เรียนคุณชายขอบ


จัดกระบวนการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมาย สรุปบทเรียน ปรับปรุง ทำใหม่จนบรรลุเป้าหมายรายทาง ถอดบทเรียนเพื่อขยายผล ทำอย่างนี้กันทุกตำบล งบประมาณและกำลังคนของเราน่าจะพอเพียงครับ

อยากฟังความเห็นคุณชายขอบต่อระบบมาตรฐานงานชุมชน(มชช.)ของพช. หากจะใช้เป็นตัวเดินเรื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองของคนในแต่ละบทบาท แบ่งหลักๆเป็น 3 บทบาทคือคุณกิจ คุณอำนวยและคุณเอื้อ โดยคุณกิจถ้ามาจากอสม.ก็พัฒนาตนเองเพื่อเป็นอสม.ที่มีคุณภาพ ถ้าใช้ชุมชนระดับตำบลเป็นหน่วยดำเนินการ โครงการของสธ.ที่เป็นแผนงานประจำจากกรมมีเรื่องอะไรบ้าง และหากจะเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆเพื่อให้ชาวบ้านไม่ต้องสวมหมวกหลายใบควรทำอย่างไรครับ

ผมมีความคิด อยากให้เกิดวงเรียนรู้คุณอำนวยจากทุกหน่วยงานที่มีกองกำลังสนับสนุนในพื้นที่ เดียวกัน มีการลปรร.กันเดือนละอย่างน้อย1ครั้งจากงานที่ตัวเองรับผิดชอบ โดยให้ชุมชนเป็นแกนกลางของการพัฒนา ดูที่เป้าหมายของชุมชนว่าจะพัฒนาไปบรรลุอะไร (แผนสุขภาพ แผนแม่บทชุมชนน่าจะเป็นต้นแบบได้ โดยเสริมแนวคิดเรื่องการจัดการความรู้) และจะทำอย่างไร หน่วยงานก็จัดวงเรียนรู้คุณอำนวย ชุมชนก็จัดวงเรียนรู้คุณกิจ งบก็เอามารวมกันบ้างแยกกันบ้าง ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายและตัวชี้วัดตามรายทางทั้งคุณกิจและคุณอำนวย จัดกระบวนการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมาย สรุปบทเรียน ปรับปรุง ทำใหม่จนบรรลุเป้าหมายรายทาง ถอดบทเรียนเพื่อขยายผล ทำอย่างนี้กันทุกตำบล งบประมาณและกำลังคนของเราน่าจะพอเพียงครับ

คำสำคัญ (Tags): #วงคุณกิจ
หมายเลขบันทึก: 7313เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2005 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

     ผมเจอโจทย์หิน แต่เคิมเคยคิดว่าจะค่อย ๆ ต่อจิ้กซอร์นี้เสนอพี่ภีมไปเพื่อขอความเห็น ซึ่งก็ลองทำดูบ้างแล้ว (ยังไม่เรียบร้อย)

     ผมลองเอาเป็นกรอบคิดที่วางไว้ก่อนนะครับ ส่งให้พี่ดูก่อน ซึ่งเป็นดังนี้ครับ

                        การจัดการความรู้ชุมชน
                                      ^
                                      :
  ถอดบทเรียน เป็นระยะ ๆ เช่น 2 เดือนครั้ง หรือเครื่องมืออื่น ๆ
                                      ^
                                      :
    แผนพัฒนาชุมชน (แผนพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน)
     ^                                  ^                               ^
     :                                   :                                 :
    ชุมชน        +        อบต./เทศบาล     +      หน่วยงานราชการ

      อสม.                 พัฒนาชุมชนฯ              เกษตร
      ผู้สูงอายุ             คลัง                           สาธารณสุข
      อพม.                 โยธา                         มหาวิทยาลัย
      ผู้นำฯ                 ศึกษา                        การศึกษาพื้นที่
      ส.อบต.              ปลัดฯ                        ปกครอง 
      ข้าราชการ          สภาฯ                         พัฒนาชุมชน
      แม่บ้านฯ            ทีมผู้บริหาร                     ฯลฯ
      ส.ออมทรัพย์   (คุณอำนวย > คุณกิจ)    (คุณเอื้อ > คุณอำนวย)
      ส.กองทุนฯ
      ประชาชน
      เยาวชน
      ฯลฯ
(คุณกิจ > คุณอำนวย)

     ตามที่เปิดประเด็นไว้ที่บันทึกนี้ และที่ต่อเนื่องจาก บูรณาการการทำงานของหน่วยสนับสนุนภาครัฐและวิชาการ เริ่มจากมชช. นั้น ผมเห็นด้วยกับแนวคิดที่พี่ภีมได้ลองนำเสนอมาครับ โดยเฉพาะประเด็นความเพียงพอของกำลังคน และงบประมาณ เพราะสิ่งนี้ผมเคยทบทวนว่าถ้าได้บูรณาการกันดี ๆ แล้วงบประมาณที่มาถึงชุมชนจริง ๆ จะพอเพียง โดยที่ไม่เป็นการไปทำร้านชุมชนโดยส่วนราชการเข้าไปรุม (พัฒนา) ด้วย อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนได้รับความเป็นธรรมในการพัฒนาด้วยครับ

     ประเด็นโครงการของสาธารณสุขนั้น ในปัจจุบันจะลดความเป็น topdown ลงไปเยอะเหมือนกัน ที่เห็นก็เป็นโครงการ vertical programe ของ สปสช.เป็นส่วนใหญ่ อันนี้เป็นผลพวงมาจากการปฏิรูประบบการเงินการคลังจากโครงการ 30 บาทฯ เงินงบประมาณที่ลงไปชุมชนในรูปงบส่งเสริมและป้องกันโรค (P&P) จะมากกว่าแต่ก่อน ซึ่งงบส่วนนี้ถ้าทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้จริง จะเป็นงบประมาณส่วนที่ทำให้ชุมชน คิดเอง ทำเอง รับผลประโยชน์เอง และที่สำคัญได้เรียนรู้เอง จริง ๆ จากโอกาสนี้นี่เองที่ผมและ นพ.ยอร์น จิระนคร (นพ.สสจ.) เห็นเป็นโอกาสสำคัญ และอยากเห็นประสิทธิภาพของเงินงบประมาณด้วย เนื่องจากระบบราชการเปิดแล้ว แต่ใจข้าราชการยังเปิดไม่หมด จึงเกิดเป็น "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" ครับ

     ในช่วงปีที่ 2 ของโครงการนี้จึงได้เขียนเป็นบันทึกไว้ที่ ไตรภาคีฯ ในระยะปีที่ 2 จะเดินเรื่องอย่างไรต่อไป พี่ลองติดตามดู และโปรดให้ความคิดเห็นเพื่อ "เพื่อนช่วยเพื่อน" บ้าง ประสบการณ์ของพี่ที่มีอยู่มากมายผมหวังไว้ว่าวันหนึ่ง เวลาหนึ่ง จะไป capture มาให้ได้ครับ ยังไงก็ถือโอกาสนี้ขอปันซะดื้อ ๆ เลยนะครับ

เห็นด้วยกับกรอบคิดของชายขอบมาก ในส่วนของสถาบันการศึกษาผมเห็นว่าถ้าบูรณาการการเรียนเข้ากับการทำงานหรือวิถีชีวิตก็คือการปรับหลักสูตรการเรียนที่พัฒนามาจากความรู้ฝังลึกถอดเป็นความรู้ชัดแจ้งส่วนหนึ่งกับความรู้ชัดแจ้งจากภายนอก   ที่เข้ามาเติมการเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนในแต่ละระดับให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก(ภายนอก)และจิตวิญญาณ(ภายใน)โดยเชื่อมโยงการศึกษาในระบบ นอกโรงเรียนและตามอัธยาศัยเข้าด้วยกันตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา

ระบบการศึกษาเพื่อรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและสถาบันทางศาสนาเพื่อรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของจิตวิญญาณขาดการเรียนรู้ปรับเปลี่ยน(จัดการความรู้)เพื่อสนับสนุนให้วิถีชีวิตในโลกปัจจุบันรู้เท่าทันตนเองและโลกเพื่อมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะโลกทั้งผองพี่น้องกัน

ตอนนี้ท่านผู้ว่าวิชม ทองสงค์ นครศรีธรรมราชมีแนวทางสนับสนุนกระบวนการจัดการความรู้อย่างเต็มรูปแบบในพื้นที่400   หมู่บ้านเชื่อมโยงกับงานชุมชนเข้มแข็งของน้าประยงค์ รณรงค์ หวังว่าจะมีโอกาสเรียนรู้จากงานของชายขอบและทีมงานโดยจะขอเชิญมาเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่นครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท