ระบบแลกเปลี่ยนกับเงินตราชุมชน


ต้องการการจัดการเชิงระบบที่ต่อเนื่องกับคนที่หลากหลาย

ระบบแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองคือการทำวงแลกเปลี่ยนย่อยภายในชุมชนให้เป็นระบบเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนได้มากขึ้นทั้งจำนวนสินค้า(การผลิต แปรรูป และบริการ)และจำนวนรอบ ก่อนที่จะออกไปเชื่อมโยงกับภายนอก

เป็นการกระจายทรัพยากรและรายได้ เพื่อทำให้ชีวิตมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

การจัดระบบแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินตราชุมชน ทำให้การแลกเปลี่ยนกว้างขวางขึ้น โดยไม่แขวนสินค้าไว้กับระบบดอกเบี้ย

อาจไม่จำเป็นสำหรับคนที่รู้เท่าทัน มีความพอประมาณ แต่จำเป็นสำหรับชุมชน ถ้าต้องการการจัดการเชิงระบบที่ต่อเนื่องกับคนที่หลากหลาย

ก็เหมือนเงินบาท แต่มีขอบเขตการใช้ จึงเป็นภูมิคุ้มกันในการเชื่อมต่อกับภายนอกที่หวังเข้ามาหลอกล่อเงินบาทในกระเป๋าทุกวิถีทาง

หมายเลขบันทึก: 72467เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เป็นความคิดที่ดีครับ  กรณีบี้มี "เบี้ยกุดชุม" ท่านอาจจะเคยได้ยินแล้ว  น่าจะเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบที่ท่านกล่าวถึง  ได้ข่าวว่าไม่ค่อยจะราบรื่นนัก

แต่มีชุมชนที่ใช้ระบบเงินตราที่รัฐตามไม่ทัน  และประสบผลสำเร็จมากครับ  ท่านลองศักษาระบบเงินตราของ "ชุมชนออนไลน์ หรือ ชุมชนเสมืองจริง" ดูนะครับ  อาจจะนำมาประยุกต์ใช้กับ "ชุมชนจริง" ได้

ด้วยความเคารพ
สวัสดิ์
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ
ขอบคุณคุณภีม ที่เปิดช่องทางสื่อสารให้กับระบบแลกเปลี่ยนและเงินตราชุมชน   ขอบคุณคุณสวัสดิ์ที่กรุณาแนะนำ "ชุมชนออนไลน์ หรือชุมชนเสมือนจริง" ซึ่งคงจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันต่อไปค่ะอันที่จริง  เงินตราชุมชน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบแลกเปลี่ยนชุมชน (ลองดูความคิดเห็นที่ 1 ที่ดิฉันตอบเกี่ยวกับกลุ่มจะนะ ใน blog ของคุณภีมนะคะ) เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ชุมชนหันหน้าเขามาหากันเพื่อช่วยกันจัดการระบบเศรษฐกิจของตนเอง   “เงินตราชุมชน เป็นแนวคิดตะวันตก  ซึ่งกลุ่มชาวบ้านใน 13 จังหวัดที่ร่วมโครงการกับเรา เห็นว่า ทำได้ยาก แต่การแลกเปลี่ยนแบบของแลกของ แลกแรงงาน และการให้ ทำได้ง่ายกว่า (เป็นการแลกเปลี่ยนที่ไม่ต้องใช้เงินเป็นสื่อ) แต่อย่างไรก็ตาม มีการทดลองทำเงินตราชุมชนในรูปแบบของตนเองที่น่าสนใจอีก 2 พื้นที่ นอกเหนือจากกุดชุม คือ ที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์เมืองปราสาท  จ.นครราชสีมา    และที่ชุมชนพวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี   และที่เพิ่งเริ่มทดลองอีกหนึ่งพื้นที่คือ กลุ่มอีโต้น้อย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ค่ะดิฉันคิดว่า เราทุกคนกำลังมุ่งมาสู่ทิศทางเดียวกัน คือ การหาทางเลือก หรือ ทางออก เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง อยู่เย็นเป็นสุข  อันเป็นฐานรากที่จะสร้างพลังต่อรองของชาวบ้าน เพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย ที่ทุกคนได้อยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและมีศักดิ์ศรีอย่างแท้จริง ปัจจุบันเราเห็นทางเลือกที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน   ในเรื่องเศรษฐกิจ  กลุ่มองค์กรการเงินชุมชนมีพลังมากที่สุดในปัจจุบัน   องค์กรการเงินชุมชน เน้นการพัฒนาคน พัฒนาสวัสดิการ และการจัดการเงินตราที่มีอยู่จำกัดในพื้นที่    เรามีกลุ่มต้นแบบที่สงขลา ตราด ลำปาง  โดยเฉพาะที่สงขลา  ครูชบได้พัฒนาสิ่งเหล่านี้มาเกือบตลอดอายุของครู  และกำลังส่งผลที่ทรงพลังในปัจจุบันเกษตรอินทรีย์ก็เป็นทางเลือกในด้านการผลิต มีพัฒนาการและต่อสู้มานานกว่า 20 ปี เช่นกัน จนออกดอกออกผลในปัจจุบันเมื่อเทียบกับประสบการณ์เหล่านี้   ระบบแลกเปลี่ยนชุมชนและเงินตราชุมชนเป็นเรื่องใหม่ ที่เราเพิ่งมารื้อฟื้น มาเรียนรู้กับมันใหม่  ต้องการการจัดการเชิงระบบอย่างที่คุณภีมว่า และพันธมิตรก็ยังไม่มากพอ  ซ้ำยังมีอุปสรรคจากความไม่เข้าใจของหน่วยงานของรัฐในช่วงเวลาหนึ่ง    ในขณะที่ระบบขององค์กรการเงินชุมชน พยายามจัดการกับเงินที่มีอย่างจำกัดให้เกิดพลัง    ระบบแลกเปลี่ยนชุมชน ใช้หนทางการลดการพึ่งพาเงินตรา   ทั้งสองระบบประสานพลังกันได้ แล้วแต่ชุมชนจะเลือกออกแบบ เลือกใช้     ขอเพียงให้ชุมชนมีเวลา มีข้อมูล มีโอกาส และเห็นความสำคัญของการหันหน้าเข้าหากันเพื่อช่วยเหลือกันและกัน   หน่วยงานภายนอกหากไม่ได้เข้ามาสนับสนุนก็ไม่ควรด่วนสรุปและรีบปิดโอกาสอย่างที่เป็นมา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท