ดนตรีในสวน (จิดาภา ขอมีกลางสกุล)


ให้ใจกลับไป ในที่นี้หมายถึงให้โอกาสในการแสดงความสามารถ พร้อมทั้งให้แต่ละวงทำคลิปประชาสัมพันธ์งานช่วยเราในอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งถือว่าปลุกกระแสความสนใจได้ดีพอสมควร ต่อเมื่อเล่นแล้วมีกระแสทำนองว่าไม่มีมาตรฐาน พวกเราก็ค่อยๆ ปรับ ยกระดับคัดกรองศักยภาพของแต่ละวงให้มากขึ้น จนครั้งสุดท้ายก็ปรับแผนด้วยการคัดวงจากเเต่ละครั้ง รวมถึงคัดจากวงที่เล่นในปีที่เเล้วที่เป็นวงท็อปๆ เเละมีความเป็นมืออาชีพมาเล่น

เป็นธรรมดาที่การทำงานจะมีความรู้สึกเหนื่อยล้า ท้อบ้าง ทั้งเหนื่อยกับงาน เหนื่อยกับคน แต่สำหรับหนูแล้ว การเป็นประธานชมรม Belips for all ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยอมรับว่ามีเหนื่อย มีท้อบ้าง กระนั้นก็ไม่เคยถึงขั้นท้อถอย หรือคิดที่จะวางมือ เพราะเชื่อว่า ขอให้เราทำจริง ทำกันเป็นทีม ทำไปเรียนรู้ไปย่อมสำเร็จได้สักวันหนึ่ง และเมื่อถึงปลายทาง ก็จะสัมผัสได้ถึงความสุขอย่างไม่ต้องสงสัย

 

 

ตลอดปีการศึกษา 2566 พวกเราชาว Belips ได้จัดกิจกรรมหลักๆ 2 กิจกรรม คือการบำเพ็ญประโยชน์ที่บ้านพักคนชราจังหวัดมหาสารคามและอีกหนึ่งกิจกรรมที่กลายมาเป็นอัตลักษณ์ของชมรมเราไปแล้วก็คือโครงการ “ดนตรีในสวน” ซึ่งจริงๆ แล้วทางชมรมได้ริเริ่มจัดมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 

ตอนนั้นจัดร่วมกับกลุ่มงานกิจกรรมนิสิต พอปีนี้ก็ขับเคลื่อนด้วยตนเอง ส่วนพี่ๆ จากกลุ่มงานก็ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลอยู่ไม่ห่าง ปีนี้ทางชมรมจัดดนตรีในสวนมากถึง 5 ครั้งเลยทีเดียว แต่ละครั้งจะมีประเด็นหรือธีมงานเสมอ ยกตัวอย่างเช่น เพลงรักกลางสายฝัน สวัสดีปีใหม่ วันเด็กแห่งชาติ หรือแม้แต่การยึดโยงกับกระแสหลักของสังคมและมหาวิทยาลัยมาให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน เช่น วันสตรีสากล หรือแม้แต่การเลือกตั้งผู้นำองค์กรของมหาวิทยาลัย พวกเราก็นำมาสื่อสารในเวทีดนตรีในสวน เพื่อให้นิสิตได้รับรู้เรื่องราวและความเปลี่ยนแปลงของสังคม 

 

 

ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า โครงการดนตรีในสวนของพวกเราจึงไม่ใช่แค่การพยายามสร้างพื้นที่เชิงคุณภาพให้นิสิตมาใช้ชีวิตร่วมกันคู่ไปกับการเปิดพื้นที่ให้นิสิตได้แสดงความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการนำเรื่องราวของสังคมในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัยมาเผยแพร่ให้นิสิตรับรู้และเรียนรู้ไปด้วย เป็นการรับรู้และเรียนรู้ในลักษณะการรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมนั่นเอง

 

 

จะว่าไปแล้วการจัดตนตรีในสวนในปีนี้ พวกเราพยายามยกระดับกิจกรรมบางอย่างขึ้นเท่าที่จะทำได้ ยอมรับว่าแรกๆ เน้นการลองผิดลองถูก เช่นการคัดวงดนตรีมาเล่นอาจไม่ถึงขั้น “ออดิชั่น” แค่สมัครมา ยังไม่เคยเล่นดนตรีในสวนมาก่อน แต่ขอให้ “มีใจ” พวกเราก็ “ให้ใจ” กลับไปอย่างไม่ลังเล – 

 

ให้ใจกลับไป ในที่นี้หมายถึงให้โอกาสในการแสดงความสามารถ พร้อมทั้งให้แต่ละวงทำคลิปประชาสัมพันธ์งานช่วยเราในอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งถือว่าปลุกกระแสความสนใจได้ดีพอสมควร ต่อเมื่อเล่นแล้วมีกระแสทำนองว่าไม่มีมาตรฐาน พวกเราก็ค่อยๆ ปรับ ยกระดับคัดกรองศักยภาพของแต่ละวงให้มากขึ้น จนครั้งสุดท้ายก็ปรับแผนด้วยการคัดวงจากเเต่ละครั้ง รวมถึงคัดจากวงที่เล่นในปีที่เเล้วที่เป็นวงท็อปๆ เเละมีความเป็นมืออาชีพมาเล่น

 

 

 

กรณีนี้ แม้จะมีกระแสดราม่าว่าเล่นไม่ดี ร้องไม่เพราะ เราก็ชี้แจงไปว่า เรามีเจตนาอันชัดเจนว่าต้องการให้โอกาสแก่นิสิตแบบไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะ แต่เราก็น้อมรับที่จะบริหารจัดการใหม่ให้เกิดความสมดุลระหว่างวงที่มีประสบการณ์มากแล้วกับวงที่ยังขาดประสบการณ์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วยกันและเกิดบรรยากาศที่ดี มิใช่ปิดกั้นโอกาสของ “มือใหม่” สิ่งนี้ในมุมของพวกเรา คือการให้ความเสมอภาคต่อนิสิต ส่วนคณะทำงานก็ได้เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนอย่างเป็นเหตุเป็นผล

            

 

นอกจากนี้แล้ว ปีนี้ยังยกระดับการทำงานอีกประเด็นคือมีการเปิดโอกาสให้นิสิตและบุคลากรมาออกร้านจำหน่ายสินค้า เสริมสร้างบรรยากาศการฟังเพลงไปในตัว บริหารจัดการมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น แต่ยอมรับว่ามีความสุข เพราะช่วยให้นิสิตได้มีส่วนร่วม หรือก้าวออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากขึ้น เช่นเดียวกับการจัดงานแต่ละครั้งก็จะมีคลิปสั้นๆ ออกมาเผยแพร่ เหมือนประมวลงานที่จัดขึ้นในแต่ละครั้งไปในตัว มีทั้งที่เราทำเองและพี่พนัสจากกองกิจการนิสิตได้ช่วยจัดทำให้

            นี่คือการสื่อสารสร้างสรรค์ในอีกมิติที่เราได้สร้างสรรค์ขึ้นมา-

 

 

อันที่จริงดนตรีในสวนปีนี้ ถ้าไม่คิดว่าเข้าข้างตัวเองมากจนเกินไป พวกเรารู้สึกว่าเราทำงานกันได้ดีไม่แพ้ปีแห่งการบุกเบิก ยิ่งปีนี้อะไรๆ ก็ง่ายขึ้นเพราะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกองกิจการนิสิต หรือองค์การนิสิต แม้ไม่มากมายแต่ก็ช่วยให้เราทำงานได้คล่องขึ้น 

เราได้ทำงานประเด็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่กับกองกิจการนิสิต ได้ทำงานเรื่องการจัดการขยะร่วมกับชมรมสานสายใยร่วมชายคา และกลุ่มนิสิตชาวมอ หรือแม้แต่ได้ทำงานเรื่องรณรงค์เลือกตั้งผู้นำองค์กรนิสิต กับ กกต. ทั้งปวงนี้เราถือว่าดนตรีในสวนได้รับผิดชอบต่อสังคม เป็นงานศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อสังคมไปในตัวด้วยเหมือนกัน

 

 

ก็ยังยืนยันว่าเป็นธรรมดาที่ทำงานแล้วจะรู้สึกเหนื่อย เหนื่อยทั้งกับงานและการบริหารคน แต่เป็นความเหนื่อยที่ไม่ได้ทดท้อ สิ้นหวัง เพราะทุกครั้งที่งานเสร็จสิ้นลง เราจะมีความสุขเสมอ ความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่เรารัก สุขที่เห็นคนทำงานและคนร่วมงานมีความสุข มันเป็นความสำเร็จที่ไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ แต่สำเร็จได้เพราะทุกคนที่ให้ความร่วมมือ-

ทุกคนที่หมายถึง ชาว Belips ทุกๆ คน ทุกคนที่หมายถึงนักดนตรี ผู้ชม - ผู้ชมทั้งที่เป็นนิสิต ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน รวมถึงกองกิจการนิสิตและกองอาคารสถานที่ช่วยดูแลอย่างสม่ำเสมอ

ปีหน้าพวกเรายังคงจะเดินหน้าต่อไป ดนตรีในสวนจะยังคงมีต่อไปและจะพยายามพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมถึงอาจนำข้อเสนอแนะที่พนัสฝากไว้เข้ามาผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น การประกวด..

 

 

 

ต้นเรื่อง….
ดนตรีในสวน
จิดาภา ขอมีกลางสกุล
ชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์
ประธานชมรม Belips for all ปีการศึกษา 2566

 

หมายเลขบันทึก: 719320เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2024 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2024 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท