ตัวแทน สมศ.กับการประเมินคุณภาพภายนอก


ตัวแทน สมศ.กับการประเมินคุณภาพ อะไรคือสิ่งที่โรงเรียนต้องเตรียมการ

 จากบันทึกที่แล้วที่ผมแจ้งว่าจะเล่าให้ฟังหลังจาก ตัวแทนสมศ. บริษัท....... ซึ่งผู้เป็นกรรมการประเมิน ๓ คน เป็นอดีตข้าราชการครูที่เป็นข้าราชการบำนาญ จากจังหวัดที่อยู่รอยต่อกับ จ.เลย ก็คิดอยู่นานว่าจะเล่าอย่างไรดี เพราะผลการประเมินที่ได้ก็น่าพอใจ คือ มาตรฐานด้านครู ๒ มาตรฐาน ได้ ดีมาก มาตรฐานด้าน ผู้บริหาร ๕ มาตรฐาน ได้ ดีมาก ส่วนมาตรฐานด้านผู้เรียน ๗ มาตรฐาน ได้ ดีมาก ๔ มาตรฐาน ได้ ดี ๓ มาตรฐาน  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีตามข่าวในหนังสือพิมพ์ว่า ผอ.สมศ.ได้ให้ข่าวว่ามีหลายโรงเรียนที่ถูกประเมินแล้วอยู่ในขั้นโคม่า ซึ่งมาตรฐานด้านผู้เรียนนี่แหละที่มักจะได้คุณภาพต่ำ สมศ.จึงปรับลดเกณฑ์การประเมินในมาตรฐานที่ ๕(ผู้เรียน) ให้ต่ำลง เพราะมาตรฐานด้านนี้จะตรวจสอบจากผลการเรียนเฉลี่ยใน๘ กลุ่มสาระของนักเรียนระดับสูงสุดของช่วงชั้น ถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่สอนถึง ม.๖ ก็คือ คิดคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาของนักเรียนชั้น ม.๓ และ ม.๖ นั่นเอง จากผลประเมินที่มักจะได้ระดับ พอใช้ หรือปรับปรุงกันมากในมาตรฐานนี้ เป็นเพราะว่า ประเด็นแรก ตัวป้อนคือนักเรียนที่อยู่ห่างไกลมักขาดโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนและสติปัญญามักจะอ่อนกว่านักเรียนในโรงเรียนที่มีความพร้อมเพราะด็กเก่งแห่กันไปเรียนโรงเรียนที่พร้อมกว่า ประเด็นที่ ๒ หากใช้ผลการสอบระดับชาติที่กระทรวงจัดสอบนักเรียนก็ทำคะแนนได้ไม่ดี และไม่เตรียมตัวมากนักเพราะมีช่วงหนึ่งที่มีการทดสอบวัดความรู้โดยสำนักงานทดสอบ แต่ก็ไม่ไนผลการสอบมาใช้ทำอะไรจึงคิดว่าไม่เกี่ยวกับผลการเรียน และปีที่ผ่านมาโรงเรียนสามารถเลือกสอบหรือไม่สอบก็ได้ ครั้งนี้ สมศ.จึงให้ใช้ผลการสอบของโรงเรียนเอง (หากมองอีกมุมหนึ่งก็อาจจะทำให้โรงเรียนปล่อยคะแนนปล่อยเกรดก็เป็นได้ เพียงเพื่อให้โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพ ได้รับป้ายมาติดหนาโรงเรียน...น่าคิด น่าเป็นห่วงนะครับ)   ประเด็นอื่น ที่อยากเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็คือ สมศ.เข้ามาดู ๓ วัน สามารถตรวจวินิจฉัยโรคของโรงเรียนได้จนชี้ขาดว่าสุขภาพดีมาก หรือเจ็บป่วยได้จริงหรือ ซึ่งมักจะพบ และสวนทางกับ สมศ.ที่เชิญโรงเรียนไปรับฟังว่า ห้ามไม่ให้ครูในโรงเรียนเขียนข้อมูลภาคสนามให้ ผู้ประเมินต้องเขียนเอง หาข้อมูลเองโดยโรงเรียนแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลต่าง ๆ อยู่ที่ใด แต่ในความเป็นจริง โรงเรียนต้องช่วยหาข้อมูล ต้องเขียนร่างให้บ้างเพราะลำพังผู้ประเมินคงทำเองไม่เสร็จแน่ การให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกก็ต้องทำ จึงอาจกระทบต่อคาบสอน ต่อการเรียน ต่องานที่ทำอยู่บ้าง อันนี้เชื่อว่าทุกคนคงยินดีและเสียสละให้เพราะมีผลต่อการประเมินของเราโดยตรง ที่สำคัญความเป็นกัลยาณมิตรต้องมีให้แก่กันและกันอยู่แล้วเพราะธรรมเนียมไทยทุกคนทราบดี และปฏิบัติต่อกันอย่างดี คงไม่มีโรงเรียนใดที่คิดจะเป็นปฏิปักษ์หรือต่อต้านผู้ประเมิน เพราะเขามาอย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่ สมศ.รับรอง แต่จะเชื่อได้อย่างไรว่าแต่ละคณะ แต่ละบริษัทจะมีมาตรฐานเท่ากัน ทั้งนี้บุคลากรในโรงเรียนต้องช่วยกันให้ข้อมูล ต้องชี้แจงให้เห็นผลงานที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์การประเมิน รวมทั้งตองช่วยกันโต้แย้งหากผลประเมินไม่ตรงกับที่เราประเมินตัวเรา และให้ข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติม  ที่กล่าวมายืดยาวบ้าง ไม่ใช่ว่าเราไม่พอใจ ที่เราได้ผลการประเมินมานี้เราพึงพอใจแล้วและเป็นการสะท้อนให้เรามุ่งพัฒนาให้คุณภาพนักเรียนเราสูงขึ้นอีก เป็นเพียงแต่ตั้งข้อสังเกตให้เห้นว่าหากโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการประเมิน ไม่ศึกษาเรียนรู้จากโรงเรียนที่ประเมินมาแล้วไว้ล่วงหน้าอาจจะทำให้เราเสียดายเวลาในการเตรียมการในหลายจุดที่มักจะเป็นจุดอ่อนของโรงเรียน 

 

บรรจง  ปัทมาลัย ๑๓ มกราคม ๒๕๕๐ ๑๗.๓๙ น.

หมายเลขบันทึก: 72468เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อยากเห็นการประเมินตามสภาพจริง มากกว่าการประเมินเอกสารอย่างเดียวครับ สงสารคุณครู
  • ได้เอกสารรูปเล่มผลการประเมินมาหลายเดือนแล้ว จริง ๆ ตัวเอกสารนั้นได้ระดับดี 5 มาตรฐาน เป็นของครู 2 มาตรฐานซึ่งไม่ตรงกับที่บันทึกไว้ อันที่จริงก็ได้เกือบดีมาก คือ ประมาณ 3.4กว่า ๆ
  • เกียรติบัตรรับรองก็ได้มาแล้ว ได้ทำไวนิลแผ่นใหญ่ติดไว้หน้าโรงเรียน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดให้มีการเผยแพร่
  • และที่น่ายินดีคือได้รับคัดเลือกเข้ากลุ่มโรงเรียนประเภทที่ 1 ที่ได้รับการกระจายอำนาจ เพราะกติกาคือ นร.มากกว่า 500 ผลประเมิน สมศ.ภาพรวมระดับดีขึ้นไป(เราทำได้ดีมาก)
  • และวันนี้ได้รับโล่จาก สพท.ลย.1ที่ได้รับผลการประเมินรอบสองระดับดีมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท