กระบวนทัศน์ใหม่เรื่องสุขภาพจิต เชื่อมโยงกับการเรียนรู้หรือการศึกษา  และการดำรงชีวิต


   

โชคดีที่ วันที่ ๙ สิงหคม ๒๕๖๗ ผมมีโอกาสไปร่วมเรียนรู้ในการประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาเครือข่ายสังคมสุขภาวะและนโยบาย ครั้งที่ ๘/๒๕๖๗   จัดโดย สช.   ที่เสวนากันเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพจิต (mental health) ในสังคมไทย   

ฟังแล้วเกิดความรู้สึกว่า กรอบความคิดเรื่องสุขภาพจิต ที่ สสส. ใช้ตาม Lancet Commission on Global Mental Health and Sustainable Development 2018 นั้นตีความเรื่องการพัฒนาสุขภาพจิตแคบไป   คือเน้นการแก้ปัญหาเป็นหลัก   ขาดมิติด้านการวางรากฐานความมั่นคงทางจิตใจ    ที่เรียกว่า executive functionsidentity development และ soft skills ให้ตั้งแต่วัยทารกและเด็กเล็กจนถึงวัยเรียน   ที่เป็นการสร้างเสริมตรงกับชื่อหัวข้อการประชุม   

แต่เมื่อมีการอภิปราย ก็มีคนแตะในหลากหลายแง่มุม โดยเฉพาะการใช้ชุมชน ทั้งที่เป็นชุมชนจริง และชุมชนเสมือน ช่วยหนุนเสริมความเข้มแข็งทางใจยามที่มีความทุกข์ยาก   ยิ่งอาสาสมัครเคยผ่านความยากลำบากทำนองเดียวกันหรือคล้ายกัน    พลังพลิกฟื้นความเข้มแข็งก็ยิ่งเข้มข้น     

นำสู่การเล่าเรื่องความเข้มแข็งของสังคมไทยบางภาคส่วน ที่เป็นส่วนย่อยเล็กๆ รวมตัวกันแบบจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ที่มีความยากลำบากคล้ายกับที่ตนเคยเผชิญและผ่านพ้นมาแล้ว    ที่ ดร. สรยุทธ รัตนพจนารถ (เอเซีย) เรียกว่า สุขภาวะทางปัญญา (spiritual health)   อ่านนิยามจากลิ้งค์นี้แล้ว จะเห็นว่าการให้เป็นที่มาของความสุข หรือสุขภาพจิต อย่างแท้จริง

ฟัง ดร. เอเซีย แล้วกลับมาค้นที่บ้าน    พบ คลิปนี้ ก็เกิดความคิดว่า    คนที่ได้ทำงานเพื่อผู้อื่น แล้วค้นพบตัวเองตามในคลิป จะเป็นคนมีสุขภาพจิตดีโดยปริยาย 

คุณหมออภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร แห่งโรงพยาบาลอุบลรัตน์ เล่าเรื่องลุงนัน ชูเอียด นักเสกฝน แห่งอำเภอป่าบอน จ. พัทลุง ที่มีวิธีเพิ่มแรงดันน้ำง่ายๆ เรียกว่า แอร์แวร์ เอาน้ำฉีดแก่ต้นไม้ในสวนให้ความชุ่มชื้น   ช่วยให้ต้นไม้โตเร็ว    ที่ผมสรุปว่า การใช้เวลาคิดเรื่องสร้างสรรค์ จะช่วยให้มีชีวิตที่สุขภาพจิตดี            

มีผู้ให้ตัวอย่างนักเรียนหลังห้อง  ที่เกเร และสร้างปัญหาให้ตัวเองและชุมชน   แต่เมื่อมีคนชักชวนทำกิจกรรมที่ได้แสดงฝีมือ และภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์แก่ชุมชน  กลายเป็นคนสุขภาพจิตดี มีความมั่นใจตัวเอง    แม้คนบ้า หรือเป็นโรคจิต เจ้าอาวาสวัดชวนไปรับยาไม่ให้ขาด และตั้งวงดนตรี    อาการป่วยก็ทุเลาและทำประโยชน์ได้   

เข้าทาง Experiential Learning  ที่ต้องชวนสะท้อนคิดสู่ความมั่นใจตนเอง   ความมุ่งมั่นช่วยเหลือสังคม    ที่จะช่วยฟื้นสุขภาพจิต หรือสุขภาวะทางปัญญา ขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ

ผมชี้ให้ที่ประชุมเห็นว่า    การเลี้ยงดูเด็กเล็ก และการศึกษาช่วงต้น ต้องวางพื้นฐานความเข้มแข็งทางจิตใจให้แก่เด็ก ที่เรียกว่า Chickering’s Seven Vectors of Identity Development   รวมทั้งการเลี้ยงดูเด็กเล็กที่ช่วยให้เด็กเกิด attachment กับผู้ใหญ่   เกิดความมั่นคงทางใจ   และเมื่อโตขึ้นก็มี engagement กับผู้อื่นและสังคม    ช่วยให้เยาวชนได้สร้างตัวตนที่มั่นคง 

วิจารณ์ พานิช

๙ ส.ค. ๖๗

                   

หมายเลขบันทึก: 719322เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2024 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2024 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

From my own observations on ‘kindy education’ (my grandchild as the subject) in QLD:
1) children are encouraged to ‘look for, challenge, and complete’ obstacle courses (designs for playgrounds, activities and ‘safety awareness’);
2) children are encouraged to ‘be independent’ (draw {line] pictures, dress themselves, make simple meals [like sandwiches], and ask for things and help);
3) children activities are mixtures of culture (language, rituals, social), nature (environment, interactions with animals and plants, and ‘hygiene’), and technologies (using and ‘making’ [man-made] tools and objects, arts,…]

I think ‘kindy education’ is much the same world with some variations in themes and emphases. And ‘good’ kindy staff is the major issue for quality provision.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท