มีผู้กล่าวว่าคนไอทีเวียดนามทำงานมีประสิทธิผลมากกว่าคนไอทีไทยประมาณ 4-5 เท่า


ประสิทธิภาพ ไทย เวียดนาม IT ทำงาน
    นักธุรกิจหนุ่มไอทีไทยคนหนึ่งซึ่งดูแลและบริหารคนไอทีนับร้อยในไทยและได้ไปเ ยี่ยมชมที่เวียดนามีความคิดเห็นว่า  ความรู้และความสามารถของคนไอทีเวียดนามกับคนไอที่ไทยน่าจะพอ ๆ กัน แต่คนเวียดนามสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากกว่าคนไอที ไทยประมาณ 4-5 เท่า เหตุผลเป็นเพราะ

1.  วิศวกรไทยทำงานจริง ๆ ประมาณ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่วิศวกรเวียดนามทำงานจริง ๆ ประมาณ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

2.  วิศวกรไทยไม่ค่อยมีระเบียบวินัยในตนเอง  ไม่ชอบงานหนักและลำบาก ในขณะที่ชอบเงินเยอะ ๆ ฉะนั้นจึงเปลี่ยนงานบ่อย แทนที่จะมองว่าปัญหาต่าง ๆ เป็นสิ่งน่าท้าทายที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่กลับมองว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้ตนเองสบายน้อยลง

3. คนไทยมักส่งงานไม่ตรงต่อเวลา  เพราะเราชอบประนีประนอม มักจะพูดว่าไม่เป็นไรเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้น  เพราะฉะนั้นคนที่ไม่มีระเบียบวินัยเท่าไหร่ก็อยู่ได้ในสังคมไทย แต่จะทำให้ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับชาติอื่นได้

ดังนั้นเป็นสิ่งส ำคัญที่พ่อแม่และครูบาอาจารย์น่าจะสอนเด็ก ๆ และเยาวชนได้แล้วว่า ชีวิตของเราจะเจอปัญหาเสมอ  แต่เราต้องสามารถที่จะแก้ปัญหานั้น และมีความมุมานะจนกว่าจะทำงานและแก้ปัญหาได้สำเร็จ  และแทนที่จะเข้าไปในบริษัทแล้วถามว่า เขาจะจ่ายเงินให้เราเท่าไหร่ ควรจะถามว่า  เราจะทำประโยชน์อะไรให้เขาได้บ้าง เราจะเพิ่มคุณค่าให้แก่งานขององค์กรได้อย่างไร

ในขณะที่คุณ Thomas Friedman ผู้ซึ่งแต่งหนังสือ The World is Flat, ได้กล่าวไว้ว่า  "สมัยที่เขาเป็นเด็กและเจริญเติบโตนั้น   พ่อแม่เขาจะพูดว่า กินข้าวให้หมด  คนในเมืองจีนกำลังอดอยากอยู่นะ"   ตอนนี้เขากลับต้องพูดกับลูกเขาว่า "ทำการบ้านให้เสร็จ  ไม่งั้นคนจีนกับคนอินเดียจะแย่งงานคุณไปนะ"

 

คุณ Kriengsak Niratpattanasai ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความในภาคภาษาอังกฤษ "The Vietnam challenge: Bye-bye sabai-sabai"  

จะกล่าวกับลูกของเขาว่า "ถ้าคุณรักความสบายและไม่ชอบเรียนหนัก  คนเวียดนามจะแย่งงานจากคุณ แล้วคุณจะไม่มีวันสบายได้อีกเลย" 

 

อ้างอิงจาก

http://www.thaicoach.com/new/new_column_wide.php?info_id=80

คำสำคัญ (Tags): #it#ทำงาน
หมายเลขบันทึก: 70598เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2007 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีปีใหม่  ครับอาจารย์ 

การสร้างความตระหนักให้เด็กและเยาวชน ในเรื่อง

ความพร้อมในการเผชิญสถานการณ์ 

ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครับ

ดีครับอาจารย์ ผจะได้ความรู้ไปสอนลูกบ้าง เพราะเด็กทุกวันนี้จะมองแต่ค่าตอบแทนเป็นหลักก่อนมองเรื่องงาน

ปัญหาของบุคลากรในสายงานไอทีที่จบมาส่วนมากไม่ได้มาจากการที่ปริมาณผูที่จบ แต่ที่จบมาแล้วทำงานได้ต่างหาก ซึงน่ามีไม่เกิน 20% ของผู้จบมาทั้งหมด แล้วนักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยในสายไอที ส่วนใหญ่มีทัศนคติในเรื่องเงินเดือน หรือผลตอบแทนว่าได้เท่าไร  แต่ในความเป็นจริงแล้วความรู้ทุกอย่างในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเฉพาะ ไอที  ปัญหาที่ตามมาก็คือ นักเรียนที่จบมา เรียนรู้ดวยตัวเองไม่เป็น  หรือ ที่เรียกว่า self-learning เมื่อมีความรู้แล้วก็ต้องพัฒนาให้มี Self initiative ในตัวเองให้ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานกับคนไอที ในเมืองไทย จะเห็นว่า เด็กที่จบมาจากมหาลัยใหม่ๆ จะได้รายได้สูง เพราะออกมาพร้อมกับเทคโนโลยี บริษัทยอมจ่าย แต่ปัญหาที่พบกันคือ มีการเปลี่ยนงานบ่อย ผลของการเปลี่ยนงานบ่อยก็คือการไม่มีการพัฒนาทักษะในเชิงลึกเพื่อทำการต่อยอด เช่น programming skill, system analysis skill , management skill (ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของคนไทย ที่มีลักษณะการคิดที่ผิวเผิน ทำให้เกิดปัญหาในการอยู่ในโลกที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ลำบาก  เพราะ ในน้ำเราไม่มีปลาแล้ว  ในนาเรามีข้าวก็ต้องซื้อ)

จากลักษณะดังกล่าว ภายในระยะเวลา 5 ปี บุคคลกลุ่มดังกล่าวเริ่มก้าวกระโดดเรื่องเงินเดือนได้ลำบาก  เพราะคนที่จ้างแพง ย่อมหวังผลงานมากเช่นกัน ทำให้ทำงานได้ลำบากขึ้น เริ่มอาศัยทักษะการพูดมากขึ้นกว่าทักษะการทำงาน ทักษะการทำงานที่เป็นชิ้นเป็นอันก็ไม่ได้มีมามากนัก  สุดท้ายก็โดนเด็กรุนใหม่เข้ามาแทนและอยู่ไม่ได้ ซึ่งน่าเสียดายวิชาที่เรียนมานัก

ถ้าทุกคนเชื่อว่า โลกนี้ไม่มีใครได้อะไรมาง่ายๆ การจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน ก็ต้องมีการลงทุนด้วย การทำงานทุกอย่างคือการเรียนรู้ และฝึกทักษะไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทักษะที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลาในการพัฒนา เมื่ออายุมากขึ้นประสบการณ์ทำงานเหล่านี้จะเป็นเครื่องค้ำจุนให้สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตการงานได้  แล้วผมก็ไม่เคยเห็นใครที่ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องลำบาก อดทนเลย  ดังนั้นการทัทัศนคติต่อปัญหาจึงเป็นเรื่องสำคัญ  การพยายามในสิ่งที่ควรย่อมไม่สูญเปล่า  ดังเช่นคนจีน อินเดีย ตั้งใจทำงาน ผ่านงานหนัก ประสบการณ์ทำงานเพิ่ม ในอนาคต ก็เป็นเจ้าของกิจการ หรือ ผู้บริหารที่ดีได้ ตรงข้ามกับคนของเรา ที่ต้องการทำงานสบาย เงินเดือนมาก ไม่ได้เพิ่มพูนความสามารถให้กับตัวเองในอนาคต

 คนเราประสบความสำเร็จหรือไม่ คงไม่ได้ดูว่ามีเงินเดือนเมือจบมาเท่าไร  แต่น่าจะดูว่าท้ายที่สุด เราทำงานไรที่เป็นชิ้นเป็นอันที่ประสบความสำเร็จบ้างมากกว่า

 

ชอบที่คุณ สมยศเขียนมากครับ
ผมก็เป็นนะครับ เพราะเพิ่งจบมาไม่นาน แต่ก็ไม่มีการอวดกันในกลุ่มเพื่อนนะว่าแต่ละคนได้เงินเดือนกันเท่าไร มันเป็นเหมือนกับเรื่องที่ไม่ควรถามกัน และถึงแม้ผมจะได้เงินเดือนน้อยที่สุดในบรรดาเพื่อนๆ ที่จบมาด้วยกัน แต่ผมก็ชอบงานที่ทำอยู่ แค่นั้นก็พอใจแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท