ๋มที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยแก้ปัญหาการจัดสรรผลกำไรของร้านค้าชุมชน การเข้าไปช่วยเหลือของพันธมิตรเช่น บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารกรุงไทย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร หรือบริษัทซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด
จากการเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานอกโรงเรียน ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ ระหว่าง 1 – 3 พฤศจิกายน 2549 ทำให้ทราบความเป็นมาของชุมชนบ้านสามขา ซึ่งเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ นำเสนอให้เห็นพัฒนาการของชุมชนนี้ โดยเริ่มจากน้าติ๋มที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยแก้ปัญหาการจัดสรรผลกำไรของร้านค้าชุมชน การเข้าไปช่วยเหลือของพันธมิตรเช่น บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารกรุงไทย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร หรือบริษัทซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด การมีครูศรีนวล วงค์ตระกูล เป็นผู้ประสานงานที่ยอดเยี่ยมในชุมชน การเรียนรู้ของเยาวชนในการใช้เครื่องระบุพิกัดบนพื้นโลก (GPS = Global Positioning System) ในงานระบุตำแหน่งของฝายชะลอน้ำ หรือระบุตำแหน่งของไฟป่า เพื่อเข้าไปดับไฟได้อย่างทันเหตุการณ์
การประชุมครั้งนี้แบ่งกลุ่มปฏิบัติการเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ ไอซีที (ICT = Information and Communication Technology) เพื่อการพัฒนาชุมชนชนบท อีเลินนิ่งในการศึกษานอกโรงเรียน และ ไอซีทีเพื่อการบริหารจัดการการศึกษานอกโรงเรียน โดยผู้เขียนเข้าในกลุ่มอีเลินนิ่ง ซึ่งมี อ.สุวัฒน์ ธรรมสุนทร ผู้ชำนาญด้านมัลติมีเดีย ให้ความรู้เรื่องมาตรฐานสกอร์ม(SCORM) ที่สามารถสร้างด้วย Learnsquare.com ที่พัฒนาโดย Nectec ให้ความสะดวกเรื่องสถานที่ และประสานงานภายในกลุ่ม จนได้ข้อมูลไปนำเสนอข้อสรุปต่อที่ประชุมร่วม สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนของกลุ่มอีเลินนิ่งคือ การได้พันธมิตร การร่วมกันรวบรวมเนื้อหาวิชาพื้นฐานที่มีอยู่หลายรุ่นให้เป็นหมวดหมู่ และให้ความสำคัญต่องานประชาสัมพันธ์เว็บไซต์มากขึ้น เพื่อให้เยาวชนทั่วไป หรือนักศึกษาของกศน. สืบค้นได้โดยง่าย
ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ จังหวัดลำปาง นำไปใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชนบ้านสามขา(http://samkhaschool.haii.or.th) ทำให้เกิดกิจกรรมมากมาย อาทิ การส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือน ค่ายภาษาอังกฤษ ค่ายคอมพิวเตอร์ ค่ายวิปัสสนา โครงการพักแรมระยะยาว (Long Stay) ธนาคารสมอง ธนาคารชุมชน การจัดทำแผนชีวิต การจัดการน้ำ การป้องกันไฟป่า ตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ชุมชน เป็นต้น ความสำเร็จของชุมชนบ้านสามขาเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะทุกคนเชื่อว่าการเรียนรู้จากความสำเร็จของคนอื่นย่อมดีกว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง จึงมีหน่วยงานมากมายเข้าไปศึกษาดูงานไม่น้อยกว่าปีละ 100 คณะ สำหรับนักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยโยนกที่นำโดยอ.ชารินี ไชยชนะ ได้เข้าไปศึกษาดูงานที่ชุมชนแห่งนี้ในปี 2548 แล้วหน่วยงานของท่านไปดูงานที่ชุมชนนี้หรือยัง
คำสำคัญ (Tags): #กศน#บ้านสามขา
หมายเลขบันทึก: 73335เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
   ดีใจที่เห็นบทความของอาจารย์ครับ เพราะว่าเป็นเรื่องดีๆ และเป็นเรื่องที่ควรนำไปเป็นแนวปฏิบัติ และผมขอเล่าเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการประชุมปฏิบัติการที่ลำปางเมื่อเดือนพฤศจิกายนครับ ในเดือนธันวาคม ทาง UNESCO ได้จัด Workshop เกี่ยวกับเรื่อง ICT ที่เมือง SOLO ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ คือ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น การประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำเอา ICT ไปใช้ ซึ่ง ดร.สุชิน ก็ได้นำเสนอการพัฒนาที่บ้านสามขา เป็นกรณีศึกษาของประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ดังนั้น ขอสนับสนุนแนวคิดของอาจารย์ครับ ว่าเราควรไปดูว่าทำอย่างไร โดยศึกษาสิ่งที่ดีๆ จากบ้านสามขาครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท