การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการขอคำปรึกษาทางการแพทย์ระหว่างแผนก โรงพยาบาลชัยภูมิ


กาญจนา เปสี, ชัยสิทธิ์ มัทวานนท์

วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาแนวทางการขอคำปรึกษาทางการแพทย์

วิธีการศึกษา
- วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการขอคำปรึกษาทางการแพทย์ ระหว่างแผนก โดยการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เริ่มศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2549 - มิถุนายน 2549 โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1. Fact-Finding ร่วมกันค้นหาข้อมูลที่เป็นปัญหา อุปสรรคในการขอคำปรึกษาทางการแพทย์
2. Planning กำหนดแนวทาง วัตถุประสงค์ และการประเมินผลแนวทางการขอคำปรึกษา
3. Acting การปฏิบัติตามแนวทางการขอคำปรึกษาทางการแพทย์ระหว่างแผนก
4. Refecting / Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางการขอคำปรึกษาทางการแพทย์ ในกลุ่มตัวอย่าง 40 คน 11 แผนก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน

ผลการศึกษา
- พบว่า มีการใช้แนวทางการปฏิบัติการขอคำปรึกษาทางการแพทย์ในทุกแผนกเนื่องจากมี ความสะดวก มีพยาบาลเป็นผู้ประสานในแนวราบกำหนดจุดรับเรื่องขอคำปรึกษาชัดเจนทั้งในและ นอกเวลาราชการ ทำให้ไม่เป็นภาระของแพทย์ในการประสานงาน การสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลที่จุดรับเรื่องขอคำปรึกษา 11 แผนก พบว่ามีความพึงพอใจ ระดับมากร้อยละ 81.81 พึงพอใจระดับปานกลางร้อยละ 18.19 และมีความสัมพันธ์กับการใช้แนวทางปฏิบัติการขอคำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P< 0.05) มีอุบัติการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางทางการขอคำปรึกษาทางการแพทย์ ระหว่างแผนกจำนวน 2 ใบ รายงานเกี่ยวกับแพทย์ฝึกหัดไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดเนื่องจากไม่ทราบ




จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 72036เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 02:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท