เวชระเบียนในอนาคต


การบันทึกข้อมูลผู้ป่วย พัฒนาจากการจดบันทึกลงในแบบฟอร์ม ขณะแพทย์สอบถามผู้ป่วย ตรวจร่างกาย และบันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ลงความเห็นการวินิจฉัยโรค บันทึกการรักษา

 

ปัจจุบันเกือบทุกรพ.ในประเทศไทย การบันทึกเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ คีย์ข้อมูลลงคอมพิวเตอร์

 

เมื่อประมาณ 20+ปีก่อน มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์Dragon ที่ใช้บันทึกเสียงคำพูด แล้วแปลงเป็นตัวอักษร Speech Recognition Speech to Text ซึ่งเมื่อเริ่มใช้งานจะต้องทดลองพูดInput และแก้ไขตัวอักษร Output สักระยะหนึ่ง จนโปรแกรมเข้าใจเสียงพูดของเรา 

 

มีผู้มาเล่าว่าในขณะนั้น ศาสตราจารย์นพ.ปรีดา พัวประดิษฐ์ ประสาทแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นำโปรแกรม Dragon มาทดลองใช้ในการบันทึกเวชระเบียน 

 

ต่อมา ได้มีการพัฒนา Dragon Medical ซึ่งเข้าใจคำศัพท์แพทย์ได้มากขึ้น

บริษัท Nuance ได้พัฒนาจนใช้บันทึกเวชระเบียนได้ดี

ไมโครซอฟท์ ได้ควบรวมกิจการของNuance และใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ของ ไมโครซอฟท์ คือ Azure , Microsoft cloud

พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็น Nuance DAX (Dragon Ambient eXperience)

 

https://www.nuance.com/healthcare/ambient-clinical-intelligence/explore-dax-for-clinicians.html

ลิงค์นี้มีคลิปที่น่าสนใจ ใช้Smartphoneบันทึกการสนทนาโต้ตอบ

 

https://customers.microsoft.com/en-us/story/1415193159282858383-nuance-partner-professional-services-azure-machine-learning

ใช้เทคโนโลยี Natural Language Processing และ Machine Learning ประมวลผล

 

https://www.nuance.com/healthcare/ehr-partnerships/epic.html

ผลิตภัณฑ์ Nuance DAX ของไมโครซอฟท์ บูรณาการกับโปรแกรมเวชระเบียน Epic ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในสหรัฐ

ทำให้การบันทึกเวชระเบียนในอนาคต เปลี่ยนจากคีย์ข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการบันทึกเสียง หรือการบันทึกเสียงร่วมกับภาพเคลื่อนไหว ซึ่งมีความแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากมีการแปลผล Body Language ร่วมด้วย ส่งข้อมูลเข้าประมวลผล ช่วยการทำงานของแพทย์ได้เป็นอย่างมาก

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record)

https://www.gotoknow.org/posts/711673

ซอฟท์แวร์ระบบข้อมูลโรงพยาบาล

https://www.gotoknow.org/posts/711692

 

หมายเลขบันทึก: 710486เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2022 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท