MPA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด/Leadership


ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด MPA รุ่นที่ 2

สวัสดีลูกศิษย์กลุ่มมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และชาว Blog ทุกท่าน

          ในวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม นี้ เป็นวันแรกครับ ที่ผมได้รับเชิญให้ไปสอนในรายวิชา  Leadership ให้กับหลักสูตร Master of Public Administration  มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ครับ ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 สำหรับ หลักสูตรนี้ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมได้ไปสอนที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดมาแล้ว อีก 1 หลักสูตร ครับ คือ หลักสูตร Ex-MBA รุ่นที่ 1 ครับ

           และ ก็อย่างเช่นทุก ๆ กลุ่มที่ผ่านมาที่ผมอยากจะให้ความรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้ถูกนำมาประมวลสรุป และถ่ายทอดไปสู่คนอื่น ๆ ในสังคมด้วย ก็ขอให้ใช้ Blog นี้เป็นสื่อกลางของพวกเรา

          สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเข้าไปดูข้อมูลของรุ่นก่อนนี้ก็ คลิ๊กไปที่ Blog:MPA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด/Leadership ครับ

                                   จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

.............................................. 

สวัสดีครับ  ลูกศิษย์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และชาว Blog ทุกท่าน

       

          เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2550 นี้ ผมได้ไปสอนให้กับนักศึกษา MPA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ซึ่งเป็นการสอนวันแรกของผม  ผมคิดว่า มหาวิทยาลัยฯ โชคดีมากครับที่ ได้นักศึกษา MPA เป็นบุคลากรที่มาจากผู้ที่มีความสามารถจากข้างนอกโดยเฉพาะนักธุรกิจและข้าราชการและมาจากต่างจังหวัดมาเรียนด้วย          ผมได้เริ่มการสอนด้วยการให้นักศึกษาออกความคิดเห็นว่า ท่านมีความคิดอย่างไรกับการมีบทบาทของภาวะผู้นำ  และได้มีคำถามให้ไว้ว่า วันนี้คุณได้อะไรบ้าง 1 เรื่องโดยให้แสดงความคิดเห็นแต่ละท่านก่อนกลับ  และผมได้สอนเกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำ โดยเริ่มจากบุคคลที่มีความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในประเทศและต่างประเทศ

 คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กรโดย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

“The Networth of Microsoft is 5% Physical assets, 95%  human imagination”By Bill Gates       

          และหลังจากนั้นผมก็ได้เริ่มจากทฤษฎีที่ผมคิดขึ้นเอง โดยเริ่มจากทฤษฎีทุน 8 ประเภท  ทฤษฎี 5K’s  ทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะผู้นำเน้นรวมพลังของ Competency  โดยอธิบายว่าทฤษฎีต่าง ๆ ของผมสามารถที่จะปรับไปใช้กลับการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างความเป็นผู้นำให้กับผู้เรียนได้ และผมได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความแตกต่างของผู้นำกับผู้บริหาร โดยขึ้นตาราง เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ผมยังให้นักศึกษาได้ดูหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ที่ผมเขียนร่วมกับคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ โดยเน้นเรื่องทฤษฎี 8K's ของผม กับ 8 H's ของคุณหญิงฯ ด้วย

            ในช่วงบ่ายผมได้ให้นักศึกษาดูเทปเกี่ยวกับสู่ศตวรรษใหม่ คุณพารณ อิศรเสนาและผม  เป็นเทปรายการเกี่ยวกับการสัมภาษณ์เรื่องทรัพยากรมนุษย์  และหลังจากนั้นผมก็ได้เริ่มให้นักศึกษาออกความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ตั้งคำถามไว้ตั้งแต่ต้นชั่วโมงว่า วันนี้คุณได้อะไรบ้าง 1 เรื่อง  นักศึกษาได้แสดงความเห็น เช่น

-         ได้รู้จักคิดได้มีความ Active มีการแชร์ความคิด การหาความรู้ไม่เพียงหาในห้องเรียน สามารถหาความรู้ตลอดชีวิต หาความคิดจากข้างนอกด้วย รู้จักใช้อินเตอร์เน็ท  

-         ณ วันนี้เรามีช่องว่าเปรียบเสมือน การสร้างบ้านรากฐานยังไม่ดีพอ ยังไม่มั่นคง อาจจะทรุดหรือพังได้  เราก็ได้เริ่มเห็นถึงภาวะผู้นำ ความเป็นเลิศ ผมก็ได้เสริมว่า ภาวะผู้นำไม่ได้สอนด้วยทฤษฎี แต่เป็นการสอนด้วยตัวแบบที่ดี  เช่น พระเจ้าอยู่หัว ป๋าเปรม  ท่านอานันท์ ปันยารชุน  ท่านป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นต้น และการสอนภาวะผู้นำ เราต้องมีภาวะผู้นำก่อน เช่น Role Model

-         ได้ความภาคภูมิใจ สามารถคุยกับข้างนอกได้ว่าได้เคยเรียนกับผม ได้รู้จักตัวเองว่าเรามีช่องว่างสามารถที่จะได้ความรู้เพิ่มขึ้นได้

-         มีนักศึกษาท่านหนึ่งพูดว่า ตอนแรกรู้สึกเกร็ง ที่ได้เรียนกับผม แต่พอได้สัมผัสกับผมแล้ว ได้เห็นภาพว่านี่คือ นักวิชาการ ที่สามารถบอกได้ว่านักศึกษาแต่ละคนเป็นอย่างไร แต่ยังช่วยเหลือตรงนี้ได้

-         ได้เวลา ได้ 1 ใน 8K's  คือ Happiness มีความสุข ทำให้ผู้ที่เรียนมีความสุขและได้เรียนรู้มากขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ

-         ได้รับความรู้จากการเรียน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

-          Big Picture  ภาวะผู้นำต้องมองภาพใหญ่ก่อน ปัจจัยอันยิ่งใหญ่  คือวัฒนธรรมองค์กร

-         ความเป็นผู้นำ พัฒนาภาวะผู้นำร่วมกัน การเรียนรู้แบบมีความสุข-         ต้องมีการตัดสินใจ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้  แต่ก็ต้องตัดสินใจอยู่เรื่อย ๆ

-         สังคมปัจจุบันต้องมี่ Choice ให้เลือก การสะสมทรัพย์สิน มีการลงทุน รู้จักการใช้เงิน ใช้ทอง เน้นความสามารถในการตัดสินใจให้ดี ซึ้งเน้นว่าเป็น ทักษะของผู้นำหรือ Leadership Skill ซึ่งฝึกได้        และผมยังได้ให้นักศึกษาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง ที่ผมเขียนลงในหนังสือพิมพ์แนวหน้าด้วย และได้ให้อภิปรายกันอีกครั้ง

          และก่อนกลับผมยังได้มีการบ้านเพื่อให้นักศึกษาส่ง Blog ตอบกลับมาถึงผมก่อนวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2550 มี 3 เรื่องด้วยกันคือ

1.    แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง อยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร อธิบายมา 5 เรื่อง

2.    เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร

3.    ทฤษฎี 8 K's , 5k’s, 8H’s เกี่ยวข้องอะไรกับ Leadership                                                                 

                                   จีระ  หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน 14 ม.ค. 50

นักศึกษา MPA  ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด  บรรยากาศการเรียนการสอง MPA

 บรรยากาศการเรียนนักศึกษา MPA

บรรยากาศนักศึกษากำลังทำworkshop

บรรยากาศการจัด Workshop

หมายเลขบันทึก: 72344เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (83)


เว็บไซต์ iKnow ไอโนว์ => คลังข้อมูลข่าวสารแห่งแรกของไทย ข้อมูลอัพเดทข่าวล่าสุดด้วยเทคโนโลยี RSS (Really Simple Syndicate) สามารถค้นหาข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับครบถ้วนอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด อ่านข่าวล่าสุดจากกว่า 30 สำนักข่าวชั้นนำ ทั่วไทย ไม่ต้องเปิดหลายเว็บ เปิดเว็บไอโนว์เพียงเว็บเดียวเท่านั้น สมกับสโลแกนที่ว่า News is useless without iKnow !!  เพียงแค่คลิ๊กที่นี่ www.tarad.com/iknow


ไอโนว์ => คลังข้อมูลข่าวสารแห่งแรกของไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มาบรรยาย เรื่อง LEADERSHIP  ภาวะผู้นำที่ STAMFORD INTERNATIONNAL UNIVERSITY , MPA ในวันอาทิตย์ ที่ 14 ม.ค. 2550 ท่านได้แนะนำ และเปรียบเทียบ 8H และ 8K , ทฤษฎี 2R'S , ทฤษฎี 2I'S , ทฤษฎี 5K'S

ทฤษฎี 3 วงกลม , EFFECTIVE LEADERSHIP ฯลฯ ศ.ดร. จีระ เป็นพ่อแบบที่ล้ำเลิศในการศึกษายุคใหม่ ท่านเป็นอาจารย์ที่มีคุณธรรม มีอุดมการณ์เปี่ยมล้น เสียสละเพื่อสังคมส่วนรวม  ในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศไทย  ในการผลิตนักศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ ความรอบรู้ พร้อมแข่งขัน ในระดับนานาชาติ โดยท่านอาจารย์ได้ยึดหลักปรัชญาและวิธีคิดการบริหารจาก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และใช้ถ่ายทอดเรื่องการสร้างภาวะผู้นำ,การเป็นคนดี และเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง นักศึกษารวมทั้งดิฉัน ขอสนับสนุนท่านอาจารย์ เรียนรู้แนวทางจากท่านและต่อยอดเป็นแนวร่วมกับท่านค่ะ

  บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นรูปแบบใหม่ที่สร้างสรรค์  พัฒนาความคิดเรียนรู้จากเพื่อนๆนักศึกษาในกลุ่ม ซึ่งมีหลากหลายอาชีพ ทั้งที่เป็นนักธุรกิจ ข้าราชการ นักวิชาการ ฯลฯ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยที่ท่านอาจารย์ได้ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่า ทำให้นักศึกษาได้รู้จักตัวเองมากขึ้น มองโลกกว้างขึ้น ความสำคัญของ TEAM WORK นี่คืออีกแนวหนึ่งของการเรียนกันเอง โดยมี อ.จีระเป็นผู้บูรณาการความรู้

  ส่วนการตอบคำถามการบ้าน 3 ข้อ :

1. แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในลักษณะ แต่ละบุคคล และคุณสมบัติเฉพาะตัว จุดอ่อนอะไรบ้างอยากจะปรับปรุง เรื่องอะไรอธิบายมา 5 ข้อ

 เนื่องจากดิฉันได้รับการอบรมสั่งสอนจากบิดามารดาตั้งแต่วัยเยาว์ในการมีศีลธรรม ไม่ทำบาป ยึดหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์ การเคารพนับถือผู้ใหญ่ ความขยัน อดทน รักษาสัญญาคำพูด ความกตัญญูกตเวที การรักษาความสงบ มีความยืดหยุ่น ช่วยเหลือผู้อื่น-ผู้ตกทุกข์ ทำบุญ ทำทาน แบ่งปัน มีน้ำใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่สร้างความสบายใจหรือควาทุกข์ให้ผู้อื่น มีทัศนคติเชิงบวก พยายามมองผู้อื่นในแง่ดีไว้ก่อน มีความต่อเนื่องคือมีต้นและมีท้าย ส่วนคุณลักษณะอื่นๆก็ได้จากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากพื้นฐานเป็นครอบครัวนักธุรกิจของบรรพบุรุษชาวจีน เช่นความสามารถด้านการประกอบกิจการค้า , อดทนต่อความไม่ชัดเจนและความไม่แน่นอน ความกล้าเสี่ยง มุมมองต่างๆของชีวิต โดยสรุป หลักที่ยึดมั่นในใจและประพฤติตลอด ที่สำคัญ คือ

1. ความกตัญญูกตเวที  ดิฉันคิดว่าเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะยึดหลักว่า บุญคุณต้องทดแทน โดยเฉพาะบุญคุณของบิดา-มารดร , ครูบาอาจารย์ , คุณแผ่นดิน เป็นต้น ดิฉันคิดว่าความดีในเรื่องนี้ช่วยให้ดิฉัน ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ผ่านพ้นอุปสรรคที่รุนแรงในชีวิตมาได้ แคล้วคลาดในหลายเรื่อง และมีคนคอยให้กำลังใจ อุดหนุนค้ำชู และ อุปถัมภ์

2. ความขยันหมั่นเพียร  อันเนื่องมาจากพื้นฐานบรรพบุรุษของดิฉันตั้งแต่สมัยคุณทวด เสื่อผืนหมอนใบจากประเทศจีน ทำการค้าขายเครื่องเหล็ก ดิฉันจึงได้เห็นตัวอย่าง ความขยันหมันเพียรพยายามของบิดา-มารดา ในการก่อร่างสร้างตัวประกอบธุรกิจ และถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตน ตลอดมาและตลอดไป ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเหมือนดั่งสายน้ำไหลไปแล้วก็จะไม่หวนกลับจึงต้องไม่ปล่อยเวลาให้ศูนย์เปล่า

3.ความมานะ-อดทน คือการอดทนทั้งกายและใจมีความอดกลั้นไม่น่อท้อต่อความลำบาก อะไรที่ยังทำไม่ได้ก็ต้องหยายามฝึกฝนหาความรู้ ไม่เบื่อต่อความจำเจ อดทนต่อคำพูดของคนอื่นที่อาจเกิดจากความอิจฉาริษยา การลั่นแกล้งของคู่แข่ง ซึ่งจะต้องเผชิญแน่นอนในทุกชีวิต ซึ่งคุณสมบัตินี้จะช่วยสอนให้เป็นผู้มีความหนักแน่น มีความแข็งแกร่ง

4.มีความซื่อสัตย์ ซื่อสัตย์ในทุกๆด้าน ทั้งต่อตนเอง การงาน อาชีพ ซื่อสัตย์ทั้งกาย วาจา ใจ ไม่หลอกลวง ซื่อสัตย์ในชีวิตครอบครัว ซื่อสัตย์ต่อเพื่อน ต่อสถาบัน ต่อชาติ โดยเฉพาะในการประกอบธุรกิจ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าอละจริงใจต่อลูกค้า จะทำให้ธุรกิจยั่งยืน เพราะดิฉันเชื่อว่า ซื่อ-กินไม่หมด คด-กินไม่นาน และสิ่งสำคัญคือ มีความจงรักภักดี ต่อ ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์

5.มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปัน น้ำใจงดงาม ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก เสริมสร้างกำลังใจให้ผู้อื่นที่โศกเศร้าเสียใจ หมดหวัง ให้ยืนหยัดสู้ชีวิต ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ทับถมผู้อื่น คิดดี ทำดี

ส่วนจุดอ่อนที่ต้องพัฒนาคือ 1) ความสามารถในการพูดที่เฉียบคมในที่ชุมชน

2) ความสามารถด้านเทคนิคในบางแขนง เช่น IT ชั้นสูง

3)กระจายอำนาจ และงานให้พนักงานปฏิบัติแทน เพราะกลัวเขาทำผิด

4)ไม่ชอบปัญหา ไม่ชอบเครียดค่ะ

      ( คำตอบข้อ 2และ3กำลังตามมาค่ะ)

ข้อ2) เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร ผู้นำ (LEADERSHIP): เน้นที่คน,มอง อนาคต วิสัยทัศน์ไกล , เป็นผู้จัดระบบ , เน้นการลงทุน , มีอุดมการณ์ หลักการณ์ , มีทิศทางแน่วแน่ที่จะไป , ปลดเปลื้องความเป็นเลิศ การแปรสภาพ , ศูนย์รวมอำนาจแห่งหลักการณ์ , ทำในสิ่งที่ถูกควร , อยู่ระดับสูงสุด , เน้นนวัตกรรม , มีการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงเมื่อจำเป็น , เน้นถาม WHAT , WHY ,มูลค่าสูงสุด

MANAGEMENT (ผู้บริหาร) : เน้นที่วัตถุ ,โครงสร้าง , การควบคุม , การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คือใช้ให้ได้ผลสูงสุด , ดูเรื่องค่าใช้จ่าย , มีเทคนิค , การซื้อ-ขาย , ทำเรื่องให้ถูกต้อง , เน้นความเร็ว , วิธีการ , การปฏิบัติ , อยู่ในระบบ , มีการไต่เต้าเลื่อนขั้นการทำงาน , เน้นระบบ , ควบคุม, มุ่งระยะสั้น , เน้นถาม WHEN , HOW , สนใจกำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน , จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ , STATIC คงที่

ข้อ3)ทฤษฎี 8 K's , 5K's, 8 H's เกี่ยวข้องอะไรกับ Leadership  ทฤษฎี 8K's :ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ ของ ศ.ดร. จีระ ประกอบไปด้วย ทุนแห่งความยั่งยืน , ทุนทางสังคม , ทุนทางจริยธรรม , ทุนแห่งความสุข , ทุนทาง IT , ทุนทางปัญญา , ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ , ทุนมนุษย์ ทฤษฎี 8H's : ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ ประกอบไปด้วย Heritage , Hand , Health , Happiness , Home , Harmony , Heart , Head ทฤษฎี 5K's : INNOVATION , CREATIVITY , KNOWLEDGE , CULTURAL , EMOTIONAL CAPITAL'S ทฤษฎีดังกล่าว ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ภาวะผู้นำ เน้นรวมพลังของ COMPETENCY ซึ่งสามารถปรับใช้กับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความเป็นผู้นำที่ดี สำหรับเรื่องทุนมนุษย์ ที่มีอยู่ในทรัพยากรมนุษย์ ศ.ดร. จีระ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายพันธุ์แท้ ได้กล่าวว่า "ทรัพยากรมนุษย์" ที่มีวุฒิภาวะสามารถเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพนั้น จะต้องมีองค์ประกอบของทุนทั้งสิ้น 8 ประการ (8K's) ส่วนเรื่องทฤษฎีพัฒนาคนคือทฤษฎี 8H's ของคุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์  ทั้งสองท่านให้ความสำคัญกับงานพัฒนาคน อย่าง "ผู้รู้จริง" และทำจริงจนเกิดเป็นทฤษฎีดังกล่าว ที่ใช้อธิบายหลักการและวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นของท่านทั้งสองเอง Leadership คือ การที่ผู้นำสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท โดยกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม และ ทุ่มเทให้แก่องค์กร โดยเน้นอิทธิพล สรุปคือ ถ้าจะให้ Leadership ประสบความสำเร็จ ก็ต้องเข้าใจ Structures ทั้งหมดค่ะ

นายประภากร สัมพันธ์สวาท รหัส 00615004
เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   สวัสดี เพื่อนนักศึกษา MPA  ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด และท่านผู้อ่านทุกท่าน           ในวันอาทิตย์ที่ 14 มกราม 2549 ที่ผ่านนี้ ผมและเพื่อนๆนักศึกษาได้รับเกียรติอย่างเป็นอย่างยิ่งจากท่านอาจารย์จีระพร้อมด้วยทีมงานที่น่ารักอีก2 ท่าน ในการสอนรายวิชา Leadership ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนของพวกเรา ก่อนอื่นนั้นเมื่อผมทราบในครั้งแรกว่าจะได้รับเกียรติจากท่าน ศ.ดร.จีระ เข้ามาบรรยายก็รู้สึกตื่นเต้นและดีใจครับก่อนหน้านั่นผมเองก็พอจะได้รู้จักกับท่าน ศ.ดร.จีระมาบ้างเมื่อครั้งที่ ศ.ดร.จีระ ได้เข้ามาเยี่ยมชมคณะ MPA ของพวกเราในวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา  แต่ในครั้งนี้ท่านอาจารย์ได้กรุณามาให้ความรู้พวกเราจึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่งของพวกเราจริงๆครับ

          ศ.ดร.จีระได้เริ่มการสอนด้วยการให้นักศึกษาออกความคิดเห็นว่า ท่านมีความคิดอย่างไรกับการมีบทบาทของภาวะผู้นำ  และได้มีคำถามให้ไว้ว่าวันนี้คุณได้อะไรบ้าง 1 เรื่องโดยให้แสดงความคิดเห็นแต่ละท่าน และได้สอนเกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำ โดยเริ่มจากบุคคลที่มีความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในประเทศและต่างประเทศ

 “คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กรโดย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

“The Networth of Microsoft is 5% Physical assets, 95% human imagination”By Bill Gates       

และหลังจากนั้นก็ได้เริ่มจากทฤษฎีทุน 8 ประเภท  ทฤษฎี 5K’s  ทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะผู้นำเน้นรวมพลังของ Competency  โดยอธิบายว่าทฤษฎีต่าง ๆ สามารถที่จะปรับไปใช้กลับการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างความเป็นผู้นำให้กับผู้เรียนได้ แลได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความแตกต่างของผู้นำกับผู้บริหาร และยังให้นักศึกษาได้ดูหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ที่เขียนร่วมกับคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ โดยเน้นเรื่องทฤษฎี 8K's กับ 8 H's อีกด้วย   ในช่วงบ่ายได้ให้นักศึกษาดูเทปเกี่ยวกับสู่ศตวรรษใหม่คุณพารณ อิศรเสนาและศ.ดรจีระ”  เป็นเทปรายการเกี่ยวกับการสัมภาษณ์เรื่องทรัพยากรมนุษย์  และหลังจากนั้นก็ได้เริ่มให้นักศึกษาออกความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ตั้งคำถามไว้ตั้งแต่ต้นชั่วโมงว่าวันนี้คุณได้อะไรบ้าง 1 เรื่อง  ครับก็เป็นบรรยากาศภายในห้องเรียนครับ          นอกจากนี้ ท่าน ศ.ดร.จีระได้ยังได้ฝากการบ้านเพื่อให้นักศึกษาส่ง Blog ผมก่อนวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2550 มี 3 เรื่องด้วยกันคือ           1. แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง อยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร อธิบายมา 5 เรื่อง          2. เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร          3. ทฤษฎี 8 K's , 5k’s, 8H’s เกี่ยวข้องอะไร Leadership  ผมจึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ ส่วนที่ 1 แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง อยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร อธิบายมา 5 เรื่อง               แน่นอนครับว่าเราทุกคนย่อมมีคุณลักษณะแต่ละบุคลและคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ต่างกันออกไป คงยากที่จะใครเหมือนใครได้นะครับ ทั้งนี้คุณลักษณะบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิดหรือเป็นเรื่องของสายเลือด เรื่องของพันธุกรรมนั่นเอง คุณลักษณะที่สืบทอดทางพันธุกรรมนี้ก็คงเกิดขึ้นในตัวบุคคลนั้นตามธรรมชาติไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนอะไรได้เช่น เรื่องของ สูง ต่ำ  ดำ ขาว หล่อ สวย ขี้เหร่ เป็นต้น ส่วนคุณลักษณะอีกด้านของแต่ละคนที่น่าจะสามารถปรับเปลี่ยนกันได้นั้นผมคิดว่ามีนะครับ แน่นอนว่าทุกๆคนคงมีรูปแบบที่ต่างกัน เช่นเรื่องของอารมณ์ ความคิด วิธีการคิด มุมมอง ทัศนคติ นิสัยส่วนตัว เป็นต้น หากคุณลักษณะเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันก็คงเป็นเพราะ การเลี้ยงดู การอบรมส่งสอนที่ต่างกัน สภาวะแวดล้อมที่เจริญเติบโตมาต่างกันผมคิดว่าน่าจะปรับเปลี่ยนกันได้ครับหากได้รับการฝึกฝน การทำความเข้าใจ การพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสม                    ส่วนของตัวผมเองนั้นเหรอครับจะว่าไปแล้วการที่เรามานั่งมองตัวเองว่าเราดีอย่างไรหรือเราไม่ดีอย่างไรนั้น ผมไม่แน่ใจจะได้ข้อมูลที่จริงแท้แค่ไหนไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนที่ไม่รู้จักตัวของตัวเองนะครับ แต่ผมว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์ส่วนมาก(ไม่ใช่ทุกคนนะครับ)ก็มักจะให้ความเห็นเข้าข้างตนเองเสมอมักจะมองเห็นความดีของตนเองมากกว่าที่จะมองความไม่ดีทั้งหลายทั้งปวงของตนเอง การที่ผู้อื่นๆมองดูเราแล้วก็บอกว่าเราดีหรือไม่ดีอย่างไรผมว่าก็เป็นสิ่งที่น่ารับฟังมากๆนะครับถึงแม้ว่าคนๆนั้นจะมองเราด้วยใจเป็นกลางหรือไม่ก็ตามหากเขาชมเราก็ถือเป็นรางวัลครับ หากเขาตำหนิเรานี่หละสำคัญเราต้องรีบสำรวจตนเองว่าสิ่งที่เขาตำหนินั้นเป็นจุดอ่อนที่จะต้องรีบแก้ไขใช่หรือไม่ แต่การที่เราสำรวจตัวเองก็ถือเป็นสิ่งดีครับถือว่าเป็นการไม่ประมาทตัวเอง นำมุมมองที่เรามองตัวเราเองมาเปรียบเทียบกับที่คนอื่นเขามองให้เราแล้วก็พิจารณาลอง บวก ลบ คูณ หาร หาคำตอบให้ตัวเราเองครับ                    จากศึกษา  A Model of Effective Leadership  ผมเองนะครับหากจะลองสำรวจตัวเองในเรื่องจุดแข็งและจุดอ่อนของตัว รวมทั้งสิ่งที่อยากปรับปรุงมาสัก 5 ประการ ก็พอจะมองตัวเองได้ว่า
  1. เรื่องของการเคารพนับถือ  ถือเป็นจุดแข็งประการหนึ่งของผม เรื่องการเคารพนับถือนั้นสำหรับผมเองถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เดียวครับผมได้รับการปลูกฝังจากคุณพ่อ คุณแม่ มาตั้งแต่เป็นเด็กตัวเล็กว่าเรื่องของการให้ความเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่นั้นเป็นเรื่องจะต้องตระหนักถึงตลอดเวลา นอกจากการเคารพนับนับถือผู้หลักผู้ใหญ่แล้ว นับครับ เราก็ต้องเคารพนับถือต่อทุกคนที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นการเคารพนับถือ ครู อาจารย์ ผู้มีพระคุณ เคารพพี่ เคารพน้อง เคารพเพื่อนฝูง เคารพผู้บังคับบัญชา เคารพผู้ใต้บังคับบัญชา เคารพผู้อื่น และเคารพตัวเองด้วยครับ ผมว่าสำคัญนะครับในสังคมปัจจุบันนี้กำลังต้องการสิ่งนี้มาก หากเรามีความเคารพซึ่งกันและกันอย่างที่ผมกล่าวข้างต้นนี้ผมคิดว่าบ้านเมืองเราคงไม่วุ่นวายเหมือนในขณะนี้ครับ
  2. การฟังและเรียนรู้โดยใช้ความคิด  เป็นจุดแข็งประการที่สองครับที่ผมคิดว่าผมทำได้ดีในระดับหนึ่ง ผมมองว่าการพูดน้อยลงแล้วฟังให้เยอะขึ้นเมื่อฟังแล้วก็นำสิ่งที่ได้รับฟังมาสังเคราะห์ นำมาคิด พิจารณา รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองมาเรียนรู้ นำมาใช้ ส่วนสิ่งไหนที่ไม่เป็นประโยชน์กับตัวเราก็ปล่อยวางไป แต่ในที่นี้เองผมก็ไม่ได้ละทิ้งความสำคัญของการพูดนะครับเพียงแต่ผมจะต้องคิดก่อนพูด พูดในสิ่งที่เหมาะสม ถูกต้อง ถูกสถานที่ และถูกเวลาเท่านั้นเองครับ
  3. การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง เป็นอีกประการหนึ่งครับที่ผมคิดว่าเป็นจุดแข็งในตัวเองครับ ผมมองว่าการที่เราสร้างแรงจูงใจ และมีแรงจูงใจในตัวเองตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดก็ตามหากขาดแรงจูงใจคงยากที่จะประสบผลสำเร็จ แรงจูงใจก็คงคล้ายกับน้ำมันที่เราเติมรถกันอยู่ทุกวันนี้ละครับผมว่า หากรถไม่มีน้ำมันก็วิ่งต่อไปไม่ได้ อย่าว่าต่อวิ่งไปข้างหน้าเลยครับแค่จะสตาร์ทให้ติดก็แย่แล้ว ยกตัวอย่างที่ผมมานั่งเรียนปริญญาโทอยู่นี่ไงครับ จริงผมเองก็มีงานก็มีธุรกิจที่จะต้องดูแลอยู่ไม่น้อยอยู่เหมือนกันแต่ในเมื่อตัวผมเองสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับตัวเองให้เกิดความอยากรู้อยากเรียนขึ้น มันจึงมีแรงผลักดันที่ทำให้เกิดความสนใจที่จะมานั่งเรียนอยู่ตรงนั่นเองครับหากผมไม่ได้มานั่งเรียนอยู่ตรงนี้ก็คงรู้สึกอึดอัดน่าดู
  4. การมีความมั่นใจในตนเอง ข้อนี้ผมมองว่ายังเป็นข้อด้อยของผมอยู่บ้างอาจจะไม่มากนักผมมองเรื่องความมั่นใจในตนเองเป็นสิ่งสำคัญครับ ตัวผมเองถ้าจะถามกับเพื่อนในclassทุกคนแล้วก็น่าพอจะมีคนบอกได้บ้างละว่าเวลาที่จะต้องมีการpresentนำเสนอข้อมูลต่างนั้นผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ค่อนข้างจะทำได้ดีนะครับ(ใช่ป่าวครับ...เพื่อนๆ)ผมมักจะเป็นตัวแทนของกลุ่มในการนำเสมอเป็นประจำ ดังนั้นคำว่าความมั่นในตัวเอง ของผมในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึง ความกลัวที่จะต้องออกมาpresent ความไม่กล้า ความอาย อะไรทำนองนั้นคงไม่ใช่สำหรับผมแน่ๆ แต่ในที่นี้ผมหมายถึง การนำเสนอด้วยเทคนิคและวิธีการแบบ professional ต่างหากละครับผมรู้สึกว่าผมยังขาดตรงนี้อยู่อีกมาก ยังมีเรื่องที่จะต้องปรับปรุงอีกมาก คงจะต้องพัฒนาตนเอง ให้ดีขึ้นมากกว่านี้ คงประจวบเหมากับช่วงเวลานี้ละครับที่ ท่านศ.ดร.จีระ ได้เข้ามาเติมเต็มทักษะทางด้าน Leadership ซึ่งจะช่วยให้ผมได้ปรับปรุงอะไรหลายอย่างให้พัฒนายิ่งขึ้นทีเดียว
  5. ความสามารถในด้านการบริหารจัดการ ข้อนี้ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่ผมรู้สึกว่ายังจะต้องเติมเต็มอีกมาก ถือเป็นจุดด้อยที่คงมองข้ามไปไม่ได้ ผมเองประกอบธุรกิจของตัวเองผมก็เป็นผู้ที่จะต้องมีหน้าที่บริหารจัดการภายในองค์กรของผมเช่นกัน ผมผ่านประสบการณ์ทางด้านนี้มาพอสมควร แต่ก็นั่นละหละครับผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เราจะต้องเรียนรู้ให้มากขึ้นเพิ่มขึ้นทุกๆวัน จึงเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะต้องปรับปรุงตัวเองในเรื่องการบริหารจัดการอยู่ตลอดเวลาครับ
      ทั้ง 5 ข้อที่ผมได้กล่าวมานั้นก็ล้วนเป็นจุดอ่อนจุดแข็งและสิ่งที่ผมคิดว่าตัวเองควรจะต้องปรับปรุงในบางเรื่อง ซึ่งผมมองตัวของผมเองนะครับจริงๆแล้วยังอาจจะมีอีกหลายๆอย่างที่ผมมองข้ามไปก็เป็นได้        ในส่วนที่ 1 นี้ผมว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากทีเดียวครับที่ท่าน ศ.ดร.จีระ ได้ให้พวกเรามองคุณลักษณะเฉพาะตังของตัวเองเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองมากทีเดียวในการที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง  คุณสมบัติเฉพาะของแต่ละมีทั้งด้านที่เป็นจุดแข็งและเป็นจุดอ่อน หากเรามองเห็นมัน ด้านที่เป็นจุดแข็งเราก็ต้องยิ่งทำให้มันเข้มแข็งขึ้น ส่วนด้านที่เป็นจุดอ่อนเราก็ปรับปรุงครับ เพราะเมื่อเราสามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของตัวเราให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นย่อมนำเราไปสู่ความเป็น Leadership นั่นเอง ส่วนที่ 2 เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร           ผู้นำ กับ ผู้บริหาร ฟังๆดูผมว่าก็น่าจะเหมือนกันครับ แต่หากเราลองศึกษาอย่างลึกซึ้งเข้ามาอีกหน่อยก็จะพบว่า ผู้นำ กับผู้บริหาร นั้นมีความแตกต่างกันอยู่ ถึงแม้ว่าทั้งผู้นำและผู้บริหารนั้นต่างก็มีหน้าที่ที่จะนำพาความความสำเร็จมาสู่องค์กรเหมือนกัน เป็นผู้ที่มีอำนาจในการบริหารงานเหมือนกัน ผู้นำนั้นจะต้องมีความเป็นอยู่ในตัวนะครับผู้บริหาร  แต่ก็ใช่ว่าผู้บริหารทุกคนจะสามารถเป็นผู้นำได้ ทำไมหรือครับ ลองมาดูกัน          ท่าน ศ.ดร.จีระ ได้กรุณาให้แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างผู้นำ กับ ผู้บริหาร ไว้แล้วนะครับ  (หัวข้อสีฟ้า)   ผมเองขออนุญาตแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ ผู้นำ           1. เน้นที่คน   ตรงนี้ผมเห็นว่าคนที่จะเป็นผู้นำนั้นจะต้องมองที่ตัวคน มองที่บุคคลากร มองที่ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน มองทุกๆคนที่อยู่รอบตัว พยามทำความเข้าใจและใส่ใจในรายละเอียด ศึกษา และเรียนรู้วิธีการต่างเพื่อที่จะทำให้คนเหล่านั้นเป็น ทุนมนุษย์ ที่มีประสิทธิภาพ คนที่เป็นผู้นำนั้นก็คือคนที่ เข้าใจเรื่องคน  นั่นเอง          2. Trust เมื่อผู้นำมีความเข้าใจเรื่องคน ให้การเอาใจใส่ต่อคนในทุกๆเรื่องได้เป็นอย่างดีแล้วสิ่งที่จะตามมาโดยอัตโนมัติ และเป็นสิ่งที่ผู้นำทุกคนจะต้องมีนั่นก็คือ Trust ความไว้วางใจนั่นเองความไว้วางใจเป็นสิ่งผู้นำจะต้องมี และ เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับจากคนที่เราทำหน้าที่เป็นผู้นำเพราะหากคนเป็นผู้นำได้รับความไว้วางใจย่อมหมายถึงการที่คนทุกคนยินดีและยินยอมที่จะก้าวไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่ผู้นำจะนำทางไปอย่างปราศจากข้อสงสัยหรือโต้แย้ง          3. ระยะยาว ผู้นำต้องเป็นผู้มองแผนงานต่างโดยภาพรวมนั่นคือการมองภาพระยะยาว และความต่อเนื่องของกิจกรรมปัจจุบันที่จะมีผลไปสู่ความเปลี่ยนแปลง หรือส่งผลกระทบไปสู่ระยะเวลาข้างหน้าทั้งนี้จะต้องมองถึงความราบรื่นต่อเนื่อง และสามารถที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆหรือการนำพาทิศทางขององค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างปราศจากปัญหาอุปสรรคใดตลอดระยะเวลา           4. What, Why จะต้องทำอะไร และ ทำไมถึงจะต้องทำ ผู้นำเป็นผู้ที่ก่อนจะลงมือทำสิ่งใดก็ตามจะต้องประเมินก่อนเสมอว่า เราจะต้องทำอะไร เพื่อที่ให้เกิดประโยชน์ที่สุด และจะต้องหาเหตุมาเพื่อสนับสนุนให้ได้ว่าทำไมจึงตัดสินใจทำในสิ่งนั้นๆ นั่นคือก่อนที่จะลงมือทำสิ่งใดก็ตามผู้นำจะต้องคำนึงก่อนเสมอว่าจะทำอะไรและควรหรือไม่ควรจะทำเพราะอะไร ทั้งนี้เพราะเมื่อตัดสินใจทำสิ่งใดแล้วจะต้องได้รับประโยชน์สูงสุด และลดการสูญเสียโอกาส ความเสียหายได้          5. มองอนาคต  ขอบฟ้า / ภาพลักษณ์ ผู้นำต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้ที่มองการไกล จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าสำหรับอนาคตเสมอ จะต้องเป็นผู้ที่ความคิดความอ่านคำนึงสิ่งถึงสถานนะการณ์ปัจจุบัน และมองถึงแนวโน้มเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อที่จะได้หาแนวทางรับมือ ป้องกัน หรือปรับตัวให้เกิดความเหมาะสมและเกิดความทันท่วงทีกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด สิ่งสำคัญอีกประการณ์หนึ่งคือการคำนึงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรอีกด้วยเพื่อที่จะได้เป็นที่ยอมรับในทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง          6. เน้นนวรรตกรรม ผู้นำเป็นผู้ที่รู้จักการนำนวัตกรรมใหม่เข้ามาสู่องค์กรของตนเองเพื่อ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่จะเพิ่มศักยภาพในการพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขัน ให้กับองค์กรของตน ด้วยการนำเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมาช่วยเป็นเครื่องมือ ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่าย โดยจะต้องรู้จักเลือกนวัตกรรมที่เหมาะสมกับตนเองด้วย          7. Change ในคุณสมบัติข้อสุดท้ายของผู้ที่เป็นผู้นำนั้นกล่าวถึงการที่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงนั้นหมายถึงความรู้จักการปรับเปลี่ยนสิ่งต่างให้เป็นเป็นอย่างเหมาะสม ไม่จะเป็นการเปลี่ยนในเชิงนโยบาย โครงสร้างขององค์กร บุคลากร วิธีการต่างๆที่เหมาะสม ซึ่งผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นเมื่อเห็นว่าสมควรจะต้องเปลี่ยนไม่ยึดติดกับกำหนดกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนวิธีปฏิบัติแบบเดิมๆที่อาจเกิดความล้าสมัยหรือไม่เหมาะสม ผู้บริหาร           1. เน้นระบบ  ในส่วนของผู้บริหารเน้นมักจะมุ่งเน้นที่ระบบ นั้นคือการที่มองเรื่องของ Process เป็นหลักมุ่งให้ความสำคัญวิธีการทำงานให้เป็นไปตามกระบวนที่กำหนดไว้ นั่นคือทุกอย่างต้องเป็นไปตามวิธีการตั้งแต่ต้นจนจบ ถือว่าการจะทำงานใดก็ตามนั้นให้ความสำคัญหรือเห็นว่างานที่ทำจะสำเร็จได้อยู่ที่กระบวนการเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงส่วนประอบอื่น          2.  ควบคุม หากจะมองความต่อเนื่องในเรื่องของระบบแล้วก็จะเห็นต่อมาได้ว่า เมื่อมีการมุ่งเน้นที่ระบบการที่จะทำงานงานให้สำเร็จได้ตามระบบที่วางไว้นั้นก็จะต้องอาศัยการควบคุมผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบตามกระบวนการผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ทำตามบทบาทหน้าที่ตามที่กำหนดให้เพียงอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้ออกคำสั่งจึงไม่ก่อเกิดความสัมพันธ์หรือความไว้เนื้อเชื่อใจ ความวางใจเหมือนผู้นำ          3.  ระยะสั้น ผู้ที่เป็นผู้บริหารคำนึงถึงการปฏิบัติงานหรือภารกิจต่างอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นตามที่วางแผนงานไว้ตามที่ตนเองได้รับอบหมายมาเพียงเท่านั้น ไม่คำนึงถึงความเชื่อมโยงหรือผลที่จะเกิดในระยะยาว ความต่อเนื่องของการทำงานต่าง คำนึงแค่ให้หมดภารกิจเป็นงานๆไป          4. When, How เมื่อไหร่ และ อย่างไร ในขอนี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารนั้นเป็นผู้คอยปฏิบติตามกรอบแนวนโยบายหรือคำสั่งของผู้บริหารระดับสูงสุดอีกทีหนึ่งจึง มีแนวทางการทำงานในลักษณะที่ว่าจะต้องทำเมื่อไหร่นั่นคือ ทำเวลาไหนที่เหมาะสม เวลาที่ได้รับคำสั่งมา หรือจะต้องทำอย่างไรให้สำเร็จตามเป้าหมายเท่านั้นโดยไม่ได้คิดหาวิธีการหรือแนวทางในทางที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดต่อการบริหารงานกล่าวคือการทำตามรูปแบบที่แน่นนอนตายตัวนั่นเอง          5. กำไร / ขาดทุน ทุก 3 เดือน  ผู้บริหารนั้นมุ่งเนินคิดถึงแต่ผลประกอบการของธุรกิจเพียงอย่างเดียวความสนใจจะอยู่ที่ ตัวเลข หรือ Percentage เท่านั้น มองว่าทำอย่างไรธุรกิจจึงจะเกิดผลกำไรสูงสุด ติดตามผลการประกอบการเป็นไตรมาสหรือทุก 3 เดือน ต่างจากผู้นำที่จะมองการณ์ไกลไปข้างหน้าคำนึงถึงแนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต ไม่มุ่งเน้นเรื่องของผลกำไรในแต่ไตรมาสๆเพียงอย่างเดียว          6. การจัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ  การทำงานในลักษณะของผู้บริหารนั้นมุ่งเน้นในเรื่องผลสำเร็จของงานเป็นหลักโดย มองถึงประสิทธิภาพการทำงานเป็นส่วนประกอบเมื่องานนั้นเสร็จก็ถือว่าจบ ต่างจากการมองในมุมของผู้นำนั้นจะมุ่งที่จะนำนวัตกรรมใหม่เทคโนโลยีใหม่พยามเสาะแสวงสิ่งใหม่เข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานให้ความสะดวกรวด เร็วและเกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด          7.  Static การทำงานของผู้บริหารมักเน้นหลักของการบริหารที่ตายตัวตามกฎเกณฑ์ ข้อกำหนดต่างๆตลอดจนแผนนโยบายที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด มุ่งเน้นที่จำทำงานให้ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานที่วางไว้มากที่สุด จึงเป็นลักษณะการทำงานที่ที่อยู่ในกรอบค่อนข้างจะแน่นนอนตายตัว คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นการทำงานที่ทำงานแบบคงที่ ไม่เน้นรูปแบบการทำงานวิธีการทำงานใหม่ๆนั่นเอง                    ครับคงพอมองเห็นภาพกันบ้างแล้วนะครับสำหรับความแตกต่างของ ผู้นำ กับ ผู้บริหารการที่เราจะเป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้นำนั้นผมมองว่าทั้งผู้บริหารและผู้นำนั้นล้วนมีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้การดำเนินงานหรือการปฏิบัติภารกิจใดก็ตามขององค์กรสามารถดำเนินลุล่วงไปได้ แต่ก็ขอฝากไว้สักนิดหนึ่งว่า ผู้บริหารที่ดีนั้นควรจะมีคุณสมบัติของผู้นำอยู่ในตัวเองด้วยหรือไม่ก็พัฒนาศักยภาพของตนเองนั้นให้การไปสู่การเป็นผู้นำให้ได้ นะครับ ส่วนที่ 3. ทฤษฎี 8 K’s, 5k’s, 8H’s เกี่ยวข้องอะไร Leadership            เป็นทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่าหากเรากล่าวถึงคำว่า Leadership นั้นคือการกล่าวถึงในเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ได้ให้จำกัดความไว้ว่า การที่ผู้นำสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แกบริษัท โดยการกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม และทุ่มเทให้กับองค์กร โดยเน้นอิทธิพล          เราจึงต้องมองต่อไปอีกว่าการที่จะเกิดภาวะผู้นำได้นั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่จะช่วยสร้างภาวะความเป็นผู้นำเมื่อผมมาพิจารณาบทเรียนที่ ศ.ดร.จีระ ได้บรรยายและให้ผมได้ทำการศึกษาดูได้แก่ ทฤษฎี 8K’s และ ทฤษฎี5k’s โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทฤษฎี  8H’s โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ครับเมื่อได้ศึกษาดูแล้วก็จะพบถึงความสัมพันธ์ของทฤษฎีทั้งสามนี้อย่างน่าประหลาดใจโดยในหนังสือ 2 พลังความคิด ชีวิต และงาน นั้น ก็ได้ชี้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ 8K’s และ 8H’s ไว้อย่างน่าสนใจเมื่อนำมารวมกับเข้ากับทฤษฎี 5k’s จึงยิ่งน่าติดตามเป็นอย่างยิ่งผมเองขออนุญาตแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ ทฤษฎี 8K’s นั้นประกอบด้วย Human capital, Intellectual Capital, Ethical Capital, Happiness Capital, Social Capital, Sustainability Capital, Digital Capital, Talent Capital ทฤษฏี 8H’s นั้นประกอบด้วย Heritage, Home, Hand, Head, Heat, Happiness Harmony, Health           1. Heritage มรดกอันเป็นรากฐานของชีวิต กับ Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน นับได้ว่ามรดกที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวของคนเราทำให้เราทราบว่าเราเป็นใครมาจากไหนแสดงถึงตัวตนที่แท้จริงตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง เป็นทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่งย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ในขณะนี้          2. Head สมอง กับ Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือความคิด หมายถึง คิดเป็น คิดดี คิดในสิ่งที่เกิดประโยชน์ ข้อนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับเพราะเมื่อคนเราคิดเป็น คิดดีก็ย่อมทำให้เกิดปัญญาทำให้เรามีความสามารถในการที่ทำสิ่งต่างๆได้ด้วยปัญญา          3. Hand มืออาชีพ กับ Talent Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ หากเราทำงานอย่างมืออาชีพอย่างผู้ที่ชำนาญมีความรู้จริงก็จะเกิดประโยชน์การทำงานนั้นๆการที่เราจะเป็นมืออาชีพนั้นก็เกิดจาการที่เรา มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น มีทักษะในเรื่องนั้นๆ และมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่อทีทำจึงทำให้เกิดผลสำเร็จ และทำงานอย่างมืออาชีพ          4. Heart จิตใจที่ดี กับ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม จิตใจที่ดีถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมครับ การที่เราจะเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงามก็คือการที่เราเป็นผู้มีจริยธรรมในจิตใจ ตอนนี้สังคมบ้านเรากำลังต้องการและกำลังตื่นตัวกันมากเหลือเกินครับกับคำว่าจริยธรรม ไล่ตั้งแต่ระดับผู้นำที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานบ้านเมือง เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนการปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กหมาเลยครับ          5. Health สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ กับ Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  ในข้อนี้ทั้งสองทฤษฏีอาจมิได้มีความสัมพันธ์กันนะครับแต่ก็ล้วนเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจไว้ทั้งสองด้าน ด้านของสุขภาพ เราก็จะต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อที่ร่างกายจะได้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไปในยุคแห่งข่าวสารข้อมูลนี้          6. Home บ้านและครอบครัว กับ Human Capital ทุนมนุษย์ ในความสอดคล้องกันนั้นบ้านหรือครอบครับนั้นหมายถึงการที่เรามีครอบครัวที่อบอุ่น ที่อยู่อาศัยที่ดีเป็นพื้นฐานแห่งการดำรงชีวิต เช่นเดียวกันกับการมองว่าคนคือทุนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั่นเองการที่มนุษย์จะเป็นทุนที่ดีได้ก็ต้องอาศัยพื้นฐานที่ดีของครอบครัวเช่นกัน          7. Happiness การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข กับ Happiness Capital กล่าวคือการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขรู้จักการแสวงหาความสุขมองโลกอย่างเข้าใจทุกวันนี้สภาพสังคมของบ้านเมืองเราเป็นไปด้วยความตึงเครียด ผู้คนในสังคมอยู่ท่ามกลางความหวาดระแวงจึงจำเป็นที่เราจะต้องแสวงหาความสุขให้กับชีวิตหากมนุษย์มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และมีทุนทางจริยธรรมแล้วย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์          8.
นายประภากร สัมพันธ์สวาท รหัส 00615004

ต่อ........ 

 

8.Harmony ความปรองดองสมานฉันท์ กับ Social Capital คำว่าสมานฉันท์เป็นคำกล่าวที่พวกเราได้ยินจนคุ้นหูมาสักระยะหนึ่งแล้วแต่ในข้อเท็จจริงก็ยังไม่เกิดขึ้นสักทีเพราะผู้คนในสังคมยังมิได้เกิดความสมานฉันท์และปรองดองกันอย่างแท้จริงจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งหาทางแก้ไขหันหน้าเข้าหากันร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้เกิดความสงบสุขภายในสังคมเมื่อสังคมสงบสุขผมเห็นว่าทุนทางสังคมก็จะเกิดขึ้นและเมื่อนั้นก็จะทำให้เราสามารถนำพาประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง          เมื่อเราทราบถึงแนวทางและทฤษฎีทั้งสองทฤษฎีดังที่ผมได้แสดงความคิดเห็นไว้ข้างต้นนี้แล้วก็จะขอกล่าวถึงอีกทฤษฎีหนึ่งนั้นคือทฤษฎี 5K’s อันได้แก่          1. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม เรื่องของนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆในปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราจะต้องเปิดรับและทำความรู้จักกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาใหม่เหล่านั้นเพราะมันเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เราสามารถพัฒนาด้วยวิธีการต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น          2. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ หรือองค์ความรู้ใหม่ๆย่อมช่วยให้เกิดการพัฒนาไปในแนวทางที่ดีขึ้นเกิดวิธีการทำงานใหม่ๆ  การบริหารจัดการแนวใหม่ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นผู้นำ          3. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ผู้ที่จะเป็นผู้นำและมีภาวะผู้นำได้นั้นแน่นอนว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความฉลาดเฉลียว ดังนั้นจำเป็นที่เราทุกคนจะต้องไขว่คว้าหาความรู้ สร้างสมประสบการณ์เพื่อเป็นการสร้างทุนทางความรู้ให้กับตนเอง          4. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม ตามความเข้าใจของผมนั้นมองว่าทุนทางวัฒนธรรมก็คือเอกลักษณ์ของการสืบสานและสืบทอดวิถีแห่งการดำรงชีวิตของสังคมนั้นๆจำเป็นที่เราจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ          5. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ เป็นส่วนของสภาพทางอารมณ์ และจิตใจของคนเรา ผู้ที่เป็นผู้นำจะต้องมีสภาวะทางอารมณ์ที่เข้มแข็งไม่หวั่นไหวในเรื่องต่างๆง่ายดายจนเกินไปถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ ภาวะผู้นำ           ถ้าจะมองว่าทั้ง 3 ทฤษฏีนี้มีความเกี่ยวข้องกับ Leadership ยังไงนั้นจากข้อคิดเห็นของผมข้างต้นก็พอจะบอกได้ว่าทั้ง 3 ทฤษฏีก็เป็นส่วนหนึ่งของภาวะผู้นำผู้ที่จะเป็นผู้นำนั้น ผมมองว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีหลักทฤษฏีทั้ง3นี้ และจะต้องนำหลักดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการเป็นผู้นำของเขานั่นเองครับ                    เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับข้อคิดเห็นของผมที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้ ก็มีคงจะมีส่วนที่เป็นประโยชน์อยู่บ้างส่วนหนึ่งหรือที่ยังบกพร่องก็คงมีอยู่เหมือนกัน ก็คงต้องขอรับคำ แนะนำจาก ท่าน ศ.ดร.จีระ อีกทีหนึ่งครับ ตลอดจน เพื่อนๆ MPA และท่านผู้อ่านทุกท่าน comment ได้ครับยินดีน้อมรับทุกข้อคิดเห็นครับ           ขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่านในโอกาสหน้าจะพยามทำให้ดีมากขึ้นยิ่งกว่านี้ครับ                                                                                                                    ประภากร  สัมพันธ์สวาท                                                          รหัส 00615004
สวัสดีค่ะ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และท่านผู้อ่านทุกท่าน  วันนี้ดิฉันในฐานะมือใหม่ เพิ่งหัดเข้า blog เป็นครั้งแรก  การเขียน blog  นี้  นับวันยิ่งทวีความสำคัญขึ้น มันเป็นการถ่ายโอนความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่จากคนคนหนึ่ง ผ่าน blog ที่เป็นสื่อกลาง  เข้าไปต่อยอดความรู้ให้กับคนทั่วไปและผู้ที่มีความสนใจได้อย่างง่ายดาย    และจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรพุ่งความสนใจให้กับเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ด้วย  ซึ่งท่าน ศ.ดร.จีระ ที่ไม่เพียงแต่เป็น professional ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้ว  ท่านยังมีความเชี่ยวชาญและความสามารถกับการเขียน blog เขียนหนังสือและสิ่งที่ล้วนแล้วแต่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์เป็นอย่างดีแก่ประชาชน   และได้ให้โอกาสอันดีอย่างยิ่งแก่นักศึกษา MPA  ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด โดยได้มอบหมายการบ้านให้ นำเสนอความคิดเห็นและมุมมองต่อคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว ว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง  และอยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร,    เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร,ทฤษฎี 8 K's , 5k’s, 8H’s เกี่ยวข้องอะไรกับ Leadership   ดิฉันจึงขอแสดงความคิดเห็นดังนี้                                                                1.   แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง อยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร อธิบายมา 5 เรื่อง คุณลักษณะและคุณสมบัติของแต่ละคนนั้นดิฉันคิดว่าไม่เหมือนกัน  ขึ้นอยู่กับรากเหง้า วัฒนธรรมและครอบครัว พื้นฐานทางการศึกษา  การได้รับการอบรมเพาะบ่มนิสัย สิ่งแวดล้อมที่เราเติบโตมา และการปลูกฝัง  สิ่งต่างๆเหล่านั้นหล่อหลอมให้เกิด  คุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะตัวขึ้น  อย่างในกรณีของดิฉัน เรื่องจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง ดิฉัน คิดว่า1) การยึดหลักคุณธรรมความซื่อสัตย์  ดิฉันถูกอบรมมาโดยสังคมของคนชนบท  ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เอารัดเอาเปรียบกันและมีความซื่อสัตย์  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน  ทำอะไรอย่างใสซื่อบริสุทธิ์  ให้การเคารพนับถือผู้ใหญ่และผู้อาวุโส   สิ่งเหล่านี้เราจะได้รับและซึมซับไปโดยไม่รู้ว่ามันเป็นการอบรมสั่งสอน  เพราะคุณพ่อคุณแม่ของดิฉันจะทำเป็นตัวอย่าง และกล่าวว่าการยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัยและประกอบอาชีพสุจริต  จะทำให้เราประสบความสำเร็จ และพบเจอแต่คนที่ให้ความเมตตา เกื้อหนุนอุปถัมภ์ค้ำจุน ดิฉันก็ได้ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด2) การสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง  ในการดำเนินชีวิตทุกคนจะต้องมีเป้าหมายจึงจำเป็นจะต้องมีพลังในการขับเคลื่อนเพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จ แต่ในการที่จะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตไปถึงเป้าหมาย  ดิฉันไม่มีสมบัติจากคุณพ่อคุณแม่ ดิฉันจึงต้องสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ด้วยการศึกษาชีวิตของผู้อื่นที่เค้าประสบผลสำเร็จ ทำมาหากินเจริญรุ่งเรือง  ว่าเค้าทำอย่างไร มีวิธีการแบบไหนและดิฉันได้ทำในสิ่งเหล่านั้นด้วยความมุมานะอดทน  แม้บางครั้งเกิดความท้อใจบ้าง  ดิฉันก็จะคิดถึงปรัชญาที่ว่า การต่อสู้ การอดทน  และความที่เชื่อมั่นว่า ฉันสามรถทำได้  ก็จะทำให้ดิฉันมีกำลังใจและแรงใจที่จะต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้3) ความต่อเนื่อง   ดิฉันมีความขยันอดทนต่องานอย่างต่อเนื่อง  รักษาหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด มีความผูกพันเอาใจใส่กับงานที่ได้รับมอบหมาย เพราะธุรกิจของดิฉันเป็นการให้บริการอย่างไม่มีวันหยุด  บริการ 24  ชั่วโมง  ลูกค้ารายไหนเกิดเหตุ รถตกถนนหรือเกิดเหตุการณ์เร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวัน- กลางคืน  ดิฉันก็ยินดีกระตือรือร้นที่จะบริการด้วยความเต็มใจ  ด้วยเหตุนี้อีกอย่างที่ทำให้ธุรกิจของดิฉันเจริญรุ่งเรือง4) ความกล้าเสี่ยง ดิฉันกล้าตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานประจำอย่างเด็ดเดี่ยว  มาประกอบธุรกิจของตัวเอง  กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรค กล้าได้กล้าเสีย กล้าเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสิ่งที่เราไม่มีทางจะรู้เลยว่าเราจะสามรถผ่านพ้นปัญหาเหล่านั้นไปได้หรือไม่  5) ความรู้ตัว  ดิฉันรู้จักตัวเองว่ามาจากเด็กบ้านนอกต่างจังหวัด  การศึกษาน้อย  จึงมองหาช่องทางการทำมาหากินประกอบอาชีพ  จนเป็นที่พอใจระดับหนึ่งแล้ว จึงหันกลับมาศึกษาเพิ่มเติม  เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง  และเป็นสิ่งที่ทำให้ดิฉันรู้จักตัวเองมากขึ้น  เมื่อได้รับฟังการบรรยายของท่าน  ศ.ดร.จีระ  ยิ่งทำให้รู้ว่าสิ่งที่เรายังขาดนั้น ยังมีอีกมากมาย จากการที่เรารู้จักตัวเองรู้  ว่าอะไรที่เรามีเพียงพอ  อะไรที่เรายังขาด นี้ทำให้เราต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน องค์กรและสังคมต่อไป   ส่วนจุดอ่อนที่ดิฉันอยากจะปรับปรุงแก้ไข  คือ  ความประหม่าที่มักจะเกิดขึ้นขณะที่ต้องออกไป present หน้าห้องหรือขณะที่พูดกับผู้ใหญ่   หรือการได้ฟังเรื่องราวที่ซาบซึ้งจะเกิดการสะท้อนใจ ตื้นตันใจ จนเสียงสั่นพูดไม่ออก   ไม่มีความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์  เป็นคนที่ใช้อารมณ์ในการทำงานมากไป  เวลาพนักงานปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามประสงค์  ดิฉันก็จะ&*%$+@!# 2.    เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไรผู้บริหาร  คือ  คนที่สามารถทำให้คนอื่นไปสู่จุดหมายปลายทางได้  โดยเน้นที่ระบบงานและการควบคุมว่า จะต้องทำอย่างไร  เมื่อไหร่  เพื่อหวังผลกำไร  มองภาพในระยะสั้น  โดยการจัดการให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายการใช้อำนาจของผู้บริหารในการทำงานเป็นไปแบบการควบคุมเพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างคุ้มค่า  จัดระบบ เทคนิค การทำงาน ติดต่อประสานเพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์ที่สามารถวัดผลได้ และเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องเร่งผลักดันบุคคลระดับล่างด้วยระเบียบวิธีการที่ปฎิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงในระบบขององค์กร ผู้นำ  คือ  บุคคลที่มีอิทธิพลเหนือคนอื่นๆ ในกลุ่ม  และเป็นผู้ที่ใช้อิทธิพลนั้น  ทำให้บุคคลอื่นๆ ภายในกลุ่ม ปฏิบัติงานให้กับตนด้วยความพึงพอใจและบรรลุเป้าหมายดังที่ผู้นำปรารถนาผู้นำ หมายถึง  การใช้ความสัมพันธ์ของบุคคลในอันที่จะทำให้บุคคลทำงานร่วมกันอย่างมีความตั้งใจ  ตามความปรารถนา  ของผู้ที่ได้ชื่อว่าผู้นำผู้นำ  จะใช้วิธีการกระจายอำนาจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและให้ความไว้วางใจ  เพื่อให้งานที่ทำร่วมกันนั้นออกมามีผลอย่างคุ้มค่า  ผู้นำ  จะเป็นผู้กำหนดทิศทาการทำงาน  การลงทุนว่าควรจะลงทุนทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ด้วยหลักการและข้อมูล  เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยความฉลาด  และเลือกที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องด้วยการควบคุมและหลักการที่มีระบบ เพื่อประสงค์ที่จะให้บรรลุผลขั้นสูงสุด 3.    ทฤษฎี 8K's , 5k’s, 8H’s เกี่ยวข้องอะไรกับ Leadership         ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์สำหรับเรื่องทุนที่มีอยู่ในทรัพยากรมนุษย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายพันธุ์แท้  ได้กล่าวไว้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์  ที่มีวุฒิภาวะสามารถเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพนั้นจะต้องมีองค์ประกอบของทุนทั้งสิ้น 8 ประการ1.ทุนมนุษย์  (Human Capital)2.ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital)3.ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)4.ทุนทางเทคโนโลยี (Digital Capital)5.ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)6.ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)7.ทุนทางสังคม (Social Capital)8.ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital)          ทฤษฎีนักบริหาร “8 H’s” ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์นั้น ประกอบไปด้วย1.Heritage  รากฐานของชีวิต2.Home บ้านและครอบครัว3.Hand  มืออาชีพ4.Head สมองคิดเป็น คิดดี5.Heart จิตใจที่ดี6.Happiness  การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข7.Harmony  ความปองดองสมานฉันท์8.Health  สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์         ทฤษฎี 5K’s1. Innovation Capital  ทุนทางนวัตกรรม2. Creativity Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์3. Knowledge Capital  ทุนทางความรู้4. Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม5.  Emotional Capital  ทุนทางอารมณ์ ทั้ง 3 ทฤษฎีนี้  มีความเกี่ยวข้องกับ Leadership เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคม สภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวส่งผลให้ ผู้นำจะต้องใช้หลักของทั้ง 3 ทฤษฎี มา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนระบบต่างๆในองค์กร 1.Heritage  มรดกทางวัฒนธรรม  อันเป็นรากฐานของความเป็นตัวตน กับSustainability Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน  เราต้องรู้จักตัวตนของเรา ว่าเราเป็นใคร เป็นอย่างไร เราจะรับสิ่งใหม่ๆสิ่งไหนเข้ามาเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นตัวเราและยังคงเอกลักษณ์ของตัวเราไว้ได้2.Head  สมองกับ  Intellectual Capital  ทุนทางปัญญา คือ ความมีสมองดีก็ทำให้คิดดี คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ ใช้เหตุผล ทำให้เกิดปัญญา3.Hand มืออาชีพ กับ Talented Capital ทุนทางความรู้ มีทักษะ การทำงานอย่างมืออาชีพ  มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในงานที่ทำ จึงทำให้เกิดผลสำเร็จ4.Heart จิตใจที่ดี กับ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม  การเป็นผู้มีจริยธรรมในจิตใจนั้นจะทำให้เป็นผู้นำที่น่าศรัทธา เลื่อมใส5.Health สุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์ กับ Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในข้อนี้ ให้ความสำคัญต่างกันในด้านของการดูแลสุขภาพ และอีกด้านหนึ่ง เป็นเรื่องของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ6.Home บ้านและครอบครัว กับ Human Capital ทุนมนุษย์  มีความสอดคล้องกันว่า ถ้าครอบครัวอบอุ่น พื้นฐานดีก็จะได้ทรัพยากรบุคคลที่เป็นทุนมนุษย์ที่ดีด้วยเช่นกัน7.Happiness การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข กับ Happiness Capital ทุนแห่งความสุข ก่อนอื่นคนเราต้องรู้จักแสวงหาความสุขให้กับตนเองและมีความพึงพอใจในตนเองที่เป็นอยู่  และรู้จักมองโลกให้เข้าใจในรากฐานของความสุขที่ยั่งยืน8. Harmony การปองดองสมานฉันท์ กับ Social Capital ทุนทางสังคม  การมีทุนทางสังคมเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จได้ ต้องมีความเอื้อเฟื้อปองดองและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในการปฏิบัติภารกิจของแต่ละอย่าง  รวมถึงความจริงใจที่พร้อมแบ่งปันความสำเร็จ  สังคมจึงจะเป็นสุข
Mr.ninnath vinicchayakul(นาย นินนาท วินิจฉัยกุล)ID.006150007

กราบเรียน

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์  และเพื่อนๆชาว Blog ทุกท่าน

1.คุณลักษณะแต่ละบุคคล และคุณลักษณะเฉพาะของตัวเอง

ข้อด้อยที่อยากปรับปรุง

- การไม่มีความมั่นใจในตนเอง  ในข้อนี้กล่าวรวมถึงข้อของความกล้าเสี่ยง , ความสามารถด้านเทคนิค , ความสามารถด้านบริหารอีกด้วย  

การที่ได้มาแสวงหาความรู้ที่ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและลงเรียน ภาวะผู้นำ โดยมีศ.ดร.จีระ  เป็นผู้ประสิทธิ ประสาทวิชา นั้น ทำให้ผมมั่นใจว่าถ้าศึกษาวิชาภาวะผู้นำจนจบแล้วนั้น จะทำให้ข้อด้อยของผมกลับกลายเป็นข้อเด่นได้ในที่สุด และในข้อเด่นยิ่งเพิ่มพูนไปมากยิ่งๆขึ้น

ในส่วนข้อที่คิดว่าเป็นข้อเด่น นั้น

ในข้อนี้น่าจะเป็นพื้นฐานสืบทอดกันมาของครอบครัวผมก็เป็นได้ นั่นคือ การยึดหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์

2. ผู้นำ(leadership) มีมาตรฐานด้านจริยธรรม(ethical standards) และจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ  มีพฤติกรรมของผู้ที่มีความซื่อสัตย์ ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น การให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

    ผู้บริหาร(management)บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพของตนเป็นพื้นฐาน  มีประสบการณ์ในงานที่ผ่านมาแล้วเป็นอย่างดี  จึงได้รับความไว้วางใจให้ขึ้นมารับหน้าที่เป็น"นักบริหาร"เป็นหัวหน้าคนหรือผู้นำนั่นเอง  บังคับบัญชาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามการบริหารของตน  มีระเบียบ วินัย รอบรู้ รอบคอบ ความเด็ดขาด

ผู้นำคือผู้ที่คิดครั้งแรก และความคิดนั้นต้องเป็นรูปอธรรม สามารถนำไปปฏิบัติได้ ผู้บริหารคือผู้ที่ลงมือปฏิบัติให้เป็นจริงตามความคิดของผู้นำ

ลักษณะข้อแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับผู้นำ
ผู้บริหาร
1. มักรู้ไปทุกอย่าง
2. มักติเตียน
3. มักบอกว่าอะไรต้องทำ (ให้เสร็จ)
4. มักพูดก่อน (ฟัง)
5. มักออกคำสั่ง
6. มักเรียกร้องความเคารพ(จากลูกน้อง)
7. มักปกครองด้วยกฎหมาย
ผู้นำ
1. มักยอมรับความผิดพลาด
2. มักให้คำแนะนำ
3. มักแสดงให้ดูว่าทำอย่างไร(จึงจะเสร็จ)
4. มักฟังก่อน (พูด)
5. มักให้แนวทาง
6. การได้มาและคู่ควรต่อความเคารพ(จากลูกน้อง)
7. มักแสดงความมีมนุษยธรรม

การเป็นผู้นำนั้นเป็นได้ไม่ยาก แต่การที่จะเป็นผู้นำที่ดีให้ได้นั้น ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของการบังคับบัญชา (ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์)

คนที่คิด คนที่พูด คนที่ทำอะไรแล้วคนอื่นเชื่อถือ อยากทำตาม อยากช่วยเหลือ อยากสนับสนุน   (อานันท์  ปันยารชุน)

ชีวิตคนคนหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้ ทำอะไรได้สำเร็จ 80% เกิดจากภาวะผู้นำอีก 20% เกิดจากวิชาการหรือเรียกว่า กฎ 80:20 ของ Pareto's Law

3. ผู้นำ(Leadership) ต้องรู้มาก รู้กว้าง  รู้ลึกกว่าผู้อื่นต้องแสดงออกให้ลูกน้องเห็นความเป็นตัวตน(ego less)

Intellectual  Capital ทุนทางปัญญา 8K's

Head  8H's

Knowledge  5K's  ทุนความรู้

รู้ตัวทุกขณะว่าคิดอะไร  เพื่อจะทำอะไร(คิดเป็น)

ทรัพยากรมนุษย์นั้นเพิ่มมูลค่าและพัฒนาไม่มีจบ ขณะที่ทรัพยากรอื่นจะลดจำนวนลง หรือลดมูลค่าลงเรื่อยๆ

Mr.ninnath vinicchayakul(นาย นินนาท วินิจฉัยกุล)ID.006150007

 

กราบเรียนศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อนๆชาว Blog ทุกท่าน1.คุณลักษณะแต่ละบุคคล และคุณลักษณะเฉพาะของตัวเอง ข้อด้อยที่อยากปรับปรุง- การไม่มีความมั่นใจในตนเอง  ในข้อนี้กล่าวรวมถึงข้อของความกล้าเสี่ยง , ความสามารถด้านเทคนิค , ความสามารถด้านบริหารอีกด้วย  การที่ได้มาแสวงหาความรู้ที่ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและลงเรียน ภาวะผู้นำ โดยมีศ.ดร.จีระ  เป็นผู้ประสิทธิ ประสาทวิชา นั้น ทำให้ผมมั่นใจว่าถ้าศึกษาวิชาภาวะผู้นำจนจบแล้วนั้น จะทำให้ข้อด้อยของผมกลับกลายเป็นข้อเด่นได้ในที่สุด และในข้อเด่นยิ่งเพิ่มพูนไปมากยิ่งๆขึ้นในส่วนข้อที่คิดว่าเป็นข้อเด่น นั้นในข้อนี้น่าจะเป็นพื้นฐานสืบทอดกันมาของครอบครัวผมก็เป็นได้ นั่นคือ การยึดหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์2. ผู้นำ(leadership) มีมาตรฐานด้านจริยธรรม(ethical standards) และจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ  มีพฤติกรรมของผู้ที่มีความซื่อสัตย์ ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น การให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์    ผู้บริหาร(management)บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพของตนเป็นพื้นฐาน  มีประสบการณ์ในงานที่ผ่านมาแล้วเป็นอย่างดี  จึงได้รับความไว้วางใจให้ขึ้นมารับหน้าที่เป็น"นักบริหาร"เป็นหัวหน้าคนหรือผู้นำนั่นเอง  บังคับบัญชาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามการบริหารของตน  มีระเบียบ วินัย รอบรู้ รอบคอบ ความเด็ดขาดผู้นำคือผู้ที่คิดครั้งแรก และความคิดนั้นต้องเป็นรูปอธรรม สามารถนำไปปฏิบัติได้ ผู้บริหารคือผู้ที่ลงมือปฏิบัติให้เป็นจริงตามความคิดของผู้นำ ลักษณะข้อแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับผู้นำ
ผู้บริหาร
1. มักรู้ไปทุกอย่าง
2. มักติเตียน
3. มักบอกว่าอะไรต้องทำ (ให้เสร็จ)
4. มักพูดก่อน (ฟัง)
5. มักออกคำสั่ง
6. มักเรียกร้องความเคารพ(จากลูกน้อง)
7. มักปกครองด้วยกฎหมาย
ผู้นำ
1. มักยอมรับความผิดพลาด
2. มักให้คำแนะนำ
3. มักแสดงให้ดูว่าทำอย่างไร(จึงจะเสร็จ)
4. มักฟังก่อน (พูด)
5. มักให้แนวทาง
6. การได้มาและคู่ควรต่อความเคารพ(จากลูกน้อง)
7. มักแสดงความมีมนุษยธรรม
การเป็นผู้นำนั้นเป็นได้ไม่ยาก แต่การที่จะเป็นผู้นำที่ดีให้ได้นั้น ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของการบังคับบัญชา (ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์)คนที่คิด คนที่พูด คนที่ทำอะไรแล้วคนอื่นเชื่อถือ อยากทำตาม อยากช่วยเหลือ อยากสนับสนุน   (อานันท์  ปันยารชุน)ชีวิตคนคนหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้ ทำอะไรได้สำเร็จ 80% เกิดจากภาวะผู้นำอีก 20% เกิดจากวิชาการหรือเรียกว่า กฎ 80:20 ของ Pareto's Law 3. ผู้นำ(Leadership) ต้องรู้มาก รู้กว้าง  รู้ลึกกว่าผู้อื่นต้องแสดงออกให้ลูกน้องเห็นความเป็นตัวตน(ego less)Intellectual  Capital ทุนทางปัญญา 8K'sHead  8H'sKnowledge  5K's  ทุนความรู้รู้ตัวทุกขณะว่าคิดอะไร  เพื่อจะทำอะไร(คิดเป็น)ทรัพยากรมนุษย์นั้นเพิ่มมูลค่าและพัฒนาไม่มีจบ ขณะที่ทรัพยากรอื่นจะลดจำนวนลง หรือลดมูลค่าลงเรื่อยๆ 
นางสาวธัญลักษณ์ สีถัน
เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   และท่านผู้อ่านทุกท่าน       นักศึกษา  MPA  ได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจากท่านอาจารย์จีระที่ได้มาสอนพวกเรา   ซึ่งท่านอาจารย์จีระยังได้บรรยายในรายวิชาภาวะผู้นำ   และยังได้ให้พวกเราได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นของแต่ละคนออกมาว่าได้อะไรและต้องการอะไรที่จะได้จากวิชานี้    ส่วนความคิดเห็นของการบ้าน  3 ข้อ  มีดังนี้ค่ะ ข้อ 1  ลักษณะเฉพาะของแต่ละคน  จุดอ่อน  จุดแข็ง  อะไรบ้างที่อยากจะปรับปรุง                จุดแข็ง  1.  มองโลกในแง่ดีและมีสัมมาคารวะ  ทำให้เราทำอะไรได้อย่างสบายใจ  รู้กาลเทศะ และ ไม่ใช่คนคิดมาก  เพราะถ้าเป็นคนคิดเล็กคิดน้อยเกินไปมันทำให้เราไม่มีความสุขที่จะทำงานหรือเรื่องอื่นๆ                                2.  ความอดทนอดกลั้น  ไม่ยอมแพ้ต่อความลำบาก  ไม่ซ้ำเติมใครเมื่อเขาทำผิดพลาด  จะให้กำลังเพื่อเริ่มต้นใหม่                                3.  ความซื่อสัตย์และความตั้งใจ  แม้จะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องเรียนก็จะมุ่งมั่นและตั้งใจทำให้ดีที่สุด และความซื่อสัตย์ถึงแม้ว่าเราจะทำงานอะไรก็จะติดตัวเราไปตลอด                จุดอ่อน  1.  กล้าแสดงออก  เรื่องนี้ถือเป็นจุดอ่อนค่ะ  เพราะว่าขาดการแสดงออกในชุมชน  ซึ่งต้องใช้อย่างมากในการทำงาน    เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป                                2.  ความมั่นใจ  ข้อนี้ถ้าขาดความมั่นใจ  ก็จะคอยคิดว่าทำดีหรือยัง  มันยังไม่ดีนะ  น่าจะทำได้ดีกว่านี้อีก ข้อ 2  ระหว่างผู้นำกับผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร                ผู้นำ  (Leader)                                ผู้นำ (Leader)  เน้นประสิทธิผล   มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร   เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่  และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล    และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆ   ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย   และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  มีทักษะ เพื่อการสร้างความมั่นใจว่างานขององค์การคือสิ่งที่จำเป็นต้องทำ   ซึ่งก็มีหน้าที่อำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดเป้าหมาย (Goals) ขององค์การ เป็นผู้ที่ริเริ่มในการพัฒนาวิสัยทัศน์ที่ควรจะเป็นขององค์การ โดยสรุปงานด้านการเป็นผู้บริหาร (Management) ได้แก่ การควบคุม การวางระบบ การจัดระเบียบ  และเน้นความมีประสิทธิภาพ  ส่วนงานการเป็นผู้นำ (Leadership) คือการทำหน้าที่ปลดปล่อยพลังความสามารถของผู้ปฏิบัติงานการ จัดทำวิสัยทัศน์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีประสิทธิผล

                 ผู้บริหาร (Management)                                ผู้บริหาร (Management) เน้นประสิทธิภาพ  ความสำเร็จในภาระหลักของผู้บริหาร  อำนาจหน้าที่ที่ได้รับและทรัพยากรการบริหารที่จำเป็นแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิผลผู้บริหารอีกด้วย   นอกจากนี้ด้านการเป็นผู้บริหาร (Management) ได้แก่ การควบคุม การวางระบบ การจัดระเบียบ  และเน้นความมีประสิทธิภาพ  จัดหา   ประสานงาน   และกระจายทรัพยากรมนุษย์และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับองค์การแล้วยังมีอิทธิพลโดยชักชวนโน้มน้าว หรือชี้นำ ให้คนอื่นปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วย  ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีทักษะในการเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการทำงานขององค์การ  เป็นผู้ที่สร้างความมั่นใจว่าสร้างที่ปฏิบัตินั้นเป็นไปตามกฎระเบียบขององค์การ ข้อ 3  ทฤษฎี  8 K’s, 8 H’s, 5 K’s  เกี่ยวข้องอย่างไรกับ  Leadership ตามทฤษฎี 8 K’s ได้แก่                 ทุนมนุษย์  (Human Capital)                           ทุนทางความรู้  (Talented Capital)                 ทุนทางปัญญา  (Intellectual Capital)            ทุนทาง IT  (Digital Capital)                ทุนทางความสุข  (Happiness Capital)           ทุนทางจริยธรรม  (Ethical Capital)                 ทุนทางสังคม  (Social Capital)                       ทุนแห่งความยั่งยืน  (Sustainability Capital) ตามทฤษฎี 8 H’s ได้แก่                 • Heritage   แสดงถึงตัวตนและคุณค่าของตัวเอง                • Home   บ้านเป็นพื้นฐานแห่งการดำรงชีวิตที่จะต้องมั่นคง                • Hand   มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ                • Head   ใช้ความคิดให้เกิดประโยชน์                • Heart   เป็นผู้ที่มีจิตใจดี                • Happiness   แสวงหาความสุขให้กับชีวิต                • Harmony   ความร่วมมือร่วมใจให้เกิดความสงบสุข                • Health   เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์  ตามทฤษฎี 5 K’s ได้แก่                 • Emotional  Capital  ทุนทางอารมณ์               • Cultural  Capital  ทุนทางวัฒนธรรม                • Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้              • Creativity  Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์                 • Innovation  Capital  ทุนทางนวัตกรรม                ทฤษฎี  8 K’s, 8 H’s, 5 K’s  ทั้ง 3 ทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับ  Leadership  ได้ว่าก่อนอื่นได้ความรู้  เพื่อนำมาปรับและประยุกต์ใช้ที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีทั้ง 3 ทฤษฎีนี้  ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมให้มากที่สุด  องค์กรที่ทำงานและได้มีมุมมองที่กว้างมากขึ้น   และถ้ารู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วได้นำทฤษฎีไปใช้จริงหรือไม่  ยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหรือไม่และจะทำอย่างไรที่จะสร้าง และดึงศักยภาพของคนในองค์กรออกมาใช้ได้มากน้อยแค่ไหน   เพราะทุกคนย่อมมีศักยภาพในตัวถือได้ว่าเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้บริหาร
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สวัสดีเพื่อนนักศึกษา MPA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ทุกท่าน ดิฉันคิดว่า คนที่จะให้การศึกษากับคนอื่นได้ ต้องทำตัวให้ได้รับการศึกษาก่อน และต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บิดามารดาเป็นครูคนแรก ต่อการเรียนรู้ของบุตรธิดามากที่สุด ครูอาจารย์ที่ดีต้องเรียนรู้อยู่เสมอ องค์กรที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปได้จะต้องเป็นองค์กรที่รู้จักเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ดิฉันเป็นหนึ่งในจำนวนนักศึกษา MPA รุ่น 1 ในมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ดิฉันเองเคยรับราชการในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้เห็นการเรียนการสอนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และในขณะนี้ที่ดิฉันได้เห็น ศ.ดร. ธีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่เป็นผู้มีความรู้มาก และมีประสบการณ์สูงที่สามารถให้คำแนะนำ สำหรับผู้ไฝ่การเรียนรู้แต่ละคน แล้วยังได้เผยแพร่แนวคิดที่จะมีส่วนไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษาในชั้นเรียน และยังช่วยแก้ปัญหาความด้อยพัฒนาของนักศึกษาอีกด้วย ศ.ดร. ธีระ หงส์ลดารมภ์ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การฟังอย่างพินิจ พิจารณา คิด ซักถาม อภิปราย อ่าน ค้นคว้า ทดลอง เรียนรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ให้เป็น ท่านอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนค้นหาคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว เพราะการจะมีภาวะผู้นำที่ดีนั้น จะต้องฝึกวิเคราะห์สภาพปัญหาอย่างลึกซึ่งรอบด้าน เช่น วิเคราะห์ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน ด้านบวก ด้านลบของคน องค์กรสถานการณ์ต่างๆ ค้นหาสาเหตุไปถึงรากเหง้าของปัญหา สำหรับดิฉันแล้ว การมีจุดแข็ง 1.ในเรื่องของจริยธรรมนั้นเป็นเรื่องของรูปแบบของการตีความว่า พฤติกรรมใดผิด พฤติกรรมใดถูก สิ่งใดดี สิ่งใดเลว ควรทำหรื่อไม่ควรทำ จริยธรรมนี้จะเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิชาชีพ สถาบันต่าง ๆ พยายามที่จะสอนให้คนมีจริยธรรม แต่การที่จะได้ผลสัมฤทธิตามคำสอนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้เรียนรู้ว่าจะยอมรับและนำไปปฏิบัติมากน้อยเพียงใด 2.การให้ความเคารพนับถือผู้อื่น ไม่สำคัญว่าผู้นั้นจะเป็นใครมาจากไหน ไม่ว่าจะอายุมากกว่าหรือน้อยกว่า 3.เชื่อมั่นและรับฟัง มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง แต่ในขณะเดียวกันยินดีรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ และไม่ถือตัวเย่อหยิ่งกับผู้อื่น 4.ยอมรับทั้งข้อผิดพลาดและถูกต้อง มีความรับผิดชอบต่อการกระทำภายใต้การควบคุมดูแลของตน และผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่รับความดีแต่ไม่ยอมปกป้องลูกน้องในกรณีที่เกิดผิดพลาด 5.รู้จักปรับตัวและยืดหยุ่น มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบด้านได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องมาจากความสามารถในการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จุดอ่อน 1.ขาดความเชียวชาญในด้านเทคนิค 2.ขาดความกล้าเสี่ยง 3.ขาดความสามารถด้านบริการจัดการ 4.เป็นคนตรงเกินไป 5.คิดเร็ว พูดเร็ว (หมายเหตุ) คนทุกคนไม่ใช้ว่าจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนมากกว่าหรือน้อยกว่า 5 ข้อ เสมอไป ท่านอาจารย์ให้เปรียบเทียบว่าผู้นำและผุ้บริหารเหมือนกันอย่างไร เราจะรู้สึกว่าความหมายของ ผู้นำและผู้บริหาร เหมือนกัน แต่จริงๆแล้วต่างกัน ผู้นำมักจะเป็นผู้คิดนโยบาย และผู้บริหารจะเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติดังตารางข้างล่าง ***************************************** ผู้นำ * ผู้บริหาร ***************************************** เน้นที่คน * เน้นที่ระบบ Trust * ควบคุม ระยะยาว * ระยะสั้น What ,Why * When , How มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์ * กำไร / ขาดทุน ทุก 3 เดือน เน้นนวัตกรรม * จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ Change * Static ***************************************** ทฤษฎี 8K’S,SK’S,8H’S เกี่ยวข้องอะไรกับ Leadership ทฤษฎี 8H’S ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ 1.HERITAGE (มรดก)รากฐานของชีวิต 2.HEAD สมอง (คิดเป็น คิดดี) 3.HAND มืออาชีพ 4.HEART จิตใจที่ดี 5.HEALTH สุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์ 6.HOME บ้านและครอบครัว 7.HAPPINESS การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข 8.HAMONY ความปรองดอง สมานฉันท์ ******************************** ทฤษฎี 8K’S ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ ทุนแห่งความยังยืน Sustainable Capital ทุนทางสังคม Social capital ทุนทางจริยธรรม Ethical Capital ทุนแห่งความสุข Happiness Capital ทุนทาง IT Digital Capital ทุนทางปัญญา Intellectual Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ Talent Capital ทุนมนุษย์ Human Capital ทฤษฎี 5 K’S ได้แก่ 1. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม 2. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ 3. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ 4. Cultural Capital ทุนทางประสบการณ์ 5. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ เราจะเห็นว่า ทฤษฎี 8 H’S :ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ทฤษฎี 8 K’S : ของ ศ.ดร. ธีระ หงส์ลดารมภ์ ทฤษฎี 5 K’S : ทั้ง 3 ทฤษฎีนี้ ถ้าผู้ศึกษาได้นำไปปฏิบัติอย่างจริงจังจะทำให้มีวุฒิของความเป็นผู้นำได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะถ้าได้อ่านหนังสือ 2 เล่ม คือ 1).2พลังความคิดชีวิตและงาน ของ ศ.ดร. ธีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ 2).หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ โดย ศ.ดร. ธีระ หงส์ลดารมภ์ , คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา หนังสือ 2 เล่มดังกล่าวเป็นผลงานที่ได้กลั่นกรองจากประสบการณ์ การเป็นอาจารย์ผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงวิชาการในด้านการจัดการและการเป็นผู้นำ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมาเป็นเวลายาวนาน รวมไปถึงประสบการณ์จริงในการเป็นที่ปรึกษาองค์กรต่าง ๆ ผู้บรรยายคอลัมน์นิสต์ วิทยากร ตลอดจนมีผลงานการทำวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย สุรีย์ อภิราษฎร์ศักดิ์
นางสาววลัยพร วงษ์งาม ID 006150015
สวัสดีคะท่าน .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ  พี่ๆนักศึกษา  MPA และผู้อ่านทุกท่าน            จากที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับท่าน .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2549 ก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำมาพอสมควรและได้มีความรู้และความเข้าใจในห้องเรียน และ มาศึกษาความรู้จากนอกห้องเรียน แล้วจึงได้นำข้อมูลที่ท่านอาจารย์ได้ชี้แนะให้ไปศึกษาเพิ่มเติมมาเสนอดังนี้

1. แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง อยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร อธิบายมา 5 เรื่อง

ตั้งแต่ดิฉันได้ออกมาสัมผัสกับโลกใบนี้ก็ได้รับการเลี้ยงดู จาก คุณพ่อและคุณแม่มาโดยตลอดท่านทั้งสองไม่เคยละเลยการดูแลเอาใจใส่ดิฉันโดยตลอดมา ดิฉันจึงได้ สัมผัส รับรู้ เรียนรู้ พฤตกรรม มารยาท คุณธรรมจริยธรรม วิธีการดำรงชีวิต ให้อยู่ร่วมกับครอบครัว สังคม อย่างมีความสุข จากคุณพ่อ และคุณแม่  ทำให้ดิฉันมีคุณลักษณะเฉพาะตัว คือ

1. รักครอบครัว2. มีเหตุผล3. มุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่ดี  มีประโยชน์  ต่อตนเอง และผู้อื่น4. มีความรับผิดชอบ5. มองโลกตามความเป็นจริง ไม่ได้มองโลกในแง่ดีเกินไป หรือแง่ร้ายเกินไป 6. มีระเบียบวินัยต่อตนเอง และ งาน7. มีความพยายาม ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคง่าย ๆ ให้กำลังใจตนเอง และ สู้ต่อ เมื่อพบอุปสรรค8. ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลาเมื่อมีโอกาส9. มีคุณธรรมในเรื่อง-         มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และ ผู้อื่น-         มีน้ำใจ เมตตา กรุณา ต่อเพื่อน มนุษย์ และ สัตว์โลก-         ไม่ดูถูกผู้อื่น  ไม่แบ่งชนชั้น วรรณะ ชาติ ภาษา-         เรื่องงาน ยึดผู้ป่วยเป็นหลัก  มุ่งเน้นการดูแลให้ผู้ป่วยหายป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ-         เสียสละ  กำลังกาย กำลังใจ  เวลา ยอมเหนื่อยกายอุทิศงานเพื่อคนไข้ทั้งใจกาย10. มีความ ตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะเป็นพยาบาลที่ดี  11. ใจอ่อน12. Sensitive13. เป็นคนไม่ค่อยยอมใคร ง่ายๆ ถ้าตัวเองไม่ผิด14.ไม่ค่อยออกกำลังกาย15. ไม่ค่อยกล้าแสดงออกต่อ สาธารณะชน

จุดแข็ง

-         ความพยายาม  คิดว่าทุกอย่างต้องสำเร็จได้ถ้าเรามีความมานะ และ พยายาม  ไม่มีอะไรเกินความสามารถ

จุดอ่อน

-         ใจอ่อน ขี้สงสาร อาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาด-         Sensitive ทำให้ดูอ่อนแอ-         ไม่ค่อยกล้าแสดงออกต่อ สาธารณะชน

สิ่งที่ต้องการปรับปรุง

-         ใจอ่อน ขี้สงสาร อาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาด-         Sensitive ทำให้ดูอ่อนแอ-         เป็นคนไม่ค่อยยอมใคร ง่ายๆ ถ้าตัวเองไม่ผิด  อาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับผู้อื่น-         ไม่ค่อยออกกำลังกาย  อาจส่งผลให้สุขภาพ ไม่ดีเท่าที่ควร-         ไม่ค่อยกล้าแสดงออกต่อ สาธารณะชน  อาจทำให้เสียโอกาสในบางเรื่อง

2.         เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร

ผู้นำ (Leader) หมายถึงบุคคลที่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากบุคคลอื่น หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าในการดำเนินงานต่างๆ

ความเป็นผู้นำ (Leadership) หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถในการบังคับบัญชาบุคคลอื่น โดยได้รับการยอมรับและยกย่องจากบุคคลอื่น เป็นผู้ทำให้บุคคลอื่นไว้วางใจและให้ความร่วมมือ ความเป็นผู้นำเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการอำนวยการหรือสั่งการ บังคับบัญชา ประสานงานโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) เพื่อให้กิจการงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ต้องการความเป็นผู้นำ หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ศิลปในการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จด้วยความเต็มใจ

ผู้บริหาร (Executive) หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในองค์การต่างๆ เพื่อควบคุมดูแลความรับผิดชอบให้กิจการงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์โดยอาศัยผู้อื่น

ผู้นำ (Leader) ผู้บริหาร (Executive)
เกิดจากการยอมรับของสมาชิก เกิดจากการแต่งตั้ง

กลุ่มปฏิบัติตามเพราะเชื่อถือและศรัทธา

 
กลุ่มปฏิบัติตามเพราะอำนาจ
ได้รับความร่วมมือมาก ได้รับความร่วมมือน้อย
ขอความร่วมมือ ใช้การลงโทษ
ไม่ควบคุม ควบคุมอย่างใกล้ชิด
เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร ดูแลจัดการให้เป็นไปตามภารกิจ
มีกลุ่มบุคคล มีผู้นำ มีสายบังคับบัญชา
Strong weak
คิดริเริ่ม,นโยบาย ทำงานประจำ
พัฒนางาน ด้านเทคนิคเฉพาะ
เป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ยึดสถานะเดิม 
สนองการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ สนองความต้องการภายใน
ประสาน,ลดความขัดแย้ง จัดบรรยากาศการทำงาน
ประเมินผลงาน รักษาองค์กรอยู่ต่อไป
อาศัยอิทธิพลเฉพาะบุคคล เช่น บารมี,รูปร่าง/ท่าทาง ตระกูล ใช้อำนาจติดกับตำแหน่ง(formal Authority) 

 3.ทฤษฎี 8 K's , 5k’s, 8H’s เกี่ยวข้องอะไรกับ Leadership          

      leadership มีความสัมพันธ์กับ 8 K, 8H, 5Ks  คือ การเป็นผู้นำที่ดี ควรมีคุณสมบัติดัง  8 K, 8H, 5Ks  จึงจะทำให้เป็นผู้นำที่ดีที่สมบูรณ์แบบ

      8K’S     8H’S

1.       Human Capital  ทุนมนุษย์      © Home : บ้านและครอบครัว

            ถ้าผู้นำมีพื้นฐานการเลี้ยงดู มีการปลูกฝังอบรม สั่งสอน ให้มีความสมบูรณ์แบบทั้งทางร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม การดำรง ชีวิต เป็นคนที่ดี สามารถตัดสินใจทำสิ่งที่ถูกต้อง  ถือว่าเป็นทุนมนุษย์ที่ผู้นำพึงควรมี

2.      Intellectual Capital  ทุนทางปัญญา©Head  : สมอง ( คิดเป็น คิดดี )

ผู้นำที่ดีควรมีความรู้ความสามารถ  ประสบการณ์ เพื่อการบริหารจัดการงานและเป็นผู้นำที่ดีมีประสิทธิภาพ 

3. Ethical  Capital  ทุนทางจริยธรรม      © Heart : จิตใจที่ดี

            ถ้าผู้นำเก่งแต่อำนาจจัดการ แต่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา อาจไม่เชื่อถือ  และไม่เคารพ รัก 

4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข©Happiness : การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

เมื่อไม่มีความสุขในการทำงาน จัดการบริหารงาน อาจทำให้ผู้ทำงาน มีความอึดอัด คับข้องใจ ผลงานที่ออกมา ไม่ประสบผลสำเร็จ ความเป็นผู้นำก็ล้มเหลว

5. Social  Capital  ทุนทางสังคม©Harmony :ความปรองดองสมานฉันท์

ผู้นำ และ มนุษย์ เป็นสัตว์ สังคม ไม่สามารถดำรงชีวิดอยู่ได้เพียงคนเดียงโดยไม่มีสังคม เพราะเราต่างอาศัยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันดังนั้น ผู้นำจึงควรมีสังคมเพื่อส่งเสริมให้มีภาวะผู้นำที่ดี

6. Sustainability  Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน©Heritage :(มรดก) รากฐานของชีวิต

            ผู้นำควรมีรากฐานของชีวิตที่ดี มีวัฒนธรรมที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความยั่งยืนของชีวิตจะส่งเสริมให้เป็นผู้นำที่ดี

7. Digital  Capital  ทุนทาง  IT      ©Health :สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ 

            การเป็นผู้นำที่ดีต้องคนที่รับรู้ข่างสารทันเหตุการณ์ตลอดเวลา จะได้มีการพัฒนาตนเองและ หน่วยงานตลอดเวลา ในเรื่องสุขภาพก็เช่นเดียวกัน การมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นฐานสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดภาวะผู้นำที่ดีด้าน อื่นๆ

8. Talented  Capital  ทุนทาง   Knowledge , Skill, และ Mindset©Hand :      มืออาชีพ

            ผู้นำที่ดี จะต้องเป็นผู้รอบรู้ ฉลาดเฉลียว มีความรู้ความสามารถ  ที่ดี จะทำให้  คิดเป็น  ทำเป็น  และผล ของงาน จะสำเร็จลุร่วง  

 5K’S

1.      Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม ผู้นำที่ดีควรมีการเรียนรู้รับรู้นวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตเพื่อเสริมสร้างให้เป็นผู้รอบรู้และเพิ่มศักยภาพที่ดี2.      Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ผู้นำควรมีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนางานหรือบุคคลให้ดียิ่งขึ้น  ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่3.      Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ผู้นำควรมีความรู้ที่ดี เก่ง มีความสามารถหลายๆด้าน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ควรมี เพราะการพัฒนาตนเอง ผู้ร่วมงาน หน่วยงาน จำเป็นต้องมีความรู้เพื่อนำไปพัฒนาให้ตนเอง ผู้ร่วมงาน หน่วยงานดียิ่งขึ้น4.      Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม     ทุกคนล้วนมีวัฒนธรรมของตนเอง  ซึ่งจะได้จากครอบครัว สังคม ที่ตนเองอยู่  และต้องเป็นวัฒนธรรมที่ดี  เพราะผู้นำจะต้องร่วมงานกับบุคคล สังคม ที่ต่างก็มีวัฒนธรรม  ผู้นำจะต้องสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้เกิดในหน่วยงานแล้วจะทำให้ หน่วยงานประสบความสำเร็จ ผู้นำได้รับการยกย่อง5.      Emotional Capital ทุนทางอารมณ์อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญในการเป็นผู้นำ เพราะการรู้จักจัดการกับอารมณ์ของตนเองให้ดีแล้วจะช่วยในเรื่องของบุคลิคลักษณะให้ดูเป็นผู้นำที่ดีถ้าผู้นำอารมณ์ดี ผู้ตามก็จะมีความสุข ปฏิบัติตามผู้นำ  งานออกมาก็จะดี
ร.ต.ท.จารุพัฒน์ ดาวล้อมจันทร์
เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   สวัสดี พี่ๆ และเพื่อนนักศึกษา MPA  ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด            ศ.ดร.จีระฯ ได้สอนว่าด้วยการให้นักศึกษาออกความคิดเห็นว่า ท่านมีความคิดอย่างไรกับการมีบทบาทของภาวะผู้นำ  และได้มีคำถามให้ไว้ว่าวันนี้คุณได้อะไรบ้าง 1 เรื่องโดยให้แสดงความคิดเห็นแต่ละท่าน และได้สอนเกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำ โดยเริ่มจากบุคคลที่มีความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในประเทศและต่างประเทศ “คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กรโดย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา” “The Networth of Microsoft is 5% Physical assets, 95% human imagination”By Bill Gates        หลังจากนั้นก็ได้เริ่มจากทฤษฎีทุน 8 ประเภท  ทฤษฎี 5K’s  ทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะผู้นำเน้นรวมพลังของ Competency  โดยอธิบายว่าทฤษฎีต่าง ๆ สามารถที่จะปรับไปใช้กลับการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างความเป็นผู้นำให้กับผู้เรียนได้ แลได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความแตกต่างของผู้นำกับผู้บริหาร และยังให้นักศึกษาได้ดูหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ที่เขียนร่วมกับคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ โดยเน้นเรื่องทฤษฎี 8K's กับ 8 H's ได้ให้นักศึกษาดูเทปเกี่ยวกับสู่ศตวรรษใหม่คุณพารณ อิศรเสนาและศ.ดรจีระ”  เป็นเทปรายการเกี่ยวกับการสัมภาษณ์เรื่องทรัพยากรมนุษย์  และหลังจากนั้นก็ได้เริ่มให้นักศึกษาออกความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ตั้งคำถามไว้ตั้งแต่ต้นชั่วโมงว่าวันนี้คุณได้อะไรบ้าง 1 เรื่อง”  จากนั้นได้ฝากให้นักศึกษาทำงานจำนวน 3 หัวข้อ ดังนี้

1.    แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง อยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร อธิบายมา 5 เรื่อง

-              ในส่วนของคำถามข้อที่ 1 นั้น ก่อนอื่นผมขออนุญาตเล่าถึงประวัติส่วนตัวโดยสังเขป  เริ่มต้นจากการที่ผมได้มีโอกาสเติบโตมาจากครอบครัวที่ค่อนข้างที่จะสบาย  และอบอุ่น โดยในด้านของครอบครัวจะมีการสั่งสอนถึงเรื่องการมีเหตุผล  ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ในทุกๆ เรื่อง  ให้ความมุ่งมั่นในการที่จะทำสิ่งใด  จึงทำให้เป็นการปลูกฝังเข้าไปในจิตสำนึก และผมเองก็จะพยายามในการช่วยเหลือตัวเองมาโดยตลอด ตั้งแต่เด็ก  จนทำให้สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และเข้าใจคนรอบข้าง ได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งเริ่มเติบโตมา  ก็ได้มีโอกาสเข้าเรียนในสถาบันศึกษาอบรมหลักของทหาร-ตำรวจ คือ โรงเรียนเตรียมทหาร และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จนกระทั่งจบการศึกษาและเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจนกระทั่งปัจจุบันนี้                       ในด้านของจุดอ่อนหรือสิ่งที่อยากจะปรับปรุง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพในตัวของกระผมนั้นก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน                1.  ด้านความอดทนอดกลั้น   จะสังเกตุอยู่ในหลายๆ ครั้ง ในการทำงานโดยในปัจจุบัน เป็นตำรวจต้องเป็นผู้ที่รับฟัง รับความรู้สึกของประชาชน ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา คนรอบตัวทุกๆ ด้าน  ซึ่งในบางครั้ง การที่เราไม่สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรคืออะไร ก็ทำให้เป็นปัญหาขึ้น  ซึ่งปัจจุบันได้ลองพยามยามฝึกโดยใช้ความสงบนิ่งและสมาธิเข้ามาช่วยเหลือ                2.  เป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง  ปัญหาในเรื่องนี้ เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก  แต่ก็มักจะเกิดขึ้นในโอกาสที่เมื่องานในหลายๆ อย่าง เข้ามารุมเร้า  ทำให้เราเกิดอาการท้อแท้  ไม่รู้ว่าจะทำสิ่งใดดี ก็เลยปล่อยให้เวลามันเป็นตัวช่วย  ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดี  จึงได้คิดลองหาทางแก้ไขดู ก็ได้ข้อคิดอยู่อย่างหนึ่งคือ  หากครั้งได้คิดที่จะปล่อยให้ผัดงานออกไปอีก ก็ใช้วิธีคิดถึงคนในสังคมที่ไม่มีโอกาสเหมือนเรา  พวกเขาต้องลำบากต่อสู้ดิ้นรนอย่างไร   สิ่งนี้มันก็สามารถจะช่วยเหลือให้เกิดกำลังใจมุ่งมั่นทำงานได้ต่อไป                3.  ความละเอียดรอบคอบในการทำงาน  ปัญหานี้มักจะได้รับการตำหนิจากผู้บังคับบัญชาเสมอ เนื่องจากความละเอียดรอบคอบ เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานไม่ว่าจะเป็นด้านใด  เช่น  การแต่งกาย  การร่างหนังสือ การมีมารยาท ฯลฯ  ซึ่งในส่วนนี้ตัวเองได้ให้ข้อสรุปกับตัวเองไว้ว่า ต้องใช้ความพยายาม และอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์  เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ นี้                4.  การมีความมั่นใจในตนเอง  เรื่องนี้ถึงแม้จะได้รับการฝึกอบรมมาจากทั้งในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ แล้วก็ตาม  แต่ก็ยังเป็นปัญหามาโดยตลอด  เนื่องจากปัญหานี้มันมีองค์ประกอบหลายอย่าง  ซึ่งในส่วนตัวของกระผมเองก็ได้คิดหาวิธีการไว้ แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องอาศัยความพยายาม และความกล้าในการทำ  พยายามพบปะพูดคุยกับคนรอบข้าง ทั้งที่รู้จักหรือไม่รู้จัก                5.  ไม่ศึกษาสิ่งที่จะทำให้ถ่องแท้ก่อนลงมือทำ  นี้เป็นซึ่งที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงานหลายๆ ครั้ง เนื่องจากเป็นคนชอบทำงานรวดเร็ว อาศัยว่าที่ผ่านมาไม่มีปัญหา หรือผ่านมาได้ตลอด ดวงดี  ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะยิ่งผมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยแล้ว จะทำให้เกิดความสูญเสียตามมาได้ 

2.    เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร

-   ความหมายของผู้นำ  (Leader)                ความหมายของคำว่าผู้นำ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Leader” นั้น ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น                1. ผู้นำ      หมายถึง  บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นหรือได้รับการยกย่องขึ้นให้เป็นหัวหน้าผู้ตัดสินใจ (Decision Maker) เพราะมีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา และจะพาผู้ใต้บังคับบัญชาหรือหมู่ชนไปในทางที่ดีหรือชั่วได้                2. ผู้นำ       คือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งในกลุ่มคนหลาย ๆ คนที่มีอำนาจอิทธิพลหรือความสามารถในการจูงใจคนให้ปฏิบัติตามความคิดเห็นความต้องการหรือคำสั่งของเขาได้                3.   ผู้นำ     คือผู้ที่มีอิทธิพลในทางที่ถูกต้องต่อการกระทำของผู้อื่นมากกว่าคนอื่น ๆ ในกลุ่มหรือองค์กรซึ่งเขาปฏิบัติงานอยู่                4.   ผู้นำ     คือผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากกลุ่มเพื่อให้เป็นหัวหน้า                 5.  ผู้นำ    เป็นคนเดียวในกลุ่มที่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำ ผู้ประสานงานกิจกรรมภายในกลุ่ม             ซึ่งกล่าวโดยสรุปแล้ว ผู้นำคือ ผู้ที่มีศิลปะที่สามารถมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น นำบุคคลเหล่านั้นไปโดยได้รับความไว้วางใจและเชื่อใจอย่างเต็มที่อีกทั้งยังได้รับความเคารพนับถือ ความร่วมมือและความมั่นใจจากผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงจังความหมายของภาวะผู้นำ  (Leadership)                ได้มีผู้ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลายประการ เช่น              1.ภาวะผู้นำ หมายถึงผู้ที่มีอำนาจเหนือผู้อื่นและอำนาจนี้ช่วยให้ผู้นำสามารถปฏิบัติงานซึ่งเขาไม่สามารถปฏิบัติคนเดียวได้สำเร็จ และทำให้ผู้ตามยอมรับและเต็มใจปฏิบัติตาม              2.ภาวะผู้นำ หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนคนหนึ่ง(ผู้นำ)กับกลุ่ม(ผู้ตาม) ที่มีประโยชน์ร่วมกันและพฤติกรรมตนอยู่ภายใต้การอำนวยการและการกำหนดแนวทางของผู้นำ               3.ภาวะผู้นำ หมายถึงศิลปะของการบอก ชี้แนะ ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ด้วยความเต็มใจ และกระตือรือร้น                ซึ่งกล่าวโดยสรุปแล้ว ภาวะผู้นำ คือ ศิลปะหรือความสามารถของบุคคลหนึ่งที่จะจูงใจหรือใช้อิทธิพลต่อผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติการและอำนวยการโดยใช้กระบวนการสื่อความหมายหรือการติดต่อกันและกันให้ร่วมใจกับตนดำเนินการจนกระทั่งบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของเป้าหมายที่กำหนดไว้-   ความหมายของผู้บริหารคือ บุคคลที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การเพื่อให้ดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้                             ผู้บริหารขององค์การจะสามารถจัดการตามกระบวนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่ความสามารถทางการจัดการ 3 ชนิดคือ                            1.  ความสามารถด้านความคิด (Conceptual Skill) เป็นความสามารถในการมองภาพรวมทั่วทั้งองค์การ และความสามารถที่จะรวบรวมเอากิจกรรมและสถานะการณ์ต่าง ๆ  ตลอดจนเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในองค์การ                                                                    2.  ความสามารถด้านคน (Human Skill)  ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม การสร้างบรรยากาศในการทำงาน และการยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน                            3.  ความสามารถด้านงาน (เทคนิค) (Technical Skill) มีความรู้ ความชำนาญ กระบวนการ วิธีการ ขั้นตอนต่างๆในการทำงานและความสามารถในการประยุกต์ให้งานประสบความสำเร็จได้ดี    สรุปความแตกต่างระหว่าง ผู้นำ และ ผู้บริหาร นั้นมีด้วยกันหลายประการ แต่ประการหลักนั้นคือ ผู้นำที่ดีคือผู้ที่มีบารมี นั้นหมายความถึง สามารถจูงใจลูกน้องให้สามารถทำงานให้ได้อย่างไม่มีข้อสงสัย โดยที่ไม่เน้นที่ผลประโยชน์เป็นหลักใหญ่ ทฤษฎี  8 K’s, 8 H’s, 5 K’s  เกี่ยวข้องอย่างไรกับ  Leadership                             -    ทฤษฎี 8 K’s ได้แก่                             * ทุนมนุษย์  (Human Capital)                          * ทุนทางความรู้  (Talented Capital)* ทุนทางปัญญา  (Intellectual Capital)        * ทุนทาง IT  (Digital Capital)               * ทุนทางความสุข  (Happiness Capital)          * ทุนทางจริยธรรม  (Ethical Capital)                * ทุนทางสังคม  (Social Capital)                  * ทุนแห่งความยั่งยืน  (Sustainability Capital)                -     ทฤษฎี 8 H’s ได้แก่                * Heritage   แสดงถึงตัวตนและคุณค่าของตัวเอง         * Home   บ้านเป็นพื้นฐานแห่งการดำรงชีวิตที่จะต้องมั่นคง         * Hand   มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ               * Head   ใช้ความคิดให้เกิดประโยชน์               * Heart   เป็นผู้ที่มีจิตใจดี               * Happiness   แสวงหาความสุขให้กับชีวิต   * Harmony   ความร่วมมือร่วมใจให้เกิดความสงบสุข         * Health   เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์  -   ทฤษฎี 5 K’s ได้แก่            * Emotional  Capital  ทุนทางอารมณ์           * Cultural  Capital  ทุนทางวัฒนธรรม          * Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้        * Creativity  Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์           * Innovation  Capital  ทุนทางนวัตกรรม                                         จากทฤษฎีต่างๆ ที่ได้เรียนมานั้น จะสังเกตุได้จากในตัวของผู้นำแต่ละคนได้อย่างง่าย ซึ่งจะไม่เคยมีผู้นำคนใดที่จะสามารถทำทฤษฎี แต่ละทฤษฎีได้ทุกๆ ข้อ  แต่หากดูแล้วเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับตัวผู้นำ หรือ ผู้บริหารเองทุกคน นั้นคือการที่จะเป็นผู้นำ หรือ ผู้บริหาร นั้น หมายถึงการเป็นผู้มีอำนาจที่สามารถบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์เป้าหมาย แต่การที่จะได้มาซึ่งเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น ในบางครั้งต้องมีการกระตุ้นหลายๆ อย่างให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการตาม  ฉะนั้น ผู้นำ หรือผู้บริหารนั้น ต้องใช้ทั้งศิลป์ และ ศาสตร์ ในการบริหารจัดการ 
นางสาวอรุณรุ่ง พึ่งร่วมกลาง รหัส 06150012
ข้าพเจ้า  นางสาวรุ่งอรุณ  พึ่งร่วมกลาง  ตั้งแต่เล็กจนโต ข้าพเจ้าเกิดขึ้นในครอบครัวใหญ่ที่มีฐานะมั่นคง  แต่บิดามารดาของข้าพเจ้าก็ไม่เคยเลี้ยงลูกแบบตามใจ  คืออยากได้อะไรก็ได้  บิดามารดาของข้าพเจ้าจะสอนอยู่ตลอดเวลาว่าให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริตมีน้ำใจให้กับคนรอบข้าง  ให้เคารพนับถือผู้ใหญ่และให้อดทนต่อความไม่ชัดเจนในอนาคตที่ไม่แน่นอนทุกๆเรื่อง และให้รู้จักตัวตนของตนเอง  และมองโลกในแง่บวกเสมอ  ถึงแม้ว่าครอบครัวของข้าพเจ้าจะเป็นคนต่างจังหวัด แต่บิดามารดาของข้าพเจ้าก็ไม่เคยเลยที่จะมองข้ามการศึกษาของลูกๆ ส่งให้ลูกๆ เรียนจบกันหมดแต่ก็ไม่บังคับว่าให้ลูกเรียนวิชาอะไร  ขอให้ลูกเลือกทางเดินที่ดีและถูกต้องข้อ 1    จุดอ่อน  จุดแข็ง  อะไรบ้างที่อยากจะปรับปรุง                จุดแข็ง  1.  มองโลกในแง่ดี  มีทัศนคติเชิงบวกและเป็นคนเข้มแข็ง  คอยสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองเสมอ                จุดอ่อน  1.  ไม่มั่นใจในตัวเอง  ข้อ 2  ระหว่างผู้นำกับผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร

                ผู้นำ  (Leader)    เน้นที่คน,  วิสัยทัศน์ไกล ,  เป็นผู้จัดระบบ ,   เน้นการลงทุน ,   มีอุดมการณ์  หลักการณ์    จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าสำหรับอนาคตเสมอ จะต้องเป็นผู้ที่ความคิดความอ่านคำนึง

สิ่งถึงสถานะการณ์ปัจจุบัน และมองถึงแนวโน้มเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อที่จะได้หาแนวทางรับมือและป้องกัน  เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่อไป                ผู้บริหาร (Management)  เน้นประสิทธิภาพ  การควบคุม การวางระบบ  การจัดระเบียบ  จัดหา   ประสานงาน   มองถึงประสิทธิภาพการทำงานเป็นส่วนประกอบเมื่องานนั้นเสร็จก็ถือว่าจบ ต่างจากการมองในมุมของผู้นำนั้นจะมุ่งที่จะนำนวัตกรรมใหม่เทคโนโลยีใหม่พยายามเสาะแสวงหาสิ่งใหม่เข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานให้ความสะดวกรวดเร็วและเกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด         ข้อ 3  ทฤษฎี 8 K’s, 5k’s, 8H’s เกี่ยวข้องอะไร Leadership                     ทฤษฎี 8K’s นั้นประกอบด้วย Human capital, Intellectual Capital, Ethical Capital, Happiness Capital, Social Capital, Sustainability Capital, Digital Capital, Talent Capital   ทฤษฏี 8H’s นั้นประกอบด้วย  Heritage, Home, Hand, Head, Heat, Happiness Harmony, Health                   • Emotional  Capital  ทุนทางอารมณ์               • Cultural  Capital  ทุนทางวัฒนธรรม   ทฤษฎี 5K’s นั้นประกอบด้วย   • Knowledge  Capital   ทุนทางความรู้   • Creativity  Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์   • Innovation  Capital  ทุนทางนวัตกรรม                มองว่าทั้ง 3 ทฤษฏีนี้มีความเกี่ยวข้องกับ Leadership ยังไงนั้นก็พอจะบอกได้ว่าทั้ง 3 ทฤษฏีก็เป็นส่วนหนึ่งที่สัมพันธ์กันของภาวะผู้นำผู้ที่จะเป็นผู้นำนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีหลักทฤษฏีทั้ง 3 ทฤษฎีนี้  โดยกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม และ ทุ่มเทให้แก่องค์กร และจะต้องนำหลักดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการเป็นผู้นำของเขานั่นเอง   
นางสาวชนากานต์ วังคะฮาด
เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมถ์                                  จากที่ดิฉันได้กับท่านอาจารย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔  มกราคม  ๒๕๕๐ ที่ผ่านมานั้นเพียงวันเดียวที่ได้สำผัสกำท่านอาจารย์ก็ทำให้ดิฉันทราบแล้วค่ะว่าตัวเองเป็นอย่างไร  ดิฉันเองยังห่างไกลอะไร ๆ อีกมากมาย มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ดิฉันต้องเรียนรู้จากท่าน  ดิฉันภูมิใจค่ะที่ได้มาเรียน MPA. ที่ ม. แสตมฟอร์ด และได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน ดร. จีระ  หงส์ลดารมถ์     ดิฉันตั้งใจจะเก็บเกี่ยวความรู้จากท่านให้มากที่สุด  เพราะดิฉันไม่รู้ว่าหลังจากจบวิชานี้ไปแล้วดิฉันจะโชคดีได้นั่งฟังท่าน ดร. จีระ พูดอีกเมื่อไร  ภาวะผู้นำนั้นสำคัญมากสำหรับดิฉัน  โดยเฉพาะตำแหน่งหน้าที่การงานของดิฉันในปัจจุบันซึ่งเป็นทั้งผู้นำและผู้บริหารควบคู่กันไปและถ้าหากว่าดิฉันไม่พัฒนาตัวเองด้านศักยภาพความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการที่ดีอยู่เสมอแล้วละก็ ดิฉันคิดว่าบนเส้นทางทางการเมืองซึ่งเป็นเส้นทางที่ดิฉันเลือกเองนั้นคงจะไปได้ไม่ดีแน่ดังนั้นดิฉันจึงพยายามแสวงหาความรู้ตลอดเวลาเมื่อมี่โอกาส                วันนี้ดิฉันได้ส่งการบ้าน  ๓ ข้อที่ท่านอาจารย์ให้ทำด้วยค่ะ                ข้อ ๑   สำหรับดิฉันในปีนี้อายุย่างเข้า  ๓๖  ปีแล้วค่ะ ดิฉันคิดว่าจุดแข็งของตัวเองคือ   ๑.      ความมีมานะ  ขยัน  และความอดทน  เนื่องจากดิฉันเกิดมาในครอบครัวที่ไม่ร่ำรวยพ่อแม่มีอาชีทำนามีลูกหลายคนดิฉันมีพี่น้องรวมกัน ๙ คน ดิฉันทำงานหนักตั้งแต่อายุยังน้อย แม่สอนให้รู้จักความมีมานะ ความขยันหมั่นเพียรและให้รู้จักอดทน และปัจจุบันดิฉันคิดว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้ดิฉันชนะใจประชาชนในท้องถิ่นและได้รับเลือกให้เป็นนายก อบต. คือความรู้จักอดทนอดกลั้นต่อสิ่งประทะทั้งปวง  ๒.    ความซื่อสัตย์สุจริต กตัญญู  มีคุณธรรมและจริยธรรม  ที่ดิฉันคิดว่าเป็นจุดแข็งเพราะตั้งแต่เกิดมาดิฉันไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อน  และความกตัญญูรู้คุณคนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับดิฉัน๓.     มีความมั่นใจในตัวเอง   ในตัวของดิฉันนั้นมีภาวะผู้นำอยู่บ้างในตัวตั้งแต่วัยเด็กเรียนอยู่ชั้นประถมเพราะได้เป็นหัวหน้าชั้นตลอดตั้งแต่ ป. ๑   อยู่ชั้นมัธยมก็จะถูกคัดเลือกให้เป็นผู้นำกลุ่มเสมอเวลามีกิจกรรม และดิฉันทำอะไรก็ต้องพึ่งตัวเอง  คิดเอง ทำเอง  ตัดสินใจเองมาตลอด ทำให้ดิฉันทำสิ่งใดจะมีความมั่นใจในตัวเองสูงมีความกล้าที่จะลงเล่นการเมืองท้องถิ่นซึ่งดิฉันไม่เคยสำผัสมาก่อนแต่ก็มีความมั่นใจว่าทำได้  แล้วดิฉันก็ทำได้จริง ๆ๔.     จากการที่มีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไปนั่นเองทำให้มีปัญหาในการบริหารงานเกิดขึ้น  ความสามารถในด้านการบริหารจัดการ  เป็นจุดอ่อนของดิฉันที่ควรปรับปรุงคือไม่กล้าที่จะกระจายอำนาจให้ผู้แก่ผู้ไต้บังคับบัญชาโดยเฉพาะทางด้านความคิด(มีก็เป็นส่วนน้อยเพราะกลัวผิดพลาด) ชอบคิดว่าความคิดของตัวเองนั้นเจ็งกว่าใคร ๆ ในองค์กร  ชอบให้ผู้ไต้บังคับบัญชาทำตามคำสั่งมากกว่าเสนอความคิดเห็น ซึ่งดิฉันทราบว่ามันไม่ใช่การบริหารจัดการที่ดี ดิฉันก็พยายามปรับปรุงเรื่อยมาในเรื่องนี้

๑.      จุดอ่อนอีกข้อก็คือ  ภาษาอังกฤษ    ถึงจะไม่ใช่ภาษาของไทยเราแต่ดิฉันว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่ผู้นำต้องรู้ ดิฉันพยายามที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้มากแต่ก็ทำได้ไม่ดีเพราะในท้องถิ่นของดิฉันนั้นแทบไม่มีชาวต่างชาติเลยก็ว่าได้  ดิฉันชอบที่ท่าน ดร. จีระสอนเพราะพูดไทยบ้าง อังกฤษบ้างปนกันไป ดิฉันอยากจะให้อาจารย์พูดแบบนี้ทุกคน นักศึกษาจะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปด้วย

ข้อ ๒  ท่านอาจารย์ให้เปรียบว่าระหว่างผู้นำกับผู้บริหารนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร                  คำว่าผู้นำกับผู้บริหารนั้นดูคล้าย ๆ กันแต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียวบางครั้ง  ผู้นำไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรียนสูงๆ เพราะผู้นำบางคนมาจากความเคารพนับถือ ความศรัทธาจากชาวบ้านยกย่องให้เป็นผู้นำเพราะเขาเป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนต่าง ๆ เป็นต้น แต่ผู้บริหารนั้นจำเป็นต้องมีความรู้ถ้าหากไม่มีความรู้เป็นทุนแล้วจะประสบผลสำเร็จยากดิฉันขอแยกความระหว่างผู้นำกับผู้บริหารดังนี้
๑.      ผู้นำจะเน้นที่คน  มากว่าสิ่งไดบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าคนเก่งแล้วทุกอย่างก็จะดีหมด  ( เก่งแล้วต้องดีด้วยนะคะ)๒.    Trust  ผู้นำต้องมีความไว้วางใจกล้าที่จะกระจายอำนาจให้แก่ผู้อื่น และต้องได้ต้องไดรับความไว้วางใจจากผู้อื่นด้วยทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม๓.     What, Why  ผู้นำมักจะตั้งคำถาม  อะไร,ทำไมอยู่เสมอเพราะผู้นำนั้นจะทำอะไรต้องมีเหตุและผลและเกิดประโยชน์  ก่อนจะลงมือทำต้องคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเสียหายเกิดขึ้นภายหลัง๔.     มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์  ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างมองกาลไกล มีภาพลักษณ์ที่ดี รู้ทิศทางการทำงาน เป็นผู้นำต้องมีความคิดริเริ่มอยู่เสมอ มีความคิดสร้างสรรค์และไม่หยุดนิ่ง๕.     ระยะยาว  ผู้นำจะทำสิ่งใดแล้วจะต้องมีผลในระยะยาวและยั่งยืน  และให้เกิดประโยชน์สูงสุด๖.      เน้นวัตกรรม  เป็นผู้นำจะต้องรู้จักนำวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในองค์กรของตังเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน๗.     Change  เป็นผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลง เน้นความคล่องตัวการทำงานที่รวดเร็ว กล้าที่จะคิดนอกกรอบ เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้นไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆส่วนผู้บริหารก็คงไม่แตกต่างกันเทาไรนัก ผู้บริหารที่ดีต้องมีคุณสมบัติผู้นำอยู่ด้วย คุณลักษณะของผู้นำคือ๑.      เน้นที่ระบบ  ผู้บริหารองค์กรนั้นจะเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ คือให้เป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้๒.    ควบคุม  เพื่อทำงานเป็นระบบก็ต้องมีการควบคุมให้การทำงานมีประสิทธิภาพและคุ่มค่า ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจเกิดขึ้น๓.     ระยะสั้น  การทำงานหวังผลระยะสั้น  ทำให้เสร็จเป็นงาน ๆ ไป๔.     When,How  ผู้บริหารมักจะมีคำว่า  เมื่อไร  อย่างไร  ถ้าจะทำสิ่งใดนั้นต้องดูว่าจะทำเมื่อไร คือระยะเวลาที่เหมาะสมนั้นเองและมีวิธีทำอย่างไรจึงจะได้ผล๕.      กำไร/ขาดทุน  ทุกๆ ๓ เดือน  เป็นธรรมชาติของผู้บริหารองค์กรเป้าหมายก็คือกำไร วิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรก็คือ  กำไร  ขาดทุน จากผลผลิตแต่ละไตรมาสเท่านั้นจะทำสิ่งใดดูที่ค่าใช้จ่ายเน้นเทคนิคในการบริหารเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรสูงสุด๖.      การจัดให้สำเร็จ  มีประสิทธิภาพ  ระบบการจัดการของผู้บริหารนั้นเน้นที่ประสิทธิภาพของงาน  ไม่ได้ให้ความสนใจกับบุคลกรและสิ่งแวดล้อมขอให้งานออกมาดีถือว่าสำเร็จ๗.     Static  เน้นหลักการบริหารที่ตายตัวเป็นไปตามระบบระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ แบ่งหน้าที่การทำงานชัดเจนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรง่าย๑.      ผู้นำจะเน้นที่คน  มากว่าสิ่งไดบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าคนเก่งแล้วทุกอย่างก็จะดีหมด  ( เก่งแล้วต้องดีด้วยนะคะ)๒.    Trust  ผู้นำต้องมีความไว้วางใจกล้าที่จะกระจายอำนาจให้แก่ผู้อื่น และต้องได้ต้องไดรับความไว้วางใจจากผู้อื่นด้วยทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม๓.     What, Why  ผู้นำมักจะตั้งคำถาม  อะไร,ทำไมอยู่เสมอเพราะผู้นำนั้นจะทำอะไรต้องมีเหตุและผลและเกิดประโยชน์  ก่อนจะลงมือทำต้องคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเสียหายเกิดขึ้นภายหลัง๔.     มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์  ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างมองกาลไกล มีภาพลักษณ์ที่ดี รู้ทิศทางการทำงาน เป็นผู้นำต้องมีความคิดริเริ่มอยู่เสมอ มีความคิดสร้างสรรค์และไม่หยุดนิ่ง๕.     ระยะยาว  ผู้นำจะทำสิ่งใดแล้วจะต้องมีผลในระยะยาวและยั่งยืน  และให้เกิดประโยชน์สูงสุด๖.      เน้นวัตกรรม  เป็นผู้นำจะต้องรู้จักนำวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในองค์กรของตังเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน๗.     Change  เป็นผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลง เน้นความคล่องตัวการทำงานที่รวดเร็ว กล้าที่จะคิดนอกกรอบ เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้นไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆส่วนผู้บริหารก็คงไม่แตกต่างกันเทาไรนัก ผู้บริหารที่ดีต้องมีคุณสมบัติผู้นำอยู่ด้วย คุณลักษณะของผู้นำคือ๑.      เน้นที่ระบบ  ผู้บริหารองค์กรนั้นจะเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ คือให้เป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้๒.    ควบคุม  เพื่อทำงานเป็นระบบก็ต้องมีการควบคุมให้การทำงานมีประสิทธิภาพและคุ่มค่า ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจเกิดขึ้น๓.     ระยะสั้น  การทำงานหวังผลระยะสั้น  ทำให้เสร็จเป็นงาน ๆ ไป๔.     When,How  ผู้บริหารมักจะมีคำว่า  เมื่อไร  อย่างไร  ถ้าจะทำสิ่งใดนั้นต้องดูว่าจะทำเมื่อไร คือระยะเวลาที่เหมาะสมนั้นเองและมีวิธีทำอย่างไรจึงจะได้ผล๕.      กำไร/ขาดทุน  ทุกๆ ๓ เดือน  เป็นธรรมชาติของผู้บริหารองค์กรเป้าหมายก็คือกำไร วิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรก็คือ  กำไร  ขาดทุน จากผลผลิตแต่ละไตรมาสเท่านั้นจะทำสิ่งใดดูที่ค่าใช้จ่ายเน้นเทคนิคในการบริหารเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรสูงสุด๖.      การจัดให้สำเร็จ  มีประสิทธิภาพ  ระบบการจัดการของผู้บริหารนั้นเน้นที่ประสิทธิภาพของงาน  ไม่ได้ให้ความสนใจกับบุคลกรและสิ่งแวดล้อมขอให้งานออกมาดีถือว่าสำเร็จ๗.     Static  เน้นหลักการบริหารที่ตายตัวเป็นไปตามระบบระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ แบ่งหน้าที่การทำงานชัดเจนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรง่าย๑.      ผู้นำจะเน้นที่คน  มากว่าสิ่งไดบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าคนเก่งแล้วทุกอย่างก็จะดีหมด  ( เก่งแล้วต้องดีด้วยนะคะ)๒.    Trust  ผู้นำต้องมีความไว้วางใจกล้าที่จะกระจายอำนาจให้แก่ผู้อื่น และต้องได้ต้องไดรับความไว้วางใจจากผู้อื่นด้วยทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม๓.     What, Why  ผู้นำมักจะตั้งคำถาม  อะไร,ทำไมอยู่เสมอเพราะผู้นำนั้นจะทำอะไรต้องมีเหตุและผลและเกิดประโยชน์  ก่อนจะลงมือทำต้องคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเสียหายเกิดขึ้นภายหลัง๔.     มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์  ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างมองกาลไกล มีภาพลักษณ์ที่ดี รู้ทิศทางการทำงาน เป็นผู้นำต้องมีความคิดริเริ่มอยู่เสมอ มีความคิดสร้างสรรค์และไม่หยุดนิ่ง๕.     ระยะยาว  ผู้นำจะทำสิ่งใดแล้วจะต้องมีผลในระยะยาวและยั่งยืน  และให้เกิดประโยชน์สูงสุด๖.      เน้นวัตกรรม  เป็นผู้นำจะต้องรู้จักนำวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในองค์กรของตังเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน๗.     Change  เป็นผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลง เน้นความคล่องตัวการทำงานที่รวดเร็ว กล้าที่จะคิดนอกกรอบ เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้นไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆส่วนผู้บริหารก็คงไม่แตกต่างกันเทาไรนัก ผู้บริหารที่ดีต้องมีคุณสมบัติผู้นำอยู่ด้วย คุณลักษณะของผู้นำคือ๑.      เน้นที่ระบบ  ผู้บริหารองค์กรนั้นจะเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ คือให้เป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้๒.    ควบคุม  เพื่อทำงานเป็นระบบก็ต้องมีการควบคุมให้การทำงานมีประสิทธิภาพและคุ่มค่า ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจเกิดขึ้น๓.     ระยะสั้น  การทำงานหวังผลระยะสั้น  ทำให้เสร็จเป็นงาน ๆ ไป๔.     When,How  ผู้บริหารมักจะมีคำว่า  เมื่อไร  อย่างไร  ถ้าจะทำสิ่งใดนั้นต้องดูว่าจะทำเมื่อไร คือระยะเวลาที่เหมาะสมนั้นเองและมีวิธีทำอย่างไรจึงจะได้ผล๕.      กำไร/ขาดทุน  ทุกๆ ๓ เดือน  เป็นธรรมชาติของผู้บริหารองค์กรเป้าหมายก็คือกำไร วิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรก็คือ  กำไร  ขาดทุน จากผลผลิตแต่ละไตรมาสเท่านั้นจะทำสิ่งใดดูที่ค่าใช้จ่ายเน้นเทคนิคในการบริหารเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรสูงสุด๖.      การจัดให้สำเร็จ  มีประสิทธิภาพ  ระบบการจัดการของผู้บริหารนั้นเน้นที่ประสิทธิภาพของงาน  ไม่ได้ให้ความสนใจกับบุคลกรและสิ่งแวดล้อมขอให้งานออกมาดีถือว่าสำเร็จ๗.     Static  เน้นหลักการบริหารที่ตายตัวเป็นไปตามระบบระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ แบ่งหน้าที่การทำงานชัดเจนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรง่าย
นางสาวชนากานต์ วังคะฮาด
ข้อ ๓    ทฤษฎี  8 K’s   5 K’s  8 H’s  เกี่ยวข้องอะไรกับ  Leadership            ก่อนอื่นต้องขอยกเอาหมายของทฤษฎีทั้ง ๓  ทฤษฎีของท่านคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  และท่าน ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ดังนี้ทฤษฎี   8 H’s 8 K’s                   ๑.   Heritage  มรดก  (รากฐานของชีวิต)   Sustainable  Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน   มรดกเป็นรากเหง้าของทุกคนเราเกิดมาต้องรู้รากเหง้าของตัวเองเสียก่อนว่าเป็นใครมาจากไหน  วัฒนธรรมเป็นอย่างไร  รู้ว่าอะไรที่เรามีเพียงพอแล้วอะไรที่เรามีเกินอะไรที่เรายังขาดอยู่ และอะไรบ้างที่เราต้องพัฒนาต่อไป                ๒.  Head  สมอง (คิดเป็น คิดดี) หมายถึงการมีสมอง การมีความคิด  มีความรู้ มีสติ คิดเป็นแล้วต้องคิดดีด้วย   เรียกว่ามีสมองที่รู้จักวิเคราะห์ คิดเป็นแล้วต้องคิดดีด้วย   เรียกว่ามีสมองที่รู้จักวิเคราะห์ ใช้เหตุผลทําให้เกิดปัญญา Intellectual  Capital  ทุนทางปัญญา  หมายถึงการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม  การเป็นผู้นำนั้นสิ่งสำคัญคือ  ต้องรู้มาก รู้กว้าง และรู้ลึกกว่าคนอื่น                        ๓.   Hand    มืออาชีพ (ทำงานด้วยฝีมือตนเอง)  คิดจะทำอะไรก็ให้ลงมือทำด้วยตนเอง  ถ้าคิดแล้วไม่ลงมือทำก็จะไม่สำเร็จ ลงมือทำเท่าที่เราทำได้แล้วทำให้สำเร็จ  อย่าไปหวังพึ่งผู้อื่นเพียงอย่างเดียว  Talent Capital  ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ  ผู้นำต้องมีความรู้กว้าง มีทักษะเฉพาะตัวหรือจากการศึกษาเรียนรู้ และมีทัศนคติที่ดี                        ๔.   heart  จิตใจที่ดี   คนเราถ้ามีจิตใจที่มีไม่งามแล้วทำอะไรก็จะไม่สำเร็จหรือติดปัญหาอยู่เป็นประจำ ถ้าเป็นผู้นำประเทศก็จะพาให้ประเทศชาติเสียหาย  ผู้นำที่ดีต้องมีจิตใจที่งดงามมีน้ำใจ และเสียสละ  Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม  ผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมมักจะมีคนเคารพนับถือมาก  บุคลากรที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี จะสร้างให้เกิดทุนทางจริยธรรมได้                        ๕.   Health  สุขภาพ  พลานามัยที่สมบูรณ์    สำหรับมนุษย์แล้วสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ  สุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรามีความตั้งใจมีความปรารถนาที่จะทำหลาย ๆ อย่างในชีวิต  แต่ถ้าหมดลมหายใจหรือสิ้นลมหายใจแล้วเราจะทำอะไรไม่ได้  Digital  Capital  ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  (ไอที)  คือต้องมีความรู้ด้านไอทีว่าเป็นอย่างไร  รู้จักนำเทคโนโลยีใหม่ๆ  เข้ามาเพื่อพัฒนาองค์กรของตัวเอง                          ๖.   Home  บ้านและครอบครัว   การมีบ้านและครอบครัวที่อบอุ่น  สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาทุกอย่างลงได้  โดยเฉพาะปัญหาสังคม เด็ก และเยาวชน  การที่มีครอบครัวดีช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็จะเป็นพื้นที่ท่ให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้  Human  Capital  ทุนมนุษย์  คือทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา  ทุนที่ได้มาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดา-มารดา ถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมีมา เมื่อมีพื้นฐานมนุษย์มาดีเมื่อเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนก็จะสามารถต่อยอดทุนมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง สังคม องค์กร และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี                        ๗.   Happiness  ความสุข  ทุนแห่งความสุข  การที่จะอยู่อย่างมีความสุขนั้น  ต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น  ไม่คิดในเชิงลบ  ให้รู้ตัวเองว่าตัวเองชอบอะไรไม่ชอบอะไร  ให้มีจิตใจที่ดีงามแล้วเราก็จะใช้ชีวิตแบบมีความสุขได้

                           Harmony  ความปรองดอง สมานฉันท์  Social    Capital  ทุนทางสังคม  เรื่องนี้สำคัญมากกับการทำงานในองค์กร  ความสามัคคีในหมู่คณะจะทำให้การทำงานใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยง่ายและรวดเร็ว  ทำงานเป็นทีมเวิร์ค ได้ทำงานร่วมกันอย่างกลมเกลียวงานก็จะออกมาดี 

ทฤษฎี  5 K’s                   ๑.  Innovation Capital  ทุนทางวัตกรรม   ๒.  Creativity Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์   ๓.  Knowledge Capital  ทุนทางความรู้   ๔. Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม  ๕.  Emotional Capital  ทุนทางอารมณ์                                  ทฤษฎีทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเกี่ยวข้องกับ  Leadership ทั้งสิ้น  เพราะทั้ง ๓ ทฤษฎีนั้นเป็นหลักและคุณสมบัติของผู้นำที่ดี  ถ้าหากว่าผู้นำท่านใดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกข้อตามทฤษฎีดังกล่าวรับรองว่าท่านเป็นผู้นำที่สุดยอดที่สุด 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สวัสดีเพื่อนนักศึกษา MPA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ทุกท่าน

            ดิฉันสุรีย์ อภิราษฎร์ศักดิ์ คิดว่า คนที่จะให้การศึกษากับคนอื่นได้ ต้องทำตัวให้ได้รับการศึกษาก่อน และต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บิดามารดาเป็นครูคนแรก ต่อการเรียนรู้ของบุตรธิดามากที่สุด ครูอาจารย์ที่ดีต้องเรียนรู้อยู่เสมอ องค์กรที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปได้จะต้องเป็นองค์กรที่รู้จักเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง                

                  ดิฉันเป็นหนึ่งในจำนวนนักศึกษา MPA รุ่น 1 ในมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด  ดิฉันเองเคยรับราชการในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย  ได้เห็นการเรียนการสอนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง  และในขณะนี้ที่ดิฉันได้เห็น  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่เป็นผู้มีความรู้มาก    และมีประสบการณ์สูงที่สามารถให้คำแนะนำ  สำหรับผู้ไฝ่การเรียนรู้แต่ละคน  แล้วยังได้เผยแพร่แนวคิดที่จะมีส่วนไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษาในชั้นเรียน และยังช่วยแก้ปัญหาความด้อยพัฒนาของนักศึกษาอีกด้วย .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  การฟังอย่างพินิจ  พิจารณา  คิด  ซักถาม  อภิปราย  อ่าน  ค้นคว้า  ทดลอง  เรียนรู้ด้วยตนเอง  วิเคราะห์  สังเคราะห์  ประยุกต์ใช้ให้เป็น 

         ท่านอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนค้นหาคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว  เพราะการจะมีภาวะผู้นำที่ดีนั้น  จะต้องฝึกวิเคราะห์สภาพปัญหาอย่างลึกซึ่งรอบด้าน  เช่น วิเคราะห์ทั้งจุดแข็ง  จุดอ่อน  ด้านบวก  ด้านลบของคน  องค์กรสถานการณ์ต่างๆ  ค้นหาสาเหตุไปถึงรากเหง้าของปัญหา 

สำหรับดิฉันแล้ว  การมีจุดแข็ง

  1. ในเรื่องของจริยธรรมนั้นเป็นเรื่องของรูปแบบของการตีความว่า  พฤติกรรมใดผิด  พฤติกรรมใดถูก  สิ่งใดดี  สิ่งใดเลว  ควรทำหรื่อไม่ควรทำ  จริยธรรมนี้จะเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกสถาบัน  ไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัว  สถาบันการศึกษา  หรือสถาบันวิชาชีพ  สถาบันต่าง ๆ พยายามที่จะสอนให้คนมีจริยธรรม  แต่การที่จะได้ผลสัมฤทธิตามคำสอนหรือไม่  ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้เรียนรู้ว่าจะยอมรับและนำไปปฏิบัติมากน้อยเพียงใด
  2. การให้ความเคารพนับถือผู้อื่น  ไม่สำคัญว่าผู้นั้นจะเป็นใครมาจากไหน ไม่ว่าจะอายุมากกว่าหรือน้อยกว่า
  3. เชื่อมั่นและรับฟัง  มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง  แต่ในขณะเดียวกันยินดีรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ  และไม่ถือตัวเย่อหยิ่งกับผู้อื่น  
  4. ยอมรับทั้งข้อผิดพลาดและถูกต้อง  มีความรับผิดชอบต่อการกระทำภายใต้การควบคุมดูแลของตน  และผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา  ไม่ใช่รับความดีแต่ไม่ยอมปกป้องลูกน้องในกรณีที่เกิดผิดพลาด
  5. รู้จักปรับตัวและยืดหยุ่น  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบด้านได้อย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้เนื่องมาจากความสามารถในการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น

จุดอ่อน

  1. ขาดความเชียวชาญในด้านเทคนิค
  2. ขาดความกล้าเสี่ยง
  3. ขาดความสามารถด้านบริหารจัดการ
  4. เป็นคนตรงเกินไป คิดเร็ว  พูดเร็ว

(หมายเหตุ)  คนทุกคนไม่ใช้ว่าจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนมากกว่าหรือน้อยกว่า 5 ข้อ เสมอไป

ท่านอาจารย์ให้เปรียบเทียบว่าผู้นำและผุ้บริหารเหมือนกันอย่างไร

             เราจะรู้สึกว่าความหมายของ  ผู้นำและผู้บริหาร  เหมือนกัน  แต่จริงๆแล้วต่างกัน  ผู้นำมักจะเป็นผู้คิดนโยบาย  และผู้บริหารจะเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติดังตารางข้างล่าง

 

 ผู้นำ

ผู้บริหาร
เน้นที่คน เน้นที่ระบบ
ควบคุม ควบคุม
ระยะยาว ระยะสั้น
WHAT ,WHY WHEN ,HOW
มองอนาคต ขอบฟ้าภาพลักษณ์ กำไร/ขาดทุนทุก 3 เดือน
เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จมีประสิทธิภาพ
CHANGE STATIC
 

 

   ทฤษฎี8K’S,SK’S,8H’Sเกี่ยวข้องอะไรกับ Leadership ทฤษฎี 8H’S ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

  1. HERITAGE (มรดก)รากฐานของชีวิต
  2. HEAD สมอง (คิดเป็น คิดดี)
  3. HAND มืออาชีพ
  4. HEART จิตใจที่ดี
  5. HEALTHสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์
  6. HOME บ้านและครอบครัว
  7. HAPPINESS การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
  8. HAMONY ความปรองดอง สมานฉันท์

ทฤษฎี 8K’S  ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์

  • ทุนแห่งความยังยืน                             Sustainable  Capital
  • ทุนทางสังคม                                       Social  capital
  • ทุนทางจริยธรรม                                Ethical  Capital
  • ทุนแห่งความสุข                                 Happiness  Capital
  • ทุนทาง IT                                            Digital  Capital
  • ทุนทางปัญญา                                     Intellectual  Capital
  • ทุนทางความรู้  ทักษะ  ทัศนคติ        Talent  Capital
  • ทุนมนุษย์                                              Human  Capital 
 
ทฤษฎี  5 K’S  ได้แก่
  1. Innovation  Capital     ทุนทางนวัตกรรม
  2. Creativity  Capital    ทุนแห่งการสร้างสรรค์
  3. Knowledge  Capital    ทุนทางความรู้
  4. Cultural  Capital    ทุนทางประสบการณ์
  5. Emotional  Capital    ทุนทางอารมณ์
 เราจะเห็นว่า  ทฤษฎี  8 H’S  :ของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ทฤษฎี  8 K’S  : ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎี  5 K’S  :

        ทั้ง 3 ทฤษฎีนี้  ถ้าผู้ศึกษาได้นำไปปฏิบัติอย่างจริงจังจะทำให้มีวุฒิของความเป็นผู้นำได้อย่างแน่นอน  โดยเฉพาะถ้าได้อ่านหนังสือ 2 เล่ม  คือ

  1. 2 พลังความคิดชีวิตและงาน  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์
  2. หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้  โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา           หนังสือ 2 เล่มดังกล่าวเป็นผลงานที่ได้กลั่นกรองจากประสบการณ์  การเป็นอาจารย์ผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงวิชาการในด้านการจัดการและการเป็นผู้นำ  ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมาเป็นเวลายาวนาน  รวมไปถึงประสบการณ์จริงในการเป็นที่ปรึกษาองค์กรต่าง ๆ  ผู้บรรยายคอลัมน์นิสต์  วิทยากร  ตลอดจนมีผลงานการทำวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย สุรีย์  อภิราษฎร์ศักดิ์
 

 

 

 

 

 

 

 

นาย อัคระ ดาวล้อมจันทร์

กราบเรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้าพเจ้า นาย อัคระ ดาวล้อมจันทร์ รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้ามาเป็นนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.ระดับปริญญโท( MPA ) เมื่อวันที่14/1/50 ที่ผ่านมาเป็นวิชาเรียนบทบาทของภาวะผู้นำ(Leadership ) ข้าพเจ้าและเพื่อนนักศึกษา MPA ได้รับเกียรติจาก นายกสภา มหาวิทยาลัย นานาชาติสแตมฟอร์ดคือท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเป็นอาจารย์พิเศษในวิชานี้ ข้าพเจ้าและเพื่อนนักศึกษาทราบมาก่อนแล้วว่าท่านจะมาสอนบรรยายให้องค์ความรู้ นักศึกษาทุกท่านรู้สึกเกรง เมื่อทราบว่าท่านจะมาเป็นผู้สอน นาทีแรกของการปฐมนิเทศและแนะนำวิธีการเรียนการสอนของท่าน ข้าพเจ้าเห็นความรู้สึกของท่านที่พร้อมจะให้ความรู้ ทฤษฎี และการเรียนรู้ ด้วยความคิดคือ คิดให้เป็นนำองค์ความรู้มาบูรณาการเพื่อพัฒนาปรับปรุงพื้นฐานและต่อยอด การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีในสังคมซึ่งท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านเป็นหนึ่งในนักวิชาการของประเทศในแถวหน้า แต่งหนังสือตำราเรียนมากมาย ในที่นี้ท่านได้แนะนำทฤษฎี 8H' S ของท่านคุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์และทฤษฎี8 K' S ของท่านซึ่งเป็นทฤษฎีการบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงบทสนทนาของ ( ท่านพารณ อิศราเสนา ณ อยุธยา ) ด้วย

คุณลักษณะและพื้นฐานของชีวิต

 เกิดมาจากครอบครัวที่อบอุ่นมีพร้อมทั้งคุณพ่อ-คุณแม่ ซึ่งคุณพ่อเป็นทหารท่านได้มีโอกาสรับใช้แผ่นดินด้วยการเข้าร่วมรบถึง2 สงคราม ( อินโดจีน-เอเชียบูรพา ) และได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ " เหรียญชัยสมรภูมิ " ถึง2เหรียญ ส่วนคุณแม่มีเตี่ยมาจากเมืองจีน " แซ่ลิ้ม" คุณแม่จึงมีความมานะ อุตส่าหะ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ข้าพเจ้าจึงมีคุณพ่อ-คุณแม่ ที่เป็นครูคนแรกและได้รับการปลูกฝัง การมีความกตัญญู มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย รู้จักสัมมาคารวะผู้ใหญ่ และเรียนรู้การให้ เป็นพื้นฐานของชีวิตที่ติดตัวมาจนปัจจุบัน

( จุดแข็ง )  ที่ได้จากคุณพ่อ-คุณแม่และนำมาปฎิบัติเป็นมงคลชีวิตกล่าวคือ

- ความกตัญญูที่เห็นแบบอย่างมาจากคุณพ่อ-คุณแม่คือการมีความกตัญญูต่อ บิดา-มารดา ผู้ให้กำเนิด กตัญญูต่อครู-อาจารย์และผู้มีพระคุณ ซึ่งทุกคนในครอบครัวจดจำคำสอนเหล่านี้มาโดยตลอดและนำไปปฎบัติเพื่อเป็นมงคลชีวิตตลอดมา

- ความซื่อสัตย์ ที่มีต่อตนเองและผู้อื่น ซื่อสัตย์ในอาชีพการงาน ซื่อสัตย์ต่อบริวารและเพื่อนฝูง รักษาคำมั่นสัญญาหรือคำพูดที่ให้กับคนอื่น อย่าผิดสัญญาในคำพูดนั้นๆ

- การมีคุณธรรม รู้จักมีเมตตา เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือคนในครอบครัว บริวาร ญาติ จนถึงสังคมและประเทศชาติ และที่สำคัญในการดำรงชีวิตต้องยึดหลักธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท และนำหลักทฤษฎีของพระเจ้าอยู่หัว คือความพอเพียง

- ความกล้าหาญ ซึ่งมีอยู่ในสายเลือด นำมาแสดงออกทางความคิดกล้าแสดงออกกล้าตัดสินใจอาชีพการงาน กล้าที่จะขอโทษ ถ้าตัวเองทำผิดและกล้ารับฟังความคิดของผู้อื่น เพื่อนำมาปรับปรุง

- ความอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ เป็นนิสัยติดตัวข้าพเจ้ามาโดยตลอด ได้รับการอบรมจากบิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ ข้าพเจ้าจึงรู้จักคำว่า "ไหว้"เป็นให้ความเคารพผู้ใหญ่รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ ดูแลอุปถัมภ์ ญาติและคนใก้ลชิด

(จุดอ่อน )

- คิดและกล้าตัดสินใจ เร็วจนบางครั้งเคยเกือบล้มเหลวในงานและธุรกิจมาแล้วในอดีต หรือที่เรียกว่า อ่อนประสบการณ์ก็ว่าได้

- ใจอ่อนและเป็นคนขี้สงสาร ชอบช่วยเหลือจนบางครั้งเหมือนถูกหลอกก็เคยมาแล้ว

- พูดจาเสียงดัง ซึ่งบางคนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนก็จะมองเราไม่ดีหรือบางครั้งพูดจาตรงไปตรงมาก็จะดีสำหรับคนบางกลุ่ม แต่บางพวกที่ปากกับใจไม่ตรงกันหรือพวกปากว่าตาขยิบ บุคคลกลุ่มนี้จะไม่ค่อยชอบ การพูดเสียงดังของเราเป็นต้น

สิ่งที่ควรปรับปรุง

- ต้องกลับไปจัดสรรเวลา เพื่อหาเวลาเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้มากว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ความรู้คือ สมบัติอันมหาศาลที่เทียบค่ามิได้ ความรู้ศึกษาไม่มีวันหมด

- ต้องเปิดใจรับฟังผู้อื่นให้มาก การรับฟังคือองค์ความรู้อย่างหนึ่งที่ได้จากผู้มีองค์ความรู้

- ต้องหัดคิดให้เป็นและนำความคิดนั้นไปสร้างสรรให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและองค์กร

- ต้องปรับปรุงการพูด พูดอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าการพูดทำลาย หรือเกิดการพูดแล้วทำให้คนอื่นเสียหาย

- ต้องเริ่มหันมาออกกำลังกาย เพราะท่านอ. จีระ บอกว่าการออกกำลังกายจะดีต่อสุขภาพแล้วยังทำให้สมองคนเราโปร่งใส และเกิดความคิดใหม่ๆในที่นี้ไม่ใช่คิดตามใครหรือคิดตามทฤษฎี คิดนอกกรอบหรือคิดให้เป็น

ความแตกต่างระหว่างผู้นำ- ผู้บริหาร

ผู้นำ

1. ต้องเด็ดขาด

2.กล้าตัดสินใจ

3.มีคุณธรรม จริยธรรม

4.มีองค์ความรู้ - มีประสบการณ์

5.ต้องรับฟังเหตุผล

ผู้บริหาร

1.ต้องมีปรัชญาในการบริหารงานโดยเน้นคนเป็นสำคัญ

2.ต้องมีVision วางแผนอนาคตระยะยาว

3.การลงทุนในการสร้างศักยภาพของคน การสร้างค่านิยม งบประมาณและเวลาที่เพียงพอ

4.การเพิ่ม PRODUCTIVITY ให้องค์กรคนต้องได้รับแรงจูงใจให้มีอิสรภาพในการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

5.มองเห็นเรื่องของคุณภาพชีวิต สวัสดิการสุขภาพจิตที่ดีเห็นการทำงานและการดำรงชีวิตจะต้องไปด้วยกัน

สรุป

- ผู้นำและผู้บริหารสมัยใหม่มีความเหมือนที่ไม่แตกต่างกัน จากการสอนและบรรยายของท่าน อ.จีระ ผู้บริหารสมัยใหม่ต้องปรับตัวให้เป็นผู้นำด้วยจากการสนทนาสัมภาษณ์ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ในเรื่อง การบริหารองค์กรท่านเน้นถึงคนคือ ทรัพยากรหรือต้นทุนในองค์กรนั้นๆเป็นสำคัญ ต้องบริหารคนให้เป็นจึงจะประสบผลความสำเร็จได้ เมื่อองค์กรนั้นประสบผลสำเร็จผู้บริหารองค์กรนั้นก็จะได้รับการตอบรับของคนในองค์กรนั้นให้เป็นผู้นำองค์กรเช่นกัน

3. ทฤษฎี 8k ' S , 5K ' S , 8H 's เกี่ยวข้องอะไรกับ Leadership  ตอบ   

- เน้นทฤษฎีของท่านอ.จีระ และคุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ ที่รวบรวมแนวคิดชีวิตและงานของท่านทั้งสองในด้านความพัฒนา ความเป็นมนุษย์ในรูปแบบต่างๆจนถึงความสำเร็จในรูปแบบ ในองค์รวมยิ่งท่านอ.จีระและคุณหญิง ทิพาวดีได้ศึกษาและเรียนรู้  Leadership ซึ่งเป็นโครงสร้างของความสำเร็จและรวบรวมนำมาหระเมินผลในเชิงผู้นำโดยสรุป ทฤษฎี 8 K'S, 5K'S,8H'S ก็คือทฤษฎีแห่งความสำเร็จเอาชนะอุปสรรคของ Leadership ที่ได้ถูกรวบรวมโดยท่านผู้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยแท้จริงของท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ ซึ่งเป็นต้นแบบความเชื่อโดยแท้จริง

        ขอกราบขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มา ณ โอกาสนี้ที่ท่านได้ให้องค์ความรู้ ได้ในรูปแบบและแนวความคิดซึ่งป็นตัวของท่านเองมาเผยแพร่ให้ข้าพเจ้าและเพื่อนนักศึกษา MPA เพื่อานำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในส่วนรวมต่อไป

                   นาย อัคระ ดาวล้อมจันทร์

             ID. 006150001 

วีระ ภูมิศิริสวัสดิ์

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 เวลา 23.50 น.

เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

           สวัสดีครับเพื่อนๆ นักศึกษาหลักสูตร(MPA), Stam ford University ทุกๆท่าน คงจำกันได้ว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2550 ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำความรู้เกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำ (Leadereship)             ก่อนอื่นผมต้องขอเรียนต่อท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ว่าผมเองเกร็งต่อการสอนของท่าน จนอาจพูดได้ว่าไม่มีครั้งไหนเกร็งเท่าครั้งนี้ แต่เมื่อได้สัมผัสและเรียนรู้ จึงเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อยมีช่องว่างเสมอ จากความเกร็งจนกลายเป็นความกล้า กล้าที่จะแสดงออกทางความคิดเห็น ด้วยเหตุผลว่าช่องว่าง (GAP) ของท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กับผมนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่จะทำอย่างไรได้เมื่อสมัครใจมาเป็นลูกศิษย์ของท่านแล้ว ก็ต้องทำให้ดีที่สุดต้องไม่ทำให้ท่านผิดหวังให้สมกับคำว่า " ศิษย์ต้องมีครูถึงจะรู้ดี " และจะนำความรู้ ที่ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มอบให้นำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด         กลับมาเข้าเรื่อง บทบาทภาวะของผู้นำ (Leadership) ของท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไม่มีทรัพยากรอะไรที่จะยิ่งใหญ่และสำคัญเท่ากับทรัพยากรมนุษย์ทั้งในและต่างประเทศ  1. แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง อยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร ?             1.1 คุณลักษณะแต่ละบุคคล                    โดยส่วนตัวของผมแล้วนั้นเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย  ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน 33 ปีที่ปฏิบัติงานอยู่ภายในองค์การฯ ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์มากมาย ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ทั่วประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่ามีคุณลักษณะในตัวของผมเองคือความรู้รักสามัคคี งานใดที่ผมได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ งานจะต้องสำเร็จแม้ว่าจะมีปัญหาและอุปสรรคใดๆ สิ่งที่ทำให้กระผมภูมิใจที่สุดคือการนำโทรศัพท์ไปติดตั้งบนดอยแม่สลอง ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม 2528 ให้ชาวไทยภูเขาได้มีเครื่องมือสื่อสารสามารถติดต่อกันได้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นถึง "ความสามัคคีมีน้ำใจ" ผมมิได้เก่งกล้าถ้าไม่มีผู้ร่วมงาน ถ้าไม่มีน้ำใจจากชาวไทยภูเขาที่ช่วยกันนำอุปกรณ์ ขึ้นไปติดตั้ง สิ่งเหล่านี้คือคุณลักษณะในตัวของกระผม ผมมีความมุ่งมั่นในการศึกษาหาความรู้มาประดับตัวเองอยู่ตลอดเวลา นำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานเพื่อ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น             1.2 คุณสมบัติเฉพาะตัว                    คุณสมบัติเฉพาะตัวของผมคือ มีความเป็นผู้นำสูง มีความอดทนในการทำงานไม่ย่อท้อง่ายๆ แม้จะมีอุปสรรคใดๆก็ตาม มีความใฝ่รู้สูง ชอบที่จะหาประสบการณ์ใหม่ๆในการทำงาน รักความก้าวหน้า มีความรับผิดชอบสูง พูดจาตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม             1.3 จุดแข็งของตัวเอง

                    จุดแข็งของตัวผมเองคือ เชื่อมั่นว่าตัวเองมีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาตัวเองไปเป็นผู้ประสบความสำเร็จในวันข้างหน้า เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนและผลที่เกิดขึ้นผมมีความปรารถนาที่จะทำดี มีศรัทธาต่องานที่ทำ และมีความปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมงานทุกๆคน ไม่โลเล มีความเด็ดเดียวในการทำงาน มีกำลังใจสูงเมื่อตกลงสั่งการใดๆแล้วจะสั่งได้อย่างเด็ดขาด สั้น แต่ชัดเจน รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา มีใจกว้างที่จะรับฟังข้อเสนอแนะและถ้าเป็นข้อเสนอที่ดีก็จะสนับสนุน โดยเสนอขึ้นไปยังระดับบนขององค์กร

           1.4 จุดอ่อนของตัวเอง

                  จุดอ่อนของตัวเอง คือ กลัวความล้มเหลว ขาดความกล้าที่จะกระทำการทั้งนี้เพราะเกิดความไม่แน่ใจในสิ่งที่จะต้องทำ ยึดติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ หรือเป็นพวกหัวเก่า ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเห็นว่าของเก่าดีอยู่แล้ว เป็นคนเจ้าอารมณ์ โกรธง่าย หายเร็ว เชื่อคนง่าย เป็นคนที่มุ่งมั่นกับงานมากเกินไป จนบางครั้งเป็นการกดดันผู้ร่วมงาน และเป็นคนที่พูดตรงไปในบางครั้งแต่ก็ไม่ได้คิดร้ายกับใคร

            1.5 อยากจะปรับปรุงเรื่อง

                   สิ่งที่อยากจะปรับปรุง คือ การที่จริงจังกับงานมากจนเกินไป เพราะบางครั้งสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นดาบ 2 คม กับผู้ร่วมงานกล่าวคือ ด้านหนึ่งก็จะทำให้งานประสบความสำเร็จแน่นอน แต่อีกด้านหนึ่งจะเป็นการกดดันผู้ร่วมงาน ทำให้ไม่มีความสบายใจในการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงนิสัยที่เป็นคนเจ้าอารมณ์เพราะบางครั้ง ก็เป็นสิ่งที่ดูแล้วไม่ดีเพราะจะทำให้บุคคลภายนอกเห็นว่าขาดความสุขุมรอบคอบ

                                                 

2. ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร ?                 ผู้บริหาร คือคนที่สามารถทำให้คนอื่นไปสู่จุดหมายปลายทางได้ ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้น จะมีความพอใจหรือไม่ก็ตามนั่นคือ ผู้บริหาร เป็นผู้ทำให้คนอื่นทำงาน ได้สำเร็จตามเป้าหมายโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด          ผู้นำ เป็นผู้ที่ทำให้บุคคลอื่นเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางด้วยความเต็มใจคือ ทำให้บุคคลอื่นทำงานสำเร็จด้วยความสะดวกสบาย ทั้งผู้บริหารและผู้นำต่างใช้การจูงใจ การใช้วิธีการและอาศัยบุคลิกภาพของตัวเองที่ทำให้งานสำเร็จ แต่ด้วยลักษณะที่แตกต่างกันคือ1)     การใช้อำนาจ ผู้บริหาร ใช้อำนาจในฐานะของผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารขององค์การ โดยได้รับอำนาจจากตำแหน่งหรืออำนาจในทางการโดย กฎหมายข้อบังคับ จารีตประเพณี หรือข้อกำหนดใดๆจากข้างนอกไม่ใช่จากตัวเอง การใช้อำนาจต่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำได้โดยไม่ต้องอาศัยลักษณะส่วนตัวของผู้บริหารผู้นำ ใช้อำนาจโดยอาศัยความสามารถส่วนตัวกับผู้ปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอก อำนาจเกิดจาก อิทธิพลส่วนตัวเหนือ พฤติกรรม และความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน การใช้อำนาจที่ทำให้บุคคลอื่นยอมเชื่อฟังนั้น เกิดจาก ความประทับใจ การพูด การแสดงกิริยา และลักษณะส่วนตัวของผู้นำ2)     ผู้บริหาร ถือว่าเป้าหมายขององค์การมีความสำคัญ วัตถุประสงค์ส่วนตัวเป็นเพียงส่วนประกอบขององค์การเท่านั้น หาก ไม่มีความจำเป็นแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การ และกระทำทุกอย่าง เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายขององค์การผู้นำ มีความสนใจวัตถุประสงค์ส่วนตัวของคนในองค์การ โดยไม่เห็นว่าเป้าหมายขององค์การจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ผู้นำจะแสวงหาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การตลอดเวลา ผู้นำจะทำทุกวิถีทางให้เป้าหมายขององค์การและส่วนตัวไปด้วยกันได้ หรือกำหนดเป้าหมายขององค์การโดยไม่เพิกเฉยละเลย เป้าหมายส่วนตัว และกระทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายส่วนตัว3)     ผู้บริหาร สำนึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ไม่อาจแยกตัวเองออกจากองค์การได้ และถือว่าผู้บริหารเป็นผู้ปกป้องความเป็นระเบียบขององค์การ และดูแลให้องค์การเป็นไปตามทางแนวทางที่ผู้บริหารกำหนดผู้นำ เห็นว่าตัวเองกับองค์การ และคนในองค์การแยกออกจากกันและพยายามทำทุกอย่าง เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ โดย ไม่ขัดกับระเบียบขององค์การ4)     ผู้บริหาร ทำงานโดยอาศัยความร่วมมือของคนอื่นภายใต้นโยบาย และกระบวนการขององค์การ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยผู้ปฏิบัติงานมีข้อจำกัดว่า ต้องปฏิบัติงานให้อยู่ในแนวทางหรือข้อกำหนด ขององค์การ การทำหน้าที่ของผู้บริหาร จึงยึดติดอยู่กับขั้นตอนการทำงานขององค์การ ผู้นำ จะทำงาน โดยคำนึงถึงผลงานและเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานเริ่มคิดริเริ่ม หรือมองหาโอกาสใหม่ เพื่อความสำเร็จของงาน จะไม่กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานตามวิธีการที่องค์การกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด แต่ให้อิสระในขอบเขตที่ผู้ปฏิบัติงานจะเลือกวิธีของตัวเองได้เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น การควบคุมเน้นที่ผลงาน ไม่ใช่เน้นที่วิธีการ5)     ผู้บริหารจะดำเนินงานต่างๆเพื่อการอยู่รอด และมักมุ่งสนใจแต่กิจกรรมที่เป็นเรื่องธรรมดาของคน หรือที่เป็นเรื่องของโลกผู้นำ จะแสวงหาความเสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงและมุ่งสนใจในกิจกรรมที่อยู่เหนือโลกหรือเหนือธรรมดา ผู้บริหาร จึงมีลักษณะของการประคองสถานการณ์ให้ดำเนินไปโดยราบรื่น คอยเฝ้าดูและติดตามปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เมื่อพบปัญหาก็แก้ปัญหานั้นให้ทันทีส่วนผู้นำ จะมองล่วงหน้าและแสวงหาโอกาสที่ทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงหรือได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการเสี่ยงภัย โดยการสามารถพิเศษที่อยู่เหนือธรรมดา

        ดังนั้น ในการคิดผู้บริหารจะคิดเพียงขั้นเดียวหรือสองขั้น แต่ผู้นำคิดหลายขั้นและคิดลึกกว่าในการแก้ปัญหา

3. ทฤษฎี  8 K’s, 8 H’s, 5 K’s  เกี่ยวข้องอย่างไรกับLeadership    

ทฤษฎี 8K’s นั้นประกอบด้วย

·       ทุนมนุษย์  (Human Capital)

·       ทุนทางความรู้  (Talented Capital)                 ·       ทุนทางปัญญา  (Intellectual Capital)            ·       ทุนทาง IT  (Digital Capital)                ·       ทุนทางความสุข  (Happiness Capital)        ·       ทุนทางจริยธรรม  (Ethical Capital)              ·       ทุนทางสังคม  (Social Capital)                      ·       ทุนแห่งความยั่งยืน  (Sustainability Capital)         ทฤษฎี 8 H’s นั้นประกอบด้วย·       HERITAGE (มรดก)รากฐานของชีวิต·       HEAD สมอง (คิดเป็น คิดดี)·       HAND มืออาชีพ·       HEART จิตใจที่ดี·       HEALTHสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์·       HOME บ้านและครอบครัว·       HAPPINESS การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข·       HAMONY ความปรองดอง สมานฉันท์        ทฤษฎี  5 K’S นั้นประกอบด้วย    ·       Innovation  Capital     ทุนทางนวัตกรรม·       Creativity  Capital       ทุนแห่งการสร้างสรรค์·       Knowledge  Capital    ทุนทางความรู้·       Cultural  Capital           ทุนทางประสบการณ์

·       Emotional  Capital       ทุนทางอารมณ์

        จากองค์ประกอบทั้งหมดของ ทฤษฎี  8 K’s, 8 H’s,     5  K’s นั้น จะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบที่ผู้นำพึงมีเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรและจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการทำงานร่วมงานกันมากขึ้นเพราะมีการวางแผนและแก้ปัญหาที่ดี และสุดท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้ให้ความรู้และแนวความคิดของ ทฤษฎี ภาวะผู้นำ(leadership) รวมถึงความรู้ต่างๆที่ท่านได้แนะนำด้วย
นายฉัตร์ตรา ดาวล้อมจันทร์
กราบเรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีเพื่อนๆนักศึกษา ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด  และผู้อ่านทุกท่านข้าพเจ้า นาย ฉัตร์ตรา ดาวล้อมจันทร์ รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหลักสูตร ( MPA ) ที่ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและได้มีความภูมิใจมากขึ้นอีกเมื่อท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้ให้เกียรติมาสอนในวิชาภาวะผู้นำ ( Leadership)  ซึ่งท่านได้นำหนังสือที่ท่านเขียน2เล่มมาให้อ่านประกอบการเรียน  คือหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  และ2พลังความคิดชีวิตและงาน  ซึ่งเป็นหนังสือที่ถ่ายทอดความรู้ได้ดีมากท่านเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เก่งและชาญฉลาด  โดยส่วนตัวผมชื่นชมในตัวท่านอยู่แล้ว และได้ติดตามข่าวของท่านทางทีวีอยู่เสมอๆ  และผมจะนำวิชาความรู้ที่ท่านสอนมาพัฒนาตัวเอง  พัฒนาองค์กร  และช่วยพัฒนาประเทศชาติ  ในการเรียนครั้งแรกท่านได้ให้งานมาทำ 3 ข้อ1.   ผมเกิดในครอบครัวของคุณพ่อที่เป็นทหารเรือ  ท่านเคยผ่านสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพามา  ท่านจะสอนให้ลูกทุกคนมีความกล้าหาญ  ซื่อสัตย์อดทน และรักประเทศชาติ รู้สำนึกในบุญคุณของแผ่นดินเกิด  ส่วนคุณแม่มีพื้นฐานมีเตี่ยมาจากเมืองจีน  ท่านจะอบรมสั่งสอนในเรื่องของความกตัญญู  ขยัน  อดทน  และรู้จักการให้มากกว่าจะเป็นผู้รับ  ท่านสอนผมมาตั้งแต่ผมยังเป็นเด็กซึ่งตอนนั้นผมยังไม่เข้าใจแต่พอโตขึ้นผมเริ่มเข้าใจในสิ่งที่ท่านสั่งสอน  ถึงแม้ว่าในวันนี้ท่านจะไม่ได้อยู่แล้ว  แต่ผมก็ทำตามในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สอนไว้ทุกอย่าง  จึงกลายเป็นจุดแข็งของผมทุกวันนี้ผมกล้าคิดกล้าตัดสินใจและกล้าที่จะยอมรับเมื่อทำผิดเพื่อที่จะนำไปแก้ไข หรือนำไปเป็นบทเรียน  ในเรื่องของการรักประเทศชาติและรู้บุญคุณของแผ่นดินนี้ ผมถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  จุดอ่อนผมเป็นคนพูดน้อย พูดเสียงดัง ไม่ค่อยมีเวลาในการค้นคว้าหาความรู้เท่าที่ควร  สิ่ที่ควรปรับปรุงหลังจากที่ได้เข้ามาศึกษาที่ม.แสตมฟอร์ด  สิ่งแรก ที่ต้องทำคือให้เวลาในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในทุกรูปแบบ   เรื่องการพูดก็เช่นกันต้องหัดพูดในองค์กร หรือที่สาธารณะให้มากขึ้น และถือเป็นเรื่องสำคัญ 

2.                                                                 เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร

ผู้นำคือ บุคคลที่มีบทบาทหรือมีอิทธิพลในองค์การหน่วยงานนั้น ๆ ทั้งในด้านความคิดพฤติกรรมและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานองค์การขนาดเล็กหรือใหญ่ ภาวะผู้นำ (LEADERSHIP) หมายถึง ความสามารถในการวางแผน การจัดหน่วย จัดองค์การ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงานองค์การดังกล่าว ภาวะผู้นำนั้นเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอิทธิพลที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของบุคคลรอบข้าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ภาวะผู้นำนั้นเป็นความสามารถของบุคคลที่จะสามารถสร้างอิทธิพลจูงใจหรือสั่งการให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือหลายคนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การหรือหน่วยงานนั้น จึงอาจตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับภาวะผู้นำได้ดังนี้    .            ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการไม่ใช่ตัวบุคคล ดังนั้นผู้นำของกลุ่มหรือผู้บังคับบัญชาอาจแสดงออกหรือไม่แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำก็ได้ และผู้ที่มีภาวะผู้นำก็อาจมิใช่เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำหรือผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการก็ได้หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่มีภาวะผู้นำก็อาจมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำหรือผู้บังคับบัญชาเสมอไป และผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำหรือผู้บังคับบัญชาก็อาจไม่มีภาวะผู้นำเสมอไปเช่นกัน    .           อำนาจการบังคับบัญชาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการยอมรับกันในชั้นต้นของการเริ่มปฏิบัติงานเท่านั้น กล่าวคือทำให้ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้นำกับผู้ตามได้รู้จักอำนาจหน้าที่ของกันและกันในชั้นแรกเท่านั้น    ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามที่ไม่มีอคติหรือไม่รู้จักผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำคนนั้น ๆ มาก่อน ก็มักจะพร้อมที่จะยอมรับอำนาจผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำนั้นตั้งแต่แรก แต่เมื่อปฎิบัติงานกันไปนานเข้าก็ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำที่มีอยู่ในตัวของผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำนั้นเองว่า จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามนั้นเกิดความยอมรับนับถืออย่างจริงใจหรือไม่ ส่วนการแสดงออกภายนอกนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้นำที่มีภาวะผู้นำนั้นจะต้องสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ตาม เพราะความพึงพอใจนั้นก่อให้เกิดความตั้งใจเพียรพยายามเต็มใจที่จะปฏิบัติงาน การสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ตาม  ก็สามารถทำได้โดยการตอบสนองต่อความต้องการ (NEEDS) ของผู้ตามนั้น เมื่อผู้ตามเกิดความพอใจก็จะเกิดแรงขับ (DRIVES) ที่จะทำงานตามคำสั่งผู้นำเป็นผลให้เกิดพฤติกรรม (BEHAVIOR) หรือการกระทำตามเป้าหมาย (GOALS) ที่เป็นวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้นตามแผนภาพ NEEDS                      —>     DRIVES                 —>                         BEHAVIQU1RS               —>         GOALS 
ความตั้งใจความพยายามทำงาน —> การปฏิบัติงาน —> ผลตอบแทน- เงินเดือน- ตำแหน่ง- การยอมรับ- ความก้าวหน้า- การชมเชย —> ความต้องการ- ของร่างกาย- จากสังคม- ของจิตใจ
FEEDBACK
       ความต้องการของร่างกายนั้นนับเป็นความต้องการปฐมภูมิ ได้แก่ ความต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัย น้ำ อากาศ  การนอนหลับ ขับถ่าย  ความปลอดภัย ความต้องการหลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวด  ร้อนหนาว ฯลฯ ส่วนความต้องการทางด้านสังคม (SOCIAL NEEDS) และจิตใจได้แก่ ความต้องการเพื่อน ต้องการความรัก ความเป็นมิตร ความต้องการได้รับการยกย่องสรรเสริญ (ESTEEM NEEDS) เป็นความต้องการยอมรับจากบุคคลอื่น อยากมีตำแหน่งสูง ๆ สำคัญ ๆ อยากมีอำนาจ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศในสังคม สุดท้ายความต้องการความสำเร็จสมหวังในชีวิต (SELF - ACTUALIZATION) เป็นขั้นสุดท้ายในความต้องการของมนุษย์เช่นตั้งความหวังไว้ว่าจุดสูงสุดในชีวิตของตนควรจะได้เป็นเจ้าของกิจการของตนเอง หรือเป็นผู้นำสูงสุดของหน่วย ฯลฯ การบริหารคือ การนำทั้งทรัพยากรบุคคล  วัตถุดิบ  เงินทุน  เวลา และองค์ประกอบอื่น ๆ มาประสานเข้าด้วยกันให้ขับเคลื่อนสู่วัตถุประสงค์เดียวกันการบริหารคือ  เทคนิคการใช้คน  ทรัพยากร  และเวลาที่มีอยู่ เพื่อทำให้เป้าหมายที่วางไว้ประสบความสำเร็จการบริหารเปรียบได้กับการทอผ้าซึ่งต้องสอดด้ายแต่ละเส้น แต่ละสีในตำแหน่งที่เหมาะสมและลงจังหวะจะโคนของหูกให้ถูกต้อง  เพื่อให้ด้ายหลายร้อย  หลายพัน  หลายหมื่นหลายแสนเส้น  รวมพลังสำแดงภาพแห่งความงามบนผ้าผืนเดียวกันตรงตามต้นแบบที่วางไว้ความแตกต่างระหว่างผู้นำ กับ ผู้บริหาร ในความคิดเห็นส่วนตัว  -   ผู้นำและผู้บริหารจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีความแตกต่างกัน  จวบจนในปัจจุบันนี้ผู้นำและผู้บริหารในโลกโลกาภิวัฒน์    มีความเหมือนที่ไม่แตกต่างกันคือ  ผู้บริหารจะต้องพร้อมเป็นผู้นำได้ด้วย  ตัวอย่างเช่นคุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา     ที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารงานจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้สำเร็จ      3. ทฤษฎี  8 K’s, 8 H’s, 5 K’s  เกี่ยวข้องอย่างไรกับLeadership    ทฤษฎี 8K’s นั้นประกอบด้วย ·                                                                ทุนมนุษย์  (Human Capital)·                                                                ทุนทางความรู้  (Talented Capital)                 ·                                                                ทุนทางปัญญา  (Intellectual Capital)            ·                                                                ทุนทาง IT  (Digital Capital)               ·                                                                ทุนทางความสุข  (Happiness Capital)        ·                                                                ทุนทางจริยธรรม  (Ethical Capital)              ·                                                                ทุนทางสังคม  (Social Capital)                      ·                                                                ทุนแห่งความยั่งยืน  (Sustainability Capital)         ทฤษฎี 8 H’s นั้นประกอบด้วย·       HERITAGE (มรดก)รากฐานของชีวิต·       HEAD สมอง (คิดเป็น คิดดี)·       HAND มืออาชีพ·       HEART จิตใจที่ดี·       HEALTHสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์·       HOME บ้านและครอบครัว·       HAPPINESS การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข·       HAMONY ความปรองดอง สมานฉันท์      ทฤษฎี  5 K’S นั้นประกอบด้วย    *       Innovation  Capital     ทุนทางนวัตกรรม*       Creativity  Capital       ทุนแห่งการสร้างสรรค์*       Knowledge  Capital    ทุนทางความรู้*       Cultural  Capital           ทุนทางประสบการณ์                *       Emotional  Capital       ทุนทางอารมณ์                     ทฤษฎีทั้ง 3 ทฤษฎีที่เกิดจากประสบการณ์อันยาวนานของท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์    คุณหญิงทิพาวดี                เมฆสวรรค์  และคุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  ได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์              องค์ความรู้ในทฤษฎีเหล่านี้ จึงใช้เป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี 
นาย สุวพัส เพียรพิจารณ์ชน ID 006150017 ส. 20-1-07 (11:11)
เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สวัสดีพี่ๆ เพื่อนๆ นักศึกษา MPA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดทุกท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้มีโอกาสเรียนกับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้มีการสอนแบบที่ไม่เหมือนกับอาจารย์ท่านอื่นๆ ซึ่งท่านได้เอาประสบการณ์ของท่านมาเล่าให้นักศึกษาได้ฟัง ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากและท่านได้นำหนังสือหลายเล่มมาให้นักศึกษาได้ดู ซึ่งหนังสือหลายเล่มนั้นก็เป็นประสบการณ์ของท่านที่ได้ไปต่างประเทศและได้นำหนังสือดีๆ เหล่านี้มาให้นักศึกษาได้ดู และท่านก็ได้พูดถึงช่องว่างหรือจุดอ่อนของแต่ละคน ซึ่งก็มีมากมายสำหรับตัวผมเอง เพราะความรู้มีเยอะแยะมากมายที่ตัวผมเองยังไม่ทราบ และก็ยังมีอีกหลายคนเช่นกันที่ยังไม่ทราบ เพราะความรู้มีมากมายที่จะเรียนรู้ เพราะฉะนั้นจึงอย่าหยุดที่จะเรียนรู้ และก็ไม่มีคำว่า สาย สำหรับการเรียนรู้และท่านอาจารย์ก็ได้ให้การบ้านมาลงใน Blog ด้วย ข้อ 1. ให้บอกคุณลักษณะของตัวเอง และ ให้บอกจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองคุณลักษณะส่วนตัวแล้วเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ร่างเริง แจ่มใน ชอบพูดคุยทำให้คนอื่นมีความสุข มีการสร้างแรงจูงใจในตนเอง ในการพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ และการเชื่อถือก็เป็นสิ่งที่ดีทำให้เกิดการเคารพนับถือทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง จุดแข็ง ก็คือ การมีความอดทนต่อความไม่ชัดเจนและไม่แน่นอน เพราะโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบค้นหาความจริง อยากรู้ว่าจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร และก็มีอีกหลายอย่างมากมายที่เรายังไม่รู้หรือว่ารู้แล้วแต่จะจริงเท็จแค่ไหน เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ย่อมไม่มีวันที่สิ้นสุด เราก็ควรที่จะเรียนรู้ไปเรื่อยๆ และรู้ให้จริง และมีความกล้าที่จะเรียนรู้ เพราะบางคนกลัวความยากจึงไม่อยากที่จะเรียนรู้ทำให้เกิดการท้อถอย แต่โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนอยากรู้ กล้าที่จะเรียนรู้ หรือลองผิดลองถูก เพราะถือว่าผิดเป็นครู และก็จะฝึกฝนไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ และก็จะทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจไว้จุดอ่อน ก็คือ การฟังและเรียนรู้โดยใช้ความคิด เพราะเป็นคนที่ค่อนข้างเข้าใจอะไรยากพอสมควร แต่ถ้าตั้งใจฟังและเข้าใจถึงประเด็นหรือหลักการก็จะพอเข้าใจ ข้อ 2. ผู้นำ (Leadership) กับ ผู้บริหาร (Management) แตกต่างกันอย่างไรผู้นำ (Leadership) จะต้องมีความเด็ดขาดกล้าที่จะตัดสินใจ จะต้องมีลักษณะเด่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และเป็นคนที่มองโลกทัศน์กว้างและมีวิสัยทัศน์ที่ดี มองเห็นอนาคตในภายภาคหน้า มีการวางแผนที่ดี โดยมีการบัญชา การเน้นที่คน โดยมีการกระจายอำนาจและให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเป็นกันเอง เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุด ผู้บริหาร (Management) ซึ่งจะแตกต่างจากผู้นำ โดยการบริหารเน้นที่ระบบ ทำให้มีการควบคุมระบบการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งผู้บริหารที่ดีจะมีการบริหารองค์กรเชิงคุณภาพโดยมีแบบองค์กร หรือสายการบังคับบัญชาระยะสั้นไม่ยืดยาว ซึ่งแตกต่างกับผู้นำ และจะทำให้การบริหารของผู้บริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อ 3. ทฤษฎี 8K, 5K เกี่ยวข้องอะไรกับ (Leadership)การที่เป็นผู้นำนั้นจะต้องมีลักษณะเด่นเป็นของตัวเองอยู่แล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เพราะฉะนั้นทฤษฎี 8K, 5K ย่อมเกี่ยวข้องกับ Leadership แน่นอนอยู่แล้ว ทฤษฎี 8KHuman Capital ทุนมนุษย์ มนุษย์หรือบุคคลเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดสำหรับ LeadershipIntellectual Capital ทุนทางปัญญา ปัญญาก็จะช่วยให้มนุษย์มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพมากยิ่งขึ้นEthical Capital ทุนทางจริยธรรม ผู้นำควรจะมีทุนจริยธรรม เพื่อบ่งบอกถึงความาซื่อสัตย์สุจริตHappiness Capital ทุนแห่งความสุข ทุนนี้แค่ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นแห่งความสุข ไม่ว่าจะทำอะไรให้มีความสุขกับสิ่งที่ทำ แล้วจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีSocial Capital ทุนทางสังคม ผู้นำควรมีทุนทางสังคมเพื่อที่จะได้รู้ถึงความเคลื่อนไหวทางสังคมSustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนนี้บ่งบอกถึงความมั่นคงและแน่นอนเป็นการการันตีให้แก่ผู้นำDigital Capital ทุนทาง IT ผู้นำควรจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เหมาะกับยุคสมัยในปัจจุบันTalented Capital ทุนทาง Knowledge เป็นทุนที่อยู่ติดตัวกับผู้นำอยู่แล้ว ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป แต่ละบุคคล ทฤษฎี 5KInnovation Capital ทุนทางวัตกรรม เป็นทุนที่ผู้นำควรมี และทำการพัฒนาให้ดีขึ้นให้ทันกับยุคสมัยนั้นๆCreativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ผู้นำควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หาอะไรแปลกใหม่เข้ามาตลอดเวลาKnowledge Capital ทุนแห่งความรู้ ผู้นำควรมีความรู้เป็นทุน และมีการศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาCultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม ผู้นำควรมีความรู้ทางด้านวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละองค์กรEmotional Capital ทุนทางอารมณ์ ผู้นำควรมีอารมณ์และสุขภาพจิตที่ดี เพื่อที่จะให้สมองปลอดโปร่งและก็ยังมีทฤษฎีอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธภาพและมีประโยชน์สูงสุด
นาย สรรพวัฒน์ กิจปราณีนิจ ID 006250002
เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ผม นาย สรรพวัฒน์  กิจปราณีนิจ รู้สึกดีใจและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดระดับ ปริญญโท( MPA ) และรู้สึกภูมิใจที่ได้รับความรู้ในวิชาเรียนบทบาทของภาวะผู้นำ(Leadership ) ผมและเพื่อนนักศึกษา MPA ได้รับเกียรติจาก นายกสภามหาวิทยาลัย นานาชาติสแตมฟอร์ดคือท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเป็นอาจารย์พิเศษในวิชานี้    ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ       1. แต่ละคนมีอะไรบ้าง ในคุณลักษณะแต่ละบุคคลและคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง จุดอ่อนอะไรบ้าง อยากจะปรับปรุงเรื่องอะไร ?   ส่วนตัวเป็นคนเงียบ เรียบ ๆ พูดน้อย ไม่ค่อยพูดคุยสักเท่าไหร่นัก  มักจะเป็นผู้ฟังที่ดี และนำสิ่งที่ฟังมาคิด พิจารณา วิเคราะห์ ชอบทำงานที่เป็นอิสระ  ตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม    คุณสมบัติเฉพาะตัว  คือ มีความคิดที่แตกต่างจากคนอื่น ๆ มักจะคิดไม่เหมือนใคร  มีความตั้งใจทำงานสูง  อดทน  ชอบศึกษาเทคนิคในการทำงาน การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  และคิดเสมอว่า มีอุปสรรค  มีปัญหา  ต้องมีทางแก้ไข  และรู้ถึงเหตุของปัญหา  ชอบที่จะเรียนรู้หาประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการทำงาน  เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน  เคารพความเป็นส่วนตัวของแต่ละคน     จุดแข็งของตัวเอง  เรื่องของการทำงานเป็นคนที่ชอบลงสัมผัสในทุกส่วนงาน  เพื่อได้เรียนและเข้าใจถึง บริวารผู้ร่วมงาน  ชีวิตการเป็นอยู่ การทำงาน ปัญหาต่างๆ และสร้างแรงจูงใจ  จึงเป็นที่รักใคร่ของบริวารผู้ร่วมงาน  และทุกๆ คน 38 ชีวิต ต่างล้วนร่วมทำงานมานานร่วม 10 ปี รู้หน้าที่และรับผิดชอบต่อหน้าที     จุดอ่อนของตัวเอง  เรื่องการสื่อสารและให้เข้าใจ กับสิ่งที่เราคิดแตกต่างจากคนอื่น ๆ  และผลเป็นสิ่งที่เราคิด  เป็นเรื่องยากอยู่พอสมควรกับการที่จะอธิบาย  สิ่งที่อยากจะปรับปรุง   จัดสรรเวลาในการพักผ่อน  ทำงานมากเวลาพักผ่อนน้อย  ปรับปรุงเรื่องการสื่อสาร การพูด และการกล้าแสดงออก

2. ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร         ผู้นำ  (Leader)    ตัวบุคคล  อำนาจ  บารมี  เป้าหมาย  วิสัยทัศน์    มีอุดมการณ์  หลักการณ์  ลงทุน  ความสะดวกสบาย ความสำเร็จ  จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าสำหรับอนาคตเสมอ จะต้องเป็นผู้ที่ความคิดความอ่านคำนึง สิ่งถึงสถานะการณ์ปัจจุบัน และมองถึงแนวโน้มเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อที่จะได้หาแนวทางรับมือและป้องกัน  เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่อไป    ผู้บริหาร (Management)   วัตถุประสงค์  เป้าหมายขององค์การมีความสำคัญ   การควบคุม  การวางระบบ  การจัดระเบียบ  จัดหา  ประสานงาน  แรงจูงใจ  นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ  เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว  ประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุ เป้าหมายขององค์การ  โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด  

 3. ทฤษฎี  8 K’s, 8 H’s, 5 K’s  เกี่ยวข้องอย่างไรกับLeadership    ทฤษฎี 8K’s นั้นประกอบด้วย ทุนมนุษย์  (Human Capital)  ทุนทางความรู้  (Talented Capital)  ทุนทางปัญญา  (Intellectual Capital)  ทุนทาง IT  (Digital Capital)  ทุนทางความสุข  (Happiness Capital)  ทุนทางจริยธรรม  (Ethical Capital)  ทุนทางสังคม  (Social Capital) ทุนแห่งความยั่งยืน  (Sustainability Capital)         ทฤษฎี 8 H’s นั้นประกอบด้วย  

HERITAGE รากฐานของชีวิต   HEAD สมอง คิดเป็น คิดดี

HAND มืออาชีพ  HEART  จิตใจที่ดี HEALTH สุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์    HOME บ้านและครอบครัว   HAPPINESS การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข    HAMONY ความปรองดองสมานฉันท์ทฤษฎี  5 K’S นั้นประกอบด้วย          

Innovation  Capital    ทุนทางนวัตกรรม  Creativity Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์  Knowledge  Capital   ทุนทางความรู้

Cultural  Capital     ทุนทางประสบการณ์   Emotional  Capital     ทุนทางอารมณ์ทั้ง 3 ทฤษฎี   มีความเกี่ยวข้องกับ   Leadership   เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมสภาพแวดล้อม  การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวส่งผลให้ ผู้นำจะต้องใช้หลักของทั้ง 3 ทฤษฎี มา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนระบบต่างๆและเพื่อประโยชน์สูงสุดในองค์กร

 

นางสาวทัศวรรณ วังคะฮาด

        เรียน  ท่าน .ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ และสวัสดีค่ะท่านสมาชิกที่เข้าอ่าน blog นี้ทุก ท่าน ดิฉันนางสาวทัศวรรณ วังคะฮาด ก็เป็นคนหนึ่งค่ะที่รู้สึกมีความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเรียนกับท่าน .ดร.จีระฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ดิฉันก็พอรู้จักท่านในทางรายการโทรทัศน์บ้าง หนังสือบ้าง และได้มีโอกาสเห็นท่านเมื่อครั้งท่านมาเยี่ยมคณะ MPA .แสตมฟอร์ด  ท่านได้มาสอนคณะ MPA ของพวกเราในวันที่ 14 มกราคม 2550  ในวันนี้ดิฉันมีความภาคภูมิใจและสามารถคุยกับใครได้ว่าดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ของท่าน .ดร.จีระฯ และจากวิธีการสอนของท่านนั้นดิฉันว่าคงไม่มีใครเหมือน และดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความรู้จากการเรียนในครั้งนี้เพื่อนำไประยุกต์ใช้กับการทำงานและการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และวันนั้นท่านได้ให้การบ้าน 3 เรื่องด้วยกัน  ดังนี้

ข้อที่ 1.  แต่ละคนมีอะไรบ้างในคุณลักษณะแต่ละบุคคล และคุณสมบัติเฉพาะตัว มีจุดแข็ง  จุดอ่อนอะไรบ้าง  อยากปรับปรุงเรื่องอะไร

ในข้อนี้ดิฉันว่ายากที่จะตอบนะคะ เพราะการที่จะให้บอกถึงจุดแข็งหรือจุดด้อยของตัวเองนั้นบางทีอาจจะค้านในสายตาของคนอื่น เพราะบางทีเรื่องที่เราคิดว่าดีแล้ว แต่ในสายตาคนอื่นอาจจะมองว่าไม่ดีก็ได้  ดังนั้นดิฉันก็ขอตอบในความรู้สึกและแนวคิดของตนเองนะคะ   (1) การมีมนุษยสัมพันธ์และจิตใจดี ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นจุดเด่นตัวเองที่สุด เพราะดิฉันเป็นคนที่ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอารมณ์สุนทรีย์ คุยสนุก สามารถปรับตัวเข้ากับคนได้ง่ายและได้ทุกระดับ รู้จักวางตัว มีความเกรงใจ  มีความจริงใจ  รักเพื่อน และรักครอบครัวมาก  ยอมรับระบบระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง ชอบบริการ และมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  อยากให้อยากช่วยเหลือในเวลาคนอื่นมีทุกข์  ซึ่งบางครั้งก็เกินความสามารถของตนเองจึงทำให้ตนเองต้องเป็นทุกข์ไปด้วยเพราะช่วยเหลือเขาไม่ได้          (2) เข้มแข็ง และอดทน  ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นจุดแข็งในตัวเองอีกประการหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าดิฉันได้รับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กเพราะครอบครัวของดิฉันมีฐานะยากจนเป็นครอบครัวชาวนา พ่อแม่มีลูกมาก ทุกคนจึงต้องทำงานตั้งแต่เด็ก ดิฉันจึงไม่เคยย่อท้อต่อความยากลำบาก อุปสรรค และปัญหาต่าง ๆ  (3)  การสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ข้อนี้ก็เป็นจุดแข็งในตัวของดิฉันอีกประการหนึ่ง ดิฉันเป็นคนที่สนใจในเรื่องแสวงหาความมั่นคงในชีวิต ความสำเร็จ และความก้าวหน้ามากกว่าปล่อยชีวิตไปเรื่อย ๆ  ดิฉันมีคติสอนใจตัวเองอยู่ 2 ข้อ ที่ยึดมาตลอด คือ ฝันให้ไกล ไปให้ถึง  และ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด  ดิฉันเป็นคนที่มีความใฝ่ฝัน ทะเยอทะยานอยู่เสมอ ทั้งในด้านการเรียนและด้านหน้าที่การงาน ในขณะเดียวกันดิฉันต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่าสิ่งที่ดิฉันกำลังดำเนินไปนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ เพราะดิฉันถือว่าถ้าทำดีในวันนี้  อนาคตข้างหน้า หรืออดีตที่จะผ่านไปก็จะดีเอง และดิฉันยึดหลักคนเราต้องพึ่งตัวเองก่อนที่จะพึ่งคนอื่นหากต้องเผชิญกับปัญหา (4) การมีความมั่นใจในตนเอง ข้อนี้ดิฉันก็ถือว่าเป็นจุดแข็งในตัวของดิฉันเองแต่อาจจะน้อยกว่าข้ออื่น ๆ เพราะก็มีบางเรื่องที่ดิฉันไม่มั่นใจในตนเอง อาทิเรื่องที่ค่อนข้างเป็นทางการหรือวิชาการ เช่น การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน หรือการกล่าวในงานพิธีที่เป็นทางการ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเรื่องการนำเสนอด้านนันทนาการ บันเทิง หรือเรื่องการเข้าหาพบปะผู้หลักผู้ใหญ่ ติดต่อประสานงานดิฉันจะมีความกล้าแสดงออกมากกว่า  พูดง่าย ๆ ก็คือ  กล้าชนทุกเรื่อง (แต่ต้องเป็นเรื่องที่ดีนะคะ)  (5) ความสามารถในด้านการบริหารจัดการ และด้านอารมณ์ ข้อนี้ดิฉันถือว่าเป็นจุดอ่อนหรือจุดด้อยของตัวดิฉันเองที่จะต้องพัฒนาปรับปรุง ซึ่งในด้านการบริหารจัดการนั้นอันดับแรกที่ด้อยที่สุดก็คือ ความไม่มีระเบียบในการใช้จ่าย ชอบจับจ่ายซื้อของที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ (ทั้งที่รายได้น้อย) ราคาไม่เกี่ยงถ้าตัวเองชอบพอซื้อเสร็จแล้วมักจะคิดได้ทีหลัง อันดับสองการบริหารเวลาซึ่งดิฉันคิดว่าตัวเองยังไม่ตรงต่อเวลาเท่าไร  ส่วนด้านอารมณ์ดิฉันเป็นคนใจร้อน เสียงดัง บางครั้งก้าวร้าวเพราะยึดมั่นในความคิดของตนเองเกินไป ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ทั้งที่ไม่เคยคิดจะทำร้ายใครเลย ขาดเหตุผลและเข้มงวดกับคนใกล้ตัวเกินไป ขาดความรอบคอบ และบางครั้งก็อ่อนไหวเกินไป ขี้น้อยใจ และวิตกกังวลเกินควร   

ข้อที่ 2 เปรียบเทียบว่าผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร/     ผู้นำ มักเป็นผู้ที่เปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิดหรือความรู้เดิม ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ด้วยใจที่ไม่มีอคติ เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่การเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น ใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปได้อย่างสมดุล ไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้น ๆ บริหารโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมายให้เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) ทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม ผู้นำจะเข้าใจระบบขององค์กรว่าโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบมีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่จริง แล้วไม่อาจเขียนแทนได้โดยผังการไหลของงาน (Flowchart) หรือถ่ายทอดทุกอย่างผ่านคู่มือการดำเนินงาน (Proceddure) หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน หรือเข้าใจเกี่ยวกับคนนั่นเอง ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารทั้งหมด และผู้นำคือจะเป็นผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน แน่นอนที่สุดหากเรามองว่าธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันคือชัยชนะผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนต่างก็ล้วนแต่ต้องการชัยชนะด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับผู้นำที่แท้จริงแล้วชัยชนะที่เขาต้องการจะได้มานั้นเขามองมันในฐานะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน มิใช่เพียงเพื่อตัวเขาเองเท่านั้น ผู้นำที่แท้จริงต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินพร้อมไปกับเขามีความสุข ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับ จ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคนเขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ  

ผู้บริหาร จะใช้หลักทางด้านการจัดการ (Management) แต่การจัดการนั้นจริง แล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น ผู้บริหารจะให้ความสำคัญในวิธีการทำงานให้เป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดไว้ โดยมองว่าผู้ปฏิบัติงานจะต้องทำงานตามหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติ การทำงานจะมุ่งผลกำไรขององค์กรอย่างเดียวโดยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กร  ซึ่งผู้บริหารมักได้รับการเลื่อนตำแหน่งเพราะความสามารถทางเทคนิคในการทำงานดี จึงไม่มีทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์  

ข้อ 3 ทฤษฎี  8 Ks   5 Ks  8 Hs  เกี่ยวข้องอะไรกับ  Leadership 

 

ทฤษฎี   8 Hs 8 Ks  

  1. Heritage  มรดก  (รากฐานของชีวิต)   Sustainable  Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน 
  2. Head  สมอง (คิดเป็น คิดดี) หมายถึงการมีสมอง การมีความคิด  มีความรู้ มีสติ คิดเป็นแล้วต้องคิดดีด้วย  
  3. Hand    มืออาชีพ (ทำงานด้วยฝีมือตนเอง)  คิดจะทำอะไรก็ให้ลงมือทำด้วยตนเอง  ถ้าคิดแล้วไม่ลงมือทำก็จะไม่สำเร็จ           
  4. Health  สุขภาพ  พลานามัยที่สมบูรณ์   
  5. Home  บ้านและครอบครัว   การที่มีครอบครัวดีช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็จะเป็นพื้นที่ท่ให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้ 
  6. Human  Capital  ทุนมนุษย์   
  7. Happiness  ความสุข  ทุนแห่ง
  8. Harmony  ความปรองดอง สมานฉันท์  Social    Capital  ทุนทางสังคม  เรื่องนี้สำคัญมากกับการทำงานในองค์กร  ความสามัคคีในหมู่คณะจะทำให้การทำงานใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยง่ายและรวดเร็ว   
 
ทฤษฎี  5 Ks
  1. Innovation Capital  ทุนทางวัตกรรม
  2.  Creativity Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์
  3.  Knowledge Capital  ทุนทางความรู้
  4. Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม
  5. Emotional Capital  ทุนทางอารมณ์ 
          ทฤษฎีทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเกี่ยวข้องกับ  Leadership ทั้งสิ้น  เพราะทั้ง ๓ ทฤษฎีนั้นเป็นหลักและคุณสมบัติของผู้นำที่ดี  ถ้าหากว่าผู้นำท่านใดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกข้อตามทฤษฎีดังกล่าวท่านจะเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ   นางสาวทัศวรรณ  วังคะฮาด

 

 
นางสาววิลาวัลย์ พวงอุบล

          ดิฉันนางสาววิลาวัลย์ พวงอุบล รับราชารอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จากการที่ได้ศึกษาวิชากลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ จึงรู้ว่าการจะเป็นผู้นำนั้นต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้เสียก่อนการเป็นผู้มีประสบการณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ดิฉันกราบขอบพระคุณอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้สอนวิชานี้ให้กับนักศึกษา MPA

ข้อ 1. จุดอ่อน  ของข้าพเจ้ามีดังนี้

  1. ใจร้อน ,แสนงอน ,(เมื่อไม่ได้ดั่งใจ)
  2. วิตกจริต
  3. ไม่ชอบให้ให้ใครเอาเปรียบ
  4.   ทะเยอทะยาน (บางครั้งคราว)
  5. ไม่ชอบอ่านหนังสือ

จุดแข็ง  มีดังนี้

  1. มีเหตุผล  เชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
  2.  ปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
  3. เรียนรู้สิ่งที่อยากรู้และสนใจอย่างจริงจัง
  4. มุ่งมั่นตั้งใจทำในสิ่งที่ต้องการให้ดีที่สุด
  5. มองโลกในแง่ดี
  ข้อ 2.  ผู้นำ

          ความเป็นผู้นำเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล  บ้างคนเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำเพราะมีทักษะ (skill) ที่สามารถทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริงได้ด้วยการนำ  การจูงใจ  ฟัง  ชี้ชวน  ด้วยเหตุและผล  ผู้นำคิดถึงอนาคต  ไม่ย่ำอยู่กับที่  ทำเพื่อหวังสิ่งดี ๆ ที่ควรมีในอนาคต  และเป็นตัวแทนแห่งการเปลี่ยน (Change Agent) เป็นผู้เชี่ยวชาญยุคไอที

 ผู้บริหาร             มีความตั้งใจดี  เห็นการณ์ไกล (Forward looking)  ใช้สติปัญญา มีการวางแผนเป็นขั้นตอน           ไม่ฉาบฉวย  ติดตามผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจที่ตั้งไว้ รวมทั้งสร้างระบบการทำงานเป็นทีม  เพื่อมุ่งสู้เป้าหมายที่กำหนดไว้โดยส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานสำนึกในหน้าที่ และตั้งใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ข้อ 3.            ความเป็นผู้นำเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารงานในยุคไอที  เพราะผู้นำในยุคการแข่งขันต้องกล้า     ตัดสินใจ  มีวิสัยทัศน์  ทันต่อเหตุการณ์  และต้องมีพลังหรือแรงจูงใจในการที่จะทำให้คนในองค์กรมุ่งสู่      เป้าหมายที่ตั้งไว้          ดังนั้น  ในบางสถานการณ์  จังหวะ  เวลา  และโอกาส  การบังคับบัญชาคนต้องอาศัยทำทฤษฎี  8k , 8H , และ 5k  มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความศรัทธา  คนเป็นผู้นำจึงต้องมีพลังทำให้ผู้คนเชื่อถือ  ชื่นชมในความสามารถ  วิสัยทัศน์  ความคิดอ่านเหนือคนทั่วไป นางสาววิลาวัลย์  พวงอุบล

        เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สวัสดีเพื่อนนักศึกษา MPA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ทุกท่าน

 

           กระผมนายอุดม ชนะสิทธิ์ รู้สึกภูมิใจมากที่ได้รับเกียรติ ที่อาจารย์ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ให้ความรู้ในการเป็นผู้นำแก่พวกกระผม ขอบพระคุณมากครับทำให้ผมได้พัฒนาภาวะการเป็นผู้นำมากขึ้นอีกจากบทเรียนที่ท่านอาจารย์ได้ถ่ายทอดให้

           กระผมเป็นหนึ่งในจำนวนนักศึกษา MPA รุ่น 1 ในมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด  กระผมทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในตัวของผมเองเป็นทั้งผู้นำและผู้บริหารในคนเดี่ยวกัน ทฤษีของอาจารย์ผมสามารถนำไปปฎิบัติได้หมด เช่น

จุดแข็ง คือ

  1. ผมเป็นคนใจเย็น และมีความอดทนในทุกเรื่องผมจะให้ความเคารพกับทุกคนไม่ว่าคนนั้นจะเป็นลูกน้องหรือเพื่อน การให้ความเคารพนับถือผู้อื่น  ไม่สำคัญว่าผู้นั้นจะเป็นใครมาจากไหน ไม่ว่าจะอายุมากกว่าหรือน้อยกว่า
  2. จุดแข็งของผมเป็นคนใจอ่อนด้วยครับแต่ผมรู้ว่าผมจะอ่อนกับใคร ควรหรือไม่ควร
  3. ผมเป็นคนมีเหตุผล
  4. ผมเป็นคนกตัญญู
  5. ซื่อสัตย์มีความรับผิดชอบ

จุดอ่อน

  1. ขาดความเชียวชาญในด้านเทคนิค
  2. กล้าเสี่ยงที่จะทำธุรกิจ
  3. เกรงใจคนรอบข้างมาก
  4. ไม่ชอบทำให้เพื่อนหรือคนรอบข้างเสียงใจ
  5. ตัดสินใจช้า

ทฤษฎี  8K’S,SK’S,8H’S เกี่ยวข้องอะไรกับ Leadershipทฤษฎี 8H’S ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ 8 H’S
  • Heritage           รากฐานของชีวิต
  • Head                     คิดเป็น คิดดี
  • Hand                     มืออาชีพ
  • Heart                จิตใจดี
  • Health             สุขภาพพลานมัยที่สมบูรณ์
  • Harmony          ความปองดอง
  • Happiness          ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข 
  • Home                บ้านและครอบครัว
  ทฤษฎี 8K’S  ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์
  • ทุนแห่งความยังยืน    Sustainable  Capital
  • ทุนทางสังคม              Social capital
  • ทุนทางจริยธรรม        Ethical  Capital
  • ทุนแห่งความสุข         Happiness  Capital
  • ทุนทาง IT                     Digital  Capital
  • ทุนทางปัญญา             Intellectual  Capital
  • ทุนทางความรู้  ทักษะ  ทัศนคติ         Talent  Capital
  • ทุนมนุษย์                      Human  Capital
ทฤษฎี  5 K’S  ได้แก่
  1. Innovation  Capital   ทุนทางนวัตกรรม
  2. Creativity  Capital     ทุนแห่งการสร้างสรรค์
  3. Knowledge  Capital   ทุนทางความรู้
  4. Cultural  Capital     ทุนทางประสบการณ์
  5. Emotional  Capital    ทุนทางอารมณ์

 

เราจะเห็นว่า  ทฤษฎี  8 H’S  :ของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

 

ทฤษฎี  8 K’S  : ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ทฤษฎี  5 K’S  :

ทั้ง 3 ทฤษฎีนี้เราจะเห็นว่าเกี่ยวทั้งกับความเป็นผู้นำ เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้เลยถึงแม้ว่าเวลาที่อาจารย์ได้สอนจะเป็นระยะเวลาน้อยแต่ผมคิดว่าคุ้มค่าแล้วครับ

 

                                                             อุดม ชนะสิทธิ์  
สวัสดีนักศึกษาแสตมฟอร์ดและชาว Blog ทุกท่าน สัปดาห์ที่แล้วผมได้ให้นักศึกษาร่วมกันออกความคิดเห็นโดยตอบคำถาม 3 เรื่องผ่านทาง Blog ซึ่งต้องขอขอบคุณที่นักศึกษาได้ให้ความสนใจและตอบคำถามกันเข้ามาเกือบทุกคนและมีหลาย ๆ ประเด็นที่น่าสนใจมาก
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ 2 ที่ผมมีโอกาสได้ไปสอนให้กับนักศึกษา MPA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดอีก ครั้งนี้ ผมได้ให้นักศึกษาเริ่มเรียนรู้จากการอ่านบทความ คอลัมน์ บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ ซึ่งผมเขียนเป็นประจำทุกๆ วันเสาร์ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ผมได้แนะนำให้นักศึกษาฟังว่า การอ่านหนังสือในแต่ละครั้งนั้นจะต้องตรงประเด็น นิ่งในการอ่าน จับประเด็นให้ได้ว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไร และผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องใดบ้าง
สำหรับบทความของผมในสัปดาห์นี้ย่อหน้าหนึ่งได้เขียนเปรียบเทียบนักกีฬาเทนนิส 2  คนคือคุณภราดรและคุณดนัย และเมื่อนักศึกษาอ่านเสร็จ ผมได้ตั้งประเด็นให้นักศึกษาออกความคิดเห็น  2 เรื่อง คือ
1.      เรื่องภาวะผู้นำระหว่างคุณภราดร และคุณดนัยแตกต่างอย่างไร
2.      ภาวะผู้นำทางตะวันตกและทางตะวันออก แตกต่างกันอย่างไร ถ้าเป็นคุณจะเลือกใช้อย่างไร 
สำหรับในข้อแรกนั้น ผมสรุปได้จากความคิดเห็นของนักศึกษาได้ดังต่อไปนี้คุณลักษณะที่เป็นภาวะผู้นำของดนัยเปรียบเทียบกับภราดร
1) รู้ตัวเองว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอะไร
2) มีความมุ่งมั่น เตรียมตัวตี
3) ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียงมากกว่า
4) มีทุนแห่งความยั่งยืนมากกว่า
5) มีทุนแห่งความสุขที่แท้จริงมากกว่า
6) เป็นแบบอย่างที่ดีกว่า (Role Model)
7) ดนัยเริ่มต้นจากความเจ็บปวด (Pain) ก่อนไปสู่ความสำเร็จ (Gain)
8) ดนัยค้นพบความชอบกีฬาเทนนิสได้ด้วยตนเอง บวกกับมีความมุ่งมั่น ซึ่งมองได้จากรากเหง้าหรือที่เรียกว่า Heritage
9) วางตัวในสังคมได้ดีทำให้ได้รับแรงสนับสนุนและกำลังใจมากซึ่งทำให้เกิดพลัง
10) มีทุนทางอารมณ์ คือควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่า             
หัวข้อที่ 2 คือ ภาวะผู้ทางตะวันตกและทางตะวันออก แตกต่างกันอย่างไร ถ้าเป็นคุณจะเลือกใช้อย่างไร
นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นซึ่งสรุปได้ดังนี้ 
ตะวันออก ตะวันตก

1) ไม่ได้มุ่งเน้นผลงาน           

2) เป็นสังคมที่เน้นครอบครัวและสายเลือดทำให้ไม่ค่อยให้โอกาสและการมีส่วนร่วมจากผู้อื่นมากนัก      

3) เน้นความจงรักภักดี          

4) รักพวกพ้อง เป็นระบบพึ่งพาอาศัยกัน อะลุ่มอล่วย ผ่อนปรน (รากเหง้าทางวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น การดูแลคนไม่เก่ง แล้วเอาความไม่เก่งไปแชร์รวมกับคนอื่น ๆ ซึ่งก็สะท้อนถึงระบบค่าตอบแทนที่ตะวันออกมักจะไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนที่ตรงกับความสามารถจริง ๆ            

5) เน้นระบบอาวุโส             

6) ระบบ (system) ไม่ดีเท่ากับตะวันตก 

1) เน้นที่ผลงาน (Performance)                   

2) ให้โอกาสคนเก่ง และคนมีความรู้ได้ทำงาน                      

3) เน้นการทำงานเป็นทีม        

4) เน้นระบบ (System)            

5) ไม่เน้นระบบอาวุโส             

6) รากเหง้าทางวัฒนธรรมของตะวันตกจะต้องพึ่งพาตนเอง   

7) มี Science Technology มากกว่าตะวันออก

จากนั้นก่อนพักดื่มกาแฟกัน ผมได้ให้นักศึกษาดูเทปรายการโทรทัศน์ ที่ผมได้สัมภาษณ์  ดร.อำนวย วีรวรรณเ พื่อเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและความสำเร็จของท่าน โดยผมได้ฝากคำถามไว้สำหรับการ workshop 2 คำถาม คือ
1) คุณลักษณะทีเป็นภาวะผู้นำของท่าน ดร.อำนวยมีอะไรบ้าง
ข้อสรุปจากความคิดเห็นของนักศึกษามีดังนี้ คือ
1) มีความรู้ในสิ่งที่ทำมีเป้าหมาย (HUMAN CAPITAL, INTELLECTUAL CAPITAL)คือ ท่านดร.อำนวยมีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ และการบริหารจัดการ และท่านสามารถนำความรู้ของท่านมาใช้ในการทำงานได้อย่างดี อีกทั้งท่านเป็นคนที่คิดเป็นตั้งแต่เด็กทำให้ท่านเลือกทำในสิ่งที่ท่านสนใจและสามารถทำได้อย่างดี คือเป้าหมายในการบริหารบ้านเมืองและประเทศ  เป็นคนมองการไกล  และมีทุนทางปัญญามาก การพยายามสร้างภาวะผู้นำให้กับตัวของท่านเอง  มีการทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมอีกมากมาย เป็นต้น
2) มีคุณธรรมจริยธรรม (ETHICAL CAPITAL) คือ เมื่อท่านรับราชการท่านมีอุดมการณ์ในการทำงานที่ดี มีธรรมาภิบาล จากคำพูดที่ผมจำได้แม่นและประทับใจที่ท่านพูดว่า ผมเป็นปลัดกระทรวงที่จนที่สุด 3) มีการตัดสินใจที่รวดเร็ว ฉลาดในการวางตัว ปรับตัวในจังหวะเวลาที่เหมาะสมและทิ้งประโยชน์ไว้ให้แก่สังคม (หรือที่เราเรียกว่าภูมิสังคม) 
จากนั้นผมได้อธิบายให้นักศึกษาฟังเกี่ยวกับช่องว่าง (GAP) ระหว่างผู้นำ (Leader) กับผู้จัดการ (Manager) และได้ถามนักศึกษาแต่ละท่านว่าท่านอยู่ในช่วงไหนของเส้นทางไปสู่การเป็นผู้นำและยังอธิบายเกี่ยวกับเรื่องผู้นำแต่ละคนในประเทศและต่างประเทศ เช่น เหมาเซตุง ผู้นำทางด้านคอมมิวนิสต์ของประเทศจีน เป็นต้นผมให้นักศึกษาดูเทปที่ผมสัมภาษณ์            ดร. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  เพื่อเรียนรู้ภาวะผู้นำและบทบาทในฐานะผู้นำของท่านและความสำเร็จในชีวิตของท่าน ซึ่งท่านได้เล่าถึงเรื่องเกร็ดในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นคนที่มีอุปนิสัยเป็นคนที่ชอบการแสวงหาความรู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ท่านได้พูดไว้ว่า "เอาชนะอะไร ก็ไม่เท่าชนะใจตัวเอง"  และสุดท้ายผมได้สรุปเรื่องบทบาทของผู้นำ - แนวทางเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์และนำไปปรับใช้ต่อไปคือ ขอเสนอให้เห็นแนวคิดของ 3 นักคิดคือ Stephen Covey, Jack Welch  และของผมเอง ซึ่งผู้อ่านอาจนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป
Stephen Covey Chira Hongladarom Jack Welch

1) Path finding คือ ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์และแสวงหาอนาคต 

 

1) Crisis Management คือ ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤต ขององค์กรได้

 

 

1) Energy คือ ผู้นำต้องมีไฟ 

 

 

 

2) Aligning คือ ผู้นำต้องสร้างระบบการทำงานให้ทุกส่วนไปในทิศทางเดียวกัน

 

 

 

2) Anticipate change. คือ ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า   

 

 

 

2) Energize คือ ผู้นำจะต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง
3) Empowering คือ ผู้นำต้องมอบอำนาจแก่ผู้ร่วมงานให้แสดงความสามารถและศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่

3) Motivate people to be excellent. คือ ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ  

 

 

3) Edge คือ ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ โดยใช้จังหวะฉกฉวยให้ดี 

4) Role Model คือ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น  

 

 

4) Conflict resolution แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้ 

 

 

4) Execute คือ ผู้นำต้องทำให้เสร็จและสำเร็จ วัดผลได้ 
  5) Create new opportunities. คือ ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว  
  6) Rhythm & Speed สามารถฉกแวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม  
  7) Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว  
  8) Teamwork ทำงานเป็นทีม  
และครั้งนี้ผมยังได้ให้การบ้านนักศึกษาตอบผ่าน Blog  อีกครั้ง โจทย์ก็คือ  "จากแนวคิดของ Stephen Covey , Jack Welch  หรือของผม บทบาทของผู้นำแนวไหนที่คุณชอบหรือเหมาะกับตัวคุณมากที่สุด พร้อมยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา"
และเหมือนเดิมนะครับผมขอให้ทุกท่านส่งก่อนวันอาทิตย์ แล้วผมจะเข้าไปดูนะครับว่า การที่ท่านได้เรียนกับผมไปแล้ว 2 ครั้ง ความคิดของท่านเปลี่ยนไปสู่ความเป็นผู้นำได้มากน้อยแค่ไหน  
                         จีระ  หงส์ลดารมภ์
ประภากร สัมพันธ์สวาท รหัส 00615004

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์
         สวัสดีนักศึกษาMPA และ ชาว Blog ทุกท่าน

   ในวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2550 ที่ผ่านมานี้เป็นอีกครั้งหนึ่งนะครับที่พวกเราชาว MPA แสตมฟอร์ดได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้กรุณาสละเวลามาบรรยายให้ความรู้กับพวกในรายวิชา Leaddership ซึ่งพวกเรากำลังศึกษาอยู่ทั้งนี้มีทีมงานที่น่ารักของท่านคอยอำนวยความสะดวกระหว่างการเรียนการสอนด้วย ทั้งคุณ เอ เอ คุณนะ ต้องขอขอบคุณอย่างยิ่งครับ

    ในสัปดาห์นี้พวกเราได้เริ่มต้นกันจาก "บทเรียนจากความจริงกับ ดร.จีระ" ซึ่งตีพิมพ์เป็นประจำทุกวันเสาร์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้าครับ พวกเราได้เริ่มจาการที่ได้ศึกษาเรื่องราวของ  คุณปิ๊ก  ดนัย อุดมโชค  ครับคุณปิ๊กทำให้คนไทยเรามีความสุข มีรอยยิ้มเล็กๆที่มุมปาก และผมเองก็อดภูมิใจเสียมิได้ กับการที่คุณปิ๊กผ่านเข้ารอบที่ 3 ของเทนนิส Australian Open เอาชนะใครมาหรือครับ ฮวน คารอส เฟร์เรโร่  ........ฟังไม่ผิดหรอกครับ ฮวน คารอส เฟร์เรโร่ นักเทนนิสชื่อดังก้องโลกชาวสเปน ครับ แน่นอนว่าต้องเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่มากๆสำหรับเจ้าปิ๊กของเราครับ   ในขณะเดียวกัน ท่าน ศ.ดร.จีระ ยังให้เราได้ศึกษาถึงแง่มุมของการใช้ชีวิตของ ดนัย เปรียบเทียบกับ ภราดร เพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน อืมมม.... เมื่อได้ลองสังเกตุดูแล้วพวกเราได้มองเห็นอะไรหลายอย่างของความแตกต่างระหว่างสองคนนี้จริงๆครับ ทำให้เรามองเห็นภาวะผู้นำที่แตกต่างกันมากจริงครับเห็นได้จากที่ท่าน ศ.ดร.จีระ ได้กรุณา สรุปไว้แล้วข้างต้นครับ    ต่อจากนั้นพวกเราก็ได้ศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างภาวะผู้นำของทางตะวันตก กับ ตะวันออก แน่นอนครับสองดินแดนนี้อยู่กันคนละฟากโลกย่อมมีความแตกต่างกันหลายประการ มีทั้งแบบอย่างที่ดี และ แบบอย่างที่ไม่ดีของทั้งตะวันตก และ ตะวันออก ซึ่งตรงนี้ผมองว่า เราสามารถนำเอาความแตกต่างของบทบาทผู้นำของโลกตะวันตก กับ ตะวันออก มาเลือกใช้และผสมผสานให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา ได้นะครับ นอกจากนี้พวกเรายังได้ดูเทปการสนทนาระหว่าง ท่าน ศ.ดร จีระ กับ  ดร.อำนวย วีระวรรณ   และ ท่าน ศ.ดร.จีระ กับ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  ซึ่งทุกท่านคงรู้จักกันเป็นอย่างดียิ่งอยู่แล้วนะครับ ในการสัมภาษณ์ทั้งสองท่านนั้นได้สาระเนื้อหา ความรู้แง่คิดที่ดีมากครับ เช่น ผมได้มองเห็นถึง ความเป็นคนที่มีจริยธรรม คุณธรรม และ เป็นผู้ที่รอบรู้ในสิ่งที่ทำเป็นผู้มีความสามารถ มีเป้าหมายชัดเจนของ ดร. อำนวย ครับ ในส่วนของท่าน ดร.ปุระชัย นั้นยิ่งได้ความรู้และแนวคิดต่างๆมากมายทีเดียวครับจาการที่ ศ.ดรจีระ เป็นผู้ที่คอย สรุปความคิดรวบยอด ชี้ให้เห็นถึงประเด็น และจุดที่สำคัญของการสนทนา ช่วยให้พวกเรา ได้รับสาระจากการรับชมมากขึ้นทีเดียว ผมเองชอบ แนวคิดที่ ดร.ปุระชัย เสนอครับ ท่านเห็นว่า การเรียนรู้ ใฝ่รู้ นั้นมีครอบครอบเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.ปุระชัย ได้ให้ความสำคัญกับการอ่านเป็นอย่างมากครับ  ท่านได้กล่าวถึงคำพูดของ โทมัส เอลวา เอดิสัน ว่า การทำการทดลองด้วยตนเองเพื่อให้รู้ 1 ครั้งนั้นดีกว่าการที่เราไปถามผู้รู้เป็นพันๆคน ผมว่าจริงครับ

   ท่าน ศ.ดร.จีระ ได้เสนอแนวความคิดของบทบาทผู้นำไว้ 3 ท่านครับ ประกอบด้วย

The 4 Roles of LeaderShip BY Stephen Covey
ได้แก่       -  Pathfinding
                -  Aligning
                - Empowering
                - Modeling

4 E's Leadership by Jack Welch
ได้แก่       - Ennergy
                - Energize
                - Edge
                - Execution

Leadership roles by Chira Hongladarom
ได้แก่      - Crisis management
               - Anticipate Change
               - Motivate Others to excellent
               - Conflict resolution
               - Explore opportunities
               - Rythm & Speed
               - Edge ( Decisiveness )
               - Teamwork 

ครับจากแนวคิดของทั้ง 3 ท่านนั้นล้วนแต่เป็นบทบาทของผู้นำที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งเราสามารถที่จะนำบทบาทของผู้นำ จากแนวคิดของทั้ง 3 ท่านนี้ไปใช้ได้จริงและยังเป็นการเสริมสร้างความมีภาวะผู้นำให้กับตัวเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ

จากแนวคิดทั้ง 3 ท่านนี้ ท่าน ศ.ดร. จีระ ได้เปิดโอกาสให้พวกเรา ได้แสดงความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่งว่า

 "บทบาทของผู้นำแนวไหนที่คุณชอบหรือเหมาะสมกับตัวคุณที่สุดพร้อมทั้งยกกรณีศึกษาประกอบ"

ผมจึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ

    บทบาทของผู้นำทั้ง 3 แนวคิดนั้นถ้าจะให้พิจารณาจากความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้วผมขอเลือกแนวคิดของ ท่าน ศ.ดร. จีระ ครับ เหตุผลเนื่องจากผมเห็นว่ามีแนวความคิดที่หลากหลายและครอบคลุมกลั่นกรองมาอย่างดีจากท่าน ศ.ดร.จีระ เรียกได้ว่า โป๊ะเช๊  อีกทั้งยังตรงกับความชอบตามแนวคิดของผมเองอีกด้วย ผมสามารถนำแนวคิดในหลายข้อของท่าน ศ.ดร.จีระ ไปใช้ในองค์กรของผมได้เลยครับ

บทบาทผู้นำในแนวที่ผมชอบได้แก่

     Edge ( Decisveness ) กล้าตัดสินใจ เด็ดขาด และรวดเร็ว ผมเห็นว่าในปัจจุบันนี้ในการจะทำอะไรก็ตามผู้ที่เป็นผู้นำจะต้องมี Edge อยู่ในตัวเอง ทุกวันนี้โลกของเราแคบลงๆ ทุกๆวัน กลับกลายเป็นโลกที่ไร้พรหมแดน ไร้ขอบเขต เป็นโลกแห่งข่าวสารข้อมูลที่อาศัย Network ที่มีอยู่ทั่วโลกผ่านระบบ InterNet ที่เจาะทะลุทลวงไปในทุกซอกทุกมุม อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมากมายในแทบทุกๆด้านทำให้โลกของเรากลายเป็นสังคมแบบ Word Wind เมื่อเป็นเช่นนั้นทำให้ทุกอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นมากซึ่งทำให้ในทุกๆวงการไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจ สังคม เศรษฐกิจ
การเมือง เกิดความเร่าร้อนขึ้นจากการแข่งขันเพื่อแย่งชิงความได้เปรียบและนำมาซึ่งชัยชนะเหนือคู่แข่ง   ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดนี้ผู้ที่มีบทบาที่จะช่วยทำให้องค์กรอยู่รอดได้นั้นก็คืดผู้ที่เป็นผู้นำนั่นเอง
     ผู้นำจะต้องกล้าที่จะตัดสินใจ ในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับองค์กร การกล้าตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญมากของผู้นำ เพราะจะต้องเป็นผู้กล้าคิด กล้าทำ กล้าเผชิญปัญหา กล้าที่จะนำพาองค์กรก้าวไปข้างหน้า ในทิศทางที่ถูกต้องแม่นยำ และที่สำคัญคือได้เปรียบคู่แข่ง
     ผู้นำจะต้องเด็ดขาด คำว่าเด็ขาดในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เป็นผู้นำจะไม่รับฟังความคิดเห็นของใคร หรือจะเห็นตนเองเป็นใหญ่เสียจนไม่ดูทิศทางหรือสถานะการณ์ใดเอาเสียเลย แต่ความเด็ดขาดในที่นี้ก็คือการที่จะต้องกล้าคิด และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล  รอบคอบ ละเอียด โดยที่ไม่ลังเล หรือ พะวงหน้าพะวงหลังซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นบุคลิกสำคัญที่ผู้นำทุกคนต้องมี อีกทั้งจะเป็นการสร้างความมั่นอก มั่นใจให้กับคนในองค์กร ว่าเป็นผู้ที่จะสามารถนำพาคนในองค์กรและองค์ให้อยู่รอด มีความสามารถที่จะแข่งขันและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้
      ผู้นำจะต้องรวดเร็ว แน่นอนครับความรวดร็ว ย่อมหมายถึงความได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นการคิดเร็ว คิดในสิ่งที่คนอื่นยังคิดไม่ถึง หรือ คิดแก้ไขปํญหาต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ,ทำเร็ว ลงมือก่อนคนอื่น หรือใช้เวลาในการทำสิ่งใดๆก็ตามน้อยกว่าคนอื่น ,ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วฯ  สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้ผู้นำสามารถที่จะเป็นผู้ที่ก้าวนำผู้อื่นชิงความได้เปรียบและโอกาสดีได้ก่อนผู้อื่นอยู่เสมอ
กรณีศึกษา    เช่นผมเองมีอาชีพประกอบธุรกิจ ซึ่งธุรกิจของผมนั้นมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯซึ่งมีทีมงานอยู่ส่วนหนึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานและอำนวยการในด้านต่างๆให้กับหน่วยงานสาขา โดนหน่วยงานสาขานั้นก็จะกระจายอยู่ในหน่วยงานของลูกค้าตามนิมคมอุตสาหกรรมต่างๆมากมายตั้งอยุธยา ถึง ระยอง คนงานกว่า สองพันคน จึงมีทีมงานส่วนหนึ่งที่กระจายอยู่ตามสาขาต่างๆอย่างมากมายกว่า 20 สาขา ด้วยจำนวนพนักงานที่มากทำให้ในบางครั้งอาจเกิดปํญหาในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆที่อาจส่งผลกระทบกับลูกค้าของบริษัทฯ ขณะเดียวกันสาขาแต่ละสาขาก็กระจายอยู่ในพื้นที่ที่หลากหลายเช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสหกรรมบางพลี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุคสาหกรรมมายตาพุต เป็นต้น  เมื่อเกิดปํญหาใดๆก็ตามผมในฐานะของผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้นำในองค์กรก็จะเป็นที่จะต้องใช้ Edge ความกล้า ความเด็ดขาด และรวดเร็ว ในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาต่างเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความพึงพอใจกับลูกค้าให้มากที่สุด
    จากรกรณีศึกษานี้เองที่ทำให้ผมชื่นชอบทฤษฏี Leadership Roles By Chira Hongladarom เป็นอย่างยิ่งซึ่งผมมองว่าบทบาทของผู้นำในแนว Edgeเป็นบทบาทผู้นำที่มีความเหมาะสมกับผมมากที่สุด

ผมขอแสดงความคิดเห็นไว้เพียงเท่านี้ครับ

                             ประภากร    สัมพันธ์สวาท
                              รหัส  00615004


        


 

นางสาวสมร ดีสมเลิศ

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ม.ค. 2550 ศ.ดร.จีระ ได้มาบรรยายเรื่องภาวะผู้นำโดยใช้ตัวอย่างระหว่างคุณภราดร และคุณดนัย และภาวะผู้นำทางตะวันตกและตะวันออก พร้อมทั้งศึกษาภาวะผู้นำของดร.อำนวย วีรวรรณ และดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และ ศ.ดร.จีระ ยังได้อธิบายให้ฟังเกี่ยวกับช่องว่าง (GAP) ระหว่างผู้นำ (LEADER) กับผู้จัดการ (MANAGER) การอบรมครั้งนี้ ศ.ดร.จีระได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาออกความคิดเห็นเปิดอภิปรายว่าได้อะไร จะนำไปพัฒนาอย่างไร หลังจากที่ท่านให้นักศึกษาฝึกการอ่านบทความในระยะเวลาจำกัด ซึ่งเป็นการฝึกการอ่านให้นิ่งในการอ่าน ตรงประเด็น จับประเด็นสำคัญในการสื่อสาร และหลังจากการดูเทปรายการโทรทัศน์สัมภาษณ์บุคคล จึงทำให้นักศึกษาได้เกิดการแชร์ความรู้และการจับประเด็นต่าง ๆ ที่นำไปใช้ได้ในการเป็นผู้นำ ทั้งในแง่ชีวิต การงาน ต่าง ๆ พร้อมสำรวจตัวเองและมีพัฒนาในด้านภาวะผู้นำ ผู้นำมีหลายชนิด และเหมาะกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกคนเป็นผู้นำได้ แต่ตัวเองต้องอยากเป็นด้วย เพราะในสังคมปัจจุบันจะต้องมีผู้ตามที่ดีด้วย ผู้นำบางคนอาจเก่งงาน แต่ไม่เก่งคน บางคนชอบทำงานคนเดียว บางคนคิดแบบในกรอบ บางคนคิดนอกกรอบ ศ.ดร.จีระ ได้ทำการฝึกภาวะความเป็นผู้นำให้นักศึกษาในการอบรมโดยที่นักศึกษาไม่ทันรู้ตัว การพูดแบบบูรณาการ ผู้นำต้องจับประเด็นกระแสความรู้ต่าง ๆ ต่อยอดได้ อดทน และเอาชนะใจตน ต้องขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระที่ติดอาวุธทางความคิด ความรู้ให้แก่นักศึกษาซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาธุรกิจของตนเองและประเทศชาติโดยรวมได้ กล่าวถึงแนวคิดของ 3 นักคิด เรื่องบทบาทของผู้นำของ STEPHEN COVEY , JACK WELCH และ DR.CHIRA HONGLADAROMTHE 4 ROLES OF LEADERSHIP BY STEPHEN COVEY:1.       PATH FINDING เป็นผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์2.       ALIGNINGผู้นำต้องสร้างระบบการทำงานให้ทุกส่วนไปในทิศทางเดียวกัน3.       EMPOWERINGผู้นำต้องกระจายอำนาจ ไม่เก่งคนเดียว ต้องมอบอำนาจแก่ผู้ร่วมงาน4.       ROLE MODEL ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น

THE 4 E’S LEADERSHIP BY JACK WELCH

1.       ENERGY ผู้นำต้องมีไฟ2.       ENERGIZEผู้นำต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ ทำงานในทิศทานเดียวกันและมีพลัง3.       EDGEผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ พร้อมเผชิญปัญหา รวดเร็วในการทำงาน4.       EXECUTEผู้นำต้องทำงานให้เสร็จ สำเร็จและวัดผลได้

LEADERSHIP ROLES BY DR.CHIRA HONGLADAROM

1.       CRISIS  MANAGEMRNTผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤตขององค์กรได้2.       ANTICIPATE CHANGEผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า3.       MOTIVATE OTHERS TO EXCELLENTผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเก่งได้4.       CONFLICT RESOLUTIONผู้นำต้องแก้ปัญหาในองค์กรได้5.       EXPLORE OPPORTUNITIES ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ6.       RHYTHM & SPEEDผู้นำต้องสามารถฉกฉวยโอกาส และจังหวะได้อย่างเหมาะสม7.       EDGE (DECISIVENESS)ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว8.       TEAMWORKผู้นำต้องมีการทำงานเป็นทีมส่วนบทบาทของผู้นำ แนว DR.CHIRA ดิฉันชอบและเหมาะกับดิฉันมากที่สุด เพราะเหมาะกับระบบการบริหารของคนไทย นับว่าเป็นทฤษฎีที่เป็นความจริง (Reality) และ โป๊ะเชะตรงประเด็น (Relevance) สำหรับประเทศไทย เสมือนหนึ่ง ศ.ดร.จีระมานั่งอยู่ในใจของนักบริหารโดยแท้ พร้อมยกตัวอย่างการประกอบธุรกิจสปาความงามและสุขภาพของดิฉัน เป็นกรณีศึกษา โดยดิฉันในฐานะผู้นำของธุรกิจที่ดิฉันเป็นเจ้าของได้ยึดหลักการเป็นผู้นำโดยมีสภาวะดังนี้        ผู้นำในภาวะวิกฤต มีการเผชิญกับงานหนัก แต่จะต้องประณีตในภาวะที่ถูกจำกัดด้วยปัจจัย เช่นเวลา คุณสมบัตินี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะชี้ขาดในความสำเร็จ คุณสมบัติของผู้นำในภาวะวิกฤตประกอบด้วย ความกระด้างท่ามกลางความอ่อนโยน ความพร้อมที่จะใช้ทั้งพระเดชและ   พระคุณ เหตุแห่งวิกฤต เช่น สภาพคล่อง การบริหารเน้นให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานจะมีการกระจายงาน กระจายอำนาจในการตัดสินใจแก่พนักงาน ข้อจำกัด เช่นทรัพยากรบุคคล เป็นต้น         ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ไกล เพราะการขาดวิสัยทัศน์เป็นการเสี่ยงต่อความล้มเหลว เพราะไม่ทราบว่ากาลข้างหน้าที่ก้าวเดินไปนั้นมีสภาพอย่างไร จะมีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้องค์กรปั่นป่วน ผู้บริหารต้องคิดเชิงยุทธศาสตร์ คือเป็นการคิดที่มีความอ่อนตัว แต่มิใช่นิ่งอยู่กับที่ซึ่งเป็นศิลปะการบริหาร คือผู้บริหารคิดแบบยุทธศาสตร์ ผู้จัดการคิดแบบยุทธวิธี แต่ผู้ปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ผู้นำที่ดีต้องมีการตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้องและต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดกับพนักงานโดยรวม มิใช่ตัดสินใจเพื่อคนบางคนแต่ทำลายขวัญกำลังใจของพนักงานทั้งองค์กรส่วนเรื่องการเปิดโอกาสให้มีการแสวงหาโอกาสใหม่ คือนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจปัจจุบัน ความสำเร็จในอดีตมิได้ประกันถึงความอยู่รอดในอนาคตอีกต่อไป ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถสร้างนวัตกรรมและนำหน้าคู่แข่งได้ตลอดไป นวัตกรรมเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับคน และการเชื่อว่าสิ่งที่ทำในวันนี้ จะสามารถทำให้ดีขึ้นได้ในอนาคต ผู้นำในทุกระดับ ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการยอมรับ และนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ ธุรกิจไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็ก ต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมในองค์กร ช่วยให้พนักงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง สร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความมั่นใจ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ และใช้ประโยชน์จากความมุ่งมั่นของพนักงาน ดิฉันคิดว่าองค์กรที่สามารถสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมและประสิทธิภาพขึ้นมาได้ จะเป็นกุญแจไปสู่การเป็นองค์กรที่มีผลกำไร และเจริญรุ่งเรืองผู้บริหารจะต้องเป็นคนเก่ง พร้อมมีความเมตตา มีความจริงใจ ให้ความเป็นธรรมให้โอกาส ทำงานเก่ง มีความสามารถรอบด้าน จัดลำดับปัญหา วางแผนดำเนินการ แก้ปัญหาเป็น คิดเก่ง คือ มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายชัดเจน แสดงหาความรู้อยู่เสมอ พร้อมมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นตัวอย่างที่ดี ส่งเสริมคนดี

สรุปคือ ผู้นำที่ดีควรมีวิธีการทำงานดังนี้

1.     ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม2.     รู้จักบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม3.     มีการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน4.     กล้าคิดกล้าทำ5.     มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม6.     เน้นความรวดเร็ว7.     มีความสร้างวิสัยทัศน์ในการทำงาน8.     แข่งขันกับผู้อื่นได้9.     มีการคิดเชิงยุทธศาสตร์10.   ปรับตัวให้ทันโลกและทันสมัย11.   ทำงานเชิงรุก12.   แสวงหาและใช้ประโยชน์ ส่วนคำถามที่ว่า ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นผู้นำแบบไหน ดิฉันขอให้ความเห็นว่า ท่านเป็นผู้นำที่สนใจการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต รักการอ่าน ปรับตัวให้ทันสมัยทันโลกอยู่เสมอ ท่านมองไปข้างหน้า และเปิดมุมมองกว้าง ท่านมีการควบคุมอารมณ์ดี ท่านกล่าวว่า เอาชนะอะไรก็ไม่เหมือนเอาชนะใจคนคือท่านมี Emotional Intelligence สูง ท่านมี Drive คือเป้าหมายในชีวิต ท่านรักอาชีพครู มีอุดมการณ์ เสียสละ ท่านเน้นถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว เพราะท่านกล่าวว่า ครูคนแรกของเด็กคือ พ่อแม่ ส่วนครูที่โรงเรียนคือครูที่เข้ามาเสริม และท่านยังกล่าวถึงบทบาทของสามี ภรรยา เพื่อชีวิตคู่ที่มีความสุขและยั่งยืน นอกจากนี้ ท่านเน้นการปฏิบัติบูชา รู้จัการอโหสิ การให้อภัย คือท่านเคารพกฏธรรมชาติว่าด้วยศีลธรรมจรรยา จิตมีธรรมะ การปฏิบัติตามศีล 5 ขจัดซึ่งนิวรณ์ 5 อันได้แก่ ความโลภ หรือความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมากเกินความเหมาะสม ความฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย ความเบื่อหน่าย ความอิจฉาริษยา อาฆาตแค้น ดร.ปุระชัยมีความฉลาดทางความคิด ฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ฉลาดทางกาย และฉลาดทางด้านจิตใจ และสามารถเป็นผู้นำที่มีบารมีได้ 

ดังนั้นท่านอาจารย์เหมาะสมที่จะเป็น ROLE MODEL ท่านหนึ่งของประเทศไทยค่ะ

                                                        นางสาว สมร  ดีสมเลิศ

นางสาวอรุณรุ่ง พึ่งร่วมกลาง
กราบเรียน            ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์                 สวัสดีนิสิตนักศึกษาปริญญาโท (MPA)  และชาว Blog  ทุกท่าน                ในวันที่ 21 มกราคม  2550  ที่ผ่านมานี้เป็นอีกครั้งหนึ่งนะค่ะที่พวกเราชาว  MPA  STAMFORD ฯ ได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจากท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่ได้สละเวลามาบรรยายให้ความรู้ ในเรื่องภาวะผู้นำ  แก่นิสิตปริญญาโท MPA  ทั้งนี้มีทีมงานที่น่ารักของท่านคอยอำนวยความสะดวกระหว่างการเรียนการสอนด้วย ทั้งคุณ เอราวัน และ คุณมานะ  ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ  แต่เสียดายที่ดิฉันไม่สามารถไปเรียนกับท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ได้ในวันที่ 21 มกราคม  2550  เนื่องจากดิฉันติดภาระกิจไปราชการ  แต่ดิฉันก็ยังได้ติดตามการเรียนการสอนของท่านอาจารย์ จากเพื่อน ๆ พี่ ๆ นักศึกษา และได้ติดตามภาระกิจต่าง ๆ ของท่านอาจารย์จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ทุกวันเสาร์ ค่ะ                 ในสัปดาห์นี้ ดิฉัน นางสาวอรุณรุ่ง  พึ่งร่วมกลาง  ตามที่ดิฉันได้เข้าไปใน Blog  ของท่านอาจารย์ และได้อ่านรายละเอียดที่ท่านอาจารย์ได้สอนไปในวันที่ 21 มกราคม  2550  และได้เห็นการบ้านที่ท่านอาจารย์ได้ไห้ไว้  จากแนวความคิดของ  Stephen   Covey และ Jack  Welch หรือ ของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  บทบาทผู้นำแนวไหนที่คุณชอบหรือเหมาะกับตัวคุณมากที่สุด  พร้อมยกกรณีศึกษา                 ตามแนวคิดของดิฉัน ชอบบทบาทของผู้นำแนวท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  เพราะเป็นการบ่งบอกชัดเจนทางด้านการเป็นผู้นำเท่าที่ดิฉันได้ไปนั่งเรียนกับท่านอาจารย์ในวันที่ 14 มกราคม 2550 และประทับใจอาจารย์ตรงที่เป็นคนพูดตรงไปตรงมามีความเป็นตัวของตัวเองสูงและมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงด้วยเช่นกัน ภาวะผู้นำในแนวของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ กรณีศึกษา                 ผู้นำที่ดิฉันชอบบทบาทและแนวความคิด คือ ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  เหตุผลที่เลือกเนื่องจากว่าดิฉันได้มองเห็นว่าท่านอาจารย์ได้มีแนวความคิดที่หลากหลายและครอบคลุม  โดยเฉพาะท่านอาจารย์ได้คิดค้นเรื่อง ทฤษฎี 8 K  หรือ 5 K  ขึ้นมาเองและได้นำแนวทฤษฎีเหล่านั้นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตัวท่านอาจารย์เองและบุคคลรอบข้างที่ได้นำทฤษฎีเหล่านี้ไปใช้และเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมคนรอบข้าง และดิฉันสามารถนำแนวความคิดของท่านอาจารย์เหล่านั้นมาปรับปรุงใช้กับตัวของดิฉันเองได้เป็นอย่างดี   ส่วนบทบาทของผู้นำที่ดิฉันได้เลือกของท่านอาจารย์และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มีอยู่ด้วยกัน  4  ข้อ          ซึ่งตัวดิฉันเองเป็นพนักงานราชการ  ซึ่งทำงานอยู่ในส่วนของงานฝ่ายงานวางแผนและพัฒนาทำหน้าที่เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลบุคลากรและการจัดทำแผนปฏิบัติงาน จัดทำงบประมาณต่าง ๆ  ของวิทยาลัยฯ  หน่วยงานของดิฉันจะขึ้นตรงต่อสำนักนโยบายและแผนการการอาชีวศึกษา  ซึ่งหน่วยงานของดิฉัน มีส่วนขยายใหญ่โตพอสมควร  ซึ่งดิฉันได้นำบทบาทผู้นำของท่านอาจารย์มาใช้ ในชีวิตประจำวัน คือ ผู้นำต้องแก้ไขปัญหาวิกฤต ขององค์กรได้  ซึ่งบ่งบอกได้ว่าผู้นำต้องมองเห็นปัญหาต่าง ๆ ในองค์กรและนำวิกฤตปัญหาเหล่านั้นมาพิจารณาให้เป็นไปในแนวทิศทางเดียวกัน  อาจจะเปลี่ยนวิกฤตปัญหาเหล่านั้นเป็นโอกาสที่ดีในองค์กรก็ได้และดิฉันได้ประสบการณ์มาจากตัวของดิฉันเองที่ต้องได้แก้ไขปัญหาวิกฤตต่าง ๆ เหล่านั้นมาด้วยดีและประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาและวิกฤตนั้น ซึ่งข้อนี้ดิฉันต้องแก้ไขปัญหาของการทำงานอยู่เป็นประจำและนำปัญหานั้นมาวิเคราะห์และบางครั้งปัญหาและวิกฤตนั้นก็นำมาซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการทำงานให้ลุล่วงไปได้และทำงานสำเร็จหรือเป็นการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ  ข้อนี้ดิฉันว่าจริงของท่านอาจารย์ถ้าเราไม่กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานมีวิสัยทัศน์ที่ดีแล้วอะไร ๆ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ในองค์กรได้เพราะในปัจจุบันนี้เขาจะบอกว่าข้าราชการทำงานช้า แต่ขอ บอกว่าหน่วยงานของดิฉันไม่ได้เป็นอย่างนั้น การที่เราได้กระตุ้นผู้ร่วมงานให้เป็นเลิศนั้นหมายความว่าทั้งผู้ร่วมงานและหน่วยงานก็จะไปได้ดีเจริญยิ่งขึ้นได้ดีทั้งผู้ร่วมงานและหน่วยงานที่ตัวเองทำงานอยู่  อย่างแนวความคิดนี้ของท่านอาจารย์มองเห็นเด่นชัดเพราะอาจารย์จะใส่ใจดูแลผู้ร่วมงานอยู่ตลอดเวลาและคอยกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศทำงานดีมีประสิทธิภาพด้วย ผู้นำคือสามารถฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม  ข้อนี้น่าจะเป็นการถ้าดิฉันจะว่าไปแล้วก็คงจะเป็นเปลี่ยนวิกฤตต่าง ๆ ที่เราเผชิญอยู่ในหลาย ๆ เรื่อง ให้เป็นโอกาสที่ดีได้ถ้าฉกฉวยโอกาสเหล่านั้นในเวลาที่เหมาะกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีเยี่ยม คือผู้นำต้องฉลาดหลักแหลมมองการไกลอยู่แล้วมันอยู่ที่เวลาและโอกาสเท่านั้น  ทำงานเป็นทีม  การทำงานเป็นทีมดีมากคือเป็นการสร้างคนสร้างงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมากได้ด้วยดี ที่หน่วยงานของดิฉันก็ทำงานกันเป็นทีมและเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะทำให้เราจะทำอะไรต้องคิดถึงเสียงของคนส่วนมากหรือคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจ ความคิดเห็นของคนในหมู่คณะ เราจะต้องยอมรับสิ่งเหล่านั้นถ้าเห็นว่ามันถูกต้องและเป็นความคิดเห็นของคนในทีมและการตัดสินใจของคนในทีม ด้วย และผลสำเร็จก็ตามมา บทบาทผู้นำในแนวความคิดของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  เป็นบทบาทผู้นำที่มีความเหมาะสมกับดิฉันมากที่สุดและจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและสังคม คนรอบข้าง ดิฉันต่อไป ดิฉันของแสดงความคิดเห็นไว้เพียงเท่านี้ค่ะ                                 นางสาวอรุณรุ่ง   พึ่งร่วมกลาง                                รหัส  006150012 

สวัสดีท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   และเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน  จากที่ได้ศึกษาแนวคิดของบทบาทภาวะผู้นำและได้รับมอบหมายการบ้านบทบาทของผู้นำแนวไหนที่คุณชอบหรือเหมาะกับตัวคุณมากที่สุด พร้อมยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา 

แนวคิดทั้ง 3 ท่าน มีดังนี้             Stephen Covey1) Path finding คือ ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์และแสวงหาอนาคต 2) Aligning คือ ผู้นำต้องสร้างระบบการทำงานให้ทุกส่วนไปในทิศทางเดียวกัน3) Empowering คือ ผู้นำต้องมอบอำนาจแก่ผู้ร่วมงานให้แสดงความสามารถและศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่

4) Role Model คือ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น  

      Chira Hongladarom1) Crisis Management คือ ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤต ขององค์กรได้2) Anticipate change. คือ ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า   3) Motivate people to be excellent. คือ ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ  4) Conflict resolution แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้ 5) Create new opportunities. คือ ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว6) Rhythm & Speed สามารถฉกแวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม 7) Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว

8) Teamwork ทำงานเป็นทีม

       Jack Welch1) Energy คือ ผู้นำต้องมีไฟ2) Energize คือ ผู้นำจะต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง3) Edge  คือ ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ โดยใช้จังหวะฉกฉวยให้ดี4) Execute คือ ผู้นำต้องทำให้เสร็จและสำเร็จ วัดผลได้ 

     แนวคิดของทั้ง 3  ท่านนั้น  ดิฉันคิดว่า บทบาทของผู้นำ ของท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เหมาะสมกับตัวดิฉันมากที่สุด  

กรณีศึกษา  ดิฉันประกอบธุรกิจบริการรถเครนให้เช่า    ใช้สำหรับงานยกเครื่องจักร  ยกตู้คอนเทนเนอร์  ยกเหล็ก  ยกจั่ว ยกเทปูน ยกอุปกรณ์ก่อสร้าง  เป็นต้น    ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับ  ธุรกิจก่อสร้าง บ้านจัดสรร  อพาร์ทเม้นต์  โกดัง โรงงานต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ จัดอยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์  ซึ่ง ณ ปัจจุบันการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว  จากปัจจัยหลายๆด้าน ของสังคมไทย   ส่งผลกระทบให้กับองค์กร  เนื่องจากอัตราการจ้างงานลดลง และผู้ประกอบการก่อสร้างก็มีทางเลือกที่จะใช้บริการรถเครนจากหลากหลายบริษัท เพราะแต่ละบริษัทก็มีงานลดลงเช่นเดียวกัน  ฉะนั้น ในฐานะผู้นำจะต้องแก้ปัญหาวิกฤตขององค์กรและกระตุ้นให้ผู้ร่วมงาน ด้วยการพัฒนาด้านฝีมือและทักษะในการทำงานให้มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่พึงพอใจแก่ลูกค้า  ให้กับพนักงานขับรถเครน  เพื่อให้องค์กร เป็นตัวเลือกที่หนึ่งแก่ลูกค้า  ผู้นำต้องแก้ปัญหาความขัดแย้งและสร้างการทำงานเป็นทีม โดยแต่ละฝ่ายงานจะต้องให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา  เช่น  ในขณะที่รถเครนปฏิบัติงานเทปูนอยู่ที่ไซค์งาน  รถเครนเกิดเสียกะทันหัน  คนขับรถเครนจะต้องรีบแจ้งให้กับฝ่ายช่างทราบ  ฝ่ายช่างจะต้องรีบส่งช่างออกไปซ่อมด่วน เพราะปูนจะมีอายุการใช้งานจำกัดหากซ่อมไม่ทันเวลาปูนจะเกิดการแข็งตัว ใช้งานไม่ได้  ก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับลูกค้า  ผู้นำต้องใช้จังหวะให้ถูกต้องและเร็ว  ว่าเมื่อไร ควรจะให้เช่าเป็นรายเดือน  ซึ่งมีรายได้ที่ต่ำ แต่เป็นรายได้ที่แน่นอน  ต่างจากการให้เช่าเป็นรายวัน ที่มีรายได้สูง ขณะเดียวกันก็มีต้นทุนสูงและมีไม่แน่นอนด้านรายได้   หรือแม้บางครั้งต้องลดราคาเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งขัน ก็ต้องอาศัยความกล้าตัดสินใจ เด็ดขาดและรวดเร็ว 

     ทั้งสามแนวคิดของ  Stephen Covey,Chira Hongladarom, Jack Welch หากผู้นำแต่ละองค์กรได้นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตนเอง เพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนแล้ว จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างยิ่ง  

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

สวัสดีเพื่อน MPAมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

          คนส่วนใหญ่มักจะคิดไปว่า  เจ้าของกิจการ  หัวหน้างานหน่วยงานถึงจะมี " ภาวะผู้นำ "  ได้  แต่ดิฉันคิดว่าคนทุกคนสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ทุกคน  เช่น  หัวหน้าครอบครัว เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน  เป็นพี่เป็นน้อง  มีความปราถนาดีต่อกัน  แนะนำคนรอบข้างไปในทางที่ดีแม้กระทั่งตัวเราเองก็สามารถที่จะดูแบบอย่างของคนที่ประพฤติดีเอามาเป็นแบบอย่าง

          เพราะบางคนไม่ได้เป็นผู้นำธุรกิจ  บางคนทำงานด้านศิลป  บางคนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการใหญ่ ๆ หลายโครงการ

          ตามที่ท่าน ศ.ดร.  จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้เสนอแนวคิดของสามนักคิด  คือ  แนวคิดของ

              Stephen  Covey
  1. Path  finding  คือ  ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์และแสวงหาอนาคต
  2. Aligning  คือ  ผู้นำต้องสร้างระบบการทำงานให้ทุกส่วนไปในทิศทางเดียวกัน
  3. Empowering  คือ  ผู้นำต้องมอบอำนาจแก่ผู้ร่วมงานให้แสดงความสามารถและศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่
  4. Role  Model  คือ  ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น
 

 Chira  Hongladarom

 
  1. Crisis  Management  คือ  ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤต ขององค์กรได้
  2.  Anticipate change.  คือ  ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า
  3. Motivate people to be excellent. คือ  ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ
  4. Conflict resolution  คือ  ผู้นำต้องแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้
  5. Create new opportunities.  คือ  ผู้นำจะต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว
  6. Rhythm & Speed  คือ  ผู้นำสามารถฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม
  7. Edge ( Decisiveness)  ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ  เด็ดขาด รวดเร็ว
  8. Teamwork  ทำงานเป็นทีม

            Jack Welch
  1. Energy  คือ  ผู้นำต้องมีไฟ
  2. Energize  คือ  ผู้นำจะต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง
  3. Edge  คือ  ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ  โดยใช้จังหวะฉกฉวยให้ดี
  4. Execute  คือ ผู้นำต้องทำให้เสร็จและสำเร็จ วัดผลได้
   ดิฉันชอบบทบาทของผู้นำแนวคิดของ  Chira  Hongladarom  แต่แนวคิด Stephen  Covey  เป็นแนวคิดที่เหมาะกับดิฉันมากที่สุดใน ข้อ

               Role  Model   คือ  ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น  เพราะอาชีพของดิฉันเป็นที่ปรึกษาและทำมาตราฐานให้กับบริษัทใหญ่ ๆ หลายบริษัทซึ่งบริษัทเหล่านั้น เขาจะให้อำนาจในการตัดสินใจเบ็ดเสร็จ  ทางบริษัทมอบหมายให้ดำเนินงานในเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่  โดยไม่ต้องเสนอหรืออนุมัติกลับไปกลับมาอีก  ทั้งหมดนี้เพื่อให้การวางแผนงานทำได้อย่างรวดเร็ว  มีประสิทธิภาพ  มีคุณภาพ

            ดังนั้นความไว้วางใจที่เจ้าของบริษัทมีให้กับดิฉันนั้น  ทำให้ดิฉันต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้องร่วมทั้งเจ้าของบริษัทต่าง ๆ ที่ดิฉันทำงานให้  ดิฉันจะบอกกับคนรอบข้างให้

  • รู้ทาน
  • รู้คน
  • รู้งาน
                มีจริยธรรมในหน้าที่  ความลับของบริษัทที่ว่าจ้างต้องเก็บรักษาให้ดี  พร้อมกันนี้การทำงานร่วมกันต้องมี  เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  ต้องยึดหลักถูกต้อง  ซื้อสัตย์ต่อหน้าที่                ดิฉันไม่แน่ใจว่าในวิชาต่อ ๆ ไปจะได้เรียนกับท่าน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  หรือไม่  ดิฉันกราบของพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง  ที่ได้นำประสบการณ์จากการเดินทางของชีวิตมาหลายสิบปี ผ่านร้อน  ผ่านหนาวมาก็มากจากการเรียนรู้  จากการเดินทางในประเทศและต่างประเทศมากมาย  ได้พบได้เห็นสภาวะการผันแปรของธรรมชาติหลาย ๆ ภาค และนานาประเทศ  มาถ่ายทอด มาอบรมสั่งสอนให้เพื่อน  MPA  และดิฉันได้หูตากว้างไกล  นับเป็นความโชคดีของดิฉัน

            กราบขอบพระคุณอีกครั้ง  ที่ท่านกรุณาสอนให้รู้จักการก้าวเดินของชีวิต

                                                                          สุรีย์ อภิราษฎร์ศักดิ์

 

นางสาวธัญลักษณ์ สีถัน

กราบเรียน   ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์    ที่ได้กรุณาสละเวลามาบรรยายความรู้เกี่ยวกับแนวความคิดของทั้ง  3  ท่าน   คือ   Stephen Covey ,   Jack  Welch    และของท่านอาจารย์  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์    ซึ่งบทบาทของผู้นำตามแนวความคิดของทั้ง 3 ท่านนั้น  ว่าบทบาทผู้นำแนวไหนที่คุณชอบหรือเหมาะกับตัวคุณมากที่สุด พร้อมยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาประกอบ  ดิฉันชอบบทบาทและแนวความคิดของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   เพราะสามารถนำไปใช้ในหน่วยงานของตนเองได้มากค่ะ  คือ  1. ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า  2. ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว   3. ทำงานเป็นทีม  4. ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ  

กรณีศึกษา       เนื่องจากหน่วยงานของดิฉันเป็นหน่วยงานเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น  ดูแล  รับผิดชอบ  พัฒนาในส่วนของเทศบาลตำบลรองมาจากอำเภอ  ซึ่งประชากรในเขตตำบลมีประมาณ  13,860  คน  อีกทั้งดิฉันต้องรับผิดชอบในการเข้าถึงประชาชนโดยถ่ายทอดข้อมูลของทางราชการให้ประชาชนเข้าใจและเป็นสื่อกลางว่าเดือดร้อนอะไรและต้องการให้ช่วยเหลือหรือพัฒนาชุมชนที่อยู่ให้สะดวกสบายมากขึ้น  หรือเรียกง่ายๆ ว่า    ตัวกลางระหว่างประชาชนกับทางราชการ   

1. ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า  โดยส่วนรวมความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุดนั้นก็จะเป็นปัญหาตามมา  ซึ่งผู้นำก็มีการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุผลว่าเรื่องนี้ทำได้ตอนนี้แต่เรื่องนี้ยังทำไม่ได้ต้องรองบประมาณมาสนับสนุนก่อนเราจึงจะทำให้ได้     2. ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว    ซึ่งผู้นำในองค์กรได้สร้างโอกาสโดยการสร้างอาชีพให้กับประชาชนในชุมชนที่ว่างงาน  โดยหาอาชีพจะได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง     3. ทำงานเป็นทีม  สำคัญมากเพราะหน่วยงานของดิฉันจะต้องทำงานเข้าถึงประชาชน  เป็นทั้งผู้นำและผู้บริหารที่จะต้องมีทีมงานที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ตลอดเวลา  รวดเร็ว  ทันเหตุการณ์  ซึ่งแบ่งความรับผิดชอบเป็นส่วนๆ  ก็คือกระจายอำนาจเป็นกองต่างๆ และต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับทางราชการ  เพื่อจะได้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถช่วยเหลือตนเองได้    4. ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ    ในการทำงานผู้นำก็ต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานทำงานให้บรรลุเป้าหมายบ้างเป็นครั้งคราว  ซึ่งก็จะเห็นได้จากผลงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของทางราชการในการพัฒนาด้านต่างๆ  สุดท้ายนี้ดิฉันก็จะขอนำบทบาทและแนวความคิดของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ และของท่านอื่นๆ   ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานและการดำรงชีวิตให้มากที่สุดต่อไปค่ะ
ninnath vinicchayakul(นายนินนาท วินิจฉัยกุล)ID.006150007

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ  หงลดารมภ์ และเพื่อนชาว Blog ทุกท่าน
ผู้นำ คือผู้ที่สร้าง และมีอิทธิพล (Influence) และสร้างขบวนการทำงาน(work process)ให้ผู้ร่วมได้มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี และสามารถนำไปสู่เป้าหมายขององค์กรได้  ซึ่งอาจจะ หมายถึงการทำงานเป็นทีม  หรือต่างคนต่างทำก็ได้
การเป็นผู้นำ ไม่ใช่ระบบ อำนาจเท่านั้น  ถ้าสามารถมีอิทธิพลที่จะทำให้ทุกคนทำงานไปในเป้าหมายที่วางไว้  ก็ถือว่ามี "ภาวะผู้นำ"ได้  ซึ่งในทางวรรณกรรม  ก็มีคำจำกัดความว่า "Legalistic  Leader" กับ  Authority  กับ  Trust
ผู้นำต้องพัฒนา 3 เรื่อง คือ
ประการแรก พัฒนาตนเอง พัฒนาทีม พัฒนานาย พัฒนาระบบการทำงาน พัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า พัฒนาความพึงพอใจของพนักงาน ประการสุดท้ายพัฒนาผลประกอบการขององค์กร
รับฟังความคิดเห็นลูกน้อง ไม่เอาเปรียบลูกน้อง ทำให้ผมนึงถึงประเด็นที่ว่าผู้นำต้อง สร้างความรู้สึกประทับใจส่วนเป็นการส่วนตัว (Personal Touch) ต้องรู้จักบริหารความเชื่อให้ลูกน้องศรัทธา ผมคิดว่า ถ้าเราเชื่อศรัทธาลูกน้อง ลูกน้องก็จะศรัทธาเราเช่นกัน
ผู้นำ    ต้องมีความสามารถในการสื่อสารและเก่งเรื่อง คน(Communication and people skills) ให้ผู้นำต้อง มีความกล้า ผู้นำยุคนี้จึงต้องมีความสามารถในการตัดสินใจ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง(Decisiveness) การตัดสินใจของผู้นำ  ต้องถูก เหมาะ และควรกับเวลา สถานที่ และบุคคล ไม่ตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งแล้วมีปัญหาอื่นตามมา โดยไม่คิดแผนรองรับไว้
ผู้นำ    มีวิสัยทัศน์ (Vision) อย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้จักกระตุ้นทีมงานให้แปลงวิสัยทัศน์เป็น ภารกิจ(Mission) วัตถุประสงค์เป้าหมาย(Objectives)+ (Targets) และ แผนกลยุทธ์ นำไปสู่ตัวชี้วัดความสำเร็จ ขององค์การได้เป็นอย่างดี ผู้นำต้องแสดงความใส่ใจ(Focus) ผู้นำต้องรู้ข่าวสารโลก ต้องบริหารเวลา ไม่ควรเสียเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง  ทำให้ผมคิดถึงประเด็นนี้ เป็นผู้นำต้องรู้จัด Macro Management ให้ความสนใจเฉพาะเรื่อง CEO คือ Customer Satifaction, Employee Happiness and Development, Organization result เป็นหลัก จึงต้อง Focus สิ่งเหล่านี้ ผู้นำต้องแสดงความเป็นของแท้(Authenticity) ผู้นำต้องกล้าคิด กล้านำ กล้าตัดสินใจ ผมจึงคิดถึงประเด็นที่ว่าผุ้นำต้องแสดงความเป็นของแท้คือ เป็นแบบอย่างที่ดีขององค์การได้ตลอดเวลา ยึดมั่นในคำพูด เมื่อพูดออกไปแล้ว  ต้องศรัทธาและสนับสนุนด้วยการกระทำ มีความเป็นต้นแบบในเรืองคุณธรรม จริยธรรม การกระทำที่สร้างสรรค์
- รู้จักเหตุ      เมื่อเป็นเหตุแห่งความเจริญเราก็ทำ ถ้ารู้เหตุแห่งความเสื่อมเราก็ละ เหตุแห่งความเจริญ คือ รู้จักหา (ขยัน) รู้จักเก็บรักษาทำให้ต้องมีเพื่อนดี และประหยัด ต้องเป็นคนเข้มแข็ง มีกำลังเรี่ยวแรงสู้งาน เป็นคนไม่อ่อนแอ มีวิริยะอุตสาหะ
- รู้จักผล        เมื่อมีผลลัพธ์เกิดขึ้นอย่างไร  หาเหตุ ต้องให้หาว่ามันเป็นผลมาจากเหตุอะไร
- รู้จักตน        มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร มีอะไรก็พูดจากัน ต้องพูดจากันให้รู้เรื่อง   การรู้เหตุ รู้ผล ต้องรู้พิจารณา มีสติฉุกคิดสักหน่อยว่าผลนั้นเกิดมาจากอะไร
- รู้จักประมาณ    อะไรก็ตามถ้าเกินพอดี จะเป็นผลร้าย   ทางสายกลาง ปฏิบัติตึงไปก็ไม่สำเร็จ ปฏิบัติหย่อนไปก็ไม่สำเร็จ เอามาใช้ในชีวิตประจำวันให้พอดี
- รู้จักกาล       เวลาเพื่อนทำงาน เรานอน เวลาเพื่อนนอน เราทำงาน อย่างนี้ย่อมไม่เจริญ ซึ่งไปตัดช่องย่องเบานี้ไม่ดี
- รู้จักประชุมชน      มีหน้าที่ทำงานอย่างไร ก็ปฏิบัติตามนั้น
- รู้จักคบบุคคล        เราอยู่ในโลกนี้คนเดียวไม่ได้ ต้องมีเพื่อน คนไม่มีเพื่อนมักมีปัญหา  วิธีการขจัดความบ้า ปัญหา ต้องปรึกษาหารือกัน หาวิธีการแก้ปัญหา   การ “ระบาย” บางคนซึมเศร้า เป็นโรคซึมเศร้า ขาดทุนธุรกิจ นั่งซึมเศร้า  การปรึกษาหารือไม่ใช่ว่าพูดไปเรื่อย ต้องหาคนดีด้วย เช่น นิสัยเป็นคนดี ประพฤติเรียบร้อย ไม่เล่นการพนัน คบได้ ก็เข้าปรึกษาได้ ไม่ควรคบคนชั่วเป็นเพื่อน
The 4 Roles of LeaderShip BY Stephen Covey
                -  Pathfinding   สู่ความเป็นเลิศ
                -  Aligning   เป้าหมายในทางเดียวกัน
                - Empowering  การกระจายอะนาจ(การตัดสินใจ)
                - Modeling  (แบบอย่าง)
4 E's Leadership by Jack Welch
                - Energy  พลัง
                - Energize  การกระตุ้น
                - Edge   ความฉับไว
                - Execution  สำเร็จในสิ่งใหม่ๆ , ยุทธศาสตร์ ,  คน
Leadership roles by Chira Hongladarom
               - Crisis management     แก้ปัญหา
               - Anticipate Change   ดักปัญหาล่วงหน้า
               - Motivate Others to excellent    กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ  
               - Conflict resolution    หลีกเลี่ยง
               - Explore opportunities  แสวงหาโอกาส
               - Rythm & Speed        จังหวะและความเร็ว
               - Edge ( Decisiveness )    ฉับไวในการตัดสินใจ
               - Teamwork                 ทำงานเป็นทีม
ผมปฏิบัติงานอยู่ในกลุ่มพัฒนาระบบงาน กองการเจ้าหน้าที่  เรื่องการทำงานแบบทีมเวิล์ค จากLeadership roles by Chira Hongladaromนั้นสำคัญมาก เพราะการทำงานในระบบราชการเป็นระบบแบบสายการบังคับบัญชา  และการทำงานแบบยุทธศาสตร์แนวใหม่,การพัฒนาคน(Execution)ของ Welch  ซึ่งจะคล้ายกับPathfinding ช่องทางสู่ความเป็นเลิศ ของ Covey    และด้วยระบบของราชการเองมีขั้นตอนต่างๆมากซึ่งในอีกหลายข้อนำมาใช้ได้ ค่อนข้างน้อย  ทั้งหมดก็เป็นตัวอย่างเล็กน้อยของกรณีศึกษาจากบทบาทของผู้นำของผม

                             กราบขอบพระคุณอีกครั้งในการสละเวลาในการประสาทความรู้ในครั้งนี้

                                  นินนาท  วินิจฉัยกุล

                                     006150007

นางสาววิลาวัลย์ พวงอุบล

สวัสดีค่ะ… ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อน ๆ  พี่ ๆ ชาว  MPA  STAMFORD  INTERNATIONAL  UNIVERSITY   รวมถึงทีมงานที่น่ารักของท่านอาจารย์  ทุกท่าน
เมื่อวันอาทิตย์ที่  21  มกราคม  2550  ที่ผ่านมาพวกเราชาว  MPA  STAMFORD  ได้รับความกรุณาจากท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  มาบรรยายในวิชา  Leadership  นับว่าเป็นโชคดีของพวกเราชาว
MPA  เป็นอย่างยิ่ง  เพราะทำให้ได้รับความรู้  แง่คิด  มุมมอง  ฯลฯ  ล้วนเป็นประโยชน์ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดียิ่ง  แล้วท่านอาจารย์ยังฝากแนวคิดของบทบาทผู้นำ  3  ท่าน  ซึ่งประกอบด้วย
1. The  4  Roles  of  Leadership  by “ Stephen  Covey “
2. Leadership  roles  by  “ Chira  Hongladarom “
3. 4  E’ s  Leadership  by  “ Jack  Welch “
สำหรับดิฉันบทบาทผู้นำที่ชอบ  คือ  4 E ‘ s  Leadership ของ  Jack  Welch  ประกอบด้วย
- Energy
- Energize
- Edge
- Execution
เพราะ  การที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่  หรือผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้  ผู้นั้นจะต้องบริหาร  3  ปัจจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  อันได้แก่  การบริหารตนเอง  การบริหารคน  การบริหารงาน  โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารงาน  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารต้องมี  และสร้างภาวะผู้นำพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  ให้เป็นผู้นำที่พึงประสงค์  ปรับใช้แนวคิดทฤษฎีการเป็นผู้นำมาใช้ในสิ่งแวดล้อมขององค์กร  เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมขององค์กรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  สร้างความเจริญให้กับองค์กรและประเทศชาติ
 คุณลักษณะสำคัญของการเป็นผู้นำตามทฤษฎีและแนวคิดจะกล่าวข้างต้น  จะสามารถในการส่งผลให้ผู้นำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน  จะต้องเข้าใจในรูปแบบขององค์กรหรือพฤติกรรมวัฒนธรรมขององค์กร  ซึ่งแต่ละองค์กรมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน  ดังนั้นเราจะต้องทำความเข้าในว่าองค์กรเป็นแบบใด  เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ  ในการทำงานจะต้องมีความกระตือรือร้น  ความรู้ความสามารถ  มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ  สร้างสรรค์งานให้ประสบความสำเร็จและต้องเป็นงานที่ตนเองถนัด  และควรใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ  อยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้ทันกับความเป็นไปของโลก  เช่น  การอบรมสัมมนา  ศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม  ฯลฯ  การมีวิสัยทัศน์  เป็นความสามารถในการสร้างภาพหรือภายในอนาคต  ว่าควรจะเป็นแบบใด  ซึ่งทำให้เกิดความคิด  มีจิตใจเอื้อต่อภารกิจ  องค์กร  เพื่อนร่วมงาน  เรียกว่ามีน้ำใจที่จะช่วยเหลือใครต่อใคร  โดยไม่เห็นว่าเกินหน้าที่หรือถูกเอาเปรียบ  มีศักยภาพที่จะเป็นผู้ร่วมงานมีคุณภาพสูง  เป็นการพยายามนำความสามารถแฝงมาใช้งานให้ได้ประโยชน์มากที่สุด  มีอุปนิสัยที่น่านิยม  เช่น  ยิ้มแย้มแจ่มใส  มีจิตใจดี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และนอบน้อมถ่อมตน  และควรกระตุ้นให้ผู้อื่นมีความรู้ความสามารถ  ตื่นตัวต่อความเป็นไปรอบด้าน  รู้จักนำไปปรับตัวและปรับปรุงองค์กรให้ทันกาล  ต้องเน้นและสร้างความเข้าใจให้ทุกคนเห็น  ความสำคัญของวิสัยทัศน์  เพื่อจะได้มีคุณภาพ  การสร้างคุณภาพและการดำรงคุณภาพว่าเป็นทางเดียวกันที่องค์กรจะมั่นคง  ยั่งยืน  สามารถแข่งขันองค์กรอื่นและนานาประเทศ  โดยต้องให้ทุกคนสำนึกเสมอว่าคุณภาพทุกด้านขององค์กร  จะเป็นคุณค่าแก่ที่ทุกคนต้องรักษาและสืบต่อให้ได้  กระตุ้นให้ทุกคนพัฒนาต่อเนื่อง  มีการทำงานอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน  และทำงานเป็นไปด้วยความรวดเร็วเพื่องานจะได้ไม่ล่าช้าเกินกว่าเหตุ  โดยจะไม่ทำงานแบบหละหลวม  การทำงานอย่างรวดเร็วต้องเข้าใจเป้าหมายวิธีการ  และระยะเวลาที่จำเป็นต้องทำงานให้สำเร็จ  กล้าเผชิญปัญหา  อุปสรรค  จะต้องทำงานแบบมุ่งมั่นตั้งใจ  โดยไม่หวาดหวั่นต่ออุปสรรค  งานนั้นย่อมประสพความสำเร็จสูง  เพราะถ้าเผชิญหน้ากับปัญหาหรืออุปสรรคหรือสิ่งต่าง ๆ  ไม่ว่าจะยากหรือลำบากเพียงไร  การกล้าทำเพื่อให้งานได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นตามเป้าหมาย  และยังกล้าที่จะตัดสินใจได้โดยที่ไม่ลังเล  และต้องรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ  และจะต้องทำงานให้ประสบความสำเร็จ  ควรจะเลือกคนที่ดีและคนที่เก่งเข้ามาทำงานเป็นคนที่ไว้วางใจได้  มีเกียรติ  สร้างความเชื่อถือ  (management  of  trust)
ด้วยการซื่อสัตย์  มีมนุษย์สัมพันธ์  มีความคงเส้นคงวาในด้านการปฏิบัติงาน  ใช้วิจารณญาณได้อย่างดี  มีเหตุผล  มีคุณธรรม  มีความยุติธรรม  ในการแก้ปัญหาและการพัฒนา  มีความจงรักภักดี  ผูกพันต่อองค์กรที่ตนรับผิดชอบ  จิตใจกว้างขวาง  รับฟัง  รับรู้  ข้อคิด  ข้อเสนอ  เรื่องราวข่าวสาร  การมีส่วนร่วมเหมาะสมกับเพื่อนร่วมงาน  มีคุณภาพทางอารมณ์  (emotiong  quality)  คือมีจิตใจหนักแน่นเยือกเย็น  ควบคุมทางอารมณ์ความรู้สึกได้  มีวุฒิภาวะด้านจิตใจ  มีความมั่นใจตนเอง  มีพลังในการทำงาน  ไม่ท้อแท้  มีการนำเสนองานที่แปลก  ๆ  ใหม่  ๆ  อยู่เสมอ  สามารถรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง  และรู้ทางออกในการแก้ไขจุดอ่อนที่ตนมีอยู่และสามารถใช้จุดแข็งให้เกิดประโยชน์สูงสุด (management  of  self)
กรณีศึกษา  :  ขอยกตัวอย่างประสบการณ์ทำงานของดิฉันเอง  ซึ่งเคยทำงานในธุรกิจภาคเอกชนมาตลอดกว่า  10  ปี  ยอมรับว่าการทำงานในภาคเอกชนในช่วงเศรษฐกิจดี  รายได้ก็ดี  แต่เมื่อถึงจุดเปลี่ยนของชีวิตต้องมารับราชการ  ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นคนที่ไม่ชอบระบบราชการ  ด้วยติดภาพลักษณ์ที่ว่า  “เช้าชามเย็นชาม”  แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในระบบราชการ  สิ่งแรกที่ดิฉันจะต้องปรับเปลี่ยนคือ  ใจ  ได้แก่  ทำใจให้ยอมรับ  และภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ระลึกอยู่เสมอจะเป็นข้าราชการที่ดี  ทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติ  ถึงแม้นว่าดิฉันจะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย (เพิ่งรับราชการ 2 ปี)
แต่เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ท้าทายเพราะไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน  สิ่งที่ไม่รู้ก็ต้องศึกษาหาความรู้  ขอคำแนะนำจากผู้รู้  เพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่เราสามารถเรียนรู้และทำให้ถูกต้องตามกฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  ที่มีกรอบปฏิบัติ  เพื่อได้ผลงานที่ออกมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยมีตัวบ่งชี้เมื่อได้รับการเลื่อนขั้น  นับเป็นสิ่งภาคภูมิใจ  ซึ่งไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้….
 สำหรับคำถามที่ว่า  ดร.ปุระชัย  เป็นผู้นำแบบไหน  ?
ท่านเป็นผู้นำที่มีแบบอย่างที่ดีคือ  สถาบันครอบครัว  จึงเป็นผู้นำที่ดูมีบุคลิกภาพดี  มีความสงบเสงี่ยม  แนบเนียน  มีความอดทน  มีสมาธิ  ใจคอหนักแน่น  จัดได้ว่าท่านเป็นผู้นำที่ดีตามที่สังคมคาดหวัง.
นางสาววิลาวัลย์  พวงอุบล

 

นางสาวทัศวรรณ วังคะฮาด
เรียน    ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีท่านผู้อ่าน Blog ทุกท่าน  เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2550  ก็เป็นครั้งที่สองที่นักศึกษาคณะ MPA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดได้เรียนกับท่าน ศ.ดร.จีระฯ  ซึ่งวันนั้นท่าน ศ.ดร.จีระฯ ได้นำเทปการนทนาระหว่างท่าน กับท่าน ดร.อำนวย  วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และเทปการสนทนาระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระฯ กับท่าน ศ.ดร.ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์  อดีตรองนายกรัฐมนตรี  ในกรณีท่าน ดร. อำนวยฯ ดิฉันรู้สึกชื่นชมและมีความศรัทธาในการเป็นผู้นำและเป็นข้าราชการที่ดีของ ซึ่งท่านได้พูดตอนหนึ่งว่าวันที่ท่านพ้นจากตำแหน่งข้าราชการประจำท่านได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบเอง ทั้งที่ขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายที่ให้นักการเมืองหรือข้าราชการยื่นทรัพย์สินในกรณีพ้นหรือเข้ารับตำแหน่งใหม่แต่อย่างใด ซึ่งแสดงความมีคุณธรรมและจริธรรมของท่าน  ในฐานะที่ดิฉันก็เป็นข้าราชการคนหนึ่ง ก็จะได้นำเป็นแบบอย่างในการทำงานราชการต่อไปส่วนท่าน ศ.ดร.ปุระชัยฯ ดิฉันชื่นชมและชื่นชอบท่านมานานแล้ว และได้ศึกษาประวัติและติดตามผลงานและการเขียนหนังสือของท่านมาตลอด  ซึ่งก็ได้ทราบว่าเป็นผู้นำและผู้บริหารที่มีคุณธรรมและจริยธรรมคนหนึ่ง  จนได้มีฉายาช่วงที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่า รัฐมนตรีไม้บรรทัด และท่านได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และสถาบันครอบครัวมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะท่านคิดว่าถ้าพ่อแม่มีการอบรมสั่งสอนบุตรอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เกิดจนโตเด็กคนนั้นก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพต่อไปในวันนั้นท่าน ศ.ดร.จีระฯ ก็ได้สอนแนวคิดของผู้นำ 3 ท่าน คือ STEPHEN COVEY, JACK WELCH  และแนวคิดของท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ดังนี้   STEPHEN COVEY1.    Path  finding คือ ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์และแสวงหาอนาคต2.   Aligning คือ ผู้นำต้องสร้างระบบการทำงานให้ทุกส่วนไปในทิศทางเดียวกัน3.  Empowering คือ ผู้นำต้องมอบอำนาจแก่ผู้ร่วมงานให้แสดงความสามารถและศักยภาพ       ออกมาอย่างเต็มที่4.    Role  Model  คือ  ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นJACK WELCH                1.    Energy คือ ผู้นำต้องมีไฟ2.    Energize คือ ผู้นำจะต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง3.    Edge คือ ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ  โดยใช้จังหวะฉกฉวยให้ดี4.    Execute คือ ผู้นำต้องทำให้เสร็จและสำเร็จ วัดผลได้ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์1.    Crisis  Management  คือ ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤต ขององค์กรได้2.     Anticipate change.  คือ ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า3.    Motivate people to be excellent. คือ ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ4.    Conflict resolution  คือ ผู้นำต้องแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้5.    Create new opportunities. คือ ผู้นำจะต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว6.    Rhythm & Speed คือ ผู้นำสามารถฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม7.    Edge ( Decisiveness) ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ  เด็ดขาด รวดเร็ว8.       Teamwork ทำงานเป็นทีมและให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นว่าบทบาทของผู้นำแนวไหนที่ชอบหรือเหมาะกับตัวเองมากที่สุด พร้อมกับให้ยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาดิฉันก็คิดว่าแนวคิดของทั้ง 3 ท่าน นั้นดีทุกท่าน เพราะถ้าผู้นำมีคุณสมบัติครบตามที่ท่านทั้งสามได้เขียนไว้นั้น ดิฉันคิดว่าคงเป็นผู้นำที่สุดยอดคนหนึ่ง  ส่วนแนวที่ดิฉันชอบหรือต้องนำมาใช้ให้เหมาะกับตัวดิฉันเองแล้วดิฉันชอบแนวของท่าน ศ.ดร.จีระฯ ซึ่งดิฉันเองก็เป็นข้าราชการคนหนึ่ง โดยในหน้าที่แล้วขณะนี้ดิฉันปฏิบัติงานประจำหน้าห้องรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำระดับประเทศ  จึงทำให้ดิฉันได้รับรู้และสัมผัสกับการบริหารงานและการเป็นภาวะผู้นำพอสมควร  ซึ่งอีกแนวที่ดิฉันชอบก็คือในแนวของ STEPHEN COVEY  เรื่อง Role Model คือผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น ซึ่งดิฉันได้เห็นรัฐมนตรีปฏิบัติทุกวัน นั่นคือมาทำงานเช้ามากและกลับค่ำทุกวัน ซึ่งถือเป็นแบบอย่างให้ดิฉันได้ปฏิบัติตาม และก็ได้ปฏิบัติทุกวัน คือ ดิฉันจะต้องมาถึงที่ทำงานก่อนเจ้านาย และกลับหลังเจ้านายทุกวัน  ดิฉันปฏิบัติงานหน้าห้องแน่นอนเรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือ การรักษาความลับ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องตัดสินใจแทนนาย และขณะเดียวกันต้องทำงานด้วยความรวดเร็วและรอบคอบด้วย เช่น การลงนามในหนังสือ เพราะงานของรัฐมนตรีจะเป็นด้านกำกับดูแลนโยบายรัฐบาล จึงต้องมีเรื่องที่จะต้องอนุมัติต่าง ๆ เยอะมาก ทั้งด่วนมาก ด่วนที่สุด ดังนั้น ดิฉันจึงต้องตัดสินใจที่ถูกต้อง รวดเร็ว และรอบคอบอยู่เสมอในการกลั่นกรองงานเพื่อจะเสนอให้รัฐมนตรีลงนาม ดิฉันขอยกตัวอย่างเรื่องที่ต้องตัดสินใจ เช่น มีเรื่องจะต้องเข้าที่ประชุม ครม. และต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าวด้วย  แต่วันนั้นรัฐมนตรีมีภารกิจไม่สามารถลงนามในหนังสือสั่งการที่ต้องสั่งให้หน่วยงานนั้นส่งเจ้าหน้าที่มาชี้แจงได้  ซึ่งวันรุ่งขึ้นเป็นวันอังคารและต้องมีประชุม ครม. ประมาณ 9.00 น. ดิฉันจึงได้ประสานทางโทรศัพท์กับหน่วยงานดังกล่าวและแฟกส์เอกสารที่เกี่ยวข้องไปก่อนเพื่อจะได้จัดเตรียมข้อมูลได้ทัน  แล้วก็ได้นำหนังสือที่ต้องสั่งหน่วยงานนั้นไปให้รัฐมนตรีลงนามที่บ้าน ซึ่งในวันรุ่งขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่และเอกสารมาสรุปให้รัฐมนตรีฟังก่อนเข้าประชุม  พร้อมกับเตรียมข้อมูลได้ทันในการชี้แจงครั้งนั้น                 ดิฉันคิดว่าดิฉันโชคดีที่ได้มีโอกาสทำงานกับผู้นำ ประกอบกับได้มีโอกาสเรียนบทบาทภาวะผู้นำกับท่าน ดร.จีระฯ ซึ่งดิฉันคิดว่าจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้นี้เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงานต่อไป---------------------------0---------------------------- นางสาวทัศวรรณ  วังคะฮาด
นาย อัคระ ดาวล้อมจันทร์

กราบเรียน ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนนักศึกษา MPA รวมถึงผูอ่าน B log CHira Academy ทุกท่าน

     นับเป็นครั้งที่ 2 ในการเรียนการสอนที่ข้าพเจ้าและเพื่อนMPA ม.แสตมฟอร์ด. ได้รับโอกาสจากท่านนายกสภามหาวิทยาลัย ท่านศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มาบรรยายในวิชา " บทบาทของผู้นำ "  Leadership ในเช้าวันอาทิตย์ที่21 ม.ค 2550 ที่ผ่านมานี้ท่านได้นำบทสัมภาษณ์ของ คุณ ดนัย อุดมโชค นักเทนนิสเหรียญทองเอเชี่ยนเกมส์ล่าสุดและบทบรรยาย เรื่องการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก รวมถึงบทสัมภาษณ์ใน VDO ระหว่างท่าน ดร.อำนวย วีรวรรณ และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และช่วงบ่ายก็เป็นบทสัมภาษณ์ของ ร.ต.อ.ดร. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ กับท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาถ่ายทอดให้เห็นถึงการบริหาร+ผู้นำ ให้เห็นคุณลักษณะเด่นของ Leadership ในมุมมองของท่านเพื่อให้นักศึกษา MPA ได้แสดงความคิดเห็น และท่านได้นำเสนอแนะใน 3 ทฤษฎี

1. The 4 Roles of Leadership by <Stephen covey>

- Pathfinding  มองอนาคต มองปัญหา แสวงหาความรู้ความเข้าใจ

- Aligning  เรียบเรียงเป้าหมายที่ถูกต้องไปในทิศทางเดียวกัน

- Empowering  อย่าเก่งคนเดียว รู้จักกระจายอำนาจ กระจายการตัดสินใจ

- Modeling เป็นรูปแบบที่ดี

2. Leadership roles by Chira Hongladarom

- Crisis management พร้อมแก้ปัญหา มอบให้คนอื่นแก้ เอาชนะอุปสรรค

- Anticipate change ไม่รอให้ปัญหามาถึง วางแผนให้เป็น ทายอนาคตให้ได้

- Motivate others to excellent  เน้นทฤษฎีให้ผูอื่นเก่งกว่าตัวเรา

-Conflict resolution หลีกเลี่ยง การขัดแย้ง

- Explore opportunities เปิดโอกาสหรือสร้างโอกาส ( นวตกรรม )

- Rhythm & Speed ดูจังหวะ ฉวยโอกาสให้เป็น

-Edge ( Decisiveness ) การตัดสินใจเร็ว

- Teamwork  การทำงานเป็นทีม

3. 4E's Leadership ( Jack Weleh )

- Energy  การมีความสุข การกระตือรือร้นมีไฟ ความคิด

- Energize  ชอบในงานที่ทำ กฎระเบียบ อิสรภาพ

-Edge ฉับไว กล้าตัดสินใจ พร้อมที่จะเผชิญปัญหา

-Execution ระบบงานต่างๆ

  จาก 3ทฤษฎีที่ท่าน ศ.ดร..จีระ หงส์ลดารมภ์ นำมายกตัวอย่างในชั่วโมงการเรีนน-การสอน ล้วนแล้วแต่เป็นทฤษฎีของความสำเร็จที่ทั้ง 3 ท่านเป็นต้นแบบของทฤษฎี เราสามารถนำไปปฎิบัติให้เกิดประโยชน์และองค์ความรู้เพื่อผลในความสำเร็จของการเป็นผู้นำที่ดี

     ข้าพเจ้าขอเลือกทฤษฎี Leadership roles by Chira Hongladarom เห็นว่าเหมาะสมเพราะ เจ้าของ ทฤษฎีเป็นคนไทยและเป็นอาจารย์ของผมเอง ด้วยเหตุผลว่า เพราะท่านเข้าใจวัฒนธรรมดีว่าขาดการอ่าน การเรียนรู้ ท่านจึงเพียงพยายามอยากเห็นเด็กไทยและคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ " คิดเป็น "จึงนำมาปรับปรุงเป็นรูปธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับที่ท่านคิดและนำหลักองค์ความรู้ของทฤษฎี " 8K's " คือทุนแห่งความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตที่สำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการแข่งขันสมารถนำไปปฎิบัติและประยุกต์ ให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งสิ้นตามสภาวะและความเหมาะสมในแต่ละบุคคลที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน

        ข้าพเจ้านำหัวข้อ Explore oppoptunities ยกเป็นตัวอย่างกล่าวคือ

        ข้าพเจ้าประกอบธุรกิจหอพักซึ่งในปัจจุบันมีการแข่งขันกันมาก ในรูปแบบการให้บริการ ข้าพเจ้าจึงนำนวัตกรรมใหม่เข้ามาให้บริการในห้องพัก เพื่อเปิดโอกาสและเป็นทางเลือกใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า " การเสนอการขายแก่ผู้มารับบริการ" เป็นทางเลือกใหม่แก่ลูกค้า เช่น เรื่องเคเบิ้ลทีวี และระบบความปลอดภัยภายในอาคาร การเข้า-ออกด้วยระบบคีย์การ์ด และระบบการจัดเก็บเงินค่าเช่าห้องที่ต้องเน้นความแม่นยำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น นี่ก็คือตัวอย่างของการเปิดและสร้างโอกาสนำเอานวัตกรรมเข้ามาผสมผสาน ในการดำเนินธุรกิจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหลายองค์ประกอบของความสำเร็จ

          ท้ายนี้ขอกราบขอบคุณท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดโอกาสให้ความรู้ และนำนวัตกรรมในการสอนรูปแบบใหม่มาเพิ่มองค์ความรุ้แก่นักศึกษา MPA

ID. 006150001 

 

อุดม  ชนะสิทธิ์  รหัส  00615019เรียน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีเพื่อนๆ  นักศึกษา  มหาวิยาลัยนานาชาติ  สแตมฟอร์ด  และชาว  Blog  ทุกท่าน            พวกเราชาว  MPA  ได้รับเกียรติจากท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เป็นครั้งที่  2  ที่ได้มาบรรยายในวิชา  Leaddership  ที่พวกเรากำลังศึกษากันอยู่  ภูมิความรู้และเคล็ดลับต่างๆที่ท่านได้กล่าวถึงอยู่ตลอดเวลาที่ได้อยู่กับพวกเราไม่ว่าจะเป็นในชั่วโมงเรียน  แม้แต่เวลาพัก  ทานอาหารว่าง  ท่านจะพยายามไม่ให้เสียเวลาและโอกาส  พวกเรารู้สึกดีใจและอิ่มเอิบใยเป็นอย่างมากที่ได้รับฟังและเมื่ออยู่ใกล้ๆกับท่าน  2  วันเต็มๆ  ที่ผมได้อยู่ใกล้ชิดกับท่าน  ทั้งภูมิความรู้และเทคนิคต่างๆ  ที่ผมได้รับจากท่าน  เพื่อที่ผมจะได้นำมาพัฒนาตัวเองและพัฒนาองค์การของผมเอง            ผมเองก็เป็นผู้หนึ่งที่เป็นนักธุรกิจและเป็นเจ้าของกิจการ  ด้านการนำเข้ามาจากต่างประเทศ  เพื่อขายอุปกรณ์วิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์  และเป็นผู้ผลิตเครื่องกำจัดแมลงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม  ทั่วๆไปและโรงอาหาร  ร้านค้าทั่วไป  มาเป็นเวลา  20  ปีเต็ม            โดยใช้ชื่อกิจการ  “U.P. MARKETTING  GENERAL  SUPPLY”  ซึ่งผมได้เข้ามาศึกษากับท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์แล้ว  ผมมองเห็นตนเองมากขึ้น  โดยการที่ผมบริหารงานไปในทิศทางที่ใกล้เคียงกับแนวทางที่ท่านบรรยายให้นักศึกษาฟัง  ผมจึงขอทำรายงานตามแนวทางที่ผมชอบคือ  ตามแนวทางของ  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์              กรณีศึกษาในหัวข้อเรื่องภาวะผู้นำของ  หจก. ยู.พี.มาร์เก็ตติ้ง  เยนเนอรัล  ซัพพลาย              ในหลักการทำงานจะเป็นไปตามระบบที่ผม  อุดม  ชนะสิทธิ์  ได้วางระเบียบการทำงานเอาไว้ดังนี้1.      การกระจายงานออกเป็นแผนกและเป็นทีม  แต่ละแผนกจะถูกควบคุมโดยหัวหน้าแผนก  ดังเช่น  -     แผนกต่างประเทศ  จะทำหน้าที่ประสานงานติดต่อกับต่างประเทศ  ทั้งสั่งเข้า  ต่อรองราคา  และกำหนดวันส่งของ  และอื่นๆ  เกี่ยวกับต่างประเทศ-          แผนกขาย  ทำหน้าที่วางแผนการขาย  และติดต่อประสานงานเรื่องขายสินค้า  ดูแลลูกค้าต่อเนื่อง  ส่งเสริมการขายและให้ความรู้แก่พนักงานขายภายในองค์กร-     แผนกจัดส่งสินค้าและวางบิลเก็บเงิน  ทั้งทางรถยนต์บรรทุกและจักรยานยนต์โดยเน้นการส่งให้ถึงมือผู้รับ  อย่างรวดเร็ว  และถูกต้อง-          แผนกการเงินและบัญชี  โดยมีหัวหน้าบัญชีและการเงินเป็นผู้ดูแลเรื่องของระบบนี้ทั้งหมด-          แผนกพัสดุ  จะทำหน้าที่รับพัสดุเข้าจัดเก็บให้เป็นระเบียบการจ่ายออก เป็นไปตามระบบพัสดุ  โดยการควบคุมสินค้าด้วยระบบคอมพิวเตอร์-          แผนกธุรการ  ทำหน้าที่บริการทุกแผนกภายในสำนักงาน  โดยที่แผนกนี้ทำงานกันอย่างหนัก  และอดทนต่อทุกๆภาวะ                 -      แผนกช่าง  ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานขายโดยการนำเครื่องที่จำเป็นไปสาธิตให้ลูกค้าดู  และทำหน้าที่บริการซ่อมเมื่อเครื่องที่ขายไปแล้วมีปัญหา  ตลอดจนรับซ่อมเมื่อเครื่องเสีย  หลังจากหมดประกันแล้ว  ตลอดจนทำการสอบเทียบมาตรฐาน                -       แผนกวิเคราะห์และวิจัย  แผนกนี้จะเป็นแผนกที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือแผนกขายและลูกค้าที่ยังขาดเรื่องระบบ  LAB.  QC.  โดยมี  นักเคมีไว้คอยบริการลูกค้า                -       แผนกเร่งรัดหนี้สิน  ทำหน้าที่วางบิล  ,  เก็บเงิน  ,  เร่งรัดหนี้สิน  ,ตลอดจนรวบรวมเอกสารยื่นฟ้องเมื่อจำเป็นซึ่งในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันถือว่าเป็นหน้าที่ที่หนักหน่วง            ทุกๆแผนกจัดรวบรวมอยู่ในพื้นที่ติดต่อกันทั้งหมด  โดยการควบคุมการทำงานโดย  อุดม  ชนะสิทธิ์  ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเต็มในองค์การนี้            โดยสรุปการบริหารขององค์การนี้  เป็นไปตามระบบดังต่อไปนี้1.      ให้ความรู้ต่อพนักงานทุกๆ  แผนกโดยผู้มีประสบการณ์2.      เปิดโอกาสให้ทุกคนเสนอแนะ  ออกความคิดเห็นเมื่อมีการประชุม3.      กำหนดเป้าหมายการทำงานและทำการติดตามผล4.      เน้นการทำงานเป็นทีมให้ทุกคนมีส่วนร่วม5.      เน้นการขายเชิงรุก  เจาะลึกถึงกลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภค6.      กำหนดเป็นเป้าหมายการทำงานและพยายามทำตามแผนงานที่วางไว้7.      ไม่ยึดติดกับรูปแบบการทำงานแบบเดิม8.      ศึกษาและนำเอากลยุทธ์สมัยใหม่เข้ามาใช้9.      เน้นหาสินค้าใหม่ๆ  ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของตลาดและกลุ่มเป้าหมาย10.  ให้สวัสดิการต่างๆ  บุคลากรภายในองค์การทั้งสวัสดิการเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย , โบนัส  และการสาธารณสุข            มีคำถามจากท่าน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ว่า  ท่านมีความเห็นว่า  ดร. ปุรชัย  เปี่ยมสมบูรณ์  เป็นผู้นำแบบไหนในความเห็นของผม  อุดม  ชนะสิทธิ์  มีความเห็นว่าท่านเป็นผู้นำใฝ่รู้  โดยการอ่าน  ท่านอ่านหนังสือมาก  และอ่านตลอดเวลา  เมื่อมีเวลา  ท่านมองไปข้างหน้า  พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องและตลอดไป  ท่านเป็นคนอารมณ์ดี  และมีมุมมองที่กว้างไกล  ผมมองเห็นท่านเป็นคนที่ให้ความสำคัญต่อครอบครัวเป็นอย่างมาก  จากการศึกษาจากการให้สัมภาษณ์  ท่านกล่าวว่า  พ่อ  แม่  เป็นครูคนแรก  ของลูกๆ  และครูที่โรงเรียนคือครูที่ให้ความรู้เสริม  ท่านเพียบพร้อมไปด้วยธรรมอยู่ในใจ  มีจริยธรรมที่ดี  มีคุณธรรมครบถ้วน  ผมคิดว่าดร.  ปุรชัย  เปี่ยมสมบูรณ์  เป็นผู้นำระดับแนวหน้าที่ควรยึดถือ  ตามได้                                                                                                                                    นายอุดม  ชนะสิทธิ์                                                                                                 27  มกราคม  2550
นาย วิระ ภูมิศิริสวัสดิ์ 00625001

เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีเพื่อน ๆ ชาว Stam ford University และผู้อ่าน Blog ทุก  ๆท่าน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21  มกราคม  2550  ที่ผ่านมาท่าน ศ.ดร.จีระ ได้สละเวลาอันมีค่ามาบรรยายเรื่องภาวะผู้นำ ( Leadership) โดยท่านศ.ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างแบบของผู้นำจะช่วยชี้ให้เห็นพฤติกรรมของผู้นำในหลายลักษณะ และช่วยให้ผู้นำเลือกแบบการนำที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น ภราดร กับ ดนัย มีความเป็นผู้นำที่แตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างไร ภราดรนั้น มีความพร้อมทุก ๆ ด้าน มีโอกาสมากกว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมีประสบการณ์แข่งขันในรายการที่ใหญ่ ๆ ในต่างประเทศมาหลายรายการ  มีความพร้อมในเรื่องของการสนับสนุนจากทางครอบครัวโดยเฉพาะคุณพ่อเป็นนักเทนนิสจึงถือว่าภราดรนั้นได้เปรียบในทางที่จะมีผู้แนะนำที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทนนิส แต่ในขณะที่ดนัยนั้น มีแต่ความตั้งใจจริง มีความมุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดโดยตั้งมั่นอยู่ในระเบียบวินัยไม่หลงแสงสี ตั้งใจฝึกซ้อม ใช้ชีวิตเรียบง่าย แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่สามารถคำนึงถึงสถานการณ์และเอาสถานการณ์มาเป็นประโยชน์ แต่ในอนาคตดนัยซึ่งถือว่าอายุยังน้อย ยังมีโอกาสพัฒนาไปสู่เส้นทางการเป็นนักเทนนิสมืออาชีพที่อันดับโลกดีกว่านี้ได้  โดยต้องมีการตั้งใจจริง ขยันหมั่นฝึกซ้อม และการได้มีโอกาสไปแข่งในรายการใหญ่ ๆ ในต่างประเทศถือว่าเป็นโอกาสดีที่ดนัยจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และมีโอกาสที่อันดับจะสูงขึ้นกว่านี้ได้

ภาวะผู้นำทางตะวันตกและตะวันออกแตกต่างกันอย่างไร

แน่นอนครับว่าผู้นำตะวันตกกับผู้นำตะวันออกนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี  ธรรมเนียม  ผู้นำตะวันตกจะเน้นความสามารถ ทำงานเป็นทีม  ผู้นำตะวันออกจะมีความเป็นครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ พวกพ้อง และสิ่งหนึ่งที่ผู้นำตะวันออกจะมีก็คือ ความให้เกียรติผู้อาวุโสกว่าให้ความเกรงใจ ต่อผู้ที่มีความอาวุโสมากกว่า  แต่ทั้งนี้  ทั้งตะวันตกและตะวันออกต่างก็มีทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

ส่วนเรื่องภาวะผู้นำของดร.อำนวย  วีรวรรณ นั้นผมคิดว่าท่านเป็นคนเก่งคิดเก่งเรียน  ดูจากประวัติการศึกษาของท่านก็จะเห็นว่าท่านประสบความสำเร็จตั้งแต่ท่านอายุยังน้อยท่านมีความรู้จริง รู้ในสิ่งที่ทำ มีเป้าหมาย(HUMAN CAPITAL INTELLECTUAL CAPITAL ) จากการที่ท่านให้สัมภาษณ์เทปโทรทัศน์ว่า "ท่านเป็นปลัดกระทรวงที่จนที่สุด " และเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำ อีกประโยคหนึ่งที่ท่านได้ให้สัมภาษณ์ก็คือ ท่านเป็นคนแรกที่จะแสดงบัญชีทรัพย์สิน ผมก็พอจะทราบอยู่บ้างว่าท่าน ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นั้นท่านเป็นคนตรงมากคนหนึ่ง ฉายาของท่านคือ "ไม้บรรทัด" เมื่อสมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย ท่านเป็นรัฐมนตรีคนเดียวที่ไม่ให้นำของขวัญที่มีมูลค่าเกินกว่า 50 บาท มาให้เพราะ ท่านบอกว่าอาจจะทำให้มีการเอิ้อประโยชน์เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นบทบาทผู้นำของท่านคือผู้นำที่มีทั้งจริยธรรมและคุณธรรม

ในส่วนของแนวคิดของ 3 นักคิด คือ

- Stephen Covey

1. Path Finding  คือ ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์ และแสวงหาอนาคต

2. Aligning คือ ผู้นำต้องสร้างระบบการทำงานให้ทุกส่วนไปในทิศทางเดียวกัน

3. Empowering คือ ผู้นำต้องมอบอำนาจแก่ผู้ร่วมงานให้แสดงความสามารถและศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่

4. Role Model  คือ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น

- Jack  Welch

1. Energy  คือ  ผู้นำต้องมีไฟ

2. Energize คือ ผู้นำจะต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง

3. Edge คือ ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจโดยใช้จังหวะฉกฉวยให้ดี

4. Execution  คือ ผู้นำต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้

- Chira Hongladarom

1. Crisis Management คือ ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤตขององค์กรได้

2. Anticipate Change คือ ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า

3.Motivate others to be excellent คือ ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ

4. Conflict resolution คือ แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้

5. Create new opportunities คือ ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว

6. Rhythm & Speed คือ สามารถฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม

7. Edge (Decisiveness) คือ กล้าตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว

8. Team work  คือ ทำงานเป็นทีม

จะเห็นได้ว่าจากแนวความคิดทั้ง 3 ทฤษฎีต่างก็มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของการแก้ปัญหาที่ต้องรวดเร็ว ฉับไว และการให้ผู้ร่วมงานเข้ามามีบทบาทส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันเพื่อผลงานจะออกมามีประสิทธิภาพ  และแก้ไขลดปัญหาการขัดแย้งในองค์กรลงได้ จากแนวความคิดดังกล่าวผมคิดว่า ในแนวความคิดของท่าน ศ.ดร.จีระ ค่อนข้างสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันมากกว่าและค่อนข้างจะปฏิบัติจริงได้  ในองค์กรของผมจะทำธุรกิจเกี่ยวกับการรับเหมางานทางด้านการก่อสร้างวางท่อร้อยสายโทรศัพท์ ในขณะเดียวกันทางบริษัท ฯ ก็จะจัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงานและผู้บริหารสามารถได้พูดคุยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเนื้องานที่เกิดขึ้นได้  ในขณะเดียวกันบริษัทของผม ก็ได้มีการจัดตัวแทนในแต่ละแผนกเพื่อที่จะมีการควบคุมงานแต่ละฝ่าย เมื่อพนักงานระดับล่างมีข้อสงสัย หรือ ต้องการสอบถามข้อมูลก็สามารถติดต่อผ่านหัวหน้าตัวเองในแต่ละแผนกได้  และผมก็คิดเสมอว่าพนักงานเปรียบเสมือนคนในครอบครัว เราต้องดูแลด้วยความจริงใจ และมีความยุติธรรมไม่ลำเอียง  หากเกิดปัญหาขึ้นในองค์กรก็จะช่วยกันประชุม ปรึกษาแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อพัฒนางานในองค์กรให้ออกมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น  สุดท้ายนี้ผมก็ขอขอบคุณท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ เป็นอย่างสูงที่ได้สละเวลาเพื่อมาบรรยายเกี่ยวกับภาวะการเป็นผู้นำให้พวกเราฟังนักศึกษาชาว MPA    นายวิระ  ภูมิศิริสวัสดิ์   รหัส 00625001

นางสาววลัยพร วงษ์งาม ID 006150015
          
             กราบเรียนท่าน  .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   จากที่ท่านอาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำในห้องเรียน ในสัปดาห์ที่ 2  ที่ผ่านมา และได้ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้นำ โดยอิงจากแนวคิดของ Stephen Covey , Jack Welch  หรือของท่าน  .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   ดิฉันจึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในโจทย์ที่ว่า
"จากแนวคิดของ Stephen Covey , Jack Welch  หรือของผม บทบาทของผู้นำแนวไหนที่คุณชอบหรือเหมาะกับตัวคุณมากที่สุด พร้อมยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา"# บทบาทของผู้นำแนวคิดของ ท่าน  .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  เป็นบทบาทของผู้นำที่ดิฉันชื่นชอบ ที่เหมาะกับตัวดิฉันมากที่สุดและจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี

Leadership roles by Chira Hongladarom

1.Crisis management ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการแก้วิกฤตต่างๆได้2.Anticipate change   ผู้นำจะต้องไม่รอปัญหา   แก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหา3.Motivate others to excellent           ผู้นำจะต้องเน้นทฤษฎีการกระตุ้นให้ผู้อื่นเก่ง  สร้างให้ผู้อื่นเก่งและมาช่วยแบ่งเบาภาระงานของผู้นำได้ เพื่อผู้นำจะได้ให้เวลาเต็มที่กับงานใหญ่ๆที่ลูกน้องยังมีความสามารถไม่ถึง4.Conflict resolution  ผู้นำจะต้องหลีกเลี่ยงการขัดแย้งเพราะเมื่อไม่เกิดความขังแย้งปัญหาต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้น5.Explore opportunities        ผู้นำจะต้องเปิดโอกาส สร้างโอกาสใหม่ๆให้กับตัวเอง และผู้อื่น6.Rhythm + Speed     ผู้นำจะต้องทำงานต้องให้มีและเป็นจังหวะที่ดี  เพื่องานจะได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด7.Edge < Decisiveness >        ผู้นำจะต้องตัดสินใจเร็ว  เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ไม่เสียผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น  8.Teamwork   ผู้นำจะต้องทำงานเป็นทีม เพราะงานบางอย่างจะต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆฝ่ายงานจึงจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี# จากแนวคิด บทบาทของผู้นำของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ทั้ง 8 ดิฉันชื่นชอบในทุกๆบทบาท  และคิดว่าเหมาะสมกับดิฉันมากที่สุด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงาน  ชีวิตประจำวันมากที่สุด  # ดิฉันเริ่มต้นที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีบทบาทภาวะผู้นำซึ่งจะประยุกต์ใช้กับตัวเองโดย1. Crisis management            การแก้วิกฤต  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหา วิกฤต ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คับขัน ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับ ความเป็น-ความตาย ของชีวิตผู้ป่วย ดิฉันจึงต้องมีคุณสมบัติในข้อนี้อย่างแน่นอน ซึ่งก็ได้จากการอบรม สั่งสอน จากสถาบันการศึกษาเป็นระยะเวลา 4 ปีเต็ม คุณสมบัติในข้อนี้ ถ้าดิฉันได้รับประสบการณ์จริงเพิ่มมากขึ้นหลังจากศึกษา 4 ปี คาดหวังว่าดินฉันจะมีคุณสมบัติของผู้นำในข้อนี้อย่างสมบูรณ์แบบ  จึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ช่วยพยาบาล2. Anticipate change  แก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล จะต้องรู้สถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกตโดยประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ  และให้การรักษาหรือคำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีภาวะผู้นำข้อนี้ก็จะทำให้บริหารจัดการ ดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. Motivate others to excellent          เน้นทฤษฎีการกระตุ้นให้ผู้อื่นเก่ง  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะมีระบบงานแบบพี่-น้อง  คือเมื่อจบเข้ามาทำงานแล้วก็จะมี รุ่นพี่พยาบาลทำหน้าที่แนะนำสั่งสอนน้องพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลแทนท่านอาจารย์  โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้น้องเก่ง ทำงานมีประสิทธิภาพและก้าวหน้าขึ้นในหน้าที่การงาน และความรู้ความสามารถ  ซึ่งเป็นบทบาทผู้นำที่พยาบาลควรมีและดิฉันจะพัฒนาบทบาทข้อนี้ให้ดียิ่งๆขึ้นไป4. Conflict resolution  การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องทำงานร่วมกับทีมสุขภาพซึ่งมีหลากหลายอาชีพ  และทำงานที่ต้องสัมผัสกับผู้คนในระดับต่างๆแต่ละคนก็แตกต่างกัน  การจะเกิดความขัดแย้งนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย  เป็นเรื่องสำคัญที่พยาบาลจะต้องมีคุณสมบัติหลีกเลี่ยงความขัดแย้งให้ได้ เพื่อลดหรือขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้น5. Explore opportunities  เปิดโอกาส สร้างโอกาสให้กับตัวเองและผู้อื่น  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล  จะต้องเปิดโอกาสให้ตนเองและผู้อื่นได้เรียนรู้งาน ศึกษาหาความรู้ให้มีเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา  และทำให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ เช่น การเข้าร่วมการวิจัยกับแพทย์ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสัมมนาวิชาการต่างๆ ฯลฯ  6. Rhythm + Speed  การมีจังหวะที่ดีในการทำงาน ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลต้องรู้จังหวะว่า จังหวะไหน ช่วงไหนที่ควรเข้าไปทำหัตถการกับผู้ป่วย จะต้องดูว่าอารมณ์ ร่างกายของผู้ป่วยพร้อมที่จะทำหรือไม่ มิฉะนั้นอาจจะทำให้การรักษาไม่สำเร็จ หรืออาจจะทำให้ผู้ป่วยไม่ไว้วางใจได้  หรือกรณีเข้าไปเตือน สั่งสอน ชี้แนะผู้ช่วยพยาบาลเมื่อทำผิดพลาดก็ต้องดูจังหวะเพื่อมิให้ผู้ถูกตักเตือนเสียหน้าและต่อต้านเรา  7. Edge < Decisiveness >  การตัดสินใจเร็ว ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตัดสินใจเร็วเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่นเมื่อพยาบาลประเมินได้ว่าผู้ป่วยหยุดหายใจ พยาบาลมิใช่จะมัวตกใจ ไม่รู้จะทำอะไร แต่พยาบาลทุกคนต้องมีสัญชาติญาณของพยาบาลคือ รีบทำการช่วยกระตุ้นหัวใจ หรือเพิ่ม ออกซิเจนให้ผู้ป่วยโดยปั้มหัวใจและทำตามกระบวนการช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อหยุดหายใจ ตามทฤษฎีและประสบการณ์ที่เรียนมาอย่างรวดเร็ว  บทบาทผู้นำข้อนี้จะทำให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวพยาบาล  8. Teamwork  การทำงานเป็นทีม  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องร่วมมือกับทีมสุขภาพทั้งหมดเพื่อที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายป่วย  ดังนั้นแน่นอนว่าพยาบาลจะต้องมีคุณสมบัติ บทบาทผู้นำเรื่อง Teamwork เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ# จากการที่ได้สัมผัสเรียนรู้เรื่องบทบาทผู้นำจากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ดิฉันก็เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เป็นแบบบทบาทของผู้นำแนวคิดของ ท่าน  .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  เพราะเล็งเห็นว่าเหมาะสมกับตนเอง และมีประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้ในทำงานของตนเอง  และคิดว่าจะส่งผลให้ตนเองพบกับความสำเร็จในชีวิตคะ# ทฤษฎีพื้นฐานที่ดินฉันจะยึดไปปฎิบัติ  และสร้างให้เกิดขึ้นในตนเอง นั้นก็เป็นทฤษฎีของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์    คือ 8 Ks  ซึ่งควรมีพื้นฐานนี้ก่อนแล้วจึงจะเกิดบทบาทของผู้นำแนวคิดของ ท่าน  .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ได้ดังกล่าวข้างต้น# ถ้ามีคุณสมบัติทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ดิฉันเชื่อว่า ชีวิตการทำงานจะต้องมีความประสบผลสำเร็จในด้านผู้นำแน่นอนดิฉันเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้รับคำชี้แนะ สั่งสอนจากท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องภาวะผู้นำ ในส่วนที่ดิฉันยังบกพร่อง 
นายฉัตร์ตรา ดาวล้อมจันทร์

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีเพื่อนๆชาวแสตมฟอร์ดทุกท่าน  และผู้ที่อ่าน Blog  เป็นครั้งที่ 2  ที่ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ได้มาบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง Leadership  แก่ผมและเพื่อนๆMPAทุกคน  ความรู้ที่ท่านให้มานับว่ามีคุณประโยชน์มาก  ในการที่จะนำไปฝึกฝนให้เป็นบุคคลที่มีภาวะผู้นำ  และเป็น

บุคคลที่มีประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไปในวันข้างหน้า   สำหรับการบ้านที่ท่านให้มานั้นผมชื่นชอบบทบาทของผู้นำในแนวคิดของท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์มากที่สุด

Leadership  role  by  Chira  Hongladarom

  1. Crisis  management  ต้องหัดแก้ปัญหาที่ยากๆ
  2. Anticipate  change  ไม่รอให้ปัญหามาถึง
  3. Motivate  others  to  excellent  ต้องเน้นทฤษฎีการกระตุ้นให้คนอื่นเก่ง
  4. Conflict  resolution  หลีกเลี่ยงการขัดแย้ง
  5. Explore  opportunities  ต้องเปิดโอกาสให้มีการสร้างโอกาสใหม่ๆ
  6. Rhythm & Speed  ต้องมีจังหวะที่ดีที่จะฉกฉวย
  7. Edge ( Decisiveness ) มีการตัดสินใจที่รวดเร็ว
  8. Teamwork  การทำงานเป็นทีม

ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าประเภทประดับยนต์ส่ง  การแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดเพราะในแต่ละวันมีปัญหาซึ่ง

เราไม่คาดคิดเกิดขึ้นมาก  บางปัญหาที่เราคิดว่าน่าจะเกิดขึ้นก็จะพยายามแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า  ผมพยายามถ่ายทอดความรู้เพื่อให้พนักงานเก่งและทำงานอย่างมีคุณภาพ   และคอยดูแลไม่ให้เกิดการขัดแย้งขึ้นในองค์กร

หรือตัวผมเองในการทำธุรกิจก็จะพยายามไม่ให้เกิดการขัดแย้งขึ้นในระบบของการทำธุรกิจ  และคอยเปิดโอกาส

ให้มีโอกาสใหม่ๆที่ดีเข้ามา  และพยายามฉกฉวยโอกาสนั้นด้วยการตัดสินใจที่รวดเร็ว  ในการทำงานของผมเน้นการทำงานเป็นทีม  ด้วยเหตุนี้ผมจึงชอบแนวคิดของท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  มาก  เพราะคล้ายกับการทำงานของผม

ท้ายนี้ผมภูมิใจและเป็นเกียรติมากที่ได้รับความรู้จากท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 I.D.NO  006150002
นายสุวพัส เพียรพิจารณ์ชน ID 006150017
กราบเรียน      ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์      สวัสดีนิสิตนักศึกษาปริญญาโท (MPA) และชาว Blog  ทุกท่าน     ในวันที่ 21 มกราคม  2550  ที่ผ่านมานี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พวกเราชาว  MPA  STAMFORD ฯ ได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจากท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่ได้สละเวลามาบรรยายให้ความรู้ ในเรื่องภาวะผู้นำ  และอาจารย์ได้ให้การบ้านมาลงใน Blog  อีกเช่นเคย  ในความคิดเห็นของผมผู้นำควรจะมีตามสี่หัวข้อนี้  คือ1) Conflict resolution แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้  2) Create new opportunities. คือ ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว3) Rhythm & Speed สามารถฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม4) Teamwork ทำงานเป็นทีมกรณีศึกษา   ส่วนตัวแล้วทำงานเกี่ยวกับทางด้านการนำเข้าส่งออกสินค้าทางอากาศยาน   มักจะมีปัญหาหรือความขัดแย้งในองค์กรให้แก้ไขอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นควรจะมีการแบ่งรับแบ่งสู้  สำหรับปัญหาต่างๆ  ควรดูว่าปัญหาเกิดจากอะไร  แล้วจะแก้อย่างไร  ควรแก้ปัญหาให้ถูกจุด การทำงานกับคนหมู่มากเราต้องมีการทำงานที่เป็นทีมอยู่แล้ว ฉะนั้นควรมีการบริหารงานที่ดีควรมีการกระจายอำนาจที่ถูกวิธีโดยเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ออกความคิดเห็น  ซึ่งผมได้นำบทบาทผู้นำของท่านอาจารย์มาใช้ ในชีวิตประจำวัน คือ  1) Conflict resolution แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้   ผู้นำควรมีการวางแผนที่ดีมีการมองเห็นถึงอนาคต และรู้ระบบการทำงานทั้งหมด เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่จะเกิดได้และสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้  และควรหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือหน่วยงานของเรา2) Create new opportunities. คือ ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว   ผู้นำควรก้าวทันเทคโนโลยีรู้ว่าอันไหนสามารถนำมาใช้วิวัฒนาการในหน่วยงานได้สะดวกรวดเร็ว  เช่น อุปกรณ์ใหม่ๆ  ที่จะพัฒนาองค์กรของเราให้ไปประสบความสำเร็จทั้งเครื่องมือและบุคคลากร  โดยการเปิดโอกาสให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ3) Rhythm & Speed สามารถฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม  ผู้นำในองค์กรควรที่จะสร้างโอกาสที่ดีได้  ถ้าฉกฉวยโอกาสเหล่านั้นในเวลาที่เหมาะกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีเยี่ยม คือผู้นำต้องฉลาดหลักแหลมมองการไกลอยู่แล้วมันอยู่ที่เวลาและโอกาสเของแต่ละบุคคลว่าคนไหนมีลักษณะโดดเด่นอย่างไร  เพื่อที่จะจัดการได้อย่างเหมาะสม4) Teamwork ทำงานเป็นทีม    ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ควรมีการทำงานเป็นทีมเพื่อที่จะไปถึงจุดประสงค์ เป้าหมาย  ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และนำพาไปถึงการประสบความสำเร็จหรือเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้  การทำงานเป็นทีมสำคัญมากสำหรับหน่วยงานของผม  เพราะว่าการนำเข้าและส่งออกจะต้องผ่านพิธีการทาง ด้านศุลกากรหลายขั้นตอน  เพราะฉะนั้นควรมีการทำงานเป็นทีมเพื่อที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี              จากการที่ได้นำทฤษฎีผู้นำของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์   ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ภายในองค์กร  ซึ่ง 4 ทฤษฎีข้างต้นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้สำหรับผู้นำในทุกๆ ด้าน   เพื่อนำพาองค์กรไปในทิศทางที่ดีและประสบความสำเร็จขั้นสูงสุด
นาย สรรพวัฒน์ กิจปราณีนิจ ID 006250002
สวัสดีครับศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  สวัสดีครับ เพื่อน ๆ  พี่ ๆ  MPA  STAMFORD  INTERNATIONAL  UNIVERSITY ทุก ๆ คน ซึ่งได้รับความกรุณาจากท่าน   ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  มาบรรยายในวิชา  Leadership เมื่อวันอาทิตย์ที่  21  มกราคม  2550  ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ  ทำให้ผมได้รับความรู้  มุมมอง  แนวคิด  ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้เป็นอย่างดี  และท่านอาจารย์ได้ฝากแนวความคิดของบทบาทผู้นำทั้ง  3  ท่าน  ซึ่งประกอบด้วย
Stephen Covey   :  The  4  Roles  of  LeaderShip

- Path finding   คือ ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์และแสวงหาอนาคต

- Aligning   คือ ผู้นำต้องจัดระบบของคน  เรียบเรียงเป้าหมาย ให้ทุกส่วนไปในทิศทางเดียวกัน- Empowering   คือ ผู้นำต้องมอบอำนาจแก่ผู้ร่วมงานให้แสดงความสามารถและศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่ - Role Model   คือ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น  Chira  Hongladarom   : Leadership  roles  
- Crisis Management
 คือ ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤต ขององค์กรได้- Anticipate change   คือ การไม่รอให้ปัญหามาถึง  สามารถทำนายไว้ล่วงหน้าและวางแผน- Motivate people to be excellent   คือ ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ  - Conflict resolution   คือ แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้  และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง- Create new opportunities   คือ ผู้นำต้องเปิดโอกาสและสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว- Rhythm & Speed   คือ  สามารถใช้โอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม - Edge ( Decisiveness )   คือ  กล้าตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว - Teamwork   คือ  ทำงานเป็นทีมJack Welch   :  4 E's Leadership
- Energy
 คือ ความสุข  การกระตือรือร้น
- Energize 
คือ การกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานให้มีพลัง และสามารถ ทำงานในทิศทางเดียวกันได้
- Edge  คือ  ฉับไว  กล้าตัดสินใจ  พร้อมเผชิญกับปัญหา      
- Execution  คือ  เสร็จ  สำเร็จ วัดผลได้ จากแนวความคิดทั้ง 3 ทฤษฎี  มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของการทำงานเป็นระบบ แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว   การเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานเข้ามามีบทบาทแสดงออกถึงศักยภาพเพื่อผลงานจะออกมามีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 

บทบาทผู้นำแนวไหนที่คุณชอบหรือเหมาะกับตัวคุณมากที่สุด พร้อมยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาประกอบ  บทบาทของผู้นำแนวคิดของ ท่าน  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  เป็นบทบาทของผู้นำ ที่ผมสามารถนำมาใช้ได้จริง  คือ Crisis Management ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤต ขององค์กรได้ Anticipate change การไม่รอให้ปัญหามาถึง  สามารถทำนายไว้ล่วงหน้าและวางแผน  Motivate people to be excellent ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ Conflict resolution แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้  และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง  Create new opportunities ผู้นำต้องเปิดโอกาสและสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว  Rhythm & Speed สามารถใช้โอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว Teamwork  ทำงานเป็นทีมกรณีศึกษา  ตัวกระผมเองเคยทำงานร่วมกับสำนักเร่งรัดพัฒนาหัวหน้าฝ่ายออกแบบและสำรวจชนบท  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ในปี พ.ศ. 2543  ในฤดูฝน มีฝนตกมาก ท่านหนึ่ง เกรงว่าปีนี้น้ำจะมาก อาจเกิดอุทกภัยได้ จึงได้สั่งให้พนักงานทำการสำรวจแหล่งพื้นที่การกักเก็บน้ำ  เส้นทางการเดินทางของน้ำและทำการลอกคลอง ลอกท่อระบายน้ำตามเส้นทางต่าง ๆ ให้เกิดความคล่องตัวเมื่อมีน้ำมาก  เนื่องจากฝนตกมาก  ประกอบกับถนนบางเส้นทางเป็นการวางรูปถนนที่ขวางทางน้ำ  ทางหัวหน้าฝ่ายออกแบบและสำรวจ  ได้ทำการประสานงานกับกรมชลประทาน เพื่อขอทราบถึงข้อมูลตัวเลขการกักเก็บน้ำในเขื่อนและในอ่างเก็บน้ำในจังหวัด  และได้ทราบว่าข้อมูลตัวเลขการกักเก็บน้ำในเขื่อนนั้น  ไม่สามารถกักเก็บน้ำที่มากจนเกินจะรับได้  ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงจะทำการระบายน้ำจากเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ  เมื่อทราบดังนั้น  หัวหน้าได้รายงานต่อท่านเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดและท่านผู้ว่าจังหวัด ในขณะเดียวกันได้รีบเร่งประสานงานกับผู้รับเหมาในท้องที่และแจ้งต่อหน่วยงานท้องถิ่นให้ทำการเตรียมตัวรับสภาวะเกิดน้ำท่วมได้  และรีบเร่งทำทางเบี่ยงของน้ำ  และในบางพื้นที่ถึงกับต้องขุดรื้อถนนบางช่วงออกเพื่อไม่ให้พื้นที่ทางเกษตรกรรมต้องจนใต้น้ำ ซึ่งในพื้นที่ต่าง ๆ ประกอบด้วย นาข้าว  นากุ้ง  บ่อปลา สวนมะม่วง  ไร่สับปะรด มะนาว และอื่น ๆ อีกมากมาย  เมื่อทางกรมชลประทานระบายน้ำออกจากเขื่อนและอ่างเก็บน้ำมามากเพื่อรักษาตัวเขื่อนไว้  แต่ก็ก่อให้เกิดความเสียหายพอสมควร  เนื่องจากทุกคนได้รับทราบข้อมูล   เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่บทบาทของผู้นำมีความสำคัญ ดร.ปุระชัย  เป็นผู้นำแบบ  Role Model   เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสถาบันครอบครัว  สังคม   สนใจการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีโลกทัศน์กว้างไกล การอ่านคือการเรียนรู้ มีความเสียสละ ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง ไม่ฟุ้งเฟ้อ สมถะ สุขุม ฉลาดทางความคิด ฉลาดทางอารมณ์ รักและดูแลครอบครัว .
ร.ต.ท.จารุพัฒน์ ดาวล้อมจันทร์
 กราบเรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  , สวัสดีพี่ๆ น้องๆ นักศึกษา MPA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และท่านผู้อ่านทุกท่านเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ม.ค. 2550 ที่ผ่านมา กระผมยังคงได้รับเกียรติอย่างสูงยิ่งจาก ศ.ดร.จีระ มาบรรยายในหัวข้อเนื้องหาเรื่องภาวะผู้นำ อีกเช่นเคยโดยในครั้งนี้ท่านได้นำเอาตัวอย่างระหว่างคุณภราดร และคุณดนัย และภาวะผู้นำทางตะวันตกและตะวันออก พร้อมทั้งศึกษาภาวะผู้นำของดร.อำนวย วีรวรรณ และดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ มาให้พิจารณา  และเสนอความคิดเห็นกัน  โดยตอนท้ายท่าน ศ.ดร.จีระ  ได้ฝากงานให้ดำเนินการ 1 ข้อ นั่นก็คือ"บทบาทของผู้นำแนวไหนที่คุณชอบหรือเหมาะสมกับตัวคุณที่สุดพร้อมทั้งยกกรณีศึกษาประกอบ"โดยที่ให้เรานำเอาแนวคิดของ 3 นักคิดที่ผลจะขอนำเสนอดังต่อไปนี้                   ในส่วนของแนวคิดของ 3 นักคิด คือ - Stephen Covey1. Path Finding  คือ ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์ และแสวงหาอนาคต2. Aligning คือ ผู้นำต้องสร้างระบบการทำงานให้ทุกส่วนไปในทิศทางเดียวกัน3. Empowering คือ ผู้นำต้องมอบอำนาจแก่ผู้ร่วมงานให้แสดงความสามารถและศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่4. Role Model คือ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น- Jack Welch1. Energy คือ ผู้นำต้องมีไฟ2. Energize คือ ผู้นำจะต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง3. Edge คือ ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจโดยใช้จังหวะฉกฉวยให้ดี4. Execution  คือ ผู้นำต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้- Chira Hongladarom1. Crisis Management คือ ผู้นำต้องแก้ปัญหาวิกฤตขององค์กรได้2. Anticipate Change คือ ผู้นำต้องดักปัญหาล่วงหน้า3. Motivate others to be excellent คือ ผู้นำต้องกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ4. Conflict resolution คือ แก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรได้5. Create new opportunities คือ ผู้นำต้องสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยใช้จังหวะและความเร็ว6. Rhythm & Speed คือ สามารถฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสม7. Edge (Decisiveness) คือ กล้าตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว 8. Team work คือ ทำงานเป็นทีม            กระผมรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจดำรงตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวน ซึ่งงานในหน้าที่ในตอนนี้ถือว่าเป็นตัวเชื่อมตรงกลางระหว่างผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งส่วนใหญ่ต้องอาศัยการตัดสินใจที่เด็ดขาดรวดเร็ว โดยในข้อนี้เป็นสิ่งที่จะต้องอาศัยประสบการณ์ และความชำนาญอย่างยิ่ง เนื่องจากในการตัดสินใจทำอะไรไปอย่างรวดเร็วแล้วนั้น อาจเกิดผลเสียขึ้นมาได้ ยกตัวอย่าง  ในกรณีของเหตุร้ายต่างๆ  มักจะมีนักข่าวติดต่อเข้าขอข้อมูลต่างๆ  เพื่อไปนำเสนอ  หากเราเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในขณะนั้นให้ข่าวไป ก่อนที่จะได้มีการปรึกษาผู้บังคับบัญชาให้รอบคอบ  เมื่อข่าวนำเสนอออกไปยิ่งจะส่งผลเสีย-ดีต่อการทำงานของเราเองได้  จึงมักจะต้องอาศัยประสบการณ์  และการฉกฉวยโอกาสและจังหวะได้อย่างเหมาะสมด้วย    ซึ่งในการทำงานของกระผมนั้นหากจะให้นำเอาทฤษฎีของคนใดคนหนึ่งมาใช้นั้นคงจะไม่ได้  ต้องอาศัยหลายๆ  แบบผสมกันเพราะในการทำงานในการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้นไม่มีรูปแบบใดที่ตายตัว  ,ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทั้งดี ไม่ดี  ผู้บังคับบัญชาที่ทั้งดี - ไม่ดี  ทำอย่างไรที่จะอยู่ร่วมกันและทำงานต่อไปให้ประสบความสำเร็จได้  ก็ต้องอาศัยการทำตัวเป็นแบบอย่าง และมีจิตใจที่มั่นคง แน่วแน่ในการทำงาน  ยีดหยุ่น แต่ไม่ยืดยาด  สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Team work)  สรุปแล้วหากดูแล้วแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  จะเป็นแนวคิดที่เหมาะสมมากที่สุดในการทำงานในหน้าที่ของกระผมครับ            ในการที่ได้รับการศึกษาในเนื้อหาของวิชานี้ถือว่าเป็นสิ่งที่จะเพิ่มพูนศักยภาพ และประสิทธิภาพในการทำงาน  และยิ่งได้รับเกียรติอย่างสูงจาก ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการ และเนื้อหาแล้วยิ่งได้รับทราบ และสามารถเก็บเกี่ยวรูปแบบ ในการดำเนินการ  จนกระทั่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างสูงยิ่ง ร.ต.ท.จารุพัฒน์   ดาวล้อมจันทร์     รหัส    006150003 
นาย อัคระ ดาวล้อมจันทร์ ID 06150001

สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนนักศึกษาMPA รวมถึงทีมงานและท่านผู้อ่านBlog ChiraAcademy ทุกท่าน

อาทิตย์ที่4ก.พ.2550ที่ผ่านมานี้นับเป็นอีกหนึ่งอาทิตย์ที่มีการเรียนการสอนบทบาทภาวะผู้นำLeadership&Coachingในช่วงเช้า9.00น.-12.00น.ใน3ชั่วโมงของการรับฟังบรรยายได้รับองค์ความรู้เพิ่มและที่สำคัญยังได้รับเกียรติจากท่านอ.ยม นาคสุข มาแปลและช่วยเสริมเพิ่มเติมในการรับฟังบรรยายด้วยความเป็นกันเอง และเข้าใจมากขึ้น จึงสรุปการบรรยายของMr.Leigh Scott ที่จะนำไปต่อยอดองค์ความรู้ กล่าวคือ Leadership&Coaching

 การที่จะเป็นLeadershipที่ดีได้นั้นต้องมีหลายองค์ประกอบ ยกตัวอย่างเช่นท่านปราชญ์ "ซุนวู"คือรู้เขารู้เรา เมื่อนำปรับใช้กับภาวะผู้นำLeadershipก็คือการมองงานเป็นทีม /พฤติกรรม /จุดอ่อน-จุดแข็ง

ทีมงาน เช่นเพื่อนร่วมทีมลูกน้องต้องเข้าใจว่าลูกทีมหรือผู้ร่วมทีม

-มีแนวความคิด

-มีหลักการและเหตุผล

-สนองตอบไม่ว่าอารมณ์หรือพฤติกรรม

-เน้นประสบการณ์

พฤติกรรม การกระทำในกลุ่มทีมงานหรือลูกน้องในทีมงาน

-ตรงต่อเวลา

-ขยัน

-ขี้เกียจ

-มีแนวคิดริเริ่มใหม่

ยุทธศาสตร์การจัดการ เห็นจุดอ่อนในองค์กรนำมาปรับปรุงแก้ไขปัญหาเพื่อให้เป็นจุดแข็งและยุทธศาสตร์เสริมเพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในองค์กรนั้นๆ ดังคำพูดที่ว่า รู้เขารู้เรา เป็นต้น

ในช่วงบ่าย13.00-17.00น. ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เชิญท่านอ.พิทยา พุกมาน อดีตท่านฑูตในหลายประเทศที่ท่านเคยไปดำรงตำแหน่งมาแล้วเกือบทั่วโลกมาบรรยายถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาMPAม.แสตมฟอร์ด และยังเป็นที่ภูมิใจของนักศึกษาMPA ก็คือเป็นครั้งแรกของท่านที่ได้รับเชิญมาบรรยาย สิ่งที่ได้รับก็คือ ประเทศที่เจริญในเอเซีย คือญี่ปุ่น และประเทศที่เจริญในแถบลาตินอเมริกา วัฒนธรมม ความเป็นอยู่ สังคมและการเมือง

เช่นประเทศญี่ปุ่น ที่ท่านมองเห็นและรวบรวมไว้ประมาณ10ประเด็นใหญ่ ที่ทำให้คนในชาติพัฒนาและประสบความเจริญรุ่งเรืองทั้งที่อดีตเคยเป็นประเทศแพ้สงครามแต่กลับมาเจริญเป็นผู้นำในเอเซียได้โดยยึด

-การมีวินัย

-ความขยันอดทน

-มีการสร้างสรรค์

-มีทีมWork

-ชอบการอ่าน

-ความสะอาดบริสุทธิ์

-ความรับผิดชอบ

-มารยาททางสังคม

-การมีศักดิ์ศรี

-การพัฒนาตนเองตลอดเวลา

นี่คือ10ประเด็นในแนวคิดของท่านและได้นำมาถ่ายทอด

ส่วนทางลาตินอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย อเมริกาใต้/อเมริกากลาง/แคนเดียน/แคริเบียน ที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจและมีความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจก็คือประเทศชิลี และประเทศที่ล้มเหลวทางการเมืองก็คือประเทศโบลิเวีย เอกาดอร์ ประเทศพวกนี้ ผู้นำ จะเอาใจประชาชนและมักจะต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ เพราะระบบทุนนิยมไม่สามารถประสบผลสำเร็จในประเทศเหล่านี้เป็นต้น

สรุป ในอาทิตย์ที่ผ่านมานี้สิ่งที่ได้รับ

-แนวคิดใหม่ๆและการแลกเปลี่ยนแชร์ความรู้

-ภาษา

-ประสบการณ์ที่ได้รับฟัง

เพื่อให้นักศึกษาได้นำไปพัฒนาและต่อยอดความรู้ที่ไม่รู้จบ

ท้ายนี้ของกราบขอบพระคุณท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Mr.Leigh Scott

ท่านอ.พิทยา พุกมาน

ท่านอ.ยม นาคสุข และคุณเอราวรรณ แก้วเนื้ออ่อน

มาณโอกาสนี้

 

 

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

                ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระที่ได้ให้โอกาสนักศึกษาได้รับการอบรมจาก GUEST LECTURERS ผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศ 3 ท่าน ดังมีรายนามต่อไปนี้ คือ1.       MR. PETER  BJORK อบรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 25502.       MR. LEIGH  SCOTT อบรมเมื่อวันอาทิตย์ที่  4 กุมภาพันธ์ 2550 (ช่วงเช้า)3.       Dr. PITHAYA   POOKAMAN อบรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550 (ช่วงบ่าย)และต้องขอบพระคุณ Dr. YOM  NARKSUK ผู้ให้ความกระจ่างในเชิงวิชาการที่บรรยายใน           หลากหลายแง่มุม1.   MR. PETER  BJORK ชาว SWEDISH ตำแหน่ง MANAGING DERECTOR OF CENTER FOR CHANGE MANAGEMENT (CCM) ได้บรรยายเรื่อง LEADERSHIP IN A CHANGING WORLD (FOCUS ON PUBLIC SECTOR) โดยมี PROGRAM การบรรยายในหัวข้อหลัก คือ4 TRIGGERS OF CHANGES4 STRATEGIES FOR CHANGES4LEADERSHIP DEFINITIONS AND LEADERSHIP STYLE4 LEADERSHIP FOR CHANGE4TRIGGERS OF CHANGE (ความจำเป็น เหตุ ในการเปลี่ยนแปลง)                = LAWS & REGULATIONS                = DEREGULATIONS OF MARKETS                = GLOBALIZATION= SHORTER PRODUCT LIFE CYCLES(ซึ่งสามารถเปรียบกับ P E S T , P การเมือง (POLITICAL) , E เศรษฐกิจ (ECONOMY) , S สังคม (SOCIAL) และ T  เทคโนโลยี IT (TECHNOLOGY)         4STRATEGIES FOR CHANGES, 2 STYLES (2 ยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลง)                   เป็นผลจากการ RESEARCH จาก U.S.A. และ SWEDENTOP  DOWN (PROGRAMMATIC) (จากบนลงล่าง ) “TEACHING&APPLICATION OF EXISTING KNOWLEDGE”                = CHANGE DRIVEN BY MANAGEMENT                = CAREFUL PLANNING                = MANY EXPERTS INVOLVED                = INSPIRATION FROM SUCCESS CASES                = WELL-TRIED AND DOCUMENTED METHODS                = FROM ‘EXISTING STATUS’ TO ‘ DESIRED STATUS’                = FOCUSING ON A SINGLE (OR FEW) THEME (S)                = DRAWS UPON EXPERIENCE/SKILLS/KNOWLEDGE FROM FEW SELECTED MANAGERS/EMPLOYEES/EXPERTS                = LIMITS THE ORGANIZATIONAL CAPACITY TO DEAL WITH WELL-DEFLNED PROBLEMS OR A “FROZEN”PICTURE OF EXISTINGAND DESIRED STATE AFFAIRSBOTTOM – UP  (LEARNING) (จากล่างขึ้นบน) “STEPWISE CREATION OF MEANING &UNDERSTANDING”= TOP DOWN & BOTTOM – UP= DECENTRALIZED CHANGE RESPONSIBILITY= MANY PEOPLE INVOLVED= GROWING BY BROADENING I.E. SEVERAL FOCUSES= LEAD BY VISIONS= IMPROVISATION AND PLANNING= CONSIDERING EXTERNAL FACTORS= DRAWS UPON THE EXPERIENCES / SKILLS / KNOWLEDGE OF MANY ACTORS= INCREASE THE ORGANIZATIONAL CAPACITY TO CONTINUOUSLY SOLVE CHANGING ENVIRONMENTAL AND COMPLEX DEMANDS   

RESEARCH RESULTS

PROGRAMMATIC STRATEGY:·       LIMITED CHANGES, THROUGH SPECIAL ACTIVE GROUPS·       CHANGE ACHIEVED IS NOT LONG LASTING·       DIFFERENT OPPINIONS BETWEEN PRODUCERS AND CONSUMERS OF CHANGELEARNING STRATEGY:·       MANY DIFFERENT KINDS OF CHANGES IN DIFFERENT AREAS OF THE ORGANISATION ·       INCREASED ABILITY TO HANDLE CHANGE – PROCESSES, REDUCED FEAR FOR CHANGE ·       SHARED MENTAL MODELS

DEFINITION OF MANAGEMENT, LEADERSHIP AND LEADERSHIP STYLE

                MANAGERS ARE PEOPLE IN FORMAL POSTITONS IN ORGANIZATIONS WHO FOCUS ON THE ROUTINES OF AN ORGANISATION. IN ESSENCE, THE ROLE OF A MANAGER IS TO ALLOCATE THE ORGANISATION’S RECOURSES AND TO ENSURE THAT THESE ARE UTILIZED FOR MAXIMUM EFFICIENCY, IN ORGANISATIONJS, AND ELSEWHERE,LEADERS TEND TO  HAVE INFORMAL POWER OVER THE ACTIONS OF OTHERS, THE ROLE OF A LEADER IS TO ENSURE THAT THE ORGANIZATION’S EMPLOYEES ARE ALIGNED FOR EFFECTIVE ACTIONS, IT IS ALSO POSSIBLE TO CONSIDER MANAGEMENT AND LEADERSHIP AS DIFFERENT ORGANISATIONAL PROCESSES.                LEADERSHIP STYLE IS THE BEHAVIOUR PATTERN THAT A PERSON EXHIBITS WHEN ATTEMPTING TO INFLUENCE THE ACTIVITIES OF OTHERS AS PERCEIVED OF THOSE OTHERS. LEADERSHIP STYLE CAN ALSO BE DEFINED AS ‘BEHAVIOURS USED BY INDIVIDUALS IN THEIR LEADERSHIP’   

THE MANAGERIAL GRID

                BLAKE AND MOUTON DEVELOPED THE MANAGERIAL GRID WHICH IDENTIFIES FIVE DIFFERENT LEADERSHIP STYLES THROUGH COMBINING TWO DIMENSIONS, CONCERN FOR PEOPLE AND CONCERN FOR PRODUCTION.                 THE TEAM LEADERSHIP (9,9) IS REGARDED AS THE IDEAL LEADERSHIP STYLE, THIS STYLE DESCRIBES A LEADER WITH VISIONS, WHO INSPIRES THE EMPLOYEES, PROMOTES TEAMWORK, DEFINES OBJECTIVES, SOLVES PROBLEMS AND IS APPROACHABLELEADERSHIP ISSUES HAVE INCREASED IN IMPORTANCE FOR EXAMPLE IN:·       COMMUNICATING GOALS AND VISIONS·       INCREASING COMPANIES’ COMPETITIVE ADVANTAGE·       IMPLEMENTING ORGANIZATIONAL CHANGE AND DEVELOPMENT·       INFLUENCING AND TRANSFORMING EMPLOYEES’ NEEDS AND ATTITUDES·       CREATING HIGH PERFORMING TEAMS AT DIFFERENT LEVELS·       CREATING CORPORATE VALUES AND CULTURE

LEADERSHIP STYLES – 50 YEARS RESEARCH

·     ผู้นำยุคใหม่ CONCERN FOR PEOPLE, DEMOCRATIC, PERSONNEL, THEORY Y, RELATIONSHIP, SUPPORTIVE, CONSIDERATION·     ผู้นำยุคเก่า CONCERN FOR PRODUCTION, AUTHORITY, PRODUCTION, THEORY X , TASK ORIENTED, DIRECTIVE, STRUCTUREFARAX PROFILES ข้อมูลฟาแรกซ์ แบ่งผู้นำเป็น 6 ประเภท1.       NICE GUY  คนดี(เน้นความสัมพันธ์ , ไม่เน้นความเปลี่ยนแปลง , ไม่เน้นโครงสร้าง)2.       BUREAUCRAT  เป็นทางการ (เน้นโครงสร้าง, ไม่เน้นความเปลี่ยนแปลง, ไม่เน้นความสัมพันธ์)3.       GARDENER คนสวน (เน้นความเปลี่ยนแปลง, เน้นความสัมพันธ์, ไม่เน้นโครงสร้าง)4.       TRANSACTIONAL (เน้นโครงสร้าง, เน้นความสัมพันธ์ , ไม่เน้นความเปลี่ยนแปลง)5.       ENTREPRENEUR เจ้าของกิจการ (เน้นความเปลี่ยนแปลง, เน้นโครงสร้าง, ไม่เน้นความสัมพันธ์)6.       VISIBLE (SUPER LEADER) ชัดเจน (เน้นความเปลี่ยนแปลง, เน้นโครงสร้าง, เน้นความสัมพันธ์)นอกจากนี้ MR. PETER  BJORK ยังได้บรรยายเรื่อง ฟาแรกซ์ การพัฒนาความเป็นผู้นำ (FARAX – LEADER DEVELOPENT) เป็น  FARAX 360 – DEGREE คือ การวัดความเป็นผู้นำประเมิน 360องศารอบตัว ซึ่งผู้เกี่ยวข้องมี หัวหน้า, เพื่อนร่วมงาน , ผู้ใต้บังคับบัญชา และตัวเอง ได้กล่าวถึงขั้นตอนของฟาแรกซ์(THE FARAX PROCESS) ตั้งแต่ ข้อมูลฟาแรกซ์ การวัดค่า ผลของฟาแรกซ์ของแต่ละบุคคล การบริหารผลฟาแรกซ์ การปรึกษาในกลุ่ม ทำซ้ำการวัดค่า การวัดผลฟาแรกซ์ (FARAX MEASUREMENTS) โดยการใช้แบบฟอร์มคำถามแล้วสรุปออกมาเป็นรายงานโดยให้รายละเอียด·     พฤติกรรมของผู้นำ (ตามจริง)·     ความสำคัญของพฤติกรรมของผู้นำ (ควรเป็น)·     ความสามารถของผู้จัดการ·     ความต้องการขององค์กร·     ความมีประสิทธิภาพของหน่วยงานผลลัพธ์จากการใช้ FARAX 360 – DEGREE·     ผู้จัดการมีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง·     มีทัศนคติที่เปิดกว้าง·     ได้ผลในระดับสูง·     มีช่องว่างระหว่างการวัดค่าด้วยตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา·     ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการการควบคุมและการเปลี่ยนแปลง·     ผู้จัดการมีการแก้ปัญหา·     ผู้จัดการต้องการการติดตามผล ด้วยการวัดค่าอื่น ๆLEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)·     มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน·     มีความอดทน อดกลั้น·     บริหารโดยวัตถุประสงค์ (MBO)·     ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน·     คลี่คลายข้อโต้แย้ง  ในระหว่างการอบรม MR. PETER  BJORK ได้ให้แบ่งกลุ่มแสดงความคิดเห็นเรื่องยุทธศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลง จากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน พร้อมยกตัวอย่างประสบการณ์ที่ประสบในองค์กรของไทย และยุทธศาสตร์จากล่างขึ้นบน สามารถนำมาใช้ในองค์กรของไทยอย่างไร? ต่อมาก็ได้ให้นักศึกษาพูดถึงรูปแบบผู้นำในองค์กรของนักศึกษาเอง และผู้พูดต้องการผู้นำแบบใด? พร้อมทั้งยกตัวอย่างผู้นำที่มีความแกร่งด้านความสัมพันธ์, โครงสร้าง, และบริหารความเปลี่ยนแปลง 2.   MR. LEIGH  SCOTT ชาว AUSTRALIAN ตำแหน่ง MANAGING DERECTOR OF DRAKE BEAM MORIN (DBM) จบการศึกษาด้าน ECONOMICS จาก SYDNEY UNIVERSITY และ AMP จาก HARVARD UNIVERSITY.ท่านได้บรรยายเรื่องผู้นำและการสอนงาน LEADERSHIP AND COACHING (FOCUS ON PUBLIC SECTOR) โดยท่านเริ่มจากการให้นักศึกษาทุกคนทำแบบสอบถาม QUESTIONNAIRE ซึ่งเป็นแบบสำรวจตนเอง ชื่อว่า I-SPEAK YOUR LANGUAGE คิดค้นโดย MR.CARL JUNG ชาวสวิส เพื่อช่วยให้แต่ละคนระบุข้อดีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยให้ตอบคำถามโดยใช้หมายเลข 4, 3, 2, 1 โดยที่คะแนนรวมในสภาวการณ์ปกติ = 90 และในสภาวะกดดันหรือเครียดก็    = 90 ก็จะทาบถึง PERSONAL STYLES คือรูปแบบของแต่ละบุคคลในสภาวการณ์ปกติ และเครียดคือทำให้รู้จักตัวเอง และช่วยในการสื่อสารกับบุคคลที่อยู่ในรูปแบบอื่น โดยรูปแบบของบุคคล แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ (THE FOUR BASIC STYLES – BEHAVIOUR)                I = INTUITOR ช่างคิด คาดการณ์ ชักนำ                I = THINKER วิเคราะห์ มีเหตุผล                F = FEELER เชื่อมโยง เข้าใจ สนองตอบอารมณ์                S = SENSER เน้นประสบการณ์ของตนเองตรงกับ ซุนวู ที่กล่าวว่า รู้เขา รู้เรา รอบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง (คือรู้จักลูกน้อง / ทีมงาน ว่ามี    พฤติกรรมอย่างไร)  เช่น
พฤติกรรมทีมงานที่ไม่พึงประสงค์
1.     ชอบมาสาย2.       ไม่ขยัน  เป็นต้น
พฤติกรรมทีมงานที่พึงประสงค์
1.     ตรงต่อเวลา2.       ขยันเป็นต้นโดยมีเครื่องมือวัดช่องว่าง (GAP) และแล้วจึงใช้ยุทธศาสตร์การจัดการจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง                โดยสรุป การทำแบบสำรวจเพื่อวัตถุประสงค์ในการหารูปแบบการสื่อสารและทำความเข้าใจกับผลกระทบที่มีต่อรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสื่อสาร และเคล็ดลับของรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในการพูดและการเขียน เพื่อให้รู้และปรับรูปแบบเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าใจถึงจุดแข็ง และความท้าทายของรูปแบบการสื่อสาร และเพื่อนำรูปแบบการสื่อสารของเราไปใช้กับการสื่อสารทางอีเมล์ความเสี่ยงของการสื่อสารที่แย่ : ความไม่เข้าใจ, การคาดเดา, ข่าวลือ, ความคิดดี ๆ ไม่ได้นำมากล่าวข้อดีของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ : การส่งข่าวสารข้อมูลรวดเร็ว, มีความชัดเจนในข่าวสารข้อมูล,  ลดความไม่จำเป็นในการตรวจสอบซ้ำ, ลดเวลาและความพยายาม, อารมณ์สงบ 3.   Dr. PITHAYA   POOKAMAN – AMBASSADOR –ดร. พิทยา พุกมาน อดีตเอกอัครราชฑูต ประเทศญี่ปุ่น และลาติน อเมริกา
                ท่านได้มาบรรยายเรื่องการบริหารและเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นกับลาติน อเมริกา เช่น
ชิลี, บราซิล , อาเยนติน่า, เม็กซิโก ฯลฯ เมื่อเปรียบเทียบญี่ปุ่นกับประเทศทางลาตินอเมริกา ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาที่สูง ซึ่งทางลาติน อเมริกายังนับว่าด้อยพัฒนากว่ามาก โดยก่อนอื่น ท่าได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ในด้านสังคม, วัฒนธรรม, การบริหาร, โดยที่ไทยได้เปรียบด้านทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าญี่ปุ่น ดังนั้นญี่ปุ่นจึงเป็น TRADING COUNTRY ซึ่งใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีความชำนาญด้านทรัพยากรมนุษย์, เชี่ยวชาญด้านการบริหาร, ส่งเสริมการศึกษา  นักศึกษาไปเรียนต่างประเทศเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ยุคจักรพรรดิ์เมจิสรุปบัญญัติ 10 ประการ ว่าเหตุใดญี่ปุ่นจึงมีความเจริญมากกว่าไทย1.     ญี่ปุ่นมีวินัยมากกว่า (DISCIPLINE) เช่น การตรงต่อเวลา2.     การบริหารงาน คำขวัญของญี่ปุ่น คือ NO WASTE เน้นการประหยัด ซึ่งท่านได้อธิบายถึงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงก็ต้องมีวินัย3.     ญี่ปุ่นมีความขยันหมั่นเพียร และอดทนมากญี่ปุ่นมี ENTERPRISING SPIRIT คือมีความมุ่งมั่นในการก้าวไปข้างหน้า สร้างสรรค์ เช่น เป็นนักธุรกิจก็พยายามหาตลาดใหม่ ๆสังคม : ญี่ปุ่นปัจจุบันปรับเปลี่ยนนิสัยอยากลองของใหม่ ๆ ส่วนคนไทยส่วนใหญ่ก็จะจับกลุ่มกันเองไม่มั่นใจ4.     ญี่ปุ่นมีการทำงานเป็น TRAM WORK  อย่างดี ญี่ปุ่นทำงานแบบฉันทามติญี่ปุ่นมีผู้นำที่ดี ผู้ตามจึงดีด้วย คนญี่ปุ่นมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหรือหน่วยงาน บริษัทของตน คนญี่ปุ่นจะไม่ค่อยเปลี่ยนงาน และพร้อมอุทิศเวลาส่วนตัวเพื่อองค์กรของตน ( COMPANY LOYALTY) จนมีคำพูดติดตลกว่า WORKAHOLIC5.     คนญี่ปุ่นชอบอ่านหนังสือ ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ6.     คนญี่ปุ่นมีอุปนิสัยรักความสะอาด บริสุทธิ์ สังเกตุจากคนญี่ปุ่นชอบ อบเซาว์น่า แช่ตัวศาสนาชินโต ความบริสุทธิ์ (PURITY) – จึงส่งผลถึงชีวิตประจำวัน สังคม การเมือง7.     ญี่ปุ่นมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ เชื่อเรื่องการช่วงเหลือสังคม8.     ญี่ปุ่นมีกิริยามารยาททางสังคมดี9.     ญี่ปุ่นมีความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตนเอง จะไม่ทำงานบกพร่องต่อหน้าที่ หรือทำอะไรที่เสียหน้าในสาธารณสถาน เพราะเกี่ยวโยงกับธรรมาภิบาล10.   ญี่ปุ่นเป็นคนเล็งผลเลิศ ไม่หยุดอยู่กับที่ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอนอกจากนี้ท่าน ดร.พิทยา ยังได้เปรียบเทียบระหว่าง เอเชียตะวันออก (เช่น ญี่ปุ่น , เกาหลี, จีน, ไทย) และลาติน อเมริกา ในแง่ ความเจริญทางเศรษฐกิจ, ความเป็นสากลทางเศรษฐกิจ, อัตราการออมเงินค
ความขยัน,  ธรรมาภิบาล, วินัยทางการเงิน, เสถียรภาพทางการเมือง, มุมมองของสังคมและ        วัฒนธรรม ซึ่งโดยรวมประเทศทางเอเชียตะวันออกมีมากกว่าดร.พิทยา ยังได้เล่าถึงความล้มเหลวในระบบเศรษฐกิจของ VENESUELLA , ARGENTINAวิกฤตเศรษฐกิจของอาร์เจนติน่า เกิดจากความฟุ่มเฟือย (OVER SPENDINE) ทำให้เกิด HYPER – INFLATION เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของธนาคาร ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ ความสามารถในการแข่งขันจึงลดลง เศรษฐกิจจึงถดถอย (RECESSION) จึงถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดลง ดังนั้นต่างประเทศก็ไม่มั่นใจที่จะติดต่อด้วย ดังนั้นเศรษฐกิจของ ARGENTINA จึงย่ำแย่ และไม่สามารถชำระเงินที่กู้ยืมมาได้ ประมาณ 88,000 พัน ล้านเปโซ รัฐบาลจึงต้องการปรับ    ค่าเงินจาก 1US$ = 1 เปโซ เป็น 1US$ = 3 เปโซ ซึ่งทำให้นักศึกษา MPA ได้ข้อคิดดี ๆ มาก และทราบถึงปัญหาของประเทศอื่น ซึ่งประเทศไทยก็น่าจะดูได้เป็นบทเรียน และไม่ปฏิบัติตามค่ะ                 สุดท้ายนี้ ก็ต้องขอกราบของพระคุณท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้ให้โอกาสนักศึกษาได้ฟังการบรรยายของ GUEST LECTURERS ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์อันกว้างไกลแก่นักศึกษา เสมือนปลูกพืชแห่งวิชาความรู้ให้ปัญญา และใส่ปุ๋ย เหมือนดั่งสุภาษิตที่กล่าวว่า   ปลูกพืชล้มลุข 3-4 เดือน, ปลูกพืชยืนต้น 3-4 เดือน, ปลูกพืชคน--ทั้งชีวิตน.ส. สมร  ดีสมเลิศ  
นายฉัตร์ตรา ดาวล้อมจันทร์

สวัสดีครับครับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงาน พร้อมเพื่อนนิสิตนักศึกษา MPA รวมถึงผูอ่านBLOG   CHIRA ACADEMY ทุกท่าน

         นับเป็นครั้งที่4ของการเรียนการสอนบทบาทภาวะผูนำ LEADERSHIP  โดยในครั้งนี้ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้เชิญMR.LEIGH SCOTT  มาบรรยายพิเศษในหัวข้อLEADERSHIP & COACHING และได้รับเกีรยติจากท่าน อ.ยม นาคสุข มาช่วยรวมบรรยายแปลและเสริมในการรับฟังในช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 4 ก.พ. 2550 ใจความพอสรุปได้ของ MR. LEIGH SCOTT คือรูปแบบสื่อการเสนอแนะการประเมินผลและการเปรียบเทียบ DOM THAILAND ที่ประสบความสำเร็จ เช่น การจะดำเนินธุรกิจอะไรก็ตามถ้ารูและเข้าใจในปัญหาพื้นที่ทุกอย่างก็จะประสบผล หรือที่เรียกว่า รู้เขา-รู้เรา ของท่านนักปราชญ์ ซุนวู แต่การดำเนินธุรกิจย่อมมีอุปสรรคในการทักทายของการเผชิญปัญหาเช่น ทีมงาน / พฤติกรรม/จุดอ่อน-จุดแข็ง- ที่ต้องการนำมาปรับปรุงแก้ไข

ทีมงานก็เช่น - มีความพร้อมในตัวบุคคลในงานนั้นๆไหม ?

พฤติกรรม      - การตรงต่อเวลา

                     -   ขยันมีมานะ

                      -  ขี้เกียจหรือเบื่อหน่ายง่าย

จุดอ่อน-จุดแข็ง - ต้องเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น

                          - กล้าตัดสินใจในปัญหานั้นๆ

                          - แก้ไขจุดอ่อนพลิกโอกาสให้เป็นจุดแข็งเพื่อนำไปพัฒนา

                         - เสริมสร้างยุทธศาสตร์จัดการสัมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้

                         - ปรับเปลี่ยนแผนเมื่อเผชิญปัญหาให้เป็น

  ช่วงบ่าย ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้เชิญท่าน อ.พิทยา พุกมาน มาบรรยายเพราะท่านมีประสบการณ์เคยเป็นอดีตทูตมาหลายประเทศเกือบทั่วโลกมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังเมื่อเพิ่มเสริมความรู้ ในด้าน ความเจริญ/ วัฒนธรรม/สังคมการเมือง

เช่นไทย - ญี่ปุ่น ทั้งที่ประเทศไทยมีความร่ำรวยและมั่นคงในทรัยพยากรมากว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เคยแพ้สงครามมาแล้ว ก็คงเป็นเช่นที่ท่านว่า ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่ามนุษย์ คือทุนความรู้ ทุนทางปัญญา กล่าวคือคนเป็นปัจจัยหลักในการนพัฒนาประเทศเหมือนดั่งที่ท่านอ. พิทยา พุกมาน รวบรวมไว้ประมาณ 10 ประเด็นใหญ่ๆก็คือ

- การมีวินัย ตรงต่อเวลา

- มีความขยัน อดทน

-มีการสร้างสรรค์ ในสิ่งใหม่ๆ

-มีทีม WORK ที่ดี

-ปลูกฝังให้รักการอ่าน

เน้นความสะอาด

-มีความรับผิดชอบ

- มีมารยาท

-มีศักดิ์ศรี

-มีการพัฒนาตนเองอยู๋เสมอ

 นี่คือ 10 ประเด็นที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศญี่ป่นประสบความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองมาทุกวันนี้ หรือเช่นประเทศภูฎาน ซึ่งท่านเอาศาสนานำการทูตที่ท่านประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับมาถ่ายทอดและเล่าใหพวกเราฟัง

ส่วนด้าน ลาตินอเมริกา ซึ่งยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จไม่ว่าด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ เพราะผู้นำส่วนใหญ่ไม่ว่าโบลีเวีย เอกวาดอร์ มักจะเอาใจประชาชน เสียมากว่า เพราะยังไม่ยอมรับในระบบทุนนิยม เป็นต้น

สรุป ในช่วงเช่าถึงเย็น ได้เห็นความริเริ่มใหม่ๆในการนำอาจารย์พิเศษมาบรรยาย และแลกเปลี่ยนเสนอแนะ ความรู้เพื่อให้นักศึกษา นำไปพัฒนาตัวเองและองค์กรให้เกิดประโยชน์ต่อไป

ขอกราบ ขอบพระคุณ ท่าน ศ. ดร . จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ท่านมีความพยายามให้โอกาสเสริมความคิดแก่พวกเรานักศึกษา MPA  เพื่อเป็นประสบการณ์ในการนำบทบามทภาวะผู้นำ LEADERSHIP ไปพัฒนาตนเองเพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีต่อไป

          กราบเรียน ท่านศาสตราจารย์  ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ผู้สอนวิชา  บทบาทของภาวะผู้นำ  MPA   ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (สุขุมวิท 23  ซอยอโศกฯ) ที่นับถือยิ่ง

          ด้วยในวันอาทิตย์ที่ 14  และ  23  มกราคม  2550   กระผมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  กระผมสามารถกล่าวได้ว่า  "อย่างยิ่ง"  จริง ๆ (โดยสัตย์)   หากมิฉะนั้น-แล้ว,  กระผมจะไม่ยอมขาดเรียนในวิชาที่ท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  มาสอนโดยแน่นอน-เด็ดขาด,  ด้วยมีความประทับใจ (ส่วนตน) ในบุคลิกภาพที่พบเจอในครั้งแรกเมื่อไม่นานนัก,  เมื่อครั้งที่ท่านมาแนะนำตัวท่านเองครั้งแรกที่ห้องเรียน  ซึ่งเป็นบุคลิกลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้ทรงภูมิรู้โดยแท้  หากเราได้รับความรู้จากท่านก็คงจะเป็นการดียิ่ง    และพร้อมทั้งท่าน (ศ.ดร. จีระฯ) ได้แสดงความชื่นชมเหล่านักศึกษา MPA   ชุดที่กระผมได้กำลังศึกษาอยู่นี้   ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็น  MPA  คณะแรก  ของ ม. นานาชาติแสตมฟอร์ด  ที่มีการเรียนการสอนภาคภาษาไทย  (ฮา)    และมีเจตจำนงที่อยากจะถ่ายทอดความรอบรู้ที่ท่านชำนาญเป็นพิเศษอย่างยิ่งให้กับนักศึกษาที่นี่,   และหลังจากนั้น-อีกไม่นานนัก, ท่านก็ได้สละเวลาที่มีคุณค่าของท่านมายังที่ห้องเรียน MPA แห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง   พร้อมกับคำยืนยันที่ชัดแจ้งว่าวิชา-หน้า,  วิชา-บทบาทของภาวะผู้นำ  ท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์,  ท่านจะมาสอนอย่างแน่นอน!!     กอรปกับเคยได้มีโอกาสอ่านหนังสือ,  ที่เนื้อหาอยู่ในแนวเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์-ทรัพยากรบุคคล อะไรทำนองนี้!!    เคยพบเห็นหน้าตาท่าน-ก่อนหน้านี้,  ก็แต่ในหน้าหนังสือ (ที่อ่าน)    หรือทางหนังสือพิมพ์บางฉบับ   และบางโอกาสที่กระผมบังเอิญเปิดช่อง TV  พบท่านจัดรายการที่ให้สาระความรู้อยู่สัก 2 - 3 รายการ,  แต่ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง !!   ว่า-กระผมจำชื่อรายการเหล่านั้น, ได้ไม่ถนัดนัก!!     

          ด้วยความประทับอยู่ในใจเป็นการส่วนตัว (ของกระผม-แต่ผู้เดียวเอง!)   ตามเหตุและผลข้างต้นที่กล่าวแล้ว-นั้น,  กระผมจึงมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า " สมใจ! "  เราแล้ว!!    แต่-ด้วยเพราะหน้าที่ราชการที่กระผมจำต้องพึงปฏิบัติอยู่ !! 

           กระผม-มีอาชีพหลักที่ยึดเป็นรายได้หาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวปัจจุบัน,  ด้วยการรับราชการ   กรมศุลกากร   สังกัดกระทรวงการคลัง    ตำแหน่งนายตรวจศุลกากร (ว)  6     และปัจจุบันกรมฯ  ได้มีคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นการประจำ   ณ  ที่ด่านศุลกากรแม่สอด   อ.แม่สอด  จ.ตาก   ด้วยหลักคิดของการทำงานอย่างกว้าง ๆ  และครอบคลุมด้วยเหตุกับผลในตัว  ก็คือ  การลักลอบหนีศุลกากรนั้น, ไม่มี-วันหยุดเสาร์และอาทิตย์,  ไม่มี-วันหยุดนักขัตฤกษ์!!   การบริการศุลกากรในการตรวจปล่อยสินค้าเข้า-ออกจากต่างประเทศ    การบริการจัดเก็บภาษีทั้งขาเข้า-ออก, ไม่ว่าจะเป็นของส่วนบุคคล   หรือของบริษัท/หจก./ร้านค้า ฯลฯ    ความจำเป็น  และความต้องการของผู้นำเข้าและส่งออกของเขาบุคคลเหล่านั้น,  มันเป็นความจำเป็นที่ราชการต้องให้บริการโดยปฏิเสธ-มิได้,  ส่วนราชการด่านศุลกากรแม่สอดจึงจำเป็นต้องจัดเจ้าหน้าที่ไว้เป็นการประจำ ณ จุดที่ตรงนั้น, ไว้-บริการประชาชนเพื่อให้ได้รับความสะดวกตามความประสงค์ทุกประการ!!  

          เมื่อบรรยายความตามจริงโดยสัตย์แท้-ถึงตรงนี้!!   กระผมหวังเป็นอย่างสูงยิ่ง-ว่า,  คงจะได้รับความกรุณาจากท่านศาสตราจารย์  ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ (ผู้สอน)  ท่านคงจะเข้าใจในความจำเป็น,  ติดขัดอย่างยิ่ง-บางประการ   เพราะต้องติดเวรราชการฯ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  แต่ความจำเป็นของกระผมอาจส่งผลกระทบแก่ระบบการเรียนการสอนของท่านอาจารย์ผู้สอน-ก็เป็นได้ (ท่านฯ มาสอน 2 อาทิตย์แล้ว, กระผมไม่ได้เข้าห้องเรียน-เลย, ซึ่งเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีงาม!!)     กระผมจึงกราบขออภัยท่านอาจารย์ผู้สอน   มา  ณ  โอกาส-นี้!    หวังว่าท่านฯ คงให้อภัย  และกรุณาให้ลูกศิษย์ที่ " ติดเวรฯ "  จริง ๆ,  ได้ส่ง " การบ้าน "  (ที่คั่งค้างอยู่!) มาเพื่อตรวจสอบ ในโอกาสนี้-นะครับ!!     

          (สาเหตุ) ที่ส่ง "การบ้าน" มาล้าหลังกว่าใครเพื่อน-เพราะ  (1) เล่นอินเตอร์เน็ต-ไม่เป็น!!    (2) อาทิตย์นี้, จึงลาพักผ่อนหนึ่งอาทิตย์, มาให้ลูกสาวสอน-เรื่องจริง!!  และ (3). เพื่อนร่วมชั้นเรียนก็มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือในการนี้อย่างเต็มใจ-เต็มที่!   ด้วยการให้เขียนส่ง FAX  ไปให้,  แล้ว-จะจัดการพิมพ์ลงใน Internet ให้โดยละม่อม!,  กระผมขอกล่าว " ขอบคุณ "  เพื่อน ๆ ทุกท่านด้วยใจจริงมา  ณ  หน้า BOX นี้-นะครับ!!   แต่กระผมเกรงว่า, หากกระทำเยี่ยงนั้น,  แล้วเมื่อใด " เขา" มันจึงจะหมดไปเสียที...สรุปก็คือถ้ากระทำเช่นนั้น  แล้วเมื่อไหร่ถึงจะทำเป็นกันเล่า!!  จึงขอโทษ  ที่จำต้องปฏิเสธความหวังดีของเพื่อนทุกท่าน  หวังว่าทุกท่านคงเข้าใจ!! 

          กระผมขอทดสอบ   ด้วยการ " กด "  ข้อความ  " บันทึก "  เพื่อเป็นการ TEST  การเล่น  Internet   ครั้งแรกของกระผม (ตามคำสอนของลูกสาว!!)  ว่า-จะสำเร็จดั่งประสงค์หรือไม่?   หากว่าการนี้ " สำเร็จ " กระผมก็จะได้เริ่มต้นดำเนินการส่ง " การบ้าน " ที่ยังคงคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ  ณ  เวลารวดต่อแต่นี้ไป.............ฯลฯ

 

          กราบเรียนท่านศาตราจารย์ ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

          เมื่อการส่ง  Internet  เป็นผลสำเร็จ, ไชโย!!  กระผมก็ขอเข้าเรื่อง  ทำการบ้านที่ท่านอาจารย์ผู้สอนได้ให้ไว้หลังจากการสอนในวันอาทิตย์ที่ 14  และ  21  มกราคม  2550  ( ขออนุญาต-แก้ไขในหน้าแรกด้วย, พิมพ์ไว้เป็น  14  และ  23  มกราคม  2550, ขอขอบคุณครับ!! ) 

          กระผมได้รับทราบจากคำบอกเล่าของเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียน  บ้างก็บอกเล่าเก้าสิบทางโทรศัพท์  บ้างก็พูดคุยเล่าสู่กันฟังด้วยตัวเอง  เมื่อกระผมมาเข้าร่วมชั้นเรียนในอาทิตย์ถัดไป ( แต่บังเอิญ!! เป็นการเรียนการสอนกับท่านอาจารย์ชาวต่างประเทศพร้อมผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลาย )  ถึงแนวและวิธีการการสอนที่มากมายด้วยสาระความรู้  แนวทางการสอนที่เป็นแบบสากลทันสมัยสมกับที่ท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น  " ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ "  โดยท่านฯ ได้นำมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาในชั้นเรียน  MPA  ในวิชา " บทบาทของภาวะผู้นำ "  กระผมได้รับความรู้ในสรรสาระเนื้อหาวิชานี้อย่างเป็นทางการ  เป็นรูปธรรมที่สุด   ก็โดยศึกษาเอาจากใน  Sheet  ที่ท่านอาจารย์ผู้สอนได้กรุณาแจกให้กับนักศึกษาไว้  และอีกประการหนึ่ง,  กระผมก็อ่านศึกษาเอาจากหนังสือ  pocketbooks  จำนวน  2  เล่มที่ท่าน ศ.ดร.จีระฯ  ได้กรุณามอบให้กับนักศึกษาในชั้นเรียน, ท่านละสองเล่มพร้อมลงลายมือชื่อสด ๆ  ไว้-ในปกด้านใน, ไว้-เป็นที่ระลึก...เล่มที่กระผมถือโอกาสอ่านถึง 2  เที่ยว,  คือ  หนังสือที่รวบรวมเอาบทสนทนาของ  คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   กับท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ด้วย-เพราะ  (1)  เล่มไม่หนามากจนน่ากลัว!   เหมาะแก่การอ่านในขณะที่มีเวลาค่อนข้างจำกัด,  สามารถตั้งสมาธิให้อ่านจนจบ-เข้าใจในเนื้อหาได้,  ในเวลาที่พอเหมาะพอควร   และ (2)  ชมชอบในเนื้อหา ของทฤษฎี  8 H's  ของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์   และทฤษฎี  8  K's  ของท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ (เอาไว้ขอกล่าวถึงในการบ้านข้อที่-3 )...แต่ต้องขออภัยอย่างยิ่ง!  หนังสือที่รวบรวมบทสนทนาของท่านพารณ  อิศรเสนา  ณ  อยุธยา  กับ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, ยังมิได้อ่านเลย-จริง ๆ!! (ในขณะนี้)...เมื่อไม่ได้เข้าห้องเรียน  จึงจำเป็นต้องหาสื่อการเรียนการสอนจากทางอื่น ๆ เท่าที่จะพึงหาได้  เช่น  จาก  Sheet,  จากหนังสือพ็อคเก็คบุคส์ทั้ง 2 เล่ม,  และสุดท้ายก็สอบถามเอาจากเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียน  ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดียิ่ง  โดยทุกท่านมิมีท่าทีอิดเอื้อน   ก็คงจะต้องขอขอบพระคุณเพื่อน ๆ ที่แสนดีทุกท่านไว้  ณ  โอกาสนี้

          (การบ้าน)...ข้อที่ (1). หา-จุดอ่อน  จุดแข็ง  ของตนเอง  ท่านอาจารย์ผู้สอน, ให้-อธิบายแจกแจงมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าอย่างละ  5  ข้อ,  พร้อมเรื่องหรือข้อที่ต้องการหรืออยากจะปรับปรุงของตนเองให้ดีขึ้น???  (ขณะนี้-เวลาล่วงมาจะตี 4 แล้ว...ขออนุญาตพักไว้เพียงเท่านี้ก่อน...ตื่นนอนแล้ว, จะมาดำเนินการให้แล้วเสร็จ...........ฯลฯ )

          กราบเรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ผู้สอน  ที่เคารพ

          กระผมขออนุญาตทำการบ้านต่อไปเลย, นะครับ!  หลังจากพักสมองและร่างกายให้หายล้าไปหนึ่งยกแล้ว  เรียกความพร้อมกลับมา " ลุย "  การบ้านต่อให้เสร็จ.......ฯลฯ

          เนื่องด้วยอาจจะเป็น   เพราะกระผมชอบที่จะสำรวจตัวเองอย่างสม่ำเสมอ   โดยพยายามคิดคำนึงรวบรวมถึงการกระทำต่าง ๆ  ของตัวกระผมเอง, ไม่ว่าจะโดยความคิดของตนเองที่อยู่ในใจ (อันได้แก่  ความคิดชั่ว-ดี ต่าง ๆ  ซึ่งย่อมไม่มีใครล่วงรู้ได้  เพราะเกิดอยู่ในใจของเรา),   การตัดสินใจกระทำการอันใดลงไปในแต่ละครั้งที่จำเป็นต้องสินใจ    และพฤติกรรมที่แสดงออกต่อสาธารณะ   หรือกับเพื่อนสนิทมิตรสหาย    ในแต่ละรอบวัน  รอบสองวัน  หรือสามวัน   และอย่างช้าไม่เกินหนึ่งสัปดาห์   กระผมจะต้องนำมาคิดพิจารณาขึ้น " ตาชั่ง "  ในใจของตนเองเสมอ   มองตนเองด้วยความยุติธรรม  ประดุจดังเสมือน เป็นคนอื่นที่กำลังพิพากษาตัวเรา   และที่สำคัญอย่างยิ่งยวดนั้น  เราจะต้องละทิ้ง  " อัตตา"  ความหลงในตัวตนเอง   ออกไปให้มากที่สุด  ให้ไกลตัวตนเองให้มากที่สุดในขณะนั้น   แล้วเราก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง  อันเป็นความยุติธรรมที่สุดสำหรับตัวเรา  ผลที่ออกตัวเราต้องยินยอมพร้อมรับที่จะรับนำไปแก้ไข   หากยังพบว่าเป็นความบกพร่อง  หรือยังกระทำได้ไม่ดี  ฯลฯ   แต่หากพบการกระทำใด   ที่กระทำการโดยถูกต้องแล้ว  ต้องหมั่นรักษาสิ่งที่ดีงาม  หรือถูกต้องนั้นไว้   ให้อยู่กับตัวเราโดยยาวนานที่สุด   และพร้อมต้องเสริมให้เป็นพลังที่ดีแก่ตัวเรา   ให้เป็นจุดแข็งของตนเอง  ต่อไป,    ฉะนั้นกระผมคิดว่า  น่าจะไม่เป็นการยากลำบากนัก   สำหรับตัวกระผมเอง ที่จะชำแหละ  " จุดอ่อน "  และ  " จุดแข็ง "  ของตนเอง  ในการทำการบ้านครั้งนี้...เริ่มเลย

          จุดแข็ง :  อันดับแรก,  ได้แก่  ความเข้มแข็ง  อดทน  อดกลั้นทางด้านจิตใจ    อาจด้วยเพราะเส้นทางเดินของชีวิตกระผมนั้น  กว่าจะเดินทางมาถึงปัจจุบันนั้น   ต้องใช้ชีวิตอยู่กับผู้อื่น (อย่างอดทน),  ที่มิใช่คนในครอบครัวของตนเอง  ไม่ได้ใช้ชีวิตสุขสบายอยู่กับพ่อแม่พี่น้องของตนเองมากมายนัก  นอกจากจะเป็นช่วงปิดเทอมเท่านั้น  (ที่ได้กลับไปบ้านต่างจังหวัด!)    ใช่แล้วครับ!!   เมื่อครั้งที่กระผมเรียนจบ ป.7 (ในสมัยนั้น, ยังมีชั้น ป.7 อยู่!)  ณ  ที่ต่างจังหวัด    อาจารย์ประจำชั้นของกระผมในตอนนั้น  ได้ให้ความกรุณาแก่กระผม,  และเห็นแก่อนาคตของลูกศิษย์ (คนยากจน!)  สมกับเป็นแม่พิมพ์ของชาติขนานแท้!  -ขอน้อมคารวะมา  ณ  โอกาสอันดีนี้!    ได้ขออนุญาตพ่อและแม่  (พ่อกับแม่, ก็หวังว่าเมื่อลูกเรียนสูง, ลูกก็จะมีความอยู่สุขสบาย, ไม่ต้องมาลำบากลำบนตอนแก่-เหมือนกับท่านในขณะนั้น)   และได้นำกระผมไปฝากไว้ที่วัด (ใกล้กับท้องสนามหลวง, ติดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ท่าพระจันทร์!)   เพื่อเป็นที่พักพิงอาศัยสำหรับเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ  (ประหยัดสตังค์!!)   นั่นคือครั้งแรกในชีวิตของกระผม  ที่ต้องมาใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว  ที่ต้องดูแลตนเองแทบจะต้องทุกอย่าง   สิ่งที่กระผมต้องพกมาเต็มตัวและเต็มหัวใจ (ใจต้องเกินร้อย) ในขณะนั้น,   นอกจากจะต้องพยายามเรียนให้จบโดยเร็วที่สุด (เพราะครอบครัว-ยากจน!)  และทั้งต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ตามอัตภาพความเป็นอยู่   นั่นก็คือต้องใส่ความเข้มแข็งอดทนให้กับตัวเองอย่างเต็มที่    ต้องต่อสู้อดทนต่อการคิดถึงบ้านที่ต่างจังหวัด-เป็นอย่างยิ่ง!  (ตกเย็น! บรรยากาศโพล้เพล้!  เหงาในใจ-ชะมัดเลย!  น้ำตาเล็ดลอดออกมาหลายหยด  และหลายครั้ง! )   อดทนต่อการที่จะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเอง  (ที่ผ่านมา, พ่อและแม่ จัดการให้โดยแทบจะทั้งสิ้น!)   อดกลั้นต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี    อาทิ  การดื่มสุรา  สูบบุหรี่  การชวนกันไปเที่ยวเตร่ในยามค่ำคืน  เป็นต้น   เมื่อเรียนจบชั้น ม.ศ. 3  (ในขณะนั้น)   ก็เรียนชั้น ปวช. (สายอาชีพ)  เพื่อเป็นทางลัดไปประกอบอาชีพ  เพราะทุนทรัพย์ของครอบครัวมีน้อย,  และบางครั้งก็แทบเรียกได้ว่า-ไม่มี!!   ช่วงชีวิตในตอนนี้,  กระผมได้ไปอาศัยอยู่กับครอบครัวของเพื่อนที่เรียนอยู่ในชั้นเดียวกัน (เป็นครอบครัวที่แสนดีมาก, ให้กินอยู่อาศัย-ฟรี!, บางครั้งค่าเทอม-ไม่มี!  ก็ควักจ่ายให้ก่อน!  บุญคุณสูงล้น!!)  แต่สิ่งที่เราจะต้องนำไปแลกก็คือ  ความอดทน  อดกลั้น  ในทุก ๆ สิ่ง   เป็นเรื่องปกติธรรมดาของการอยู่ร่วมกันหลาย ๆ คน,  ย่อมมีสิ่งกระทบกระทั่งไม่ถูกใจถูกตากันบ้าง-ใช่ไหมครับ!!    แต่สำหรับกระผมจะต้องบริหารจิตใจตนเองให้อยู่ใน " ระนาบ " ที่ต้องไม่กระเพื่อมด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว, เป็นอันขาดเลย!  ด้วยเพราะบุญคุณข้าวแดงแกงร้อน,  ซึ่งคนไทย (แท้)  และพ่อ-แม่กำชับแน่นหนักให้รำลึกไว้!

          ตามที่กระผมได้รำลึกถึงตนเองในครั้งก่อนเก่า (เยิ่น-ยาว-นาน!)  หวังว่าท่านอาจารย์ผู้สอน  คงจะยังไม่เบื่อ!!  (พูดแต่เรื่องตัวเอง!)  เพื่อจะเข้าประเด็นในเรื่องของ " จุดแข็ง " ในตัวตนของเราเองนั้น   ในบางจุดก็เป็นสิ่งที่มันถูกหล่อหลอมขึ้นมาเองโดยตัวเราเอง-ไม่รู้ตัว,  มันเกิดขึ้นตามประสบการณ์ของชีวิตที่พบเจอมาบ่อย ๆ  พร้อมทั้งหมั่นฝึกฝนจิตใจ  และควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้น  ให้มันให้เป็นสิ่งที่ดีล้ำเลิศติดตัวเราไป-ชั่วนาน!   เพราะนั่นมันคือ " จุดแข็ง "  เป็นบุคลิกเฉพาะตัวที่ใครก็ไม่สามารถลอกเลียนกันได้ (ถึงเลียนได้-ก็ไม่เหมือนของจริง!)     ดังนั้น-กระผมจึงมีความมั่นใจเป็นอย่างมาก  และให้มาเป็นอันดับแรก-เลย!   และด้วยความที่กระผมมีบุคลิกที่มีความอดทน  อดกลั้นสูง  มีความใจเย็น  สุขุมรอบคอบ (เพื่อนสนิทหลายคน, เคยบอก!)  ทำให้กระผมสามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  (เคยได้รับคำชม-มาบ้าง!)  มาหลายเรื่อง  หลายเหตุการณ์-แล้ว!  ก็ด้วยเพราะความอดทน  อดกลั้น   ใจเยือกเย็น  สุขุมรอบคอบ  ไม่โกรธง่าย  (เพื่อนหลายคน, บอกว่า-ผมเป็นคนเก็บอารมณ์ภายในจิตใจ-ได้ดี! )   ผมถือว่าเป็น " จุดแข็ง " ที่สำคัญยิ่งของกระผม

          ลำดับที่ (2)   จุดแข็ง-อันดับนี้,   ผมค่อนข้างที่จะไว้ใจใน  " ปฏิภาณ "  ไหวพริบ   ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของตนเอง   ว่า-จะสามารถทำได้ดีพอสมควร   ไม่ว่า-จะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  หรือปัญหาในอนาคตสำหรับหน้าที่การงานที่ปฏิบัติอยู่   หรือการบริหารครอบครัวของกระผมให้มีความสุข   มีความเป็นปึกแผ่นได้,  แม้เมื่อพบกับปัญหาก็สามารถพูดคุยกับภรรยา  และสามารถโน้มน้าวภรรยาให้ปฏิบัติตามสิ่งที่กระผมในฐานะสามีขอให้ทำการ,  และก็สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้น-ได้,  มาหลายครั้งแล้ว!,  จึงสามารถสร้างความมั่นใจให้กับภรรยาและบุคคลในครอบครัวได้ดีพอสมควร-ทีเดียว!     ด้วยเพราะปูมชีวิตที่ผ่านมานั้น  บ่มเพาะให้กระผมมีลักษณะเป็นเช่นนั้น!   ประกอบกับกระผมได้หมั่นพยายามฝึกฝนและหาความรอบรู้ในสิ่งที่เราปฏิบัติหน้าที่การงานอยู่  ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง   สภาพเหตุการณ์แวดล้อมในการปฏิบัติงานที่เป็นอยู่ในเดี๋ยวนั้น   หรือสภาพแวดล้อมอันเกี่ยวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานให้มากที่สุด    เพื่อยังผลให้การตัดสินใจในขณะนั้นเป็นไปด้วยความถูกต้อง  หรือพบข้อบกพร่องให้น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้  ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอีกทางหนึ่งด้วย....กระผมจึงมีความคิดเห็น (โดยส่วนตน)  ว่า,  ข้อนี้-เป็น  " จุดแข็ง "  ประการสำคัญในชีวิตของกระผมมากทีเดียว,  ที่กระผมจำจักต้องฝึกฝนให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และบังเกิดประสิทธิผลยิ่ง ๆ ขึ้น,   ด้วย-เพราะจะยังผลให้กระผมประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน  และชีวิตครอบครัวสืบยิ่งไป

          จุดแข็ง-ลำดับที่ (3)   ได้แก่   ความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของตัวกระผมเอง    อันเนื่องด้วยมาจาก, เพราะความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของบุคคลอื่น-จาก, เพื่อนสนิทมิตรสหาย,   และ-ด้วยเพราะความมีจิตโอบอ้อมอารีย์   ความมีจิตใจที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง-นี่เอง!   จะโดยอดีตหรือปัจจุบัน-ก็ตามที,   ที่ได้กระทำการโอบอุ้มชู  ทำให้กระผมมีชีวิตอยู่ยั้งมาได้จนบัดเดี๋ยวนี้   ฉะนั้น-กระผมมีจึงมีความรำลึกอยู่ในใจเสมอ-ว่า,   บุคคลอื่น ๆ  ก็น่าจะได้รับความเอื้ออารีย์ด้วยน้ำใสใจจริงจากตัวกระผมบ้าง!   เพื่อเป็นการทดแทนสิ่งที่กระผมได้รับโดยเสมอมาจากสังคมมนุษย์ที่ดี-ด้วยกันเอง! (นั่นคือ,  สิ่งที่กระผมมีความปรารถนาอยู่ในใจเสมอ,  และหวังว่า-มันจะอยู่ในตัวตนของกระผม,  สืบตลอดไป!)   กระผมมีความเห็นโดยตั้งมั่นในใจยิ่ง-ว่า....มนุษย์ที่ประเสริฐ-นั้น    จักต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  ไม่ว่า-จะทั้งด้านหน้าและด้านหลัง,   ทั้งต่อการแสดงที่สัมผัสได้ด้วยพฤติกรรมการแสดงออก   และทั้งภายในจิตใจด้านลึกที่ลึกซึ้ง  (ไม่ทราบว่า-หวังสูง  หรือมองโลกในแง่บริสุทธิ์, เกินไปหรือไม่???)....ด้วยเพราะความมีมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตัว   ทำให้กระผมสามารถปฏิบัติร่วมกับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี   ไม่ค่อยมีปัญหาใด ๆ กับผู้ร่วมงาน  หรือกับผู้บังคับบัญชา   ไม่มีปัญหาในการปฏิบัติงานเป็นทีมเวิร์ค   ด้วยอุปนิสัยลักษณะ  " ประณีประนอม "  ที่ติดตัวมาตามลักษณะแห่งประสบการณ์ของชีวิต (เฉพาะตัว)    กระผม (คิดว่า!)  ด้วยบุคลิกที่นอบน้อมถ่อมตน   ยิ้มง่าย   บุคลิกที่มีความเป็นมิตรกับผู้คนรอบข้าง  ฯลฯ     อีกทั้ง-กระผมชอบศึกษา  และหมั่นฝึกฝน  กลวิธี  " การพูด "   เพื่อให้ถูกใจคน   พูดเพื่อผูกมิตร   พูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจ   พูดเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้อื่น  (บางครั้ง-ก็พูดให้กำลังใจตัวเอง,  ฮา)  และเรียนรู้ถึงวิธีการเป็นผู้ฟังที่ดี-ด้วยเช่นกัน!!    ดังนั้น-การติดต่อประสานงานราชการที่ใช้ลักษณะการประณีนอม,  สำหรับกระผมจึงไม่เกิดปัญหาแต่ประการใด!   สามารถรับใช้ราชการงานหลวงได้เต็มกำลัง-ที่มี,   แม้-งานราษฎร์  กระผมก็ว่ายิ่งง่ายกว่าเป็นไหน ๆ     กระผมคิดว่าในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ที่ดี-นั้น   เป็นความสามารถเฉพาะตัวที่ไม่น่าจะเลียนแบบกันได้, โดยง่ายนัก!    การฝึกฝนก็สามารถกระทำให้ดี-ได้ยาก!   เพราะมันเป็นจิตที่เกิดก่อขึ้นจากจิตใจซึ่งเป็นมูลฐานที่สำคัญยิ่ง   หากแม้น-จะสามารถฝึกฝนและศึกษาเอาได้จากตำราวิชาการ   แต่กระผมคิดว่า   สิ่งที่ดูไม่ราบรื่นและขาดหายไป   นั่นคือ  ความ  " เนียน "  อันเป็นสิ่งที่บุคคลภายนอกจะสามารถทราบได้ทันทีว่า,  นั่นมิใช่-ของจริง!!

          จุดแข็ง  ลำดับที่ (4) ของกระผม,   กระผมยกให้ในเรื่องของความกตัญญูกตเวทีและความซื่อสัตย์สุจริต  ซึ่งกระผมยึดถือตามคำสั่งสอนของพ่อมาโดยตลอด   พ่อของกระผมเป็นคนจน (ไม่ใช่อยู่ในขั้น-ยากจนไม่มีจะกิน,  แต่จนพอมีกินมีใช้ - ฮา !)  ที่ยิ่งใหญ่ (สำหรับกระผม!)   ยิ่งใหญ่-ในความขยันทำมาหากินโดยสุจริต    พึ่งพามือเท้าและมันสมองของตนเองในการประกอบสัมมาอาชีพ (แบบชนบท)  ไม่เคยปล่อยให้ลูกอด  (อยู่กับพ่อแม่กระผม-ไม่เคยอด!)  พ่อและแม่ตัดสินใจยอมปล่อยให้กระผมไปเล่าเรียนที่ต่อกรุงเทพฯ เมื่อวัยเยาว์   ด้วยความเป็นห่วงใยอย่างยิ่ง  ทั้งต้องหมดเงินค่าเทอมแต่ละเทอม-ก็มิใช่น้อย!    ถูกเพื่อนบ้านพูดจาถากถาง   ว่า-เงินทองไม่พอจะกิน!   แล้วยังจะกระเสือกกระสนส่งลูกไปเรียนเมืองกรุง  ให้เปลืองเงินทองโดยใช่ เหตุ!   สู้-เรียนจบ ป.7  ก็เข้าไปเป็น " ช่างฟิต "   (ช่างซ่อมรถยนต์) ในอู่รถยนต์   ก็จะสามารถหาเงินได้แล้วในขณะวัยเยาว์-นั้น!   ด้วยเพราะพ่อและแม่คิดว่า,  ยามแก่เฒ่าวิชาความรู้จะทำให้ลูกของตนไม่ต้องมาใช้แรงกายหยาดเหงื่อเหนื่อยยาก,  ได้มีงานการทำที่สบายกายสบายใจไม่ต้องเหนื่อยยากในบั้นปลายชีวิต!!   กระผมขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงยิ่ง  ในพระคุณของพ่อและแม่ในการตัดสินใจในครั้งนั้น   ปัจจุบันพ่อได้เสียชีวิตไปนานแล้ว   แม่ยังมีชีวิตอยู่สุขสบาย (เท่าที่กระผมจะทำได้-ที่สุด!)  อันแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตาที่กระผมบอกย้ำในใจเสมอมาว่าต้องทำให้ดีที่สุด   ถึงแม้พ่อจะมิได้ความกตัญญูกตเวทีจากกระผมมากนัก  ด้วยเพราะเสียชีวิตไปนานแล้ว  แต่สิ่งที่กระผมน้อมนำมาคำสั่งสอนของพ่อไว้ในใจเสมอ  คือ  ความกตัญญู  และความซื่อสัตยสุจริต  อันเป็นเครื่องหมายการค้าของคนดีซึ่งนับวันจะหาได้ยากแล้ว!    บุคคลเช่นนี้  โบราณว่า  ตกน้ำไม่ไหล  ตกไฟไม่ไหม้   อยู่ที่ใดมีแต่คนเชิดชูและส่งเสริมให้เจริญยิ่งสืบไป   กระผมขอขอบพระคุณในคำสอนของพ่อ  และได้ประจักษ์ในความเป็นจริงแล้ว-อยู่เสมอ!!

          ความมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงเหมาะสมแก่วัย-นั้น,  กระผมมีความเห็นว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง,  กระผมคิดว่านั่นคือ " จุดแข็ง "  ในหัวข้อลำดับที่ (5)  ของกระผม    โดยมีความเห็น-ว่า,  เราจะกระทำการงานใด ๆ  ให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี   นอกจากเกิดจากองค์ความรู้  ความสามารถของตนเองแล้ว!  กระผม-ว่า,  สิ่งที่เราจะมองข้ามไปเสียมิได้เลย!  นั่นก็คือเรื่องสุขภายร่างกายที่แข็งแรง-นั่นเอง!!   การที่เรามีสุขภาพไม่ดี !  เจ็บไข้ได้ป่วยออด ๆ แอด   กระเสาะกระแสะ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน!!   กระผมยังมองเห็นภาพไม่ออกเลย-ว่า ,   เราจะสามารถปฎิบัติหน้าที่การงานให้ประสบผลสำเร็จได้ดี,  ได้อย่างไร?    เราจะมีสมาธิในการปฏิบัติงานให้แน่วแน่  มุ่งมั่น, ได้อย่างไร?  ก็ในเมื่อต้องมัวแต่พะวงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยของตนเองอยู่!     และ-เราจะมีน้ำอดน้ำทนในการปฏิบัติหน้าที่,  ที่จำเป็นต้องใช้  " ความอึด "  บ้าง-ในบางครั้ง, ได้อย่างไร?  เมื่อสภาพร่างกายมันไม่เอื้ออำนวย-เสียแล้ว!   ฯลฯ .......กระผม, มั่นใจในสุขภาพร่างกายของตนเองพอสมควร    กระผม,  หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ (มากบ้าง-น้อยบ้าง,  แล้วแต่เวลาจะอำนวย! )   กินอาหารให้ตรงเวลา   เพื่อป้องกัน  " โรคกระเพาะอาหาร "   และพยายามเลือกอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย-บ้าง!    พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ   เพื่อสร้างความสดชื่น  สดใส   มีความกระฉับกระเฉง  สร้างกระตือรือร้นในการทำงาน   ทำให้-ความคิดโลดแล่นฉับไว   สมองปรอดโปร่ง    ส่งผลให้สามารถใช้สติและปัญญา,  แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี    มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์แก่ราชการ    ทำให้ผู้พบเห็นที่มาติดต่อราชการ   มีความรู้สึกที่ดีต่อภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการ   ที่ปรากฏบุคลิกภาพต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่-ที่บ่งบอกถึงการมีความสุขในการทำงาน   และพร้อมเต็มใจยิ่งต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ  ทำให้ประชาชนได้รับตวามชื่นใจเมื่อมาติดต่อราชการ.....โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสุขภาพที่แข็งแรงพอสมควรของกระผม-นั้น    ส่งผลให้กระผมสามารถยืนหยัดมาศึกษาหาความรู้ในกรุงเทพฯ  ได้อย่างต่อเนื่อง-หากไม่ติดเวรราชการ,     กระผมต้องให้การดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี,  เมื่อต้องถึงวันเวลามาศึกษาหาความรู้ในปัจจุบัน,  กระผมจะต้องดูแลความสดชื่น  ดูแลความปรอดโปร่งของสมอง,  ให้พร้อมที่จะรับเอาความรู้ที่ท่านอาจารย์ผู้สอน  ซึ่งได้กรุณาประสิทธิ์ปราสาทวิชาการความรู้ที่ไม่อาจหาได้ในที่ทำงาน,   วิชาการ, ที่ลึกซึ้งเพื่อนำไปประกอบการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้บรรลุผลดียิ่ง,  กระผม,  นั่งรถทัวร์จาก อ.แม่สอด  ในเวลาประมาณ 21.30 น.   เดินทางมาถึง  หมอชิต  กทม.  เวลาประมาณ  04.30 น.  จับรถ  TAXI   มุ่งไปนอนพักผ่อนในโรงแรม  สัก 3-4 ชม.  ก็ยังดี!!   เพื่อเป็นสลายความง่วงเหงาหาวนอน   และความเมื่อยล้าที่ติดมาในขณะนั่งรถทัวร์  และให้สมองโล่งโปร่ง!!  เมื่อเรียนจบในเย็นวันนั้น,  ก็ตีรถกลับ  อ.แม่สอด-เลย!   เพื่อกลับไปทำงานในหน้าที่ราชการต่อในวันรุ่งชึ้น,   โดยรถออกจากหมอชิต  กทม. ในเวลาประมาณ  21.30  น.  ถึงทีทำงานเวลาประมาณตี 5 ,  นอนหลับพักผ่อนที่ห้องพักในตัวสำนักงาน,  และต้องตื่นนอนไปทำงานในเวลาที่มาเรียนที่กรุงเทพฯ,  แต่-กระผม,  พบว่า-สุขภาพร่างกายของกระผม-นั้น,   ไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาหาความรอบรู้ในวิชาการ    อันจะเป็นการเสริมความก้าวหน้าในชีวิตข้าราชการของกระผมแต่ประการใด   เพราะกระผมคิดว่าจุดแข็งข้อหนึ่งของกระผม-นั้น,    ก็คือผมมีสุขภาพที่แข็งแรงพอสมควร   และไม่ปรากฏว่า  มีโรคประจำตัวใด ๆ  (ในขณะนี้)  ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนและการทำงานให้ดำเนินเดินต่อไปได้    กระผม-ว่าจริงแท้   "การไม่มีโรค  เป็นลาภอันประเสริฐ"   อุปสรรค-ในการเรียนที่กระผมกังวล,  กลับ-เป็นเวลาที่,   กระผมติดเวรราชการ-มากกว่า!   จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า-คงจะได้รับความกรุณาจากท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ผู้สอน  ถึงข้อติดขัด  มา  ณ  โอกาสอันดีนี้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง.............ฯลฯ

          กราบเรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ท่านอาจารย์ผู้สอนวิชา  บทบาทภาวะของผู้นำ  ที่นับถือยิ่ง

          กระผม,  ขอต่อด้วยหัวข้อ  " จุดอ่อน "  ที่ฝังกระจัดกระจายอยู่ในตัวกระผม,  ก็พบว่า,  มี-หลากหลายอยู่, ทีเดียว!     แต่-กระผม,  ใคร่ขอหยิบยกคัดหัวข้อใหญ่ ๆ  ที่กระผมตระหนักดี,  และกระผมพบในตัวเอง,  อยู่เสมอ-ว่า,  เป็นจุดแย่!!   ของตัวกระผม-เอง,   ประมาณสัก  5  หัวข้อ-ตามโจทย์ของการบ้านที่ท่านอาจารย์ผู้สอนได้เสนอให้ไว้

          ข้อแรก  :  " การมองคนในแง่ดี-จนเกินไป "  การมองอะไรในด้านบวก-นั้น   นักวิชาการมองว่าเป็นสิ่งที่ดี  ทำให้มีกำลังใจในการทำงาน  มีพลังใจในการต่อกับสภาวะการณ์ที่ไม่สู้ดีนักของชีวิต  ให้บังเกิดพลังขับดันเพื่อต่อสู้ให้ชีวิตประสบกับความสำเร็จได้   แต่-การมองคน,  มองโลกในแง่ดีจนเกินไป  จนไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า,  หรือมองว่ามันคงจะไม่เป็นเช่นนั้น!!   แต่-ถ้าหากมันไม่เป็นไปตามที่เราคิด-ล่ะ!!   และเป็นไปอย่างที่เรา, ไม่หวังที่จะให้มันบังเกิดขึ้น-ล่ะ!!  จย่อมส่งผลเสียแก่ตังเราได้....ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ราชการของกระผม-นั้น   เป็นการปฏิบัติหน้าที่อันต้องดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมายเป็นสำคัญ  แต่-สิ่งที่กระผมพานพบในแทบจะทุกวัน   ก็คือข้อพิพาทในเรื่องการลักลอบหนีศุลกากร  และในเรื่องค่าภาษีที่จะต้องชำระให้กับรัฐ   ซึ่งหากเกิดข้อพิพาทขึ้นเมื่อใดแล้ว   ส่วนมาก-กระผม, มักจะเกิดความสงสารคู่พิพาทอยู่ร่ำไป   และมักจะมองคน   มองโลกในแง่ดีเกินไป  เพื่อที่หวังจะให้คู่กรณีที่ (คิดว่า-) สุจริต  จะต้องได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ,  ตามความเป็นจริงที่เขาได้ชี้แจงมา   แต่โดยความเป็นจริงแล้ว (เพื่อน ๆ ร่วมงานมักจะกระซิบเตือนกระผมอยู่บ่อยครั้ง,  ในระยะหลัง ๆ   กระผมมักใช้วิธีถามความเห็นจากเพื่อนร่วมงาน-บ้าง!!)   หลายครั้งหาเป็นเช่นที่เขาชี้แจงไม่,   ด้วยเพราะคนพวกนั้นรู้ " จุดอ่อน " ของกระผมได้ดี-ว่า,  เป็นคนขี้สงสารคน   มองโลกในแง่ดี    มองคนในแง่-ทุกคนมีแต่ความบริสุทธิ์    ซึ่งอาจส่งผลเสียหายให้กับกระผมและประโยชน์ของทางราชการ-ได้

          ข้อที่ (2)   " การฏิเสธคนไม่เป็น  เกรงอกเกรงใจ-จนเกินพอดี " ....ด้วยเพราะ-การปฏิเสธบุคคลอื่น  หรือเพื่อนสนิทมิตรสหาย (ซึ่งมีอยูมาก!) ไม่ค่อยถนัดนัก!   ไม่มีความหนักแน่นพอที่จะปฏิเสธคำร้องขอจากผู้อื่น!   เกรงใจกลัวเขาจะไม่พอใจ   และคิดว่าตัวเรานั้น!!   ขาดความจริงใจต่อเขา !!   ทำให้เราต้องสูญเสียเวลาในการทำงานในแต่ละวัน   และในบางครั้งเสียผลาญวลาไปกับเรื่องเหล่านี้มาก-จนเกินพอดี   ทำให้สุดท้าย,  ต้องมาเร่งโหม   ทำงานหามรุ่งหามค่ำ   เพื่อทำงานชิ้นนั้นให้แล้วเสร็จให้ทันเวลา   ทำให้เป็นผลเสียต่อสุขภาพ,  และได้ผลงานที่ไม่ดีตามที่ต้องการนัก!!

          ข้อที่  (3)  " เอาอกเอาใจเจ้านายไม่เป็น "  ....ข้อนี้,  ในระบบราชการจะพบและเป็นที่รู้โดยทั่วกัน-ว่า,  เป็นสิ่งที่พวกข้าราชการที่มีความต้องการ-อย่างแรงกล้า,   ที่จะเป็นใหญ่เป็นโตในตำแหน่งหน้าที่ราชการ-อย่างรวดเร็ว,  ชนิดที่แซงล้ำหน้าเพื่อนฝูงในรุ่นราวคราวเดียวกัน, ชนิดไม่เห็นฝุ่น-แล้วละก็!!   การดูแลเอาใจใส่เจ้านาย   หรือผู้บังคับบัญชา  หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่สามารถดลบันดาลให้เป็นใหญ่เป็นโต-ได้, เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง  อาทิเช่น  การหมั่นแวะไปเยี่ยมเยียนบ่อย ๆ (พ่อแม่ครอบครัว-เอาไว้ทีหลัง!!),   มีของขวัญของฝากที่ถูกอกถูกใจ (ต้องสืบรู้ให้ได้!) ติดไม้ติดมือไปให้โดยสม่ำเสมอ (เรื่องการทำงานลืมไปได้เลย!!)  ฯลฯ    แต่-สำหรับกระผมแล้ว,  กระผม-ตระหนักดีเสมอว่าเป็นจุดบกพร่อง-ที่แย่มาก, สำหรับตัวกระผม-เลย,  และคิดว่าการที่จะกระทำการนี้,  ให้ได้ดีนั้น,  สำหรับตัวกระผม-คงยาก!!, .... เหตุผล (ส่วนตัว), ไม่มีเงิน,   ไม่มีเวลา ( เอาเวลาไปดูแลพ่อแม่-ครอบครัว, จะดีกว่ามั๊ย!!),  ไม่คิดเป็นใหญ่ด้วยวิธีการ-นี้,   ไม่เคยคิด-ที่จะเบียดบังเอาเวลาราชการ ไปกระทำเรื่องที่กระผมคิดว่า-ไม่จำเป็น!!,   ท่านอาจารย์ผู้สอน   หรือเพื่อน ๆ อ่านแล้ว,  รู้สึกเดียวกันใช่ไหมครับ!   ว่า-มันเป็นส่วนแย่ของกระผม, จริง ๆ !!

          ข้อที่  (4)  " เป็นคนที่ทำอะไรค่อนข้างช้า  และประณีตจนเกินไป "....ด้วยความที่,  เป็นคนที่หากทำอะไรแล้ว!   ก็อยากที่จะทำให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่ความรู้ความสามารถ-พึงมี, โดยเต็มกำลัง!!   บ่อยครั้ง, ที่ตั้งใจจะให้งานนั้นมันออกมาดีที่สุด,  จึงบรรจงทำด้วยความประณีตบรรจงละเอียดละออ,  จนเกินพอดี,  บุคคลอื่น,  จึงมองดูเหมือนเรา-นั้น,   เป็นคนที่ทำงาน-เชื่องช้า!    บ่อยครั้งอีกเช่นกัน,  ที่แทบเสร็จ-ไม่ทันเวลาที่กำหนดไว้,   กล่าวคือ-กระผมขาดการบริหารความประณีตให้พอเหมาะพอควรกับเงื่อนไขของเวลาที่กำหนดให้, นั่นเอง!!    ซึ่งในข้อนี้, กระผม-คิดว่า,  น่า-จะแก้ไขได้ในอนาคต (มั่นใจ!)

          ข้อที่  (5)   " ข้าราชการจน-จน "    ....ข้อนี้,  กระผมต้องกราบขออภัย!  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์สอน!, ด้วยความเคารพยิ่ง!!  และเพื่อน ๆ ที่อ่าน Mail-Box นี้-ด้วย,  หากกระผมเขียนข้อความอันไม่สมควรนับต่อแต่นี้ (แต่-โดยส่วนตัว,  กระผม-คิดว่า, ไม่น่า-จะมีปัญหาใด ๆ,  เพราะมิได้-มีเจตนาที่กล่าวให้ผู้ใดได้รับความเสียหายอย่าง-แน่นอน!!)....กระผม, ไม่แน่ใจเหมือนกัน-ว่า,  ข้อนี้-จะเป็นจุดอ่อนของ-กระผม,  หรือเป็น-จุดอ่อนของระบบการศึกษาในเมืองไทย,  เรากันแน่!!  (ฮา)   กระผม, ได้เคยปรารภเล่น ๆ  กับเพื่อน ๆ ร่วมห้อง,  รู้สึกว่าจะหลายครั้งแล้ว-เหมือนกัน,  แต่ก็-ไม่ได้ซีเรียสจริงใจเท่าใดนัก,  ว่า-ทำไม?  ค่าเล่าเรียนยิ่งสูงมันจึงยิ่งแพงลิบลิ่ว!   แพงมาก!   อย่าว่า-แต่ประชาชนคนชั้นล่างจะไม่มีปัญญาเรียน-เลยครับ!   ต่อให้คนชั้นกลาง,  ก็จนปัญญาเช่นกัน!   กระผม,  ข้าราชการจน-จน,  ยังต้องใส่เกียร์ถอยหลัง-เลยครับ!   เมื่อเป็นดังนี้!    คนจน- คนยาก,  นอกจากจะยากจนเงินทองแล้ว,   เห็นทีจะต้องยากจนความรู้ (ชั้นสูง) อีกด้วย-ด้วยเพราะไม่มีเงินที่จะไปศึกษาเล่าเรียนในชั้นสูงได้,   แล้ว-การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ??,   กระผม-มีความเห็นว่า,   มันคงไม่สามารถกระจายไปได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทั้งประเทศได้ในเวลาอันรวดเร็ว, อย่างแน่นอน!!   หากจุดนี้,  ยังไม่ได้รับการแก้ไข  หรือมีหนทางที่คนเบี้ยน้อย-แต่มีความทะเยอทะยานในการศึกษาสูง (ฮา)  ให้ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่ทัดเทียมกับผู้มีฐานะดี,  ย่อมเป็นการสร้างเสมอภาคที่เป็นประโยชน์ต่อชาติอันเป็นที่รักของเรา,  ที่สุดเลย!!  และเมื่อถึงวันนั้น,  จุดอ่อนของ-กระผม,  ในหัวข้อราชการจน-จน,   และจุดอ่อน-ของระบบการศึกษาไทย,   ก็จะถูกลบออกไปโดยสิ้นเชิง!! 

          ส่วน-หัวข้อ,  ในการแก้ไขปรับปรุง  หรือต้องการที่จะพัฒนาในจุดด้อยของตัวเอง-นั้น,   กระผมขออภัย (อีกครั้ง) ที่จะต้องขอบอกผ่าน  BOX  นี้!  (เผื่อว่า-จะสำเร็จ!!)   แนะว่า (หรือวิงวอน-ก็ได้! )  ควรรัฐช่วยหาวิธีการแก้ไขให้การศึกษาในระดับสูง ๆ  นั้น,  ให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงมาบ้าง!   หรือไม่เช่นนั้น,  รัฐก็ควรมีมาตรการที่จะช่วยรับภาระแบ่งเบาไปบางส่วนก็จะเป็นดียิ่ง!   เพราะประโยชน์โพดผล,  ก็ต้องอยู่แก่ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ-อยู่แล้ว!!

          กราบเรียน  ท่านอาจารย์  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ผู้สอน-ที่นับถือยิ่ง

          กระผม,  ขออนุญาตทำการบ้านในข้อที่ (2)  ต่อไปเลย (ครับ),  กับคำถามที่ว่า  ผู้นำกับผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร? 

          (คำตอบ) :  ก่อนอื่นต้องขออนุญาตแก้ไขคำผิดที่กระผมให้ความหมายด้วยตัวเองผิดไป,  กว่าจะรู้ว่าผิด-ก็  " ปล่อยไก่ "  ไปตั้งหลายเล้าแล้ว !   ได้แก่ คำว่า  BOX  ขออนุญาตแก้ไข  ณ  ที่นี้เป็น blog.....เริ่มอธิบายความ,  ในความหมายของคำว่า  " ผู้นำ"  ก่อนเลย!    ผู้นำกับผู้บริหาร-นั้น,   หากเราพิจารณาโดยมิได้ลงลึกไปในรายละเอียดตามหลักทางวิชาการ-นั้น!!   กระผมขอให้คำอธิบายว่า,   ผู้นำ  คือ  ผู้ที่มีลักษณะปรากฏเด่นชัดถึงบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำที่แตกต่างไปจากผู้คนอื่นโดยทั่ว ๆ ไป,  จะมีลักษณะของความเป็นผู้กล้า,   ความเชื่อมั่นในตนเองค่อนข้างสูง,   มีความกล้าหาญชาญชัยในการตัดสินใจที่ฉับไว้และโดยส่วนมากจะไม่ค่อยผิดพลาดให้ปรากฏ,   และหากผิดพลาดก็มีความกล้าหาญยืดอกน้อมรับความผิดพลาดด้วยความองอาจ,  มิใช่-โยนความผิดพลาดให้กับผู้อื่น,  แล้วน้อมรับเอาแต่ความชอบไปแต่เพียงผู้เดียว,  นั่น-ย่อมมิใช่,  วิสัยผู้นำที่ดี!!   ความเป็นผู้นำ-นั้น,   อาจจะมิใช่,  มาจาก-ผู้ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ที่ใหญ่โต-ก็ได้,   สภาวะของความเป็น " ผู้นำ "  อาจถูกซ่อนเร้นไว้ภายในจิตใจของใครบุคคลใดบุคคลหนึ่ง-ก็เป็นได้!!   เมื่อไม่มีสภาวะการณ์ที่จำเป็น,  ไม่มาบีบบังคับให้ต้องแสดงออกถึงความเป็น-ผู้นำ,  ก็ไม่ได้ถ่ายทอดปรากฏออกมาให้ใครได้ประจักษ์ถึงความสามารถในการเป็นผู้นำคน!!   ผู้นำอาจเป็นการกำเนิดขึ้นโดยสัญชาติญานของความเป็นผู้นำ,  โดยมิได้มีใครมาบังคับขู่เข็ญ,  ก็เป็นได้-เช่นกัน!!    ผู้นำ,  อาจจะมาจากการแต่งตั้งของกลุ่มบุคคลภายในกลุ่มเลือกขึ้นมาเอง   หรือมาจากผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่า,  ก็ได้!!    ก็ล้วนเลือกแล้วเฟ้นมาจากผู้ที่ลักษณะของความเป็นผู้นำโดยทั้งสิ้น!!   เมื่อเข้ามาอยู่ในตำแหน่งฐานะของ  " ผู้นำ "  แล้ว,  ที่นี้-จึงต้องเรียนถึงรู้หลักในการบริหารสิ่งต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น  คน  ทรัพย์สิน  และสิ่งของต่าง ๆ   ให้อยู่ในกรอบที่เราต้องการให้เป็นไป,   ซึ่งผู้นำก็จะต้องกลับกลายมาสวมวิญญานเป็น  " ผู้บริหาร "  ต่อไป-ทันที!!   นั่นคือ,  ความหมายและความเข้าใจในเบื้องต้นที่แตกต่างกันสำหรับ  คำว่า  ผู้นำกับผู้บริหาร!

          ส่วนคำว่า  " ผู้นำ "  ตามหลักการทางวิชาการ-นั้น  จะต้อง  (1)   เป็นการดำเนินการที่เน้นไปกับการปกครองผู้คนที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของตนเอง   ( 2 )  โดยวิธีการสร้างความน่าเชื่อถือ  (Trust)  ให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา  ตามพฤติกรรมที่ดีน่าเลื่อมใส  และพร้อมพรั่งด้วยความสามารถเต็มสตีม,   พร้อมที่จะ   (3)  สามารถขับเคลื่อนแผนการทำงานไปได้ในระยะยาว,   ซึ่งก็เป็นไปด้วย-ศักยภาพแห่งความผู้นำของให้บุคคลผู้นั้น-โดยแท้!!   (4)  ผู้นำในข้อนี้,  ต้องสามารถบอกได้ว่า  ผู้นำเช่นตนนั้น,  มีสิ่งที่ต้องการจะดำเนินในระยะยาวนั้น,  คืออะไร (What)  และทำไม (Why)  จึงต้องกระทำการนั้น ??    (5)  นั่นคือสิ่งที่ผู้นำ,  ตามหลักทางวิชาการ,   ต้องสามารถอธิบายให้ผู้กระทำตาม,  ทราบเป็นการกระทำนั้น,   ก็เพื่อม่งเน้นให้เห็นแก่อนาคตกันในระยะยาวนาน   (6) โดยผู้นำ,  จะต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง  (Change)  การดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้เกิดความทันยุคสมัย   (7)  มีการเน้นหานวัตกรรมมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลดี  ต่อไป........ฯลฯ

นางสาวธัญลักษณ์ สีถัน ID 06150021
สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อน  MPA  ทุกท่าน  ซึ่งวันอาทิตย์ที่ 4  กุมภาพันธ์  2550  ที่ผ่านมานี้  ท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้เชิญท่าน  MR.LEIGH  SCOTT ,  ท่านอาจารย์พิทยา  พุกมาน  และท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  มาช่วยบรรยายแปลและช่วยเสริมเสนอแนะให้ความรู้เพิ่มขึ้นกับพวกเรา                ช่วงเช้า  อาจารย์ท่านแรก  MR.LEIGH  SCOTT  ได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง  LEADERSHIP & COACHING  โดยมีแบบสอบถามเพื่อให้สำรวจตนเอง  และการที่จะมี  LEADERSHIP นั้น  ก็ต้องเห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งลูกน้อง  ทีมงานมีพฤติกรรมอย่างไร  ของนักปราชญ์  ซุนวู  ที่ว่า  รู้เขา-รู้เรา  โดยมีหลัก 4  ข้อที่เป็นองค์ประกอบดังนี้1. Intuitor    ช่างคิด  ชักนำ2. Thinker   หลักการ+เหตุผล3. Feeler    สนองตอบอารมณ์4. Senser   เน้นประสบการณ์-พฤติกรรมทีมงานพึงประสงค์  เช่น   การตรงต่อเวลา  ความขยัน-พฤติกรรมทีมงานไม่พึงประสงค์  เช่น  การมาสาย  ความขี้เกียจโดยใช้GAP  เป็นเครื่องมือวัด                สรุป  เพื่อต้องการให้เรียนรู้พฤติกรรมและสามารถปรับเปลี่ยน  ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงจุดอ่อนจุดแข็งของการสื่อสาร                ช่วงบ่ายเป็นท่านอาจารย์พิทยา   พุกมาน  อดีตทูตหลายประเทศ  ซึ่งท่านก็นำเอาประสบการณ์ต่างๆ  ของท่านที่ได้ไปประจำในประเทศต่างๆ  มาชี้นำเป็นแนวทางในการบริหารของประเทศต่างๆ มาบรรยายให้ฟัง  เช่น   ได้เปรียบเทียบประเทศญี่ปุ่นกับลาตินอเมริกาซึ่งลาตินอเมริกาด้อยพัฒนามากกว่า    และประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น   ประเทศไทยจะได้เปรียบด้านทรัพยากรธรรมชาติ  ส่วนประเทศญี่ปุ่นต้องอาศัยวัตถุดิบจากต่างประเทศ                แล้วท่านอาจารย์พิทยา  พุกมาน  ก็ได้สรุปไว้  10  ข้อ  ว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงประสบความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองมากกว่าประเทศไทย1.  การตรงต่อเวลา2.  หน้าที่ความรับผิดชอบ  มีวินัย3.  Team  work4.  จงรักภักดีต่อหน่วยงาน5.  รักความสะอาด6.  ชอบอ่านหนังสือ7.  การมีมารยาททางสังคม8.  ความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตัวเอง9.  ขยัน  อดทน10. การพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่งท่านอาจารย์ยังได้เปรียบเทียบระหว่างเอเชียตะวันออก  และลาตินอเมริกา   ทางเศรษฐกิจ  การออมเงิน  เสถียรภาพทางการเมือง  เอเชียตะวันออกจะดีกว่า                สุดท้ายนี้  ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้ความรู้ตลอดรายวิชาที่ท่านอาจารย์ได้นำประสบการณ์และความรู้  ตลอดจนให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละคนไปพัฒนาตนเอง  โดยเลือกใช้  Top  down  หรือ  Bottom  up  ในการพัฒนาองค์กรหรือหน่วยงานต่อไป

          เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่นับถือ

          (ขออนุญาต-ส่งการบ้าน, ต่อ....)  ผู้บริหาร, มีความแตกต่างกับผู้นำ ตามหลักทางวิชาการ  ดังนี้-(1) ผู้บริหารจะปฏิบัติงาน    โดยเน้น,  ที่การบริหารระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ,  เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน,  ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้,  ซึ่งแตกต่างกับผู้นำที่เน้นไปที่การปกครองคนทำงาน, มากกว่า!!   (2)  ผู้บริหาร,  จะเน้นใช้ระบบการทำงาน,  ตามทฤษฎีทางวิชาการ  หรือตามระบบงานของแต่ละหน่วย,  เป็นตัวควบคุมการทำงาน,  โดยมีค่าประเมินการทำงานของแต่ละบุคคลอย่างเป็นทางการและมีระบบที่แน่นอน,   มีค่าตัวชี้วัดถึงผลสัมฤทธิ์ของการทำงานอย่างเป็นระบบและมีค่าที่แน่นอน  ฯลฯ  เป็นต้น  (3)  แผนการทำงาน,  จะแบ่งแผนการทำงานออกเป็นช่วง ๆ  และวัดค่าความสำเร็จของงานเป็นระยะ ๆ  ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งเดือน-สองเดือน  หรือสามเดือน  โดยเป็นช่วงระยะสั้น ๆ ,   เพื่อหากว่า,  ถ้า-พบเจอข้ออุปสรรค  หรือปัญหาในการทำงานจะได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงได้ทันท่วงที,  จะได้ไม่เกิดความเสียหายไปมากจนแก้ไขลำบาก   (4)  การทำงานในแง่ของผู้บริหาร,  จะกำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงาน-ทุกครั้งไป,  ว่า-เมื่อไหร่??  ที่คุณจะต้องเริ่มดำเนินการ  และว่า-แล้วจะเสร็จเมื่อไหร??  (When)   พร้อมทั้งในแผนงาน-นั้น,  ก็จะต้องบอกกำหนดไว้ด้วย-ว่า,  คุณจะต้องดำเนินการอย่างไร?  (How)   และคุณ-ผู้ปฏิบัติงานก็จะต้องดำเนินการไปตามนั้น, กรุณาอย่าออกนอกลู่นอกทาง,  ถ้างานไม่สำเร็จคุณจะต้องถูกพิจารณาโทษ   (5)  ผู้บริหาร,  โดยทั่วไป,  ที่เข้ามาบริหารงานใด ๆ นั้น,  ก็เพื่อมาทำงานให้เกิดผลประโยชน์-ผลกำไร,  ให้แก่องค์การ  หรือบริษัท/ห้างร้าน,  นั้น ๆ  และต้องเป็นค่าที่อ่านได้ชัดเจน,  มีค่าตัวเลขที่แน่นอน  ตัวอย่างเช่น   หากเป็น-ผู้บริหารในบริษัท/ห้างร้าน,  ก็ต้องสามารถวัดผลกำไรจากผลการประกอบการของบริษัทฯ , ในการบริหารงานของผู้บริหาร-ท่านนั้น, ว่า -ในช่วงระยะหนึ่งเดือน-สองเดือน  และสามเดือ-นั้น , ผลประกอบการของบริษัทฯ มีผลกำไร/ขาดทุน,  เป็นเท่าใด??  ระวัง! หากไม่ได้ตามเป้า!!!  (6) ผู้บริหาร,  จะมุ่งมองไปที่ผลสัมฤทธิ์ของงาน-เป็นหลักใหญ่,  คุณ-ผู้ปฏิบัติ,  จะทำงานอย่างไร-ก็ได้,  ขอให้ทำยอดผลสำเร็จ-ออกมา,  ตามเป้าประสงค์ (Goal)  ที่ตั้งไว้   หรือทำยอดการผลิต   หรือยอดการจำหน่าย  ฯลฯ  ได้-ตามที่ต้องการของบริษัทฯ,  เท่านั้น-เป็นอันเพียงพอสำหรับงานในหน้าที่ของผู้บริหารของบริษัทฯ-แล้ว   (7)  นโยบายหรือแผนงานของผู้บริหารที่ได้ถูกนำมาใช้บริหารไปแล้ว-นั้น,   ผู้ปฏิบัติพึงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นอย่างเข้มงวด   อย่าเฉไฉ  หรือทำงานออกนอกกรอบ  หรือระบบ-ที่ได้ถูกกำหนดวางไว้ให้แล้ว (Static)   เพราะ-อาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งระบบ-ได้,  เพราะ, ระบบ-นั้น, ได้ถูกวางไว้อย่างตายตัวและแน่นอนชัดเจน-แล้ว,   ในทุก ๆ ระบบ   และทุก ๆ หน่วยที่เกี่ยวข้อง,  หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง-ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น,   อาจเกิดความเสียหายกระทบกัน-เป็นลูกโซ่,  ลุกลามเสียหายใหญ่โต-ได้,  ส่วนมากแล้ว-ผู้บริหารมักจะมั่นคงในแผนการทำงานที่ตนได้-ดำเนินการไว้,  ไม่โลเล-เปลี่ยนไป, เปลี่ยนมา-ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความไม่เชื่อมั่น,  อาจทำให้-การดำเนินงาน, มีปัญหาและอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง, ตามมา-ก็เป็นได้

          ในทัศนะของกระผม-แล้ว,  กระผมมีความเห็นว่า  " ผู้นำ "  นั้น,  หาได้ไม่ยากนัก-โดย, ส่วนมากแล้ว-แต่ละคน,  ก็จะมีลักษณะของความเป็นผู้นำติดตัวมาแทบจะทุกคน!! (ในความเห็นของ-กระผม)  แต่จะมีความเป็นผู้นำ,  ในด้านไหน?  หรือเป็นผู้นำในทางไหน??  -เท่านั้นเอง,  เช่น  อาจจะเป็นผู้นำกลุ่ม  อาจจะเป็นผู้นำชุมชน  อาจจะเป็นผู้นำในการปราศรัยเดินขบวนประท้วง   อาจจะเป็นผู้นำในการร้องเพลง  อาจจะเป็นผู้นำของครอบครัว  อาจจะเป็นประธานนักเรียน  อาจจะเป็นหัวหน้าทีมแข่งขันกีฬา ฯลฯ  เป็นต้น  แต่จะมีข้อสังเกตได้โดยง่าย ๆ  -ว่า ,  ลักษณะของผู้นำ-นั้น,  มักจะเกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติในตัวเสีย-เป็นส่วนใหญ่ , มิได้-เกิดจากการศึกษาในตำรับตำราทางวิชาการ-อย่างแน่นอน,  มันเป็นทักษะ ความชำนาญ (Skill) ที่มีอยู่ในตัวโดยธรรมชาติ,  เท่าที่พบเห็น,  ผู้นำ,  อาจจะไม่ใช่-ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงาน  หรือยศฐาบรรดาศักดิ์-สูงส่ง,   แต่-ก็สามารถเป็นผู้นำ, ได้-หากได้รับการยกย่องให้เป็น " ผู้นำ "  ....ผู้นำ-แตกต่าง-จากผู้บริหาร (ในทัศนะ-ส่วนตัว)   ผู้บริหาร,  ต้องผ่านการศึกษา-ถึงขั้นในระดับที่สูงพอสมควร,  ที่จะได้รับการยกย่อง, ว่า-เป็นผู้บริหาร,   ต้องมีฐานะตำแหน่งอยู่ในขั้นระดับสูง   พอที่จะเรียกได้,ว่า-เป็น " ผู้บริหาร "  ....ฉะนั้น!  กระผมจึงมีความคิดเห็น (ในมุมต่าง!) ว่า, "  ผู้บริหาร "  แตกต่าง-จาก " ผู้นำ "  ตรงที่-ว่า   " ผู้นำ "  หาได้-ง่าย, กว่า  " ผู้บริหาร "    ด้วย-ข้อจำกัดดังได้กล่าวไว้แล้ว-ข้างต้น!!

นางสาวอรุณรุ่ง พึ่งร่วมกลาง
กราบเรียน            ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์ 

                                ดิฉันนางสาวอรุณรุ่ง  พึ่งร่วมกลาง  ในฐานะลูกศิษย์ (MPA.) STAMFORDฯ ในวันอาทิตย์ที่ 

 

28  มกราคม  2550  นั้น ดิฉันของกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์ เป็นอย่างยิ่งที่ได้

 

อนุเคราะห์ให้มีอาจารย์จากต่างประเทศ มาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ลูกศิษย์ห้อง (MPA.) และในวันนั้นดิฉัน

 

ได้ร่ำเรียนกับ   ท่านอาจารย์.  ปีเตอร์  บียอร์ค    ในเรื่อง  การทำงานที่เน้นคน เน้นงาน  TOP  DOWN    

 

   BOTTOM -   UP          ซึ่งได้องค์ความรู้เป็นอย่างมากและได้นำมาใช้ในหน่วยงานของดิฉันได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

และอาจารย์ ปีเตอร์  บียอร์ค  ได้ให้แสดงความคิดเห็นในห้องเรียนโดยให้วิเคราะห์ในองค์กรของตนเอง และ

 

ดิฉันก็ได้วิเคราะห์ได้ว่า     TOP  DOWN     เหมาะสมกับระบบราชการไทย      โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 ผังของการทำงานแบบ  TOP   DOWN  จะเป็นรูปร่างหน้าตาว่าจะบริหารงานจากส่วนบนลงล่าและบ่งบอกอย่างเด่นชัด                  บริหาร                                   หัวหน้างาน                                            ผังการทำงานของ TOP  DOWN  คือจะบริหารงานมาจากผู้บริหาร                                                                                ระดับสูงลงมาสู่ระดับล่าง (พนักงาน)           พนักงาน 

ระบบราชการไทย   ทำงานเป็นระบบ   มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า  เมื่อจะปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนเองแล้ว

 

งานนั้นก็ต้องทำตามแผนการปฏิบัติงานที่ได้จัดทำขึ้น  (แต่ระบบราชการมักจะทำงานซ้ำซ้อน)   เมื่อเกิดปัญหา

 

ในการทำงานตามแผนงานที่วางไว้ก็ไม่ค่อยได้มีการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนเองสัก

 

เท่าไหร่แต่แผนปฏิบัติของหน่วยงานราชการแต่ละแผนฯ งานก็มีระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร และสิ่งนี้แหละ

 ที่ทำให้ระบบราชการเป็นระบบงานที่เฉื่อยชา ทำงานซ้ำซ้อน และล้าช้า  หรือ เขาจะเรียกว่า เช้าชาม เย็นชาม ค่ะ 

BOTTOM – UP  ที่ใช้ในประเทศไทย ก็มักจะอยู่ในองค์กรเอกชนเป็นส่วนมาก    โดยในองค์กรหลายองค์กร 

 

ได้เริ่มมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกได้แสดงออกซึ่งแนวความคิด เช่นมีการจัดทำแบบสอบถามต่าง ๆ เสนอความ

 

คิดเห็นในรูปแบบเป็นข้อความต่อผู้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชานำไปพิจารณาในการจัดการประชุม เรื่องการ

 

บริหารงานต่อไป และผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ  เดี๋ยวนี้ก็เริ่มที่จะรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของพนักงาน

 

ในระดับล่างมากยิ่งขึ้น  ผู้บริหารเริ่มมีการยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น และมองเห็นความสำคัญของพนักงานระดับล่าง

 มากยิ่งขึ้น 

สิ่งที่ควรที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น คือ  ส่งเสริมให้พนักงาน มีองค์ความรู้ก่อนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารงานและมี

 

แนวคิดที่กว้างไกล มีวิสัยทัศน์ที่ดีต่อองค์กร  ส่วนมากพนักงานยังไม่กล้าที่จะแสดงออก และแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ

 ส่วนมากไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงในองค์กร จึงควรฝึกให้พนักงานในองค์กรได้มีความกล้าแสดงออกมากขึ้นก่อน  

ได้มีการเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบไหนในองค์กร  และได้ยกตัวอย่าง  ดังนี้

 

ผู้นำแบบ   PEROSON     คือ                           คุณพารณ   อิสรเสนา  ณ อยุธยา

 

ความสัมพันธ์ กับ คน   PEOPLE      คุณพารณฯ  เน้นงาน  เน้นคน   เน้นการสัมพันธ์กับพนักงานระดับล่าง

 

1.             ส่วนผู้นำที่ดี   ในปัจจุบัน  ที่ตรงกับที่อาจารย์  ปีเตอร์  บียอร์ค  สอนมาทั้งหมดวันนี้ ได้สรุป  คือ

               

ท่านอาจารย์  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์   เพราะตรงกับทฤษฎีของอาจารย์ที่สอนมา คือ ทฤษฎี  โป๊ะเช๊  

 

2.             ส่วนผู้นำที่ดี    ในอนาคต  คือ  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์

 

3.             RELATION  =   เน้นคน  ความสัมพันธ์ของคนและให้ความสำคัญของคน คือ คุณพารณ  อิสรเสนา ณ อยุธยา

               

STRUCTURE =    เน้นโครงสร้าง   เน้นงาน    คือ  ท่าน ดร. อำนวย   วีระวรรณ

               

CHANGE     =        เน้นการเปลี่ยนแปลง          คือ  ดร. ทักษิณ   ชินวัตร

               

RELATION+STRUCTURE+CHANGE  =  มีองค์ประกอบครบถ้วนเหมาะที่เป็นผู้นำทั้งประเทศ คือ

                                                               

                                องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของปวงชนชาวไทย               

นี้คืองานที่ดิฉันได้เรียนกับอาจารย์  ปีเตอร์  บียอร์ค  ในวันที่  28  มกราคม  2550   และขอกราบขอบพระคุณ              

  ท่านศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์ และ อาจารย์  ปีเตอร์  บียอร์ค  เพราะเห็นท่านอาจารย์ ปีเตอร์  บียอร์ค  มีความตั้งใจสูง มากในการได้มาสอน และท่านอาจารย์  ยม   นาคสุข   ดิฉัน  พี่ ๆ  เพื่อน ๆ ร่วมห้อง  (MPA)  ในวันนั้น  ขอกราบขอบ พระ อีกครั้งค่ะ และ  ขอบคุณทีมงานของท่านศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมย์ ด้วยค่ะ นางสาวอรุณรุ่ง   พึ่งร่วมกลาง  นิสิต ป.โท      006150012รัฐประศาสนศ

              สวัสดีค่ะ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และท่านผู้อ่าน Blog

อาทิตย์ ที่ 4 กุมภาพันธ์  เป็นอีกอาทิตย์หนึ่งที่มีการเรียนการสอนบทบาทภาวะผู้นำ  ในครั้งนี้ถึงแม้ท่าน ศ.ดร.จีระ จะไม่สามารถสละเวลามาทำการสอนด้วยตัวท่านเองแล้ว  ท่านได้เชิญ  Mr.Leigh Scott  และ ท่านทูต พิทยา พุกมาน ผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยาย ให้ความรู้กับนักศึกษา  ขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ อีกทั้งขอกราบขอบพระคุณ Mr.Leigh Scott  และ ท่านทูต พิทยา พุกมาน ที่สละเวลามาบรรยายแทน ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

         

ในช่วงเช้า     Mr.Leigh Scott  บรรยาย  Leadership & Coaching โดยมี อ.ยม นาคสุข ช่วยแปลและบรรยายเสริมเพื่อความเข้าใจให้กับพวกเรา

    

           ภาวะผู้นำกับการสื่อสาร

การเป็นผู้นำ เรื่องสำคัญ คือเรื่องของการสื่อสารถ้าการสื่อสารไม่ดีจะเป็นผู้นำไม่ได้         

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

 

                                -การส่งข่าวสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว

 

                                -มีความชัดเจนในข่าวสารข้อมูล

 

                                -ลดความไม่จำเป็นในการตรวจสอบซ้ำ

 

                                -ลดเวลาและความพยายาม

 

                                -อารมณ์สงบ

ความเสี่ยงของการสื่อสารที่แย่

 

                                -ความไม่เข้าใจกัน

 

                                -การคาดเดา

 

                                -ข่าวลือ

 

                                -ความคิดดีไม่ได้นำมากล่าว

 

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เป็นสัญญา ระหว่าง 2 ฝ่าย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบในการ

     พูด  Speak  ต้องไม่พูดพร้อมกัน

     ฟัง  Listen  ฟังด้วยความตั้งใจ ไม่ใช่แค่ได้ยิน

     ริเริ่ม  Initiate  เป็นการโต้ตอบ  2 ทางตลอดเวลา

ผลงานวิจัยของนักจิตวิทยาชาว สวิส  Carl Jung พบว่า

     -บุคคล ต่างกันตรงที่ --  การรับและการดำเนินการ กับข่าวสารข้อมูลนั้น

     -บุคคล ต่างกันตรงที่  การตัดสินใจ

     -ความจริงเหล่านี้มีผลต่อการที่เราจะสื่อสารกับผู้อื่น

          การสื่อสารตามแบบ Carl Jung มี รูปแบบหลัก 4 แบบ

               สิ่งที่ต้องเน้น

                    - การเลือกของแต่ละคน

                    -ไม่มีรูปแบบเฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง

               ไม่มีสไตล์ใดดี  หรือเลว  หรือถูกต้องมากกว่ากัน

               ไม่เกี่ยวกับ  สติปัญญา  บุคคลิก  ผลงาน

     พฤติกรรมจาก  4 รูปแบบ

          Intuitor    ช่างคิด คาดการณ์ ชักนำ

          Thinker    วิเคราะห์  จัดลำดับตามหลักเหตุและผล

          Feeler       เชื่อมโยง และเข้าใจ ปฏิกิริยาทางอารมณ์  และสนองต่อความรู้สึก

          Sensor      เน้นประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมาเป็นหลัก

     การเป็นผู้นำจะต้องค้นพบตนเองให้ทราบว่าตนเองมีพฤติกรรมเช่นไร  Mr.Leigh ได้ให้ทำแบบสำรวจของ  I  Speak เพื่อที่จะทำให้ทราบว่าตนเองมีลักษณะบุคลิกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นเป็นอย่างไรก่อนที่จะไป  Coaching ผู้อื่นเหมือนสุภาษิตจีนของ  ซุนวู  รู้เขา  รู้เรา

    

     ในส่วนของพนักงานหรือทีมงาน จะต้องรู้พฤติกรรมของพนักงานว่าเป็นคนอย่างไร มาจากไหนครอบครัวเป็นอย่างไร ขยันขี้เกียจ มีความต้องการอะไร เงินทอง ชื่อเสียง ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานหรือชอบการทำงานท้าทายความสามารถซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้นำจะต้องทราบ โดยการใช้เครื่องมือวัดเข้ามาช่วยก็จะทำให้ทราบพฤติกรรมของทีมงานและช่องว่างระหว่างพฤติกรรมพึงประสงค์ และพฤติกรรมทีมงานว่าต่างกันขนาดไหนแล้วพยายามลดช่องว่างปรับปรุงจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง

                                       ช่วงบ่าย

          การบริหารและเศรษฐกิจใน ญี่ปุ่น& ละตินอเมริกา

    

ท่านทูต พิทยา  พุกมาน ท่านได้บรรยายถึงระบบเศรษฐกิจ  ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเราว่าเป็นรากฐานของความมั่นคงของประเทศ  ถ้าทุกคนปฏิบัติตามหรือมีความเข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึกซึ้งและท่านได้เปรียบเทียบระหว่าง ญี่ปุ่น  ไทย  ละตินอเมริกา  ให้ได้ทราบถึงความแตกต่างและยกตัวอย่างของประเทศ ญี่ปุ่น ว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรค่อนข้างจำกัดอาศัยวัตถุดิบจากต่างประเทศ มีความเชี่ยวชาญในการบริหาร  มีทรัพยากรมนุษย์  มีวินัย การบริหารเน้นการประหยัด ขยันหมั่นเพียร อดทน  กล้าเสี่ยง กล้าไปลงทุนต่างประเทศ การทำงานเป็นทีมเวอร์ค คนญี่ปุ่นชอบอ่านหนังสือ  มีมารยาททางสังคมดี ประเทศในกลุ่ม ละตินอเมริกา คือกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้มีด้วยกัน 20 ประเทศ   ประกอบไปด้วย  ประเทศบราซิล  อาเจนติน่า  ชิลี  คอสตาริกา เม็กซิโก  อุรุกวัย  ปานามา  โคลอมเบีย  สาธารณะรัฐโดมินิกัน  เวเนซุเอลา  เปรู  ปารากวัย  เอลซัลวาดอร์  กัวเตมาลา  เอกวาดอร์  โบลิเวีย  คิวบา  ฮอนดูรัส  นิการากัว เฮติ  ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศอาร์เจนตินา  ชิลีเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุด   คนละตินอเมริกาส่วนใหญ่ ชอบใช้ชีวิตสบายๆ ชอบนอนกลางวันนอนวันละหลายชั่วโมง ชอบทานอาหารอร่อยๆ ชอบใช้เงินไปกับการแต่งกาย ชอบหนีภาษี ไม่มีเสถียรภาพทางการเงิน แต่มีดีที่มีผู้หญิงรูปร่างหน้าตาสวยๆมักสังเกตได้จากการประกวดนางงามจักวาลมักได้ครองตำแหน่งบ่อยๆ

    

และท่านก็ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ  ของญี่ปุ่น

     1.การมีวินัย ในชีวิตประจำวันถือการตรงต่อเวลามากๆ

     2.ความขยันหมั่นเพียร อดทน

     3.การสร้างสรรค์ที่จะให้ก้าวไปข้างหน้า

     4.ทีมเวอร์ค ญี่ปุ่นถนัดการทำงานเป็นทีมเพราะถูกฝึกมาตั้งแต่เด็ก

     5.ชอบอ่านหนังสือ

     6.รักความสะอาด ตามหลักการศาสนา ชินโต นับถือความบริสุทธิ์

     7. ความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่จะช่วยเหลือกันอย่างดี

     8.มารยาททางสังคม ญี่ปุ่น จะมีมาก

     9.ความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตนเอง กลัวความขายหน้าต่อสาธารณะชนการหยิ่งในศักดิ์ศรีมีผลต่อการประพฤติตัวเอง และ รัฐบาล

     10.การไม่อยู่กับที่ พัฒนาให้เกิดความเป็นเลิศ ญี่ปุ่นมีมาก

         

   สรุป

          เมื่อได้ฟังคำบรรยายแล้วทำให้ทราบว่า  การที่สถาบันครอบครัว บริษัทห้างร้าน องค์กรระดับชาติ หรือสถาบันใด  ถ้ามีผู้นำที่ดี รู้จักตัวเอง  รู้จักลูกน้องและทีมงาน  และสามารถ coaching ลูกน้องและทีมงานได้นั้น  ก็จะทำให้สถาบันนั้นๆเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

 
    

    

 

 
นางสาวอรุณรุ่ง พึ่งร่วมกลาง
กราบเรียน       ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์                         ดิฉันนางสาวอรุณรุ่ง  พึ่งร่วมกลาง  ในฐานะลูกศิษย์ (MPA.) STAMFORDฯ ในวันอาทิตย์ที่  4  กุมภาพันธ์  2550  นั้น ดิฉันของกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์ เป็นอย่างยิ่งที่ได้อนุเคราะห์ให้มีอาจารย์จากต่างประเทศ มาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ลูกศิษย์ห้อง (MPA.) และในวันนั้นดิฉันได้ร่ำเรียนกับ   ท่านอาจารย์.  LEIGH  SCOTT    ในเรื่อง  LEADERSHIP  &  COACHING  และในวันนั้นดิฉันได้ประทับใจอาจารย์  LEIGH   SCOTT  เป็นอย่างมาก และท่านอาจารย์ ยม นาคสุข ผู้ที่ทำการแปลภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม เพราะในเอกสารของท่านอาจารย์นั้นจะมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เหมือนกับว่าท่านอาจารย์ได้เตรียมการสอนนักศึกษา (MPA.) มาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะห้องของเรียนของดิฉันเพราะส่วนมากนักศึกษาจะพูดภาษาต่างประเทศไม่ค่อยเก่งค่ะ (แต่ฟังออกนะค่ะ)    ในวันนั้นอาจารย์  LEIGH  SCOTT  ได้พูดถึงการทำงานที่การสื่อสารแบบมีประสิทธิภาพสื่อสารอย่างไรถึงจะเข้าใจให้ตรงกัน หรือ ที่พูดง่าย ๆ ก็คือ รู้เขา รู้เรา  ทฤษฎี ของ ซุนวู  เพราะจะได้รู้ว่าคนที่เราทำงานร่วมกันกับเขานั้นเป็นอย่างไร  อย่างเช่น ลูกน้อง  ทีมงาน  มีพฤติกรรมอย่างไร  โดยอาจารย์  LEIGH  SCOTT  ได้ทำการแจกแบบสอบถามกับนักศึกษา (MPA.) ก่อนทำการสอนเพราะอยากรู้ว่านักศึกษาเป็นอย่างไร มีคะแนนที่ได้เท่าไร จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข และมีความหมายอย่างไร  คือ  ได้ยกตัวอย่างพฤติกรรม  4  รูปแบบมากล่าวไว้I=Intuitor   คือ  เน้นความคิด  ช่างคิดค้น  ช่างฝัน  ริเริ่ม มีอุดมคติ  (ถ้ามีมากไปก็จะอยู่ในโลกที่ไม่เป็นจริง)T=Thinker   คือ  เน้นข้อเท็จจริง ตรงไปตรงมา  มองโลกในเชิงวัตถุนิยม  เน้นรายละเอียด            เน้นวิเคราะห์  มีความแม่นยำ  (ถ้ามีมากเกินไป จะเป็นคน ขี้กังวล)F=Feeler      คือ  มีความคล่องแคล้ว หนักแน่น มีความคิด-พิจารณา ชอบแบบลำลอง ชี้ชวน         (ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำตัว แบบเบิดร์ ๆ ๆ  สบาย ๆ ๆ )S=Sensor คือ  ยึดติด มีความถนัดด้านเทคนิค แน่วแน่เป็นนักปฏิบัติ                                               (ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นคนที่ชอบใช้อำนาจบาทใหญ่) และได้พูดถึงภาวะผู้นำว่าการเป็นผู้นำนั้นจะต้องทำอย่างไร คือ ผู้นำต้องมีการโน้มน้าวให้ผู้ที่จะทำงานร่วมกันนั้นมาช่วยเราทำงานต่าง ๆ นั้นให้สำเร็จและไปในทิศทางเดียวกันกับเราให้ได้ผู้นำจะต้องเปลี่ยนแปลงสไตล์การทำงานของตนเองอยู่เสมอ  เพื่อที่จะไม่ให้บรรยากาศในการทำงานน่าเบื่อหน่ายและคนรอบข้างจะได้ไม่เบื่อไปด้วยผู้นำที่ดีจะต้องศึกษาพฤติกรรมของทีมงานหรือคนรอบข้างได้เป็นอย่างดีด้วยว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทำไมพนักงานถึงมา  ทำงานสาย  ขี้เกียจทำงาน  และนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของพนักงาน มาทำงานตรงต่อเวลา   ขยัน  อดทน คือ ทำงานได้หมดทุกอย่าง โดยมีเครื่องมือวัดโดยการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการ จุดอ่อน ให้เป็น จุดแข็งโดยสรุป การทำแบบสำรวจเพื่อวัตถุประสงค์ในการหารูปแบบการสื่อสารและทำความเข้าใจกับผลกระทบที่มีต่อรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสื่อสารนั้น และเคล็ดลับของการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในการพูดและการเขียน เพื่อให้รู้และปรับปรุงรูปแบบเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าใจถึงจุดแข็ง และความท้าทายของรูปแบบการสื่อสาร และเพื่อนำรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนี้ไปใช้ในองค์กรของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไป ส่วนของท่านอาจารย์ ดร.พิทยา  พุกมานท่านได้มาบรรยาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศญี่ปุ่น  กับ ประเทศลาตินอเมริกาท่านได้พูดถึงประเทศญีปุ่นว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงได้เจริญรุดหน้าไปมากว่าประเทศทั้งหลายที่อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติซึ่งผิดกับประเทศไทยเรามีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากแต่ทำไมประเทศไทยจึงเจริญรุดหน้าเหมือนกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเขามีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพมากกว่าไทยและการบริหารงานของประเทศญี่ปุ่นก้าวหน้ากว่าประเทศไทยมาก เพราะว่าคนญี่ปุ่น เขามีระเบียบวินัยมากโดยก่อนอื่น ท่านอาจารย์ ดร.พิทยา  พุกมาน  ได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ในด้านสังคม, วัฒนธรรม, การบริหาร, โดยที่ไทยได้เปรียบด้านทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าญี่ปุ่น ดังนั้นญี่ปุ่นจึงเป็น ประเทศที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศทั้งหมด  ญี่ปุ่นมีความชำนาญด้านทรัพยากรมนุษย์, เชี่ยวชาญด้านการบริหาร, ส่งเสริมการศึกษา  ส่งนักศึกษาไปเรียนต่อยังต่างประเทศเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศของตนเองให้เจริญรุ่งเรือง  ตั้งแต่ยุคจักรพรรดิ์เมจิ      สรุปบัญญัติ 10 ประการ ว่าเหตุใดญี่ปุ่นจึงมีความเจริญมากกว่าไทย1.      ญี่ปุ่นมีระเบียบวินัย  ในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นเขาจะตรงต่อเวลามาก2.      ญี่ปุ่นมีการบริหารงาน  ที่มีระเบียบวินัยมากและตรงต่อเวลา3.      ญี่ปุ่นมีความขยันหมั่นเพียร  มีความอดทนเป็นเลิศ4.      ญี่ปุ่นทำงานเป็นทีม  WORK  และมีความจงรักภักดีต่อองค์กรของตนเอง5.      ญี่ปุ่นชอบอ่านหนังสือ   เพื่อศึกษาหาความรู้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่6.      ญี่ปุ่นชอบความบริสุทธิ์ ความสะอาด   อย่างเช่นการอาบน้ำ คือจะลงไปแช่ในน้ำแล้วก็ขึ้นมาขัดตัว จนตัวแดง  เพื่อมีสุขภาพที่ดี7.      ญี่ปุ่นมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เขาอยู่8.      ญี่ปุ่นมีมารยาททางสังคม    เป็นอย่างมาก9.      ญี่ปุ่นมีความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตนเอง10.  ญี่ปุ่นมีการมองอนาคตข้างหน้าและพัฒนาอยู่เรื่อย    คือการพัฒนาให้ดีเลิศ ดร. พิทยา  พุกมาน ได้พูดถึง ความขยันธรรมาภิบาล, วินัยทางการเงิน, เสถียรภาพทางการเมือง, มุมมองของสังคมและ        วัฒนธรรม ซึ่งโดยรวมประเทศทางเอเชียตะวันออกมีมากกว่าและยังได้เล่าถึงความล้มเหลวในระบบเศรษฐกิจของ เวเนฯ  และ วิกฤตเศรษฐกิจของอาร์เจนติน่า ที่เกิดจากความฟุ่มเฟือย (OVER ) ทำให้เกิด ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของธนาคาร ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ ดังนั้น ความสามารถในการแข่งขันก็ลดน้อยลง เศรษฐกิจก็ถดถอย และเกิดการที่ประชาชนเข้าปล้นอาหารในร้านค้าต่าง ๆ  จึงถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดน้อยลง ดังนั้นต่างประเทศก็ไม่มั่นใจที่จะเข้าไปลงทุนด้วยเศรษฐกิจของ ประเทศอาเยนติน่าจึงย่ำแย่ และไม่สามารถชำระเงินที่กู้ยืมมาได้  รัฐบาลจึงต้องการปรับ    ค่าเงินจาก 1US$ = 1 เปโซ เป็น 1US$ = 3 เปโซ ซึ่งได้ข้อคิดดี ๆ มากว่าการที่รัฐบาลบริหารงานผิดพลาดเป็นอย่างไร และทราบถึงปัญหาของประเทศนั้น ซึ่งประเทศไทยก็น่าจะดูเป็นตัวอย่างไว้ และไม่ปฏิบัติตาม ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้ให้โอกาสนักศึกษาได้รับฟังการบรรยายของ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์และวิสัยทัศน์อันกว้างไกลแก่นักศึกษา (MPA.) และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์  ยม  นาคสุข และทีมงานของท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์ มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ นิสิต  ป. โท  นางสาวอรุณรุ่ง  พึ่งร่วมกลาง  006150012  (MPA) STAMFORD 
นางสาววลัยพร วงษ์งาม ID 006150015

กราบเรียนท่าน ศ ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์  ดิฉันยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสรุปถึงความรู้ที่ได้จากท่าน  Mr.Leigh Scott และ ท่าน พิทยา  พุกมาน  ในวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550  จึงได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Leader ship เป็นอย่างมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้คะ

ช่วงเช้าได้รับความรู้จากท่าน  Mr.Leigh Scott  ซึ่งเริ่มด้วยการ

* การประเมินตนเองโดยใช้แบบทดสอบ I-SPEAK YOUR LANGUAGE A SURVEY OF PERSONAL STALES  และท่าน  Mr.Leigh Scott  จึงได้สรุป พฤติกรรม ซึ่งมี 4 รูปแบบคือ1. I = Intuitor = ช่างคิด คาดการณ์ ชักนำ2. T = Thinking = วิเคราะห์ จัดลำดับตามหลักเหตุผล3. F = Feeler = เชื่อมโยงและเข้าใจปฏิกิริยาทางอารมณ์และสนองต่อความรู้สึก4. S = Senser = เน้นประสบการณ์ ของตนเองที่ผ่านมาเป็นหลักซึ่งแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน แต่ผู้นำจะต้องฉลาดในการปรับตัวให้ตนเองมีคุณสมบัติที่ดีครบทั้ง 4 ด้าน ตามความเหมาะสม เพื่อ ให้เป็นผู้นำที่ดี

* ท่าน Mr.Leigh Scott  เน้นเรื่องสื่อสาร ทาง E-mail ว่าควรใช้การสื่อสารที่ดี  สุภาพและรอบคอบ  เรียกร้องความสนใจของผู้อ่าน ถูกต้องแม่นยำ จัดรูปแบบดี ใสใจในการสะกดคำ ไวยกรณ์ และการใช้เพื่อจะได้ซึ่งก็ต้องอาศัยหลักการ  The four basic styles-behaviours < I,T,F,S >  เช่นกัน

* ท่าน Mr.Leigh Scott  ยังกล่าวถึงว่าการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้นำจึงต้องเป็นผู้ที่เน้น

เน้นคน

เน้นงาน

มองอนาคต

วางแผนซึ่งผู้นำจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ฉับพลัน  ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ ควรเปลี่ยนจากกาแฟร้อน เป็น กาแฟเย็น  มิใช่เปลี่ยนกาแฟ เป็น ชา

* ท่าน Mr.Leigh Scott  ยังนำ Philips Leadership Competencies – Level 1 มาเป็นข้อมูลสนับสนุนเรื่องพฤติกรรมของผู้นำอีกด้วย

* ท่าน Mr.Leigh Scott   ยังเน้นในเรื่อง ผู้นำความทราบถึงพฤติกรรม คุณสมบัติของลูกน้อง เพื่อจะได้บริหารจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้องในเข้ากับ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (Benz mark) ของผู้นำและองค์กร ซึ่งก็หมายความว่าจะต้องมี การกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์(Benz mark) ก่อนนั้นเอง

* ท่าน Mr.Leigh Scott   ยังกล่าวถึงการเปรียบเทียบสมรรถนะสู่ความเป็นเลิศ

ช่วงบ่ายได้รับความรู้ และประสบการณ์ จากท่าน พิทยา พุกมาน ซึ่งท่าน ได้มาบรรยายถึง ประสบการณ์การทำงาน และ พื้นฐานความเป็นอยู่ เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น และลาตินอเมริกา ให้ทราบว่าประเทศเขามีลักษณะ คุณสมบัติอย่างไรจึงเป็นประเทศผู้นำ

* ประเทศญี่ปุ่น

 มีความมีวินัย ตรงต่อเวลา บริหารดี ประหยัด

 ขยัน อดทน

  Enter price sperit

Teamwork

จงรักภักดี ต่อสถาบัน บริษัท

  รักความสะอาด ความบริสุทธิ

 มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อาศัยอยู่

  มีมารยาททางสังคม ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศ

มีความหยิ่งในศักดิ์ศรี

  พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งเป็นประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด แต่ บุคคลมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญ ในทรัพยากรมนุษย์ เชี่ยวชาญในการบริหาร

*  ลาตินอเมริกา

ชอบรักสวยรักงาม

ชอบรับประทานอาหาร

  ชอบใช้เงินให้อยู่ดีกินดี สบาย

  รักความขยัน

  อวดดี

  โผงผาง

  ไม่มีวินัยทางการเงิน

  เสถียรภาพของรัฐบาล

* ประเทศไทยของเราควรนำแบบอย่างส่วนที่ดีของทั้ง 2 ประเทศมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ และไทยจะได้ก้าวสู้การเป็นประเทศผู้นำ

  ท้ายนี้ ดิฉันต้องกราบขอบพระคุณท่าน ศ ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์  ที่ได้จัดการเรียนการสอนให้ได้รับความรู้ ประสบการณ์การทำงาน ที่หลากหลาย จาก 3 ท่านที่มาบรรยาย  ดิฉันได้ประโยชน์มากมายจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ขอกราบขอบพระคุณคะ

Mr.ninnath vinicchayakul(นาย นินนาท วินิจฉัยกุล)ID.006150007

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  สวัสดีเพื่อนนักศึกษาและเพื่อนชาวblog   ทุกท่าน
สองสัปดาห์ที่ผ่านมา  ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์   มีความยินดีให้  Mr. yom  naksuk (คุณยม  นาคสุข)เป็นผู้ให้ความกระจ่างในเชิงวิชาการจากบรรยายของMr.peter bjork วิทยากรรับเชิญชาว สวีเดน ตำแหน่ง MD. ของ Center for Change Management (CCM)  เมื่ออาทิตย์ที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา  เรื่อง Leadership in a Changing World(Focus on Public Sector) 
Bottom – Up  (Learning) (จากล่างขึ้นบน) “Stepwise Creation of Meaning &Understanding” Top Down & Bottom – Up
การวิเคราะห์ทฤษฎี  Top Down
a) Active agents of change are outside the development population.  When the money stops, so does the work.  No ownership from within.  No sustainability.
b) The hearts, minds, and will of developing people are not engaged in healing, learning and change from within.  Therefore the essence of development (which is the unfolding of God-given human potential and well-being from within) cannot be achieved.  No participation, no development.
c) Top-down approaches are often blind to fundamental social dynamics embedded in culture, local power arrangements, local development history, and current patterns of human relations.
d) The top-down perspective tends to miss important details and dynamics related to the basic determinants of well-being and prosperity, and to introduce generic strategies extrapolated from other places rather than developing a locally appropriate strategy from within.  As a result, projects and programs which are intended to address specific local or regional development challenges often miss the mark.
e) As top-down, expert-driven processes unfold, they tend to become internally driven and self-referential (i.e. the agency and professional priorities and timelines overshadow local needs and concerns).  Continuous feedback on the actual impact of the initiatives on local people and their development challenges tends to become obscured, and even (defacto) unimportant.  An approach which is too top-down becomes self-serving for the agencies and professionals who are driving the process.

และ Bottom-Up
a) There are limits to what can be changed from the bottom up.  Too much bottom-up tends to be (ideologically) blind to these limitations.  A dogmatic “power to the people” approach often ignores the larger socio-economic, political and cultural context within which bottom-up efforts are taking place.
b) Bottom-up approaches can be manipulated by various self-interested individuals or groups who may oppose certain aspects of an initiative because it could change the current pattern of who has a voice and who does not, who has access to and control over resources and who does not, and whose ideas shape and influence the lives of the people and whose do not. 
c) Too much bottom-up tends to discredit and devalue the contributions of outside helpers, and to dogmatically reject thinking and approaches that may well be of great importance to the people’s well-being.
d) Too much bottom-up may shut the door of opportunity for local populations to learn and to benefit from access to resources and innovations.

ในเช้าวันที่ 4 Mr.leigh  scott-kemmis ประจำอยู่ที่ DBM Thailand  ในตำแหน่ง MD ของทางบริษัท ซึ่งได้มาบรรยาย เกี่ยวกับ ทฤษฎี Coaching    มีการทำแบบสอบถาม (questionnaire)ชื่อว่า I-SPEAK  Your  Language  คิดค้นโดย Mr.carl  jung ชาวสวิส เพื่อช่วยให้แต่ละคนระบุข้อดีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยให้ตอบคำถามโดยใช้หมายเลข 4, 3, 2, 1 โดยที่คะแนนรวมในสภาวการณ์ปกติ = 90 และในสภาวะกดดันหรือเครียดก็    = 90 ก็จะทาบถึง PERSONAL STYLES คือรูปแบบของแต่ละบุคคลในสภาวการณ์ปกติ และเครียดคือทำให้รู้จักตัวเอง และช่วยในการสื่อสารกับบุคคลที่อยู่ในรูปแบบอื่น โดยรูปแบบของบุคคล แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่   I  คือ Intuitor ช่างคิด คาดการณ์ ชักนำ   T คือ Thinker วิเคราะห์ มีเหตุผล   F คือ Feelerเชื่อมโยง เข้าใจ สนองตอบอารมณ์ S คือ Senser เน้นประสบการณ์ของตนเองตรงกับสำนวนของ “ซุนวู” ที่ว่า [รู้เขา รู้เรา]    คือรู้จักลูกน้อง / ทีมงาน ว่ามีพฤติกรรมอย่างไร เช่น พฤติกรรมทีมงานที่ไม่พึงประสงค์
1.ชอบมาสาย
2.ไม่ขยัน  เป็นต้น
พฤติกรรมทีมงานที่พึงประสงค์
1.ตรงต่อเวลา
2. ขยันเป็นต้นโดยมีเครื่องมือวัดช่องว่าง (GAP)
และจึงใช้ยุทธศาสตร์การจัดการจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง  โดยสรุป การทำแบบสำรวจเพื่อวัตถุประสงค์ในการหารูปแบบการสื่อสารและทำความเข้าใจกับผลกระทบที่มีต่อรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสื่อสาร และเคล็ดลับของรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในการพูดและการเขียน เพื่อให้รู้และปรับรูปแบบเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าใจถึงจุดแข็ง และความท้าทายของรูปแบบการสื่อสาร และเพื่อนำรูปแบบการสื่อสารของเราไปใช้กับการสื่อสารทางอีเมล์ความเสี่ยงของการสื่อสารที่แย่ : ความไม่เข้าใจ, การคาดเดา, ข่าวลือ, ความคิดดี ๆ ไม่ได้นำมากล่าวข้อดีของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ : การส่งข่าวสารข้อมูลรวดเร็ว, มีความชัดเจนในข่าวสารข้อมูล,  ลดความไม่จำเป็นในการตรวจสอบซ้ำ, ลดเวลาและความพยายาม, อารมณ์สงบ

และผู้บรรยายพิเศษ  ในภาคบ่าย Mr.pitaya  pukamann (คุณพิทยา  พุกมาน) ท่านเคยดำรงตำแหน่งนักการทูตเคยประจำประเทศ เอกวาดอร์ บังคลาเทศ ชิลี และภูฐานมาแล้ว   กรุณามาบรรยายถึงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองเปรียบเทียบระหว่าง ญี่ปุ่น และไทย   ให้ข้อคิดที่ว่า ในสมัยหนึ่งได้แก่ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ซึ่งตรงกับรัชสมัยเมจิ ของพระจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น กล่าวถึงการที่การเปิดประเทศซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและ พระเจ้าลูกเธอ อีกทั้งเจ้าต่างกรมในสมัยนั้นได้รับการศึกษา ดูงานในต่างประเทศ ซึ่งทรงกระทำสืบมาก่อน ประเทศในภูมิภาคนี้ เช่น ประเทศญี่ป่นเสียอีก   ท่านทูตยังได้บรรยายให้ฟังอีกว่า
 1.   ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ด้อยทรัพยากรกว่าประเทศไทยมาก 
 2.   แต่มีความตรงต่อเวลาเป็นที่สุด ต่างจากของเรา
 3.   มีความเป็นระเบียบวินัยมาก
 4.   มีความเป็น Team Work ที่ดี
 5.   ภักดีต่อองค์กร
 6.   รักการอ่านและความสะอาด
 7.   รับผิดชอบต่อสังคม
 8.   การใช้มารยาทในสังคม
 9.   หยิ่งในศักดิ์ศรี
10.  มีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง
และยังได้เปรียบเทียบประเทศ ชิลี กับ เอเชียตะวันออก  กล่าวถึง ประเทศชิลีว่า เป็นรัฐบาลสังคมนิยม(Reform Socialism) มามากกว่า 18 ปี   ซึ่งต่างจากรัฐบาลสังคมนิยมในประเทศแถบเดียวกัน  ซึ่งมีข้อแตกต่างทั้งความแข็งแกร่งทางการเมือง  อัตราการออม  ความขยัน การธรรมาภิบาล และมุมมอง(Attitude) 

ในท้ายที่สุดนี้ ผมขอขอบคุณศ.ดร.จีระ ,คุณยม and thank you for Mr.bjork , Mr.scott-kemmis ที่ได้สละเวลาอันมีค่าในการประสาทความรู้ ให้แก่นศ.MPA  ในครั้งนี้ด้วย

นายประภากร สัมพันธ์สวาท 00615004

เรียน ศ.ดร. จีระ หงษ์ลดารมย์

สวัสดีเพื่อนๆนักศึกษาและชาว Blog ทุกท่าน

    พบกันอีกครั้งหนึ่งแล้วนะครับใน Blog 68

 MPA/ LeaderShip  ผมได้สังเกตุการเปลี่ยน

แปลงตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ในBolg แห่ง

นี้นะครับ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การที่เรา

ทุกคนได้ Share ความคิดเห็น ซึ่งพวกเราได้รับ

เอาหลักการ วิธึการ แนวคิด ทฤษฏี ต่างๆจาก

ท่าน ศ.ดร. จีระ รวมทั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลาย

ท่าน แล้วพวกเราก็นำสิ่งต่างๆเหล่านั้นมา

สังเคราะห์ผ่านมุมมอง ประสบการณ์ และ แนว

คิดของแต่ละคน ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ คลังความรู้

ใหม่ ที่พวกเราร่วมกันสร้างขึ้นมา นั่นเอง ผมเชื่อ

ว่าไม่เพียงแต่เฉพาะพวกเราเท่านั้นหรอกครับที่

จะได้ประโยชน์จาก คลังแห่งนี้ ยังมีผู้คนอีกมาก

มายเหลือเกินที่แวะผ่านเข้ามาเยี่ยมชมในBlog

ซึ่งก็น่าจะได้แนวคิดต่างๆที่เป็นประโยชน์ด้วย

เช่นกัน

   ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 4ก.พ.50) ก็เช่นกัน

พวกเราได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ อันได้แก่ 

Mr.Leigh Scott และ ท่าน ดร.พิทยา  พุกมาน

ทั้ง 2 ท่านได้กรุณาให้เกียรติมาเพื่อบรรยาย

สาระประโยชน์อันหารับฟังได้ยาก ให้กับ ชาว

MPA STAMFORD อีกครั้งหนึ่ง

Mr.Leigh Scott นั้นได้ชี้ให้เห็นถึง

The Four Basic Styles - Behaviours  ได้แก่ล

Intuitot   -   ช่างคิด  คาดการณ์  ชักนำ

Thinker   -   วิเคราะห์  จัดลำดับตามเหตการณ์

                      และเหตุผล

Feeler   -   เชื่อมโยง  และเข้าใจ  ปฏิกิริยาทาง

                    อารมภ์ และสนองต่อความรู้สึก

Senser   -   เน้นเน้นประสบการณ์ที่ผ่านมาของ

                     ตนเองเป็นหลัก

พฤติกรรมทั้ง 4 ด้านนี้มีทั้งข่อดีและข้อเสียอยู่ใน

ตัวของมันเองอยู่แล้วนะครับ ผมว่าผู้นำที่ดีจะ

ต้องรู้จักส่วนผสมที่เหมาะที่ถูกต้องนำเอามาใช้

ก็จะเกิดประโยชน์กับตัวเองอย่างมากทีเดียว 

มาถึงอีกส่วนหนึ่งที่คงจะหนีไม่พ้นในโลกปัจจุบัน

และ Mr. Leigh Scott ก็คือเรื่องของการใช้ e -

mail ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีส่วนเข้ามาเกี่ยว

ข้องในชีวิตประจำวันของเป็นอย่างมากเป็นช่อง

ทางการสื่อสารอย่างหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและใช้

กันแพร่หลายดังนั้นผู้ใช้ก็ควรที่จะมี

มารยาทในการใช้งานที่เหมะสม

อีกทฤษฏีหนึ่งที่ Mr. Leigh Scott ได้กล่าวถึงคือ

แนวคิดเรื่อง  " รู้เขา  รู้เรา " ของ  " ซุนวู "  

ซุนวู บอกว่าสงครามเป็นเรื่องของความเป็น

ความตาย เป็นเรื่องของการอยู่รอด หรือการถูก

ทำลาย ดังนั้น ก่อนที่จะลงมือทำสงคราม จะต้อง

ศึกษาสถานการณ์ต่างๆ อย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งต้องใส่ใจเปรียบเทียบกำลังของตนเอง

กับกำลังขอ งศัตรู เพื่อปรับปรุงกำลังของเราให้

เข้มแข็งกว่าเสมอ ในแง่การทหาร ซุนวูพูดถึง

ปัจจัยหลัก 5 ประการที่ต้องศึกษาเปรียบเทียบตัว

เรากับฝ่ายตรงข้ามอยู่เสมอ ได้แก่

1) ขวัญกำลังใจ

2) ดินฟ้าอากาศ

3) สภาพแวดล้อมทั่วไป

4) ผู้บัญชาการ และ

 5)ยุทธศาสตร์

เมื่อนำมาประยุกต์กับธุรกิจ เรื่องนี้ก็คือประเด็น

การทำ benchmarking หรือการประเมิน

ศักยภาพของบริษัทเราเมื่อเทียบกับคู่แข่ง และ

ศึกษา best practice ของคนอื่นแล้วเลียนแบบ

หรือทำให้ดียิ่งกว่า เมื่อทำการ benchmark และ

ทราบผลแล้ว ขั้นต่อไปคือการปรับยุทธศาสตร์

หรือที่เรียกว่า strategic u-turn ซึ่งในเรื่องนี้ ซุน

วูมีข้อเตือนใจว่า ในการเดินยุทธศาสตร์ใดๆ กับ

คู่แข่ง จะต้องยึดหลักต่างๆ ดังนี้

- เมื่อตัดสินใจโจมตี ต้องเสแสร้งว่าเราอ่อนแอ

- เมื่อเราอยู่ใกล้ ต้องให้ศัตรูคิดว่าไกล

- เมื่อเราอยู่ไกล ต้องให้ศัตรูคิดว่าใกล้

- ถ้าศัตรูถ่อมตัว ต้องทำให้เขากลายเป็นคนเย่อ

   หยิ่ง

- ถ้าศัตรูกำลังพักผ่อน สุขสบาย ต้องก่อกวนให้

  เขาไม่เป็นสุข

- ท้ายสุด โจมตีศัตรูในเวลาที่เขาไม่พร้อม หรือ    

  คาดไม่ถึง

หากจะสังเกตุจากแนวคิดของซุนวู จะเห็นได้ว่าก็

คือการที่รู้เขา รู้เรานั่นเอง เช่นเรื่องขององค์กร

กับลูกน้องหรือ ทีมงาน ซึ่งจำเป็นจะต้องทราบ

ว่ามีพฤติกรรมเป็นอย่างไร อันไหนคือพฤติกรรม

ที่เหมาะสม อันไหนเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึง

ประสงค์   แล้วจึงนำสิ่งเหล่านี้มาปรับปรุงให้ดีขึ้น

อันเป็นการหายุทธศาสตร์การจัดการ เปลี่ยนจุด

อ่อนให้เป็นจุดแข็งต่อไปเพื่อประโยชน์ขอองค์กร

                                                                                 

ท่าน ดร.พิทยา  พุกมาน

ได้กรุณาให้แง่คิดมุมมองในเชิงการหบริหาร

สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยมองจาก

ภาพของประเทศไทย เปรียบเทียบข้อแตกต่าง

กับประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศในแถบละติน

อเมริกา

โดยจุดเด่นที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นประ

เทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเป็นประเทศ

ผู้นำนั้นได้แก่

1.  ความมีระเบียบวินัยในตนเองสูง

2.  มีระบบการบริหารงานที่ดี

3.  มีความขยันและอดทนสูง

4.   มี Team Work

5.  รักการอ่าน

6.  รักความ  สะอาด บริสุทธิ์ ตรงไปตรงมา

7.  มีมารยาททางสังคม

8. รับผิดชอบต่อสังคม

9.  รักในศักดิ์ศรีของตน

10. ไม่หยุดอยู่กับที่ เล็งเห็นการณ์ไกล

ทั้ง 10 ข้อนั้ล้วนเป็นผลดีต่อประเทศญี่ปุ่นแสดง

ห้ว่าประชากรของญี่ปุ่น ( Human Capital ) 

มีคุณภาพมีลักษณะของผู้นำสูง จึงทำให้ญี่ปุ่น

ก้าวขึ้นมาสู่ประเทศแนวหน้าอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ท่าน ดร.พิทยา  พุกมานได้กล่าวถึง

ข้อแตกต่าง ทางด้าน ความขยัน วินัยทาง

การเงิน เสถียรภาพทางการเมือง มุมมองทาง

สังคัมและวัฒนธรรมม ตลอดจน ธรรมาภิบาล 

ของประเทศทางละตินอเมริกา โดยยกตัวอย่า

งความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของ อาเจนติน่า

และเวเนซูเอล่า ความไม่มั่นคงทางการเมือง

ความฟุ่มเฟือยในการใช้จ่ายเงิน  ความไม่มี

ระเบียบในระบบการเงิน ส่งผลต่อเสถียรภา

พทางเศรษฐกิจ เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการ

เงิน  ทำให้ต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ขาด

ความน่าเชื่อถือ ไม่มีผู้เข้ามาลงทุนลักษณะนิสัย

ของผู้คนความที่เป็นคนใจร้อน โผงผาง อวดเก่ง

ซึ่งปัญาหาในด้านต่างๆเหล่านี้จึงนำมาซึ่งความ

ล่มสลายทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศและ

ประชาชนตกอยู่ในสภาพย่ำแย่มาจนถึงปัจจุบัน

 

      ****จากแนวคิดทั้ง 2 แง่มุม 2 ด้านนี้เป็น

ตัวอย่างที่ดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยของเรา

ควรศึกษาไว้ทั้งทางด้านดีและด้านเสียของทั้ง2

ตัวอย่างประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากร

อุดมสมบูรณ์มี ศักยภาพในการแข่งขันนนา

ประเทศหากแต่ยังขาดความพร้อมจาก Factor

หลายตัว ซึ่งเราสามารถที่จะแก้ไขปรับปรุงได้ ไม่

ว่าจะเป็นในแง่ของ คน หรือ นโยบายของรัฐ

ตลอดจนเสถียนรภาพทางการเมือง ที่จะมีผลต่อ

ระบบ ละนโยบาย ที่จะเป็นทิศทางในการก้าว

เดินของประเทศต่อไปข้างหน้า

 

     @ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นไว้เพียงเท่านี้

            นายประภากร  สัมพันธ์สวาท

             ID  00615004    @

นาย สรรพวัฒน์ กิจปราณีนิจ ID 006250002
สวัสดีครับศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ  พี่ ๆ  MPA  STAMFORD  INTERNATIONAL  UNIVERSITY อาทิตย์ที่ 4  ก.พ. พ.ศ.2550  ได้มาเรียนและได้รับความรู้เรื่องบทบาทภาวะผู้นำ  Leadership&Coaching

ในช่วงเช้าได้การรับฟังบรรยายจาก  ท่าน อาจารย์  ยม นาคสุข มาแปลและช่วยเสริมเพิ่มเติมในการรับฟังบรรยายอย่างเป็นกันเอง และเข้าใจมากขึ้น จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ สรุป  ของ  Mr.Leigh Scott  :  Leadership&Coaching ภาวะผู้นำ  ที่ดี มีหลายองค์ประกอบที่หลากหลาย ดั่งที่ท่านปราชญ์ " ซุนวู "  กล่าวไว้ว่า  รู้เขา  รู้เรา เป็นการเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง เพื่อประโยชน์ขอองค์กร  เมื่อนำมาปรับใช้กับภาวะผู้นำ  Leadership  คือ  การมองงานเป็น  ทีม   พฤติกรรม   จุดอ่อน  จุดแข็งทีมงาน  :  มีแนวความคิด  หลักการ  เหตุผล  ความเข้าใจในทีม  สนองต่ออารมณ์  พฤติกรรม  ประสบการณ์ หรือในระหว่างผู้ร่วมทีม   เป็นหนึ่งเดียว พฤติกรรม  :   การกระทำที่ตรงต่อเวลา   ขยัน หมั่นเพียร  มีความคิดริเริ่มยุทธศาสตร์การจัดการ   : เห็นจุดอ่อนในองค์กรนำมาปรับปรุงแก้ไขปัญหาเพื่อให้เป็นจุดแข็งและยุทธศาสตร์เสริมเพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในองค์กรนั้นๆ ดังคำพูดที่ว่า รู้เขารู้เรา เป็นต้นThe Four Basic Styles - Behaviours  ได้แก่Intuitot   :   คิด  คาดการณ์  ชักนำThinker   :   วิเคราะห์  จัดลำดับ  เหตุการณ์  และเหตุผลFeeler   :   เชื่อมโยง  และเข้าใจ  ปฏิกิริยาทางอารมณ์  สนองต่อความรู้สึกSenser   :   ประสบการณ์ของตนเองเป็นหลักในช่วงบ่ายท่าน  อาจารย์  พิทยา พุกมาน อดีตท่านฑูต ได้กรุณาให้แง่คิดมุมมองในเชิงการบริหารสังคม วัฒนธรรม  และเศรษฐกิจ  โดยมองจากภาพของประเทศไทย  เปรียบเทียบข้อแตกต่างกับ ประเทศญี่ปุ่น จุดเด่นที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ  นั้นได้แก่ด้าน  ความขยัน  มีวินัยทางการเงิน  มีความเสถียรภาพทางการเมือง ทางสังคมและวัฒนธรรม  ตลอดจน ธรรมมาภิบาล  ส่วนประเทศแถบทางละตินอเมริกา ยกตัวอย่างถึงความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของ ประเทศ อาเจนติน่า  และประเทศ  เวนเนซูเอล่า ความไม่มั่นคงทางการเมือง   ความฟุ่มเฟือย ในการใช้จ่ายเงิน  ความไม่มีวินัยทางการเงิน ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เกิดปัญหาสภาพคล่องต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่มีการลงทุน เกิดล่มสลายทางเศรษฐกิจ   
นาย วิระ ภูมิศิริสวัสดิ์ 00625001
นาย วิระ  ภูมิศิริสวัสดิ์  รหัส  00625001  เมื่อ 8 ก.พ. 50 เวลา 21.00 น.สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ และเพื่อน ๆ นักศึกษา MPA STAMFORD UNIVERSITY และชาว BLOG ทุก ๆ ท่าน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28  มกราคม  2550 เวลา 9.00 น.  Mr.Peter Bjork ได้บรรยายเรื่อง 2  Strategies for Changes  ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงนั่นคือ  ยุทธศาสตร์ TOP-DOWN และ Bottom up

ยุทธศาสตร์ TOP – DOWN     ผู้บริหารระดับสูง  มักจะเป็นผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลง และวางแผนทุก ๆ 2 ปี  ผู้ใต้บังคับบัญชา รับนโยบาย     จากผู้บริหาร  ส่วนใหญ่ผู้ที่ออกนโยบายมักจะเป็นผู้บริหาร  ผู้บริหารยังไม่เปิดใจกว้างพอ  ผลจากการวิจัยยุทธศาสตร์ TOP DOWN จะไม่ยั่งยืน  ยุทธศาสตร์ Bottom – Up นั้นให้วงกว้างกว่า  ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม  ได้แสดงความคิดเห็นและนำไปพิจารณา  ผู้บริหารในประเทศไทยเริ่มรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของพนักงานเพิ่มมากขึ้น  ผู้บริหารเริ่มมีการยืดหยุ่นมากขึ้นในการทำงาน       ส่วนวันอาทิตย์ ที่  4  ก.พ. 50 เวลา 9.00 น. Mr.Leigh Scott  ได้บรรยายเรื่องการเปรียบเทียบสมรรถนะสู่ความเป็นเลิศ ( Organization Transition and Individual Transition )  การเป็นผู้นำที่ดีต้องให้ความสำคัญต่อ คน,งาน, และการวางแผนงานในอนาคตที่ดี  เอาใจใส่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาวัตถุประสงค์ของผู้นำ ( Leadership )       การนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่ดีของผู้นำที่ดีคือ เพิ่มประสิทธิภาพ  การเป็นผู้นำจะต้องมุ่งหวังให้มีผู้ร่วมงานที่ดี ทีมเวอร์คที่ดี ( TEAM WORK )  นอกจากนี้ Mr.Leigh Scott ให้ทำแบบสอบถาม I-SPEAK YOUR LANGUAGE A SURVEY OF PERSONAL STYLES QUESTIONNAIRE  จากการสำรวจเรื่องการสื่อสาร ( Communications  Survey )  I  SPEAK  ได้รับการพัฒนามาจากผลงานวิจัย ของนักจิตวิทยา ชาวสวิสที่มีชื่อเสียงคือ CARL JUNG  ผลจากการศึกษาของ JUNG  พบว่าบุคคล
  • ต่างกันตรงที่  -  การตัดสินใจ
  • ต่างกันตรงที่ การรับและดำเนินการกับข่าวสารข้อมูลนั้น ๆ
  • ความจริงเหล่านี้มีผลต่อการที่เราจะสื่อสารกับผู้อื่น
                                                   จากการสำรวจการสื่อสารแบบ I- SPEAK      การสื่อสารตามแบบของ CARL JUNG  มีรูปแบบ 4 แบบสิ่งที่ต้องเน้น คือ·        การเลือกของแต่ละคน·        ไม่มีรูปแบบเฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง·        ไม่มีสไตล์ใด ดีหรือเลว หรือถูกต้องมากกว่ากัน·        ไม่เกี่ยวกับ สติปัญญา ( Intellectual abilities )·        บุคลิก ( Attrl butes )·        ผลงาน ( Performance )THE FOUR BASIC STYLES – BEHAVIOURSพฤติกรรมจาก 4 รูปแบบIntuitor = ช่างคิด คาดการณ์ ชักนำThinker = วิเคราะห์ จัดลำดับตามหลักและเหตุผลFeeler =  เชื่อมโยง เข้าใจปฏิกิริยาทางอารมณ์และสนองต่อความรู้สึกLeadership & Coaching-         รู้เขา รู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ซุนวู ในการ Coaching ต้องเรียนรู้ว่าความต้องการและความเป็นอยู่ของลูกน้องมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรลูกน้องและทีมงานมีพฤติกรรมอย่างไรI =  ช่างคิด ชักนำT = หลักการและเหตุผลF = สนองตอบอารมณ์S = เน้นประสบการณ์พฤติกรรมทีมงานที่ไม่พึงประสงค์                               1.     มาสาย2.     ขี้เกียจ  พฤติกรรมทีมงานที่พึงประสงค์1.      ตรงต่อเวลา2.      ขยันยุทธศาสตร์จัดการกับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง     ดร.พิทยา พุกมาน อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่นและทูตเอเชียใต้ หลายประเทศ และลาตินอเมริกาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาท่านได้ไปเป็นทูตอยู่ในประเทศ บังคลาเทศ ศรีลังกา ชิลี  เม็กซิโก  อาร์เจนติน่า              เวเนซูเอล่า  บราซิล  ท่านได้พูดถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างเอเชียกับลาตินอเมริกาและเปรียบเทียบไทย กับ ญี่ปุ่น ท่านได้พูดถึงเอเชียใต้  เช่นประเทศ ศรีลังกา บังคลาเทศ ว่าเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งภายในประเทศ     ส่วนลาตินอเมริกาประชาชนยังขาดความกระตือรือร้น อยู่กันแบบสบายสังเกตได้จากประชาชนยังนิยมนอนกันตอนบ่าย ๆ  โดยภาพรวมแล้วไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ  การเมืองยังไม่มั่นคงเมื่อเทียบกับเอเชียแล้ว  ประเทศในแถบเอเชียยังดีกว่า  ทั้งทางเศรษฐกิจและรายได้ประชากร          ในส่วนของญี่ปุ่นกับไทย  มีความแตกต่างพอสมควร  ประเทศไทยมีทรัพยากรมากกว่าญี่ปุ่น  จุดอ่อน  คนไทยจะทำงานเป็นทีมไม่ประสบความสำเร็จ  แต่ถ้าทำคนเดียวจะประสบความสำเร็จมากกว่าความแตกต่างระหว่างประเทศ ญี่ปุ่น กับ ประเทศไทย ข้อเปรียบเทียบ  ประเทศไทยมีทรัพยากรมากกว่าประเทศ ญี่ปุ่น  ประเทศญี่ปุ่นต้องอาศัยวัตถุดิบจากต่างประเทศ  ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญมากกว่าในเรื่องเทคนิค  มีทรัพยากรบุคคลญี่ปุ่นมี 10 ประเด็นที่ดีกว่าไทย1.     ความมีวินัย คือ ในชีวิตประจำวัน ตรงต่อเวลา ,การบริหาร, ประหยัด  NO WET2.     ความขยันหมั่นเพียร  อดทน3.     เอ็นเตอร์ไพร์ซ  สปิริต ( ENTERPRICE SPIRIT )4.      ทีมเวิร์ค ( TEAM WORK )  ถ้าเป็นทีมญี่ปุ่นจะดีมากแต่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีการพัฒนาไปมากแล้ว5.     ความจงรักภักดีต่อสถาบัน บริษัท ทำงานจนตาย  ในประเทศจะไม่มีการเปลี่ยนงาน  ชอบอ่านหนังสือ6.     รักความสะอาดมาก  สภาพสังคมความเป็นอยู่7.     ความรับผิดชอบต่อสังคมที่อาศัยอยู่8.     มารยาททางสังคม จุดเด่นของญี่ปุ่น9.     ความหยิ่งศักดิ์ศรีในเรื่องต่าง ๆ ของคนญี่ปุ่น  และไม่ทุจริต10. พัฒนาตนเองอยู่เรื่อย ๆ  ไม่อยู่กับที่  ให้เกิดความเป็นเลิศข้อเปรียบเทียบระหว่าง ลาตินอเมริกาเอเชียตะวันออกMAKET ECONOMYอัตราการออมของเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา  ลาตินอเมริกาชอบใช้เงินในการกินดีอยู่ดี  ชอบอยู่สบาย  รักสวยรักงาม  ความขยัน  คนเอเชียจะขยันมากกว่าคนลาตินอเมริกาคนเอเชียตะวันออก นิสัยคนจะไม่ค่อยกล้าแสดงออก วินัยทางการเงิน มีวินัยคนลาตินอเมริกา นิสัย  อวดดี  โผงผาง  ไม่มีวินัยทางการเงิน มีความ เสถียรภาพของรัฐบาล  ดังนั้นประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นประเทศ มหาอำนาจในเอเชียทางด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งประเทศไทยก็กำลังพัฒนาให้เป็นไปในแนวทางที่วางไว้เราจึงควรนำสิ่งที่ดีและสิ่งที่ควรแก้ไขมาปรับปรุงให้ประเทศชาติ  มีความเจริญก้าวหน้า  และมีการพัฒนาต่อไปในอนาคต

สุดท้ายนี้  ผมขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์และ ผู้มาบรรยายทั้ง 3 ท่าน ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาบรรยายให้กับพวกเรา นักศึกษา MPA ในครั้งนี้ด้วย

กราบเรียน ท่านอาจารย์ผู้สอนวิชาบทบาทของภาวะผู้นำ-ที่นับถือ กระผม-ขอทำการบ้านข้อที่ (3) ของชุดแรก, ต่อไปเลย-ครับ! สำหรับโจทย์คำถามที่ว่า “ 8K’s , 5K’s, 8H’s เกี่ยวข้องอะไร, กับ Leadership ?? กระผม, ขอตอบคำถามอธิบายในโจทย์ข้อดังกล่าวนี้, ดังนี้ : ตามทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ ของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรียกว่า ทฤษฎี 8K’s อันประกอบด้วย .- (1). ทุนมนุษย์ (Human Capital) -ได้แก่ ความมีต้นทุนพื้นฐานที่ดีของตัวเอง ที่ได้รับมาตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งก็คือความมีพื้นฐานที่ดีในการอบรมบ่มเพาะนิสัยและพฤติกรรมที่ดีงาม เริ่มจากการได้รับการอบรมและเลี้ยงดูจากบิดามารดา มีพื้นฐานทางด้านการศึกษาที่ดี และมีพื้นฐานทางสุขภาพพลานามัยพร้อมทั้งมีพื้นฐานทางสุขภาพใจที่ดีงาม (2). ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) -ได้แก่ ความมีต้นทุนทางความรู้ความสามารถ มีทักษะ และทัศนคติที่ดีอยู่ในตัวเองยึดถือไว้เป็นต้นทุนของมนุษย์ จะสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่า ผู้ที่มี Human Capital อยู่ในตัวเองที่ดีแล้วนั้น ย่อมจะส่งผลให้ผู้นั้นมีโอกาสที่เรียนรู้ได้กว้างขวางมากกว่า (3). ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) -ได้แก่ ความมีต้นทุนทางสติปัญญา ความรู้ การศึกษา (Knowledge) คือหมายถึง การมีต้นทุนทางด้านการศึกษาที่ดี มีความรอบรู้กว้าง มีความรู้จริงในเชิงลึกในสิ่งที่ตนเองกระทำอยู่ มีการค้นคว้าหาความรู้มาประดับตัวเองโดยสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อเก็บพกพานำไปเป็นต้นทุนของตัวเองในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อไปได้ง่ายดายยิ่งขึ้น (4). ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) -ได้แก่ ความเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน และเป็นผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในยุคนี้ ซึ่งเรียกขานกันว่า “ ยุค IT ” จึงถือเป็นต้นทุนที่สำคัญ, ที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลกรของประเทศเรา, ให้เทียบเท่าอารยประเทศ-ได้ (5). ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) -ได้แก่ ความเป็นผู้มีต้นทุนมนุษย์ทางด้านจิตใจที่ดี มีจริยธรรม มีคุณธรรม มีการปฏิบัติงานหน้าที่การงาน หรือการดำรงชีวิต, ต้องมีสติยึดมั่นในหลักแห่งความยุติธรรม วางตัวเป็นกลาง-ไม่เอนเอียง, ให้-ถูกครหา,ได้ และเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ (6). ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) -ได้แก่ การกระทำตนให้เป็นคนที่มีต้นทุนของทัศนคติในเชิงบวก (Positive Attitude) อยู่เป็นประจำ กล่าวคือ, สอน-ให้หัดคิดมองโลกในแง่ดี-เสียบ้าง! มองโลกในเชิงบวกเข้าไว้ แล้วจะทำให้ชีวิตจิตใจของเราเบิกบานสราญรมณ์ มีความคิดในลักษณะเชิงสร้างสรรค์ มีความสนุกสนานและมีความพอใจในงานที่เราทำ เมื่อบุคคลใด-คิดได้ดั่งนี้, ต้องถือว่ามีต้นทุนแห่งความสุขที่ยอดเยี่ยม (7). ทุนทางสังคม (Social Capital) -ได้แก่ ความมีต้นทุนในทางสังคม กล่าวคือ เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องนับถือ, เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม อันเนื่องมาจากเป็นผู้ที่ประพฤติตนในทางที่สมควร รู้จักการวางตัวที่เหมาะสม มีการเข้าสังคมที่ถูกต้อง คนที่วางตัวได้เหมาะสมกับหน้าที่และบทบาทของตัวเองต่อสังคม จะทำให้เกิดการยอมรับในสังคม ซึ่งก็ต้องเกิดจากการสั่งสมความรู้และประการณ์มาอย่างดี (8). ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) -ได้แก่ ความเป็นคน, ที่-ไม่หยุดนิ่งสำหรับการพัฒนาตนเองในทุกรูปแบบ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา จึงต้องเร่งหมั่นสร้างต้นทุนแห่งการพัฒนาที่ต่อเนื่อง อย่างสม่ำเสมอ อย่างยาวนานตลอดไป และเป็นไป โดยถูกต้องเหมาะสม-อย่างยั่งยืน, ชั่วนิรันดร!! *** ส่วนทฤษฎีต้นทุนมนุษย์ ที่มีชื่อ เรียกว่า 5K’s , นั้น *** ประกอบด้วย.- (1). Innovation Capital : หมายถึง เป็นบุคคลที่นิยมชมชอบในการค้นหานวัตกรรม และรักชอบการค้นคว้าเพื่อหาสิ่งใหม่ ๆ ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เนื่องในชีวิตประจำวัน และรวมถึงการนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้วย เพื่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานสืบไป (2). Creativity Capital : หมายถึง เป็นต้นทุนในตัวเองสำหรับการมีความคิดที่สร้างสรร, มีความคิดที่นอกกรอบ (think outside the box) นอกเหนือจากความคิดของผู้คนอื่น แต่เป็นความที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง และเป็นความคิดอันมาจากจินตนาการ, ที่สามารถนำใช้ในการดำเนินการชีวิตให้มีความสุข และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานประจำ, ให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างดียิ่ง (3). Knowledge Capital : บุคคลที่รักและปรารถนาสังคมแห่งการเรียนรู้, ในหลากหลายรูปแบบ, อย่างสม่ำเสมอ, ไม่มีที่สิ้นสุด และพร้อมทั้งสามารถประสานการเรียนรู้ ให้อยู่ภายใต้การควบคุมแห่งสติสมาธิที่แน่วนิ่ง เพื่อให้บรรลุแก่ปัญญาที่บริสุทธิ์ ต้อง, มิให้ “ เกิดอวิชชา “ ขึ้นในตัวตน นั่นคือ, หมายถึงการนำเอาความรู้อันแตกฉาน-นั้น, ไปใช้ในทาง-มิชอบ ผิดหลักทำนองคลองธรรม ผิดหลักจริยธรรม ฯลฯ เป็นต้น (4). Cultural Capital : การประพฤติตนให้ตั้งอยู่ในกรอบระเบียบวินัย ขนมธรรมเนียมประเพณีแห่งวัฒนธรรมไทย, ที่ดีงาม โดยปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งรากเหง้าบรรพบุรุษที่ยาวนาน ซึ่งผ่านการอบรมบ่มเพาะนิสัยที่ดีงามมาแต่เยาว์วัย-จวบปัจจุบัน โดยได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้เป็นบิดามารดาอันเป็นเบ้าหลอมที่สำคัญมาเป็นอย่างดี นั่น ! ย่อมเป็น, ต้นทุนของมนุษย์ที่ประเสริฐยิ่ง, ที่สำคัญประการหนึ่ง ! (5). Emotion Cultural : การมีต้นทุนทางอารมณ์-ที่ดี!! นั่นหมายถึง, การมีอารมณ์ที่เบิกบาน มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เป็น-คนหน้าหงิกหน้างอ, อยู่เป็นนิจ ไม่เป็น-คนที่ขี้หงุดหงิดโมโหง่ายจนใครต่อใครเข้าหน้า-ไม่ติด, อยู่เป็นประจำ เป็นคนที่มีจิตใจสงบเยือกเย็นสุขุมรอบคอบ มองโลกในแง่ดี ไม่มีจิตอกุศล คิดแต่อิจฉาริษยาผู้อื่นที่ดีกว่า และไม่จิตใจที่ดูหมิ่นดูแคลนเหยียดหยามผู้ที่ต่ำต้อยกว่า ฯลฯ สรุปก็คือ, เป็นคนที่มีจิตใจดี นั่นเอง ย่อมถือเป็นต้นทุนมนุษย์ที่หากมีประจำตัว ก็ย่อมเป็น-ที่รักใคร่ในหมู่เพื่อนสนิทมิตรสหาย, และผู้คนโดยทั่วๆ ไป-เป็นอย่างดี ส่วนทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์-นั้น ประกอบด้วย.- (1). Heritage : หมายถึง การเป็นบุคคลที่รักษามรดกตกทอดทางวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติไว้อย่างเหนียวแน่น มีความภูมิใจในชาติพันธ์ของตนเอง และมุ่งมั่นรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยไว้ ยิ่งในโลกปัจจุบัน, มีการไหลบ่าเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกอย่างมากมายจนยากที่จะสกัดกั้นไว้อยู่ ฉะนั้น! ยิ่งต้องยึดมั่นในมรดกแห่งความเป็นชาติไว้อย่างแน่วแน่-ต่อไป (2). Head : หมายถึง การทำอะไรอย่างมีสมอง ต้องมีสติปัญญาในการทำงาน ต้องมีความรู้ (Knowledge) ในการทำงาน ตามติดด้วย, ต้องมีความชำนาญ (Skill) ในการปฏิบัติงาน, ซึ่งรวมสรุปก็, เป็นความสามารถ (Abilities) ของตนเอง (3). Hand : หมายถึง การมีความเป็นมืออาชีพในการทำงาน อันประกอบมีความรู้ ความชำนาญทักษะที่ดี และมีทัศนคติที่ต่อการทำงาน จึงจะทำให้งานนั้นประสบผลสำเร็จได้ (4). Heart : หมายถึง การเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงาม มีจิตใจเมตตากรุณา มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา และเมื่อผสมผสานเข้ากันกับพฤติกรรมที่ดีงาม จะช่วยเสริมส่งให้บุคคลผู้นั้น, เป็น-ผู้ที่มีบุคลิกภาพ-ที่ดี มีจิตใจอ่อนโยนสุภาพ เป็นที่ยกย่องชอบพอรักใคร่ในสังคม (5). Health : หมายถึง การเป็นคนที่มีสุขภาพ-พลามัย, ที่สมบูรณ์ มีร่างกายที่แข็งแรงเหมาะสมกับวัย เนื่องมาจากดูแลตัวเองเป็นอย่างดี เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ฯลฯ เมื่อเรามีสุขภาพที่ ก็จะส่งผลให้, เป็นคนที่ทำงาน-ได้, ด้วย-ความกระฉับกระเฉงกระตือรือร้น, ความคิดเฉียบไว เป็นรากฐานที่สำคัญที่จะปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จได้ (6). Home : หมายถึง การมีครอบที่ดี ครอบครัวมีความเป็นปึกแผ่น ครอบครัวมีความมั่นคงทางด้านการเงิน ครอบครัวมีความอบอุ่นรักใคร่ปรองดองกันอย่างเหนียวแน่น อีกทั้ง-บุคคลในครอบครอบครัว, ต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างไม่บกพร่อง และมีการให้กำลังใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อกันและกันในครอบครัว พื้นฐานทางครอบครัว จะเป็น back-up ที่สำคัญ, ที่จะช่วยค้ำจุน-ให้ประสบความสำเร็จในการชีวิตการงานได้เป็นอย่างดี (7). Happiness : หมายถึง การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ทั้งในเรื่องการงานและเรื่องส่วนตัว เป็นการทำตัว-ทำใจ, ให้มีความสุขเสมอ! ต้องหมั่นเรียนรู้ถึง, หลักการปล่อยวาง (เสียบ้าง!) มีความพอเพียงในชีวิต งดเว้นการเบียดเบียนกัน ไม่ให้ร้ายป้ายสีใคร พยายามเรียนรู้รากฐานของความสุขที่ยั่งยืนในชีวิต ความสงบสุขในชีวิตก็จะตามมา (8). Harmony : หมายถึง การมีดำเนินชีวิต, ที่เต็มไป-ด้วย, ความสมานฉันท์ปรองดองกัน มีความสนิทสนมกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวซึ่งกันและกัน สามารถทำงานร่วมกันเป็น teamwork ที่ดี-ได้ สามารถร่วมมือ-ร่วมใจกันฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ จนประสบผลสำเร็จได้ มีความเชื่อถือและเชื่อมั่นต่อกัน-อย่างจริงใจ มีศิลปะ-ในการ,อยู่ร่วมกัน และทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ, ให้มีความกลมเกลียวกัน, ได้เป็น-อย่างดียิ่ง ***ตามที่ได้อรรถาธิบายมาในหลักการตามทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ คือ ทฤษฎี 8H’s และตามทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ ทฤษฎี 8K’s และทฤษฎี 5K’s –นั้น จะพบว่าทุกหัวข้อ-ล้วน, เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำโดยทั้งสิ้น, เป็นสภาวะที่ผู้นำจักต้องมีเป็นองค์ประกอบ, อันเป็นความสมบูรณ์แบบแห่งความเป็นผู้นำที่ดีและเหมาะสมกับทุกยุคสมัย แต่มีคำถามทิ้งถามอยู่ในใจและเผลอเขียนมาให้เพื่อน ๆ ที่เผลอเข้ามาอ่าน! ท่านเล็งไว้ในใจบ้างแล้วหรือเปล่า?? ว่า-ผู้นำในบ้านเราที่เข้าข่ายตามทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมากที่สุด-นั้น, เป็นใคร?? (ถ้ามี-)วานบอก!! จะขอชื่นชมด้วยคน!! สุดท้าย-ขอจบการบ้านชุดแรกแต่เพียงเท่านี้...ขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่กรุณาให้ความรอบรู้ในเรื่องของ Leadership ได้เป็นอย่างดี อย่างลึกซึ้ง- กว้างขวาง และเหมาะสมแก่ยุคสมัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าตัวกระผมเองจะ “ หย่อน” ไปในเรื่องของเวลาเรียน แต่ก็ได้พยายามศึกษาเอาจากหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คส์ทั้งสองเล่ม และ sheet (ประกอบการศึกษา) และหาอ่าน-ศึกษาเอาจากใน blog ที่เพื่อน ๆ ที่รักยิ่งทุกท่าน, ได้กรุณาสละเวลาที่ค่อนข้างหาได้ยากยิ่ง, ถ่ายทอดมาให้อ่านเสมือนประหนึ่งอยู่ห้องเรียน (ปานนั้นเลย!) ...จึงต้องขอขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกท่านมา ณ โอกาสนี้เป็นอย่างสูง, ด้วยความจริงใจ (สวัสดี-ครับ!!)
                กราบเรียน-ท่าน ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์,  ท่านอาจารย์ผู้สอนวิชา-ที่ว่าด้วย  Leadership (บทบาทของสภาวะผู้นำ) ที่นับถือยิ่ง                 กระผม, ขออนุญาตส่งการบ้านชุดที่ (2)  ต่อคำถามที่ว่า....ผู้นำแบบไหนที่คุณชื่นชอบ????....  (คำตอบ) :  ผู้นำ-ที่นำเสนอมาเพื่อให้นักศึกษาได้เลือกเอา,  ว่า-จะชอบผู้นำที่มีลักษณะเช่นไร??? …..มากที่สุด!!   โดยเป็นผู้นำในแบบของนักวิชาการ  จำนวน  3  ท่าน  ดังนี้.-                 ผู้นำ-ในแบบของ  Stephen  Cover   ต้องประกอบด้วย  สไตล์   ตามองค์ประกอบ                  (1). Pathfinding    คือ   เป็นผู้นำที่มีความพยายามหาช่องทางเพื่อค้นพบสู่หนทางก้าวขึ้นสู่เส้นทางแห่งความเป็นเลิศ                (2).  Aligning   คือ   เป็นผู้นำที่มีลักษณะของการทำงาน  โดยมีการกำหนดเป้าหมาย  และทิศทางการทำงานที่ชัดเจน  และแน่นอนเที่ยงตรง   เป็นไปในทิศทางเดียวกัน                 (3). Empowering    คือ เป็นผู้นำที่รู้จักการผ่องถ่ายกระจายอำนาจ, ในการทำงาน-ของตนเอง,  ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา-โดยเหมาะสม,   เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ฝึกฝนงานที่ได้รับมอบหมาย,  ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้ความชำนาญในงานนั้นต่อไป-ในอนาคต                   (4).  Modeling   คือ   ต้องเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความประพฤติ-ส่วนตัว,  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน   และรวมไปถึงบุคลิกภาพ-ด้วย  ฯลฯ  เป็นต้น  ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้อง   หรือผู้ใต้บังคับบัญชา-ได้                 ผู้นำ-ในลักษณะของท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์    ได้แก่(1)    Crisis  management  :  ต้องรู้จักวิธีบริหารวิกฤตให้เป็นโอกาส  ต้องเป็นผู้สามารถแก้ไขวิกฤต-ได้ดี(2)    Anticipate  change  :   ต้องเป็นผู้นำที่พร้อมที่จะวิ่งเข้าต่อสู้กับปัญหาทุกรูปแบบ  โดยไม่มีการรีรอลังเล-แต่ประการ  และรู้จักวิธีเข้าสลายปัญหา-นั้น,  เสียก่อน-ที่จะปล่อยไว้,  ทำให้เป็นปัญหาใหญ่โตบานปลาย(3)    Motivate  others  to  excellent  :  เป็นผู้นำที่มีศิลปะในการจูงใจ,  ในการกระตุ้นผู้ร่วมปฏิบัติงาน-ในรูปแบบต่าง ๆ,    เพื่อให้ได้ผลผลิตของงานที่สุดยอดเยี่ยม-ตามที่ต้องการ(4)    Conflict  resolution   :   ต้องเป็นผู้นำที่มีความสามารถในการหาวิธีการที่จะหลบหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งกันเองในทีมงาน    เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจกันในการทำงาน(5)    Explore  opportunities   :   ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างล้ำลึก  และมี  vision  ที่กว้างไกล   ในการแสวงหาโอกาสในการทำงาน   เพื่อให้งานนั้น-ประสบผลสำเร็จ,  ที่ดีเยี่ยม(6)    Rhythm  & Speed   :   ต้องรู้จักรักษาจังหวะการทำงานที่ดี-ที่เหมาะสม    ต้องเรียนรู้ว่าจังหวะเวลาใดควรกระทำการอย่างระมัดระวังอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย  ไม่ต้องเร่งรีบ   และต้องเรียนรู้ว่าจังหวะใดควรกระทำการโดยเร่งด่วน (speed)  มิฉะนั้น, อาจเสียโอกาสที่ดีงาม-ไป,  และอาจจะไม่มีโอกาส-นั้น,  อีกแล้ว!!(7)    Edge  ( Decisiveness)   :   ต้องเป็นผู้นำที่มีการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วฉับไวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น   มิใช่!  มัวแต่ละล้าละลัง  ครึ่งกลัวครึ่งกล้า-ไม่ถูกต้อง!!    และพบว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องอยู่เสมอ(8)    Teamwork   :   ต้องเป็นผู้นำที่มีวิธีการทำงานเป็นทีมงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด ผู้นำ  :  ในบุคลิกของ  Jack   Welch   ( 4 E’s Leadership)   (1)  ต้องมีความกระตือรือล้น  กระฉับกระเฉง  ว่องไว   (Energy)    เสมือนมีไฟอยู่ตัว         ตลอดเวลา(2)    ต้องมีลักษณะของความเป็นผู้นำที่สามารถหาวิธีการกระตุ้น  (Energize) ให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถกระทำตามความปรารถนาของตนเองได้เสมอ(3)    ต้องมีความกล้าหาญในการตัดสินใจในการทำงาน  (Edge)   ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (4)    ต้องมีความสามารถในการหาวิธีการทำงานแบบใหม่ ๆ  อยู่เสมอ  (Execution)  เรียนรู้ถึงวิธีการทำงานที่ทันสมัย  รู้จักใช้เครื่องมือ Hi-tech  มาประยุกต์ใช้งาน   เป็นต้น    อันเป็นการนำไปสู่การจัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในทำงาน-ให้หมดสิ้นไป,       ทำให้งานที่ต้องการประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น จากลักษณะของผู้นำของนักวิชาทั้ง  3  ท่าน   ( 3คน/3สไตล์)   กระผม,  ขอฟันธง-ว่า...กระผม-ชื่นชอบผู้นำในลักษณะของ  Jack  Welch  กระผม-คิดว่า,  เป็นลักษณะของผู้นำที่อ่านง่าย  คิดง่าย  เขียนง่าย    เข้าใจง่าย   ไม่เยิ่นเย้อมากความ   ลักษณะของผู้นำ-ท่านนี้,   (คิดว่า)จะเป็นลักษณะผู้นำ-ที่, มุ่งไปที่เป้าหมายของความสำเร็จในการทำงาน, ให้เกิดผลสัมฤทธิ์, เป็นประเด็นสำคัญ    หาก-ผู้นำ,  ท่านใด-ปฏิบัติได้เยี่ยงนี้,  ก็ (น่า) จะประสบผลสำเร็จในการทำงานอย่างเอกอุ  ตัวอย่าง, ที่ใกล้เคียงกับลักษณะผู้นำ-แนวนี้,  กระผม-ขอให้ทัศนะโดยส่วนตัว (ไม่เกี่ยวกับ คมช.-ฮา).....กระผม,  ขอให้- ท่าน พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ  ชินวัตร  เป็นผู้นำที่ใกล้เคียงกับลักษณะผู้นำของท่าน  Jack  Welch  มากที่สุด   ถ้าหากสงสัยก็ลองทาบบุคลิกลักษณะกับผู้นำ  4 E’s  Leadership  Style - ดู, ก็ได้.....แต่-เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น  บกพร่องในหลักจริยธรรม   หลักคุณธรรม    เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องจนเกินสมควรฯลฯ  อะไรเทือก-นั้น,  ก็-ว่าไป,  อีกเรื่องหนึ่ง!! .....ก็บอกแต่แรกแล้ว-ว่า,  มุ่ง-ไปที่ผลสัมฤทธิ์ของงาน  เป็นสำคัญ ยิ่ง  (ฮา) สุดท้ายนี้.....กระผม-ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ผู้สอนที่กรุณาให้กระผมส่งการบ้านได้มาจนถึงวันนี้,   และต้องขอขอบพระคุณเพื่อน ๆ ทุกท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อในทุกอย่าง-ที่ทำให้การเรียนของกระผมในวิชา-นี้,ประสบความสำเร็จลุล่วงมาจนถึง-บรรทัดนี้....ขอขอบพระคุณอย่างสูงมา    โอกาสนี้-ครับ!!   (จบ)..........นายพิชิต   มิ่งขวัญ ..........ID/NO.  006150011                       

นาย อุดม ชนะสิทธิ์  ID 00615019   เมื่อ อ.11 ก.พ.2550  @03:15 สวัสดีท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์,Mr.Leigh Scott,อ.ยม นาคสุข,ท่าน อ. พิทยา พุกมาน และ คุณ เอราวรรณ แก้วเนื้ออ่อน และ ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ทุกท่าน

       ต้องขอขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ระดารมภ์ ที่ได้ส่งผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์อย่างมากมายมาร่วมบรรณยายให้พวกเราได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งๆที่ท่านมีภาระมากมายจะต้องปฎิบัติยังได้เป็นห่วงโดยการฝากสอบถามผ่าน คุณ เอราวรรณ แก้วเนื้ออ่อน ถึงการที่ท่านส่งอาจารย์ท่านอื่นมาแนะแนวแทนทางด้าน Leadership

      นี่ก็เป็นสัปดาห์ที่ 4 ที่พวกเราได้รับความกรุณาจากท่านอาจารย์ที่ให้ความรู้แก่พวกเรา พวกเราจะจดจำและใช้เป็นแนวทางปฎิบัติต่อการปฎิบัติงานในองค์กรและชีวิตประจำวันและจะจดจำในคำสั้งสอนของท่านอาจารย์ตลอดไป

       การที่จะเป็น “Leadership” ที่ดีนั้นควรที่จะยึดถือตามแนวความคิดของท่านนักปราชญ์ที่มีชื่อว่าซุนวูโดยมีแนวความคิดเช่น รู้เขา รู้เรา ประโยคข้างต้นเพียงประโยคเดียวนี้เอง ได้ทำให้ชื่อของนักการทหารคนหนึ่งที่มีชีวิตราวสองพันกว่าปีก่อนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกซุนวูเขียนตำราเพื่อการสัประยุทธ์ขึ้นมา 13 ข้อ และถึงทุกวันนี้ทั้ง 13 ข้อแห่งปรัชญาในการรบเล่มนี้ ก็ได้กลายเป็นคัมภีร์สำคัญของนักการทหารแทบทุกชนชาติ แม้แต่นักธุรกิจที่มองเห็นการตลาดเป็นสมรภูมิ ก็มักใช้ข้อคิดของซุนวูมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและนำมาปรับใช้ในเรื่องของ ทีมงาน / พฤติกรรม / จุดอ่อน-จุดแข็ง

 

ทีมงาน

                   -      คือการที่ต้องเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่เพื่อนร่วมทีมและลูกน้องออกความคิดเห็นและยอมรับในสิ่งที่ได้มีความคิดเห็นเป็นส่วนมาก

 

พฤติกรรม

                    -      ทำงานตรงต่อเวลา

-          มีความขยันหมั่นเพียร

-          ความกระตือรือร้นในการทำงาน

-          ขี้เกียจและท้อแท้

 

จุดอ่อน-จุดแข็ง 

                    -      แก้ไขจุดอ่อนและนำมาพัฒนาให้เป็นโอกาส

-          กล้าที่จะตัดสินใจในปัญหาที่เจอนั้นได้

-          เข้าใจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

-          มีการออกความคิดเห็นและทัศนคติใหม่ๆ

 

ในช่วงบ่าย 13.00 17.00 น. ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เชิญท่าน อ. พิทยา พุกมาน อดีตท่านทูตในหลายประเทศมาบรรยายให้แก่นักศึกษาMPAของมหาลัยสแตมฟอร์ดและมาให้ความรู้มากมายซึ่งเป็นครั้งแรกที่ท่านได้มาบรรยายในเรื่องที่ท่านได้รับสิ่งดีๆและควรนำกลับมาพัฒนาประเทศของเราอย่างเช่นประเทศที่มีความเจริญสูงสุดในด้านเทคโนโลยีในเอเชียคือ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศที่เจริญในแถบลาตินอเมริกา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของสังคมและการเมือง

 

ประเทศญี่ปุ่นที่ท่านได้ยกหัวข้อมาพูด 10 ประเด็นใหญ่ที่ทำให้ประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วประสบความเจริญรุ่งเรืองในหลายๆด้านขณะที่เมื่อก่อนได้เคยเป็นประเทศที่พ่ายแพ้สงครามแต่กลับมาเป็นผู้นำในหลายๆด้านของเอเชียโดยถือเอาหลัก

-          การมีวินัย / ตรงต่อเวลา

-          ความขยันอดทน

-          มีการสร้างสรรค์

-          มีทีมWork ที่ดี

-          ส่งเสริมการอ่าน

-          รักษาความสะอาด

-          มีความรับผิดชอบ

-          มีมารยาทที่ดี

-          ยึดมั่นในศักดิ์ศรี

-          มีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

       ตามแนวความคิดที่อดีตท่านทูตที่ได้มอบให้ไว้เป็นแนวทางปฎิบัติทั้ง 10 ข้อ ซึ่งทางกระผมจะได้นำมาประยุกต์ใช้กับกิจการและการดำรงชีวิตในโอกาสต่อไป 

ทางด้านลาตินอเมริกาประกอบด้วย อเมริกาใต้ /อเมริกากลาง /แคนาเดียน / แคริเบียนส่วนประเทศที่ได้ประสบความสำเร็จทางด้านเศรฐกิจก็คือ ประเทศชิลี และประเทศที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในเรื่องของด้านการเมือง และด้านเศรฐกิจ ก็คือ ประเทศโบลิเวีย เอกวาดอร์ ประเทศพวกนี้ผู้นำจะเอาใจประชาชนมากจนเกินไปซึ่งใช้ระบบทุนนิยมไม่ประสบความสำเร็จในประเทศพวกนี้

 

      สรุป  ตั้งแต่ช่วงเวลาเช้า-เย็น ได้รับความคิดริเริ่มใหม่ๆเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาตนเองและบุคลากรในองค์กรต่อไปเพื่อให้ประสบความสำเร็จและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

      ขอกราบขอบพระคุณท่านอ. พิทยา พุกมาน ที่ให้ความรู้และเล่าประสบการณ์มากมายให้ได้นำไปปรับใช้กับตนเองต่อไป และท้ายในที่สุดต้องขอขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ให้ความเป็นห่วงพวกเรานักศึกษาMPAทุกท่าน

            
ร.ต.ท.จารุพัฒน์ ดาวล้อมจันทร์
กราบเรียน       ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมย์  คณาจารย์ผู้สอน     ,สวัสดีพี่ๆ คณะ MPA ม.แสตมฟอร์ด ที่เคารพรักทุกท่าน ในวันอาทิตย์ที่  4  กุมภาพันธ์  2550 ที่ผ่านมา กระผมได้รับโอกาสที่ดียิ่งจากท่านคณาจารย์  Mr.  LEIGH  SCOTT  ที่มาให้ความรู้ ในเรื่อง  LEADERSHIP  &  COACHING  และในวันนั้นกระผมก็ได้เข้าใจและเกิดความประทับใจท่าน Mr.  LEIGH   SCOTT  เป็นอย่างมาก  และอีกท่านคือท่านอาจารย์ ยม นาคสุข ผู้ที่ทำการแปลภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม เพราะในเอกสารของท่านอาจารย์นั้นจะมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เหมือนกับว่าท่านอาจารย์ได้เตรียมการสอนกระผมและพี่ๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะห้องเรียนของกระผมเพราะเนื่องจากส่วนมากนักศึกษาจะพูด ฟัง อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่ง  และเนื้อหาในวันนั้นอาจารย์ Mr.  LEIGH  SCOTT  ได้พูดถึงการทำงานที่การสื่อสารแบบมีประสิทธิภาพสื่อสารอย่างไรถึงจะเข้าใจให้ตรงกัน หรือ ที่พูดง่าย ๆ ก็คือ รู้เขารู้เรา  “ทฤษฎี ของ ซุนวู”  เพราะจะได้รู้ว่าคนที่เราทำงานร่วมกันกับเขานั้นเป็นอย่างไร  อย่างเช่น ลูกน้อง  ทีมงาน  มีพฤติกรรมอย่างไร  โดยอาจารย์  Mr. LEIGH  SCOTT  ได้ทำการแจกแบบสอบถามกับนักศึกษา (MPA.) ก่อนทำการสอนเพราะอยากรู้ว่านักศึกษาเป็นอย่างไร มีคะแนนที่ได้เท่าไร จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข และมีความหมายอย่างไร  คือ  ได้ยกตัวอย่างพฤติกรรม  4  รูปแบบมากล่าวไว้I=Intuitor   คือ  เน้นความคิด  ช่างคิดค้น  ช่างฝัน  ริเริ่ม มีอุดมคติ  (ถ้ามีมากไปก็จะอยู่ในโลกที่ไม่เป็นจริง)T=Thinker   คือ  เน้นข้อเท็จจริง ตรงไปตรงมา  มองโลกในเชิงวัตถุนิยม  เน้นรายละเอียด            เน้นวิเคราะห์  มีความแม่นยำ  (ถ้ามีมากเกินไป จะเป็นคน ขี้กังวล)F=Feeler      คือ  มีความคล่องแคล้ว หนักแน่น มีความคิด-พิจารณา ชอบแบบลำลอง ชี้ชวน         (ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำตัว แบบเบิดร์ ๆ ๆ  สบาย ๆ ๆ )S=Sensor คือ  ยึดติด มีความถนัดด้านเทคนิค แน่วแน่เป็นนักปฏิบัติ    (ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นคนที่ชอบใช้อำนาจบาทใหญ่) และแนะแนวทางการเป็นผู้นำควรทำอย่างไร คือ ผู้นำต้องมีการโน้มน้าวให้ผู้ที่จะทำงานร่วมกันนั้นมาช่วยเราทำงานต่าง ๆ นั้นให้สำเร็จและไปในทิศทางเดียวกันกับเราให้ได้ผู้นำจะต้องเปลี่ยนแปลงสไตล์การทำงานของตนเองอยู่เสมอ  เพื่อที่จะไม่ให้บรรยากาศในการทำงานน่าเบื่อหน่ายและคนรอบข้างจะได้ไม่เบื่อไปด้วยผู้นำที่ดีจะต้องศึกษาพฤติกรรมของทีมงานหรือคนรอบข้างได้เป็นอย่างดีด้วยว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์    ทำงานสาย  ขี้เกียจทำงาน  และนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของพนักงาน มาทำงานตรงต่อเวลา   ขยัน  อดทน คือ ทำงานได้หมดทุกอย่าง โดยมีเครื่องมือวัดโดยการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการ จุดอ่อน ให้เป็น จุดแข็งโดยสรุป การทำแบบสำรวจเพื่อวัตถุประสงค์ในการหารูปแบบการสื่อสารและทำความเข้าใจกับผลกระทบที่มีต่อรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสื่อสารนั้น และเคล็ดลับของการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในการพูดและการเขียน เพื่อให้รู้และปรับปรุงรูปแบบเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าใจถึงจุดแข็ง และความท้าทายของรูปแบบการสื่อสาร และเพื่อนำรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนี้ไปใช้ในองค์กรของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไป  นั้นจึงทำให้กระผมสามารถเข้าใจถึงหลักการของ ซุนวู ได้อย่างชัดเจน  และสามารถนำมาปรับแต่งใช้งานได้ในชีวิตการทำงานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดียิ่งครับ เนื่องจากกระผมรับราชการเป็นตำรวจ สิ่งที่สำคัญในการทำงานอย่างหนึ่งก็คือ การเข้าใจลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน  ผู้บังคับบัญชา และการวางตัวด้วย  ส่วนในช่วงบ่ายได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านอาจารย์ ดร.พิทยา  พุกมานท่านได้มาบรรยายเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศญี่ปุ่น  กับ ลาตินอเมริกาท่านได้บรรยายถึงลักษณะของประเทศญี่ปุ่นว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงได้เจริญก้าวหน้าไปมากว่าประเทศทั้งหลายที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย    เนื่องจากพวกเราทุกคนก็ทราบดีอยู่ว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงคราม  และทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย ซึ่งผิดกับประเทศไทยเรามีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก  ประเทศญี่ปุ่นมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพมากกว่าไทยและการบริหารงานของประเทศญี่ปุ่นก้าวหน้ากว่าประเทศไทยมาก เพราะว่าคนญี่ปุ่น เขามีระเบียบวินัยมาก มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  และลองทำการเปรียบเทียบระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ในด้านสังคม, วัฒนธรรม, การบริหาร, โดยที่ไทยได้เปรียบด้านทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าญี่ปุ่น ดังนั้นญี่ปุ่นจึงเป็น ประเทศที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศทั้งหมด  ญี่ปุ่นมีความชำนาญด้านทรัพยากรมนุษย์, เชี่ยวชาญด้านการบริหาร, ส่งเสริมการศึกษา  ส่งนักศึกษาไปเรียนต่อยังต่างประเทศเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศของตนเองให้เจริญรุ่งเรือง  ตั้งแต่ยุคจักรพรรดิ์เมจิ สรุปบัญญัติ 10 ประการ ว่าเหตุใดญี่ปุ่นจึงมีความเจริญมากกว่าไทย1.      ญี่ปุ่นมีระเบียบวินัย  ในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นเขาจะตรงต่อเวลามาก2.      ญี่ปุ่นมีการบริหารงาน  ที่มีระเบียบวินัยมากและตรงต่อเวลา3.      ญี่ปุ่นมีความขยันหมั่นเพียร  มีความอดทนเป็นเลิศ4.      ญี่ปุ่นทำงานเป็น TEAM  WORK  และมีความจงรักภักดีต่อองค์กรของตนเอง5.      ญี่ปุ่นชอบอ่านหนังสือ   เพื่อศึกษาหาความรู้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่6.      ญี่ปุ่นชอบความบริสุทธิ์ ความสะอาด   อย่างเช่นการอาบน้ำ คือจะลงไปแช่ในน้ำแล้วก็ขึ้นมาขัดตัว จนตัวแดง  เพื่อมีสุขภาพที่ดี7.      ญี่ปุ่นมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เขาอยู่8.      ญี่ปุ่นมีมารยาททางสังคม    เป็นอย่างมาก9.      ญี่ปุ่นมีความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตนเอง  เนื่องจากเคยแพ้สงคราม10.  ญี่ปุ่นมีการมองอนาคตข้างหน้าและพัฒนาอยู่เรื่อย    คือการพัฒนาให้ดีเลิศ ดร. พิทยา  พุกมาน ได้พูดถึง ความขยันธรรมาภิบาล, วินัยทางการเงิน, เสถียรภาพทางการเมือง, มุมมองของสังคมและ        วัฒนธรรม ซึ่งโดยรวมประเทศทางเอเชียตะวันออกมีมากกว่าและยังได้เล่าถึงความล้มเหลวในระบบเศรษฐกิจของ เวเนซฯ  และ วิกฤตเศรษฐกิจของอาร์เจนติน่า ที่เกิดจากความฟุ่มเฟือย  ทำให้เกิด ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของธนาคาร ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ ดังนั้น ความสามารถในการแข่งขันก็ลดน้อยลง เศรษฐกิจก็ถดถอย และเกิดการที่ประชาชนเข้าปล้นอาหารในร้านค้าต่าง ๆ  จึงถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดน้อยลง ดังนั้นต่างประเทศก็ไม่มั่นใจที่จะเข้าไปลงทุนด้วยเศรษฐกิจของ ประเทศอาเจนติน่าจึงย่ำแย่ และไม่สามารถชำระเงินที่กู้ยืมมาได้  รัฐบาลจึงต้องการปรับ    ค่าเงินจาก 1US$ = 1 เปโซ เป็น 1US$ = 3 เปโซ ซึ่งได้ข้อคิดดี ๆ มากว่าการที่รัฐบาลบริหารงานผิดพลาดเป็นอย่างไร และทราบถึงปัญหาของประเทศนั้น ซึ่งประเทศไทยก็น่าจะดูเป็นตัวอย่างไว้ และไม่ปฏิบัติตาม  สรุป    ในส่วนเนื้อหาที่ได้รับในวันนี้แล้วนั้นสามารถเพิ่มพูนความรู้ วิธีการคิด วิธีการทำงาน  การนำเอาความคิดไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนตัว และส่วนรวม และเป็นการรับข้อมูลที่ไม่เคยได้รับรู้มาก่อนจากที่ไหน ซึ่งเป็นการยากมากที่จะได้รับฟังประสบการณ์จากผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านดังกล่าวมาเป็น สิบๆ ปี ทำให้กระผมสามารถนำเอาประสบการณ์ดังกล่าวที่ได้รับการสรุปมาแล้วจากผู้มีประสบการณ์ไปใช้ได้อย่างดีเยี่ยม  ส่วนหนึ่งต้องถือว่าเป็นความโชคดีของตัวกระผมเอง  และเกิดขึ้นจากความกรุณาจากท่านอาจารย์ทุกท่านด้วยครับ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550 ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้มาบรรยาย เรื่องภาวะผู้นำ (LEADERSHIP) เพิ่มเติมและให้นักศึกษาเขียนเล่าประวัติและประสบการณ์หรือ   จังหวะชีวิต (MOMENT) ของตนเองเกี่ยวกับภาวะผู้นำ

                ดิฉันขอแนะนำตนเองว่าเป็นเจ้าของสถาบันสปาความงามที่ติดอันดับต้นของประเทศไทยในด้านชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานการบริการ โดยขอเล่าถึงจังหวะชีวิต (MOMENT)แห่งการตัดสินใจในการเลือกการศึกษา วิถีการเดินแห่งชีวิต จนปัจจุบันเป็นเจ้าของธุรกิจที่เป็นที่รู้จักพอ   สมควรในวงการเสริมความงามและสุขภาพ                แรงดลบันดาลใจที่มาเป็นเจ้าของธุรกิจนี้ เพราะดิฉันเข้าใจความรู้สึกถึงความไม่มั่นใจ ความเจ็บปวด เมื่อคุณสุภาพสตรีเธอเกิดมาเป็นคนไม่สวย หรือมีปัญหา โดยเฉพาะเมื่อถูกผู้อื่นพูดหรือแสดงออกถึงความรังเกียจในความขี้ริ้ว ขี้เหร่ มีตำหนิ เพราะเรื่องความสวยความงามสำหรับสตรีมีความสำคัญมาก ๆ บางคนคิดมากจนกลายเป็นโรคจิต หรือเก็บตัว ไม่อยากพบ หรือพูดคุยกับผู้ใดเพราะคิดถึงแต่ปมด้อยของตนเอง ด้วยความปรารถนาที่อยากทำให้คนสวย คนหล่อ จึงทำให้ดิฉันหักเหชีวิตการศึกษาซึ่งหลังจากจบเตรียมอุดมศึกษา ก็ได้ไปเรียนต่อด้าน BEAUTY & HEALTH จนได้รับรางวัลที่ 1  วุฒิสูงสุดด้านความงามและสุขภาพจากสมาคมความงามนานาชาติ C.I.D.E.S.C.O. ( COSMETÉ INTERNATIONAL D’ESTHETIQUÉ ET DE COSMÉTOLOGIE)

จากประเทศอังกฤษ โดยดิฉันมีหลักในการดำเนินธุรกิจในด้านการเป็นผู้นำ ดังนี้คือ

·     การเป็นผู้นำต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายและความหมายชีวิต ต้องรู้ตัวเองก่อนว่า ตนเองคือใคร กำลังทำอะไรอยู่ และทำอย่างไรจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ตนเองตั้งไว้ได้มีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง ระลึกเสมอว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้เป็นสิ่งที่ท้าทาย และทำได้จริง ต้องไม่สร้างปัญหาและเครียดงานมากเกินไป จะต้องจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะปัญหาด้านความเครียดทางอารมณ์ รู้จักกระจายงานที่ไม่ใช่งานสำคัญใหญ่โตมาก รู้วิธีมอบหมายงานให้กับผู้ที่มีความชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ ไม่มีปัญหาทางด้านส่วนตัและที่ทำงาน

·     วุฒิภาวะทางอารมณ์ (EMOTIONAL MATURITY) เช่น ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความสามารถที่จะนำลูกน้องได้อย่างราบรื่นและการประพฤติปฏิบัติตนที่เหมาะสม เมื่อลูกน้องทำงานผิดพลาด ก็ใช้ประสบการณ์และจังหวะที่เหมาะสมแนะนำให้คำปรึกษาเพื่อ     ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามใหญ่โต ไม่ต่อว่าลูกน้องต่อหน้าคนอื่นโดยเฉพาะลูกน้องที่มีความตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง

·     ต้องมีพลังจูงใจ (MOTIVATION DRIVE) โดยเฉพาะในการรู้จักควบคุมสถานการณ์ตลอดจนพลังจูงใจในการรู้จักใช้อำนาจ คือถ้าองค์กรที่อยากจะมีผลสำเร็จสูง จะส่งผลให้ลูกน้องมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จใน การงานสูงด้วย

·     ทักษะการแก้ปัญหา (PROBLEM SOLVING SKILLS) คือต้องคิดว่าปัญหาเป็นสิ่งท้าทายและเปิดโอกาสให้พิสูจน์ความสามารถในการบริหารงาน

·     ทักษะการเป็นผู้นำ (LEADERSHIP SKILLS) คุณลักษณะส่วนตัวมีทั้งทาง    ด้านงาน ทางด้านสังคม ความสามารถในด้านมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการติดต่อและการเจรจา การร่วมงานกับสังคม

·     มีความต้องการที่จะเป็นผู้นำ (DESIRE TO LEAD) มีความต้องการที่จะนำคนอื่น มีความตั้งใจที่จะเข้าไปรับผิดชอบในตำแหน่งของตน มีความตั้งใจในการบริหารงานและปรับปรุงแก้ไข ตลอดจนพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและนำองค์กรให้บรรลุตาม   เป้าหมายที่วางแผนการดำเนินงานไว้

·     ทักษะการจัดการ (MANAGERIAL SKILLS) คือต้องมีความพร้อมทั้งทักษะทางเทคนิค ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ และทักษะการบริหารงาน

คุณลักษณะของผู้นำที่ดีที่มีในตัวของผู้นำสามารถที่จะเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดีได้ คุณลักษณะของผู้นำมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานต่าง ๆ ไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

สำหรับดิฉัน คิดว่าคุณลักษณะหรือจุดแข็งที่มีคือ1.     มีพลังทางร่างกาย และมีความเฉลียวฉลาด (INTELLIGENCE) มีเชาว์ คือ พร้อมทั้งกาย และใจ คือปัจจัยร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี2.      มีความรอบรู้ในทางเทคนิควิธีและวิชาการต่าง ๆ (TECHNICAL) มีความรู้ดี มี    ประสบการณ์3.      มีความกระตือรือร้น (ENTHUSIASM) เป็นคนขยัน4.      มีมิตรจิตมิตรใจ มีน้ำใจไมตรีน่ารักใคร่ชื่นชม (FRIENDLINESS + AFFECTION)5.      มีความเที่ยงธรรม (INTRGRITY) บริสุทธิ์ยุติธรรม6.      มีการตัดสินใจเด็ดขาด เด็ดเดี่ยว ในการบริหารงาน (DECISIVENESS) ตกลงใจ     รวดเร็ว ใช้วิจารณญาณตัดสินปัญหาด้วยความชำนาญ7.      มีญาณสำนึกหยั่งรู้จุดหมายขอบข่าย และแนวทางของงาน (A SENSE OF PURPOSE AND DIRECTION)8.      รู้ที่ต่ำที่สูง (RESPECT)9.      ด้านบุคลิกภาพ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถในการปรับตัว มีความโดดเด่น     มีเกียรติยศ ชื่อเสียง สร้างประโยชน์แก่องค์กรในสายตาของคนทั่วไปเห็นว่าเป็นคนดีที่สุดเป็นคนเปิดเผย มีความสามารถในการเข้าใจในผู้อื่น

ส่วนจุดอ่อนของดิฉัน ก็คือ   ไม่ชอบความเครียด , ไม่ชอบความอ้อมค้อม พูดวกวน และการไม่รักษาสัจจะ และ           ความเห็นแก่ตัวของผู้อื่น

ดังนั้น การเป็นผู้นำของดิฉันต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ มีความกระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ ความก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนและแข็งแกร่ง เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง พนักงาน   ส่วนรวม สังคม และประเทศชาติท่าน ศ.ดร.จีระ ได้นำเทปการสนทนาระหว่างท่านกับนายศุภชัย หล่อโลหะการ ตำแหน่ง ผอ.สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ เกี่ยวกับ ทุนมนุษย์กับนวตกรรม (HR&INNOVATION) โดย ผอ.ศุภชัย ได้ให้คำจำกัดความ (DEFINITION) ของ นวตกรรม ว่าเป็นสิ่งใหม่ นว แปลว่า ใหม่ , ตกรรม แปลว่า การกระทำ ดังนั้นจะให้มีนวตกรรม ต้องมีการวิจัย ความรู้ต้องสด , ต้องคิดนอกรอบ  ต้องมีความรู้ใหม่ ๆ ต้องมี PROJECT ขึ้นมา , ต้องมี ACTION PLAN , ต้องทำ และทำให้เกิดประโยชน์ เช่น ต่อสังคมเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น , การศึกษา , ธุรกิจ , วัฒนธรรม , โดยที่        นวตกรรม อาจไม่ต้องเข้าห้อง LABORATORY  นวตกรรมมีทั้งมิติด้านสังคม ช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน มิติด้านธุรกิจ GO TO BUSINESS AND BE SUCCESSFUL  นวัตกรรม ถ้าไม่ HR ที่มีคุณภาพ จะไปไม่รอด เมื่อมีความรู้แล้วต้องนำไปใช้เป็นประโยชน์งานของ ศ.ดร. จีระ เป็นงานต้นน้ำ ทุนมนุษย์งานของ ผอ. ศุภชัย เป็นงานปลายน้ำ ทุนทางนวตกรรมสำนักงานนวตกรรม เกิดขึ้นเมื่อประเทศเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ถ้าจะแก้ปัญหาบ้านเมือง เรื่องของความรู้เรื่องของนวตกรรม เป็นเรื่องสำคัญส่วนข้อเปรียบเทียบระหว่างจีนกับอินเดีย ต่างกันเรื่องนวตกรรมคือ จีนมองทั้งหมด จีนเปรียบเป็น FACTORY ของโลก ส่วน อินเดีย มองบางส่วน เพราะบางแห่งยังยากจนอยู่มาก คือความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจนมาก ดังนั้นอินเดียจึงสู้จีนไม่ได้นวตกรรมคือการเปลี่ยนแปลง ถ้าทำช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอก องค์กรก็ไปไม่รอด คือธุรกิจต้องหารูปแบบใหม่ ๆ  เพื่อความอยู่รอด และความได้เปรียบในการแข่งขัน INNOVATION CULTURE เป็นเรื่องสำคัญ และควรปลูกฝังให้คนรู้จักคิดรู้จักทำสิ่งใหม่ ๆ ฝึกให้คนต้องกล้าเดินไปข้างหน้า ไปสู่ความสำเร็จเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนษย์ HR AND INNOVATION คนถึงแม้มีความคิดดี แต่ก็ต้องมีการปฏิบัติการ จึงเกิดนวตกรรมได้ โดยที่ การจัดการ กระบวนการตัดสินใจ การสื่อสารเป็นเรื่องของความสามารถเฉพาะตัว

อุปสรรคขอนวตกรรมในไทย คือ

1.     คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (CULTURAL  CHANGE) ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนเป็นยอมรับและเอาชนะการเปลี่ยนแปลง2.     คนไทยไม่ค่อยสนใจเรื่องลูกค้า (CUSTOMER SATISFACTION) ดังนั้นจึงต้อง     ปรับปรุงเน้นลูกค้าและการตลาด

3.     ผู้บังคับบัญชาคนไทยชอบสั่งการและควบคุม (COMMAND & CONTROL)  ดังนั้นจึงต้องเน้นการมีส่วนร่วม มีการกระจายอำนาจมากขึ้น คือ พัฒนาเรื่องภาวะผู้นำ

ซึ่งตรงกับแนวคิด ทฤษฎี 3C ของ ศ.ดร. จีร และจะให้เกิดนวตกรรม คนต้องมีทุนมนุษย์ ตรงกับ ทฤษฎี 8K’S ของ ศ.ดร. จีระสรุป  ดังนั้น การทำให้มีคนดีมีคุณภาพ (ซึ่งช่วยให้นวตกรรมดีมีคุณภาพ) ต้องมีเครื่องมือการจัดการให้คนมีคุณภาพ คือ·       STRATEGIC MANAGEMENT, VISION, MISSION, GOALS, STRATEGIC-PLANNING·       LEARNING ORGANIZATION·       KNOWLEDGE MANAGEMENT·       EMPOWERMENT·       LEADERSHIP·       TEAMWORK·       TWO WAYS COMMUNICATION·       INTERNAL AUDIT·       CORRECTIVE ACTION REQUEST·       CONTINUE IMPROVEMENT

·       ACTION PLAN, PDCA

สุดท้ายนี้ ก็ต้องกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ , GUEST LECTURERS:    MR. PETER BJORK, MR. LEIGH SCOTT, DR. PITHAYA POOKAMAN,  DR.YOM   NARKSUK อีกครั้ง ที่มอบความรู้ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง แก่ดิฉันค่ะ

                                                       น.ส. สมร  ดีสมเลิศ   

 

   

 

นางสาวอรุณรุ่ง พึ่งร่วมกลาง
กราบเรียนท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์ ดิฉัน นางสาวอรุณรุ่ง พึ่งร่วมกลาง   เมื่อวันอาทิตย์ที่  11 กุมภาพันธ์ 2550                              ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ ได้มาบรรยาย เรื่อง  ภาวะผู้นำ โดยให้นักศึกษาเขียนเล่าประวัติและประสบการณ์หรือ   จังหวะชีวิต ของตนเองเกี่ยวกับภาวะผู้นำ                 ดิฉันขอแนะนำตนเองว่าเคยเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลที่บริษัทฯแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ และในช่วงเวลานี้เองที่ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำเพราะต้องดูแลพนักงานทั้งหมดรวมทั้งครอบครัวผู้บริหารบริษัทฯด้วย  ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายมากแต่ก็เหนื่อยมากเหมือนกัน แต่ก็ไม่มั่นคงถาวร  จนต้องทำให้ดิฉันต้องคิดว่างานบริษัท ไม่มีความแน่นอนเหมือนกับได้รับราชการ โดยขอเล่าถึงจังหวะชีวิตแห่งการตัดสินใจในการเลือกการศึกษา วิถีการเดินแห่งชีวิต จนปัจจุบันเป็นพนักงานราชการอยู่ที่สถานศึกษาของรัฐบาล แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการและสถานศึกษาของดิฉันทำงานอยู่เป็นสถานศึกษาดีเด่นและได้รับรางวัลพระราชทานด้วยและ เป็นที่รู้จักในจังหวัดสมุทรปราการ  แรงดลบันดาลใจที่มาเป็นพนักงานราชการ คือ ดิฉันต้องการทำงานที่เป็นระบบถึงจะรู้ได้ว่ามาทำงานในระบบราชการคือทำงานซ้ำซ้อน ระบบงานล้าช้า ต้องรอการสั่งงานมาจากผู้บริหารเพียงอย่างเดียวแต่ในขณะเดียวกันที่นี้ก็ได้ให้อะไรกับดิฉันเยอะมาก มีความมั่นคงกับชีวิตของดิฉัน ไม่เหมือนกับตอนที่ทำงานอยู่บริษัทที่เคยทำมา เพราะดิฉันเข้าใจความรู้สึกถึงความไม่มั่นใจ ไม่มั่นคง  ความเจ็บปวด เมื่อทำงานให้ทางบริษัทไม่ประสบความสำเร็จ หรือเวลามีปัญหา  เลยตัดเลือกทางเดินที่มั่นคงถึงเงินเดือนจะไม่ได้มากมายอะไรแต่มีชีวิตที่มั่นคงดิฉันก็พอแล้ว  แต่พอมาทำงานในระบบราชการจริง ๆ  แล้วก็ดีทำให้มีระเบียบวินัยมากขึ้นได้เรียนรู้จากผู้รู้ทั้งหลายที่เป็นผู้บริหาร และ แต่ก็เป็นโชคดีของดิฉันโดยที่ได้มาอยู่กับเจ้านายที่มีความสามารถท่านเป็นคนเก่ง แต่ในภาวะผู้นำที่ฉันได้ทำมาอย่างมากก็คงจะตอนที่ดิฉันได้ทำงานอยู่ที่บริษัท โดยดิฉันมีหลักในการดำเนินชีวิตในด้านการเป็นผู้นำ ดังนี้คือ การเป็นผู้นำต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายและความหมายชีวิตของตัวเราเองและบุคคลรอบข้าง  โดยที่มีนักปราชน์  ซุนวู  ได้กล่าวไว้ว่ารู้เขา รู้เรา  ตรงนี้สำคัญมาก ต้องรู้ตัวเองก่อนว่า ตนเองคือใคร กำลังทำอะไรอยู่ และทำอย่างไรจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ตนเองตั้งไว้ได้และมีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง ให้คิดเสมอว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้เป็นสิ่งที่ท้าทาย และทำได้จริง ต้องไม่สร้างปัญหาและเครียดกับงานมากเกินไป จะต้องจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะปัญหาด้านความเครียดทางอารมณ์ รู้จักกระจายงานที่ไม่ใช่งานสำคัญใหญ่โตมาก รู้วิธีมอบหมายงานให้กับผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะการที่ไม่มีปัญหาทางด้านส่วนตัวและที่ทำงาน (เรื่องส่วนตัวก็คือส่วนตัว ส่วนเรื่องงานก็คืองาน ไม่นำมาเป็นเรื่องเดียวกัน) ทางอารมณ์ เช่น ตัวเองต้องมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตัวเราเองก่อน  ถึงจะไปควบคุมอารมย์ของคนอื่น หรือมี ความสามารถที่จะนำลูกน้องไปได้อย่างราบรื่นและการประพฤติปฏิบัติตนที่เหมาะสม เมื่อลูกน้องทำงานผิดพลาดอย่างไปตำหนิต้องอธิบายเหตุและผลให้เขาได้รับรู้ก่อนว่าอันไหนทำผิดอันไหนทำแล้วถูกต้องไม่ใช่อารมย์ที่ไม่เหมาะสมกับเขา และเราก็ใช้ประสบการณ์และจังหวะที่เหมาะสมแนะนำให้คำปรึกษาเพื่อ     ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามใหญ่โต ไม่ต่อว่าลูกน้องต่อหน้าคนอื่นโดยเฉพาะลูกน้องที่มีความตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับลูกน้อง ต้องมีพลังในการทำงาน - การจูงใจคน โดยเฉพาะในการรู้จักควบคุมสถานการณ์ตลอดจนในการทำงานก็จำเป็นต้องมีพลังมีการจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีขวัญและกำลงใจและรู้จักการใช้อำนาจตัวเอง คือถ้าองค์กรที่อยากจะมีผลสำเร็จสูง จะส่งผลให้ลูกน้องมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จใน การทำงานสูงด้วย ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามเหมือนกับท่านอาจารย์         ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าจะทำอะไรต้องมีพลังอยู่เสมอและงานทุกอย่างก็จะออกมาดี มี คุณภาพด้วย การแก้ไขปัญหา คือต้องคิดว่าปัญหาและอุปสรรต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ท้าทายและเปิดโอกาสให้พิสูจน์ความสามารถของตัวเราเองในการบริหารงานว่าจะฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรต่าง ๆ นั้นได้ไหมมีความสามารถพอไหมประสบผลสำเร็จแค่ใหนตรงนี้น่าจะสำคัญในเรื่องของการบริหารงานของตัวเอง การเป็นผู้นำที่ดี  ต้องมีคุณลักษณะส่วนตัวที่ดีมีทั้งทาง ด้านหน้าที่การงานงานที่มั่นคง ทางด้านสังคมและมีความสามารถในด้านมนุษย์สัมพันธ์มีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกและมีการเจรจาต่อรองในเรื่องงานต่าง ๆ ได้ดี  มีการช่วยเหลือสังคมให้อะไรดี ๆ กับสังคมด้วย คือต้องรู้จักให้ไม่ใช่ที่จะรับอย่างเดียวความต้องการจะเป็นผู้นำ ถ้าเรามีความต้องการที่จะนำคนอื่น หรือ มีความตั้งใจจริงที่จะเข้าไปรับผิดชอบในตำแหน่งงานต่าง ๆ ที่ตนได้รับมอบหมาย มีความตั้งใจในการบริหารงานและปรับปรุงแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะได้นำองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์แล้วนั้น   จุดมุ่งหมายที่ได้วางแผนการดำเนินงานไว้ก็จะประสบผลสำเร็จด้วยดีการจัดการภาวะผู้นำ คือคนที่จะเป็นผู้นำได้ดีต้องมีความพร้อมในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ด้านการบริหารงานต่าง ๆ ต้องเข้าใจให้ลึกซึ้งหรือถ่องแท้ในทุก ๆ เรื่อง             ก็ประสบความสำเร็จได้คุณลักษณะของผู้นำที่ดีที่มีในตัวของผู้นำสามารถที่จะเรียนรู้ได้และสั่งสมประสบการณ์ ต่าง ๆ ในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดีได้ การเป็นผู้นำมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานต่าง ๆ ไปสู่จุดหมายมุ่งหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจุดแข็งที่มีคือ         1.     มีพลังทางร่างกาย และมีความเฉลียวฉลาด  มีความรอบคอบในทุกเรื่อง   คือ พร้อมทั้งกาย และจิตใจ คือปัจจัยร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง สุขภาพดีปานกลาง แต่ดิฉันมีจิตใจสู้กับทุกเรื่องและยอมรับมันให้ได้      2.      มีความรู้ดี และ มีประสบการณ์ในการทำงาน 3.      มีความกระตือรือร้น   เป็นคนขยันมีความมานะอดทน  4.      มีจิตใจ มีน้ำใจกับคนรอบข้าง5.      มีความซื่อสัตย์สุจริต    6.  มองโลกในแง่ดี (บวก)  7. มีความกตัญญูกตเวที   8.      สัมมาคาราวะอ่อนน้อมถ่อมตนรู้เด็กรู้ผู้ใหญ่ไม่ก้าวร้าวรู้ที่ต่ำที่สูง    9.      สำคัญที่สุดคือดิฉันรู้จักตัวเองเป็นใครมาจากไหน แต่การที่มาจากไหนไม่สำคัญเท่ากับการเป็นคนดีที่สุดนี้คือตัวของดิฉัน 10.  ดิฉันสามารถเข้ากับบุคคลรอบข้างได้เป็นอย่างดี จุดอ่อน ที่มีคือ    1.  เป็นคนจริงจังกับงานกับชีวิต(เป็นคนเครียดนั้นเอง)  2.  ขี้สงสารคน 3.  เป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง    4   ไม่ชอบพูดจาอ้อมค้อม (พูดตรงไปตรงมา)การเป็นผู้นำของดิฉันได้นำทฤษฎีต่าง ๆ ของท่านอาจารย์มาปรับปรุงใช้กับชีวิตประจำวันของดิฉัน และดิฉันก็ มีความกระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา     (สดอยู่ตลอด)   เพื่อการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืน และมีประโยชน์ต่อตนเอง และหน่วยงานในองค์กร   ส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ  ท่าน ศ.ดร.จีระ ได้นำ  CD การสนทนาระหว่างท่านกับนายศุภชัย หล่อโลหะการ ตำแหน่ง ผอ.สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ เกี่ยวกับ ทุนมนุษย์กับนวตกรรม     โดย ผอ.ศุภชัย ได้ให้คำจำกัดความ ของนวตกรรมว่าเป็นสิ่งใหม่ นว แปลว่า ใหม่ , ตกรรม แปลว่า การกระทำ ดังนั้นจะให้มีนวตกรรม ต้องมีการวิจัย ความรู้ต้องสด , ต้องคิดนอกรอบ  ต้องมีความรู้ใหม่ ๆ ต้องมี PROJECT ขึ้นมา , ต้องมี ACTION PLAN , ต้องทำ และทำให้เกิดประโยชน์ เช่น ต่อสังคมเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น , การศึกษา , ธุรกิจ , วัฒนธรรม , โดยที่        นวตกรรม นี้  มีประโยชน์ต่อ  สังคม   คือช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน  ส่วนทาง ด้านธุรกิจ  นวัตกรรม ถ้าไม่ HR ที่มีคุณภาพ จะไปไม่รอด เมื่อมีความรู้แล้วต้องนำไปใช้เป็นประโยชน์งานของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นงานต้นน้ำทุนมนุษย์งานของ ผอ. ศุภชัย เป็นงานปลายน้ำทุนทางนวตกรรม  สำนักงาน    นวตกรรม เกิดขึ้นเมื่อประเทศเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ถ้าจะแก้ปัญหาบ้านเมือง เรื่องของความรู้เรื่องของนวตกรรม เป็นเรื่องสำคัญส่วนข้อเปรียบเทียบระหว่างจีนกับอินเดีย ต่างกันเรื่องนวตกรรมคือ คนอินเดียจะมีความคิดนอกกรอบเรื่องนวตกรรมมากกว่าประเทศจีนแต่ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ยากจนการจะคิดสร้างหรือทำนวตกรรมขึ้นมาจึงเป็นเรื่องที่ยากกว่าประเทศ จีนซึ่งเปรียบเป็น FACTORY ของโลก ส่วน อินเดีย มองบางส่วน เพราะบางแห่งยังยากจนอยู่มาก คือความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจนมาก ดังนั้นอินเดียจึงสู้จีนไม่ได้นวตกรรมคือการเปลี่ยนแปลง อุปสรรคขอนวตกรรมในไทย คือ1.     คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง 2.     คนไทยไม่ค่อยสนใจเรื่องลูกค้า 3.     ผู้บังคับบัญชาคนไทยชอบสั่งการและควบคุม ซึ่งตรงกับแนว  ทฤษฎี 3C ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และการที่จะทำให้เกิดนวตกรรม คนต้องมีทุนมนุษย์ ตรงกับทฤษฎี 8K’S ของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ สุดท้ายนี้ ก็ต้องกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ขอให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพร่างกาย สมบูรณ์  แข็งแรง และขอขอบคุณ  ท่านอาจารย์ ยม  นาคสุข  ที่ได้สรุปให้ความรู้ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งและเป็นผู้แปลภาษาต่างประเทศให้แก่ลูกศิษย์ ห้อง (MPA) รวมทั้งตัวของดิฉันด้วยค่ะ และขอบคุณทีมงานของท่านอาจารย์ที่ได้อำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา  ( MPA)                          มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดนางสาวอรุณรุ่ง   พึ่งร่วมกลาง   รหัส  0006150012      คณะรัฐประศาสนศาสตร์  (MPA) 
นายพิชิต   มิ่งขวัญ.........ID  NO. 006150011กราบเรียน-ท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์, ท่านอาจารย์ผู้สอน, วิชา-บทบาทของภาวะผู้นำ  (Leadership) , ที่นับถือ กระผม, ขออนุญาตจัดส่งการบ้านจากการเรียนการสอนของท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์,   ในวิชาบทบาทของภาวะผู้นำ (Leadership),  เมื่อวันอาทิตย์ที่  11  กุมภาพันธ์  2550, โดยท่านอาจารย์ผู้สอน-ได้ให้นักศึกษาเขียนเล่าถึงประวัติชีวิตและประสบการณ์  หรือจังหวะชีวิต (Moment) ของนักศึกษาเอง-แต่ละคน, ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของภาวะผู้นำ Leadership)  มาคนละประมาณไม่เกิน 3 หน้ากระดาษเริ่มเลย-ครับ!!....ชีวิตในวัยเด็กของกระผม, ตั้งแต่แรกเกิด-จนถึงเข้าเรียน, ในชั้นประถมปีที่ 1 7     ที่โรงเรียนวัดเนินเขาดิน   ต.ทุ่งควายกิน   อ.แกลง   จ.ระยอง, นั้น.....เป็นชีวิตที่ไม่มีอะไร!!  ให้-ลำบากยากเย็น!!  เพราะอยู่ในความปกครองของพ่อแม่, ซึ่งกระผมมั่นใจว่าท่านทั้งสอง, มิได้-บกพร่องในหน้าที่ของท่าน, แม้แต่น้อยเลย!! ส่งให้ความเป็นอยู่ของลูกชาย  2  คน, โดยมีกระผมเป็นลูกชายคนแรก-ของครอบครัว,  ได้รับความเป็นอยู่สุขสบายไร้กังวลในทุกเรื่องใด ๆ  เพราะมีพ่อและแม่-คอยปกป้องคุ้มภัยให้ทุกประการ.....ในตอนนั้น-พ่อทำงานอยู่กับบริษัทฯ ซึ่งเป็นกิจการโรงเลื่อยไม้ซุง-ไม้แปรรูป ฯลฯ  ( แห่งหนึ่ง)   พ่อ-ทำหน้าที่ขับรถบรรทุกชักลากไม้ซุง (เป็นท่อน ๆ) เข้าโรงเลื่อย-เป็นไม้แปรรูป ฯลฯ .....ทั้งครอบครัว,  ก็ได้-อาศัยพักพิงอยู่ในบ้านพักของบริษัทฯ แห่งนั้น,  ซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียนที่กระผมเล่าเรียน-อยู่,  ประมาณสัก  2-3  กม. ,  เด็กเล็กละแวก-นั้น,  ใช้วิธีเดินเท้าไปโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่-หากแม้นจะ  Hi-Class  สักหน่อย!!   ก็จะเป็นรถจักรยานสองล้อ (ขาถีบ) ก็หรูแล้ว!! .....ส่วนกระผมใช้วิธีการแรก (เดินเท้า) จุดเปลี่ยนของชีวิต-กระผม,  จาก (1) ไม่-นิยมเดินทางท่องเที่ยวไปไหน-ไกลบ้าน!!  (2) ไม่ชอบสังคม-พูดคุยไม่เก่ง-ขี้อาย-ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง !!    (3)  ขาดปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี!!  และ- (4).....!!  ฯลฯ  เมื่อ-เรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนฯ- แล้ว,  บังเอิญหรือพระเจ้าช่วย!!  ก็เกินที่จะคาดเดา-ได้!!   เนื่องเพราะ-คุณครูประจำชั้น,  ตั้งแต่ ป.5-ป.6 นามว่า-คุณครูมุกดา  วิเศษพันธ์ (ขออนุญาต-เอ่ยนาม!! เพื่อการคาราวะยกย่องพระคุณท่าน มา ณ โอกาสอันดี-นี้!!)  เป็นคุณครูสุภาพสตรีท่านนี้คนเดียว-เลย!!   ท่าน-ได้ปรารภกับพ่อแม่ของกระผม,  ว่า-อยากให้กระผมไปเรียนหนังสือ ม.ศ. 1  ต่อ-ที่กรุงเทพฯ ??   พ่อและแม่-อนุญาต,  วาดความคิด-ถึงอนาคต-ที่ดี, ของลูกชาย-คนโต,  ถึงแม้ว่าจะห่วงคะนึง,  จนเปรย!!  ให้ฟังหลายครา-ว่า   (1)  แล้ว-มัน! (หมายถึง-ตัวกระผม!!) จะอยู่ได้หรือ?  (2) ไอ้หนู! (หมายถึงกระผม-เอง) มัน, เคยห่างบ้าน-ห่างช่อง,  ที่ไหน?? กัน!!    (3) ใจเสาะ-จะตายไป!!    และ  (4)........ฯลฯ      ที่-กรุงเทพ!! กระผม-พำนักอาศัยอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ (ท่าพระจันทร์)!   เรียนที่-โรงเรียนวัดราชาธิวาส (ใกล้-หอสมุดแห่งชาติ)   ในชั้น ม.ศ.1-3 .....ชีวิต-กระผม!! ในเมืองกรุง,  ครั้งแรก-ที่ได้มีโอกาสมาเมืองกรุงและจำเป็น-ต้องอยู่ยาวนาน!!!    ครั้งแรก-ที่ต้องห่างจากอ้อมอกพ่อแม่!!!   ครั้งแรก-ที่จากพ่อแม่มาไกลขนาดนี้ (สมัยก่อน! การเดินทางไม่สะดวกรวดเร็ว,  เช่นเดี๋ยวนี้!) .....ฯลฯ   ทุกสิ่งทุกอย่าง-ที่กระผม,  ถือว่าเป็นทุนมนุษย์-ของตัวเอง  ต้องถูกขุดเอามาใช้อย่างฟุ่มเฟือย-เลย   อาทิ   ***ความอดทน  (ทน-ต่อความคิดถึงบ้าน!  ทน-ในสภาพความเป็นอยู่,  ที่ไม่เหมือนบ้าน, ต้องช่วยเหลือดูแลตัวเอง-ทุกเม็ด!  ทน-เงินหมดก่อนกำหนด!   ต้องตัดสินใจขอยืมเงินหลวงพ่อ (ที่วัด) ก็หลายครา!  ชีวิตก่อนหน้านี้,  พ่อและแม่มีให้กินตลอด-ไม่มีอด!    ทน-ความเย้ายวนใจในแสงสีและความเพลิดเพลินกระเจิงใจ!.....ฯลฯ)   ***ความอุตสาหะวิริยะ  (หากเรียนไม่จบ!  อะไรจะเกิดขึ้น??)     ***สติปัญญา  ปฏิภาณไหวพริบ  (ต้อง-เรียนให้จบ!  เพื่อจะได้มีงานที่ดี-ทำ!    ต้อง-ว่องไว,  ทั้งความคิดปฏิภาณไหวพริบ-ในการเอาตัวรอด!    ทั้งวาจา-ในการเจรจาโต้ตอบกัน,  จะได้ไม่ถูกติว่า- เชย!   และทั้งปฏิกิริยาของร่างกาย,  วัยรุ่นนักศึกษาชอบตีกัน-ต้องไว! )   และ........ฯลฯ    ทั้งสิ้นทั้งมวล-นั้น,  ก็เพื่อ (กระผม) ต้องอยู่ให้ได้ในสังคม (วัยรุ่น) เมืองกรุง-ขณะนั้น!  ***เรียนต่อ  ปวช. 1-3  (ช่วงประมาณ พ.ศ. 2523-2525)  ที่-วิทยาลัยพาณิชยการธนบุรี  ตอนนี้-กระผม (กระดากใจ! ต้องตื่นไปวิทยาลัย-แต่เช้า  และกลับมาก็เย็นย่ำ,  มันเหมือน-เกาะวัดกิน-ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร-เลย!!)  ต้องกราบขออนุญาตหลวงพ่อ (ที่วัด) ไปอาศัยอยู่บ้านเพื่อนที่เรียนหนังสืออยู่ด้วย (ปัจจุบัน, เพื่อนคนนี้-ทำงานอยู่ที่กรมสรรพสามิต)   สังคมของการเป็น เด็กวัด-อารามบอย   กับสังคมสภาพความเป็นอยู่นอกวัด  กับชุมชนหมู่บ้านที่คนพลุ่กพล่านตลอดวัน-คืน  มีทุกสิ่งทุกอย่างให้เลือก  ไม่ว่าจะเป็น  สูบกัญชา   ฉีดผง  สังคมนักเลงวัยรุ่น  มือปืนรับจ้าง  สังคมคนขี้เหล้าเมายา.....ฯลฯ  คนทำมาหากินโดยสุจริต-ก็มี   นักเรียนนักศึกษา (แบบ-พวกกระผม)-ก็มีเยอะ!!  ฯลฯ    กระผม-เรียนหนังสือ,  ต่อขึ้นไป-ในระดับ  ปวส.  พร้อมกับหารายได้พิเศษ-เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย (ที่เพิ่มขึ้น) ในการเรียน-เพราะทางบ้าน (พ่อแม่) ส่งมาให้-ไม่พอ, ด้วยการขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง (ตามซอย-ที่กระผมพักอาศัย, อยู่ตามเดิม-นั้น)   ใช้เวลา  3  ปี  (ปกติ, ใช้เวลา  2  ปี ,กระผม-ซอยวิชาลง, เพื่อให้พอกับเงินจำนวนจำกัด)   แต่-เวลาที่ใช้ไป, ความพยายามกระเสือกกระสนเรียนให้จบ-เหมือนสูญเปล่าโดยสิ้นเชิง! เพราะ-อาจารย์ผู้สอน,ไม่ให้-ผ่าน, วิชาภาษาอังกฤษ  เนื่องเพราะกระผมจับคู่ท่อง conversation กับอาจารย์ผู้สอน-ไม่ครบบท (ขอผ่อนปรน-ท่องบทสนทนาภาษาอังกฤษ-คนเดียว-จะได้ไหมครับ!    อาจารย์-ผู้สอน,  ก็ไม่ให้อีก-จนใจ!!)   เหตุเพราะ-กระผม,  ต้องไปเฝ้าพ่อซึ่งนอนป่วยหนักที่โรงพยาบาลต่างจังหวัด-ประมาณหนึ่งสัปดาห์, กลับมาไม่ทันเพื่อน, ให้เหตุผลแล้ว! อาจารย์ผู้สอน-ไม่เชื่อ!!   จึงต้องพยายามมองโลกในแง่ดี (ในอีกด้านหนึ่ง-ของชีวิต) และยอมก้มหน้ารับชะตากรรมปลุกปลอบใจตัวเอง-ว่า ไม่มีวุฒินี้...ชีวิตก็ไม่เห็นสิ้น-แค่นี้....ฯลฯ    (กระผม) เข้ารับราชการกรมศุลกากรในปี พ.ศ. 2528   ไต่เต้าจาก ซี 1  เริ่มจากด่านศุลกากรอรัญประเทศ  (สมัยที่กัมพูชา-ปิดเมือง, เขมรแดง-ปกครอง)   ได้รับเอาพ่อแม่และน้องชายมาอยู่ด้วยกัน-ที่ด่านศุลกากรอรัญประเทศ  จ. ปราจีนบุรี (ขณะนั้น).....หนัก-ที่สุด ๆ ของชีวิต!!    หลังจากปลดสภาพของความเป็นนักศึกษาในเมืองกรุง....ที่-แค่!! แลตัวเองให้พ้นรอดปลอดภัยจากเงื้อมมือของสังคมแห่งความเหลวไหล,  นอกลู่นอกทาง.......ฯลฯ     และอีกทั้งต้อง-บริหารตัวเองให้ดำรงอยู่ในสังคมนั้น-ให้ได้ตลอดไป,  แต่ก็แค่-ดูแลชีวิตของตัวเอง-ชีวิตเดียว, เท่านั้น!!     พอเริ่มทำงาน,  ก็เริ่มลิ้มรู้รสถึงชีวิตต้องสู้ขนานแท้! (ไม่อยากสาธยายแล้ว-หน้ากระดาษ,จำกัด!)  ตอนเรียนหนังสืออยู่ที่กรุงเทพฯ ว่า,  สากรรจ์-ยังไม่ถึงครึ่งเลย!   กระผม-ต้องรับผิดชอบอีกสามชีวิตที่สำคัญสำหรับชีวิต (กระผม, ยังไม่มีภรรยา-ขณะนั้น).....เงินเดือน  1,950.-บาท บวกค่า พ.ช.ค. อีก 200.-บาท (ตอนนั้น)  มันไม่พอใช้ให้ชนเดือน-อยู่แล้ว!!   หนี้นอกระบบ-คือที่พึงพาของคนในยามยากไร้  (แล้ว-จะให้บากหน้าไปหาใคร???)..........ฯลฯ     ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่  ในปี พ.ศ. 2530  เส้นกร๊าฟชีวิตเริ่มกระเตื้องขยับสูงขึ้น (บ้าง)   รับพ่อกับแม่และน้อง, มาตั้งรกรากที่เชียงใหม่-ต่อจากอรัญประเทศ   ด้วยเหตุผล,  หนึ่ง-แต่งงานมีภรรยาที่นี่!! .....สอง-เป็นเมืองที่พร้อมพรั่งในทุกอย่างไม่แพ้เมืองกรุง-แต่สภาพสังคมและสิ่งรายล้อมน่าอยู่กว่า กทม. เยอะ!!   พ่อมาเสียชีวิตที่นี่!!  ด้วยโรคถุงลมป่องพอง,  พ่อสอนกระผมไว้ตลอด-ว่า  (1) อย่าลืมบุญคุณคน  (2) อย่าหลงตัวเอง   (3) อย่าใช้จ่ายเกินตัว  (4) อย่าทิ้งการศึกษา   และ (5)  อย่าขี้เกียจ-ทำมาหากิน.....ฯลฯ ปัจจุบัน(กระผม)ปฏิบัติราชการประจำอยู่ที่ด่านศุลกากรแม่สอด  จ.ตาก.....ส่วน-ครอบครัว(ภรรยา-ลูกสาวหนึ่งคน-แม่-น้องชายและครอบครัว) อยู่ที่ จ.เชียงใหม่.....วันอาทิตย์ต้องมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ (ทั้งวัน).....เรียนเสร็จ-กลางคืนจับรถทัวร์มาทำงานที่ จ. ตาก, ให้ทันในวันจันทร์-เช้า เพื่อมิให้งานราชการที่ปฏิบัติอยู่--เกิดความเสียหาย.....กระผม-ต้องทุ่มเททั้งใจทั้งกายสุด-สุด  เพื่อคิดวิธีการบริหารจัดการกิจกรรมทั้ง  3  กิจกรรม-ดังกล่าว,  ให้สำเร็จลุล่วงให้จงได้  อุปสรรคใดๆ  สำหรับกระผม-ไม่ยี่หระ-แล้ว!!   กระผม-ต้องพยายามกระทำทุกวิถีทาง, ใช้ประสบการณ์ชีวิตปรับกลยุทธ์การดำเนินชีวิตให้อยู่-ให้ได้!!   ชีวิตต้องดำเนิน-ต่อไป,  ความสำเร็จและความมั่นคงในชีวิต-เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกผู้,  ต้องการ!!       การศึกษาในสถาบันการศึกษา-ยิ่งเรียนสูง-ยิ่งทำให้ (กระผม) ได้รับรู้ถึงการเรียนรู้, รับรู้-ในความกว้างใหญ่ไพศาลของความรู้ในเชิงวิชาการ,ซึ่งกระผม,มั่นใจว่า(กระผม)สามารถที่จะนำสิ่งที่ได้ศึกษาเรียนรู้, มาในสถาบันการศึกษา-นั้น, มาปรับใช้ร่วมกับประสบการณ์ของชีวิตที่หนักหน่วง.....และ-ทำให้, กระผม-มีชีวิตที่เข้มแข็ง, ทั้งกายและใจ  พร้อมที่ก้าวไปสู่ความสำเร็จของชีวิตในวันข้างหน้า-ให้จงได้  (ขอบอกว่า, พอใจ-ในความสำเร็จทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิต-ไม่ว่าจะเล็กใหญ่ขนาดไหน!! ขอเพียงถูกทำนองคลองธรรม!!)                การที่ (กระผม) ได้ศึกษาในวิชา  Leadership   ของท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และเมื่อได้ศึกษาในเนื้อหาวิชาการ, แล้ว   กระผม-คิดกรอง (เอาเอง!) ถึงความเป็นตัวตนของตนเอง-นั้น, ว่า-มีสภาวะแห่งความเป็นผู้นำอยู่ในตัวอย่างไร-บ้าง??   จึงทำให้ (กระผม)อยู่รอดปลอดตัวภายใต้วิกฤตแห่งชีวิต-มาได้ตลอด.....ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ที่ว่าด้วย  ทฤษฎี 5K’s  ของท่านอาจารย์ ดร.จีระฯ -นั้น   (กระผม)คิดว่าน่าจะเป็นส่วนสำคัญและพอจะมีอยู่ในตัวตนเองพอสมควร.....(1)  Innovation  Capital : กระผม-ต้องคิดหาวิธีการใหม่ ๆ  เพื่อบริหารจัดการชีวิตครอบครัว-ที่ไกลห่างกัน  (หนึ่งเดือน-จะอยู่พร้อมหน้าด้วยกันประมาณ 6 วัน) ให้อยู่อย่างมีความสุขเสมือนหนึ่ง-อยู่ร่วมกัน, บริหารจัดการเรื่องการศึกษาเล่าเรียนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี,    อีกทั้งต้อง-บริหารเรื่องการปฏิบัติหน้าที่งานราชการ-ที่ต้องพร้อมเข้าทำการแก้ไขปัญหาทุกเมื่อเชื่อวัน,  เพื่อให้-มวลชน, คงอยู่  และตัวบทกฎหมายต้อง-คงความศักดิ์สิทธิ์ไว้   (ใครคิดได้-บอกด้วย!!).....(2) Creativity  Capital  :  การพยายามมองโลกในแง่ที่ดี   มีความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงาม   พยายาม-มองภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นให้เป็นสองด้านเสมอ (ด้านดี-และด้านไม่ดี ฯลฯ)   ทำให้ชีวิตของกระผมมีความสุข  มีความสดใส  พร้อมที่จะต่อสู้และแก้ไขปัญหาอุปสรรคขวางหน้าทุกอย่างเสมอ, เพราะ (กระผม) มักคิดอยู่เสมอ-ว่า, มีด้านดี-อีกด้านหนึ่งรอพบเราอยู่.....(3) Knowledge  Capital  :  กระผม-คิดอยู่เสมอว่า, การศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอและอย่าง-ต่อเนื่อง,  ทั้งในห้องเรียนและประสบการณ์ชีวิต-นอกห้องเรียน  เพื่อเป็นแนวทางเสริมสร้างเชิงความรู้ที่หลายหลาก-ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการต่อสู้กับอุปสรรคขวากหนาม,  เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จของชีวิต-ที่ตั้งใจ.....(4) Cultural  Capital  :  พ่อสอนผมเสมอ,  ประพฤติตนเป็นแบบให้กระผมพบเห็นเป็นประจำ, ให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต, ให้ขยันทำมาหากินโดยสุจริต,  ไม่-พูดจาหยาบคาย,  ไม่-ดูถูกคน,   อย่า-เป็นคนอกตัญญู  และที่สำคัญพ่อชอบอ่านหนังสือ,  กระผม-รับเอามาโดยไม่รู้ตัว  ถือเป็นต้นทุนในตัวที่สำคัญที่พ่อทิ้งไว้ให้.....(5)  Emotion  Capital  :  กระผม-มักเตือนตัวเองอยู่เสมอ,  ให้ยิ้มเข้าไว้  แล้ว-ปัญญาจะเกิด, ความคิดที่ดี-จะเกิดกับผู้ที่มีอารมณ์และจิตใจที่ดี- มี EQ สูง   การยิ้มแย้มแจ่มใส-จะก่อให้เกิดไมตรีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ติดต่องานหรือแก่ผู้พบเห็น    และ-เมื่อใด, ที่กระผม-ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก,  กระผม-มักพบอยู่เสมอ, ว่า-จะได้รับความช่วยเหลือจากคนรู้จักมักคุ้นด้วยความเต็มใจ-เสมอ,  ทำให้สถานการณ์กลับกลายดีขึ้น...จนถึงปัจจุบัน  (จบ) 

ขอนุญาตแจ้งเรื่อง : ตัวอย่าง/ผู้นำที่จะนำไป Present  ในวันที่ 19 ก.พ.50  นั้น : กระผม-ขอเป็น,  ท่านปรีดี  พนมยงค์ !!!   ถ้าหาก-ซ้ำกับท่านใด??  ขอความกรุณาแจ้งด้วย (ครับ!!)  เสียแต่เนิ่น ๆ ,  จะได้ไม่ซ้ำเรื่องกัน...ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ!!

นางสาววลัยพร วงษ์งาม ID 006150015
 
               ¥   กราบเรียนท่าน ศ ดร จีระ  หงส์ลดารมณ์  ที่เคารพ ดิฉัน นางสาววลัยพร  วงษ์งาม  ขออนุญาติเสนอ Moment ของชีวิตที่ได้สัมผัสกับเหตุการณ์ ประสบการณ์ชีวิต ที่ส่งเสริมความเป็นผู้นำคะ
                           ¥   ดิฉันนางสาววลัยพร  วงษ์งาม เกิดมาสัมผัสโลกใบนี้ในครอบครัวที่มีบรรยากาศคล้ายกับโรงเรียน  เพราะมีผู้ปกครองและคุณครูคนเดียวกัน  ดิฉันมีคุณพ่อเป็นคุณครู  จึงได้สัมผัส  เรียนรู้ภาวะผู้นำตั้งแต่ลืมตาดูโลกแล้ว  การเป็นคุณครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีอยู่เต็มตัว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์  และการบริหารจัดการครูผู้ใต้บังคับบัญชา  ให้มีการเรียน  การสอน ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  และได้ผลผลิตเป็นนักเรียนที่ดี  มีคุณภาพ  เป็นอนาคตที่ดีของชาติ  ไปพัฒนาประเทศชาติในอนาคต  จึงถือว่าเป็นความโชคดีของดิฉันอย่างหนึ่งที่ได้มีโอกาส  ซึมซับความเป็นผู้นำที่ดีตั้งแต่แรกเกิดจากครอบครัวคะ
                             ¥   เมื่อดิฉันเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมก็ได้มีโอกาสได้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาที่ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือ  ภปร  ที่จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในปีกาญจนาภิเษก    เป็นที่ภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ศึกษาในโรงเรียนแห่งนี้   ทางโรงเรียนแน่นอนว่าจะต้องฝึกภาวการณ์เป็นผู้นำที่ดี  เพราะจะต้องมีพิธีการต่างๆ  ที่เกี่ยวกับพระราชวงศ์  เช่นการฝึกระเบียบวินัย  การวางตัวที่เหมาะสม  มารยาท  การอ่อนน้อมถ่อมตน  เพื่อให้ตนเองมีบุคลิกภาพที่ดีก่อนที่จะสืบทอดและเป็นตัวอย่างที่ดีกับรุ่นน้องต่อไป  นับเป็นโอกาสที่ดียิ่งอีกอย่างของดิฉัน
                              ¥   เมื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย   และทำงานเป็นพยาบาล  ได้มีโอกาสศึกษาที่พยาบาลสภากาชาดไทย ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  และทำงานที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  สภากาชาดไทย  จึงได้มีการฝึกความเป็นผู้นำสืบเนื่องต่อมา  คือได้ฝึกเพิ่มเรื่อง  คุณธรรม  จริยธรรม  การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน               
                                ¥   ซึ่งในการทำงานนั้นมีการฝึกความเป็นผู้นำคือ
                                ¥   1. Crisis management            การแก้วิกฤต  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหา วิกฤต ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คับขัน ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับ ความเป็น-ความตาย ของชีวิตผู้ป่วย ดิฉันจึงต้องมีคุณสมบัติในข้อนี้อย่างแน่นอน ซึ่งก็ได้จากการอบรม สั่งสอน จากสถาบันการศึกษาเป็นระยะเวลา 4 ปีเต็ม คุณสมบัติในข้อนี้ ถ้าดิฉันได้รับประสบการณ์จริงเพิ่มมากขึ้นหลังจากศึกษา 4 ปี คาดหวังว่าดินฉันจะมีคุณสมบัติของผู้นำในข้อนี้อย่างสมบูรณ์แบบ  จึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ช่วยพยาบาล
                                 ¥   2. Anticipate change  แก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล จะต้องรู้สถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกตโดยประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ  และให้การรักษาหรือคำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีภาวะผู้นำข้อนี้ก็จะทำให้บริหารจัดการ ดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                  ¥   3. Motivate others to excellent          เน้นทฤษฎีการกระตุ้นให้ผู้อื่นเก่ง  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะมีระบบงานแบบพี่-น้อง  คือเมื่อจบเข้ามาทำงานแล้วก็จะมี รุ่นพี่พยาบาลทำหน้าที่แนะนำสั่งสอนน้องพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลแทนท่านอาจารย์  โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้น้องเก่ง ทำงานมีประสิทธิภาพและก้าวหน้าขึ้นในหน้าที่การงาน และความรู้ความสามารถ  ซึ่งเป็นบทบาทผู้นำที่พยาบาลควรมีและดิฉันจะพัฒนาบทบาทข้อนี้ให้ดียิ่งๆขึ้นไป
                                  ¥   4. Conflict resolution  การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องทำงานร่วมกับทีมสุขภาพซึ่งมีหลากหลายอาชีพ  และทำงานที่ต้องสัมผัสกับผู้คนในระดับต่างๆแต่ละคนก็แตกต่างกัน  การจะเกิดความขัดแย้งนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย  เป็นเรื่องสำคัญที่พยาบาลจะต้องมีคุณสมบัติหลีกเลี่ยงความขัดแย้งให้ได้ เพื่อลดหรือขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้น
                                  ¥   5. Explore opportunities  เปิดโอกาส สร้างโอกาสให้กับตัวเองและผู้อื่น  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล  จะต้องเปิดโอกาสให้ตนเองและผู้อื่นได้เรียนรู้งาน ศึกษาหาความรู้ให้มีเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา  และทำให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ เช่น การเข้าร่วมการวิจัยกับแพทย์ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสัมมนาวิชาการต่างๆ ฯลฯ 
                                  ¥   6. Rhythm + Speed  การมีจังหวะที่ดีในการทำงาน ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลต้องรู้จังหวะว่า จังหวะไหน ช่วงไหนที่ควรเข้าไปทำหัตถการกับผู้ป่วย จะต้องดูว่าอารมณ์ ร่างกายของผู้ป่วยพร้อมที่จะทำหรือไม่ มิฉะนั้นอาจจะทำให้การรักษาไม่สำเร็จ หรืออาจจะทำให้ผู้ป่วยไม่ไว้วางใจได้  หรือกรณีเข้าไปเตือน สั่งสอน ชี้แนะผู้ช่วยพยาบาลเมื่อทำผิดพลาดก็ต้องดูจังหวะเพื่อมิให้ผู้ถูกตักเตือนเสียหน้าและต่อต้านเรา 
                                    ¥   7. Edge < Decisiveness >  การตัดสินใจเร็ว ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาล จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตัดสินใจเร็วเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่นเมื่อพยาบาลประเมินได้ว่าผู้ป่วยหยุดหายใจ พยาบาลมิใช่จะมัวตกใจ ไม่รู้จะทำอะไร แต่พยาบาลทุกคนต้องมีสัญชาติญาณของพยาบาลคือ รีบทำการช่วยกระตุ้นหัวใจ หรือเพิ่ม ออกซิเจนให้ผู้ป่วยโดยปั้มหัวใจและทำตามกระบวนการช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อหยุดหายใจ ตามทฤษฎีและประสบการณ์ที่เรียนมาอย่างรวดเร็ว  บทบาทผู้นำข้อนี้จะทำให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวพยาบาล 
                                    ¥   8. Teamwork  การทำงานเป็นทีม  ในการทำงานในวิชาชีพของดิฉันนั้นพยาบาลจะต้องร่วมมือกับทีมสุขภาพทั้งหมดเพื่อที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายป่วย  ดังนั้นแน่นอนว่าพยาบาลจะต้องมีคุณสมบัติ บทบาทผู้นำเรื่อง Teamwork เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                                    ¥   ช่วงจังหวะชีวิตที่สำคัญในปัจจุบันคือ ได้สัมผัสกับผู้นำที่หลากหลายความสามารถ  จากท่านอาจารย์ทุกท่านที่  มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาภาวะผู้นำ  ได้ซึมซับความเป็นผู้นำจากท่าน  ศ ดร จีระ  หงส์ลดารมณ์  แม้จะเป็นระยะเวลาเพียง    สัปดาห์  ท่าน  ศ ดร จีระ  หงส์ลดารมณ์  ก็สามารถถ่ายทอดความเป็นผู้นำที่ดีให้กับนักศึกษาได้มากทีเดียว
                                   ¥   ดิฉันภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ดิฉันได้มีโอกาสที่ดีที่ได้สัมผัส  เรียนรู้  ซึมซับความเป็นผู้นำจากท่านทั้งหลายดังที่กล่าวมาข้างต้น  ในช่วงชีวิตของดิฉันถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่ง  และดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคต  จะได้รับคำชี้แนะในส่วนที่ยังบกพร่องในเรื่องภาวะผู้นำและเรียนรู้เพิ่มเติมจากผู้นำที่ดีต่อไป  และแน่นอนว่าดิฉันจะพัฒนาความเป็นผู้นำที่ดีให้ดียิ่งขึ้นคะ
         

สวัสดีค่ะ  ท่าน ศ.ดร.จีระ  เพื่อนนักศึกษา MPA STAMFORD  และชาว  BLOG ทุกท่าน  น้ำฝน  น้อยวัน  เกิดที่ ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี  จ.สิงห์บุรี  เป็นลูกสาวคนโต มีน้องชาย 1 คน  น้องสาว 2  คน 

        

วัยเด็กจะเรียกว่ามีความสุขก็ว่าได้   เพราะครอบครัวดิฉันมีพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง อยู่กันเป็นแบบวงศาคณาญาติ  เดินไปไหนมาไหนก็รู้จักกันหมด  การศึกษาเล่าเรียนก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆทั่วๆไป  ดิฉันเรียนชั้นประถมที่ โรงเรียนวัดกำแพงซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้าน จนจบประถมปีที่ 4  (ชั้นสูงสุดของโรงเรียนนี้)  ไปสอบแข่งขันเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดโบสถ์(เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง)  จำได้ว่ามีเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดกำแพงไปสอบกัน 6  คน  แต่สอบติดได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดโบสถ์เพียง 2  คน  คือดิฉันและเพื่อนอีกคนหนึ่ง (ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว)  ทีนี้ล่ะซิ ตื่นเต้นแล้ว เพราะโรงเรียนใหม่อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 7  กม.  จะได้จักรยานไว้ขี่ไปโรงเรียน   ตื่นเต้นที่จะได้พบเพื่อนใหม่ที่มาจากโรงเรียนต่างๆ (ซึ่งแต่ก่อนเพื่อนที่โรงเรียนกับเพื่อนที่บ้านก็คือเพื่อนกลุ่มเดิม)  และแล้วเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 7 ที่โรงเรียนแห่งนี้  เอาอีกแล้ว...ต้องสอบแข่งขันเข้าเรียนต่อชั้น ม.ศ. 1  ที่โรงเรียนอินทร์บุรี เป็นโรงเรียนที่ดังที่สุด(ในสมัยนั้น)  ในคราวนี้ดิฉันมั่นใจว่าจะต้องสามารถสอบเข้าได้แน่นอน (เด็กโรงเรียนวัดโบสถ์จะสอบเข้าโรงเรียนอินทร์ได้ เปรียบเหมือนสาธิตอินทร์บุรียังไงยังงั้น)  และในช่วงที่เรียนอยู่โรงเรียนอินทร์บุรีนั้น ดิฉันก็มักจะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ...หรือที่เรียกกันว่าเด็กกิจกรรม...ดิฉันจะต้องเป็นตัวแทนของห้องเมื่อโรงเรียนจัดงานการแสดงละครของโรงเรียน  หรืองานไหว้ครูก็จะต้องถูกเลือกให้เป็นคนถือพาน  จากการที่เป็นเด็กกิจกรรม  ก็ทำให้ดิฉันมีเพื่อนในชั้นเรียนเดียวกันและเพื่อนรุ่นพี่รุ่นน้องมากมาย

         

เรียนจบมัธยมศึกษา  ชีวิตดิฉันก็พลิกผันไป  เพราะทางบ้านมีปัญหาด้านการเงิน  ไม่สามารถให้ดิฉันเรียนต่อได้เหมือนกับเพื่อนๆ  (ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อนผู้หญิงจะเรียนเป็นครู,พยาบาล ส่วนผู้ชายก็จะเรียนเป็นตำรวจ,ทหาร)   ตอนนั้นดิฉันรู้สึกเสียใจที่ไม่มีโอกาสเรียนต่อ  ขณะเดียวกัน น้าของดิฉัน (อยู่จังหวัดสุพรรณบุรี)  ก็จะส่งดิฉันเรียนต่อ  แต่ดิฉันตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะต้องอยู่ช่วยพ่อแม่ หารายได้เข้าครอบครัว อดกลั้นต่อความรู้สึกน้อยใจในวาสนาของตัวเองที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อ  จึงไปสมัครเป็นเซลล์ขายยาคูลท์  วันแรกของการทำงาน มันแสนจะเหนื่อยเหลือเกินกับการที่จะต้องเดินตามเซลล์ไปฝึกงานการขาย ร้อนก็ร้อน เมื่อยก็เมื่อย  รู้สึกท้อแท้ เราจะทำได้มั้ยเนี่ย??? (บ่นกับพี่ที่เค้าทำอยู่ก่อน..และเค้าก็ถามว่า)   เรามี 2  มือ 2 เท้าหรือป่าว??  คำพูดนี้มันทำให้เราฮึดสู้ ทำงานต่อ สลัดความคิดว่าทำงานไม่ไหวทิ้งไปจากสมอง  ฝึกงานอยู่ 1 สัปดาห์ ก็ได้บรรจุเป็นเซลล์ มีเขตการขายของตนเอง(อยู่ที่ อ.เมือง จ.ชัยนาท) สนุกกับการเป็นเซลล์ขายยาคูลท์มาก  ด้วยความที่เป็นสาวและสวยซะด้วย(ว่าเข้านั่นนน)  จึงมีลูกค้าเยอะแยะมาก  ทำยอดขายได้ทะลุเป้า  ผลงานดีมีรายได้สูง จนเป็นที่จับตามองจากเจ้าของศูนย์ ว่า..เอ้..เด็กคนนี้ ทำงานเก่งนี่.. ดิฉันเป็นเซลล์อยู่ประมาณ 1 ปี  เจ้าของศูนย์ก็เรียกดิฉันไปพบและบอกว่าจะให้ดิฉันเลื่อนขั้นเป็น SUPERVISOR ถามดิฉันว่าสมัครใจมั้ย  ดิฉันรีบตอบทันทีว่า  ได้ค่ะ  หลังจากนั้น 1 สัปดาห์  เจ้าของศูนย์ก็ส่งดิฉันเข้ากรุงเทพอบรมที่สำนักงานใหญ่  SIAM SQUARE

         

วันเวลาผ่านไปปุบปับรวดเร็ว จากเซลล์ตัวเล็กๆ ก็กลายเป็น  SUPERVISOR   ต้องฝึกและพัฒนาเซลล์ 17 คน ให้มีความสามารถในการหาลูกค้ามาเป็นสมาชิกและเทคนิคต่างๆ ตั้งแต่การทักทาย พูดคุย และการกล่าวแสดงความขอบคุณต่อลูกค้าเฉกเช่นตัวของดิฉันเอง  ระหว่างที่เป็น SUPERVISOR   อยู่นั้นดิฉันได้ทำงานด้วยความตั้งใจอย่างสุดความสามารถ เพื่อตอบแทนเจ้าของศูนย์ที่ท่านได้ให้ความกรุณา  ต่อมาดิฉันได้แต่งงานกับพนักงานบริษัทฯเดียวกัน จึงจำเป็นต้องลาออกตามกฎของบริษัท ที่ไม่ให้พนักงานชายและพนักงานหญิงที่อยู่ในสายงานเดียวกันแต่งงานกัน..

         

เป็นช่วงแรกของชีวิตที่ตกงาน  จากที่เคยมีเงินเดือนสูง( 7,000  บาท เมื่อปี 2525 นับว่าสูงสำหรับคนที่มีวุฒิมัธยม)และเงินโบนัสอีกต่างหาก   ดิฉันตกงานอยู่  1 เดือนเต็มๆ ก็ตัดสินใจเข้ากรุงเทพหาสมัครงาน  ได้ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง ที่ทำเกี่ยวกับการให้เช่ารถเครนและรถเทรลเลอร์    ดิฉันทำหน้าที่เป็นเสมียนธุรการ ส่วนสามีทำหน้าที่หัวหน้างานภาคสนาม   ดิฉันทำงานด้วยความขยัน  อดทน  ซื่อสัตย์ จากเสมียนธุรการธรรมดาจนมาเป็นหัวหน้าฝ่ายให้เช่ารถเครน  งานนี้เป็นงานที่แตกต่างจากงานเดิมอย่างสิ้นเชิง  จากเคยดูแลเซลล์เรื่องการขาย  เปลี่ยนมาดูแลจัดการตัดสินใจรับงานและกำหนดราคา ซึ่งต้องอาศัยทักษะในทุกๆ ด้านรอบตัว เช่น กล้าเสี่ยง ดิฉันต้องกล้าเสี่ยงที่จะเสนอราคาที่สูงที่สุดบนความยุติธรรม(ย้ำให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของบริษัทฯ)และราคานั้นสามารถแข่งกับคู่แข่งได้,  ในด้านเทคนิคและบริหารจัดการ  การที่จะเลือกขนาดของรถ(เปรียบเสมือนสินค้า)ให้เหมาะสมกับงาน  ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง(ดิฉันสนใจเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจากพนักงานขับรถรุ่นเก๋า) และส่งงานให้กับพนักงานขับรถอย่างเป็นระบบ   ซึ่งคลอบคลุมถึงเรื่องเข้าใจฝีมือและคุณลักษณะที่แตกต่างของแต่ละคน  ให้ไปปฏิบัติงานตามที่ตกลงกับลูกค้าอย่างตรงต่อเวลา  อยู่กับบริษัทนี้มา  14 ปี    ทำให้ดิฉันรอบรู้ในธุรกิจรถเครนให้เช่า  และมั่นใจว่าจะสามารถเป็นผู้สร้างบริษัทของตัวเอง จึงลาออกและตั้งบริษัทรถเครนขึ้น โดยมองอนาคตว่าจะเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ ซึ่งดิฉันตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดเล็กด้วยกันได้(เลือกสงครามที่จะรบ ไม่ใช่รบทุกสงคราม)  เพราะการให้บริการระหว่างเราและลูกค้าทุกๆราย ดิฉันและพนักงานทุกคน  จะให้ความสำคัญและความสนิทสนมอย่างเสมอต้นเสมอปลาย   ถ้าถามว่าพนักงานจะสามารถทำได้อย่างนั้นหรือไม่(ให้ความสำคัญต่อลูกค้า)  แน่นอนค่ะ ดิฉันใส่ใจในความเป็นอยู่และช่วยเหลือเมื่อยามลูกน้องเดือดร้อน  เปรียบเหมือนสมาชิกในครอบครัว ทำให้ดิฉันเชื่อว่าพนักงานทุกคนก็จะรักบริษัทและมุ่งมั่นที่จะพาองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป 

         

ดิฉันภูมิใจที่ได้นำพาธุรกิจมาจนถึงทุกวันนี้   แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การแข่งขันในธุรกิจของดิฉันก็ยังคงเข้มข้นขึ้นทุกวันๆ   จึงทำให้ดิฉันหันมาเอาจริงเอาจังกับการศึกษาเพื่อพัฒนากลยุทธ์, UP DATE ตัวเอง ,อุดช่องว่างของความบกพร่อง  และมองหาทิศทางความเป็นไปของธุรกิจทั้งเก่า ใหม่ ฯลฯ......ดิฉันจึงได้ศึกษาจนจบปริญญาตรีและขณะนี้กำลังศึกษาต่อปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัย นานาชาติแสตมฟอร์ด  จึงขอกล่าวขอบพระคุณอาจารย์ผู้สอนทุกๆท่าน  หัวหน้าและเจ้านายที่ให้โอกาสในการทำงาน  ผู้มีพระคุณทุกท่าน  มา ณ โอกาสนี้ด้วย  และขอขอบพระคุณ ท่าน ศ.ดร.จีระ ที่ให้การบ้านนี้  ทำให้กลับไปหวนคิดถึงความเป็นมาเป็นไปของตัวดิฉันเอง  เพื่อมองหาจุดอ่อน จุดแข็ง  และสุดท้ายนี้ดิฉันเชื่อว่า ท่าน ศ.ดร.จีระ จะสามารถทำให้ดิฉันเข้าใจ ในความหมายของภาวะผู้นำ  และมั่นใจว่าจะไม่เพียงสอนให้รู้ความหมายเท่านั้น แต่จะสอดแทรกกระบวนการที่จะนำพาเราไปสู่ความเป็นภาวะผู้นำได้   

นาย อัคระ ดาวล้อมจันทร์ ID.00615001

 

              สวัสดีครับท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อนนักศึกษา MPA รวมถึงท่านผู้อ่าน  Blog China Academy ทุกท่าน

               เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กพ. 2550 ที่ผ่านมาท่าน ศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ให้เกียรติและเมตตา มาสอนและบรรยายภาวะผู้นำ(Leadership) อีกครั้งท่านได้มานำนวัตกรรม(Innovation) มาบรรยายเพิ่มเติมองค์ความรู้แก่นักศึกษา ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด และท่านได้ฝากงานให้นศ.เขียนประวัติตนเองที่ผ่านมาลงใน blog ในที่นี้ข้าพเจ้าจะเขียนประวัติส่วนตัว/การศึกษา/ประสบการณ์ที่ผ่านมาของชีวิตพอสังเขป พร้อมประกอบทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K และทฤษฎี 5K บางหัวข้อ:

ประวัติ     เกิดที่รพ.เทียนฟ้า เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 5 คน และได้มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตคลองเตย

การศึกษา    

  •  อนุบาลที่ ร.ร.คลองเตยวิทยา
  • โรงเรียนท่าเรือวิทยาชั้นป.1 - มัธยมศึกษา ม.ศ.3
  • ปวช. พาณิชย์ แผนกเลขานุการ(เคยเป็นหัวหน้าห้องและประธานกีฬาสีฟ้า)
  • ปริญญาตรี ม.ราชภัฎราชนครินทร์ คณะ   ศิลปศาสตร์ โปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์(เคยเป็นหัวหน้าห้องนักศึกษาและเป็นประธานกีฬาสีฟ้า)

คุณพ่อ     เป็นทหารเรือ และท่านได้รับเกียรติประวัติสูงสุด ได้เข้าร่วมรบถึง 2 สงคราม คือ อินโดจีนและเอเชียบูรพา ซึ่งท่านได้รับเหรียญกล้าหาญถึง 2 เหรียญ

  • เหรียญชัยสมรภูมิอินโดจีน(ข้าพเจ้าได้รับโอนเป็นทายาท)
  • เหรียญมหาเอเชียบูรพา (น้องชายนายฉัตร์ตรา ดาวล้อมจันทร์ ได้รับโอนเป็นทายาท)

คุณพ่อได้รับโอนมาอยู่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจนเกษียณอายุราชการ

คำสอน ต้องรู้จักสำนึกในพระคุณแผ่นดิน/ศาสนาและพระมหากษัตริย์ มีความกล้าหาญและซื่อสัตย์สุจริต

คุณแม่    มีเชื้อสายจีนแผ่นดินใหญ่ ใช้แซ่ลิ้ม คุณแม่เป็นแม่บ้านแต่ท่านมีพรสวรรค์ในการตัดเย็บเสื้อผ้า ท่านจึงเลือกเป็นงานอดิเรกและมีรายได้เพิ่ม เลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างสบาย

คำสอน     รุ้จักกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ มีความเมตตา มีมานะอดทน ตั้งใจเรียน ห้ามลักขโมย

ประสบการณ์     ปัญหา สิ่งที่ควรปรับปรุงและนำไปแก้ไขจากแนวทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K และทฤษฎี 5K ใหม่ ของท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์นั้น คิดว่ามีอยู่ในตัวข้าพเจ้ากล่าวคือ

  • ทุนมนุษย์     ช่วงเล็กจนโต ไม่เคยสร้างปัญหาให้ครอบครัว ช่วยเหลือตัวเองมาโดยตลอด เช่น ช่วงปิดเทอมผมกับน้องหางานพิเศษทำเพื่อหาเงินที่จะซื้อข้าวของเอง โดยไม่เคยรบกวนบิดา-มารดา เป็นที่ทราบดีว่าคนในคลองเตย จะพบปัญหายาเสพติดมากที่สุด ลักขโมย อาชญากรรมหลากหลาย ผมผ่านปัญหาต่างๆ เหล่านี้มาได้ด้วยความเป็นคน มาได้ทุกวันนี้
  • ทุนทางปัญญา     ข้าพเจ้ามีปัญญาคิดเป็น รู้จักค้าขาย ช่วยเหลือครอบครัวมาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น อาจจะเป็นเพราะเรามีเชื้อสายจีน และได้รับการอบรมสั่งสอนจากบิดา-มารดามาตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ เช่น รับเสื้อผ้ามาส่งตามห้างสรรพสินค้าใสย่านประตูน้ำ และได้เดินทางไปต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ เพื่อนำสินค้า Brandname ใหม่ ๆไปเสนอลูกค้า เพื่อเพิ่มกำไรและรายได้
  • ทุนทางจริยธรรม     ข้าพเจ้าจะถูกบิดา-มารดาอบรมสั่งสอนศีลธรรม-จริยธรรมความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ และถูกอบรมสั่งสอนให้มีจิตสำนึกของความเป็นคน มีเมตตา ช่วยเหลือและให้โอกาสผู้อื่นเสมอมา
  • ทุนแห่งความสุข     ข้าพเจ้าและครองครัวรวมถึงน้องๆ ลูกหลาน รู้จักพอเพียง ชอบให้การช่วยเหลือ เมื่อมีโอกาสแก่สังคม และเพื่อนมนุษย์ตามโอกาส และกำลังทรัพย์ที่เราช่วยได้ แค่นี้ผมก็ว่ามีความสุขแล้ว คนเราตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ จะเหลือไว้ก็แต่ความดีแค่นี้ก็พอเพียงแล้ว หรือทฤษฎี 5K ใหม่ ของท่านศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวคือ
  • ทุนทางนวัตกรรม     ข้าพเจ้ารู้จักเรียนรู้และนำสิ่งใหม่ ๆ มาเพิ่มเติมและต่อยอด เช่น นำทุนจากการค้าขายมาลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ เช่น กล้าที่จะลงทุนในธุรกิจโต๊ะสนุก และนำนวัตกรรมใหม่เข้ามา คือ Computer System เข้ามาควบคุมดูแลให้เป็นระบบ ไม่ว่าการจับเวลาการคิดเงิน การสั่งอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น   สิ่งที่ได้รับจากลูกค้าก็คือความประทับใจ ความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า รวมถึงความพึงพอใจด้วย และยังรวมถึงการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในธุรกิจหอพักทั้ง 3 แห่ง เช่น นำ ระบบ
    Security มาใช้ในการเข้า-ออกภายในอาคาร รวมถึงระบบความปลอดภัยภายในห้องพัก เช่นระบบตัดไฟ Automatic ด้วยระบบ Censor จาก Key card เป็นต้น นี่เป็นทุนทางนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ ที่ข้าพเจ้านำมาใช้เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งทางท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เน้นและพยายามนำเสนอและมองเห็นถึงความสำคัญในการใช้นวัตกรรมมาพัฒนาให้เป็นรูปธรรม ดังจะเห็ฯได้จากเมื่อวันที่ 12 กพ. 2550 ได้มีการแถลงข่าวพิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่างม. นานาชาติแสตมฟอร์ด กับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โดยเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรการบริหารธุรกิจด้านนวัตกรรม เพื่อนำ Innovation ของหลักสูตรไปพัฒนาเพื่อความสำเร็จ เช่น 
  •  เน้นเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อนวัตกรรม
  • การเป็นผู้ประกอบการที่เน้นนวัตกรรม
  • เศรษฐศาสตร์จุลภาค มหาภาค เพื่อมองภาพรวม เป็นต้น

           เพื่อช่วยให้เกิดการจัดการนวัตกรรมอย่างเหมาะสม มีคุณภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองและประเทศชาติ

สรุป

          สิ่งที่ได้รับจากท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ เห็นความมุ่งมั่นของท่านที่จะพัฒนามนุษย์ และมองมนุษย์ มีค่าเป็นทุนทางสังคม รวมถึงปัญญา/จริยธรรม/ความยั่งยืน ซึ่งสังคมไทยยังขาดอยู่และนับเป็นวาสนาของผมที่ได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งท่านพูดเสมอว่า ท่านเก่งที่สุด และเข้าใจมนุษย์มากกว่าพวกฝรั่งที่มักจะเน้นแต่ทฤษฎีเอาเปรียบ และเน้นผลประโยชน์มากกว่าการมองและเห็นค่าของคนหรือให้ความสำคัญมนุษย์เป็นทุนเลยแม้แต่น้อย ตรงนี้เองที่ผมรู้สึกและให้ความเคารพท่านอาจาย์เป็นอย่างยิ่ง

          ท้ายนี้ของกราบขอบพระคุณท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มา ณ โอกาสนี้ที่ท่านเมตตามาสอนบรรยาย เพิ่มความรู้ให้กับนักศึกษา MPA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด ไม่มากก็น้อยแล้วแต่สติปัญญาหรือสมองของนักศึกษาในแต่ละคน ในวิชาภาวะผุ้นำ leadership เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติต่อไป

 

 

นาย วิระ ภูมิศิริสวัสดิ์ 00625001
สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และเพื่อน ๆ นักศึกษา MPA  รวมถึงผู้อ่าน BLOG ทุก ๆ ท่าน           เมื่อสัปดาห์ก่อน ท่าน ศ.ดร.จีระ ได้ให้เกียรติมาบรรยายหัวข้อเรื่อง ภาวะผู้นำ ( Leadership )อีกครั้งหนึ่ง  และท่านได้ให้นักศึกษาเขียนประวัติของตนเอง/ การศึกษา / และประสบการณ์ที่ผ่านมา ลง ใน BLOG ผมจะได้เขียนบรรยายโดยย่อ ดังนี้            ผม นาย วิระ  ภูมิศิริสวัสดิ์  เกิดเมื่อวันที่  26  มีนาคม  2498 ที่ ตำบล ท่าซัก อำเภอ เมือง จังหวัด  นครศรีธรรมราช  เป็นลูกคนที่ 6  ในจำนวน พี่น้อง 9 คน  ฐานะทางบ้านปานกลาง ครอบครัวประกอบอาชีพ ส่งอาหารทะเล  ( SEAFOOD )  เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ก็เป็นเด็กค่อนข้างเกเร เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียน วัดคงคาเลียบจนจบชั้น ป.4  จึงเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียน สุวรรณศิลป์วิทยา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ( มศ.3)  จึงเดินทางเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ  เมื่อปี 2515            เมื่อปี พ.ศ.2516  สมัครสอบคัดเลือกเป็นพนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ติดหนึ่งในสามสิบห้าคน โดยมีคนสมัครทั้งหมด 150 คน  เริ่มเข้าปฏิบัติงานเมื่อวันที่  23 พ.ย. 2516  เป็นลูกจ้างประจำในอัตราเงินเดือน 850 บาท  เมื่อปฏิบัติงานครบ 120 วันแล้ว  จึงได้รับการบรรจุเป็น ช่างระดับ 1  เมื่อได้รับการบรรจุเป็นช่างระดับ 1  ตั้งใจปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถ มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตั้งใจ มุ่งมั่น  จึงถูกส่งตัวไป ศูนย์ฝึกอบรมที่งามวงศ์วาน  ในการตัดต่อเคเบิล และการสร้างข่ายสายโทรศัพท์ จนถึงงาน Civil และงาน เคเบิล อันเดอร์กราวด์  ( Cable  Underground ) ในระยะเวลา หลักสูตร 4 เดือน              เมื่อ ปี พ.ศ.2520 จึงถูกส่งตัวไปขยายข่ายสายที่ อำเภอ ปักธงชัย ในสมัยนั้นยังมี ผกค. เพราะฉะนั้น อำเภอ ปักธงชัย หลังจาก 6 โมงเย็น จะเงียบมาก-         ปี 2522 จึงถูกส่งตัวไปขยายข่ายสายที่ อำเภอ วังทอง จังหวัด พิษณุโลก-         ปี 2524  จึงถูกส่งตัวไปขยายข่ายสายที่ อำเภอ กบินทร์บุรี  จังหวัด ปราจีนบุรี-         ปี 2525  จึงถูกส่งตัวไปขยายข่ายสายที่ อำเภอ จอมบึง  จังหวัด ราชบุรี-         ปี 2526   จึงถูกส่งตัวไปขยายข่ายสายที่ อำเภอ หลังสวน จังหวัด ชุมพร อำเภอ นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี-         ปี 2527   จึงถูกส่งตัวไปขยายข่ายสายที่ อำเภอ ธาตุพนม จ.นครพนม อำเภอ เมือง จ.ขอนแก่นวารินชำราบ  อ.อำนาจเจริญ ( ในขณะนั้น )  จ.อุบลราชธานีและอีกหลาย ๆ จังหวัด เกือบทั่วทั้งประเทศไทย  นับว่าเป็นประสบการณ์ในชีวิตของผมที่ทำให้วิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จักเส้นทางในหลาย ๆ  จังหวัด  ได้เปลี่ยนสถานที่ในการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นในการทำงาน  จึงนับเป็นโชคดีที่ผมได้เข้ามาทำงานในจุดนี้  ปัจจุบันผมจึงรับบทบาทเป็นผู้นำในการบริหารงานเอง  จึงได้รู้และเข้าใจปัญหาต่าง ๆ มากขึ้นจากประสบการณ์ในชีวิตผมที่กล่าวมาสิ่งที่ควรปรับปรุงและนำไปแก้ไขจากแนวคิด ทฤษฎี 5 K  คิดว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งในตัวผมบ้างก็คือ  Innovation  Capital ( ทุนทางนวัตกรรม )   ผมต้องหาวิธีใหม่ ๆที่จะทำให้ผมสามารถทำงานร่วมกับการมีเวลาไปเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมจากที่อื่นได้ เพราะปัจจุบันผมแบ่งเวลาการทำงานและ -         เวลาเรียนไว้ ตามตารางในแต่ละสัปดาห์ ว่าวันไหนควรทำอะไรสิ่งไหนก่อน  เพื่อให้สามารถมีเวลาค้นคว้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมโดยไม่ให้เสียเวลาในการทำงานได้  อาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการเรียนเพื่อให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น-          Creativity Capital  ( ทุนแห่งการสร้างสรรค์ )  ในการสร้างสรรค์ผลงานผมจำเป็นต้องใช้สมาธิเพื่อทำงานออกมาให้เป็นไปในทิศทางที่มุ่งหวัง  ต้องมีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ กับงานที่ทำตลอดเวลา เพราะผมเชื่อว่างานที่ดีจะออกมาจากความคิดภายในที่ดี-           Knowledge Capital ( ทุนทางความรู้ )  ผมมีแนวความคิดในการจะหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลาโดยการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต และศึกษาด้วยตนเองโดยอ่านหนังสือพิมพ์ และ นิตยสารต่าง ๆ เพื่อให้ก้าวทันโลกตลอดเวลา  และมีความคิดที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเมื่อมีโอกาส เพื่อเป็นหนทางในการมุ่งไปสู่การพัฒนาศักยภาพในการทำงานที่ดี-         Cultural Capital ( ทุนทางวัฒนธรรม )  ในการปฏิบัติงานเหนือสิ่งอื่นใด เราควรมีความเคารพสิทธิส่วนบุคคลของคนอื่น  ทำด้วยซื่อสัตย์  ขยัน พากเพียร ปฏิบัติงานอย่างพี่น้องและคนในครอบครัวเดียวกันพึงปฏิบัติ ให้เกียรติผู้ร่วมงานด้วยความจริงใจ  แสดงความมีน้ำใจในโอกาสอันควร ไม่ถือตัวว่าตัวเองเป็นนาย และใช้อำนาจหน้าที่นอกเหนือจากการทำงาน  กตัญญูและตอบแทนผู้มีพระคุณด้วยความเคารพจริงใจ  เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในสังคมไทย-         Emotion Capital ( ทุนทางอารมณ์ )  ในการปฏิบัติงานเราควรใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ แต่ก็มีหลายครั้งที่ผมใช้อารมณ์ในการทำงานมากกว่าเหตุผล นั่นก็คือข้อเสียของผม เนื่องจากผมเป็นคนใจร้อน ดังนั้น  จุดนี้ผมจึงคิดว่าเป็นข้อเสียของผมซึ่งควรจะพิจารณาปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้น ต้องมีสติสัมปชัญญะ คิดก่อนพูด และ คิดก่อนทำ  เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในการปฏิบัติงาน                  ท้ายนี้ผมขอกราบขอบพระคุณท่าน ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่ได้เสียสละเวลาของท่านเพื่อมาสอนภาวะการเป็นผู้นำให้กับพวกเรา ชาว MPA STAMFORD ผมรู้สึกได้รับประโยชน์ในการเรียนการสอนในหัวข้อเรื่องนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากในปัจจุบัน ประเทศไทย มีผู้นำที่ยังขาดคุณสมบัติอีกหลาย ๆ ด้าน ในการทำงานตาม ทฤษฎี 5 K และ ทฤษฎี 8 K ของท่าน ศ.ดร. จีระ  ส่วนตัวผมเอง จะนำวิชาความรู้ที่ได้รับมาปฏิบัติในการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม  การทำงานเพื่อให้องค์กรมีการพัฒนา  เพื่อความเจริญก้าวหน้าต่อไปในองค์กร  และสุดท้ายเพื่อให้ประเทศชาติของเราพัฒนาไปสู่ระดับสากลที่ดีขึ้น                 นาย วิระ  ภูมิศิริสวัสดิ์  รหัส  00625001
  สวัสดีครับเพื่อนๆม.แสตมฟอร์ด และผู้ที่อ่านBlogทุกท่าน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550 ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ได้ให้นักศึกษาม.แสตมฟอร์ด MPA.เขียนถึงประวัติของตัวเองลงในBlogข้าพเจ้าเป็นบุตรคนที่2ของครอบครัว มีพี่น้องทั้งหมด5คนการศึกษา         ป.1 มัธยมต้น ที่โรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์                        มัธยมปลาย       ที่โรงเรียนดรุณพิทยา                        ปริญญาตรี       ที่ ม.ราชภัฏราชนครินทร์ คณะศิลปศาสตร์โปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์คุณพ่อ             รับราชการทหารเรือ และได้เข้าร่วมสงครามอินโดจีน และเอเชียบูรพา และได้รับเหรียญกล้าหาญถึง2                         เหรียญ ต่อมาท่านได้โอนมาอยู่การท่าเรือแห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุราชการคุณแม่              เป็นแม่บ้าน มีอาชีพอดิเรกคือ ตัดเย็บเสื้อผ้าชีวิตในวัยเด็กจนโต ข้าพเจ้าใช้เวลาว่างจากการเรียนหนังสือ รับจ้างทำงานเพื่อหารายได้พิเศษ และเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อที่จะได้ไม่ต้องรบกวน บิดา มารดา อีกแรงหนึ่งชีวิตในช่วงอุดมศึกษา ข้าพเจ้าเรียนอยู่ที่ ม.รามคำแหง หลังจากที่เรียนได้2ปี ข้าพเจ้าก็หยุดเรียนหันมาค้าขาย ข้าพเจ้าเปิดร้านขายสินค้าแบรนด์เนมอยู่ที่ ศูนย์การค้าราชดำริ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) กิจการเจริญรุดหน้าเร็วมาก ข้าพเจ้าจึงไปเปิดอีก2แห่งคือที่ The Mall ราชดำริ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) และ ศูนย์การค้าอินทรา การเปิดร้านทั้ง3แห่งนี้ ทำให้ข้าพเจ้ากับพี่ชาย (คุณ อัคระ) ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เพื่อหาสินค้าแนวใหม่ๆมาจำหน่าย ในขณะเดียวกันข้าพเจ้าก็ศึกษา วิธีการค้าของต่างประเทศด้วย  ในช่วงนั้นสินค้าแบรนด์เนมบูมมาก หลังจากนั้นมาอีก6ปี ตลาดสินค้าแบรนด์เนมเริ่มอิ่มตัว เนื่องจากของปลอมทำออกมามาก  ข้าพเจ้าจึงเลิกกิจการทั้ง3แห่ง หันมาศึกษาการทำกิจการโต๊ะสนุ๊ก พบว่าโต๊ะสนุ๊กเมื่อสมัย20ปีที่แล้ว ทุกที่จะมีสภาพเสื่อมโทรมเป็นที่รวมของนักเลงอันธพาล ข้าพเจ้าจึงคิดว่าคนที่ชอบกีฬาสนุ๊กเกอร์มีเป็นจำนวนมาก และในจำนวนนั้น คนมีฐานะปานกลางถึงสูงก็มีเป็นจำนวนมาก แต่หาสถานที่เล่นที่ปลอดภัยและบรรยากาศดีๆนั้นไม่มี ข้าพเจ้ากับพี่ชายจึงเปิดกิจการโต๊ะสนุ๊กติดแอร์และตกแต่งสถานที่ให้มีบรรยากาศที่ดี ค่อนข้างสวย และก็ได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ (ซึ่งเมื่อ20ปีที่แล้วคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักคอมพิวเตอร์กันมากนัก) ซึ่งเป็นแห่งแรกในย่านพระโขนง และสะพานใหม่ดอนเมือง ก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าจึงได้ทำกิจการโต๊ะสนุ๊กอยู่เป็นเวลา5ปี และจึงได้เปิดกิจการนวดแผนโบราณ และคาราโอเกะซึ่งในขณะนั้นกำลังบูมอย่างมาก ซึ่งข้าพเจ้ากับพี่ชาย (คุณ อัคระ)ก็ได้นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินทิ้งไว้3แปลง และในปัจจุบันก็ได้ปลูกเป็นอพาร์ทเม้นท์ทั้ง3แห่ง ตลอดระยะเวลาที่ทำการค้า ข้าพเจ้าไม่เคยโกงใคร เพราะ บิดาข้าพเจ้าเคยสอนไว้อยู่เสมอว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน  ถ้าเทียบกับทฤษฎี 8K ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์  ข้าพเจ้าก็มีทุนมนุษย์                    ตั้งแต่ข้าพเจ้าหันมาค้าขาย ข้าพเจ้าก็ได้เรียนรู้และต่อสู้มาด้วยตัวเองตลอดทุนทางปัญญา            ข้าพเจ้ามีปัญญาที่จะเรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไรให้กิจการเจริญก้าวหน้าทุนทาง IT                   ข้าพเจ้ามีความคิดที่จะนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในระบบการค้าทุนทางความสุข          ทุกวันนี้ข้าพเจ้ามีความสุขกับงานที่ข้าพเจ้าทำและข้าพเจ้าจะสอนน้องๆและพนักงานของ ข้าพเจ้า                                     ให้รู้จักพอเพียง  ไม่โลภ  แล้วฃีวิตจะมีความสุข                                                                                                                ทุนทางจริยธรรม         ข้าพเจ้ามีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คิดคดโกงใคร  ท้ายนี้ผมขอกราบขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่ท่านได้สละเวลามาให้ความรู้แก่นักศึกษา MPAม.แสตมฟอร์ด  และผมจะนำความรู้ที่ท่านสอนไปพัฒนาตัวเอง   พัฒนาองค์กร  และช่วยพัฒนาประเทศชาติเท่าที่จะทำได้ นายฉัตร์ตรา   ดาวล้อมจันทร์    I.D.NO.  006150002         
นายประภากร สัมพันธ์สวาท Id00615004

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

และสวัสดีนักศึกษา MPA (Bangkok campus)ทุกท่าน ในการเขียน Blog ครั้งนี้ ศ.ดร.จีระได้มอบหมายให้นักศึกษาทุกท่านได้เขียนเล่าถึง Moment ชีวิตของแต่ละท่านกระผมจึงขออนุญาตเล่าถึงmoment ชีวิตของตนเองดังนี้

 

 

กระผมเองมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่จังหวัดน่านซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศจังหวัดน่านเป็นเมืองที่ค่อนข้างเงียบสงบและวิถีชีวิตของชาวน่านค่อนข้างจะเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมยังมีความอบอุ่นและเป็นกันเอง ผู้คนมีอัธยาศัยที่ดีต่อกันและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าไว้มาก ยังไม่ได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมใหม่ๆหรืออิทธิพลจากความเจริญทางวัตถุมากนัก จนกระทั่งในปัจจุบันก็ตาม ประกอบกับการที่จังหวัดน่านนั้นเป็นเมืองแห่งธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงมีพื้นที่ราบประมาณ 30% เท่านั้น มีอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กระผมมีความรักและผูกพันธ์กับถิ่นกำเนิดของผมเป็นอย่างยิ่งแม้ว่าตัวกระผมเองจะเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯนานนับสิบปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีแนวคิดที่จะกลับไปอยู่ที่น่านตลอดเวลาเพียงแต่รอแค่โอกาสและจังหวะที่เหมาะสมเท่านั้นเอง

 กระผมนั้นเกิดที่ อ.เมือง จังหวัดน่าน มีพี่น้องด้วยกัน 2 คนโดยกระผมเป็นพี่ชายคนโต ส่วนพี่น้องอีกหนึ่งคน เป็นน้องชายซึ่งปัจจุบันทำงานเป็นวิศวกรทางด้านคอมพิวเตอร์อยู่ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนตัวกระผมนั้นในช่วงต้นของชีวิตใช้ชีวิตเติบโตอยู่ที่จังหวัดน่านซึ่งก็เรียนตั้งแต่ต้น จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่จังหวัดน่าน จากนั้นก็เข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่กรุงเทพฯ จวบจนกระทั่งประกอบอาชีพการงานอยู่ในกรุงเทพฯจนถึงปัจุบัน ในการทำงานของผมนั้นเริ่มตันจากการที่ทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งโดยมีหน้าที่งานในส่วนการดูแลบุคคลากรภายในองค์กรซึ่งอยู่ในสังกัดงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง ตรงจุดเริ่มต้นของการทำงานในบริษัทฯแห่งแรกนี้เองที่กระผมถือว่าเป็น Moment ชีวิตการทำงานของผมที่ดีทำให้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานได้อย่างมากมายหลากหลายด้านอาทิเช่น การทำงานทางด้าน Training ให้กับองค์กรทั้งองค์กร ,การทำงานทางด้านแรงงานสัมพันธ์ ,และการสื่อสารระหว่างพนักงานกับองค์กร ,การเป็น Committee ระบบคุณภาพ ISO ,TQM และระบบคุณภาพอื่นๆอีกมากมาย  ให้กับองค์กรตลอดจนเป็น Internal Auditor ขององค์กร กระผมใช้เวลาประมาณสองปีในการเรียนรู้งานในด้านต่างๆ จนในที่สุดจึงได้ออกมาเปิดกิจการส่วนตัวกับครอบครัวซึ่งเป็นธุรกิจทางด้านการให้บริการรับจ้างเหมาแรงงานซึ่งปัจุบันมีพนักงานอยู่ประมาณสองพันคนซึ่งธุรกิจทางก็ประสบผลสำเร็จดี ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสในทำงานทางด้านกฎหมายแรงงานอีกด้วย ในอนาคตกระผมเองก็มีแนวความคิดที่จะดำเนินธุรกิจในด้านอื่นๆเพื่อเพิ่ม Explore Opportunities ต่อไปอีกด้วย

 

 

จากประสบการณ์การทำงานของข้าพเจ้านั้นทำให้กระผมได้นำมา Apply ความรู้ต่างๆที่ ศ.ดร.จีระ  ได้กรุณาถ่ายทอดให้พวกเรานั้นมาสารถนำไปใช้ได้อย่างดียิ่ง  โดยเฉพาะอย่าง Leadership roles by chira อันได้แก่

-                    Crisis management การแก้ปัญหาในเรื่องที่สำคัญๆเรื่องที่ยาก

 

-                    Anticipate change การวาง

แผนล่วง

 

-                    Motivate other to excellent การกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในองค์กรเก่งหรือมีความสามารถ

 

-                    Conflict resolution การหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้ง

 

-                    Explore opportunities การสร้างโอกาสใหม่

 

-                    Rhythm & Speed โอกาสและจังหวะ

 

-                    Edge ความรวดเร็ว ฉับไว ทันเหตุการณ์

 -                    Teamwork การทำงานเป็นทีม

 

 

ทฤษฎีแปดข้อข้างต้นที่ผมได้รับการถ่ายทอดมาจาก ศ.ดร.จีระนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงานของผมช่วยให้ผมสามารถนำมาปรับปรุงการทำงานของตัวเองและขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพได้ดีอย่างยิ่ง

 

        ท้ายนี้ผมขอกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นอย่างสูงที่ได้กรุณราสละเวลาของท่านมาให้ความรู้กับลูกศิษย์ชาวMPAทุกคนผมจะนำความรู้ที่ได้รับจากท่านไปใช้ประโยชน์และนำไปต่อยอดเพื่อให้เกิดประโฌยชน์สูงสุดต่อไปในภายภาคหน้า

                        ด้วยความเคารพอย่างสูง 

            

            

                นายประภากร  สัมพันธ์สวาท

                  Id. 00615004  MPA (Bangkok campus)

นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002

สวัสดีครับ/ค่ะ ท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์/อ.ยมและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน

จากที่กลุ่ม3ได้รับมอบหมายให้แปลและสรุป หนังสือ

Reinventing Leadership  : Chapter 3 เรื่องThe Personal Side of Leadership

กลุ่ม 3 มีสมาชิกดังนี้

1.นายชาญชัย  พานิชนันทนกุล รหัส  105342002

2.นางจำเนียร   อำภารักษ์          รหัส  106142002

3.นายนิคม       อำภารักษ์          รหัส   106142006

4.น.ส.ปภาวี     นาคสุข              รหัส   106142008

5.นางจารุวรรณ ยุ่นประยงค์      รหัส    106142009

6.น.ส.ปณิธาน   เชื้อชาติ          รหัส    106142013

7.นายเอกราช    ดนยสกุล        รหัส     106142015

จาการแปลของกลุ่มสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

แง่มุมด้าน คน ของความเป็นผู้นำผู้นำจะสื่อสารมุมมองความคิดและวิสัยทัศน์ของตนไปยังผู้ที่สามารถทำให้มุมมองนั้นเป็นความจริงได้  สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนเหล่านี้ได้รับความสนใจว่าเป็นคนที่นำความฝันไปปฏิบัติได้ เพื่อกระตุ้นและโน้มน้าวให้บุคคลเข้าร่วมกับอุดมการณ์ คุณต้องมีความตระหนักรู้ตนเองหรือรู้จักตนเข้าใจตัวเองและอยากจะพัฒนาตนเอง การเป็นผู้นำนั้นต้องแสดงออกอย่างดีที่สุดเพื่อผู้อื่นจะได้ทำตาม ผู้นำต้องรู้จักตนเองและปรารถนาที่จะพัฒนาตนเองเสมอ  ในการจะเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำควรจะปรับปรุงตนเองก่อนที่จะพัฒนาผู้อื่น ในบทนี้จะได้เรียนรู้ว่าการค้นพบตนเองสามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กร การชี้ให้เห็นถึงการสร้างทัศนคติในเชิงบวก และยังจะได้ทราบถึงวิธีที่จะสร้างการมองตนเองโดยการเสริมสร้างจุดแข็งของตนเองทราบความต้องการขององค์กรและความคาดหวังที่องค์กรจะได้รับรวมถึงทำให้เกิดการประเมินเสียงสะท้อน (Reflective backtalk) ในทุกๆ โอกาส การที่ผู้นำได้มีการพัฒนาด้านบุคคลมาถึงจะนำพาไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี นอกจากการพัฒนาด้านบุคคลมาถึงจะนำพาไปสู่การเป็นผู้นำที่ดีแล้ว ยังช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ และเพิ่มมูลค่าขีดความสามารถในการผลิตให้กับบริษัท นำไปสู่การพัฒนาขององค์กรด้วย  ความหมายแง่มุมด้านคนของความเป็นผู้นำคืออะไร?
เราต้องสร้างกลไกเหนี่ยวรั้งเทียมขึ้น เมื่อใดก็ตามที่ความคิดเห็นของเราถูกโจมตี โดยทั่วไปเราต่างก็รีบปกป้องทันที แต่ผู้นำที่ดีจะเหนี่ยวรั้งความรู้สึกนั้น(ที่จะปกป้องทันที) เราคิดว่าความแตกต่างระหว่างการเคารพนับถือในตัวเองกับความมีอัตตา ก็คือ ความสามารถในการโต้แย้งโดยได้ไตร่ตรองแล้ว
 การเป็นผู้นำต้องมีทัศนคติเชิงบวก(Positive self-regard)เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ·        ต้องรู้ข้อดีและข้อด้อยของตนเอง  ข้อดีควรส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ควรกำจัดข้อเสียให้น้อยลงหรือ กำจัดให้หมดไป·        เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาตนเองเพื่อที่จะเสริมสร้างข้อดีโดยการกำหนดเป้าหมายไว้  ผู้นำที่ดีส่วนใหญ่ต้องการผลตอบรับ  (Feedback) เพื่อใช้ในการประเมินตนเองว่า ทำงานได้ดีแค่ไหนและก้าวหน้าขนาดไหนแล้ว·        ผู้นำต้องมีความเข้าใจความต้องการขององค์กรและตนเองสามารถพัฒนาองค์กรได้ไม่มากก็น้อย  ผู้นำที่มีศักยภาพนั้นจะตระหนักได้ว่าควรพยายามทำและพัฒนาตรงจุดไหน  ในการศึกษาวิจัยครั้งแรกเมื่อหลายปีที่ผ่านมาพบว่ามีผู้นำเพียง 2 คนจาก 90 คน ที่อยู่ในตำแหน่ง CEO ได้นานในองค์กรของเขา ซึ่ง 2 คนนี้ พวกเขาเข้าใจผิดว่าความสามารถของพวกเขาไม่เหมาะสมกับความต้ององค์กรแล้ว แต่โดนบังคับให้อยู่ในตำแหน่งเพราะคณะกรรมการอื่นๆ           ทั้งนี้ปัจจัยที่กำหนดการเลือกผู้นำคนใหม่คือ ความสามารถ (รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไร) และรู้ว่าตนเองจะต้องหมดหน้าที่ลงเมื่อใด   หากเลือกผู้นำผิด ความผิดพลาดก็จะถูกฝังและอยู่ในองค์กรตลอดไป  และพวกคณะกรรมการที่คัดเลือกผู้นำใหม่ก็ไม่กระตือรือร้นที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้อีกด้วย ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อผู้นำคือ คู่สมรสที่ดีซึ่งจะสามารถให้การช่วยเหลือเกื้อกูลหรือเป็นกระจกสะท้อนตัวผู้นำออกมา  นอกจากนี้คนรอบข้างในองค์กรหรือนอกองค์กร ก็มีส่วนสำคัญในการสะท้อนและสามารถบอกความจริงในสิ่งต่างๆ ในตัวผู้นำได้  สาเหตุที่ทำให้ CEO รักษาชีวิตสมรสที่ยาวนานคือประสิทธิภาพของคู่สมรส  ผู้นำหลายคนไม่สามารถจะก้าวเป็น CEO ได้หากขาดภรรยาหรือสามีให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจและช่วยในการจัดการและสนับสนุนอย่างดีในทุกเรื่อง ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าเสียงสะท้อนกลับมา  นอกจากคู่สมรส ผู้นำต้องการ เสียงสะท้อน จากคนในองค์กรและนอกองค์กรอีกด้วย  ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำที่จะต้องสร้างสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิด เสียงสะท้อน โดยการสัมภาษณ์เพราะผู้นำสามารถจะเจอคนที่มีจุดแข็งในตนเอง ซึ่งคนพวกนี้จะเป็นแหล่งเสียงสะท้อนของผู้นำ รวมถึงคนที่มักจะมีความคิดเห็นแตกต่างจากผู้อื่นในกลุ่ม เพราะความคิดของคนกลุ่มนี้จะส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรเพื่อไม่ดำเนินไปในทิศทางเดียว  นอกจากนี้ผู้นำควรให้ความสำคัญกับ การสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ (devil’s advocate) ซึ่งจะสามารถช่วยให้มีคนคอยตักเตือนเราและมองเห็นการทำงานของเราและการที่มีคนพูดสะท้อนในสิ่งที่คุณทำนั้นในชีวิตควรมีมากกว่า 1 คนหรือไม่ก็อย่างน้อย 1 คนก็ยังดี วิธีสะท้อนเพื่อให้กำลังใจนั้นคือ ระบบผลตอบแทนสินน้ำใจเหมือนการให้โบนัส , เสียงสะท้อนถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ในการช่วยส่งเสริมการเป็นผู้นำที่ดี มีบทเรียนแห่งความรู้ที่เป็นประโยชน์ที่มาจากผู้นำหลายท่าน 4 ประการ·        ตัวเองเป็นครูที่ดีที่สุด·        มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น·        เรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความต้องการเพื่อเสริมสร้างโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นเสมอ·        ความเข้าใจอย่างแท้จริงมาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและสามารถสะท้อนให้เห็นตัวเอง มีคำกล่าวที่ว่า การค้นหาคำตอบที่ถูกต้องชัดเจน มาจากคำถามที่ตรงประเด็นในเวลาที่เหมาะสม การเดินทางสู่การค้นพบทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ยังต้องการให้ผู้อื่นให้คำแนะนำและการพูดโต้ตอบกลับกับบุคคลที่มีคุณค่าเหล่านั้น ผลที่ได้รับทำให้เห็นภาพสะท้อนตัวเรา คนจำนวนมากต้องผิดหวังกับชีวิตการแต่งงานและการหย่าร้างปัญหาของแต่ละคนที่เกิดขึ้น ควรต้องผลักดันให้คนรู้จักการเริ่มต้นใหม่ บางทีอาจจะเป็นครั้งแรกที่ให้เขาย้อนมองดูชีวิต ประสบการณ์ที่ล้มเหลว สิ่งเหล่านี้อยู่เหนือคำอธิบายใดๆ การศึกษาผู้ชาย ผู้หญิงและพยายามทำความเข้าใจ คนที่ไม่เคยเรียนรู้ก็ไม่สามารถก้าวเพื่ออนาคตข้างหน้าได้ คนที่จะเป็นผู้นำที่ดีจำเป็นต้องกล้าตัดสินใจเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ด้วยตัวเอง และพวกเขาจะต้องเข้าใจในจุดที่สำคัญ และค้นพบสิ่งเหล่านั้นได้จากการเรียนรู้ และควรพยายามจะลองทำในสิ่งอื่นๆอีกที่ไม่คิดว่าจะทำได้ จะทำให้สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้นำที่ดีได้ โดยที่ไม่ต้องไปเรียนที่ไหน ถ้าเปรียบเทียบอาหาร Fast food เหมือนกับการสร้างการเป็นผู้นำเอาคนใส่ในไมโครเวฟแล้วกดออกมาเป็นผู้นำ McDonald ในเรื่องจริงมันไม่สามารถเป็นไปได้เลย ผู้นำที่ดีจริงๆ ต้องเกิดการพัฒนาขึ้นจากตัวเอง ไม่ได้มาจากวางแผนที่จะเรียนหนักแต่มาจากความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากตนเองต่างหาก ยังมีอีกความหมายหนึ่งของคำว่า bricoleurs นักประดิษฐ์คิดค้น หรือช่างซ่อม คือผู้ที่สามารถรวมสิ่งต่างๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันและสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าหากันและแก้ปัญหาได้  แต่อย่างไรก็ตาม bricoleurs  ก็รับสมัครผู้นำที่ดีด้วยเช่นกัน  สามารถอธิบายได้ดีถึงภาวการณ์เป็นผู้นำที่เก่งได้จากองค์กรที่กำลังจะหมดหวังหลายๆแห่ง ผู้บริหารจะทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถที่สุดจากความสามารถของพวกเขาเลยทีเดียว Dialogue Starters1.    Definition Exercise: แบบทดสอบการให้คำจำกัดความ บอกลักษณะเฉพาะของการเป็นผู้นำในตัวคุณที่เหมือนกับผู้นำที่คุณชื่นชม และภาวะผู้นำที่ได้มาจากประสบการณ์ของคุณ คุณบอกได้ไหมว่าจุดเล็กๆ ที่สามารถสร้างลักษณะเฉพาะในตัวคุณ เกิดขึ้นมาได้จากสถานการณ์ในช่วงไหนของชีวิตคุณ 2.   What – if Discussion: การอภิปรายวิเคราะห์ว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าหากคุณนั่งตำแหน่งบริหารสูงสุดของบริษัท และดำเนินรอยตามทุกขั้นตอนของ  Martin Kaplan   คุณได้อะไรจากการเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน สามารถให้คุณมองคนได้อย่างถ่องแท้ สิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญก่อนหลัง ความอึดอัดจากความล้มเหลว ซึ่งคุณสามารถพิจารณานำไปใช้กับบริษัทของคุณได้ สรุปแง่มุมด้าน คน ของความเป็นผู้นำ คุณสมบัติของการเป็นผู้นำนั้นถ้ามีกรณีถกเถียงหรือโต้แย้งใดๆก็ตาม เราควรจะหยุด คิด นิ่ง หรือระงับอารมณ์ อารมณ์ต่างๆซึ่งซ่อนอยู่ภายใน เพราะว่าโดยสัญชาตญาณของมนุษย์เมื่อโกรธหรือไม่พอใจในเรื่องใดๆก็จะโต้เถียงหรือระเบิดอารมณ์ออกมาในทันที การเป็นผู้นำที่ดีนั้นควรระมัดระวังเรื่องการปะทะกันด้านของอารมณ์ ไม่ควรหุนหันพลันแล่นหรือวู่วามในการตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาภายใต้แรงกดดันของทุกฝ่าย ควรที่จะเก็บอารมณ์ให้นิ่งแล้วถอยออกมาสักก้าวหนึ่ง เพื่อที่จะได้ประเมินสถานการณ์ ของปัญหานั้นได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจด้วยอารมณ์ในทันที โดยการปล่อยให้ฝ่ายตรงข้ามได้ระเบิดปัญหาหรือความขัดแย้งออกมามากๆเราจะได้มองเห็นตัวตนของเขาได้อย่างลึกซึ้ง (รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง )ในที่สุดเราก็จะสามารถ มองเห็นผลลัพท์ของความแตกต่างระหว่างการป็นคนที่มีมุมมองโลกในแง่บวก คิดในด้านดี กับการที่เอาแต่ใจตั้งตนเป็นใหญ่ แต่เพียงฝ่ายเดียวแบบไหนได้ประโยชน์สูงสุด ผลลัพท์ที่ว่านั้นก็คือถ้าเราตั้งสติให้มั่น ปัญญาก็จะเกิดแก่ตัวเราเท่านั้นแล้วก็จะทำให้เรา อ่านเกมหรือมองกลยุทธ์ของฝ่ายตรงข้าม ได้อย่าทะลุทะลวงเป็นเหตุให้เรากลายเป็นผู้นำ ซึ่งเปี่ยมด้วยปัญญา แก้ไขปัญหา ด้วยความรอบคอบ โอกาสที่จะผิดพลาดก็น้อย ( ผู้ชนะ ) ดังนั้นผู้นำจึงต้องสื่อสารมุมมองความคิดและวิสัยทัศน์ของตนไปยังผู้ที่อยู่รอบตัวสามารถทำให้เป็นจริงได้ กระตุ้นและโน้มน้าวให้บุคคลเข้าร่วมกับอุดมการณ์ ต้องมีความตระหนักรู้ตนเองหรือรู้จักตนเข้าใจตัวเองและอยากจะพัฒนาตนเอง จึงจะเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จมีคุณค่า ผู้นำควรรู้จักปรับปรุงตนเองก่อนที่จะพัฒนาผู้อื่น การค้นพบตนเองสามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่จะชี้ให้เห็นถึงการสร้างทัศนคติในเชิงบวก ทราบถึงวิธีที่จะสร้างการมองตนเองโดยการเสริมสร้างจุดแข็งของตนเอง กล้าคิด กล้าทำและกล้าตัดสินใจ ทราบความต้องการขององค์กรและความคาดหวังที่องค์กรรวมถึงทำให้เกิดการประเมินเสียงสะท้อน จากทุกคนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขสู่ความเป็นเลิศ ทั้งยังช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรก้าวไปสู่เป้าหมายได้อย่างยอดเยี่ยม   

 

 

 

 

 

 

วิลาวัลย์ พวงอุบล รหัส 006150018

สวัสดีค่ะ ท่าน ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ดิฉันนางสาววิลาวัลย์ พวงอุบล  บ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก  มีพี่น้อง 2 คน พื้นฐานครอบครัวรับราชการเป็นส่วนใหญ่  คุณพ่อเป็นทหารเรือ (ปัจจุบันเกียษณแล้ว)  คุณแม่ก็รับราชการสังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งปัจจุบันลาออกมาเป็นข้าราชการบำนาญ  เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมที่จังหวัดพิษณุโลก ดิฉันจึงได้เข้ามาเรียนต่อในระดับพาณิชยการที่โรงเรียนดุสิตพาณิชยการ เมื่อเรียนจบพาณิชยแล้วจึงไปสมัครทำงานกับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ทำอยู่ประมาณ 13 ปี เริ่มรู้สึกว่าตนเองยังมีความรู้น้อยไปสำหรับวิวัฒนาการ  และเทคโนโลยีใหม่ๆ ประกอบกับเป็นช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่แตกทางบริษัทประสบปัญญาสภาพคล่องมีนโยบายลดพนักงานแต่มีเงินทุนให้สำหรับคนที่สมัครใจลาออกในช่วงนั้น ดิฉันจึงตัดสินใจลาออกมาแล้วไปสมัครเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ถนนอิสระภาพ  ในสาขาบริหารธุรกิจ  และระหว่างที่ว่างงานอยู่นั้นคุณแม่ซึ่งตอนนั้นยังรับราชการอยู่ เมื่อทางกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้าเป็นข้าราชการ ได้ให้ดิฉันไปสมัครสอบแข่งขันดู  เมื่อประกาศผลสอบปรากฏว่าดิฉันสอบติด จึงได้เปลี่ยนเส้นทางชีวิตมารับราชการเมื่อวันที่  26  เมษายน  2547  ในช่วงแรก ๆ เมื่อมาอยู่ในระบบราชการรู้สึกได้ถึงความไม่คล่องตัว  ทำไมขั้นตอนต่างๆ เยอะแยะมากมาย  งานก็เยอะเงินเดือนน้อยนิดเดียวกว่าจะทำใจยอมรับได้ก็เป็นปีทีเดียว  และเมื่อมารับราชการก็รู้ได้ว่าสาขาวิชาบริหารธุรกิจที่เรียนจบมานั้นไม่ตรงกับงานที่ทำอยู่  มีเพียงส่วนน้อยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ส่วนใหญ่นำประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาๆใช้เสียมากกว่าและก็ถือว่าเป็นจังหวะดีของชีวิตที่ดิฉันได้มีโอกาสมาเรียนที่มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด  หลักสูตรรัฐประศานสนศาสตรมหาบัณฑิต เพราะตรงกับงานรับราชการที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพราะการทำงานทุกวันนี้จะต้องใช้ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ  เพราะระบบราชการเดี่ยวนี้ต้องทำงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล (Good  Governance) ซึ่งข้าราชการทุกคนต้องตระหนักให้มาก ๆ ว่าเงินเดือนที่ได้รับทุกบาททุกสตางค์เป็นเงินภาษีของประชาชน  ฉะนั้นเมื่อดิฉันก้าวเข้ามารับราชการสิ่งหนึ่งที่ตั้ง ปณิธานประจำตัว ประจำใจไว้คือ ต้องทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่ทุจริตคอร์รัปชั่นทำงานทุกอย่างต้องคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชน และประเทศชาติเป็นที่ตั้ง สำหรับตัวดิฉันเองคิดว่าตนเองเป็นข้าราชการยุคใหม่ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ตั้งใจทำงาน มีศีลธรรม คุณธรรม ปรับตัวให้ทันโลก มีความรับผิดชอบผลงาน  ทำงานมุ้งเน้นผลงาน  หรือภายใต้ประโยคที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กำหนดค่านิยมใหม่ข้าราชการที่พึงประสงค์ว่า “I am Ready” เป็นข้าราชการที่พร้อมทำงานเพื่อประชาชน  I = Integrity  คือการทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี  A = Activeness คือ ขยันทำงาน M = Morality คือ มีศีลธรรม คุณธรรม R = Relevancy คือ  รู้ทันโลกปรับตัวทันโลกให้ตรงกับสังคม E = Efficiency คือ มุ้งเน้นประสิทธิภาพ A = Accountability คือ รับผิดชอบต่อผลงาน ต่อสังคม D = Democracy คือ มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย มีส่วนร่วม โปร่งใส Y = Yield คือ การมีผลงาน  สิ่งที่แสดงถึงความเป็นภาวะผู้นำ  (Leadership) ของดิฉันในบทบาทข้าราชการคือ ดิฉันรู่ว่าจะแสดงพฤติกรรมภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ คือรู้กาลเทศะ ด้วยการมีเป้าหมายในการทำงาน กล้าตัดสินใจ มีความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง และมีความรับผิดชอบ  ซึ่งภาวะผู้นำนั้นมิใช่เป็นสิ่งที่ผู้บริหารเท่านั้นจะพึงมี  ดิฉันคิดว่าข้าราชการทุกคน ทุกตำแหน่งไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งปฏิบัติ วิชาการ หรือผู้บริหาร ทุกคนสามารถแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นภาวะผู้นำได้   
 เพราะปัจจุบันนี้ข้าราชการถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การทำงานตามภารกิจของรัฐประสบควาสำเร็จ  และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ที่ผ่านมาข้าราชการจะมีภาพลักษณ์ของการทำงาน “แบบเช้าชามเย็นชาม”  เป็นการทำงานประจำ ภายใต้กฎระเบียบ กฎหมาย ขาดความยืดหยุ่นผ่อนปรน ขาดการพัฒนางานให้มีความเหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง.
 สุดท้ายขอขอบพระคุณท่าน ศ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  และท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งถือว่ามีคุณค่ามากมาย มหาศาลให้กับดิฉัน และเพื่อนนักศึกษาทุกคน  ขออาราชธนาสิ่งศักดิ์สิทธิในโลกนี้ช่วยคุ้มครองท่านอาจารย์และครอบครัวของท่านให้มีความสุขสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงไม่เจ็บไม่จนขอขอบคุณมาก ๆ ค่ะ            
 

 

      เรียนท่าน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนๆ  MPA  ม. นานาชาติแสตมฟอร์ด ทุกท่าน          ชื่อ  อุดม ชนะสทธิ์ เป็นคนที่อยู่ในสังคมแคบๆ ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในนามของผู้บริหารบริษัทเล็กๆ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ และเคมีภัณฑ์ และกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป โดยเฉพาะ โรงงานเกี่ยวกับอาหารกระป๋อง และอาหารแช่แข็ง         ผมเป็นคนที่เกิดในต่างจังหวัดแต่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองหลวง ตระกูลของผมเป็นตระกูลชาวสวน พ่อ,แม่ ทำสวนอยู่ที่ จ. จันทบุรี เรียนจบ มศ.3ตรี เมื่อวัยรุ่นมักจะเป็นคนใจร้อน ชอบเที่ยวเตร่ อารมณ์วู่วาม พ่อจึงคิดแนะแนวให้ไไปเข้าเรียนเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ การที่เป็นเด็กต้องรู้คุณพ่อ แม่ จึงตามใจสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนชุมพลทหารเรือในท้องที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จนกระทั่งจบหลักสูตรได้รับการประดับยศเป็นจ่าโท ในระหว่างรับราชการอยู่นั้นมีความคิด ว่าไปได้ไม่ไกลแน่ จึงเข้าเรียนในหลักสูตรไฟฟ้าอาชีพเพิ่มเติม รับราชการได้2ปีได้รับประดับยศเป็นจ่าเอก ก็ยังไม่เป็นที่พอใจจึงมีความคิดและตัดสินใจลาออกจากราชการ ในปี 2519 และมองหาเข้าทำงานในบริษัท เพื่อหาประสบการณ์ จนกระทั่งมีโอกาสในปี 2528 จึงลาออกบริษัทที่ทำงานอยู่ และทำการเปิดกิจการของตนเองในปี 2529โดยมีทุนหมุนเวียนเพียงเล็กน้อย การทำงานของผมในธุรกิจส่วนตัวจะต้องทำอย่างระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะมีทุนน้อย แต่ธุรกิจที่ผมทำเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินมากคือเกี่ยวกับเครื่องมือ ทางด้านวิเคราะห์ วิจัย และเคมีภัณฑ์         และต่อมาในปี 2532 ผมเริ่มมองเห็นธุรกิจใหม่ในสายงานที่อยู่ในตลาดเดียวกัน คือ เครื่องกำจัดแมลง ผมมองเห็นความต้องการ ของตลาดจึงคิดสร้างออกแบบเครื่องกำจัดแมลงที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งแมลงวัน,แมลง  เล่นไฟชนิดที่มีปลีกบินตลอดจนกระทั่งยุง      ต่อมาจึงมีการขยายออกแบบให้มีขนาดและ รูปแบบที่เหมาะกับงานในขณะนี้มีหลายรุ่น หลายรูปแบบ      ในปัจจุบันนี้งานทางด้าน เครื่องมือวิทยาศาสตร์เครื่องแก้ว เคมีภัณฑ์ และเครื่องมือกำจัดแมลง ยังเป็นธุรกิจหลักของกิจการ ของผม และผมถือว่าเป็นโอกาสดี ที่ผมได้ใช้เวลา ส่วนที่เหลือจากการทำธุรกิจ มาศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตร ปริญาตรี และปริญาโท ทางด้านการบริหาร การจัดการซึ่งผม คิดว่าเป็นหลักสูตรที่สามารถ นำมาใช้กับกิจการของผมได้เป็นอย่างดี      แต่ที่ดีที่สุดคือได้มีโอกาสศึกษากับ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ความสามารถทางด้าน ภาวะผู้นำหมายเลข 1 ของประเทศ และผมคิดว่าผมโชคดีที่ได้ศึกษาจากท่านโดยตรง             อุดม  ชนะสิทธิ์รหัส 00615019                                                                                                                                                                     23 / 3 / 50 
ninnath vinicchayakul(นายนินนาท วินิจฉัยกุล)ID.006150007

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์
และสวัสดีเพื่อนนักศึกษา MPA ทุกท่าน ในการเขียน Blog ครั้งนี้ ศ.ดร.จีระได้มอบหมายให้นักศึกษาทุกท่านได้เขียนเล่าถึง Moment ชีวิตของแต่ละคน   ผมจึงขออนุญาตเล่าถึงMoment ชีวิตของตนเองดังนี้
  ผมเกิดที่ กรุงเทพมหานคร มีพี่น้องด้วยกัน 2 คนโดย ผมเป็นบุตรคนโต    สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา     กระทั่งประกอบอาชีพการงานหลากหลาย   จนปัจจุบันทำงานอยู่ที่ กรมทางหลวง  พญาไทหน้าที่บุคลากรในองค์กรในสังกัดงานฝ่ายพัฒนาระบบงาน   ของกองการเจ้าหน้าที่ ตรงจุดเริ่มต้นของการทำงานในราชการนี้เองที่ผมถือว่าเป็น Moment ชีวิตการทำงานของผมที่ดีทำให้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานได้อย่างมากมายหลากหลายด้านอาทิ   เช่น  การทำงานทางด้าน Research ให้กับองค์กร ,การทำงานทางด้านธรรมมาภิบาล ,และการสื่อสารกันระหว่างข้าราชการการเป็น Committee ระบบคุณภาพ ISO ,TQM และระบบคุณภาพอื่นๆอีกมากมาย  ให้กับองค์กรตลอดจนเป็น Internal Auditor ขององค์กร จากประสบการณ์การทำงานของข้าพเจ้านั้นทำให้กระผมได้นำมาประมวลความรู้ต่างๆ ที่   ศ.ดร.จีระ ฯ    ได้กรุณาถ่ายทอดให้พวกผมนั้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างดียิ่ง  
Leadership roles by chira    อันได้แก่
- Crisis management
- Anticipate change
- Motivate other to excellent
- Conflict resolution
- Explore opportunities
- Rhythm & Speed
- Edge
- Teamwork
 ทฤษฎีทั้งแปดข้อข้างต้นที่ผมได้รับการถ่ายทอดมาจาก ศ.ดร.จีระนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงานของผมช่วยให้ผมสามารถนำมาปรับปรุงการทำงานของตัวเอง และขององค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล
 ในท้ายที่สุดนี้ ขอกราบขอบพระคุณ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   รวมทั้งอาจารย์รับเชิญ   อ.ยม  นาคสุข     MR. PETER BJORK MR. LEIGH SCOTT   และ ท่านทูต ดร.พิทยา  พุกมาน     อีกครั้ง ที่ได้กรุณาสละเวลาของท่านมาในการประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้กับตัวผมและเพื่อนๆนักศึกษามหาวิทยาลัยนานาชาติ สแตมฟอร์ด MPA  ผมจะนำความรู้ที่ได้รับจากท่านไปใช้ประโยชน์และนำไปต่อยอดองค์ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปในภายภาคหน้า

กราบเรียนท่านอาจารย์จีระที่เคารพ

 

มีเรื่องอยากจะร้องเรียนดังนี้

 ไม่ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมพนักงานกันบ้างรึปล่าว ถึงได้ทำงานกันไมรู้เรื่องเลย  ถามอะไรเจ้าหน้าก็ตอบไม่ได้สักกกะเรื่องเดียว ( ทำงานโง่เหมือนควาย )

เวลาจ่ายค่าเทอมก็ลงวิชาให้ผิดหมด ใบเสร็จกว่าจะได้ก็เป็นชาติ ไม่ทราบว่าฝ่ายทะเบียน การเงิน และวิชาการทำงานโคกันรึเปล่าเป็นถึงนานาชาติหัดอบรมพนักงานด้วยก็จะดีมาก

นางสาวอรุณรุ่ง พึ่งร่วมกลาง

กราบเรียน ท่าน ศ.ดร. จิระ หงษ์ลดารมณ์

จากลูกศิษย์ MPA. รุ่นแรก (ที่ศูนย์อโศก) ลูกศิษย์หวังว่าท่านอาจารย์คงสบายดีนะค่ะ ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์ยังสอนนักศึกษาอยู่อีกไหมค่ะ ถ้าท่านอาจารย์ยังสอนนักศึกษาอยู่ ขอให้ท่านอาจารย์ รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ ลูกศิษย์ก็ยังติดตามข่าวสารและผลงานของท่านอาจารย์อยู่ตลอดค่ะ และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้สอนให้วิชาความรู้กับลูกศิษย์คนนี้ รวมทั้งฝากขอบคุณทีมงานของท่านอาจารย์ทุกท่านด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอให้ท่านอาจารย์ มีสุขภาพแข็งแรง ค่ะ

จากลูกศิษย์ MPA.

006150012

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท