โครงการลดการดื่มสุราในงานเลี้ยง


เป้าหมาย : เพื่อรณรงค์ลดการดื่มสุราในการจัดเลี้ยงงานต่างๆ ในอำเภอบ้านแพ้วโดย ให้พิธีกรในชุมชน , ผู้นำชุมชน แกนนำเยาวชน เขตอำเภอบ้านแพ้ว เกิดจิตสำนึกและเป็นแกนนำในการรณรงค์

 

โครงการลดการดื่มสุราในงานเลี้ยง 1.คำสำคัญ:     การรณรงค์,ลดปัจจัยเสี่ยง สุรา 2.จังหวัด :        สมุทรสงคราม 3.กลุ่มเป้าหมาย : พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลตำบลหลักห้าซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยกกระบัตร ตำบลโรงเข้ ตำบลหนองสองห้อง ตำบลหนองบัวทั้งตำบลและพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแพ้ว ซึ่งครอบครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแพ้ว(นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว) โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ พิธีกร ผู้นำชุมชน แกนนำเยาวชน และประชาชนทั่วไป 4.เป้าหมาย :    เพื่อรณรงค์ลดการดื่มสุราในการจัดเลี้ยงงานต่างๆ  ในอำเภอบ้านแพ้วโดย ให้พิธีกรในชุมชน  ,  ผู้นำชุมชน แกนนำเยาวชน เขตอำเภอบ้านแพ้ว  เกิดจิตสำนึกและเป็นแกนนำในการรณรงค์  5.สาระสำคัญของโครงการ : เนื่องด้วยพื้นที่บ้านแพ้วแนวโน้มเกิดอุบัติเหตุทางจราจรมีเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากเกิดความมึนเมาขณะขับรถ ประกอบกับสถานการณ์การดื่มสุราที่มีจำนวนผู้ดื่มมากขึ้น โดยเฉพาะการดื่มสุราในงานเลี้ยงซึ่งเป็นเหมือนประเพณีปฏิบัติของงานเลี้ยงฉลองที่ต้องมีการดื่มของมึนเมาในทุกๆงาน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุและทะเลาะวิวาทตามมา ประกอบกับสังคมในอำเภอบ้านแพ้วมักจัดให้มีการดื่มสุราร่วมในการจัดเลี้ยงทุกเทศกาลงานบุญจนถึงเป็นเรื่องปกติที่เห็นในทุกเทศกาล และนี่เองที่ทำให้โรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน) จ.สมุทรสาคร คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอบ้านแพ้ว เห็นน่าจะมีการลดการดื่มสุราในงานเลี้ยง  เพื่อเป็นการรณรงค์ ชี้ให้เห็นโทษและพิษภัยของการดื่มสุรา  อีกทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม  ชุมชน  และเยาวชน  โครงการลดการดื่มสุราในงานเลี้ยงจึงเกิดขึ้น  6. เครื่องมือที่ใช้ : (1) การเชื่อมประสานความร่วมมือกับเครือข่าย เบื้องต้นมีการเชื่อมประสานในการจัดประชุมชี้แจงครั้งแรก เพื่อหาแนวร่วมแต่ปรากฏว่ายังอยู่ในวงไม่กว้างนัก (ซึ่งได้ภาคีความร่วมมือหลักคือวัดและโรงเรียน )หากมีการขยายผลให้คลอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จะต้องอาศัยการประสานงานที่ต่อเนื่องกับพื้นที่ อีกทั้งจะต้องสร้างและสนับสนุนแกนนำในพื้นทีให้มากขึ้น (2) กระบวนการสร้างแกนนำ หากมีการสร้างแกนนำในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจ มุ่งมั่น สามารถโน้มน้าวใจให้เจ้าภาพลดการเลี้ยงสุราได้ด้วยความสมัครใจจะทำให้โครงการเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนอีกทั้งสามารถขยายผลไปในวงกว้าง 7. การจัดระบบ โครงสร้างกระบวนการทำงาน :โรงพยาบาลบ้านแพ้วทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานและบริหารจัดการเริ่มจากการตั้งทีมงาน ค้นหาพิธีกรที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้านและให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของสุราเพื่อให้พิธีกรนำไปขยายผลต่อเมื่อต้องขึ้นเวที มีการจัดประชุมหารือโดยเชิญหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องให้มารับรู้รับทราบว่าโรงพยาบาลบ้านแพ้วจะจัดทำโครงการลดสุราในงานเลี้ยงเพื่อให้หน่วยงานต่างๆช่วยขยายผลต่อทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์ และร่วมรณรงค์การงดดื่มสุราในงานเลี้ยง  8.ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :ระยะเวลาโครงการ  1  พฤศจิกายน  2546 ถึง  31 ตุลาคม  2547  ซึ่งไม่เป็นไปตามกำหนดจึงขอเลื่อนระยะเวลาเป็นวันที่  31  ธันวาคม  2548  9.การประเมินผลและผลกระทบ :โครงการมีการออกแบบสร้างบริหารจัดการที่ดี ทั้งเรื่องการสร้างแนวร่วมในการรณรงค์ลดการดื่มสุราในงานเลี้ยง โดยอาศัยเครือข่ายระดับพื้นที่ที่ใกล้ชิดชุมชนในการขยายแนวคิดกิจกรรมลดสุราในงานเลี้ยง    มีการออกแบบสร้างระบบการติดตามประเมินผล โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพผลัดเปลี่ยนกันไปสังเกตการณ์ร่วมกิจกรรมงานเลี้ยงที่เข้าร่วมโครงการเพื่อตรวจสอบว่าบุคคลภายนอกนำสุราเข้าไปในงานเลี้ยงหรือไม่ ซึ่งหากนำเข้าไปดื่มในงาน เจ้าภาพจะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าดนตรี และค่าเครื่องดื่ม ซึ่งเมื่อจบสิ้นโครงการสรุปได้ว่าจำนวนงานเลี้ยงที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น  50  (อาทิ งานเลี้ยงส่ง งานพบปะสังสรรค์ งานกีฬาสัมพันธ์ งานเลี้ยงมงคลสมรส งานเลี้ยงอุปสมบท งานเลี้ยงพิธีโกนจุก เป็นต้น)งานบรรลุตามข้อตกลงในหลักการดำเนินงานลดการดื่มสุราในงานเลี้ยง  46  งาน ในจำนวนนี้ มีจำนวน  4  งาน ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักการเนื่องจากมีผู้ลักลอบนำสุราเข้ามาดื่มในงาน  ส่วนใน  46  งานที่ผ่านเกณฑ์ตามหลักการนั้น ส่วนใหญ่จะจัดงานในวัด โรงเรียนโรงพยาบาล ซึ่งทั้งสามแห่งได้มีกฎระเบียบข้อห้ามในการนำสุราเข้าในสถานที่ (เนื่องด้วยสภาพพื้นที่ของบ้านเรือนไม่กว้างขวางชาวบ้านจึงต้องอาศัยพื้นที่วัดหรือโรงเรียนในการจัดงาน )ขณะเดียวกันโรงพยาบาลบ้านแพ้วระบุจำนวนอุบัติเหตุจราจรมีแนวโน้มลดลง จากปี2546 จำนวน 61 ราย ปี 2547 จำนวน 54 ราย และปี 2548 จำนวน 48 ราย 10.ความยั่งยืน :เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ ก็ยังพบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืนของโครงการ และผลข้างเคียงจากโครงการฯ ให้ชุมชนได้ร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป ... โดย สิ่งที่เกิดขึ้นหลังโครงการฯ สรุปได้ดังนี้  วัดหลักสี่ โดยท่านเจ้าอาวาส(เจ้าคุณมงคลพิพัฒน์)ประกาศเป็นวัด เป็นเขตปลอดสุรา ชาวบ้านจะรู้ทั่วกันว่าหากต้องการจัดงานใดๆในพื้นที่ของวัดจะต้องเป็นงานเลี้ยงที่ปลอดสุรา,โรงเรียนฯขอความร่วมมือผู้เข้ามาใช้สถานที่จัดงานงดสุราในงานเลี้ยง,ชุมชนให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง บอกต่อๆถึงข้อดีของการเข้าร่วมโครงการชาวบ้านที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการเห็นประโยชน์ในการลดสุรา โดยเฉพาะเป็นการประหยัดงบประมาณอย่างเห็นได้ชัด จึงบอกต่อๆ กัน(สามารถ ลดค่าเหล้าในงานประมาณ 10,000-20,000 บาท),ชาวบ้านตื่นตัวและสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องแม้โครงการจะจบสิ้นลงแล้ว 11.จุดแข็ง:การมีผู้นำรณรงค์ที่เข้มแข็ง อาศัยผู้นำที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือในการสร้างเงื่อนไขลดสุราในงานเลี้ยง เช่น เจ้าอาวาส  ครูและพิธีกรในงานเลี้ยง   การออกแบบเงื่อนไขและข้อเสนอที่จูงใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีการลงนามเป็นสัญญาเข้าร่วมโครงการลดการดื่มสุราในงานเลี้ยง ซึ่งเจ้าภาพจะได้รับค่าสมทบดนตรี และค่าเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทันที หลังเลิกงานหากประเมินพบว่าไม่มีการดื่มสุราในงานเลี้ยง  แนวทางการรณรงค์หาแนวร่วม และทำเป็นตัวอย่าง เช่นรพ.บ้านแพ้วเป็นผู้นำโครงการนี้เข้ามาสู่พื้นที่ ดังนั้นเมื่อมีงานเลี้ยงในโรงพยาบาล จะเป็นงานเลี้ยงปลอดสุราจนเป็นที่รับรู้โดยทั่วกัน ส่วนแนวร่วมประกาศเป็นสถานที่ปลอดสุรา เพิ่มคือโรงเรียนและวัด ซึ่งเป็นที่ที่ชาวบ้านมักใช้จัดงานเนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวางประกอบกับบ้านชาวบ้านเป็นพื้นที่สวนบริเวณไม่เหมาะกับการจัดงาน การประชาสัมพันธ์ และชี้ให้เห็นโทษของการดื่มสุรา ตามสื่อวิทยุชุมชนการใช้สื่อบุคคล  สื่อสารด้วยการใช้คำพูดเด็ดๆบนเวทีของพิธีกร ข้อจำกัด:  ช่วงแรกมีผู้เข้าร่วมโครงการค่อนข้างน้อยเนื่องจากยังไม่เชื่อมั่นว่าจะสามารถปฏิบัติตามแนวทางของโครงการได้ อีกทั้งหลังจากเจ้าภาพตัดสินใจเข้าร่วมโครงการแล้วได้เจอกับพฤติกรรมการแสดงออกถึงความไม่พอใจของกลุ่มนักดื่มขาประจำที่มาร่วมงานบางกลุ่ม ที่คาดหวังว่าจะได้มาดื่มสุราในงานเลี้ยงแม้เจ้าภาพจะแจ้งให้ทราบก่อนหน้าแล้วก็ตาม  มีบางงานเลี้ยงที่แขกนำสุราเข้ามาในงานเลี้ยง  แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ถึงระเบียบของโครงการให้แขกที่เข้าร่วมงานเลี้ยงทราบอย่างชัดเจน  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนหรือกลุ่มคนที่มีค่านิยมต้องมีสุราในงานเลี้ยงต้องอาศัยเวลาและความต่อเนื่องของการรณรงค์  ,รพ.บ้านแพ้วซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการพยายามจะส่งต่อให้ชุมชนนำไปขยายผลหลังจากจบโครงการ เนื่องด้วยข้อจำกัดของระยะเวลา และงบประมาณจึง ยังไม่สามารถผลักดันเรื่องการงดสุราในงานเลี้ยงให้เป็นแผนของชุมชนได้ทันที ขณะที่บางพื้นที่ที่เห็นความสำคัญของกิจกรรมนี้จึงพยายามจะสานต่อแต่ขาดการสนับสนุนเรื่องกระบวนการจัดการ เนื่องจากผู้ดำเนินโครงการทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล (มีข้อเสนอว่า ควรการหาแรงจูงใจสำหรับเจ้าภาพที่เข้าร่วมโครงการในอนาคต(อาจเป็นใบประกาศ หรือโล่ห์ยกย่องชมเชย เงินอาจให้ลดลง จนถึงไม่ให้เลย) 12.ที่ติดต่อ :โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) 198 หมู่ 1 ต.บ้านแพ้ว อ.บ้านแพ้ว สมุทรสาคร 74120 โทร. 034-419555นางกนกวรรณ เส็งคำภา  พยาบาลวิชาชีพ หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลบ้านแพ้วโทร.034-419-542นายสนั่น นุชดอนไผ่ 09-8271017

 

หมายเลขบันทึก: 71597เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท