กิจกรรมบำบัด: เก้าอี้ดนตรี


กิจกรรมกลุ่มเก้าอี้ดนตรี

การออกแบบกิจกรรมกลุ่ม

  • เนื่องจากผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต และต้องได้รับยาหลายขนาด  จึงเกิดผลข้างเคียงจากการทานยา ทำให้ผู้รับบริการมีอาการง่วง ซึม อ่อนแรง และเพลีย รวมถึงการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน การมีกิจวัตรประจำวันที่คล้ายเดิมในทุกๆวัน จึงอาจส่งผลให้ผู้รับบริการรู้สึกเบื่อหน่าย มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิตน้อยลง อีกทั้งผู้รับบริการมีความต้องการที่จะทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว เช่น การเล่นฟุตบอล การเล่นเก้าอี้ดนตรี จึงเลือกกิจกรรมเก้าอี้ดนตรีเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องสถานที่ ซึ่งกิจกรรมเก้าอี้ดนตรีมีความเหมาะสมกับความสามารถของผู้รับบริการ ตรงกับความต้องการ ช่วยให้ผู้รับบริการมีการตื่นตัว (Arousal) และมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม (Motivation) มากขึ้น

 

กระบวนการกลุ่ม

  1. มีการพูดคุย เปิดกลุ่มโดยสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่ใช้เก้าอี้ เพื่อนกระตุ้นการตื่นตัว (Arousal)
  2. อธิบายวิธีการเล่นเก้าอี้ดนตรี โดยมีการเปิดเพลงเพื่อเป็นสัญญาณในการเดินรอบเก้าอี้เป็นวงกลม และการหยุดเพลงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้รับบริการนั่งเก้าอี้ โดยในแต่ละรอบจะมีการนำเก้าอี้ออกครั้งละ 1-2 ตัว จนเหลือเก้าอี้เพียง 1 ตัวสุดท้าย จึงจะจบการเล่นเก้าอี้ดนตรี
  3. เริ่มเล่นเก้าอี้ดนตรี โดยมีการเปิดเพลงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้รับบริการเดินวนรอบเก้าอี้และหยุดเพลงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้รับบริการนั่งเก้าอี้
  4. สอบถามความรู้สึกและความพร้อมของผู้รับบริการในทุกๆรอบของการเล่น และสอบถามความรู้สึกผู้รับบริการที่เหลืออยู่ในเกม 2 คนสุดท้าย
  5. ปิดกิจกรรมกลุ่ม โดยมีการพูดคุย สอบถามความรู้สึกและประโยชน์ที่ได้จากการเล่นกิจกรรมเก้าอี้ดนตรี สอบถามเทคนิคและความรู้สึกของผู้รับบริการที่ได้นั่งเก้าอี้รอบสุดท้าย และมีการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นหลังจากได้ทำกิจกรรม

 

 

ปัญหาที่พบและควรปรับปรุง

  1. ลำโพงที่เตรียมไปใช้ในการเปิดเพลงมีเสียงเบาเกินไป ทำให้ผู้รับบริการไม่สามารถได้ยินเสียงเพลงได้อย่างชัดเจนและไม่ทราบว่าเพลงหยุดเล่นแล้ว อีกทั้งทำให้ผู้บำบัดไม่สามารถปรบมือเข้าจังหวะได้ เนื่องจากไม่ได้ยินเสียงเพลง ซึ่งจะปรับปรุงโดยการจัดเตรียมลำโพงขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถได้ยินเสียงเพลงได้อย่างชัดเจน เพื่อให้รับรู้ว่าเสียงเพลงเริ่มแล้ว ให้เดินรอบเก้าอี้ หรือเสียงเพลงหยุดแล้ว ให้นั่งเก้าอี้ รวมถึงผู้บำบัดจะได้สามารถปรบมือให้เข้าจังหวะเพลงได้กิจกรรมเก้าอี้ดนตรีเมื่อนำไปใช้จริงพบว่า ผู้รับบริการมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ควรปรับปรุงโดยมีการเฝ้าระมัดระวังอย่างใกล้ชิด และเฝ้าสังเกตผู้รับบริการอยู่ตลอดเวลา รวมถึงพูดเตือนให้ผู้รับบริการระมัดระวังก่อนเริ่มทำกิจกรรมทุกครั้ง
  2. การจัดระยะห่างระหว่างผู้รับบริการกับเก้าอี้ ผู้บำบัดควรบอกให้ผู้รับบริการทุกท่านยืนห่างจากเก้าอี้โดยให้มีความห่างใกล้เคียงกัน และคอยดูว่ามีใครที่เดินชิดเก้าอี้เกินไปหรือมีใครที่เดินห่างเก้าอี้เกินไป เนื่องจากยังมีผู้รับบริการบางท่านเดินไปชิดเก้าอี้มากกว่าท่านอื่นๆ

 

การนำไปปรับใช้ในชีวิตจริง

  • กิจกรรมเก้าอี้ดนตรีส่งเสริมความสามารถในการวางแผน มีสมาธิ จดจ่อ สหสัมพันธ์ระหว่างการมองเห็นและการเคลื่อนไหว การนำไปปรับใช้อาจเป็นการเปิดเพลงให้นานขึ้นเพื่อให้ผู้รับบริการได้มีเวลาคิดวางแผนมากขึ้น แต่ไม่ควรนานเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้รับบริการเกิดอาการล้าได้ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้โดยการวางแผนทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น วางแผนการจัดตารางเวลา วางแผนการเดินทาง การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ เป็นต้น
  • กิจกรรมเก้าอี้ดนตรีส่งเสริมความสามัคคี สังเกตได้จากเมื่อผู้รับบริการเหลือ 2 คนสุดท้ายและมี 1 คนที่ได้นั่งเก้าอี้ ผู้รับบริการมีการจับมือกัน กล่าวขอโทษกัน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ในเรื่องการเข้าสังคม การทำงานร่วมกับผู้อื่น การให้อภัยกัน ความสามัคคีในการทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และทำให้กิจกรรม/งานสำเร็จได้ตามที่ตั้งใจไว้
หมายเลขบันทึก: 710485เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2022 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2022 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท