มั่นคงในหลักการ แต่วิธีการควรเปิดกว้าง : ฝึกศิลปะป้องกันตัว อย่างผสมผสาน


โลกนี้ ไม่ได้มีศิลปะการต่อสู้ใดสูงหรือต่ำ ดีหรือด้อยกว่า สิ่งที่มีสาระกว่าจะมาถกเถียงเรื่องนี้นั้น คือสำคัญที่ว่า คุณเรียนรู้ ฝึกฝน และปฏิบัติตนอย่างไรมาบ้าง

แน่นอนว่า วิชาศิลปะป้องกันตัวอย่าง “ไอคิโด” (aikido) มีไว้เพื่อป้องกันตัวเอง ไม่ทำร้ายหรือรุกรานใคร รวมถึงเน้นความปลอดภัยทั้งตัวเราและผู้ที่เข้าโจมตี  (ผู้รับก็ไม่เป็นอันตราย ส่วนผู้โจมตีก็ปลอดภัย) และที่สำคัญคือมีจุดประสงค์ที่เป็นหัวใจคือมุ่งขัดเกลาร่างกาย และจิตใจตนเอง

กระนั้นในการฝึก เราก็ไม่ได้ปฏิเสธในการเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆจาก ศิลปะการป้องกันตัว/ต่อสู้แขนงอื่นๆ  เว้นแต่เวลาสอบเลื่อนขั้น ก็ต้องทำไปตามธรรมเนียมแบบแผนที่สืบทอดกันมา  

อันที่จริง ไอคิโดก็เกิดมาจากการผสมผสานศิลปะการต่อสู้แบบโบราณหลายๆ อย่าง เช่น ยิวยิตสู , เคนจิตสึ (ศิลปะการฟันดาบ) แต่ในการฝึกทั่วไป  อย่างที่แม่ฮ่องสอน เราก็พยายามเรียนรู้เทคนิคจากวิชาต่างๆ ไม่ว่าจาก มวยไทย ยูโด ยิวยิตสู กังฟู คาราเต้ ฯลฯ แล้วเอามาปรับใช้โดยคงหลักการ และจิตวิญญาณของไอคิโดเอาไว้

วันนี้ก็ให้เวลากับการศึกษาเทคนิคของ “โอกินาว่า คาราเต้” ซึ่งเป็นคาราเต้ที่เน้นเทคนิคระยะประชิดที่ต้องใช้ความรู้สึกจากการสัมผัสว่าอีกฝ่ายจะทำอะไร ไปทางไหน  มีการสอนให้ใช้แรงบิดจากลำตัว การวางน้ำหนักและทิศทางการเคลื่อนเท้า แม้กระทั่งการวางตำแหน่งนิ้วมือ เรียกว่ามีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ คล้ายกับการความละเอียดของไอคิโด ซึ่งดูด้วยตาเปล่าจะยากต่อการเข้าใจ

นอกจากนี้ คาราเต้สายนี้ ยังเน้นหลัก “จินคุจิ”  ที่หมายถึงการระเบิดพลังของเทคนิคในระยะทางและเวลาอันสั้นเพื่อสร้างคลื่นกระแทกทะลวงลึกเข้าไปในเป้าหมาย ที่เป็นจุดตายต่างๆ ตรงนี้ก็คล้ายๆกับไอคิโดที่ใช้การบิดข้อต่อส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้เวลาและระยะทางสั้นมาก แต่ผลทำลายล้างสูง จึงต้องฝึกด้วยความระมัดระวัง

โลกนี้ ไม่ได้มีศิลปะการต่อสู้ใดสูงหรือต่ำ ดีหรือด้อยกว่า สิ่งที่มีสาระกว่าจะมาถกเถียงเรื่องนี้นั้น คือสำคัญที่ว่า คุณเรียนรู้ ฝึกฝน และปฏิบัติตนอย่างไรมาบ้าง

อยู่แม่ฮ่องสอน ก็ห่างไกล การดูคลิป แล้วนำมาฝึกด้วยตนเอง และค่อยๆเรียนรู้ร่วมกับศิษย์ไอคิโดในโดโจ เป็นสิ่งที่พอทำได้ อันนี้ก็ต้องขอบคุณเทคโนโลยี รวมทั้งผู้จัดทำ อาจารย์ผู้สาธิตเหล่านี้ด้วย ไม่นึกว่า คนญี่ปุ่นที่ดูเหมือนเคร่งจารีตในการฝึก พอมาทำสื่อการเรียนรู้ ก็สามารถนำเสนอได้น่าสนใจ น่าติดตาม อย่างนี้

ในคลิป แม้คุณจูเลีย เธอจะดูคุกขิอาโนเนะ แต่พอเวลาเรียนรู้ ก็จะเห็นรังสีแห่งความมุ่งมั่นออกจากสีหน้า แววตา ท่าทาง ชัดเจนมาก ทั้งยังมีความเคารพ และห่วงใยอาจารย์ ที่เรารู้สึกได้อย่างเป็นธรรมชาติ

นี่คือสปิริตของสายดำที่ไม่ใช่มีแค่ฝีมือ

“ใต้หน้ากากที่จองหอง อาจซ่อนความปวดร้าว 
ใต้รอยยิ้มน่ารักวับวาว อาจซ่อนความเป็นผู้กล้า
โลกล้วนผสมผสานผ่านมายา
เรียนรู้ดั่งฟากฟ้าไร้กำแพง”

ใครสนใจเรียนรู้ ตามไปดูในคลิปนี้นะครับ 

หมายเลขบันทึก: 710488เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2022 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2022 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท