ชีวิตที่พอเพียง  4814. เดินทางไปดูงานการศึกษาเดนมาร์ก ๒๕๖๗  ๓. วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ 


 

เมื่อคืนนอน ๒๑.๔๐ - ๓.๑๐ น. ก็ตื่นเอง    ลุกขึ้นมาเตรียมตัวร่วมประชุมออนไลน์กับ สกสว. ที่กรุงเทพ   

๔.๐๐ - ๗.๐๐ น. (เท่ากับ ๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาไทย) ร่วมประชุมคณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัย   

วันนี้ดูงาน ๑ ที่ คือ 

International People’s College, Helsingor   

ค่ำวันที่ ๙ สิงหาคม ผมให้ Gemini ช่วยหาข้อมูลให้   แล้วเข้าไปชมเว็บไซต์ (1) ของโรงเรียน   ได้รู้ว่าป็นโรงเรียนมัธยมแบบที่เรียกว่า Folk High School   ไม่มีชั้น ไม่มีเกรด   

เมื่อไปชม และฟังการบรรยายสรุปโดย  อดีตผู้อำนวยการที่เพิ่งลาออกจากตำแหน่ง แต่ยังทำหน้าที่เป็นครูดนตรี    ผมก็สรุปว่า นี่คือโรงเรียนสร้างพลเมืองให้แก่โลก   เพราะเป็นโรงเรียนนานาชาติ แต่ละรุ่นรับนักเรียนชาติละไม่เกิน ๑๐ คน    รวมรับได้รุ่นละไม่เกิน ๑๑๐ คน   เพราะหอพักมีจำนวนแค่นั้น    มีครูประจำการ ๑๐ คน   ที่ทำหน้าที่ครึ่งครึ่งระหว่างการสอน กับการดูแลความเป็นอยู่ของนักเรียนในหอพัก   มีครูพิเศษ ๕ – ๖ คน ที่ได้รับค่าสอนรายชั่วโมง    ครูแต่ละคนสอนคนละ ๕ – ๖ วิชา   

เราได้รับแจกหนังสือ ๑๐๐ ปีของโรงเรียน ชื่อ Meet the World in Elsinor: Stories about the International People’s College 1921 – 2021   ที่เมื่อผมขอให้ Copilot ช่วยสรุปสาระ  ด้วยคำถาม  What are key points in the book "Meet the World in Elsinor : Stories about the International People's College 1921 - 2021'?  ได้ผลดังนี้   

 “Meet the World in Elsinor: Stories about the International People’s College 1921 - 2021” is a fascinating book that chronicles the history and impact of the International People’s College (IPC) in Elsinore, Denmark. Here are some key points from the book:

  1. Founding and Vision: The book details the founding of IPC in 1921 by Peter Manniche, who envisioned a school that promoted international understanding and peace through education.
  2. Cultural Exchange: It highlights the college’s role in fostering cultural exchange and understanding among students from diverse backgrounds. The IPC has welcomed students from over 150 countries.
  3. Educational Philosophy: The book delves into the unique educational philosophy of IPC, which emphasizes experiential learning, democratic participation, and global citizenship.
  4. Historical Context: It provides a historical context of the college’s development through significant global events, including World War II and the Cold War, and how these events influenced the college’s mission and activities.
  5. Personal Stories: The book includes personal stories and testimonials from alumni, staff, and faculty, illustrating the profound impact IPC has had on their lives and careers.
  6. Challenges and Achievements: It discusses the various challenges IPC has faced over the years, such as financial difficulties and political pressures, as well as its achievements in promoting peace and understanding.
  7. Future Outlook: The book also looks ahead, considering the future of IPC and its ongoing mission in a rapidly changing world.

These points provide a comprehensive overview of the book’s content and the significant role IPC has played in promoting international education and understanding over the past century. If you’re interested in the detailed history and personal anecdotes, the book is definitely worth a read!

ส่วน ChatGPT  ให้ข้อสรุปดังนี้ 

What are key points in the book "Meet the World in Elsinor : Stories about the International People's College 1921 - 2021'?

 

"Meet the World in Elsinor: Stories about the International People's College 1921-2021" highlights the history and impact of the International People's College (IPC) located in Elsinore, Denmark. Here are some key points you might find in the book:

  1. Historical Context: The book explores the founding of the IPC in 1921, aimed at promoting peace, understanding, and cooperation among people from diverse backgrounds after World War I.
  2. Diverse Community: It emphasizes the college's commitment to inclusivity and diversity, attracting students from around the world and fostering multicultural experiences.
  3. Educational Philosophy: The IPC's approach to education focuses on experiential learning, critical thinking, and global citizenship rather than traditional academic methods.
  4. Impact on Alumni: The stories of former students illustrate how their experiences at the IPC have influenced their personal and professional lives, often leading them to contribute to social justice and global peace initiatives.
  5. Cultural Exchange: The book showcases various cultural activities, lessons learned, and friendships formed during the college's history, highlighting the importance of intercultural dialogue.
  6. Adaptation and Change: It discusses how the IPC has evolved over the decades in response to global events and changes in society, maintaining its mission while adapting its programs.
  7. Legacy and Future: The narratives reflect on the IPC's legacy over the 100 years and its vision for the future, continuing to inspire new generations of learners and leaders.

These points encapsulate the essence of the IPC as a unique institution dedicated to fostering international understanding and cooperation through education.

 

 การมีวิทยาลัยแบบนี้มีมาตั้งแต่ปี 1844   วิทยาลัยแห่งนี้ตั้งปี 1898   เป็นการศึกษาผู้ใหญ่   ไม่ใช่โรงเรียนแบบทั่วไป    จึงรับนักศึกษาอายุ ๑๗ ปี ๖ เดือนขึ้นไป    เพื่อให้ระหว่างเรียน ๑ ปี อายุครบ ๑๘ ปี เข้าสู่การบรรลุนิติภาวะ   แลพไม่จำกัดอายุขั้นสูง   ในนักศึกษารุ่นปัจจุบันเห็นมีคุณป้าคนหนึ่งเข้าเรียนด้วย    น่าจะอายุเกิน ๗๐   กล่าวอย่างง่ายที่สุดว่า เป็นโรงเรียนสร้าง ความเป็นพลเมืองให้แก่เดนมาร์ก และแก่โลก 

ในปี 1998 UNESCO ยกย่องโรงเรียนนี้ว่า มีบทบาทสร้างสันติภาพแก่โลก    โรงเรียนใช้แนวทางการเรียนรู้เชิงบวก  เรียนรู้จากประสบการณ์ (experiential learning)   และเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (collaborative learning)    เพื่อพัฒนาทั้งด้านสมอง ใจ และร่างกาย   ที่ผมตีความว่า เกิดการพัฒนาด้านอารมณ์สังคมอย่างมาก    เขาบอกว่านักเรียนได้รู้จักตนเอง จากการได้พบเพื่อนที่แตกต่างกันมาก   ได้หัดฟังความเห็นความเชื่อที่แตกต่าง   

นักเรียนแต่ละคนมีตารางเรียนของตนเอง  โดยเลือกเรียน ๗ - ๙ วิชา  จากที่มีให้เลือก ๔๕ วิชา     โดยเรียนจากการปฏิบัติร่วมกัน  แล้วสะท้อนคิด    ใน ๑ ปีการศึกษา มี ๒ เทอม   เทอมฤดูใบไม้ร่วง ๑๘ สัปดาห์   เทอมฤดูร้อน ๒๔ สัปดาห์    นักเรียนแต่ละคนเรียน ๑ ปีการศึกษา    ค่าเล่าเรียน ๒/๓ รัฐออกให้   จะเห็นว่ารัฐบาลเดนมาร์กใจกว้างมากที่ออกค่าเล่าเรียนให้นักเรียนต่างชาติด้วย    โดยผมมีความเห็นว่าจริงๆ แล้วนักเรียนต่างชาติช่วยสร้างจิตสาธารณะระดับโลกให้แก่นักเรียนเดนมาร์ก 

อ่านเรื่อง Folk High School ได้ที่ (๑)   จะเห็นว่าไม่ใช่โรงเรียนในระบบการศึกษา   มีจุดเริ่มต้นที่เดนมาร์ก และแพร่หลายในกลุ่มประเทศนอร์ดิก    โดยที่ในแต่ละประเทศมีจุดเน้นและการดำเนินการต่างกัน    ในสหรัฐอเมริกาก็มี    เขายกตัวอย่าง ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เรียนที่ Highlander Folk School, Tennessee   

เราได้สัมผัสความอ่อนน้อมถ่อมตน และความเป็นมิตรของอดีตครูใหญ่ Soren (อ่านว่า เซริน) Launbjerg ที่ยังคงทำหน้าที่เป็นครูดนตรี   และหลังต้อนรับพวกเรา ท่านต้องเดินทางไปโคเปนเฮเกนเพื่อประชุมตอน ๑ ทุ่ม   

เช้าวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๗ ผมนั่งทบทวนรูปที่ถ่ายจากการไปชมปราสาท Frederiksborg เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม    พบภาพที่นำมาลงไว้เป็นรูปที่ 7.1  และ 7.2   ที่สะท้อนให้เห็นว่าเรื่อง  Folk High School เป็นเรื่องสำคัญในประวัติศาสตร์เดนมาร์ก    ที่มีการต่อสู้เคลื่อนไหวยาวนาน   

 

     Top of FormBottom of Form

 

 

เมือง Helsingor

เมืองเก่าที่รุ่งเรืองสมัยศตวรรษที่ ๑๖ (๑)   เราไปเริ่มเดินเที่ยวเมืองเก่าตรงรูปในเว็บไซต์   มีท่านทูตอ้อมเป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์    ชมถนนคนเดิน   โบสถ์ St. Olafs  (1559)   โบสถ์ St. Mary   (1430)    ถนนคนเดินมีสินค้ามากมายหลากหลายชนิด   ทีมงานของเราได้ของติดมือกันมาทั่วหน้า ยกเว้นผมที่ซื้อของไม่เป็น   

ในโบสถ์ St. Olafs  และอีกหลายโบสถ์ มีเรือใบลำเล็กแขวนอยู่    เป็นสัญญลักษณ์พิเศษของเดนมาร์ก    ท่านทูตอ้อมอธิบายความหมายแต่ผมลืม    กลับมาถาม Gen AI ได้ความว่าอาจมีได้ ๓ ความหมายคือ  (๑) ความหวัง และความเชื่อ (เพราะออกเรือไปในทะเลเสี่ยงสูง  (๒) เชื่อมโยงกับทะเล  (๓) เป็นที่ระลึกถึงนักเดินเรือที่เสียชีวิต      

จุดเด่นของบริษัททัวร์ในการพาไปเที่ยวเมืองเฮลซิงเงอร์คือพามาชมปราสาท  Kronborg Castle (1420)  ที่เราได้รับคำแนะนำจากท่านทูตอ้อมให้เดินอ้อมสนามไปชมด้านข้าง   ผ่านพิพิธภัณฑ์ใต้ดิน    ไปชมทะเลบอลติก   และแผ่นดินฝั่งสวีเดน           

เมือง Gilleleje (กิลไหลไหล)

วันนี้เรานั่งรถไปชั่วโมงเศษ ไปชมเมือง Helsingor  และกินอาหารเที่ยง    แล้วจึงไปเยี่ยมชม International People’s College   หลังจากนั้นไปชมทะเลบอลติกข้างๆ ปราสาทครอนบอร์ก เห็นชายฝั่งสวีเดนอยู่ลิบๆ   แล้วนั่งรถไปเยี่ยมชม เมืองตากอากาศ กิลไหลไหล ตอนเย็น   ไปเห็นมหกรรมโชว์รถยนต์เก่า    โชว์บิ๊กไบค์    และกินอาหารทะเลที่ร้าน Gilleleje H.W.N.   ที่เจ้าของเป็นคนไทย   ที่แม่แต่งงานกับคนเดนมาร์กและย้ายมาอยู่ที่นี่    กินอาหารเสร็จสองทุ่ม บรรยากาศชายทะเลเงียบสงบเย็นสบาย กว่าตอนแดดจ้าอย่างรู้สึกชัด      

เป็นเมืองตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียง   คนโคเปนเฮเกนไปมีคอนโดหรือบ้านพักตากอากาศที่นี่   แต่ไปเห็นสภาพของชายหาดแล้ว ได้คำตอบว่าทำไมเขาจึงนิยมมาพักผ่อนที่ชายทะเลบ้านเรา   

วิจารณ์ พานิช 

๑๓ ส.ค. ๖๗    ปรับปรุง ๑ ก.ย. ๖๗ 

 

รูป 670904

 

1 ทางเข้า International People_s College

2 อดีตครูใหญ่ เซริน กับท่านทูตอ้อม และ อ. ประภาภัทร

3 ในห้องนำเสนอและเสวนา

4 หลักการจัดการศึกษา

5 ในเดนมาร์กมี ๗๐ Flok High School ในหลากหลายด้าน   ที่นี่เป็นหนึ่งเดียวที่เป็น International School  

6 บริเวณโรงเรียน

7 รูปหมู่

7.1 ข้อความประวัติศาสตร์ของ Folk School Movement ถ่ายจากพิพิธภัณฑ์ที่ Frederikborg Castle

7.2 รูป Folk High School Movement, Ingeborg Appel   คือผู้หญิงที่นั่งขวาสุด  

8 จุดเริ่มต้นของการเดินชมเมืองเก่า Helsingore

8.1 โบสถ์ St. Olaf

9 เรือในแขวนในโบสถ์

10 ถนนคนเดิน

11 ร้านเหล้าริมถนน

12 ถนนวัฒนธรรม

13 โบสถ์ St. Mary

14 ไปกินอาหารเที่ยงที่ศูนย์สตรีทฟู้ด

15 หลังเยี่ยมชม Folk High School ไปชมริมทะเลใกล้ปราสาทครอนบอร์ก เห็นสวีเดนอยู่ไม่ไกล

16 เมืองตากอากาศชายทะเล กิลไหลไหล

 

17 ชายหาดเป็นอย่างนี้ เขาจึงนิยมมาเที่ยวชายทะเลของเรา

18 กิจกรรมโชว์รถยนต์โบราณ

19 Big Bike Show

20 เมืองกิลไหลไหลยามใกล้ค่ำ สงบเงียบน่าอยู่

หมายเลขบันทึก: 719321เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2024 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2024 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท