<h3>มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในเครือข่าย
</h3> 1. มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในหน่วยงานเครือข่าย
1.1 มาตรฐานด้านบริบทหน่วยงาน (ข้อมูลสารสนเทศ ด้านนโยบายการพัฒนา/สภาพพื้นที่/ข้อมูลบุคคล ฯลฯ, การวิเคราะห์ทิศทาง/จุดเน้นในสภาพการพัฒนาโดยรวมหรือความต้องการจำเป็นของบุคคลในพื้นที่หรือเป้าหมายความรับผิดชอบ,ทรัพยากรด้านบุคลากร/สภาพแวดล้อม) ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ
<p>มาตรฐานที่ 1 หน่วยงานเครือข่ายมีสภาพแวดล้อมและทรัพยากรพื้นฐานในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรที่เหมาะสม</p> ตัวบ่งชี้ 1) มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
2) มีสถานที่เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการพัฒนา
3) มีสื่ออุปกรณ์ที่เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้
4) บุคลากรโดยรวมมีความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในเรื่องที่จะพัฒนา
<p>มาตรฐานที่ 2 หน่วยงานเครือข่ายมีข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1) มีข้อมูลนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการศึกษาใน ระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับภาค/กลุ่มและระดับพื้นที่
2) มีข้อมูลสภาพพื้นที่และทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
3) มีข้อมูลสารสนเทศส่วนบุคคลของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
4) มีข้อมูลสารสนเทศความต้องการจำเป็นและจุดเน้นการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในภาพรวม
1.2 มาตรฐานด้านยุทธศาสตร์ (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา, วิสัยทัศน์, เป้าหมาย,
พันธกิจ, มาตรการ, ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 3 หน่วยงานเครือข่ายมีข้อมูลสารสนเทศพื้นฐาน สำหรับการปฏิบัติงานเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1) มีเอกสารนโยบายหรือกรอบทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับชาติ
2) มีเอกสารแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับชาติ
3) มีเอกสารนโยบายหรือกรอบทิศทางการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการ
4) มีเอกสารแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
5) มีเอกสารสรุปหรือวิเคราะห์นโยบาย/กรอบทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
6) มีเอกสารสรุปหรือวิเคราะห์นโยบาย/กรอบทิศทางการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
7) มีข้อมูลหน่วยงานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในสาขาวิชาแขนงต่างๆ
8) มีข้อมูลบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่วิทยากร
9) มีข้อมูลส่วนบุคคลของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่เป็น
กลุ่มเป้าหมายการให้บริการการพัฒนา
มาตรฐานที่ 4 หน่วยงานมีการปฏิบัติกิจกรรมเชิงยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1) มีการดำเนินการหรือกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
2) มีการดำเนินการหรือกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
3) มีการดำเนินการหรือกำหนดพันธกิจในการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
4) มีการดำเนินการหรือกำหนดมาตรการในการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
5) มีการดำเนินการหรือกำหนดองค์ประกอบความสำเร็จในการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
6) มีการดำเนินการหรือกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จการปฏิบัติกิจกรรมในการพัฒนาครู/คณาจารย์/ บุคลากรทางการศึกษา
7) มีการดำเนินการจัดทำหรือมีแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
8) มีการจัดองค์การ โครงสร้างการบริหารและดำเนินการบริหารงานอย่างเป็นระบบ
9) มีการบริหารจัดการโดยหลักการมีส่วนร่วม
10) มีการจัดการหรือสนับสนุนให้มีการประเมินผลการดำเนินงานทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก
11) มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการดำเนินงานหรือผลการประเมินต่อ
สาธารณชน
1.3 มาตรฐานด้านการบริหารจัดการพัฒนา (ประสบการณ์ในการหาความต้องการจำเป็น,การพัฒนาหลักสูตร,การพัฒนานวัตกรรม,การบริหารงานฝึกอบรม/อำนวยการ,การประเมินผล,การติดตามผล) ประกอบด้วย 1 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 5 หน่วยงานมีการบริหารจัดการเป็น ไปตามหลักการและกระบวนการในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ตัวบ่งชี้ 1) มีการดำเนินการหรือมีเอกสารการหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
2) มีการดำเนินการหรือมีเอกสารการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
3) มีการดำเนินการหรือมีสื่อนวัตกรรม การสร้างหรือพัฒนาสื่อการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
4) มีการดำเนินการหรือประสบการณ์การบริหารจัดการ/อำนวยการโครงการพัฒนาฝึกอบรมครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
5) มีการดำเนินการหรือประสบการณ์หรือเอกสารการประเมินผลการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
6) มีการดำเนินการหรือประสบการณ์หรือเอกสารการติดตามผลการพัฒนาครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
1.4 มาตรฐานด้านการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา (การผลิตเอกสารวิชาการ,การวิจัย,
การบริการวิชาการ,การสนับสนุนงบ/สื่อในการพัฒนา) ประกอบด้วยมาตรฐาน 2 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 6 หน่วยงานมีการจัดทำและผลิตเอกสารวิชาการในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1) มีการกำหนดเป็นแนวปฏิบัติ/หลักเกณฑ์/โครงการให้บุคลากรของหน่วยงานจัดทำเอกสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์/ทรัพยากรบุคคล/ครู/คณาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา
2) มีการสนับสนุนทรัพยากรการบริหารประเภท บุคคล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์
หรือการจัดการ สำหรับการผลิตเอกสารทางวิชาการ ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาความรู้ ทักษะและความคิดรวบยอด ให้แก่ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรฐานที่ 7 หน่วยงานมีการให้บริการทางวิชาการในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทาง การศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1) มีการกำหนดเป็นหลักเกณฑ์/แนวปฏิบัติหรือสนับสนุนให้บุคลากรของหน่วยงานไปเป็นวิทยากร/ จัดกิจกรรม/ให้บริการวิชาการลักษณะอื่นๆ แก่หน่วยงานภายนอก
2) มีการส่งเอกสารทางวิชาการเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานภายนอก
3) มีการสนับสนุนให้บุคลากรของหน่วยงานศึกษา วิเคราะห์ วิจัยร่วมกับชุมชน ทั้งในฐานะที่ปรึกษาหรือผู้รับผิดชอบการปฏิบัติ</p> 1.5 มาตรฐานด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ (การดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์,บุคลากร, เครื่องมือ, ขอบข่ายการให้บริการ) ประกอบด้วย 1 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 8 หน่วยงานมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้หรือความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1) มีประสบการณ์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล สารสนเทศของหน่วยงานไปยังกลุ่มเป้าหมาย
2) มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
3) มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์
2. มาตรฐานและตัวบ่งชี้ของบุคคลเครือข่าย
2.1มาตรฐานด้านคุณลักษณะ (คุณลักษณะส่วนบุคคล,คุณลักษณะทางวิชาชีพ, อุดมการณ์,พฤติกรรม) ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 1 บุคคลมีคุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรม การปฏิบัติตนเป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1) มีศรัทธา เจตนารมณ์ อุดมการณ์และเป้าหมายที่จะอุทิศตน เพื่อให้บริการในการสนับสนุนการพัฒนาตนของผู้อื่น
2) มีการพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้และข้อมูลข่าวสารประเภทต่างๆอย่างต่อเนื่อง
3) มีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออกในการนำเสนอความคิดเห็นนอกกรอบ
4) เป็นผู้ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงในบริบทด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
และเทคโนโลยี รวมทั้งยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
5) มีวิสัยทัศน์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถสื่อสารให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วม
6) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการประสานคน ประสานงาน
7) มีลักษณะวิธีคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นหลัก
8) มีคุณธรรม จริยธรรม จิตใจที่ดีงามเป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้อื่น
มาตรฐานที่ 2 บุคคลมีคุณลักษณะทางวิชาชีพและพฤติกรรม การปฏิบัติตนในวิชาชีพด้านการศึกษาหรือด้านต่างๆเป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1) สามารถกำหนดจุดมุ่งหมายและเป้าหมายสำหรับการปฏิบัติภารกิจได้
2) สามารถกำหนดเครือข่ายการปฏิบัติและดำเนินการประสานทั้งแนวตั้งและ แนวนอน
3) สามารถนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
4) ให้ความสำคัญในการสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์การใหม่
5) ใช้ข้อมูลในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติงาน
6) สามารถส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดองค์การเรียนรู้
2.2 มาตรฐานด้านผลสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจ (ผลการบริหารจัดการ,ผลการจัดการเรียนรู้,การได้รับยกย่อง/การเชิดชูเกียรติ,ผลงานด้านวิชาการ) ประกอบด้วย 1 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 3 บุคคลมีผลการปฏิบัติงานตามภารกิจหรือความรับผิดชอบในด้านการศึกษาหรือด้านต่างๆบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวบ่งชี้ 1) มีผลการบริหารจัดการ ผลการจัดการเรียนรู้ ผลการประกอบอาชีพหรือผลการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหน่วยงานด้านการศึกษาหรือหน่วยงานด้านอื่นๆ
2) ผลงานที่เกิดจากการศึกษาหรือวิเคราะห์หรือวิจัยหรือการปฏิบัติงานหรือการประกอบอาชีพมีลักษณะเด่นที่ได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชน
2.3 มาตรฐานด้าน(ประสบการณ์)การพัฒนา (ความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง,ความสามารถในการเผยแพร่,การเป็นวิทยากร,การบริหารโครงการพัฒนา) ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่4 บุคคลมีความรู้ความสามารถในการเผยแพร่องค์ความรู้
ตัวบ่งชี้ 1) เคยได้รับเชิญไปนำเสนอผลงานทางวิชาการหรือผลการค้นพบหรือผลการประดิษฐ์หรือผลการประกอบอาชีพในที่ประชุม
2) มีเอกสาร/นวัตกรรม/สื่อเผยแพร่ผลงานปรากฏในหน่วยงาน
3) เคยได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในการเผยแพร่องค์ความรู้
มาตรฐานที่ 5 บุคคลมีความรู้ความสามารถในการบริหารงานพัฒนาฝึกอบรม
ตัวบ่งชี้ 1)มีความรู้ความสามารถในการหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาฝึกอบรม
2) มีความรู้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาฝึกอบรม
3) มีความรู้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาสื่อนวัตกรรมในการพัฒนา ฝึกอบรม
4) มีความรู้ความสามารถในการบริหารโครงการพัฒนาฝึกอบรม
5) มีความรู้ความสามารถในการติดตามประเมินผลการพัฒนาฝึกอบรม
<h3>หลักการในการบริหารจัดการเครือข่าย
</h3> ในการบริหารจัดการเครือข่าย กำหนดหลักการสำหรับการดำเนินงานไว้ 8 ประการ คือ
1. หลักเอกภาพ มุ่งให้เกิดเอกภาพในเชิงนโยบาย ซึ่งต้องการให้มีการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทุกกลุ่มทุกคน แต่ให้มีวิธีการดำเนินการอย่างหลากหลาย
2. หลักการมีส่วนร่วม มุ่งให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในส่วนที่ดูแลรับผิดชอบงานการศึกษาโดยตรงทุกระดับทุกประเภท รวมทั้งหน่วยงานที่มิได้รับผิดชอบงานการศึกษา
โดยตรง ได้มีส่วนดำเนินการบริหารจัดการหรือสนับสนุนการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
3. หลักองค์คณะบุคคล มุ่งให้มีการบริหารจัดการหรือสนับสนุนการบริหารจัดการ ภายใต้การดำเนินงานในรูปองค์คณะบุคคลหรือรูปคณะกรรมการ เพื่อร่วมกันดำเนินการตัดสินใจและรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ด้วยความรอบคอบและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มเป้าหมาย
4. หลักการรับผิดชอบร่วมกัน มุ่งให้หน่วยงานหรือบุคคลที่มีพันธสัญญาร่วมกันในการบริหารจัดการเครือข่ายการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มีการทำงานร่วมกันในลักษณะพันธมิตรที่ร่วมกันคิด ร่วมกันทำงานและร่วมกันพัฒนาในทุกๆกระบวนการขั้นตอนของการปฏิบัติ
5. หลักการสร้างความก้าวหน้า มุ่งสนับสนุนให้หน่วยงานเครือข่ายหรือบุคคลเครือข่ายมีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและแสวงหาแนวทางการพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรมในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งความก้าวหน้าในหลักการพัฒนาฝึกอบรมทรัพยากรบุคคลในภาพรวม
6. หลักความเรียบง่าย มุ่งให้หน่วยงานเครือข่ายหรือบุคคลเครือข่ายใช้วิธีการพัฒนาฝึกอบรมที่เรียบง่ายทั้งเนื้อหา กิจกรรม สื่อนวัตกรรม การสร้างความเข้าใจ การประเมินผล รวมทั้งสถานที่ เวลา ที่สะดวกสำหรับผู้ให้และผู้รับการพัฒนา พร้อมทั้งสามารถนำสาระความรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้โดยไม่ยุ่งยากในการปฏิบัติงานจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน
7. หลักการพัฒนา มุ่งสนับสนุนให้หน่วยงานเครือข่ายหรือบุคคลเครือข่ายศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย
และแสวงหาแนวทางในการพัฒนาเนื้อหา กิจกรรม สื่อนวัตกรรมและ การประเมินผลในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพ การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ให้ส่งผลเพิ่มขึ้นต่อการพัฒนาสมรรถนะของเด็ก เยาวชนและประชาชน
8. หลักความต่อเนื่อง มุ่งสนับสนุนให้หน่วยงานเครือข่ายหรือบุคคลเครือข่ายดำเนินการหรือส่งเสริมให้มีการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง