R2R : อีกครั้งในวันนี้...และวันข้างหน้า


R2R อีกครั้งในวันนี้...ที่ต้องทบทวนร่วมกับศูนย์วิจัย

Text : Ka-Poom

......................................................................

----------->หลังจากที่ทบทวนในบทบาท ทิศทาง การอำนวยในภารกิจกระตุ้นให้ R2R เดินต่อ คนทำไม่ท้อ...และสนุกคึกคักกับการทำ(ดั่งคำของ อ.หมอวิจารณ์)....
ดิฉันได้รับโทรศัพท์จาก นพ.วิทยา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย...โทรปรึกษาหารือในฐานะที่ดิฉันเป็นเลขานุการศูนย์วิจัยด้วย
คุณหมอวิทยา...บอกว่าอยากรื้อระบบศูนย์วิจัยใหม่...เพราะตอนนี้นิ่งเงียบมากเลย
และที่สำคัญศูนย์วิจัย..ไม่มีงานวิจัยป้อนวารสาร..."ยโสธรเวชสาร"เลย
ทันทีทันใด...ในหัวใจและเกิดความคิดปิ๊งแว๊บ...ขึ้นเลยค่ะ

โอกาส

ได้โอกาสที่...ดิฉันจะขอเสนอ..ให้ทางศูนย์วิจัยผนวก..."โครงการ R2R" เข้าไปในส่วนหนึ่งของศูนย์วิจัยด้วย
เพราะทางโครงการ R2R นั้นได้มีแผนงบประมาณดำเนินการประจำปี...แล้ว..
แต่สิ่งที่จะได้ร่วมกัน คือ ศูนย์วิจัยก็ได้ผลงานร่วมด้วย มีงานวิจัยต่อเนื่อง...
โครงการ R2R ก็จะได้หลักประกันว่า...จะมีการสนับสนุนการทำโครงการที่ขยาย...ออกไปวงกว้างขึ้นอีกจากที่เน้นและเกิดเฉพาะที่กลุ่มการพยาบาล...

ดังนั้น น่าจะเป็นข่าวดี...ได้ในการบูรณาการงานสองงานเข้าด้วยกัน
คือ...โครงการ R2R & ศูนย์วิจัย
ความคิดนี้ผุดและคุกกรุ่นอยู่ในใจดิฉันอย่างมาก...
คาดว่า สัปดาห์หน้าดิฉัน...กลับไปที่โรงพยาบาลยโสธร...จะต้องรีบรื้อร่างคณะกรรมการเดิมศูนย์วิจัย...จัดร่างคณะกรรมใหม่
และร่างวาระ...การประชุม...พร้อมนำเสนอไอเดียที่พุ่งอยู่ในความคิดนี้...ต่อที่ประชุมด้วย
ทำงานทั้งที..ดิฉันมองว่า...น่าจะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด...และหลายๆ งานเราสามารถที่จะทำไปพร้อมกันได้

ทำ...สานต่อ

และสิ่งที่ต้องรีบทำอย่างเร่งด่วนตอนนี้ คือ
การรวบรวมและเยี่ยม พบปะ...นักวิจัย R2R ..ที่กำลังทำและทำไปแล้ว...
สำหรับบุคลากรที่ทำพัฒนาคุณภาพงาน...คงต้องเสนอให้ทำในรูปแบบการวิจัยด้วย
เพราะเท่าที่ได้รับ counsult เมื่อสัปดาห์ก่อน..มีงานวิจัยสามเรื่อง...ของพยาบาลเพื่อขอประเมินระดับ 8
ที่พัฒนางานประจำ...และทำในรูปแบบงานวิจัย...ดิฉันคิดว่าน่าจะขอให้ทั้งสามท่าน----------->จดทะเบียนเป็นงานวิจัยในโครงการ R2R ด้วย...เพื่อเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์...และข้อมูลพื้นฐานที่ทางโครงการ R2R เราอยากรวบรวมและเก็บไว้...

พยายามค่ะ..พยายามที่จะให้เนียนเข้าไปในเนื้องาน และชีวิตประจำวันการทำงาน...ของบุคลากร
กระโตกกระตาก...มากก็ไม่ได้ค่ะ...เพราะคนทำงานมักกลัวการเปลี่ยนแปลงและสิ่งแปลกใหม่
ดังนั้น...เราคนรัก..R2R จะพยายามคืบคลาน...เข้าไปฝังตัวอยู่ในชีวิต..."คนทำงาน"..ให้ได้อย่างไม่รู้ตัวค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 72413เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • หลายคนที่รู้จัก ไม่รู้จะเริ่มงานวิจัยกันอย่างไร
  • หลายคนที่รู้จัก แม้จะรู้ว่าจะเริ่มอย่างไร แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำงานวิจัยกันอย่างไร
  • หลายคนที่รู้จัก แม้ว่าจะรู้ว่าทำงานวิจัยกันอย่างไร แต่ไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาทำ (แม้จะใช้เงินไม่มากนัก)
  • หลายคนที่รู้จัก แม้จะรู้ว่าจะหาเงินจากไหนมาทำงานวิจัย แต่ไม่มีเวลาทำ
  • หลายคนที่รู้จัก แม้ว่าจะมีเวลาทำ.....สุดท้ายหยุดลงตรงที่ทำเสร็จ แต่ไม่ได้เขียน
  • ทุกขั้นตอนมีความยาก....ในการเข็นให้เสร็จครับ
  • ทางออกในเรื่องนี้ ดูเหมือนการทำให้งานวิจัยเป็นเรื่องสนุก ......การแข่งขัน เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้งานสนุก.....ดังเช่นโครงการ Patho-Otop ของภาควิชาพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นการให้บุคลากรเสนอโครงการพัฒนางาน ทำงานในช่วงเวลาที่กำหนด แล้วมีการประกวดแข่งขันกัน ทำให้การทำงานสนุกขึ้น มีกำหนดโครงการสิ้นสุดแน่นอน ไม่ยืดเยื้อ ต่อมาโครงการนี้พัฒนาจากงานพัฒนางานประจำ ให้กลายเป็นการทำงานวิจัยโดยการมุ่งเน้นการพัฒนางานประจำมากขึ้น แล้วสนับสนุนงานที่มีแวว ให้ไปถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ
  • การเริ่มต้น เป็นเพียงจุดเล็กๆครับ ทำไป ค่อยๆแก้กันไป ค่อยๆตะล่อมให้ไปในแนวทางที่ต้องการครับ ที่สำคัญคือจะทำอย่างไรจึงจะได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายในการส่งโครงการเข้าร่วมครับ ซึ่งอาจารย์ปารมี สามารถทำได้อย่างประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
  • นั่นเป็นรูปแบบหนึ่งของการสนับสนุนงาน R2R ครับ
  • การเข็นงานพัฒนาให้ไปถึงการเขียนผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ ในความคิดส่วนตัว คิดว่าการมีพี่เลี้ยงที่ดี จะช่วยให้แนวทางนี้ประสบความสำเร็จง่ายขึ้นครับ ดีกว่าเราคอยเป็นกำลังใจ และคอยดูเขาทำงานของเขาเองให้ก้าวหน้าขึ้น
  • เห็นด้วยกับคุณไมโตว่า การมีพี่เลี้ยงที่ดี มีประโยชน์ มาก แต่เป็นในด้านวิชาการเท่านั้น
  • แต่การจะหาพี่เลี้ยงดีๆ นั้นหายากมาก
  • อย่างไรก็ตามจะคอยติดตามผลงาน และรอการแลกเปลี่ยนกับ ยโสธร ครับ
  • แวะมาทักทายกันลืมครับ
  • เชียร์กันเต็มร้อยอยู่แล้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท